ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
ตอนที่ ๗๐๕
สนทนาธรรม ที่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ โดยมากเราพูดจากความคิด ความเข้าใจของเรา แต่ว่ายังไม่ทราบว่าผู้ที่ฟัง พอฟังแล้วกำลังคิดอย่างไร เข้าใจขึ้นเท่าไร หรือว่าสับสนหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ก็อยากจะให้พิจารณาด้วยตัวเอง ว่า พอได้ยินคำว่า ธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ ไม่เคยพลัดพรากจากไปไหนเลยทั้งสิ้น จะเอาธรรมไปไว้ที่อื่นก็ไม่ได้ จะให้สิ่งที่มี ไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มี แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็อยากจะได้ทราบว่า เมื่อได้ฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรม ขอให้กล่าวถึง ธรรมที่มีตามที่เข้าใจ เป็นตัวอย่างว่า อะไรบ้าง ที่เป็นธรรม
วิทยการ ท่านอาจารย์ก็แสดงให้เราฟังด้วยว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วสิ่งที่ว่ามีจริง รู้ได้อย่างไร ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางกายกระทบสัมผัส ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส แล้วก็ทางใจคิดนึก เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความมั่นคงว่า สัตว์ บุคคล ตัวตนไม่มี แล้วตลอดเวลามีสภาพธรรม ถ้าเรารู้ได้ก็คือนามธรรมกับรูปธรรมเท่านั้นเอง อย่างนั้น เราก็จะมั่นคง แล้วก็ศึกษาว่าขณะนี้มีสภาพธรรม อะไรปรากฏ ก็ไม่พ้น ๖ ทาง ๖ โลกนี้
ท่านอาจารย์ เชิญ คุณวิชัย
วิทยากร ถ้ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ต้องใช้คำอะไรเลย สิ่งนี้มีไหม
ผู้ฟัง ใช่ๆ
วิทยการ จะใช้คำอะไรที่จะเป็นบัญญัติ สื่อที่จะให้เข้าใจ ถ้ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ตรงอยู่แล้ว ว่าสิ่งไหนที่มีจริงๆ คือจะเรียกก็ตาม เรียกชื่ออย่างนั้น อย่างนี้ แต่ว่าโดยสภาพ โดยลักษณะของเขา ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเลย เช่น ยกตัวอย่างเห็น ไม่ว่าจะเกิดแก่บุคคลใด ถ้าภาษาอื่น ก็จะใช้คำอื่น แต่ว่าสิ่งที่สามารถรู้แจ้งได้ทางตา นั้นคือ จิตเห็นเกิด นั้นคือสิ่งที่มีจริงๆ ใช่ไหม นั่นคือธรรม อันนี้ก็จะเป็น เรื่องที่จะให้เข้าใจ ว่าสิ่งที่มีจริงๆ ก็คือ ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เขาเกิดขึ้นก็เป็นลักษณะของเขาอย่างนั้น อยู่แล้ว
ผู้ฟัง ถ้าจะกล่าวว่าการเห็น เป็นธรรมชาติของ ตา
ท่านอาจารย์ คุณวิจิตรก็ ชอบใช้ภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาธรรม แต่ทีนี้ถ้าเราจะฟังธรรมแล้วใช้คำ ให้เข้าใจ ถึงจะไม่ใช่คำว่า ธรรม ใช้คำว่า สิ่งที่มีจริง เข้าใจไหม หรือว่าไม่เข้าใจคำนี้ คำว่า สิ่งที่มีจริงไม่เข้าใจ ต้องใช้คำว่า ธรรม หรือใช้คำว่า ธรรม ไม่เข้าใจต้อง ใช้คำว่า ธรรมชาติ นั่นคือเราไปติดคำ ที่เราคิดว่าถูก หรือว่า เราเข้าใจได้
แต่จริงๆ แล้วเราจะใช้ภาษาอะไรก็ตามแต่ แต่ว่าเราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้น ลักษณะนั้นเป็น ธรรม คือเป็นสิ่งที่มีจริง เราคนไทยจะใช้ภาษาอะไร ที่จะทำให้สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ได้ ใช้คำว่า สิ่งที่มีจริง เข้าใจได้ กำลังปรากฏ เข้าใจได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เมื่อวานนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิดขึ้น แต่หมายความว่าสิ่งนี้กำลังมีให้รู้ ให้เข้าใจได้ นี่คือธรรม มิฉะนั้นเราจะไปเรียนอะไร เราจะไปรู้อะไร เราจะไปเข้าใจอะไร ถ้าเราไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏในขณะนี้ให้ถูกต้องในความเป็นธรรมของสิ่งนั้น
วันนี้อยากจะถาม ให้ตอบว่า เมื่อกี้นี้ก็มี เห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีคิดนึก มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วมีอะไรอีก มีเห็น จริง ขณะที่กำลังฟัง ถ้าเป็นในครั้งที่พระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพานผู้ฟัง สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่เราพูดซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เรื่องเห็น แล้วก็ไม่ต้องไปที่ไหนเลย ๖ โลก ในชีวิตประจำวัน คือทางตามีเห็น ให้รู้ว่าขณะนี้มี เป็นธรรม ทางหูมีได้ยินเป็นธรรม เห็นได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เป็นธรรม เพราะมีจริงๆ ใครไม่มีบ้าง ไม่มีใครที่ไม่มีเลย แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ถ้ารู้ว่าเป็นธรรม อย่างตอนแรกที่กล่าวถึงว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา แต่เป็นสิ่งที่มีจริง ต้องเกิดจึงปรากฏ ถ้าไม่เกิดจะปรากฏไม่ได้เลย แต่ไม่เคยรู้การเกิดว่า เกิดแล้วในขณะนี้ จึงได้ปรากฏ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า ทันทีที่เกิดปรากฏ ก็ดับไปเลย แล้วก็มีปัจจัยที่สภาพธรรม จะเกิด สืบต่อไม่ว่างเว้นจากธรรม จึงไม่ต้องหนีไปไหน ไม่ต้องแยกธรรมออกไป จากสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ อยู่ที่ไหนก็คือธรรมทั้งนั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ก็เริ่มรู้แล้ว ใช่ไหม ใครจะแยกธรรมออกไปได้บ้าง จากชีวิตจริงๆ ทุกๆ ขณะ แยกไม่ได้ หนีไม่พ้น ต้องเป็นธรรมที่มีอยู่
ผู้ฟัง ที่เข้าใจว่า คิดนึก ที่เราว่าทางใจว่า ไม่ถูก
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ใช้คำว่า ทางใจ ถามว่าอะไรมีบ้าง มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีคิดนึกให้รู้ว่าเป็นธรรม คิดนึกเป็นธรรมแค่นี้ ยอมไหม หรือว่าเป็นเรา
เพราะฉะนั้น ต้องฟังแล้วฟังอีก แม้แต่คิด หนึ่งขณะก็ไม่ใช่เรา แค่เป็นธรรมก่อน เป็นสิ่งที่มีจริงๆ นอกจากเห็นได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วยังมีความรู้สึกต่างๆ อีก นี่ทุกคนพิสูจน์ได้เลย ใช่ไหม ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้างเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรมก็ยังไม่แยก เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ยังไม่แยก แต่เพื่อเตือนให้รู้ว่าเป็นธรรม สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา จากความรู้พื้นฐานขั้นต้น ไปสู่การที่จะรู้จริงๆ ว่า เป็นธรรม เพราะว่าจริงๆ แล้วความรู้สึกของแต่ละคนไม่เที่ยง ไม่มีใครสุขได้ตลอดเวลา ไม่มีใครเป็นทุกข์ตลอดเวลา แล้วความรู้สึกก็ไม่ใช่มีแต่เฉพาะสุข หรือ ทุกข์ ทางกาย ทางใจแม้ว่าร่างกายสบายดี แต่ใจก็เป็นทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น ก็แยกความรู้สึกอีก ว่าความรู้สึกทางกายก็อย่างหนึ่ง ความรู้สึกทางใจก็อย่างหนึ่งทั้งหมด เป็นธรรมแล้วเวลาที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ก็มีความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ด้วย ก็เป็นธรรมอีก
เพราะฉะนั้น หนีธรรมพ้นไหม ไม่พ้นเลย เป็นธรรมทั้งหมด ที่จะให้เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมทั้งหมด มีความรู้สึก แล้วมีอะไรอีก
ผู้ฟัง โทสะ
ท่านอาจารย์ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ แล้วแต่ระดับว่า จะเล็กน้อยนิดหน่อย แค่ขุ่นใจ หรือว่ามากถึงกับไม่ลืม คิดบ่อยๆ นั่นก็เป็นลักษณะของธรรมอีก เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วต่อไปเราจะรู้ว่าทั้งหมดที่มีจริง จะแยกประเภทออกไปเป็นอย่างไร ที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล ที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ก็คือสภาพทั้งหมดที่เคยเป็นเรา ก็เป็นธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น มีความรู้สึก แล้วมีอะไรอีก โทสะ แล้วอะไรอีก
ผู้ฟัง โลภะ
ท่านอาจารย์ รู้สึกจะตอบได้ไม่ยากแล้ว ใช่ไหม ตอนนี้โลภะความติดข้อง อันนี้เห็นยาก เพราะว่ามีตั้งแต่ระดับที่ละเอียดมาก จนกระทั่งระดับที่หยาบ พอที่จะรู้สึกได้
ผู้ฟัง ความตระหนี่ ความริษยา
ท่านอาจารย์ ความตระหนี่ ความริษยา มีมากหรือมีน้อย จะถามใคร คนอื่นตอบให้ไม่ได้เลย สิ่งที่ปรากฏกับคนอื่น เพียงแต่ว่าเป็นส่วนที่ก่อนจะปรากฏ มีแล้ว แต่ว่ายังไม่ปรากฏกับคนอื่นเลย ต่อเมื่อใดปรากฏก็จะปรากฏลักษณะที่ คนอื่นสามารถจะคิดถึงได้เข้าใจได้ ว่าเป็นลักษณะนั้นๆ เช่น เวลาที่สนุกมากๆ คนอื่นพอจะรู้ได้ไหม ลักษณะของความเพลิดเพลิน เป็นความติดข้องหรือเปล่า มีจริงๆ หรือเปล่า เป็นธรรมหรือเปล่า นี่คือหนีไม่พ้นเลย กำลังโศกเศร้า ร้องไห้ มีจริงๆ หรือเปล่า มี ของใคร เกิดแล้วก็หมดไป ชั่วครั้ง ชั่วคราว ถ้าเรามีพื้นที่มั่นคงว่า เป็นธรรม ต่อไปความเข้าใจว่าเป็นธรรมของเรา จะยิ่งเพิ่มขึ้น มิฉะนั้นก็จะมีความเป็นเราแทรกเข้ามาอีก เพราะฉะนั้น จึงต้องรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง ขณะที่โกรธ หรือโลภ ก็พอจะรู้สึกตัวว่าขณะนั้นโกรธหรือโลภ แต่บางครั้ง มีคนช่างคิด ท่านอาจารย์ว่า แล้วขณะที่หลับสนิท หรือธรรมจะมีขณะที่เราตื่นเท่านั้นหรือ หรือว่าขณะที่หลับอยู่ ซึ่งไม่รู้อะไรเลย ในโลกนี้ แล้วจะมีธรรมไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการตรัสรู้ เราบอกได้ไหม แล้วตอนที่หลับสนิท มีอะไรบ้าง หรือบอกไม่ได้ ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ บอกไม่ได้ แต่พอตื่นแล้วรู้ว่ามีไหม
ผู้ฟัง ก็มี สิ่งต่างๆ มากมาย
ท่านอาจารย์ หมายความว่ายังมีความทรงจำในลักษณะที่ไม่รู้อะไรเลย อะไรก็ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น เราจึงสามารถที่จะมีคำ บอกว่าฝัน หรือว่าหลับสนิท หรือว่าตื่น ซึ่งทั้งหมด เป็นสิ่งที่มีจริง มีใครบ้างที่ไม่หลับ ไม่มี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เป็นจริงหรือเปล่า หลับมีจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็น ธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้ามีจริง ต้องเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นธรรม นี่คือการที่เราจะไม่เหลืออะไรที่จะเป็นข้อข้องใจอีก ว่าอะไรเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม คือสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ถ้าไม่รู้ก็คือเรา แต่ผู้รู้เป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป หลับ สนิท ตอบได้แล้วใช่ไหม มีจริง เป็นธรรม ฝัน
ผู้ฟัง ก็มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็น
ท่านอาจารย์ ตื่น
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็น
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ที่มีจริง ให้มีความมั่นคง ให้มีความมั่นใจจริงๆ ว่าเราศึกษาเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจขึ้นในความเป็นอนัตตา มิฉะนั้นจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าทุกอย่างอยู่ในตำรา แต่ว่าขณะนี้เรารู้อะไร เราเพียงแต่จะให้มีความเข้าใจ ที่มั่นคงจริงๆ ในคำว่า ธรรม
ถ้าบอกว่าโทสะ ทุกคนรู้จัก นั่นคือลักษณะของโทสะ แม้ว่าเราจะไม่เอ่ยชื่อเลย ลักษณะของโทสะ ก็ต่างกับลักษณะของโลภะ ความติดข้องกับความไม่ชอบใจ ไม่ต้องการสิ่งนั้น เป็นลักษณะที่มีจริงๆ แล้วก็ต่างกันด้วย เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงสิ่งที่มีจริง จะมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข บังคับบัญชา หรือว่าสร้างขึ้นมาได้เลย จึงมีอีกคำหนึ่งว่า ปร-มัต-ถะ-ธรรม เป็นธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของตนๆ ซึ่ง ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะรู้เมื่อไร
ผู้ฟัง รู้เมื่อมีปัจจัย
ท่านอาจารย์ รู้เมื่อมีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้วปรากฏ นี่พูดยาว แต่ถ้าพูดสั้นก็คือ เมื่อปรากฏ ทุกคนจะต้องโกรธ ขั้นขุ่นใจเล็กๆ น้อยๆ มีไหม โกรธแรงๆ มีไหม ถ้ามีปัจจัยที่จะให้โกรธแรง แล้วขอให้น้อยลง ได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะว่าสิ่งนั้นเกิดแล้ว เป็นแล้วอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทุกอย่างให้ทราบว่า ไม่มีใครบังคับบัญชาได้เลย ตั้งใจ จะไม่โกรธได้ไหม
ผู้ฟัง ตั้งใจว่าจะไม่โกรธ
ท่านอาจารย์ บางคนฟังเผินอาจจะบอกว่าได้ เพราะว่าเราตั้งใจไว้แล้วว่า เราจะไม่โกรธ ใครมายั่วแหย่อย่างไร เราจะไม่โกรธ เราก็คิดว่าเราตั้งใจไว้ได้ แต่จริงๆ แล้วแม้คิด ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วขณะนั้น ยังไม่มีปัจจัยพอจะเกิดโกรธ ไม่ใช่หมายความว่า เพราะเราตั้งใจไว้ เป็นเราที่ตั้งใจแล้ว แล้วก็เป็นอย่างที่เราตั้งใจ แต่เพราะเหตุขณะนั้นยังไม่มีปัจจัยพอ ที่ความโกรธนั้นจะเกิด
ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคง เข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น ทุกอย่างเกิด ตามเหตุตามปัจจัย เราก็จะรู้ได้เลยว่าค่อยๆ คลายความเป็นเรา แม้ในขั้นเข้าใจ ก็จะเข้าใจขึ้น ปัญหาต่างๆ ที่คิดว่า ความคิดก็เป็นเรา เรากะไว้ว่าเราจะทำอะไรแล้วเราก็ทำได้ แต่จริงๆ ขณะที่คิด เกิดแล้วดับ แต่สิ่งใดที่จะเกิดต่อไป ก็ตามเหตุตามปัจจัยทั้งนั้น ไม่ใช่หมายความว่า เพราะเราไปวางแผนการ แล้วก็สิ่งนั้นก็เกิด ตามที่เราคิด เมื่อมีปัจจัยเท่านั้น สิ่งนั้นๆ จึงจะเกิดขึ้นได้ คิด คิดได้ทุกเรื่อง ใครคิดอยากจะเป็นพระโสดาบันก็คิดไป แต่ไม่มีเหตุปัจจัยที่ปัญญาสามารถที่จะบรรลุถึงความเป็นพระโสดาบัน ความเป็นพระโสดาบันก็มีไม่ได้ จริงๆ แล้วให้มีความมั่นคงว่าเป็นธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แล้วทุกอย่างที่จะเกิด เป็นอย่างไร โลภะจะน้อย โทสะจะมาก จะมีความริษยาเกิดขึ้น จะมีความสำคัญตนต่างๆ เกิดขึ้นในกาละต่างๆ ก็เพราะเหตุว่ามีเหตุปัจจัย ที่จะให้สภาพนั้นๆ ปรากฏเกิดขึ้น เป็นอย่างนั้นก็เป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ที่ท่านอาจารย์กล่าวมาทั้งหมดก็คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงว่าเป็นสิ่งที่สามารถจะพิสูจน์ได้ตลอดเวลา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่ใช่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า เคยตั้งใจว่าจะไม่โกรธไหม เคยตั้งใจไว้บ่อยครั้งเลย แต่เวลาเจอเหตุการณ์ที่จะทำให้โกรธ ก็โกรธทุกครั้ง เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายก็เป็นอนัตตาจริงๆ
ท่านอาจารย์ สภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก ให้ทราบว่าขณะใดที่เรากำลังไม่รู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด สภาพธรรมนั้นเกิดแล้วดับแล้ว
ผู้ฟัง ธรรมที่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง จริงโดยลักษณะของเขา ใช่ไหม แล้วก็จะต้องเหมือนกันทุกคนเลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เวลานี้ถ้าเพียงถาม ว่าเห็นมีไหม ผู้ที่ศึกษาธรรมเป็นผู้ที่ตรง แล้วก็จริงจังไม่บิดเบือน ถ้าคำถามว่าขณะนี้ มีเห็นไหม ตอบว่าอย่างไร
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ ก็มี เพราะฉะนั้น คำถามของคุณธิดารัตน์
ผู้ฟัง หมายถึงว่า ถ้าเป็นธรรมโดยอรรถว่ามีจริง นี่คือ จริงต่อทุกๆ คน แล้วก็คุยกัน ก็คือจะตรงกัน เพราะว่าความเป็นจริง จะไม่เปลี่ยนแปลง จะเป็นลักษณะที่เหมือนกันทุกๆ คน
ท่านอาจารย์ อันนี้ถูกต้อง เพราะว่าเมื้อกี้นี้ ถามว่า เห็นมีไหม ทุกคนตอบเหมือนกันเป็นจริงสำหรับทุกคน แล้วที่คุณสำราญ กล่าวถึง เมื่อกี้นี้ สิ่งที่มีจริง เป็นชาติไทย หรือชาติฝรั่ง หรือญี่ปุ่น อย่างเห็น ชาติอะไร นกเห็น เป็นชาติอะไร
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องใช้คำเลย สิ่งที่มีจริงไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย แล้วต่อไปจะรู้ว่าการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือเป็น ๑ ไม่เป็น ๒ ที่จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย อย่างเห็นเป็นสภาพธรรมที่มีจริง จริงตลอดกาล ในอดีต เห็นไม่เปลี่ยนแปลง เห็นก็คือ สามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตามีลักษณะอย่างนี้ ทางหู ไม่ว่าเสียงในอดีต ก็ต้องมี เสียงเมื่อวานนี้ก็มี ตอนเกิดมา ก็มีเสียงต่างๆ ลักษณะของเสียงที่ปรากฏก็ต่างๆ กันไป แต่เสียงก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรู้ได้ทางหู เหมือนกันหมด นกมีหูมีปสาทไหม มีโสตปสาท ถ้าไม่มี พูดถึงธรรม ใช้คำว่า โสตปสาท หมายความถึงสภาพของรูปชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบเสียง คือ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องเรียกชื่อ ไม่มีเชื้อชาติ แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นปรากฏให้รู้ว่า มี
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ทุกคนในห้องนี้ ก็มีธรรมปรากฏกับตัวอยู่ตลอด
ท่านอาจารย์ นั่นอีกคำหนึ่ง ก็บอกว่าเป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีตัวอีกต่างหาก
ผู้ฟัง แต่สภาพที่มีธรรม ที่เกิดแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เห็นเหมือนกันไหม
ผู้ฟัง เห็น เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เป็นประเภทหนึ่ง ของธรรม
ผู้ฟัง แต่ขณะที่เกิดขึ้นในของแต่ละคน บางคนอาจจะยังโกรธ หรือโลภ หลงอะไร
ท่านอาจารย์ แต่เห็นไม่ใช่โกรธ
ผู้ฟัง เข้าใจตรงนี้ลำบาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แต่ละอย่างๆ เริ่มละเอียด นี่คือความหมายของ อภิธรรม ธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดยิ่ง
ผู้ฟัง เป็นเรื่องละเอียดจริงๆ ที่ว่าแต่ละคนก็มีธรรม ปรากฏของแต่ละคน แล้วก็ไม่รู้กันว่าอะไรธรรมที่มาเกิดกับตัวเอง เช่น ขณะนี้คนอื่นอาจจะร้อนอย่างนี้ อันนี้ก็จะเป็นส่วนที่จะรู้ด้วยตัวเอง
ท่านอาจารย์ อันนี้ ถ้าเข้าใจจริงๆ แล้ว ในขณะนั้น เราไม่มี แต่มีร้อนปรากฏกับ สภาพที่รู้ร้อน เหมือนกับขณะนี้เราไม่มี แต่มีเสียงปรากฏกับสภาพที่ได้ยินเสียง คนก็ไม่มีแต่มีสภาพที่กำลังปรากฏทางตา กับจิตเห็นหรือว่าสภาพที่สามารถ เห็น ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้
ผู้ฟัง ความยึดถือว่าเป็นตัวเรา ตรงนี้ก็มีจริง
ท่านอาจารย์ แน่นอน เป็นอกุศล ต่อไปจะทราบว่า สิ่งใดที่มี มีแน่นอน ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเรานี้ มี ก็ต้องยอมรับว่า มี แล้วก็เป็นธรรมด้วย แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรมประเภทไหน เพราะวันนี้เราเพียงแต่ว่า จะให้เข้าใจว่าทุกอย่างที่มีจริงๆ เป็นธรรมซึ่งใครไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะได้เลย โดยชื่อ ใช้คำว่า ปรมัตถะ ธรรม แล้วก็จะได้ยินคำว่า อภิ-ธรรม ด้วย หมายความถึง เป็นธรรมที่ละเอียดยิ่งที่แสดงไว้ โดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ที่จะให้เห็น ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ คำว่า อภิธรรม อยู่ในตัวเราทั้งกาย ที่เป็นรูป ที่เป็นส่วนที่เป็นกาย แล้วก็ใจก็คือ อภิธรรม ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้ปฏิเสธ คำว่า อภิธรรม
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจธรรม ผู้นั้นจะปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะไม่เข้าใจธรรม จึงปฏิเสธว่า ไม่มีอภิธรรม แต่ถ้าเข้าใจธรรมแล้ว ธรรม เป็น อภิธรรม มีความละเอียดมากมาย ที่ผู้ตรัสรู้ทรงแสดงความละเอียด ของสภาพธรรมนั้นๆ ที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น แต่ไม่ปรากฏลักษณะที่แท้จริงกับ ผู้ไม่รู้ จึงกล่าวว่าไม่มีอภิธรรม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น พื้นฐานที่เราควรจะทราบ ควรจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็คือ ขณะนี้ ให้ทราบว่าสิ่งที่มี มีจริงๆ จะใช้คำอะไรหรือไม่ใช้คำอะไร สิ่งที่มีก็ปฏิเสธไม่ได้ แล้วสิ่งที่มีนั้น ใครรู้ และใครไม่รู้ ถ้าคนไม่รู้ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไป ก็มีความทรงจำสืบต่อว่าเป็นเรา ธรรมก็ไม่รู้จักว่าอยู่ที่ไหน แต่ว่าผู้ที่รู้ รู้ตามความเป็นจริงก็สามารถที่จะประจักษ์แจ้งในความเป็นธรรม แต่ละลักษณะที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง ในความรู้สึกของตัวดิฉันเอง ขณะไหนที่ห่างจากพระธรรม ขณะนั้นก็จะเป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส มีใครพูดอะไร บางทีคือ ความมั่นคงของเรายังไม่พอ ก็จะคล้อยตาม เพราะฉะนั้น ดิฉันว่าต้องอาศัยข้อมูลมากมาย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้น ที่เป็นไปกับเรื่องราวต่างๆ เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม แต่ขณะนั้น เราหลงลืมสติ
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น เราจะไม่รู้จักธรรมโดยเพียงชื่อ หรือว่าคิดเรื่องราว แต่ว่าต้องรู้ตัวจริงๆ ของธรรม ว่าแม้ขณะที่คิด เป็นไปกับความสนุกสนาน เพลิดเพลินก็เป็นธรรม ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า เป็นธรรมประเภทไหน จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม
คุณสำราญ ก็เห็นความจริง ใช่ไหม ว่าเวลาที่ได้ยิน ได้ฟังธรรม ก็เกิดความเข้าใจ ความเข้าใจจะเกิดขึ้นมาเองคงไม่ได้ ต้องอาศัยการฟัง แล้วก็การพิจารณาไตร่ตรอง เวลาที่ไปที่อื่น ก็มีเรื่องราวต่างๆ เรื่องนั้น เรื่องนี้ ความเข้าใจเรื่องธรรมก็หายไป ขณะนั้นไม่ได้คิดถึงว่า เป็นธรรมเลย ทั้งๆ ที่ได้ยินได้ฟังว่าเป็นธรรม แต่ตามความเป็นจริงก็เทียบส่วนได้กับการที่ได้ยินธรรมน้อยหรือมาก กว่าชีวิตประจำวัน ซึ่งเคยเป็นมาแล้ว ในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าเราจะได้ยินวันหนึ่งบางคนก็อาจจะบ่อยมาก อาจจะตั้งแต่ตี ๔ ครึ่ง ตี ๕, ๖ โมงเช้า ก็แล้วแต่ ขณะนั้นก็มีความเข้าใจ แต่หลังจากนั้นแล้วก็เป็นโอกาส หรือว่าเป็นปัจจัยของสิ่งที่สั่งสมมานานแสนนาน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720