ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
ตอนที่ ๖๙๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ.
๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ เพื่อที่จะได้สิ่งนี้จึงขยัน และขยันอย่างเหนื่อยยากด้วย ลำบากมากแต่ละคนที่ขยันก็คงจะทราบดีว่า อาจจะทั้งกลางวัน กลางคืน แล้วก็อาจจะต้องตรากตรำ ไปโน่นมานี่ท่ามกลางแดดฝน เป็นต้น นี่ก็เห็นได้ว่าเป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่รู้ตัวเลยว่าขยันเพราะอะไร เพราะต้องการอะไร แล้วถ้าไม่ได้ก็เป็นของธรรมดา คนที่ทำถึงอย่างนั้นแล้วไม่ได้ ก็ต้องเป็นทุกข์ ถ้าไม่เข้าใจธรรมว่าแท้ที่จริงแล้ว เพียงชั่วหนึ่งขณะจิตที่จะเกิดขึ้นเห็น ไม่มีใครสามารถที่จะทำได้เลย เป็นเรื่องที่มีปัจจัยเกิดขึ้นโดยกรรมเป็นปัจจัย ที่จะให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ พอได้มาแล้ว เป็นทุกข์ไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องทุกข์
ท่านอาจารย์ อยู่ในกองทุกข์เป็นอันมากจริงๆ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้กรุณากล่าวถึงว่า จะคิดถึงชื่อทั้งๆ ที่สภาพธรรม เขาก็ไม่มีชื่อ ในขณะแรกๆ ที่เริ่มอบรม รู้สึกว่าเราจะเป็นปกติหรือเปล่า ที่เราจะต้องคิดถึงว่า สภาพธรรมนั้นเป็นอะไร จากที่เราเรียนมาแล้ว มันเป็นลักษณะของโลภะ หรือว่ามันเป็นลักษณะของสุข ความสุขเป็นเวทนา จะคิดถึงชื่อ แต่พอฟังท่านอาจารย์กล่าวตรงนี้แล้วว่า ไม่ต้องไประลึกถึงชื่อ ระลึกถึงว่าเขา เป็นสภาพที่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ที่จะเรียนถามก็คือว่า แรกๆ ต้นๆ ต้องคิดถึงชื่อไปก่อนหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ชื่อว่าจิต เพราะมากด้วยความคิด จริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมอย่างเป็นปกติขณะนี้ แค่เล็กน้อยนิดเดียว คิดเลย ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งความคิดได้ แล้วแต่ว่าจะคิดอะไร เพราะฉะนั้น คนที่ได้ศึกษาธรรมมาแล้วก็อยากจะคิดถึงว่า ธรรมนี้ชื่ออะไร ก็เป็นของธรรมดา อะไรก็ตามที่เกิดแล้ว ต้องมีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น จะถามว่าเป็นธรรมดาหรือเปล่า จะถามว่าถูกไหม
ทั้งหมดเมื่อเป็นธรรมที่เกิดแล้ว ก็คือธรรมที่มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นเป็นไปในขณะนั้น แต่ให้ทราบว่าความเป็นตัวตนมากแค่ไหน ขณะที่กำลังคิดว่า ธรรม นี้ชื่ออะไร ขณะนั้นเป็นเราหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ก็คือว่า แม้ว่าสภาพธรรมมีจริง เมื่อมีความไม่รู้ และความเป็นเรา กิจหน้าที่คือไม่ใช่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมนั้น หรือไม่ใช่ไปพยายามทำอีกอย่างหนึ่ง ให้ผิดจากที่กำลังเป็นในขณะนั้น แต่มีการรู้ว่า แม้ขณะนั้นก็ยังเป็นเรา ซึ่งจะต้องค่อยๆ เห็นถูกต้องขึ้นว่า เป็นสภาพที่คิด ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย จนกว่าจะทั่วหมด
ผู้ฟัง ตรงนี้รู้สึกว่าก็เป็นข้อที่คิดได้ว่า ถ้าสมมติว่าจะคิด ก็ทราบว่าขณะนั้น เป็นสภาพคิดนึก อบรมต่อได้
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ก็คือยังไม่รู้ แต่จะต้องรู้ มิฉะนั้นก็ละความเป็นเราไม่ได้
ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้ว ตรงนี้ที่มากล่าวตรงนี้ หมายความว่า เชื่อตามที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ชื่อไม่สำคัญ เพราะถ้าเราไปนึกถึงชื่อ ปั๊บ สภาพธรรมที่ปรากฏตรงนั้น เราจะไม่ได้อบรมศึกษา มันก็จะเป็นเรื่องราวไปอีก กลับวนมาอีกทีหนึ่ง
ท่านอาจารย์ พอนึกถึงชื่อขณะนั้น สติสัมปชัญญะก็ไม่ได้ระลึกต่อไป ถึงลักษณะของสภาพธรรมอื่นที่ปรากฏ ในขณะนั้น
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ คงจะมีหลายทัศนะ เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้สนทนากับคุณซีซ่า แต่ก็ขอเรียนถามให้พิจารณา เพราะว่า ธรรมเป็นสิ่งที่จริง ถูกต้องตามความเป็นจริงทุกกาลสมัย ขณะนี้คุณซีซ่า ก็ต้องมีตาแน่นอน ถูกต้องไหม เป็นธรรม เห็นก็เป็นธรรม ทรงแสดงเรื่องของขณะที่ตาเห็นก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ และเมื่อเห็นแล้ว เกิดความนยินดีพอใจ หรือไม่ยินดี ไม่พอใจ เป็นสิ่งที่มีจริง
เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดง ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอยู่ทุกขณะ แล้วเราก็จะได้ทราบว่าไม่ได้แสดงเรื่องสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นปรากฏ แต่ว่าเมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดแล้วปรากฏแล้ว ไม่เคยรู้มาก่อนเลย พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ความจริง ของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งดูเหมือนกับว่าไม่มีอะไรที่จะต้องกล่าวสอนเลย เช่น ทุกคนก็มีตาเห็น แล้วก็สุขบ้าง ทุกข์บ้าง จากสิ่งที่เห็น ดูเป็นของธรรมดา แต่ตามความจริงจากการที่ได้ทรงตรัสรู้ ก็ได้ทรงแสดงสิ่งที่ลึกซึ้ง ที่จะให้เห็นว่า แม้แต่การเห็นที่เกิดขึ้น ก็ไม่มีใครสามารถที่จะสร้างได้หรือทำได้เลย คุณซีซ่าทำเห็นไม่ได้ ใครก็ทำเห็นไม่ได้ ทำได้ยินไม่ได้ ไม่ว่าใคร แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้จิตเห็นหรือสภาวธรรม ที่เห็นเกิดขึ้นในขณะนี้ เห็นกำลังเห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่ง
ซึ่งทรงแสดงว่า เป็นอนัตตา หมายความว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีสัญชาติ ไม่ใช่ชาติจีน ชาติไทย ชาติหนึ่งชาติใดเลย เป็นสภาพธรรมที่เมื่อเกิดขึ้น จึงเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ ซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยคือจักขุปสาท รูปชนิดหนึ่งที่อยู่กลางตา ที่เกิดเพราะกรรมเป็น สมุฏฐาน ถ้ารูปนี้ไม่มี กรรมไม่ได้ทำให้รูปนี้เกิด การเห็นในขณะนี้ จะมีไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น สิ่งซึ่งดูเหมือนเป็นธรรมดา ทรงแสดงถึงปัจจัยที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ เมื่อมีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ค่อยๆ เข้าใจว่าพระธรรมที่ทรงแสดง ก็ทรงแสดงเรื่องของสิ่งที่มีจริง ให้เข้าใจถูกต้องว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ทุกอย่างที่ได้ยินได้ฟัง สามารถที่จะพิสูจน์ได้ทันที แล้วก็จะเพิ่มความเข้าใจขึ้น ถ้าได้พิจารณาไตร่ตรอง ความจริงนั้นๆ เช่น ขณะเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นคุณซีซ่าหรือเปล่า ทุกคนอยากจะเห็นสิ่งที่น่าพอใจ แล้วใครเลือกได้ บางกาลก็เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ โดยที่เราก็ไม่รู้ว่า อะไรเป็นปัจจัยให้บางครั้งเห็นสิ่งที่น่าพอใจ แล้วบางครั้งเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่ทรงแสดงถึงเหตุที่จะทำให้ แม้จิตที่จะเห็น เกิดขึ้นเพราะจักขุปสาท ที่ยังไม่ดับ เพราะว่ารูป เกิดดับเร็วมาก รูปทุกรูปมีอายุเพียงจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แล้วรูปนั้นก็ดับไป ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะประจักษ์ ความจริงนี้เลย แม้นักวิทยาศาสตร์ เพราะว่าขณะนี้ที่ดูเหมือนเห็นด้วย ได้ยินด้วย ความจริงแล้วก็ต่างขณะซึ่งไกลกันเกิน ๑๗ ขณะจิต เพราะฉะนั้น รูปใดก็ตาม ที่เกิดแล้วไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว
เพราะฉะนั้น ก็จะย่อทุกส่วนที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้ามาเหลือเพียงชั่ว ๑ ขณะจิต ซึ่งขณะเห็นจักขุปสาทต้อง ยังไม่ดับ สีสันวัณณะ ซึ่งเป็นธาตุชนิด ๑ ซึ่งสามารถกระทบกับจักขุปสาท เกิดพร้อมกับจักขุปสาท แล้วยังไม่ดับด้วย เป็นปัจจัยให้จิตเห็นในขณะนี้เกิดขึ้นเห็น แล้วก็ดับ แล้วก็ยังมีจิตที่เกิดต่อ จนกระทั่งถึงกาลที่ติดข้อง เพลิดเพลิน พอใจในสิ่งที่เห็น หรือว่าไม่ชอบใจเลย ไม่ติดข้องเลย ในสิ่งที่เห็น ซึ่งก็เป็นชีวิตประจำวัน
ถ้าได้ศึกษาแล้ว ก็จะเพิ่มความเข้าใจสิ่งที่เราเคยยึดถือว่าเป็นเรา ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มีเราสักขณะเดียว เพราะว่าทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วสิ่งที่ดับไปแล้ว ไม่ได้กลับมาอีกเลย ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณซีซ่าก็พิสูจน์ได้ ว่ามีอะไรที่กลับมาบ้าง สิ่งที่ดับแล้ว มีขณะไหนกลับมาบ้าง เราอาจจะคิดว่า กลับมา แต่ความจริงเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ เพราะปัจจัยใหม่ เท่านั้นเอง
ก็คงไม่ลืมพระสูตรนี้ กองแห่งทุกข์เป็นอันมากมาจากความไม่รู้ทั้งหมด
วิทยากร ขออนุญาต เสริมตรงนี้ โดยหลักในสมัยครั้งพุทธกาล มีพระนางมหาปชาบดีโคตมี ไปทูลถามพระผู้มีพระภาค ในเรื่องของพระธรรมวินัย ว่าจะมีอะไรเป็นหลักตัดสิน ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางปชาบดีโคตมี ๘ ข้อ ก็คือ
๑. ธรรมใดเป็นไปเพื่อคลาย เพื่อละเพื่อคลาย ความกำหนัด หรือละคลายกิเลสทั้งหลาย อันนี้ก็เป็นธรรม เป็นวินัย ของพระผู้มีพระภาค
๒. คือธรรมใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ คือเป็นไปเพื่อที่จะนำสัตว์ออกจากวัฏฏะสงสาร
๓. คือ ธรรมใดก็ตามที่ไม่ สะสมกิเลส
๔. คือธรรมเป็นไปเพื่อ ความมักน้อย ๕ คือเพื่อความสันโดษ
๖ เพื่อเป็นไปเพื่อความสงัด ไม่คลุกคลี
๗. ก็คือ ธรรมใดก็ตามเป็นไปเพื่อความเพียรไม่ใช่เพื่อความเกียจคร้าน
สุดท้ายคือธรรมใดก็ตาม เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงยาก อันนี้เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นหลักอย่าง ๑ ที่ทรงแสดงแก่พระนางปชาบดีมหาโคตมี
ท่านอาจารย์ ที่จริงอันนี้ก็เป็นประโยชน์ ที่จะได้เข้าใจโดยเฉพาะ ตัวของเราเอง ตั้งแต่ข้อ ๑. ธรรม เหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ทุกคนรู้ว่ เรามีโลภะ มากๆ ด้วย แล้วเราก็คงจะเห็นโทษของ โลภะ แล้วเราก็รู้ว่าไม่สามารถ ที่จะดับได้เป็นสมุจเฉท ถ้าปัญญาไม่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็มีหนทางเดียว คือธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัดคือ ความรู้ถูก ความเข้าใจถูกในการศึกษาพระธรรม เพียงแต่ฟังแล้วก็คิดว่า แล้วเราก็จะได้ขึ้นสวรรค์ หรืออะไรอย่างนี้ ก็ไม่ใช่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นรูปที่ตรงจริงๆ ในการที่จะรู้ว่า เมื่อมีโลภะมาก แล้วโลภะ ก็เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ กองทุกข์มากมายหลายประการ ถ้าโลภะน้อยลงๆ ทุกข์ก็ลดน้อยลงด้วย แต่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะดับโลภะได้ ถ้าไม่เข้าใจหนทางข้อประพฤติปฏิบัติ ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม จึงสามารถที่จะละโลภะได้ตามลำดับขั้น คือ โลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนก่อน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ฐานะของปุถุชน หรือคนที่ไม่ใช่พระสกทาคามีบุคคล ที่พยายามที่จะละความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี่เป็นควาามละเอียด ที่ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากการที่แม้ได้ฟัง คำว่า ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ก็ต้องรู้ว่าต้องเป็นธรรมที่จะทำให้มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกในสภาพธรรม ซึ่งเป็นไปเพื่อออกจากทุกข์เพราะว่ารู้อยู่ ว่าถ้าตราบใดที่มีกิเลสมาก ทุกข์ก็มาก ถ้าใครมีกิเลสน้อย ทุกข์ก็น้อยลง สำหรับการไม่สะสมกิเลส ถ้าเห็นโทษของกิเลส แล้วยังอยากจะสะสม ก็เป็นสิ่งซึ่งแล้วจะทำอย่างไร จะออกแล้วก็สะสม จะออกแล้วก็สะสม ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก นอกจากว่าเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ขณะนั้นเองก็จะเป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่งให้ค่อยๆ มีการไม่สั่งสม หรือว่าค่อยๆ ออกจากการสะสมกิเลส ก็จะเป็นผู้ที่มีความมักน้อย เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ถ้าเป็นคนที่มีกิเลสมากเท่าไรก็ไม่พอ ให้ภูเขาทองลูกหนึ่ง ภูเขาแล้วก็เป็นทองด้วย พอไหม ๒ ลูกก็ดี ๓ ลูกก็ดี ก็ไม่รู้จักพอเลย นี่ก็มีตัวอย่างในพระไตรปิฎก ที่ได้ทรงแสดงแล้ว ฉันใดในอดีต ล่วงมาถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี แล้วยังจะต่อไปอีก กิเลส และโลภะ ความติดข้องจะมากสักแค่ไหน
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมขึ้น ความต้องการของเราก็จะน้อยกว่าที่ไม่เข้าใจธรรม ค่อยๆ ลดลงแต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถดับได้เป็นสมุจเฉท สิ่งที่เรามีในชีวิตประจำวัน ถ้าเราพอใจในสิ่งที่เรามี แค่ไม่ได้หมายความว่า เราหมดโลภะ แต่ว่าสิ่งที่เรามี เราก็มีความเพียงพอหรือว่าพอใจ ก็ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน แล้วในขณะเดียวกันเรื่องของความที่มักน้อยก็ไม่ใช่หมายความว่าจะไม่มีโลภะ จะไม่มีความขยันในการทำงานเลย ไม่ใช่ แต่ว่าตามกำลังความสามารถ ไม่เกินสิ่งที่จะทำให้เราเกิดความทุกข์
มิฉะนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบสิกาวิสาขา ท่านก็ไม่ทำธุรกิจการงาน แต่ท่านก็ยังเป็นพระอริยบุคคล ซึ่งทำธุรกิจมีกิจการงานของท่าน ตามกำลัง ซึ่งไม่ใช่ว่าจะทำให้ท่านเป็นทุกข์เดือดร้อนอย่างคนที่ไม่เข้าใจธรรม
ความสงัด อันนี้ก็สงัดจากอกุศล ไม่ใช่ว่าอยากจะปลีกตัว แล้วก็ไปทำอะไร เต็มไปด้วยโลภะ เพราะว่าบางคนอยากจะอยู่เงียบๆ จริงแต่อยู่เงียบทำอะไร เต็มไปด้วยอกุศลได้ไหม คิดนึกต่างๆ ปรุงแต่งต่างๆ บางคนก็อาจจะถึงกับพยาบาทคนอื่น คิดแผนการร้ายต่างๆ ก็ได้
เพราะฉะนั้น ที่นี่ก็ต้องเข้าใจด้วย มาสงัดที่นี่ต้องหมายความถึง เป็นอัธยาศัยที่ค่อยๆ ห่างไกลจากอกุศล ซึ่งเต็มไปด้วย มิตรสหาย เพื่อนฝูง เพื่อนที่เป็นเพื่อน ๒ อยู่ตลอดเวลา แต่ว่าละคลายความติดข้อง นั่นก็คือสงัดจากความติดข้อง เพราะว่าถึงแม้ว่าเราจะอยู่คนเดียว แต่ว่าถ้าเรายังมีความผูกพัน มีความติดข้องก็เหมือนกับอยู่หลายคน ชื่อว่าอยู่คนเดียวไม่ได้เลย แต่ถ้าเราค่อยๆ คลายความติดข้องจากบุคคลอื่น ขณะนั้น ก็จะเข้าใจถึงความสงัด แม้ว่าจะอยู่กับบุคคลอื่นมากหน้าหลายตา ก็ยังมีโอกาสที่เราจะอยู่สงัดได้ ด้วยปัญญา
เรื่องของปรารภความเพียร นี่ก็ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เราก็จะต้องมีการฟังพระธรรม แล้วก็มีการอบรมเจริญปัญญา ด้วยความเห็นถูก ด้วยความเข้าใจถูกว่า เราเป็นใคร มีความรู้ระดับไหน ความรู้ระดับนี้ยังไม่พอ ก็ต้องค่อยๆ อบรมเพิ่มขึ้น แล้วก็เป็นผู้ที่เลี้ยงง่าย อันนี้ก็ลดทุกข์ไปได้มาก ใช่ไหม
คนที่เลี้ยงยาก คงจะไม่ทราบว่ากำลังเป็นทุกข์จริงๆ เย็นก็ไม่ได้ ต้องร้อน เปรี้ยวก็ไม่ได้ ต้องพอดี อันนี้ก็เป็นเรื่องของความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรามีการเลี้ยงง่ายก็เป็นการที่ค่อยๆ ละคลายอกุศลไป เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ อบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น เพราะว่าปัญญานั้น เพื่อละคลายกิเลส ถ้าขณะที่เราเลี้ยงยาก เรารู้ได้เลย ใช่ไหมว่า เรากิเลสมากหรือเปล่า
ผู้ฟัง ผมอยากจะกลับมา คำว่า กามคุณ อีกสักทีเพราะว่า กามคืออะไร
วิทยากร กาม แปลว่า ความใคร่
ผู้ฟัง ความใคร่ความกำหนัด
วิทยากร คือมี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
๒. กิเลสกาม คือราคะ โลภะอยู่ตรงนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
นี่เป็นบ่วงที่จะเอาไปคล้องสัตว์ สัตว์ตัวไหนที่ถูกบ่วงคล้องไว้ ไปไหนไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะผูกคอ ผูกมือ ผูกเท้า ก็ไปไหนลำบาก ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันวิจิตรตระการ ดุจราชรถ แต่พวกคนโง่ คนเขลา หมกอยู่ แต่ท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
๑. ทำให้ติด ทำให้พอใจอภิชฌา ทำให้พอใจยินดีติดอยู่
๒. โทมนัส ทำให้ไม่พอใจขัดข้อง เป็นธรรมประจำโลก โลกนี้เรายังเป็นสัตว์โลกอยู่ ก็ต้องติดอยู่อย่างนี้ จะไม่ติดก็ต้องเป็นพระอริยะ พระอริยะก็ต้องพระอริยะชั้นพระอนาคามี ถึงจะไม่ติดในกาม พระอริยโสดา พระอริยสกทาคา ก็ยังติดอยู่
ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ ขอสนทนาด้วย กาม คือ ความติดข้อง ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เป็นสิ่งทีพอใจของกาม สิ่งนั้นเป็นวัตถุกาม ที่ตั้งของความยินดีพอใจ ถ้าเราเข้าใจกิเลสกาม ความใคร่ความพอใจ เรามีไหม ธรรมเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ มีไหม กิเลสกาม มี เมื่อมีกิเลสกามก็มีวัตถุกามด้วย ถูกต้องไหม วัตถุกาม คือ สิ่งที่กามกำลังติดข้อง
วันนี้ คุณเด่นพงษ์ติดข้องในวัตถุกามอะไร ถ้าไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะฉะนั้น ข้อความในข้อ ๑๙๗ จึงมีว่า กามคุณ ๕ ระบุไว้ด้วย ที่เราใช้คำว่า กาม ส่วนใหญ่ก็จะหมายความถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเราติดข้อง ทำไมเราติดข้อง ต้องติดข้องในสิ่งที่ทำให้เราเกิดสุขโสมนัส เราจะไม่ไปติดข้องในกาม ที่ทำให้เราโกรธ หรือว่าขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เพราะเหตุว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีลักษณะเฉพาะ คือ บางรูปเป็นอิฏฐารมณ์ เป็นรูปที่น่าใคร่ น่าพอใจ บางรูปก็เป็นอนิฏฐารมณ์ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มิฉะนั้นถ้าเป็นแต่เพียงรูป เราก็คงจะไม่เกิดความรู้สึก สุขบ้าง ทุกข์บ้าง โสมนัสบ้าง โทมนัสบ้าง แต่เพราะรูปต่างกัน เพราะว่าจริงๆ แล้ว ลักษณะของรูปที่เป็นอิฏฐารมณ์ก็มี ลักษณะของรูปที่เป็นอนิฏฐารมณ์ ก็มี เดี๋ยวเราจะรับประทานอาหาร จะเอาอย่างไหนดี เอาประเภทไหน เอารสประเภทไหน ชีวิตจริง คุณเด่นพงษ์ต้องการรสชนิดไหน
ผู้ฟัง เอาที่เราชอบ ก็ยังติดในรสอีก
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้พูดถึงอย่างอื่น ต้องรู้จักทั้งคุณ และโทษ ไม่ใช่รู้จักแต่โทษ โดยที่ไม่เห็นคุณ จะรู้สิ่งหนึ่ง สิ่งใด ต้องรู้ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้นเป็นอิฏฐารมณ์ก็มี เป็นอนิฏฐารมณ์ก็มี แล้วเราหวังอย่างไหน แม้แต่ประเดี๋ยวเราจะรับประทานอาหารเราก็หวังแล้วที่เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะอะไร เพราะทำให้เกิดสุขโสมนัส นี่เป็นคุณ ไม่ได้ทำให้เกิดโทษ ไม่ได้ทำให้เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่ากามคุณ ๕ ใช้ระบุไว้เลยว่า ๕ จะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง จะผิดแล้ว จะกล่าวอย่างพวกเดียรถีย์
แต่ว่าผู้ที่เข้าใจตามความเป็นจริง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย ทรงแสดงไว้ ไม่ฉะนั้นเราก็ค้านกับข้อความตอนนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายกามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉนคือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย เดี๋ยวอาหารอร่อย รส เป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ เปลี่ยนรสได้ไหม
ผู้ฟัง เปลี่ยนไม่ได้
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ได้ จะรู้ว่าเป็นรส ที่เปลี่ยนไม่ได้ ก็ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะ กำลังรู้ลักษณะของรส ตามความเป็นจริง ว่าเป็นรสที่น่าพอใจ ชอบไหม ถ้าชอบก็เปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้อีก เพราะฉะนั้น จึงรู้ลักษณะของความยินดี ความติดข้อง ความพอใจในรสนั้น ต้องเห็นคุณของรูปที่ทำให้เกิด สุขโสมนัส แต่ต้องเห็นด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งรู้ว่าเปลี่ยนไม่ได้
เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงแสวงหาแต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ต้องรู้ตามความเป็นจริง แล้วจึงเห็นโทษ ต่อเมื่อเห็นการเกิดขึ้น และดับไป แต่เปลี่ยนสิ่งนั้นไม่ได้เลย สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ ก็เป็นอิฏฐารมณ์ สิ่งที่เป็นอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ แต่ว่าทั้ง อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง ที่สุดก็คือเป็นโทษนั่นเอง
ท่านอาจารย์ ไม่อย่างนั้น ไม่ต้องละ แต่ละความติดข้อง แต่จะไปละลักษณะที่เป็นอิฏฐารมณ์ เปลี่ยนไปให้เป็นอนิฏฐารมณ์ไม่ได้
วิทยากร ผมก็เพิ่มนิดหนึ่ง การเห็นการได้ยิน เป็นกาม ถ้าสติไม่เกิด ก็ถึงเป็นคุณเป็นโทษก็ตาม เป็นเครื่องผูกเหมือนกัน เป็นเครื่องผูกทั้งสิ้นเลย ถ้าสติไม่เกิดเป็นเครื่องผูก ที่เห็นเป็นกาม การได้ยินก็เป็นกาม เป็นต้น ถ้าสติไม่เกิด ต้องเป็นเครื่องผูกทั้งหมดเลย
ท่านอาจารย์ และข้อความของอรรถกถาก็มี ข้อความว่าพระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลาย ด้วยอนาคามิมรรค
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720