ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
ตอนที่ ๖๙๘
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเวลาที่อ่านพระสูตร หรือว่าจะเป็นพระอภิธรรมก็ตามแต่ ต้องทราบว่าจุดประสงค์ คือไม่ใช่เพียงให้เรา รู้โดยการฟัง หรือว่าเพียงเข้าใจว่า สภาพธรรมเป็นอย่างนั้น โดยที่ว่าไม่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ว่าจุดประสงค์ทั้งหมด ของพระธรรมที่ทรงแสดง เพื่อถึงความเป็นพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความห่างไกลกันมากเลย จากการที่ เป็นผู้ที่ไม่เคยได้ฟังเลย แล้วก็ได้ยินคำว่า พระอรหันต์ แล้วก็รู้ว่าพระอรัหนต์คือผู้ที่หมดกิเลส ไม่มีกิเลสเหลือเลย แล้วจากความเป็นปุถุชนผู้ไม่รู้เลย จะไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดเลย ก็ต้องเป็นหนทางที่ต้องอดทน แล้วก็ต้องเป็นปัญญาจริงๆ
จึงต้องเข้าใจความหมายของ ปัญญาเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เห็นถูก เข้าใจถูกในลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่มี เพราะฉะนั้น จากการที่ไม่เคยรู้จัก แม้แต่คำว่าธรรมเลย มาเริ่มที่จะเข้าใจว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง เป็นธาตุ ธา-ตุ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้เลย แล้วก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของด้วย ขณะนี้เกิดแล้วปรากฏ และดับไป นี้จึงจะเข้าใจความหมายของทุกข์ เพราะเหตุว่า ถ้าเราบอกว่าเราหกล้มเจ็บเป็นทุกข์ ใครๆ ก็รู้ทุกขเวทนา หรือว่าเวลาที่เราอาจจะมีความทุกข์ใจ ขุ่นเคือง ทุกคนก็มีสภาพธรรม นั้นเกิด แต่ไม่ได้เข้าใจเลยว่า เป็นธรรม มีแต่ความเข้าใจว่าเป็นเรา
ถ้าฟังธรรมก็คือว่า ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา จนกระทั่งสามารถที่จะมีความเข้าใจถูกต้องว่า เป็นธรรม นี่ขั้นฟัง แต่เพียงเท่านี้ไม่พอที่จะดับกิเลส เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียง เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ต้องถึงการอบรม มรรคมีองค์ ๘ แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะเกิดขึ้นยังไม่สมบูรณ์พร้อม ครบทั้ง ๘ องค์ก็จริง แต่ก็เป็นขณะที่กำลังรู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ตรงกับที่ได้ฟัง
เพราะฉะนั้น เราฟังธรรมมาก เพื่อการรู้ลักษณะจริงๆ ของธรรม แต่ถ้าฟังมาก แล้วก็ยังไม่รู้หนทางที่จะทำให้ รู้ลักษณะนั้นได้ การฟังในชาตินั้นก็เป็นแต่เพียงเรื่องราว เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง คำว่า เกิดขึ้น หมายความถึงว่าเรา ต้องฟังจนเข้าใจ ไม่ใช่ จำ ใช่ไหม ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะนั้นถึงจะศึกษาได้ ที่ท่านอาจารย์เน้นให้เราทราบตรงนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าจะเข้าใจธรรม แล้วฟังธรรมก็คือว่า ขณะนี้มีธรรม และเป็นธรรม ไม่เคยขาดธรรมเลย แต่ไม่เคยรู้เลย เพราะฉะนั้น ก็เริ่มตนจากการที่จะเข้าใจธรรม ที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่ได้ฟังถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง เป็นธรรมแล้วก็ถูกต้อง ก็ต้องมีธรรมจริงๆ ในขณะนี้ที่ปรากฏ
ผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องฟังจนเข้าใจ แล้วก็จำว่า นี่สภาพธรรมอย่างนี้ใช่หรือไม่ หรือว่าจะไปรู้ว่า ธรรมมันเกิดขึ้นแล้ว แล้วก็รู้แล้ว
ท่านอาจารย์ จะมุ่งที่จำหรือว่ามุ่งที่เข้าใจ
ผู้ฟัง หรือว่าไม่ต้องจำ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วจำไม่ใช่เรา ขณะนี้คุณวีระ จำได้ ใช่ไหม นั่นคือสภาพธรรม ที่จำไม่ใช่คุณวีระ คือต้องข้าใจทั้งหมดว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ที่มีจริงๆ แล้วเคยเป็นเรา ก็คือสภาพธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น ระหว่างจำกับเข้าใจก็ ลองคิดดูว่า จำเกิดกับจิตทุกขณะ ไม่มีใครไปบังคับเลย ว่าให้จำหรือว่าต้องจำ แต่สัญญาเจตสิกซึ่งเป็นสภาพจำ ก็เกิดแล้ว แต่ว่าจำผิด หรือว่าจำเรื่องราว ซึ่งไม่ใช่ธรรม นั่นก็เป็นความจำทั้งหมดเลย แต่เวลาที่มีความเข้าใจแล้วขณะนั้นไม่ได้ หมายความว่าไม่มีความจำอะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ใช่ แล้วก็ไม่ใช่เป็นเราที่พยายามจะจำด้วย แต่ว่าขณะใดที่เข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจ ก็จำความเข้าใจ แต่ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปจำเรื่องราว ใช่ไหม แต่ขณะใดที่กำลังเข้าใจ สัญญาก็จำความเข้าใจอันนั้น อย่างเช่น คำว่า อนัตตา กับอัตตา ๒ คำนี้มีความหมายที่ต่างกัน อัตตาก็คือความเป็นเรา เป็นความเห็นผิด ส่วนอนัตตาก็คือไม่มีเรา ไม่ใช่เราเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ๒ คำนี้เราต้องจำ ไว้เฉยๆ หรือว่าเราเข้าใจความต่างกันของ ๒ คำ ว่า ๒ คำต่างกันโดยที่ว่า ต่างเพราะความเป็นจริงนั้นต่างกัน ถ้าความเป็นจริงไม่ต่างกัน ก็ไม่ต้องมี ๒ คำที่ต่างกัน แต่เมื่อความจริงนั้นต่างกัน จึงมีคำที่ใช้เรียกให้เข้าใจ ความต่างกันของทั้ง ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น ขณะที่เข้าใจอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องไปจำอะไรที่จะต้องไปจำอีก เพราะว่าถ้ามีความเข้าใจ จริงๆ ว่าไม่มีอัตตา ไม่มีตัวเรา แต่คำที่ว่าไม่มีตัวเรา คือไม่เราไม่ใช่ตัวเรานั้นคือ อนัตตา ก็มีคำ ๒ คำ อัตตา กับ อนัตตา
ผู้ฟัง สภาพที่เข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวตนนั้นอยู่ตรงไหน ก็คือสภาพธรรม ที่ปรากฏขณะนั้นเอง
ท่านอาจารย์ ก็ ได้ความเห็น ๒ อย่าง ความเห็นถูกคืออนัตตา เห็นว่าไม่ใช่เราหรือเข้าใจถูกต้อง ว่าไม่ใช่เราเมื่อมีการฟังมากๆ ก็เพิ่มความเข้าใจถูกในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนยิ่งขึ้น แต่อัตตาก็คือความเห็นผิด ว่ามีตัวตนในสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม สิ่งนั้นจะต้องเกิดขึ้นให้เห็นว่านี้คือสภาพ อัตตา หรือสภาพอนัตตา ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ การฟังธรรมคือการฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนสามารถที่จะเป็นมรรค ถึงความเป็นอริยมรรคได้ ถึงการประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรมตามที่ได้เข้าใจแล้ว
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ผมเข้าใจคำว่า เพราะต้องเกิดขึ้น ที่ท่านกล่าวไว้ตรงนี้แล้ว เพราะความเกิด เพราะความเกิดขึ้นทั้งหลาย ประโยคที่ใช้คำว่า เพราะความเกิดขึ้น นั้นหมายมุ่งเน้นไปที่ สภาพธรรมนั้นต้องเกิดขึ้น จริงๆ เกิดขึ้นแล้วต้องปรากฏกับปัญญาด้วย ไม่ใช่ปรากฏกับเรา
ท่านอาจารย์ ขณะนี้สภาพธรรม มีแน่ ไม่รู้ว่าเป็นธรรม นี้ขั้นนึง ถูกต้องไหม ไม่เคยฟัง ไม่เคยรู้ แต่พอฟังแล้วก็รู้ว่าธรรมก็คือสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เช่น เห็น กำลังมีเดี๋ยวนี้ แล้วก็เป็นธรรม นี่คือขั้นฟัง ได้ยินเป็นธรรม สิ่งที่ปรากฏเป็นธรรม คิดนึกเป็นธรรม สุขทุกข์เป็นธรรมจนกระทั่งทั้งหมดทุกวัน ตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยความเข้าใจจากการฟัง ก็รู้ว่าเป็นธรรม นี่คือความเข้าใจซึ่งจะต้องมั่นคง ขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ก็รู้ว่าทุกครั้งที่ศึกษาธรรม
ประโยชน์ คือเพื่อเข้าใจสิ่งที่มี ที่เคยได้ยินได้ฟังแล้ว ให้มั่นคงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ผู้ฟัง คำว่า สวนะ การเรียนการไตร่ถาม การฟัง การทรงไว้ แค่นี้ก่อน ตรงนี้หมายความถึงการฟัง หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าฟังแล้วก็ผ่านไปเฉยๆ กับการฟัง แต่ว่าไม่ได้ผ่านไปเฉยๆ นี่ก็ต้องต่างกัน ใช่ไหม
ผู้ฟัง การเรียน คือ การฟัง เรียนสิ่งที่ฟัง อาจจะจำบ้าง อาจจะเข้าใจบ้าง แล้วต่อไปก็ไตร่ถามๆ สิ่งที่ไม่รู้ ไตร่ถามที่รู้แล้ว ให้รู้ยิ่งขึ้น อันนี้ก็เกิดการฟัง นั้นนั่นเอง แล้วก็จะไตร่ถามได้ ก็ต้องมีการฟัง หรือการอ่านถือว่าเป็นการฟังด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่า มีเสียงอยู่ในใจใช่ไหม เวลาอ่าน สาวัตถี พอเห็นคำนี้ มีสัญญาความจำ เสียง สา-วัต-ถี หรือเปล่า
ผู้ฟัง ออกเสียงมาเอง
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องออกเสียงก็ได้ แต่เป็นความจำ เสียง ของความหมายของคำ
ผู้ฟัง เพราะความคุ้นเคยเท่านั้น ที่เห็นว่า สาวัตถี ต้องออกเสียงอย่างนี้ แล้วก็นึกขึ้นมาเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าคนที่อ่านภาษาไทยไม่ออก เห็นคำว่า สาวัตถี เขาก็จะเห็นเพียงตัวหนังสือ แต่ไม่รู้ว่า อ่านว่าอย่างไร เห็นไหม เราใช้คำว่า อ่านว่าอย่างไร แต่ว่าคนที่อ่านภาษาไทยได้ พอเห็นก็อ่านออกมาเลย สาวัตถี จะดังหรือไม่ดังก็ตามแต่ เพราะจริงๆ แล้วมีความคิดในใจ หลังจากที่เห็น แต่ว่าคิดเรื่องอะไร แม้แต่คำที่เราคิด ที่เป็นเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นเรื่องความจำเสียงทั้งหมดเลย
ถ้าขณะนั้น เป็นปัจจัยให้เสียงนั้นเปล่งออก เพราะว่ากำลังมีวิตก คือการตรึกหรือนึกถึงคำ เสียงนั้นจะเกิดขึ้นโดยความเป็นอนัตตาด้วย ให้เห็นว่าขณะนั้น คำที่เปล่งออกมานั้น มาจากวิตก วิจาร ในขณะที่ จิต กำลังมี คำหรือความหมายของเสียงนั้น
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้จริงๆ ว่าสภาพธรรม ที่มีในชีวิตประจำวันจริงๆ ถ้าเราสามารถเข้าใจลึกซึ้งขึ้นอีก ก็จะเห็นความเป็นอนัตตาของแต่ละขณะได้ แม้แต่เสียงที่กำลังเปล่งในขณะนี้ เพียงแค่คิดก็มี ยังไม่ได้เปล่งออกมา เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นตัวหนังสือ ไม่อ่านก็เป็นเพียงตัวหนังสือ แต่ถ้าอ่านขณะนั้น จะเป็นควาามจำเสียงหรือเปล่า ทำให้นึกถึงเสียงที่เคยได้ยินหรือเปล่า เพราะฉะนั้น อ่านว่าอะไร จะเห็นได้เลย ว่ามีตัวหนังสือ แล้วจะมีคำถามว่า คำนี้อ่านว่าอะไร ไม่ใช่เพียงแต่เห็น แต่ยังอ่านว่าอะไร ก็คือความจำเสียง จากการเห็นตัวหนังสือ แล้วยังมีการจำเรื่อง แล้วยังมีการรู้ การเข้าใจความหมายนั้นอีก ก็หลายซับ หลายซ้อน
ผู้ฟัง คงจะนึกแล้ว แต่เร็วมาก เอ๊ะ อะไรนะ หรือว่ายังไม่รู้ แบบอ่านออกเสียงว่า อย่างไร ด้วยซ้ำถึงจะรู้
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าออกเสียงว่า ทุกเข มาแล้ว ใช่ไหม ความจำก็มี สัญญาเจตสิกก็มี ในขณะที่จิตเพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าความรวดเร็วของวาระจิต หลายวาระทีเดียวที่ทำให้ สามารถที่จะรู้ว่า คำนั้นอ่านว่าอะไร
ผู้ฟัง ท่านพูดถึงเรื่องสัจจะ สัจจะนี้หมายความ ถึงความเข้าใจ สัจจะนี้ คือ ๒ สัจจะทุกข์ สมุทัย ซึ่งตอนแรกพูดถึงทุกข์เท่านั้น ตรงนี้หมายความถึง คำที่เราเคยได้ยินว่า สัจจญาณ คือความเข้าใจในเรื่อง สัจจะนั้นหรือเปล่า หรือมันเป็นขั้นตอน สัจจญาณ กิจจญาน กตญาณ อะไรต่างๆ สัจจะตรงนี้หมายความถึงความเข้าใจสัจจะ ทุกขสัจจะ
ท่านอาจารย์ สัจจะ คำเดียวก็คือความจริง สภาพธรรม ที่มีจริง เป็น สัจจะเป็นของจริง ญาณ ก็คือปัญญา ที่รู้ความจริงนั้นก็แล้วแต่ว่าจะมีอะไรมาประกอบ หรือจะบ่งถึงปัญญาระดับไหน แม้แต่การเรียนก็คือการเรียนสัจจะ การฟังก็ฟังสัจจะ
ผู้ฟัง การทรงไว้ ก็คือทรงไว้สัจจะ พอการพิจารณา หรือ สัมมสนะ แล้วก็การปฏิเวธ
ท่านอาจารย์ พิจารณาสัจจะ คือ แทงตลอดก็แทงตลอดสัจจะ
ผู้ฟัง แต่ยังไม่ได้เป็นเรื่องของญาณ หรืออย่างไรทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์ ที่จริง ข้อความในพระสูตร ท่านไม่ได้แสดงความละเอียด เช่นข้อความที่ว่า ญาณอันเกิดด้วยอาการ ๔ ด้วยสามารถการฟัง อันนี้ก็พอจะเข้าใจได้ว่า ถ้าไม่มีการฟังเลย เราก็ไม่สามารถที่จะคิดเองเข้าใจเอง ในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏได้ เมื่อฟังแล้วการพิจารณา การแทงตลอด ท่านรวบยอดเลย ฟังแล้วก็มีการพิจารณา มีการอบรม จนกระทั่งมีการประจักษ์แจ้ง แล้วก็เมื่อมีการประจักษ์แจ้ง แล้วก็ย่อมมีปัญญา ปัจจเวกขณะญาณ ที่รู้ว่าขณะนั้น ได้ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมแล้ว ไม่ใช่ความเห็นผิด
วิทยากร การพิจารณา ถ้าจะเทียบกับ ญาณ การพิจารณานี่ จะหมายถึง วิปัสสนาญาณเกิด ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ไปจนกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ
วิทยากร ต้องใช้คำว่า การพิจารณารอบคอบ เพราะว่าอันหลัง การพิจารณา
วิทยากร หมายถึงปัจจเวกขณะ สัมมสนะ ผมเข้าใจว่าจะหมายถึงวิปัสสนาญาณ ไม่ผิด พิจารณาเฉยๆ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วภาษาบาลีก็คือ ภาษามคธ ซึ่งคนในสมัยนั้น ใช้พูดกันเป็นประจำ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะคิดถึงว่า เวลาที่เราพูดภาษาธรรมดา คำนั้นก็จะกินความตั้งแต่ ความหมายธรรมดา จนกระทั่งถึงคำที่มีความหมายถึงการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมด้วย
วิทยากร เพราะมันมีอันสุดท้าย คือการแทงตลอด
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ามีแต่เพียงการฟัง แล้วไม่มีการพิจารณา ก็จะไปขัดกับการเรียน การไตร่ ถาม การฟัง การทรงไว้ จนกระทั่งถึงการอบรมเจริญปัญญา ด้วยการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ทั้งหมดย่อมาไว้ ทั้งหมด ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณเลย ก็แทงตลอดไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีการพิจารณาตั้งแต่ การฟังเลย ก็ไม่สามารถที่จะทรงไว้ ซึ่งความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ในขณะที่กำลังอบรมเจริญปัญญาด้วย
ผู้ฟัง ที่ท่านแสดงว่าญาณอันเกิดจากอาการ ๔ อย่าง คือว่าด้วยสามารถจากการฟัง ๑ ด้วยสามารถจากการฟังอันนี้ก็คือปัญญา ที่ได้จากการฟังนั่นเอง แล้วก็ที่ว่าขณะทำไมขณะที่
ท่านอาจารย์ แต่การฟังนี้ต้องรวม การเรียน การไตร่ถาม การทรงไว้ด้วย
ผู้ฟัง ต้องพร้อมกันหมด แล้วก็ที่กล่าวว่า นิโรธ และมรรคนี้ ไม่มีในขณะที่ สัมมสนญาณเกิด คือหมายถึงว่าไม่เกิดขึ้นในขณะแห่ง สัมมสนญาณ เพราะว่าอย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแล้วว่า ทุกข์กับสมุทัย เท่านั้นเอง ที่เป็นสภาพธรรมที่ควรแก่การพิจารณา เพราะเห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม เพราะสัมมสนญาณนี้ เป็นการที่เห็นการเกิดดับของสภาพธรรม ซึ่งขณะนั้นไม่ใช่เป็นขณะที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่มรรคจิตเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ นิพพานจริงๆ ตัวจริง นิพพานไม่ใช่เรื่องของนิพพาน นิพพานธาตุ สามารถที่จะเป็นกรรมฐานให้พิจารณาได้ หรือเปล่า ไม่ได้ มรรคจิต ก็ไม่ได้ เหมือนกัน แต่จิตอื่นได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในทุกขอริยสัจ จึงไม่มีโลกุตตรธรรม คือไม่มีมรรคจิต แล้วก็ไม่มีนิพพาน เพราะว่าขณะนั้นไม่ได้.เป็นธรรมที่ควรจะกำหนดรู้
วิทยากร ท่านพูดถึงเรื่อง อริยสัจ ๔ ไว้โดย ๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสกับปัญจวัคคีย์ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ ทุกขอริยสัจนั้น ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ ไม่เคยเกิด
ท่านใช้คำว่า ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน คำว่าฟังในที่นี้ ไม่ใช่ฟังแบบได้ยินเฉยๆ คล้ายๆ ของมันปิดอยู่ ของมันปิดอยู่ พอจักษุปัญญาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นแล้ว เหมือนอย่างกับเปิดออกมาเลย เห็นหมดเลย นี่ทุกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่มรรค เห็นเลย ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟังมาก่อน คนเราก็มีหมด แต่ไม่มีนิโรธกับมรรคไม่มี ทุกขสมุทัย มีแล้ว มีเต็มหมด แต่ที่เราไม่เห็นเพราะว่ามีอวิชชา หรือโมหะ ปิดบังไว้ อย่างจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อะไร การฟังของเราก็ฟังตามๆ กันมาเฉยๆ ยังไม่มีปัญญาที่จะฟัง มันยังไม่มี เพราะฉะนั้น มันถึงจะปิดอยู่ เมื่อปิด เราก็ไม่รู้แจ้ง ไม่รู้สัจจะ ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้สมุทัย เราก็ยังไม่รู้ ทั้งๆ ที่มันเกิดอยู่ตลอดเวลา เราก็ไม่รู้
ผู้ฟัง กรรมฐานควรจะเป็นทุกข์กับสมุทัย เท่านั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าเราเข้าใจถูกต้องว่าขณะนี้มี สภาพธรรม ที่เป็นทุกข์ เป็นกรรมฐานได้ไหม
ผู้ฟัง เป็นที่ตั้งใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นที่ตั้งของสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น แม้แต่สมุทัย ขณะนี้ก็มี ก็สามารถที่จะระลึกรู้ได้ เพราะฉะนั้น ในบรรดาสัจจะ ๔ สำหรับทุกข์ กับ สมุทัยก็เป็นสิ่งที่สามารถรู้ได้ แทงตลอดได้ แต่สำหรับนิโรธกับมรรค ก็ต้องด้วยการประจักษ์แจ้ง
ผู้ฟัง คุณประเชิญอธิบายต่อเลย เกี่ยวกับที่ว่า สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ ๒ ข้างปลายเป็นวิวัฏฏะ
วิทยากร ในสัจจะ หรืออริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ท่านแบ่งเป็นอย่างละ ๒
๒ ข้างต้น คือ ทุกข์กับสมุทัย เป็นวัฏฏะ วัฏฏะในที่นี้ก็คือหมุน หมุนเวียน หมุนเวียนตาย เวียนเกิด หรือเป็นในสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นภพภูมิ ๓๑ ภพภุมิ ก็จะ มีเพียงทุกข์ กับ สมุทัย ส่วนสัจจะ ๒ ข้างปลายก็คือ นิโรธ คือพระนิพพาน แล้วก็มรรค เป็นวิวัฏฏะ วิ นี้ก็คือ ปฏิเสธ ไม่มีวัฏฏะ หรือตัดวัฏฏะ นั่นเอง ไม่มีการหมุนเวียนไม่มีการเวียนไปในภพภูมิทั้งหลาย นิโรธ แล้วมรรค พระนิพพาน ไม่เป็นวัฏฏะ เป็นวิวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงใช้คำว่า สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ ส่วนสัจจะ ๒ ข้างปลาย เป็นวิวัฏฏะ
วิทยากร วัฏฏะ หมายถึง หมุนเวียน เหมือนล้อรถไม่รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย หมุนอยู่ในกามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อยู่ใน ๓๑ ภูมินี้ เวียนตายเวียนเกิด แต่วิวัฏฏะนี้ ตรงกันข้าม วิ ตัวนี้ แปลว่า เป็นปฏิเสธ ไปเลย คือออกจาก ไปจาก ปราศจากไม่มีหมุนเวียน เพราะพ้นจากการหมุนเวียน
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจจริงๆ ในการฟังธรรม เพราะเหตุว่าถ้าเราเพียงอ่านเราก็เข้าใจผิดได้ อย่างที่ว่าท่องด้วยวาจาบ่อยๆ เพียงท่องคงจะไม่ทำให้ สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ ไม่ใช่พูดไปเฉยๆ แต่จะต้องมีความเข้าใจแล้วก็ยังคำที่พูดให้เป็นไปบ่อยๆ อย่างพูดว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาหรืออะไรอย่างนี้ ก็ตามแต่ จะพูดว่าอะไรก็ตาม หรือจะนึกถึงอะไรก็ตาม แต่หมายความว่าย่อมยังคำที่พูดนั้น ให้เป็นไป ให้มีความเข้าใจให้เห็นให้ระลึกให้รู้จริงๆ อย่างนั้น แล้วสติปัฏฐาน หรือว่าสภาพธรรม ก็ปรากฏให้สติระลึกได้ขณะนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มีอะไรเลยเพียงแค่ท่องเฉยๆ ข้อสำคัญที่สุด ก็คือว่าเราก็ต้องรู้จักปัญญาของเราเอง ทุกคนเลยว่าเรามีแค่ไหน พอที่จะเข้าใจทั่วถึงทุกคำ ในพระไตรปิฎก หรือว่าไม่สามารถที่จะเป็นไปได้เลย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะได้ ในชาตินี้ก็คือว่า ถ้าเรารู้ว่าปัญญาของเรา ขณะนี้สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏหรือยัง อย่างที่เวลาที่ลูกศิษย์ของท่านพระอานนท์ กับลูกศิษย์ของท่านพระอนุรุทธ ท่านก็กล่าวพยายามที่จะ ใครเก่งกว่ากัน นานกว่ากัน ดีกว่ากัน ก็ตามแต่ที่กล่าวธรรมนี่ เมื่อไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสถามว่า พวกเธอ รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วหรือ อันนี้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราไม่ลืมเลยว่า ไม่ว่าเราจะอ่านมากเท่าไร แล้วคิดว่า เรารู้เท่าไร แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดง แล้วหรือ ทั่วถึงคือขณะนี้ เพียงแต่ธรรมที่กำลังปรากฏ เรารู้จริงๆ หรือยัง ถ้ายัง เราก็จะไปพูดถึง ข้อความทุกคำในพระไตรปิฎก ในอรรถกถาโดยที่ว่ารู้ว่าปัญญาของเรา ไม่ถึงระดับนั้นแน่นอน อย่างไรก็ไม่มีใครถึง เพียงแต่ว่าถ้าเป็นภาษาบาลีแปลได้ แต่อรรถ ของความหมายของคำนั้น ลึกซึ้งมากแค่ไหน อย่างที่เราก็เห็นได้ในวันนี้ เมื่อแปลออกมาแล้วก็เป็นวันนี้ แต่ว่าเราก็ต้องพิจารณา ไตร่ตรอง โดยการที่ว่าสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วเราสามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนี้หรือเปล่า เพราะจริงๆ แล้ว อนุตริยะ การฟังที่ประเสริฐ หรือว่าลาภานุตริยะ ลาภอันประเสริฐ ก็คือ มูล ครั้งแรกที่สามารถจะเป็นทางดำเนินไปสู่การที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ในภายหลัง อย่างการฟัง ฟังแล้วมีการไตร่ตรอง มีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ มีการเข้าใจความหมายของคำว่า อนัตตา แล้วรู้จริงๆ ว่า สภาพธรรมมีจริงๆ ทรงแสดงโดยการตรัสรู้ และผู้ที่ได้ฟังก็สามารถที่จะอบรม เจริญปัญญาตั้งแต่ขั้นฟัง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720