ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ อย่างการฟัง ฟังแล้วมีการไตร่ตรอง มีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ มีการเข้าใจ ความหมายของคำว่า อนัตตา แล้วรู้จริงๆ ว่า สภาพธรรม มีจริงๆ ทรงแสดงโดยการตรัสรู้ และผู้ที่ได้ฟังก็สามารถที่จะอบรม เจริญปัญญาตั้งแต่ขั้นฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็จะเข้าใจที่ได้ทรงแสดงไว้ ในเรื่องของทุกข์ ในเรื่องของสมุทัย นี่คือสิ่งที่จะเป็นมูล อนุตตริยะ เป็นมูลที่จะทำให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่ถ้าเราไม่มีอย่างนี้ ไม่มีการเข้าใจถูก แล้วก็อาจจะมีการที่จะได้ฟัง ได้อ่านธรรมมาก ในภาษาไทยเทียบเคียงกับภาษาบาลี แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็ไม่ใช่หนทาง ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะยังมีความสงสัย ยังมีความไม่เข้าใจในพยัญชนะต่างๆ แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมกำลังมีในขณะนี้ เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วก็ปัญญาของเรา แค่ไหน คือสามารถที่จะเข้าใจ จนกระทั่งถึงสามารถที่สติสัมปชัญญะกำลังเกิด แล้วก็เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อย อันนี้จะเป็นการสะสม ที่จะเป็น อนุตตริยะ ที่ทำให้ถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ก็ควรที่จะคำนึงถึงปัญญาของเราเองที่ เพิ่มขึ้นจากการฟัง และรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง อันนี้เป็นประโยชน์สูงสุด

    ท่านอาจารย์ ใช่ สำหรับชาตินี้ซึ่งสั้นมาก ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหมดสิ้น

    ผู้ฟัง แต่ว่าตั้งแต่เช้ามานี้ ผมฟังคล้ายๆ ว่า เราจะมาสอบสวนเรื่องพยัญชนะก่อน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็เพื่อให้เข้าใจถูก เท่าที่กำลังปัญญาของเราสามารถเข้าใจได้

    ผู้ฟัง ผมถึงสังเกตดูว่า ทำไมร้อยส่วนมี ๗ ส่วน มันต่างกัน ถ้าเป็นร้อย อันนี้อุปมา ยากมาก แต่ก็

    ท่านอาจารย์ ถึงพัน ถึงหมื่น แล้วจะใช้คำอะไร ที่จะทำให้เห็นว่าขณะนี้ เรารู้แค่ไหน

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นโวหาร ผมว่ายากมาก

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าแม้เราจะคิดสงสัยไปประการใดก็ตาม ยังไม่ได้รู้ทั่วถึงธรรม ที่ได้ทรงแสดงแล้ว ก็กลับมาหาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็ฟังเพื่อที่จะให้มีการเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เช่น ถ้อยคำที่ว่า ท่องด้วยวาจาบ่อยๆ ถ้ามีใครเกิดจะท่องว่า อนัตตาๆ ๆ ปากเปล่า หรือว่าอนัตตาโดยการที่ว่า ค่อยๆ เข้าใจ แต่จริงๆ เพียงคำพูดว่าอนัตตา โดยที่ว่าไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงความเข้าใจ หรือความจำเท่านั้นเอง ในคำว่า อนัตตา

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า แม้แต่คำที่พูด เราก็สามารถที่จะรู้ได้ด้วยตัวของเราเองว่าแม้แต่คำนี้ เราสามารถที่จะ เข้าถึงความหมายของคำว่า อนัตตา ในลักษณะของสภาพธรรม อะไรหรือเปล่า ต้องมีสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ที่ส่องถึงความเป็นอนัตตา เพราะลักษณะนั้นไม่ใช่เรา แข็งเราหรือเปล่า สิ่งที่กำลังปรากฏ เพียงปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาท เราหรือเปล่า ได้ยินขณะนี้กำลังมี เราหรือเปล่า นี่คือการพิจารณาเพื่อที่จะให้ยังคำพูดให้เป็นไปบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแต่พูดเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพูดธรรมคำหนึ่ง คำใด เตือนสติเราได้แล้ว ใช่ไหม เตือนให้เรารู้ว่าขณะนั้น เรายังคำที่พูดของเราให้เป็นไป ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นได้ หรือยัง

    ผู้ฟัง การที่ฟังธรรมว่า ทุกขอริยสัจ จะต้องอบรมกิจจญาณใช่ไหม ตามที่ท่านอาจารย์ว่า กิจจญาณ แต่ทีนี้ว่า ถ้าเป็นระดับสัจจญาณ พูดถึงทุกข์ จะพิจารณาอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สัจจญาณ คือสามารถที่จะรู้ อริยสัจ ๔ ด้วยความเข้าใจที่มั่นคงระดับ ๑ ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงว่าจะเข้าใจถูก เห็นถูก คิดถูกก็ต้องอาศัย การได้ยินได้ฟัง จึงจะสามารถรู้ว่า ขณะนี้เรายังมีความมั่นคงที่เป็นสัจจญาณหรือเปล่า หรือว่าเราตกหนทางไปแล้ว

    ผู้ฟัง ในเรื่องของการแทงตลอด และการตรัสรู้ จะต่างระดับกันอย่างไร ที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อเธอทำอย่างนี้ ก็คือเมื่อเข้าใจ อริยสัจทั้ง ๔ จาก ๒ ที่เป็นวัฏฏะ และสัจจะ ๒ ที่เป็นวิวัฏฏะ เมื่อมีความเข้าใจแล้ว ย่อมแทงตลอดซึ่งสัจจะ ๔ โดยปฏิเวธอย่าง ๑ แล้วอีกข้อความหนึ่งว่า ย่อมตรัสรู้ ด้วยการตรัสรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทงตลอดถึงการตรัสรู้ในอริยสัจ ๔ ก็คือ รู้ทุกข์แทงตลอด หรือว่าตรัสรู้ทุกข์ด้วยกำหนดรู้เป็นต้น กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ถึงความต่างระดับของแทงตลอด กับตรัสรู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะได้ยินคำว่าปฏิเวธ หรือแทงตลอดบ่อยๆ อย่าลืมว่าเป็นภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาของพระไตรปิฎก ที่เราใช้คำว่าภาษาบาลี เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจ ความหมายของภาษาธรรมดา ปฏิเวธ โดยคำแปลที่ใช้กันในยุคนั้นก็คือ แทงตลอด

    เพราะฉะนั้น แม้แต่ในขั้นของการฟัง ฟังเข้าใจระดับไหน ระดับแทงตลอด หรือว่ายังไม่ถึง ขั้นระดับที่แทงตลอด เช่น เพียงได้ยินคำว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คือความหมายของทุกข์ แทงตลอดแค่ไหน มั่นใจจริงๆ หรือเปล่า ว่าขณะนี้ที่กำลังเห็น เห็นเกิดแล้วดับ หรือว่าเพียงแต่ได้ยินว่าทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏเพราะเกิดขึ้น เมื่อเกิดปรากฏแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ขณะนี้ถ้าเข้าใจ แล้วก็แทงตลอดถึงอรรถ ของคำนี้ก็คือว่า ขณะนี้กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่เที่ยงเลยสักขณะเดียว จะต้องเป็นขณะที่เกิดขึ้น และดับไป อย่างเร็วมาก เพราะว่าขณะนี้เหมือนกับว่ามีเห็นอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือ สภาพธรรมใดก็ตามเกิดขึ้น อย่างจิตจะมีอายุที่สั้นมาก คือ อนุขณะ ๓ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ จะเร็วสักแค่ไหน

    เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถฟัง แล้วก็แทงตลอดใน ความรวดเร็วว่า ขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏเหมือนไม่ดับ ความจริงก็คือสภาพธรรมในขณะนี้ เกิดดับ จึงสามารถที่จะทำให้มีการคิด การทรงจำ การไตร่ตรอง เรื่องราวต่างๆ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ได้ เพราะการสืบเนื่องติดต่อกัน ของการเห็นแต่ละวาระที่ เกิดขึ้นก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าจากการที่สิ่งนั้นเกิดแล้วก็ปรากฏ หลายๆ วาระ ซ้ำอยู่ตลอดก็ทำให้มี การทรงจำเกิดขึ้นว่า คนที่เห็นเป็นใคร นี่คือเมื่อได้ฟังแล้ว ก็มีการพิจารณา แล้วก็มีการแทงตลอดในอรรถ ด้วยความเข้าใจในอริยสัจ ขั้นที่เป็นสัจจญาณ คือ แทงตลอดระดับนั้น แล้วก็ยังถึงขณะที่ มีสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็กำลังรู้ลักษณะนั้น แล้วก็แทงตลอดในความเกิดดับนั้น ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นการตรัสรู้ ไม่ใช่อภิสมัย ไม่ใช่เป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ยังไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็มีการแทงตลอดในลักษณะของทุกข์ซึ่งเกิดดับ

    เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่าแทงตลอด คำเดียวก็จะต้องมีความเข้าใจ หลายขั้นว่า เป็นภาษาธรรมดา ของชาวบ้าน แล้วก็เป็นเรื่องของธรรม แล้วก็เป็นการเข้าใจในขั้นแทงตลอด ในขั้นของความเข้าใจ แล้วก็เป็นการแทงตลอดในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด จนกระทั่งถึงอภิสมัย คือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้น ปฏิเวธ การแทงตลอด ซึ่งสัจจธรรม ก็อย่างหนึ่ง โดยการพิจารณาแม้ในขั้นการฟัง สามารถที่จะแทงตลอดด้วยปัญญาในขั้นฟัง สามารถที่จะแทงตลอด ด้วยสติสัมปชัญญะ ในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ แล้วก็แทงตลอดที่เป็นขั้นอภิสมัย ซึ่งใช้คำว่า ตรัสรู้ เมื่อเป็นการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจถึงการแทงตลอด โดยจากการฟัง

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้เราก็กล่าวถึง เรื่องทุกข์ ขณะนี้ เห็นเกิดดับ แทงตลอดว่าเป็นสัจจะ ความจริงหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรม เป็นนามธรรม เราก็อาจจะคิดว่าเป็นเรา แล้วก็เกิดดับอย่างไร เพราะว่าบางคนที่ไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น ก็บอกว่ากระดานนี่จะดับได้อย่างไร เสาทั้งต้นจะดับได้อย่างไร นั่นคือฟังแต่ว่าฟังส่วนเดียวนิดเดียว ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดดับ แต่ว่าไม่สามารถที่จะแทงตลอดด้วยความเข้าใจถูกต้องว่า ไม่มีเสา ไม่มีกำแพง แต่ว่ามีสภาพธรรม แม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เราก็เคยเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ แล้วก็ยังเห็นอยู่ว่าเป็นคน เป็นสัตว์ แล้วก็ความต่างกันของ ธาตุที่เห็น เพราะว่าเป็นนามธรรมซึ่งสามารถที่จะรู้สิ่งที่กระทบจักขุปสาท ลองคิดถึง ว่าสิ่งนี้ปรากฏแต่ว่าเราเห็นว่าเป็นคน แล้วคนจะไปกระทบจักขุปสาทได้อย่างไร แต่ว่าลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมนี้ ก็คือว่า เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะต่างกับเสียง ต่างกับกลิ่น เพราะเหตุว่าไม่สามารถจะกระทบกับหู ไม่สามารถจะกระทบกับจมูก แต่สามารถจะกระทบจักขุปสาท แล้วจะปรากฏต่อเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ถ้าจิตเห็นไม่เกิด สิ่งนี้ปรากฏไม่ได้เลย ถึงจะมีอย่างไร เรากำลังหลับสนิท หรือเรากำลังได้ยินเสียง สิ่งนี้ก็ไม่ได้ปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น แม้การฟัง ฟังแล้วแทงตลอดในสัจจะ ในามจริงของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟัง จนกระทั่งมีความมั่นคง เป็นสัจจญาณ นั่นก็คือระดับ ๑ เพราะเหตุว่าถ้าความเข้าใจของเราไม่ถึงระดับนี้ แล้วจะทำให้เรา สามารถจะมีสติสัมปชัญญะเกิด แล้วยังค่อยๆ เข้าใจลักษณะของธาตุที่สามารถเห็น ซึ่งต่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะค่อยๆ รู้ความต่างกัน ซึ่งขณะนั้น จะไม่มีอย่างอื่นปรากฏเลยทั้งสิ้น ขณะที่กำลังพิจารณา แต่ก็ยังไม่ใช่การแทงตลอด ที่เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้น นี่ก็จะเห็นว่าแม้แต่ จะเพียงขั้นการฟัง การฟังก็ต้องแทงตลอด จริงๆ ไม่ใช่เพียงฟังเผินๆ แล้วก็พูดหรือว่าท่องตาม แต่ต้องให้เป็นไปตามวาจา หรือคำที่เรากำลังคิด กำลังเข้าใจในขณะนั้นยิ่งขึ้นด้วย นี่ก็คือในขั้นของการฟัง

    วิทยากร ตัวอย่างในพระไตรปิฎก การแทงตลอด ก็อย่างอาจารย์ว่า มีหลายขั้น อย่างท่านพระพาหิยะ ท่านก็ฟัง แล้วท่านก็แทงตลอด อันนั้นเป็นพระอรหันต์เลย แล้วคำว่าแทงตลอด ในพจนานุกรม ใช้คำว่าการเจาะเข้าถึง ความเข้าใจ การบรรลุ การหยั่งรู้ ทั้งหมด มาจากคำว่า ปฏิเวธบ้าง นิพเพธิกะบ้าง มันก็มีหลายขั้น ขั้นฟัง แค่ไหน แต่ว่ามันต้องถึงขั้นนั้น ถึงอย่างน้อยก็ต้อง นามรูปปริจเฉทญาณ ถึงเป็นแทงตลอด

    วิทยากร สำหรับสัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาค ก็ได้จำแนกไว้ว่า ความรู้ในทุกขสัจ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิทา เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอริยมรรคองค์ที่ ๑ ซึ่งอรรถกถาท่านก็ได้ขยายความ เรื่องของความรู้ทุกข์นี้ไว้โดยละเอียดทีเดียว โดยการรู้ในทุกข์นั้นก็ รู้ด้วย ฐานะหลายๆ อย่าง ซึ่งท่านก็กล่าวถึงอาการ ๔ อย่าง แทนที่จะรู้อริยสัจ ตั้งแต่การฟังการพิจารณาโดยรอบคอบ การแทงตลอดแล้วก็การพิจารณา เรียกว่า ปัจจเวกขณะ เป็นการรู้อริยสัจ ที่ เป็นทั้งโลกียะ และโลกุตตระ

    ผู้ฟัง จากที่ฟังท่านอาจารย์บรรยาย ก็ให้เข้าใจถึงว่า การรู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้าฟังอย่างนี้ เราจะเข้าถึงตัวธรรมได้อย่างไร เพราะความต่างกันก็มีอยู่

    ท่านอาจารย์ เพียงแต่ฟัง แล้วเพียงแต่อ่าน โดยที่ไม่ได้ศึกษา ก็จะทำให้ เข้าใจผิดได้ แล้วก็บางคนก็อาจจะคิดว่า พระสูตรเป็นเรื่องง่าย แต่ว่าความจริงแล้วอรรถ ลุ่มลึกหรือว่าลึกซึ้งมาก แม้โดยการแทงตลอด อรรถนั้น แต่จริงๆ แล้ว ทุกคำลึกซึ้งจริงๆ แม้แต่ ข้อความเดิมใน วิภังคสูตร ที่ว่า แต่ว่าโดยการแทงตลอดถึงลักษณะเห็นไหม กำลังมีลักษณะแต่ละลักษณะ เกิดดับๆ อยู่ตลอดเวลา การแทงตลอดถึงลักษณะทุกข์ และสมุทัยสัจ แม้ทั้ง ๒ ก็เป็นธรรมลุ่มลึก เกิดดับอย่างไรก็ยังไม่ประจักษ์ เพราะลุ่มลึกมาก

    ผู้ฟัง ทุกขสัจจะ ก็ปรากฏได้เพราะการเกิดขึ้น แต่จากที่ฟังท่านอาจารย์บรรยาย ท่านอาจารย์จะกล่าวอยู่เสมอว่า ปรากฏเพราะเกิดแล้ว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เกิด ก็ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ถ้าไม่เกิด ไม่ปรากฏ คำว่า ปรากฏ หมายความว่า จำเป็นไหมที่ต้องมีสติเกิด ถึงจะรู้ว่าเขาปรากฏ หรือว่าปรากฏแบบทุกข์กายก็เป็นชาติวิบาก ซึ่งไม่ต้องมีสติเกิดร่วมด้วย ความต่างกัน

    ท่านอาจารย์ เพื่อให้เข้าถึงความหมายของคำว่า อนัตตา เพราะว่าขณะนี้ใครทำให้อะไรเกิดหรือว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ เพราะเกิดแล้ว ทุกขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏ เพราะเกิดแล้ว ไม่ต้องมีใครไปทำอะไรอีกเลย

    เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะเข้าถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม แม้เห็นขณะนี้ มีแล้ว ขณะนี้เห็น เพราะเกิดแล้ว จึงได้ปรากฏ ไม่มีใครไปทำเห็น ขณะที่ได้ยิน ก็ได้ยินเกิดแล้ว จึงได้ยินในขณะนั้น ก็ไม่มีใครไปทำให้ได้ยิน เพราะฉะนั้น ก็แสดงถึงความเป็นอนัตตา ความที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แล้วไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ขณะนี้มีแล้ว ใช่ไหม มีใครไม่มีอะไรบ้าง ขณะนี้ เห็นมีแล้ว ใช่ไหมได้ยินก็มีแล้ว คิดนึกก็มีแล้ว รู้แข็งก็มีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้ ที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดแล้ว มีแล้ว โดยที่ไม่มีใครไปบังคับบัญชา หรือว่าไปทำให้เกิดขึ้นได้

    เพราะฉะนั้น แม้แต่คำถาม ก็ส่องไปถึงความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรมที่ขณะนี้ มีแล้ว ซึ่งไม่มีใครบอกว่า ไม่มี ใช่ไหม มีใครไม่มีอะไรบ้างเดี๋ยวนี้ เห็นมีไหม ได้ยินมีไหม คิดนึกมีไหม ทุกอย่าง มีแล้วเมื่อไร เมื่อปรากฏเพราะเกิด เพราะฉะนั้น ก็คือสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น การที่จะรู้ว่าสภาพเหล่านั้น เป็นธรรม ตรงนี้ต้องมีสติเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ ต้องมีการฟัง แล้วก็ต้องมีการแทงตลอด ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ด้วยความถูกต้อง ก็จะทำให้ทรงจำ เพราะเหตุว่าจะไม่ลืมเลย ว่าขณะนี้เป็นธรรม ธรรมคือสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ ให้เข้าใจได้ แต่ว่าต้องอาศัยการพิจารณา จนกระทั่งเข้าใจจริงๆ เพราะเหตุว่าแม้สติสัมปชัญญะ หรือสติปัฏฐาน ก็ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้นมาได้ แต่มีเหตุปัจจัย

    อย่างที่คุณนิพัฒน์ได้กล่าวถึง เพราะฉะนั้น ทุกสูตรก็จะ มีความสำคัญ แล้วก็เป็นประโยชน์ ที่จะทำให้เราพิจารณา ความเข้าใจของเรา ในแต่ละคำ หรือว่า ในแต่ละประโยคที่เราได้ยินได้ฟัง เช่น โดยาการแทงตลอดถึงลักษณะ พูดถึงทุกข์ได้ ใครไม่มีทุกข์บ้าง ไม่มี ใช่ไหม ใครไม่รู้จักทุกข์บ้าง ก็ไม่มี ก็มีแต่ว่าหิวบ้าง เดือดร้อน ต่างๆ บ้าง เป็นทุกข์ แต่ว่าไม่ใช่แทงตลอด ถึงลักษณะของทุกข์เลย เพราะเหตุว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพที่ไม่รู้ความจริงของ ทุกข์ แล้วก็เข้าใจว่าทุกข์ขณะนั้นเป็นเรา เพราะฉะนั้น การแทงตลอดถึงลักษณะของทุกข์ จึงเป็นธรรมที่ ลุ่มลึก เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งจึงเห็นได้ยาก เพราะว่าขณะนี้เอง กำลังเป็นทุกข์อยู่ทุกขณะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

    ผู้ฟัง ตราบใดที่เรายังไม่ได้แทงตลอดถึงลักษณะ มันก็รู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจได้ในขั้นต้น ว่าไม่ต้องไปหาทุกข์ที่ไหนเลย มีอยู่ เพียงแต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจลักษณะนั้นโดยความเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราหรือเปล่า ต้องเริ่มจากตรงนี้ ฟังให้เข้าใจจริงๆ แล้วก็รู้ว่าขณะไหนหลงลืมสติ ขณะไหนสติสัมปชัญญะเกิด ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถรู้ลักษณะที่เกิดขึ้น และดับไป ของสภาพธรรมได้

    ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราจะศึกษาถึงการที่จะรู้ลักษณะปรมัตถธรรม ลักษณะของการที่ได้ยิน กับลักษณะของโทสะซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างกันมาก ในลักษณะอย่างนี้หรือเปล่า ที่เราควรจะพิจารณาว่าเขาต่างกัน

    ท่านอาจารย์ จริงๆ จากการฟัง เราก็เข้าใจ หรือว่า สภาพธรรมนั้นก็ต่างกันอยู่แล้ว อย่างโทสะ ความหยาบกระด้างของ จิตหรือว่าความขุ่นเคือง ก็ต่างกับสภาพธรรมอื่น เพียงแต่ว่าเราไม่ได้คิดถึง เราลืมไป แล้วเราก็ไม่ได้อ่านพระสูตร โดยที่ว่าไตร่ตรองโดยละเอียด แล้วก็มีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมนั้นเพิ่มขึ้นๆ ก็อาจจะคิดว่า เพราะอย่างนั้น เพราะอย่างนี้ แต่ความจริงแล้ว ทั้งหมดเพราะเรายังไม่มีเข้าใจถึงระดับที่เป็น สัจจญาณ ที่จะทำให้สติสัมปชัญญะเกิด และเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่กำลังได้ยินได้ฟัง เรื่องสภาพธรรมนั้นๆ

    ถ้าเข้าใจขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่มีสติว่าต่างกัน ก็จะรู้ได้ว่าขณะที่กำลังได้ยินอย่างนี้ กำลังเห็นอย่างนี้ เป็นหลงลืมสติ หรือว่าเป็นสติที่เริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเป็น ลักษณะนั้นจริงๆ ไม่ใช่ลักษณะอื่น

    ผู้ฟัง อย่างที่กล่าวบอกว่า เสียง ถ้าจะเข้าใจธรรม จะรู้ว่าเป็นปรมัตถเป็นรูปซึ่งเป็นลักษณะของโลภะ เป็นนามธรรม ๒ อย่างนี้ก็ต่างกันมาก ซึ่งก็ยากที่จะเข้าใจตรงนั้น ระหวางความต่างกัน ท่านอาจารย์จะแนะนำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ฟังบ่อยๆ นั่งมานาน มีทั้งฉันทะ แล้วก็มีทั้งศรัทธา เข้ามานั่งใกล้ แล้วก็เงี่ยโสต แล้วก็ฟัง แล้วก็ยังต้องพิจารณา ลักษณะของธรรมจริงๆ ที่ได้ยินได้ฟังด้วย

    เวลาโกรธทุกคนรู้ ใช่ไหม ลักษณะของโกรธก็จะต้องเป็นลักษณะอย่างหนึ่งขณะนี้กำลังได้ยิน ก็ไม่ใช่โกรธ เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะได้ยินได้ฟังอย่างนี้ แต่สติสัมปชัญญะ ก็ยังไม่ได้รู้ ตรงลักษณะของโกรธ หรือว่าตรงลักษณะของได้ยิน แต่ว่าจากการฟังว่า สภาพธรรม มี ๒ ลักษณะ คือลักษณะหนึ่ง แม้มีก็ไม่ใช่สภาพรู้ นี่ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่า ต้องมีลักษณะของสภาพรู้ นี้แน่นอน ถ้าไม่มีลักษณะของสภาพรู้ สิ่งต่างๆ จะปรากฏไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสี เสียง กลิ่น รส ใดๆ ก็ปรากฏไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สภาพธรรมใดปรากฏ ก็ย่อมแสดงว่ามีธาตุ หรือมีธรรม ซึ่งกำลังรู้ลักษณะนั้น ก็ฟังเพียงเท่านี้ เพื่อที่จะได้ เข้าถึงลักษณะของธาตุรู้ว่ามีจริงๆ แล้วขณะไหน เช่น ขณะนี้ก็มีธาตุรู้ มีสภาพรู้ มีจิต มีเจตสิก แต่ก็ยังเป็นชื่อจิต ก็ยังเป็นชื่อเจตสิก ก็ยังชื่อสภาพรู้ ยังเป็นชื่ออยู่ จนกว่าเมื่อไรที่ค่อยๆ พิจารณา แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจ เมื่อนั้นก็จะรู้ว่า เราไม่ได้เพียงแต่ฟังชื่อ แต่กำลังเริ่ม ใส่ใจพิจารณารู้ ในลักษณะนั้น แมัโดยขั้นที่ฟัง เข้าใจก่อน แล้วแทงตลอดว่าลักษณะนั้น เป็นลักษณะนั้นจริงๆ แล้วเวลาที่สภาพธรรมใดกำลังปรากฏ โดยสติกำลังรู้ลักษณะนั้น ใช้คำอย่างนี้ ใช้คำว่า สติกำลังระลึก กำลังรู้ตรงลักษณะนั้น แต่ความจริงในขณะนี้เอง สภาพธรรมใดก็ตาม ที่กำลังเข้าใจในลักษณะนั้นไม่ใช่ในเรื่อง แต่ในลักษณะ นั่นก็แสดงว่าขณะนั้นสติเกิด ไม่ใช่เรา แล้วขณะนั้นก็ประกอบด้วยสัมปชัญญะ เพราะเหตุว่าเป็นการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ที่มีจริงๆ โดยชื่อใช้คำว่า สติปัฏฐาน โดยชื่อใช้คำว่ามรรคมีองค์ ๘ หรือองค์ ๕ ก็แล้วแต่จะกี่องค์ แต่ขณะนั้นไม่ต้องมีชื่อเลย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ