ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    อ.สมพร เดียรถีย์ไม่รู้ธรรม อะไรเลย เป็นผู้ขโมยธรรมของพระพุทธเจ้าไปกล่าวว่าตนรู้ แท้จริงเป็นธรรมที่พระองค์ทรงแสดง แต่พระองค์ทรงแสดง ยังไม่หมด ยังมีข้อความที่จะต้องไถ่ถอนอีก พวกเดียรถีย์ก็เข้าใจว่าหมดแล้ว เพราะว่าไม่ต่างกัน เรากับพระสมณโคดม ไม่ต่างกัน เหมือนกันโดยการแสดงธรรม แท้จริงแล้วเป็นผู้ขโมยธรรม ธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมรู้โทษ และการไถ่ถอนโทษออกจากกามทั้งหลาย กามคืออะไร กามก็คือโลภะ ในที่นี้ กามมีหลายอย่าง วัตถุกาม กิเลสกาม วัตถุกามก็มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กิเลสกาม ก็คือ ตัณหานั่นเอง ในที่นี้ก็คงจะมุ่งถึงตัญหาเป็นใหญ่ แต่ว่าความละเอียดถี่ถ้วนนั้น ต้องการทั้งหมดเลยเลย โทษของกาม และสำคัญอยู่ที่ การไถ่ถอนโทษของกาม

    ผู้ฟัง นักบวช ปริพาชก แปลว่า นักบวชนอกศาสนา คือ ไม่ใช่ศาสนาพุทธนอกจากพระสูตรนี้ ยังมีพระสูตรอื่น ที่อย่างที่อาจารย์สมพรว่า คือ ขโมยธรรมพระพุทธเจ้า ไปพูดถึงเรื่องนิวรณ์ ๕ ด้วย พูดถึงโพชฌงค์ ๗ ด้วย เขาก็บอก เขาก็ได้ เขาก็ได้บัญญติไว้ แล้วก็สอนเหมือนกับพระพุทธเจ้า พระสูตรนี้ก็คล้ายๆ กัน แต่อันนั้นพูดถึงนิวรณ์ ๕ กับโพชฌงค์ ๗

    เพราะฉะนั้น พวกปริพาชก เป็นอย่างที่คุณนิพัฒน์ว่า คือหมายความว่า ผู้ที่มีท่าอื่น ท่าอื่นของเขา คือไม่ใช่มรรคมีองค์ ๘ เพราะว่าท่าของพระพุทธเจ้าสิทธะ ท่านี้คือ มรรคมีองค์ ๘

    ท่านอาจารย์ น่าคิด ก็คือว่า อารามของพวกเดียรถีย์ ไม่ไกลจากพระวิหารเชตวัน ความเห็นถูกกับความเห็นผิดอยู่ไม่ไกลกันเลย แม้ใกล้กัน แต่ความเห็นก็ต่างกันมาก แต่ก็กล่าวคล้ายคลึงกัน แต่ไม่เหมือนกันเลย

    วิทยากร ความที่เข้าใจไปเอง คิดไปเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อาจารย์ว่าเมื่อกี้นี้ ใกล้ๆ กัน แต่เขาไม่เคยไปพบไม่เคยไปฟังธรรมของพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น ไม่มีทาง เพราะว่าสาวกยังต้องฟังเลย เขาไม่เคยไปฟัง อยู่ใกล้แค่นั้น เขาไม่เคยไปเฝ้า พระสารีบุตรท่านก็เป็นปริพาชก มาก่อน ไปฟัง ฟัง ต้องฟัง ถ้าไม่ฟังแล้วก็หมดสิทธิ

    ท่านอาจารย์ ก็น่าที่พิจารณาว่าทำไมไม่ฟัง เห็นไหม ทั้งๆ ที่มีโอกาสจะได้ฟัง แต่ทำไมไม่ฟัง เพราะอะไร มีคำตอบไหม ทำไมพวกเดียรถีย์ไม่ฟัง

    ผู้ฟัง ถ้าผมตอบ ผมก็ตอบว่า ไม่ได้สั่งสมมา

    ท่านอาจารย์ เพราะอกุศล หลายอย่างที่ได้สะสมมา ถ้าเป็นกุศลแล้ว ตรงกันข้ามเลย เพราะเหตุว่าจะต้องเป็นขณะที่เห็นเป็นประโยชน์ ของการที่จะได้รู้ถูกต้อง แล้วก็มีความอ่อนน้อม มีการที่จะรับฟังความเห็นของบุคคลอื่น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนเวทนาทั้งหลาย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชากอัญญาเดียรถีย์ ถูกพวกเธอถามอย่างนี้จะไม่พอใจเลย และจะต้องคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นมิใช่วิสัย

    นี่แสดงให้เห็นว่าถ้าป็นผู้ที่ต้องการเหตุผล ตามความเป็นจริง ยิ่งได้เหตุผล ยิ่งซักถาม ยิ่งได้ความรู้ความถูกต้อง ไม่ใช่ว่าเมื่อฟังมาแล้วก็จบ แล้วก็ไม่มีการสนทนากัน แต่ไม่ว่าใครจะกล่าวว่าอย่างไรก็ตาม ก็มีโอกาสที่จะได้สนทนา ที่จะได้พิจารณาข้อความที่ได้ฟังว่าถูกต้องลึกซึ้งละเอียดอย่างไร

    เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ถามพวกเดียรถีย์เหล่านั้นว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอนเวทนาทั้งหลาย ถ้าพูดอะไรมา ก็ถามไป เพื่อที่จะได้สนทนาให้ได้ความแจ่มแจ้งขึ้น ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ไม่ รู้ ถ้าถูกถามอย่างนี้ จะพอใจไหม อย่างพวกเดียรถีย์ จัดต้องคับแค้นอย่างยิ่ง จะไม่พอใจเลย แต่ถ้ามีความรู้ถูกต้อง ก็จะตรงกันข้ามเพราะเหตุว่า เป็นโอกาสที่จะได้สนทนา เพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าไม่ใช่พระผู้มีพระภาค และสาวกของพระองค์ ก็ไม่มีทางที่จะได้ความถูกต้องเลย

    ผู้ฟัง กามคุณ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นคุณ สำหรับกาม มีอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าได้รูปที่น่าพอใจ จิตใจรู้สึกอย่างไร เดือดร้อนเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นสุข โสมนัส นี่คือคุณของกาม และคุณของรูป และคุณของโสมนัสเวทนา

    ผู้ฟัง ส่วนใหญ่กามก็จะเป็นโทษทั้งนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ได้รูปที่น่าพอใจ เป็นโทษไหม

    ผู้ฟัง ในที่สุดก็เป็นทุกข์ อยู่นั่น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า จะรู้โทษต่อเมื่อรู้ ความเกิดดับ แต่ถ้าไม่รู้การเกิดดับ ก็เห็นแต่คุณ วันนี้ทั้งวัน อะไรเป็นกามคุณ ทุกอย่างบนโต็ะนี้ก็สวยงามดี เห็นแล้วก็รู้สึกพอใจ ไม่เดือดร้อนใจ ความรู้สึกเวทนา ขณะนั้น ไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อน แล้วทุกคนก็แสวงหารูปที่น่าพอใจ เพราะฉะนั้น การที่จะรู้จริงๆ ไม่ใช่รู้แต่เพียงคุณของกาม แต่ต้องรู้โทษของกามด้วย ซึ่งการที่จะรู้โทษของกาม เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะหลงลืมสติแล้วจะรู้ได้ แม้แต่การรอบรู้ในรูป ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา รอบรู้ในรูป ในสิ่งที่ปรากฏ ถ้าสิ่งที่ปรากฏไม่รู้ จะชื่อว่ารอบรู้ได้อย่างไร

    ขณะที่ได้ยินเสียงรอบรู้ในเสียง ถ้าปราศจากสติสัมปชัญญะ ที่กำลังรู้ลักษณะของแต่ละเสียง เสียงนี้เกิดแล้วก็ดับไป แล้วก็เสียงใหม่ ก็เกิดแล้วก็ดับไป แล้วก็เสียงนี้ก็มีมากมาย ถ้าไม่รอบรู้ในเสียงด้วยสติสัมปชัญญะ ที่เกิดแล้วก็รู้ลักษณะของแต่ละเสียง ซึ่งปรากฏก็จะไม่เห็นโทษของเสียงซึ่งเกิดดับ แม้ว่าเป็นรูปที่น่าพอใจก็ตาม แต่ก็ต้องรู้ว่าขณะที่พอใจเป็นคุณ แต่ต้องรู้ว่าอะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการไถ่ถอน กามทั้งหลาย มิฉะนั้นก็ไม่มีหนทางเลยที่จะไถ่ถอนได้

    ผู้ฟัง อาจารย์นิพัฒน์ ในเรื่องของศัพท์ คือถ้าเป็นคุณศัพท์ ก็คือกามคุณนั้นคือเครื่องผูก กับพอมาในที่ว่าอะไรเป็นคุณของกาม บาลีท่านใช้คำว่า อัสสาทะ

    อ.นิภัทร ยินดีติดใจ คือรูปสวยๆ เป็นเหตุให้เราเห็นแล้ว ยินดีพอใจอย่างการประกวดนางงามก็ดี อะไรก็ดี เราเห็นแล้ว เราก็พอใจติดใจ อย่างประกวดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ลวดลายสวยงามเหลือเกิน ยินดีติดใจ อัสสาทะมันเกิด คือโลภะแล้ว

    ท่านอาจารย์ ความจริง เป็นความจริง เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ เพราะเหตุว่ารูปก็มี ๒ อย่าง คือรูปที่น่าพอใจ กับรูปที่ไม่น่าพอใจ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพธรรม รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกาม เป็นอัสสาทะ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็โดยนัยเดียวกัน

    เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นสิ่งที่ต้องตรง เมื่อรูปมีความต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือรูปที่น่าพอใจก็มี รูปที่ไม่น่าพอใจก็มี เพราะรูปบางรูปรู้แจ้งด้วยจักษุแล้วก็เกิดความปรารถนา เพราะว่ารูปนั้นเป็นสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ บางรูปก็ทำให้เกิดโทมนัส แทนโสมนัส

    เพราะฉะนั้น เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ ต้องรู้จริงว่ารูปที่น่าพอใจ มี เป็นอัสสาทะ คุณของรูปนั้น แต่อาทีนวะ โทษของรูปนั้นมี เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่าโทษของรูปนั้นก็คือ รูปนั้นเองเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ธรรมต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ แม้แต่ที่จะกล่าวว่ารอบรู้รูป ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่เกิด สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้ แล้วจะบอกว่ารอบรู้ เป็นไปไม่ได้ หรือเสียงที่กำลังปรากฏ สติสัมปชัญญะไม่เกิด แล้วจะกล่าวว่ารอบรู้เสียงก็เป็นไม่ได้อีก

    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นเรื่องของปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ว่าขณะที่รู้ หรือเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิดความสุขโสมนัสหรือจะเกิดความทุกข์โทมนัส ขณะนั้นก็เป็นจริงอย่างนั้น แล้วก็ความทุกข์โทมนัส ก็ต้องมาจากความติดข้อง ในรูปที่น่าพอใจด้วย แต่ว่าต้องรู้ว่าขณะใด ความรอบรู้ในรูปใดจะมีได้เพราะสติสัมปชัญญะ กำลังรู้ตรงลักษณะของรูปนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า รูป นี่ไม่ใช่รูปเดียว เสียงไม่ใช่เสียงเดียว สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตาเพียงขณะที่กำลังปรากฏขณะนี้เท่านั้น จะมีรูปซึ่งเกิดดับซึ่งปัญญาจะต้องอบรมจนกระทั่ง สามารถที่จะรู้ความจริง จึงจะละได้ คือต้องเห็นทั้ง อัสสาทะ-คุณ อาทีนวะ- และโทษ และยังต้องรู้หนทางที่จะออกจากกาม คือความติดข้องด้วย คุณนิพัฒน์กรุณาให้ความหมายของคำ อัสสาทะ กับ อาทีนวะ ด้วยะ

    อ.นิภัทร อัสสาทะแปลว่าความยินดีพอใจ ยินดีติดใจ แล้วก็ อาทีนวะ ก็แปลว่าโทษ คือทำไมถึงมีศัพท์ ๒ ศัพท์นี้ ก็เพราะอารมณ์มันมี ๒ อย่าง ในโลกนี้แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็รู้อารมณ์ ๒ อย่างนี้ พระอรหันต์ ท่านเห็นรูปสวย ท่านจะเห็นเป็นขี้เหร่น่าเกลียดน่าชัง เป็นไปไม่ได้ ก็สิ่งมันเป็นอย่างนั้น แต่ท่านไม่ติดข้องเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น อารมณ์ อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจ ใครๆ เห็นก็ต้องเห็น เป็นอย่างนั้น แต่จะหลงไม่หลงมันอีกเรื่องหนึ่ง

    อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจใครเห็นก็จะต้องเป็นอย่างนั้น น่าเกลียด น่าชังแต่จะหลงหรือไม่หลง มันอีกเรื่องหนึ่ง พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ท่านไม่หลง แต่ปุถุชนเห็นแล้วก็หลง ระเริงติดใจไป เรายึดเราติดอยู่ เราโง่ต่างหาก

    ท่านอาจารย์ ความต่างกันของคำสอนของพวกเดียรถีย์ คือพวกเดียรถีย์บัญญัติว่า รอบรู้กามเมื่อกล่าวถึง ปฐมฌาน เพราะเขาคิดว่า เขาไม่ได้ติดข้องในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เขาพยายามที่จะอบรมเจริญความสงบ จนกระทั่งขณะนั้น ก็สามารถที่จะเป็นฌานจิต ไม่มีการติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เขาก็กล่าวว่า นั่นคือความรอบรู้ รูปทั้งหลาย

    ในอรรถกถามีข้อความว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ ความรอบรู้กามทั้งหลาย ด้วยอนาคามีมรรค จนถึงดับได้เป็นสมุจเฉท เพราะความรอบรู้ทั่วขึ้นยิ่งขึ้น แม้พระโสดาบันก็ยังไม่สามารถที่จะดับความติดข้องในคุณของกาม ก็ยังมีการที่จะยินดีพอใจในคุณของกามอยู่ แต่ว่าผู้ที่จะรอบรู้กามทั้งหลาย ก็คือพระอนาคามีบุคคล ผู้ดับการยินดีติดข้อง ในกามคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้ เป็นสมุจเฉทด้วยอนาคามีมรรค นี่ก็เป็นก็ความต่างกัน ของความรู้จริง กับการที่รู้ไม่จริง

    อ.นิภัทร ขนาดพระโสดาบัน ท่านก็ละสักกายทิฏฐิได้แล้ว คือ ไม่ยึดถือขันธ์ว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขาแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังละกามคุณไม่ได้ ถ้าพูดถึงจิต โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ พระโสดาบันท่านละได้เป็นสมุจเฉทแล้ว เด็ดขาด โมหะ วิจิกิจฉาสัมปยุตตอีก ๑ ท่านก็ละได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉท ถึงอย่างนั้น ความยินดีติดใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ท่านก็ยังละไม่ได้ ไม่รู้กิเลส ทำไมมันเหนียวมันแน่นอะไรอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความต่างกันของปัญญา มิฉะนั้นพระโสดาบันก็ต้องเป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์

    มีคำอุปมาว่าเหมือนคนที่เห็น บ่อน้ำใหญ่ แต่ไม่มีเครื่องมือ หรือว่าไม่มีวัตถุที่จะตักน้ำนั้น ไม่ใช่ว่าไม่เห็น เห็น แต่ว่ายังไม่มีเครื่องมือ คือยังไม่สามารถที่ จะมีปัญญาถึง ระดับขั้นที่จะไถ่ถอนความติดข้อง ในการติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งติดมานานแสนนาน อย่างในวันนี้ เราติดหรือเปล่า แล้วในวันนี้เรามีความเห็นผิดเกิดบ่อยกว่า หรือน้อยกว่า ความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะละความติดข้องในความเห็นผิด แต่ก็ยังมีความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จนกว่าจะถึงปัญญาที่จะดับได้เป็นสมุจเฉท

    ผู้ฟัง สติสัมปชัญญะ พิจารณา เพื่อจะลดละ กามโทษ โดยพยัญชนะ นิมิตไม่ได้ แล้วก็ปิยะรูป สาทรูปก็ไม่ได้ จะพิจารณาอย่างไร อธิบายหน่อย

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นก็คงจะไม่พ้นจากขั้นต้น คือ รู้ว่าขณะใด สติรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม นั่นคือสติสัมปชัญญะ เมื่อฟังแล้วเข้าใจ ไม่ใช่ว่าไม่รู้อะไรเลย แล้วก็บอกให้รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม แม้ว่าลักษณะนั้นก็มี เหมือนเดี๋ยวนี้ปรากฏ เช่น แข็งก็แข็ง แล้วบอกว่ารู้ตรงลักษณะ ก็เป็นตัวเราที่รู้กำลังรู้ตรงนั้น แต่เรื่องของการอบรมเจริญความรู้ คือมีความเห็นถูก เข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เป็นปกติ ตามปกติ จะได้รู้ว่าไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครทำ เกิดแล้วปรากฏให้รู้ให้เข้าใจถูกต้อง

    เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของปัญญาอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นเรื่องของการที่เราพยายามจะไปรู้ โดยที่ว่าไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แม้ว่าสภาพธรรม ขณะนี้ปรากฏเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างอื่น การที่เราจะรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่ามีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพิ่มขึ้นระดับไหน จากขั้นฟังที่กำลังฟังแล้วเข้าใจ ก็เป็นระดับ ๑ แต่เป็นขั้นที่กำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้นมีลักษณะของสภาพธรรม ปรากฏให้เข้าใจว่าทุกขณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดเลย ไม่มีอะไรสักอย่างที่นี้ ที่ไม่ใช่ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ แต่ ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ รู้ เพื่อที่จะละความไม่รู้ ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องจะเป็นพระโสดาบัน หรือว่าเมื่อไรจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม นั่นเป็นการคิดด้วยความเป็นเรา แต่ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ไถ่ถอนการที่เคยไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นปกติ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ รู้ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ว่าขณะนั้นมีลักษณะของสภาพธรรมอย่างปกติ อย่างนี้ แล้วสติระลึก

    ผู้ฟัง อันนี้จากการฟังอย่างเดียว ก็พอมีจะลดละ สมมติบัญญัติ ยังไม่ได้ การฟังอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้อง ก็ให้รู้ตามความเป็นจริงว่ายังไม่ได้ ละไม่ได้ ต้องเข้าใจอีก จนกว่าจะรู้ว่า ขณะไหนสติสัมปชัญญะเกิด ขณะไหนหลงลืมสติ

    ผู้ฟัง ก็ไปติดอยู่ในนิมิตอนุพยัญชนะ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องอบรมต่อไป

    ผู้ฟัง แล้วก็ติดในรูป

    ท่านอาจารย์ ต้องอบรมต่อไป อบรมปัญญาต่อไป มีหนทางเดียว คือ เป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่าเข้าใจ ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ตามความเป็นจริงว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง

    อย่างทางตาก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง รู้ชัดคุณ และโทษของ กาม ความหมายเป็นอย่างไร เพียงแค่รู้ว่า ถ้าเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ แล้วก็เกิดโสมนัส นั่นหรือชื่อว่ารู้ชัด

    เพราะว่าเรารู้ ใช่ไหมว่า เราชอบรูปสวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อย ทุกคนพอใจ เพราะเหตุว่าทำให้เกิดสุขโสมนัส นี่ชื่อว่ารู้ชัดหรือเปล่า หรือว่าเพียงแต่เป็นเราที่พอใจ ใครกล่าวก็ถูกต้อง เพราะทุกคนก็ชอบเหมือนๆ กัน คือทุกคนก็ชอบรูปสวยเสียงเพราะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าใครก็ตามที่ มีความรู้จักเพียงเท่านี้ว่าเรา ชอบอย่างนี้ ชื่อว่ารู้ชัดหรือยัง ไม่ชื่อว่ารู้ชัด

    เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงคำว่ารู้ชัด ก็จะต้องรู้ว่ารู้ชัดอย่างไร ไม่ใช่เรารู้ แต่ต้องเป็นสติสัมปชัญญะ ที่มีลักษณะของรูปนั้น ในขณะนั้น ที่มีลักษณะของเวทนานั้น ในขณะนั้น จึงจะค่อยๆ รู้ ในความเป็นธรรม ที่กล่าวว่า ธรรม ไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่กำลังปรากฏ กำลังเกิดดับ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ใดที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับไป โดยสติสัมปชัญญะ ไม่ได้รู้ลักษณะนั้น จะชื่อว่ารู้ชัดไม่ได้ ถ้าจะรู้ชัดจริงๆ ก็ต้องเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็รู้ลักษณะนั้น ขณะใด ค่อยๆ รู้ขึ้น ก็ยังไม่ชัด จนกว่าจะชัด นี่คือเราเริ่มเข้าใจการฟังธรรม การศึกษาธรรม ว่าประโยชน์ ก็คือ มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ให้ศึกษา ให้เข้าใจขั้นฟัง แล้วก็จะต้องรู้ว่า กว่าจะรู้ลักษณะนั้น ต้องไม่ใช่เพียงด้วยการฟังแล้วเข้าใจเท่านั้น แต่ต้องเมื่อใดที่สติสัมปชัญญะเกิด แล้วมีลักษณะที่สติสัมปชัญญะ กำลังระลึก จึงเริ่มรู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่าเป็นลักษณะของนามธรรม หรือว่าเป็นลักษณะของรูปธรรม โดยลักษณะนั้นเอง ซึ่งเราไม่ต้องไปนึกถึงชื่อ หรือว่าไม่ต้องไปนึกถึงคำ นี่ก็เป็นสิ่งที่ยาก เพราะว่า พอรู้ลักษณะของรูปธรรมหรือนามธรรมก็เกิดนึกถึงชื่อ หรือบางคนนึกไม่ออก นี่อะไรก็ยังอยากที่จะรู้ จนกระทั่งต้องสอบถามว่า นั่นอะไร ขณะนั้น ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ก็มีลักษณะของนามธรรม หรือรูปธรรมเท่านั้น ที่จะค่อยๆ รู้ด้วยตัวเอง ว่าขณะนั้น เมื่อไม่ใช่สภาพรู้ ก็ไม่ใช่นามธรรม แล้วส่วนสภาพรู้ทั้งหมดก็เป็นนามธรรม แต่ขณะนั้นมีลักษณะที่ปรากฏ ให้รู้แล้วก็ดับไป แล้วก็มีลักษณะอื่นปรากฏอีก แต่ความคุ้นเคยกับการคิดนึก ก็จะทำให้พยายามนึกถึงชื่อ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็จะรู้ด้วยตัวเอง เป็นความรอบรู้ เป็นการที่ค่อยๆ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมด ที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นหนทางเดียว ที่จะทำให้รู้แจ้งหรือรู้ชัด ในลักษณะของสภาพธรรมตามที่ทรงแสดงในพระสูตรนี้ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็แสดงให้เห็นว่า จะต้องเข้าใจถึง ว่าเป็นสภาพธรรมทั้งนั้น ไม่ว่าจะสุข หรือว่าจะทุกข์ แล้วมันก็เป็นรูปกับนาม ซึ่งไม่ใช่เรา ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ คุณบง สูตรนี้กองแห่งทุกข์เป็นอันมาก อย่างไรๆ ก็ไม่พ้น ขยันเพื่ออะไร ต้องการอะไรจึงได้ขยัน ติดข้องใช่ไหม ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ เพื่อที่จะได้สิ่งนี้จึงขยัน และขยันอย่างเหนื่อยยากด้วย ลำบากมาก แต่ละคนที่ขยันก็คงจะทราบดีว่า อาจจะทั้งกลางวัน กลางคืน แล้วก็อาจจะต้องตรากตรำ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567