ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
ตอนที่ ๖๖๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง ถ้าเกิดไม่ได้ศึกษาธรรม คิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่กล่าวคำ ที่ไม่ดีไปเช่นนั้น สำหรับคนที่ มีความประพฤติที่ไม่ยุติธรรม ที่คนทั่วไปในสังคมเห็นว่า เขาไม่ยุติธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ของการฟังธรรมสำหรับส่วนตัวแต่ละบุคคล คือสามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้น เป็นอกุศล ตรงใช่ไหม ไม่ว่าอกุศลของคุณวรศักดิ์ หรืออกุศลของใคร ลักษณะของอกุศล ก็เป็นอกุศล ความรู้ถูกความเห็นถูก ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล แล้วถ้ามีกายวาจา ที่เป็นไปด้วยอกุศลนั้นๆ สำรวมหรือเปล่า เพราะฉะนั้น สำรวมก็ค่อยๆ ละเอียดขึ้น ไปจนกระทั่งถึงขณะที่สำรวมด้วยความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง คฤหัสถ์จะสำรวมยากกว่าบรรพชิต หรือว่าตามเพศแล้วแต่ละบุคคล
ท่านอาจารย์ บางที่เราเห็นอาหารบางอย่าง ของบางภาค บางพื้นที่ บางคนอาจจะไม่ชอบปลาร้า แต่บางคนก็บอกว่าหอมอร่อยดี ควรไหมที่เราจะกล่าว ว่าอาหารนั้นเหมือนอาหารเน่า อาหารเสีย หรืออะไรก็ตามแต่ ใช่ไหม ขณะนั้นสำรวมอะไรบ้าง หรือเปล่า แม้แต่ความคิด แม้แต่ใจ
เพราะฉะนั้น เรื่องของสภาพธรรม เป็นเรื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง แล้วก็ขัดเกลาอย่างละเอียด แม้ว่าขณะนั้นจะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่า ขณะนั้นใจคิดอย่างไร เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล แล้วก็กล่าววาจาอย่างนั้น กล่าวทำไม กล่าวเพื่ออะไร ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ไม่ละเอียด จะไม่มีการขัดเกลาเลย แต่ความจริงแล้วอร่อย ใช่ไหม ก็ปรุงเสร็จแล้วก็อร่อย ไม่ว่าจะเป็นปลาร้า หรือไม่ใช่ปลาร้าก็ตาม อาหารอร่อยก็คืออาหารอร่อย ปลาร้าอร่อยก็มี ไม่อร่อยก็มี น้ำพริกอร่อยก็มี ไม่อร่อยก็มี ปลาทอดอร่อยก็มี ไม่อร่อยก็มี ทุกอย่างก็เป็นของธรรมดา แต่ว่าถ้าเราไม่เป็นผู้ที่ละเอียด เราจะรู้เลยว่า เราสำรวมอะไรบ้างหรือเปล่า หรือว่าไม่สำรวมอะไรเลย เห็นอะไรก็พูดอย่างนั้น โดยที่ว่าไม่คิดถึงว่าสมควรหรือไม่สมควร
การศึกษาธรรมประโยชน์ ส่วนตนจริงๆ ที่ได้ก็คือเป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะรู้จักแม้ว่า ความหมายของ สำรวม ก็คือขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นไม่ได้สำรวมทางหนึ่งทางใดเลย แล้วถ้าเป็นการสำรวมก็จะมีการสำรวมที่ละเอียดขึ้น จนกระทั่งถึงสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้นว่า เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง เป็นเรื่องสภาพจิต ใช่ไหม การสำรวม ว่าเราจะเอา การกระทำมาตีความหมายว่า สำรวมหรือไม่สำรวม มันไม่ได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะที่เราอยู่ที่นี่ ใช่ไหม แล้วเราก็ไม่รับประทานอาหารเสียงดัง แต่พอเราไปที่อื่น เราก็ต้องรู้ว่าขณะที่เราจะทำเสียงดัง ด้วยความเข้าใจกัน ด้วยความเห็นใจ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นเมตตาหรือเปล่า ที่เรามีความรู้สึกเป็นเพื่อน กับคนที่เขามีธรรมเนียมอย่างนั้น ขณะนั้นก็เป็นเรื่องของจิตอีก ไม่มีอะไรที่จะละเอียดเท่ากับจิต แต่ว่าต้องมีความละเอียด มีความลึกซึ้งของธรรม ซึ่งเราไม่ควรจะคิดว่า เราเข้าใจแล้ว หรือว่าเข้าใจเพียงคำ หรือความหมายของคำเท่านั้น เช่น เรื่องของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง สิ่งที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ทรงแสดง เช่น จักขุ ทุกคนกำลังมีตา ใช่ไหม แล้วก็ทรงแสดงจากการตรัสรู้ว่า ไม่เที่ยง แล้วเราจะผ่านข้อความนี้ไป โดยคิดว่าเราจะไปรู้อย่างอื่น แต่ว่าทั้งๆ ที่สภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ ที่ทรงแสดงแม้เพียงคำว่าจักขุไม่เที่ยง เราก็ควรจะคิดว่าเรา เข้าถึงอรรถ หรือควาหมาย ความจริงของสภาพธรรมนี้หรือยัง ถ้ายังก็หมายความว่าจะต้องฟังธรรมต่อไปอีก เพื่อที่จะพิจารณาว่า ที่ทรงแสดงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในพระสูตร พระวินัย หรือพระอภิธรรม ก็คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะเกิดขึ้นจึงปรากฏ แต่ด้วยความไม่รู้ของเรา เราก็จะไม่เข้าใจเลย เราพยายามที่จะไปเข้าใจอื่น ทั้งๆ ที่ตรัสว่า จักขุไม่เที่ยง เราก็ข้ามไปแล้ว ใช่ไหม แค่รับฟัง เข้าใจว่าตาขณะนี้ ไม่เที่ยง แต่ว่าขณะนี้ทุกคนก็มีตา แต่ก็ยังไม่เข้าถึงอรรถ ที่ทรงตรัสรู้แล้วก็ได้ทรงแสดงธรรมว่า จักขุ ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดที่ปรากฏในวันหนึ่งๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทรงแสดงโดยละเอียด ให้ทราบว่าเรารู้หรือยัง หรือว่าเราก็ยังไม่รู้อยู่นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสูตรอื่น ก็ตรัสเรื่องของจักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย แล้วก็ใจ ก็มีอยู่เป็นประจำทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ต้องพิจารณาแล้วพิจารณาอีกว่า สิ่งที่กำลังปรากฏ นี่แหละ เป็นสิ่งที่จะต้องศึกษาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรง จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้จริงๆ ว่า สภาพธรรม ที่กำลังมีในขณะนี้ ไม่เที่ยง มิฉะนั้นแล้วเราก็จะข้ามไป ข้ามไปเรื่อยๆ แล้วก็ไปถึงสูตรใหม่ ก็จะเป็นเรื่องของธรรมที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วเราก็ติดตามเรื่องนั้นไป โดยที่ว่าแท้ที่จริงแล้วก็คือว่าทุกอย่างที่เกิด ไม่เที่ยง เพราะว่า ดับไป
การศึกษาธรรม หรือการฟังธรรมเพื่อพิจารณาให้เข้าใจสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ทุกคนไม่สงสัย เรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีใครสงสัยไหม สงสัยหรือไม่สงสัย ที่ว่าไม่สงสัยเพราะมี แต่ที่สงสัยก็คือว่ายังไม่ได้ดับความสงสัยในความไม่เที่ยง ในความเป็นทุกข์ ในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรู้ด้วยว่า การศึกษา และการฟังธรรมของเรา ไม่ต้องคิดถึงของคนอื่นเลย ใครจะเป็นพระอริยบุคคล ในครั้งอดีต หรือว่าอนาคต หรือว่าปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องของการสะสมของแต่ละบุคคล แต่ขณะนี้ผู้ที่กำลังฟัง สามารถที่จะรู้ว่าพระธรรม ที่ทรงแสดงก็เป็นการที่ทรงแสดง สิ่งที่แต่ละคนได้ สะสมมา แล้วก็เกิดขึ้นปรากฏ ตามความเป็นจริง มากเรื่องไหม สภาพธรรมแต่ละคน วิจิตรมาก เพราะเหตุว่าจิตเกิดขึ้น และดับไปอย่างรวดเร็ว แม้เพียงเห็นขณะนี้ มากเรื่องไหม หรือไม่มีเรื่องอะไรเลย
จากสิ่งที่ปรากฏทางตา แค่นี้ ๑ ทาง เพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่เพราะความไม่รู้ ก็เลยไม่รู้เลย แท้ที่จริงวันหนึ่งๆ สภาพธรรมก็เกิดดับสืบต่อ จากสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถึงทางใจ ซึ่งเป็นเรื่องราวต่างๆ มากมายมหาศาล จากสิ่งที่กำลังปรากฏแม้เพียงชั่วขณะ
การที่จะเข้าถึงธรรม ก็คือขณะนี้ เมื่อตรัสเรื่องจักขุ เราก็จะได้พิจารณาว่าแท้ที่จริงแล้วจักขุก็เป็นรูป แล้วก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็ป็นรูปแล้วก็มีจักขุสัมผัสสะ มีการกระทบกัน ทำให้เกิดการเห็นในขณะนี้ ซึ่งก็เป็นจริงทุกขณะเลย แล้วต่อจากนั้นก็ มโน ทางใจ ก็จะคิดนึกเป็นเรื่องเป็นราวซึ่งจำไว้ ไม่มีวันจบ ทุกคนจำไว้มากไหม ตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามา จำได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ก็มาจากสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาที่เห็น แล้วก็จะเป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าสามารถที่จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งทรงแสดงไว้โดยละเอียด แม้ในเรื่องของความรู้สึกต่างๆ แล้วก็สภาพธรรมอื่นๆ ซึ่งแต่ละท่านก็จะได้เข้าใจว่า ที่ฟังธรรมทั้งหมด คือสิ่งที่มีจริงของแต่ละบุคคล ถ้าพิจารณาละเอียด ตามที่ทรงแสดงไว้มากมาย ก็จะทราบได้ว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลมากกว่ากัน ทั้งๆ ที่ทรงแสดงโดยละเอียด แต่เพราะเหตุว่ายังไม่ถึง ความเป็นธรรม ยังมีความเป็นเรา ยังมีความเป็นตัวตนอยู่
เพราะฉะนั้น ไม่มีหนทางเลย ที่จะทำให้ดับอกุศลต่างๆ ได้ จนกว่าจะมีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูกในอะไร ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น เราจะไม่ไปทำอย่างอื่นเลย เพราะว่าถ้าทำอย่างอื่นแล้วจะรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ไหม แต่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ง่าย เพราะเหตุว่าเราคุ้นเคยกับความคิด เราคิดที่จะรู้อย่างอื่น แต่ว่าไม่ได้กลับมาคิดเลย ว่าสิ่งที่จะต้องรู้คือสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นธรรม โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าเมื่อเป็นธรรมเกิดแล้วดับไป ลักษณะนั้นก็ไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นสุข เพราะฉะนั้น ทุกพระสูตร ก็จะเตือนให้เรากลับมา เข้าใจสิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์อยู่พอดีผมเข้าใจ มันไม่เที่ยงจริงๆ มันเป็นอนัตตาจริงๆ มันเป็นทุกข์จริงๆ แล้วจะให้ผมทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขอโทษ เป็นผมที่เข้าใจ แล้วก็เป็นผมที่จะทำ ยังไม่เป็นธรรมเลย นี่คือจุดที่จะเห็นความต่าง เวลาที่เราฟังธรรม เราบอกเราเข้าใจ แต่ขณะนั้นก็คือเรา ไม่ใช่เป็นธรรมเลย
จักขุ ขณะนี้ ไม่ใช่เป็นจักขุ ซึ่งไม่เที่ยง แล้วก็เป็นอนัตตา แต่เป็นเราที่เห็น เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังแล้วก็เป็นเราเข้าใจ ก็แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจของเรา มีระดับฟังว่าธรรมเป็นธรรม แต่เวลาที่ธรรมเกิดปรากฏเป็นเราทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ ว่า เราจะต้องเข้าถึงความต่าง ของการที่ความเข้าใจขั้นการฟัง ไม่ใช่ความเข้าใจขั้นประจักษ์ ซึ่งจะมีข้อความต่อไป ไม่ใช่เพียงแต่ว่าอยู่ที่เข้าใจเท่านั้น
ผู้ฟัง คำอธิบายของอาจารย์เดี๋ยวนี้ มันทำให้ผมนึกถึงเทปเมื่อวานนี้ ที่มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ถามอาจารย์ พูดสำเนียงจีนๆ หน่อย บอกว่า เอ๊ะ ฟังอาจารย์มา ๒๐ ปี เพิ่งรู้ว่ามันมีสติอยู่ข้างนอกตัวเอง เห็นว่า เออ อันนี้ไม่ใช่เราเห็น เป็นสติที่อยู่ข้างนอกเห็น อะไรอย่างนี้ นะ ผมก็มานึกถึง ถ้าอย่างนั้นอาจารย์อยากจะให้พวกเรา ไม่ให้เราเห็น ไม่ให้เราสัมผัส แต่ว่าอยากให้เหมือนมีอะไรสักอย่างหนึ่ง คือ จิตมารู้สึก ไม่ใช่เรา มันอย่างไรก็ไม่รู้ ทำอย่างไร ทำไม่ค่อยจะได้
เมื่อ ๒,๓ วันนี้ผมขับรถตามหลังสุภาพสตรีท่านหนึ่ง แล้วท่านก็เบรคโดยเร็ว ผมก็เบรคไม่เร็วเท่าเขา ผมก็ชนท้ายเขา แล้วผมก็มานึก เออนี่ไม่เที่ยงแล้ว แต่กว่าจะนึกได้มันอึดหนึ่งเหมือนกัน ทีนี้มันก็ยังเป็นเราอยู่ ก็นึกถึงว่า เอ๊ะไม่ใช่เรา นะ จิต จิต เท่านั้นเอง เห็นว่ารถชน มันไม่ทันแล้วมันก็ชน อะไรอย่างนี้ พยายามที่จะนึก เพื่อที่จะทำให้มันสบายใจขึ้น แต่มันก็สบายใจขึ้นในระดับหนึ่ง อย่างนี้ยังเรียกว่าไม่เข้าใจอีก หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงทุกขณะ แต่ไปนึกตอนที่ชน แสดงความห่างกันของการที่เราคิดว่า เราเข้าใจแค่ไหน ฟังมาทุกวัน นานๆ ก็จะนึกถึงคำว่า ไม่เที่ยง หรือว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ทั้งๆ ที่ขณะนี้เอง กำลังไม่เที่ยงอยู่ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้เข้าถึงลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นเราโดยตลอด ที่คิดว่าเราเข้าใจธรรม แล้วสามารถจะมีการนึกขึ้นมาได้ ว่าขณะนั้นไม่เที่ยง แต่แม้ขณะนี้ก็ไม่เที่ยง ไม่มีขณะไหนสักขณะเดียวที่ไม่เที่ยง แล้วทำไมเราไม่นึก แต่ไปนึกตอนนั้น
ผู้ฟัง ก็รู้ว่ามันไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อยู่แล้ว เพียงแต่คิด จากการฟัง จึงทำให้มีปัจจัยที่จะทำให้เกิด คิดขึ้นมาว่าขณะนั้นไม่เที่ยง แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนี้ สามารถรู้ลักษณะของธรรมซึ่งลักษณะที่ไม่เที่ยง ต้องเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม แต่ละลักษณะ ทุกอย่างที่เกิดมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ
ผู้ฟัง สมมติว่าผมชนเข้าไปแล้ว มันก็แก้ไม่ได้แล้ว มันชนแล้ว ผมก็พยายาม เมื่อก่อนนี้ผมชน ผมโมโหมากกว่านี้ แต่เดี๋ยวนี้ รู้สึก ว่าไม่ใช่เราชน แต่ว่าคิดว่ามันเป็นของไม่เที่ยงนะ มันเป็นของไม่เที่ยงนะ เป็นวิบากนะ เป็นอะไรนะ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรานะ ค่อยๆ คิด ค่อยๆ คิดแต่มันช้าไปหรือเปล่า อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด มาจากจักขุ ใช่ไหม แล้วมีผัสสะ แล้วก็มีจิต แล้วก็มีความคิดต่างๆ ทั้งหมดแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ไม่ใช่เป็นคุณเด่นพงษ์ ทั้งหมดที่กำลังคิด แล้วก็พยายามคิดให้มากขึ้นดีไหม ไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายความว่าต้อง ขณะนี้ แม้แต่เห็น ก็ต้องมีความละเอียดที่จะรู้ว่า ยังไม่ได้กล่าวถึงได้ยินเลย ทั้งๆ ที่กำลังเห็นก็มีได้ยินด้วย แต่ต้องพิจารณาแต่ละอย่าง แต่ละลักษณะ
ผู้ฟัง ผมพยายามใช้ ที่คำว่า โยนิโส อีก พอชนบั๊ป ผมก็โยนิโสว่าอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เป็นตัวตน
ผู้ฟัง ช่วยผ่อนคลาย ตัวตนอีก
ท่านอาจารย์ ตลอดๆ ไม่ใช่เฉพาะตอนนั้น ตอนเดียว แม้แต่ขณะที่กำลังนั่งขณะนี้ พระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงแสดงจากการคิด ไม่ใช่นานๆ คิดแล้วก็บอก เออ ไม่เที่ยงแล้วก็มาสอน แต่จากการประจักษ์แจ้งการเกิดดับ นี่เป็นความละเอียด ที่เราจะต้องรู้ว่า ความไม่เที่ยง ไม่ใช่เฉพาะเมื่อเหตุการณ์หนึ่ง เหตุการณ์ใดเกิด แม้ขณะนี้อย่างไร อบรมอย่างไร เข้าใจอย่างไร จึงสามารถประจักษ์แจ้งถึง หยั่งถึง ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมซึ่งขณะนี้เกิด แล้วดับ
ผู้ฟัง สืบเนื่องจาก อันเดียวกัน ถ้าเกิดจะใช้วิธีอธิบาย ให้พวกผม ที่ไม่ค่อยชำนาญ ใช้คำง่ายๆ อ่านไปฟังไป มันน่าจะง่าย
ท่านอาจารย์ นี่ง่ายไหม
ผู้ฟัง เพียงแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วก็อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็มีคำว่า อภิญญา ปริญญา เข้ามาอีก ปหาน เข้ามาอีก
ท่านอาจารย์ ก็แสดงให้เห็นว่ามีปัญญาหลายระดับ ไม่ใช่ว่าปัญญาเพียงขั้นฟัง
ผู้ฟัง มันก็เลย ทำให้หยุด ลอด อีกแล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ยากที่คำ คำแปลออกมา สามารถเข้าใจความหมายที่แปลได้ แต่ลักษณะของสภาพธรรม เช่นคำว่า ไม่เที่ยง ทุกคนพูดได้ เข้าใจว่าไม่เที่ยง คืออย่างไร แต่ขณะนี้สภาพธรรม ไม่เที่ยง ไม่ใช่เราต้องไปคิดว่า ขณะนี้สภาพธรรมไม่เที่ยง ถ้าเป็นการคิดว่าขณะนี้สภาพธรรมไม่เที่ยง นั่นเป็นเราคิด เพราะฉะนั้น ต้องแยกให้ออก ว่าเมื่อไรที่เราสามารถที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมโดยความเป็นปรมัตถธรรม คือไม่ใช่เราจริงๆ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง
ผู้ฟัง ประเด็นนี้ผมก็จับอยู่
ท่านอาจารย์ ถ้าผมจับ นี่ ผิด
ผู้ฟัง แล้วอะไรจับ
ท่านอาจารย์ ไม่มีอะไรจับ จับอะไรได้ แต่ว่าในใจคิดว่าจับใช่ไหม แต่เปลี่ยนคำเป็นระลึก
ผู้ฟัง นั่นสิ
ท่านอาจารย์ แต่ในใจคิดว่าจับ
ผู้ฟัง คือทำอย่างไร ที่จะให้ไม่ใช่เรา ไปอยู่ในเหตุการณ์
ท่านอาจารย์ ถ้าทำเป็นคุณเด่นพงษ์ ทำ หรือว่าอะไรทำ
ผู้ฟัง ถ้าทำก็เรียกว่า ตัวเราทำ
ท่านอาจารย์ แต่ความจริง เป็นอะไรทำ
ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่เข้าถึงความเป็นสภาพธรรมที่ทำ เป็นเราอยู่ตลอด
ผู้ฟัง ก็พยายามค่อยๆ ให้มันไป
ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นเรา หรือด้วยการรู้ที่จะค่อยๆ ละความเป็นเรา นี่คือควาามต่างกัน เพราะฉะนั้น หนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงดำเนิน ทรงประจักษ์แจ้งอริยสัจ เป็นหนทางที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่ง่ายๆ เราใช้คำง่ายๆ แล้วเราก็บอก ให้จับนั่น จับนี่ ไม่ใช่ แต่เป็นความละเอียดของกว่าเราจะรู้ แม้แต่โลภะ อยู่ตรงไหนบ้าง ไม่เห็นแล้วจะละได้อย่างไร แล้วไม่ใช่มีแต่โลภะ ความติดข้องอย่างเดียว ความเห็นผิด อันนี้ที่จะต้องละ ตราบใดที่ยังมีเรา ก็จะมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิด ความเห็นผิดหลายอย่าง แม้ในเรื่องของสีลัพพตปรามาส คือการประพฤติปฏิบัติ ที่เข้าใจว่าเป็นหนทางที่ถูก แต่ความจริงไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องละ ในขณะที่คนฟังบางคน พยายามที่จะเอา แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องละความไม่รู้ ถ้าให้สอบทานดูว่า ตั้งแต่ฟังมา จะกี่ปีก็ตามแต่ ละความไม่รู้ในขณะที่กำลังเห็น ในขณะที่กำลังได้ยินลงบ้างหรือยัง ถ้ายังก็หมายความว่า เข้าใจถูกต้องเลย ว่าบุคคลในครั้งอดีต ที่ท่านแสดงประวัติของท่านว่า กว่าท่านจะรู้ เท่าไร กัป แล้วแต่ว่าแต่คนจะกี่กัป แล้วก็กัป ๑ กัป ๑ นานเท่าไร เราก็เห็นได้ว่า เราฟังมาเท่านี้ แล้วเราก็ยังไม่ค่อยรู้ว่า ขณะที่เห็นเป็นสภาพธรรมที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นอารมณ์ เครื่องยืนยันก็คือชีวิตทั้งวัน มีอารมณ์ คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดเลย มีใครบ้างที่ขาด อารมณ์ หรืออารัมมาณะ คือสิ่งที่จิตกำลังรู้
ขณะนี้ เป็นอารมณ์ทั้งหมดเลย ทางตาก็กำลังเป็นอารมณ์ ทางหูก็กำลังเป็นอารมณ์ ทางใจที่คิดนึกก็เป็นอารมณ์ อารมณ์ทั้งหมดปรากฏได้เพราะ จิต ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ สิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ปรากฏไม่ได้ เสียงปรากฏไม่ได้ เรื่องราวต่างปรากฏไม่ได้ อะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วถ้าเราไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง ด้วยความเข้าใจ แต่เป็นเราที่พยายามจะข้ามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไป แล้วก็พยายามจะไปจับหรือไปทำอะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นไม่ได้ละความไม่รู้ ในสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน
ความต่างของผู้ฟังในครั้งโน้น เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี ที่ได้ฟังพระดำรัสจากพระโอษฐ์ กับการฟังธรรมของบุคคลในยุคนี้ ซึ่งจากการจดจำสืบทอดมา ต่างกันหรือเหมือนกัน ผู้ฟังในครั้งโน้นถามเรื่องอย่างนี้หรือเปล่า
ผู้ฟัง ผู้ฟังในครั้งนี้ก็เลย ไม่เข้าใจ จึงถาม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องทราบ ว่าปัญญาของคนในครั้งนี้ สามารถที่จะเหมือนบุคคลในครั้งโน้นหรือเปล่า เพราะว่าบุคคลในครั้งโน้น ท่านฟัง แล้วท่านก็รู้ว่าท่านไม่รู้อะไร อย่างผัสสเจตสิกท่านจะรู้ได้ไหม หรืออะไรๆ ต่างๆ แต่ท่านสามารถที่จะพิจารณาได้ว่ามีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย แล้วก็มีใจด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาของเรา ที่จะฟังแล้วก็ไตร่ตรอง ว่าความรู้ของเราจริงๆ ที่จะอบรมจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ได้ เข้าใจได้ คือเข้าใจเท่าที่ระดับของปัญญา ของเราสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่าในขณะนี้ กำลังพูดเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วไม่ใช่มีแต่ตา ก็จะต้องมีจิต แล้วก็ต้องมีความรู้สึก เพราะฉะนั้น หลังจากที่พูดถึงเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พูดถึงเวทนาเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะรู้ได้ ว่าขณะนี้เวทนามีอะไร และเป็นอย่างไร แต่ถ้าเราข้าม ขณะนี้เวทนาก็ผ่านไป เหมือนเรารู้แล้ว ในเวทนา ๕ ว่าเวทนาก็มีอุเบกขาเวทนา โสมนัสเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา เหมือนเราไม่สงสัย ใน ๕ อย่าง เพราะเรารู้แล้ว เราก็ไปสงสัยอย่างอื่น แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าย่อลงมาแล้วถามเพียงสั้นๆ ว่า เรารู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมหรือยัง แล้วสิ่งที่เรารู้ เป็นธรรมซึ่งมีลักษณะที่ต่างกัน ๒ อย่างคือนามธรรม และรูปธรรม ถ้าเราจะอบรมเจริญปัญญา ที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ สิ่งที่มีจริง คำตอบทั้งหมดจะมาจากปัญญาของตนเอง ซึ่งได้อบรม เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะรู้ว่า ปัญญาของแต่ละบุคคล สามารถที่จะพิจารณาเข้าใจในสภาพธรรมใด ซึ่งขณะนี้ มีใครที่สามารถจะรู้ลักษณะ ของผัสสเจตสิกบ้าง ถ้าไม่มีก็รู้ได้เลย ใช่ไหม ว่าไม่ใช่วิสัย ไม่ใช่ปัญญาระดับที่จะไปรู้ ลักษณะของผัสสเจตสิก เพราะเหตุใด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720