ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
ตอนที่ ๗๐๙
สนทนาธรรม ที่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ สิ่งที่เกิดแล้วหมดไป ในความทรงจำของเรายังคิดว่ายังมีอยู่ ใช่ไหม แต่ความจริงสิ่งที่ปรากฏทางตาดับ สิ่งที่ปรากฏทางหูดับ สิ่งที่ปรากฏทางจมูกดับ สิ่งที่ปรากฏทางลิ้นดับ สิ่งที่ปรากฏทางกายดับ ความคิดนึกก็คิดทีละ ๑ คำ จะ ๒ คำไม่ได้ แต่ละคำที่จิตกำลังคิด จิตก็ดับไป ดับไปเรื่อยๆ
แต่โดยมากเราจะไม่รู้ความจริงอย่างนี้เลย เราคิดว่าจิตดับตอนตาย ใช่ไหม เกิดมา อาจจะบอกว่าทุกคนมีจิต แต่ก็ยังไม่ชัดเจน ว่าจิต คืออะไร อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไร แต่เมื่อได้ศึกษาธรรมก็รู้ว่าจิต ไม่มีรูปร่างลักษณะใดๆ เลย ไม่เป็นรูปธรรมหนึ่งรูปธรรมใด เป็นนามธรรมล้วนๆ แล้วก็เกิดดับสืบต่อ ตั้งแต่เกิดจนตาย และแต่ละขณะก็ไม่ใช่จิตเดียวกัน แต่ว่าเป็นจิตที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแต่ละขณะ
ถ้าศึกษาอย่างนี้ก็จะทราบได้ว่า ที่เราเรียกว่า ตาย คิดว่าจิตเกิด แล้วก็จิตดับตอนตาย ไม่ถูกต้อง แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้วสภาพธรรมใดที่เกิด ดับทันที เร็วมาก แล้วก็ตายที่เรากล่าวถึง ก็เป็นเพียงการสมมติ เพราะเหตุว่า ตราบใดที่ยังมีกิเลสก็จะยังมีสังสารวัฏฏ์ มีการสืบต่อ
เพราะฉะนั้น เมื่อจิตขณะสุดท้ายดับ ก็เป็นปัจจัยทำให้จิตขณะแรกของชาติต่อไปเกิดขึ้นทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น เช่นเดียวกับขณะนี้ จิตก็กำลังเกิดดับสืบต่อกัน ขณะนี้ที่จิตกำลังเห็น กับขณะที่จิตได้ยิน ต่างกันหรือเหมือนกัน จิตเป็นสภาพรู้ แต่ว่าเวลาที่เราเห็นแล้ว บางคนไม่ชอบเลย สิ่งเดียวกันที่เห็น แล้วบางคนก็ชอบ ทั้งๆ ที่จิตเห็น ก็คือ จิตที่เห็น แต่ความชอบ หรือความไม่ชอบของแต่ละคน จะกล่าวว่าเป็นจิตไม่ได้ เพราะว่าเห็นสิ่งเดียวกัน แต่เมื่อเห็นแล้ว คนหนึ่งเกิดชอบ อีกคนหนึ่งเกิดไม่ชอบ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่ามีสภาพธรรมที่ไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตในขณะนั้น เมื่อเห็นแล้ว บางคนก็โกรธ บางคนก็สงสาร เพราะฉะนั้น ลักษณะที่สงสารกับลักษณะที่โกรธ จะไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
แต่จิตเห็น ก็คือสภาพที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เมื่อเห็นแล้ว ความรู้สึกก็ต่างกัน โกรธ ไม่ใช่เมตตา เพราะฉะนั้น เมตตาจะเป็นจิตไม่ได้ โกรธก็จะเป็นจิตไม่ได้ เพราะว่าจิตกำลังเห็น แต่ว่าความรู้สึกต่างกันได้ แล้วก็เจตสิกอื่นที่เกิดร่วมด้วยก็ต่างกันได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เฉพาะจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ เพราะว่าจิตจะไม่รู้อารมณ์ไม่ได้ ถ้าจิตไม่รู้อารมณ์ เจตสิกจะชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้นไม่ได้ แต่เนื่องจากจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็เป็นปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดในขณะนั้นต่างๆ กันไปตามการสะสม เพราะฉะนั้น เวลาที่เห็นก็ดี เวลาได้ยินก็ดี แม้คิดนึกก็ดี ต่างกันไปตามสภาพของจิต คิดด้วยความสนุกสนาน ผูกพัน สดชื่น กับคิดด้วยความขุ่นมัว เศร้าหมองเป็นทุกข์ ตัวจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วแต่จะเป็นเรื่องก็ได้ จะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ก็ได้ แต่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ก็ต่างกันไป ตามเจตสิกประเภทนั้นๆ ไม่ทราบคุณพิชัย พอจะเห็นอย่างนี้หรือเปล่า ว่าเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้น เจตสิกต่างกันเป็น ๕๒ ประเภท ไม่ปะปนกันเลย โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ แล้วก็ยังมีเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเป็นแต่ละหนึ่ง สำหรับจิต ถ้าจะกล่าวว่ามีลักษณะเดียว คือเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง ยังไม่แจกประเภทไปตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ในความละเอียดต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่านามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ จะกล่าวว่ามี ๕๓ ก็ได้ คือเป็นเจตสิก ๕๒ และเป็นจิต ๑ ก็ได้
การแสดงนัยของธรรม แสดงได้หลากหลาย หลายนัย แต่ถ้าเรามีพื้นฐานที่มั่นคง ไม่ว่าจะแสดงโดยนัยใด เราสามารถที่จะเข้าถึงความจริง และความเข้าใจได้ว่า ที่กล่าวอย่างนี้แสดงโดยนัยอะไร แสดงโดยนัยของความเป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้ ซึ่งจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยนัยที่จิตต่างกันเป็นประเภทมากมายเท่าไร
ผู้ฟัง ก็เป็นสิ่งที่ยากมาก ที่จะพิจารณาให้เห็น ถึงความต่างระหว่างจิต และเจตสิก เพราะเหตุว่าแม้ในครั้งโน้น ท่านก็มีการอุปมาว่า เอาน้ำของแต่ละแม่น้ำมาคนด้วยกัน ก็ยากที่จะรู้ ความต่างระหว่างน้ำ ว่า น้ำนี้มาจากแม่น้ำชื่อโน้นๆ แต่นี้เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสรีระอะไรๆ เลย ก็ยากที่จะเห็นความต่างของสภาพที่เป็นนามธรรม
แต่ว่าถ้าเริ่มจะเข้าใจว่า ลักษณะของนามธรรมแต่ละประเภท มีลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วก็มีกิจต่างกัน แต่ว่าขณะที่เกิดพร้อมกันนั้น รู้อารมณ์เดียวกัน แต่ว่า มีลักษณะต่างกัน อย่างเช่น ผัสสะ ก็มีลักษณะที่กระทบอารมณ์เป็นลักษณะ นี้ก็คือต่างจากเวทนา ซึ่งเป็นเจตสิกเช่นเดียวกัน แต่ว่ามีลักษณะที่เสวยอารมณ์ คือเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง โสมนัสบ้าง โทมนัสบ้าง หรือว่าอุเบกขาเวทนา
อันนี้ก็จะเป็นการเริ่ม ซึ่งก็เป็นชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นเจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศล ก็มีทั้งโลภะบ้าง โทสะบ้าง หรือว่าโมหะบ้าง เป็นประเภทที่เป็นอกุศล ซึ่งแล้วแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยให้เกิด ประกอบกับจิต ขณะใดบ้างก็ตามเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด และยากมาก ผู้ที่ได้ศึกษาวิชาต่างๆ พอถึงวิชาทางธรรมทุกคนก็บอกเป็นเสียงเดียวว่า ไม่มีอะไรที่จะยากเท่ากับธรรม เพราะเหตุว่า ต้องยากอย่างนี้ เพราะว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงโดยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นความจริง เราได้พูดถึงเรื่องปรมัตถธรรม ธรรมที่มีจริง ขั้นฟัง ทุกคนยอมรับ แต่ทางตาที่เห็นขณะนี้ ก็ยังเป็นคนนั้นคนนี้อยู่ตลอดเวลา นี่ก็จริง จะเปลี่ยนเพียงว่าให้ฟังครั้งเดียว แล้วต่อจากนั้นก็รู้เลยว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ในสิ่งที่ปรากฏนอกจากคิดเอาเอง คิดต่างๆ นานา จากสิ่งที่ปรากฏ ถ้าลองหลับตาแล้ว มีอะไรปรากฏ หรือว่าไม่มีอะไรเลย ตรงตามความเป็นจริง ธรรมตรง ตอบได้เลย หลับตาแล้ว มีอะไรปรากฏหรือว่าไม่มีเลย
ผู้ฟัง ก็มี สีดำ
ท่านอาจารย์ มีสีดำ แล้วก็มีอะไรอีกหรือเปล่า คนหายไปหมดเลยใช่ไหม ห้องนี้ก็หายไปหมด เป็นสัจจธรรม ความจริงหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ หรือว่าหลอกให้หลับตา
ผู้ฟัง ไม่ได้หลอก หลับทีไรก็ดำทุกที
ท่านอาจารย์ แต่จะหลับตาที่ไหน เมื่อไรอย่างไร สิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เราเริ่มรู้จริงๆ ว่า ถ้าเพียงไม่มีจักขุปสาทคือตา โลกเป็นอย่างนั้น ผู้ที่ไม่มีจักขุปสาททั้งหลาย คนที่ตาบอดโลกเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ ทางตามืด ไม่มีอะไรปรากฏเลย ไม่เห็นสีสันวัณณะต่างๆ จะมีโลกอื่น ซึ่งขณะที่เราหลับตา สีไม่ปรากฏ จะมีโลกอื่น มีอะไรอีกไหม
ผู้ฟัง มีโลกแห่งความคิด
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า ถ้าเสียงไม่ปรากฏ ถ้าเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งไม่ปรากฏ กลิ่นไม่ปรากฏ รสไม่ปรากฏ คิด ไม่มีใครที่จะไม่คิดเลย หรือบางคนคิดก็ยังไม่รู้เลยว่าคิด ถ้าถามใครเดี๋ยวนี้ทันทีว่าคิดอะไร ตอบได้ทันทีไหมว่า คิดอะไร
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ตอบไม่ได้ทั้งๆ ที่คิด คิดก็ยังตอบไม่ได้ ว่าคิดอะไรใช่ไหม
ผู้ฟัง หลายๆ เรื่องก็เลยตอบไม่ทัน
ท่านอาจารย์ สักเรื่องก็ตอบไม่ถูกว่า จะเอาเรื่องไหน ใช่ไหม เพราะว่าความคิดเกิดแล้วก็ดับด้วย ความคิดไม่ปรากฏเป็นแสงสว่าง หรือเป็นสีสันใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ความคิดก็มี
เพราะฉะนั้น เราเริ่มรู้จักสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรมตัวจริงๆ ว่าทุกคนมี อย่างหนึ่ง ก็คือคิดนี่แน่นอน ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัณฐานเลย พอลืมตาขึ้นมา ขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ คิดหรือเปล่า กำลังเห็น เห็น ขณะที่เห็น คิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็นก็คิด
ท่านอาจารย์ อย่างไรดี
ผู้ฟัง มันเร็ว ผมว่ามันเร็วมาก
ท่านอาจารย์ ไม่เอาเร็ว ไม่เอาช้า เอาความจริง ว่าขณะที่เห็น เพียงเห็น คิดหรือเปล่า ไม่เหมือนเมื่อกี้นี้ที่หลับตา เมื่อกี้นี้หลับตาไม่เห็น แต่คิด แต่พอลืมตา มีสิ่งที่ต่างจากคิดที่หลับตาแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้จริงๆ ขณะที่เห็นเปลี่ยนไปแล้ว จากคิดโดยหลับตา มาเป็นมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏให้เห็น
นี่คือธรรม คือสิ่งที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถธรรม ปรม คือ ยิ่งใหญ่ ที่สุด อัตถ ถ้าลักษณะนี้ไม่เป็นอย่างนี้ ก็จะไม่มีคำที่แสดงความหมายจริงๆ ของสิ่งนี้ว่า แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่มีจริงเป็นสิ่งซึ่ง ใครก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้เลย คนที่มีตาทุกคน หลับตาไม่เห็น แต่พอลืมตา ผิดจากที่เมื่อกี้นี้หลับตาแล้วใช่ไหม เพราะว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้รู้อะไรตามความเป็นจริงเลย ตราบใดที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรม แต่เมื่อไรที่เริ่มฟังพระธรรม ก็ไม่ใช่ตามตัวหนังสือไปง่ายๆ อย่างที่บอกว่า อะไรเป็นรูปก็รู้ อะไรเป็นนามก็รู้ แค่นั้นไม่พอ ไม่ใช่ความจริง ถ้าความจริงก็คือ สามารถที่จะเข้าใจ หรือเข้าถึงลักษณะความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยเป็นความเข้าใจของเราเองที่มั่นคงในลักษณะของสภาพธรรมที่ต่างกัน เป็น ๒ อย่าง คือลักษณะหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แล้วก็จะปรากฏในชีวิตประจำวัน เพียง ๗ ประเภท คือปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมมีจริงอย่าง ๑ ทางหูเป็นเสียง ทางจมูกเป็นกลิ่น ทางลิ้นเป็นรส ทางกาย ก็คือ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ลองหลับตาอีกทีหนึ่ง
ผู้ฟัง ผมเคยเห็นคนหลับ นอนหลับ แต่ว่าตาไม่หลับ
ท่านอาจารย์ ทีนี้เราจะพูดถึงในห้องนี้ เพื่อเราจะได้เข้าใจธรรม แม้ว่าเราจะพูดอย่างบ่อยๆ เร็วๆ หลายครั้ง เรื่องนามธรรม เรื่องรูปธรรม เรื่องเห็น เรื่องได้ยิน พูดไปแต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ทั้งหมดที่เราเรียนมา เราเรียนแล้วได้ประโยชน์อะไร แต่ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะที่กำลังฟังด้วย ประกอบกันไป แล้วเมื่อฟังบ่อยๆ มากขึ้น ความเข้าใจของเราก็มั่นคงขึ้น ว่าธรรมคือตรงนี้ สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
แต่เราจะค่อยๆ เข้าใจตามกำลังของปัญญา ซึ่งจากการที่ไม่ได้เคยได้ยินได้ฟังมาเกินแสนโกฏิกัปป์ กับการที่ได้ยินได้ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ความเข้าใจของเรา จะไปเร็วไม่ได้ นอกจากว่าค่อยๆ พิจารณาจนกระทั่งเข้าใจ เมื่อกี้นี้มีคิด ตอนนี้มีอะไร
ผู้ฟัง มีแข็ง
ท่านอาจารย์ มีแข็ง เห็นไหม แสดงให้เห็นว่า โลกที่เราคิดว่าเป็นโต๊ะแข็ง เก้าอี้แข็ง ความจริงเมื่อไม่เห็นรูปร่างสัณฐาน สิ่งที่มีจริงคือแข็ง นี่คือปรมัตถ เป็นธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม
เพราะฉะนั้น ถ้ามีคนบอกว่า เข้าใจธรรม รู้จักธรรม แต่ไม่รู้จักปรมัตถธรรม ถูกหรือผิด เพราะว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ธรรมนั่นแหละจะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรมที่ดูเสมือนว่า ไม่มีอะไรมากมายเลย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ๓ ปิฎก แล้วก็อรรถกถา ก็ยังมีข้อความที่กล่าวถึงปรมัตถธรรมนั่นเอง นี่แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่รู้ก็คือไม่มีอะไร แต่ถ้ารู้ ทุกอย่างอยู่ตรงนั้น จากไม่มีเลย ไม่ได้ปรากฏเลย แล้วเกิดปรากฏขึ้นได้อย่างไร ใครทำ ใครสร้าง ใครรู้ ใครไม่รู้ ต้องเป็นผู้ที่ตรงว่า เรายังไม่ได้รู้ถึงเหตุปัจจัย ที่ทำให้สภาพธรรมแต่ละอย่างเกิดขึ้น แต่เราอาจจะได้ยินได้ฟังคำว่า อายตนะ ได้ยินคำว่าธาตุ ได้ยินอริยสัจ อย่างอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ แล้วก็ สีที่ปรากฏทางตา เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โผฏฐัพพะ เป็นอายตนะ เราจำได้ บอกชื่อได้ ธรรมารมณ์พวกนี้บอกได้หมด แต่ลักษณะที่กำลังปรากฏ ขณะที่หลับตา แข็ง ปรากฏได้อย่างไร แต่ถ้าเราเข้าใจ ไม่สงสัยในความหมายของอายตนะ ต้องมีทางเฉพาะทาง ที่สภาพธรรมแต่ละอย่างจะปรากฏได้ แต่ถ้าไม่มีทาง ปรากฏไม่ได้ ใครจะไปสร้างสรรค์ ทำอย่างไร บังคับอย่างไร ก็ปรากฏไม่ได้
ผู้ฟัง ในความแข็ง มันมีเย็น มีร้อนอยู่ด้วย
ท่านอาจารย์ ทีละอย่าง เราไม่เอาสิ่งที่เกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วมารวมเป็นอย่างเดียว แต่ต้องเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมที่พิสูจน์ได้ทุกขณะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรม ๓ ปิฎก แล้วท่านอาจารย์กล่าวคำว่า มีทางอยู่ด้วย ๓ ปิฎกนี้ ก็อยู่ในทาง คือ ๖ ทางที่ท่านอาจารย์กำลังจะกล่าวนี้
ท่านอาจารย์ มีเห็นซึ่งทุกคนพิสูจน์ได้ ว่ากำลังเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย มีการคิดนึก ๖ แล้วใช่ไหม ใครมีอย่างอื่นนอกจากนี้ ที่จะเป็น ๗ เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกทั้งหมดเกินนี้ไม่ได้ ทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ โลกไหนๆ ก็ไม่เกิน ๖ จากการตรัสรู้ ทรงแสดงโลกทุกโลก ทุกจักรวาล ที่ได้ทรงตรัสรู้ แล้วก็พิสูจน์พระธรรมได้ว่าเป็นความจริง เพียงแต่ว่าสิ่งที่แม้มีก็ยังไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงต้องฟังแล้วฟังอีก จนกระทั่งเป็นความมั่นใจจริงๆ ว่านี่คือธรรม ที่จะศึกษาต่อไปก็คือ ศึกษาให้เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทีนี้ถามต่ออีกว่า ทุกคนหลับตาแล้วก็ไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ลืมตาแล้วมี ต่างกันแล้ว คนละโลก โลกของสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้ปรากฏเลย เช่น โลกของคนตาบอด เพราะฉะนั้น โลกของคนมีตา ไม่ใช่มี ๕ แต่มี ๖ คือมีสิ่งที่ปรากฏทางตาด้วย อย่างโลกของคนที่ไม่มีตา คนตาบอด เขาก็ได้ยิน ๑ โลก ได้กลิ่น ๑ โลก ลิ้มรส ๑ โลก รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๑ โลก คิดนึก ๑ โลก แค่ ๕ โลก แต่โลกทางตานี้ไม่ปรากฏเลย สำหรับคนหูหนวกไม่มีโสตปสาท ก็มี ๕ มีเห็น แต่เงียบเลย ไม่มีเสียงใดๆ ปรากฏเลย เป็นโลกที่เงียบสนิท มีสีปรากฏ มีกลิ่นปรากฏ มีรสปรากฏ มีเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหวปรากฏ มีคิดนึก แต่เงียบสนิท
นี่ก็คือ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มีขณะที่เกิด แล้วก็ดับหมดเลย แล้วก็หามีไม่ จะไปหาที่ไหนอีกก็ไม่ได้ สิ่งที่เป็นจริงในขณะนี้ คือเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ แต่สืบต่อเร็วมาก จนเสมือนว่าไม่ดับเลย นี่คือความไม่รู้ ขณะที่หลับตา เอาอะไรดี ที่ปรากฏแล้วแต่ความเป็นจริง เสียง ไม่เรียกว่าเสียงได้ไหม ได้ เรียกอย่างอื่นได้ไหม ก็ได้ เปลี่ยนลักษณะของเสียงให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ไม่ได้
นี่แสดงให้เห็นว่า ลักษณะของปรมัตถธรรม สิ่งที่มีจริง แม้ไม่เรียกชื่อใดๆ เลยก็ตาม ลักษณะนั้นต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะอย่างๆ จะเรียกอะไรก็ได้ หรือไม่เรียกอะไรเลยก็ได้ เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นได้
แต่จำเป็นต้องใช้คำ เพื่อที่จะให้รู้ว่า หมายความถึงสภาพลักษณะใดๆ ที่กำลังกล่าวถึง แต่อย่างไรก็ตามต้องรู้ว่า ขณะใดที่ใช้คำสำหรับให้เข้าใจว่าหมายความถึงสภาพธรรมใด ไม่ใช่สภาพธรรมนั้นจริงๆ อย่างพูดคำว่า เสียง เสียงมีจริง แต่เวลาใช้คำที่จะให้เข้าใจความหมายนั้น ความคิดเรื่องคำ มี ทันทีที่ได้ยินคำว่าเสียง คิดถึงอะไร
ผู้ฟัง คิดถึงชื่อ ที่อยู่ในเสียงนั้น ที่จริงชื่อก็ไม่มี มีเสียง
ท่านอาจารย์ บางคนก็ไม่ได้คิด ใช่ไหม แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะอย่าง แต่คำที่ใช้ เป็นคำที่ทำให้คนที่จำเสียง สามารถที่จะรู้ว่า เสียงนั้นหมายความถึงอะไร แต่ต้องมีการจำเสียง คนที่ไม่ได้จำเสียงนั้น พูดภาษาญี่ปุ่นกับเขา ก็ไม่รู้เรื่อง ใช่ไหม เขาพูดมา เราก็ไม่รู้ว่าเขาหมายความถึงอะไร แต่เสียงไม่เปลี่ยน ไม่ว่าใครจะเป็นชนชาติอะไรก็ตาม ได้ยินคำภาษาอะไรก็ตาม ลักษณะของเสียงที่ได้ยินไม่เปลี่ยน แต่อาศัยความจำ ที่จำลักษณะของเสียงนั้น ทำให้สามารถคิดถึง และเข้าใจความหมายของเสียงนั้น ในขณะที่เสียงปรากฏขณะนั้น จะไม่คิดถึงอย่างอื่น จะไม่จำอย่างอื่น แต่จะมีการจำเสียง
เพราะฉะนั้น การที่เราจะเริ่มที่จะเข้าใจปรมัตถธรรม เราต้องรู้ว่า ปรมัตถธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ส่วนเรื่องราวความคิดนึกบัญญัติต่างๆ ในเรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ นั้น ไม่ใช่ตัวจริงของธรรม ตัวจริงของธรรมก็จะมีเพียง จิตเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เจตสิกเป็นสภาพนามธรรมซึ่งเกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต เกิดกับจิต ชื่อเรียกภาษาธรรม คือ เจ-ตะ-สิ-กะ หรือเราใช้สั้นๆ ว่าเจตสิก และรูป ปรมัตถธรรมมี จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่นิพพานในชีวิตประจำวัน ไม่มีใครที่จะไปสามารถรู้ได้ โดยที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่สมบูรณ์ถึงขั้น ที่จะสละความติดข้องในสิ่งที่มี เพื่อที่จะไปสู่สภาพธรรมที่ตรงกับข้ามกับสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งตั้งแต่เกิดมา ก็ติดอย่างมากมายเลย ยึดถืออย่างมากมายที่จะไม่ปล่อย เมื่อไม่ปล่อยแล้วจะไปถึงสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริง ซึ่งเป็นนิพพาน สำหรับผู้ที่ประจักษ์แจ้งแล้ว ก็ต้องเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ เราก็จะพูดถึงเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง ให้เป็นความเข้าใจของเราเพิ่มขึ้นๆ จนกว่าจะคลายความติดข้อง ซึ่งลองคิดดู นานไหม กว่าจะคลายความติดข้องในสิ่งซึ่งติดมานานแสนนาน ติดในรูป ทางตา ติดในเสียง ติดในกลิ่น ติดในรส ติดในสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ติดในความคิดนึกเรื่องราวต่างๆ แล้วก็จะต้องละคลาย จนกว่าจะหมดความติดข้องในสังขารธรรม ในสังขตธรรม เมื่อไร ก็จะน้อมไปสู่ สภาพธรรมที่มีจริง คือ นิพพาน
ผู้ฟัง พิจารณาจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ผมมีความเชื่อมั่นว่า เป็นการให้ปัญญากับบุคคล มากกว่าที่จะให้ไปเสาะหาอภินิหาร อะไรทั้งหลาย
ท่านอาจารย์ นี่คือมรดกที่ประเสริฐสุด เกิดมาแล้วบางคนก็คงหวังมรดก อยากได้มรดกจากญาติพี่น้องเป็นทรัพย์สมบัติ เป็นอะไรต่างๆ แต่ติดตามไปไม่ได้เลย จะใช้ได้ก็คือประโยชน์ในชาตินี้ เท่านั้นเอง ติดตามไปถึงชาติหน้าไม่ได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720