ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
ตอนที่ ๗๑๔
สนทนาธรรม ที่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงจิต ที่ว่าจำแนกออกเป็นถึง ๘๙ ประเภท หรือว่า ๑๒๑ ประเภท ถ้ากล่าวโดยลักษณะของจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ นี้คือ เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ว่าโดยสภาพของจิต เป็นสังขตธรรม คือมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้น บางครั้งจิตนั้นเกิดขึ้น เป็นไปที่จะรู้แจ้งทางตา ขณะนี้กำลังเห็น ก็มีจิตที่กำลังรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อเกิดแล้วดับไป บางครั้งมีเหตุปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้แจ้งทางหู ซึ่งจิตที่รู้แจ้งทางตา กับจิตที่รู้แจ้งทางหู เป็นประเภทต่างกัน แต่โดยลักษณะของจิต ลักษณะ คือ สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ แต่ว่าที่จำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ เพราะเหตุว่า มีจิตที่รู้แจ้งทางตาประเภท ๑ จิตที่รู้แจ้งทางหู จิตที่รู้แจ้งทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็มีจิตต่างๆ ที่เป็นอกุศลจิตก็มี คือ มีโลภะ ความติดข้องเป็นมูล คือเป็นเหตุ นั่นก็เรียกว่าโลภมูลจิต คือจิตที่มีโลภะเป็นมูล หรือว่าโทสะความขุ่นเคืองใจ เมื่อประกอบกับจิต จิตนั้นก็เป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ แต่เมื่อประกอบด้วยโทสะ จึงใช้ชื่อว่าโทสมูลจิต ดังนั้น ก็มีจิตโดยลักษณะคือ เป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่าที่เป็นประเภทต่างๆ คือมีอารมณ์ต่างกันอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจของสัปยุตตธรรมอย่างหนึ่ง แล้วก็โดยภูมิ โดยชาติ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้วก็สะดวก ไม่ว่าจะกล่าวโดยประการใดๆ ถ้ากล่าวถึงจิตที่เห็นทางตาอย่างหนึ่ง ผัสสะที่กระทบสิ่งที่ปรากฏทางตาก็อย่างหนึ่ง จิตที่ได้ยินเสียง รู้แจ้งเสียง เพราะผัสสเจตสิกขณะนั้นกระทบเสียงก็เป็นผัสสะอีกอย่างหนึ่งก็ได้ จะกล่าวอย่างนี้ก็ได้ แต่เมื่อประมวลถึงลักษณะ กิจ หน้าที่ ของเจตสิกนั้นๆ ก็จึงเป็น ๕๒ ประเภท แล้วก็จิต ๑ คือ เป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งเมื่อจิตมีระดับต่างๆ กัน ผัสสเจตสิก หรือว่า แม้ว่าเจตสิกอื่นๆ ก็จะมีระดับต่างๆ กันด้วย อย่างสัญญาที่จำเสียง กับสัญญาที่จำสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนั้นก็ต่างกันด้วยอารมณ์ก็จริง แต่ก็เป็นสัญญาเจตสิก ฉันใด ไม่ว่าจิตจะไปรู้แจ้งอารมณ์อะไรๆ อย่างไร ประกอบด้วยเจตสิกอย่างไร แต่ลักษณะของจิตก็เป็นใหญ่เป็นประธานในขณะที่เกิดขึ้น ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์
ผู้ฟัง ถ้ากล่าวถึงจิต ซึ่งแต่ละท่านก็วิจิตรมากมาย คือมีความคิดหลากหลาย แม้จะเป็นมนุษย์ หรือว่า เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่า เทพเทวดาต่างๆ เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงว่า เหตุใดพระผู้มีพระภาค จึงจำแนกเพียง ๘๙ หรือว่า ๑๒๑ เป็นเพราะเหตุใด
ท่านอาจารย์ ถ้าจะกล่าวให้มากมาย วันนี้จิตแต่ละคนไม่รู้ว่าความคิดต่างกันเท่าไร แล้วทั่วโลก แล้วบนสวรรค์อีก ยากที่จะกล่าวถึงจำนวนได้ แต่เมื่อประมาลแล้วก็เป็นประเภทใหญ่ๆ ๘๙ ประเภท ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ตามชาติต่างๆ คือการเกิดขึ้นของจิตนั้นๆ
ผู้ฟัง แม้เวทนา ซึ่งก็จำแนกได้ตั้ง ๕ อย่าง แต่ถึงกระนั้น ก็ยังใช้คำว่า เป็นเฉพาะแค่ความรู้สึกเป็นหนึ่ง
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็คงจะชัดเจนแล้ว ในเรื่องของปรมัตถธรรม ๓ แล้วก็จำแนกเป็นขันธ์ ๕ แล้วความสำคัญของขันธ์ ๕ ก็คือว่า มีคำเพิ่มขึ้น คือ อุปาทานขันธ์ ๕ แล้วจิตเป็นที่ตั้งของอุปาทานหรือเปล่า พอใช้คำว่าขันธ์ ๕ มีคำว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ไม่ต่างกับขันธ์ ๕ เลย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ เป็นสภาพที่เป็นอย่างนั้น เป็นประเภทนั้นๆ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นประเภทอื่น แต่ขันธ์ใดเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ขันธ์นั้นก็เป็นอุปาทานขันธ์ เพราะฉะนั้น จิตเป็นที่ตั้งของความยึดถือใช่ไหม เป็นอุปาทานขันธ์หรือเปล่า เป็นอุปาทานขันธ์ แต่ใช้คำว่า วิญญาณ ก็แสดงให้เห็นว่าจะใช้คำไหน ที่ไหน อย่างไร ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ในสภาวธรรมซึ่งเป็นจิต ก็ไม่แปลกว่าจะใช้ชื่ออะไร
ผู้ฟัง ยังสงสัยเรื่องจิตกับเจตสิกอยู่ ที่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน จิตก็มีอกุศล เจตสิกก็มีอกุศล แต่เวลาจิตเกิดอกุศล เขาไม่มีกำลังหรืออย่างไร ต้องอาศัยเจตสิก
ท่านอาจารย์ เราจะต้องพูดถึงขณะที่มีจิตเกิดขึ้น จิตเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ นามธรรมที่รู้ มี ๒ อย่าง จิตก็รู้ เจตสิกก็รู้ แต่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานเฉพาะในการรู้แแจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เช่น เสียง ทำไมเรารู้ว่ามีหลายเสียง ก็เพราะเหตุว่า จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของเสียงในขณะนั้นแต่ละเสียง จึงรู้ว่าเสียงต่างๆ ไม่เหมือนกัน
แต่สำหรับความรู้สึกซึ่งเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต ความรู้สึกเป็นสภาพธรรมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมจิต ไม่ว่าจิตจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะต้องมีความรู้สึกประเภทหนึ่งประเภทใดเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่เห็น จะกล่าวว่าเมื่อเห็นแล้วไม่รู้สึกอะไร ความจริงมีสภาวธรรมซึ่งเป็นเจตสิก ชื่อว่าเวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่ต้องรู้สึก เกิดแล้วต้องรู้สึกในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งความรู้สึกนั้นมีต่างกันเป็น ๕ อย่าง ความรู้สึกที่เป็น สุข ๑ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ๑, ๒ อย่างนี้ หมายความถึงทางกาย เช่น เวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วย ความรู้สึกนั่นเองเกิดขึ้นเป็นสภาพธรรม เป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม แต่ไม่ใช่จิต ความรู้สึกไม่ใช่จิต
แต่ว่าความรู้สึกขณะที่เป็นทุกข์ ขณะนั้นเป็นความรู้สึกชนิดซึ่งมีจริง ต้องอาศัยกาย จึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีกาย ไม่หิว ไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่เป็นโรคต่างๆ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย ๑ ความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ๑ อีก ๓ เป็นความรู้สึกทางใจ เช่น โสมนัส ดีใจ โทมนัส เสียใจ อุเบกขา หรือ อทุกขมสุข หมายความว่า ไม่สุข ไม่ทุกข์
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าวันหนึ่งๆ ที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกชนิดหนึ่งเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง แต่ไม่ใช่จิต เพราะจิตไม่ได้รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่เจตสิกชนิดนั้นเป็นสภาพที่รู้สึกในสิ่งที่จิตกำลังรู้ เช่น ในเสียง เสียงบางเสียงนี่ ไม่ชอบเลยใช่ไหม ขณะที่ไม่ชอบ ความรู้สึกขณะนั้นเป็นทุมนัส ใจที่ไม่ดี ซึ่งรวมแล้วก็เป็น ใช้คำว่า โทมนัสเวทนา หมายความว่า เป็นความรู้สึกที่ไม่สบายใจ แม้เพียงเล็กน้อย น้อยมาก เช่น ความขุ่นใจ ถ้าเห็นฝุ่นละอองแม้นิดเดียว เราเกิดขุ่นใจนิดเดียว ถ้าเห็นมากๆ ความขุ่นใจของเราก็มากขึ้น เป็นความไม่สบายใจที่มากขึ้น ความรู้สึกที่ไม่สบายเป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต เป็นโทมนัสเวทนา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกใดๆ ในวันหนึ่งๆ ก็เกิดขึ้นเพราะจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ใด เวทนาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตนั้นก็มีความรู้สึกในอารมณ์นั้นต่างๆ อาจจะเป็นทุกข์ หรือสุขทางกาย โสมนัสหรือโทมนัสทางใจ แล้วก็ความรู้สึกเฉยๆ เช่น ขณะนี้ ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไร จะตอบว่าอย่างไร ตอบได้ไหม กรุณาตอบด้วย ขณะนี้ รู้สึกอย่างไร
ผู้ฟัง ก็ รู้สึก จะเฉยๆ
ท่านอาจารย์ เฉยๆ เมื่อไร
ผู้ฟัง ก็เป็น จะรู้เป็นบางขณะ
ท่านอาจารย์ ธรรมจะมีคำตอบไม่สิ้นสุด แล้วจะมีคำถามไม่สิ้นสุดด้วย ถ้าถามว่ารู้สึกเฉยๆ จะถามต่อไปว่าเมื่อไร ถ้าเป็นความที่เจาะจง ก็เป็นความละเอียด ขณะที่เห็น หรือว่าขณะที่ได้ยิน หรือว่าขณะที่ได้กลิ่น หรือว่าขณะที่ลิ้มรส เพราะว่าจิตจะต้องมีทางรู้อารมณ์ ๖ ทาง จิตเป็นสภาพรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้จริง แต่ว่าถ้าไม่มีตา จักขุปสาท จิตเห็นเกิดไม่ได้ โลกสว่างประกอบด้วยสีสันต่างๆ ทำให้นึกถึงคน และวัตถุรูปร่างต่างๆ จะมีไม่ได้เลย ถ้าไม่มีจักขุปสาทซึ่งเป็นทางจะให้จิตเกิดขึ้นเห็น
สำหรับทางหู แม้ว่าจิตเป็นสภาพรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ก็ต้องมีทาง คือ โสตปสาทรูป เป็นรูปที่สามารถกระทบเฉพาะเสียง จะไม่กระทบกับรูปอื่นเลย นอกจากเสียง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ผู้ใดมีโสตปสาท แล้วก็มีเสียงกระทบ ขณะนั้นจิตก็เป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของเสียง เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกันก็จะมีความรู้สึกในเสียงที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ทุกขณะเป็นธรรมทั้งหมด เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ไม่ใช่เรา แต่ว่ามีความละเอียดที่เราจะต้องรู้ว่า วันหนึ่งๆ ที่เรากล่าวว่า วินาที เสี้ยววินาที ชั่วโมงหรือเหตุการณ์ใหญ่ๆ แท้ที่จริง เพราะจิตเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปแล้วก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปสืบต่อ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ขาดจิตเลย
เพราะฉะนั้น เราจึงมีคำที่ใช้แสดงถึงว่า แม้ว่าเป็นเรื่องจิตประเภทต่างๆ แต่เมื่อไม่รู้ก็เป็นเราทั้งหมด เช่น เราหลับ เราตื่นเราเห็นเราได้ยิน เราคิด เราสุข เราทุกข์ สภาพธรรมที่มีทั้งหมดกลายเป็นเราด้วยความไม่รู้
แม้แต่รูปของเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ความจริงรูปก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐานใดใน ๔ สมุฏฐาน คือ รูปบางกลุ่มหรือบางกลาป เพราะรูปนี่ก็จะเกิดตามลำพังรูปเดียวไม่ได้ รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะอุตุความเย็นความร้อนเป็นสมุฏฐาน รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นสมุฏฐาน ที่ร่างกายของสัตว์ บุคคล ก็จะมีรูปที่เกิดจากสมุฏฐานครบทั้ง ๔ แต่ไม่ใช่ว่ารูป ๑ มีสมุฏฐาน ๔ รูปใดเกิดจากสมุฏฐานใด ก็เกิดจากสุมฏฐานนั้นแล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้น ที่ตัวของเราเนื่องจากไม่รู้ก็ยึดถือหมด ตาของเรา หูของเรา ร่างกายของเรา แต่ความจริงก็เป็นรูป รูปก็เป็นรูป นามก็เป็นนาม จิตก็เป็นจิต เจตสิกก็เป็นเจตสิก
ผู้ฟัง แล้วเราจะรู้สภาพตรงนั้นได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ถูกต้องไหม มีจริงๆ เป็นเรา หรือว่าเป็นเพียงสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท แล้วปรากฏ
การที่จะเรียนสัจจธรรม ความจริงของธรรม ซึ่งเป็นสภาวธรรมแต่ละอย่าง มีลักษณะ เฉพาะตนๆ จนกระทั่งรู้ขึ้น ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถจะแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ แม้ว่าความเป็นจริงของธรรมคืออย่างนี้ ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมไม่ใช่ไปทำอะไรให้เกิดขึ้น แต่รู้สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด ถ้าไม่รู้ขณะใด ขณะนั้น สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ทุกๆ ขณะไป
ผู้ฟัง ขอถามเรื่อง เจตสิก ชีวิตินทรีย์กับชีวิต มันเหมือนกันหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นคำรวมของคำว่า อินทริย กับ ชีวิต ซึ่งเรายังไม่ถึง แต่ให้ทราบว่าเป็นเจตสิกชนิด ๑ ซึ่งเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต เพราะว่าเจตสิกทั้งหมดเป็นสภาวธรรม ซึ่งไม่เกิดที่อื่นเลย แต่อาศัยเกิดกับจิต เกิดในจิต เกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต แล้วก็ดับพร้อมจิต
ผู้ฟัง คนที่เป็นดาวซินโดม คนเป็นปัญญาอ่อน สภาพรู้เขาจะไม่เหมือนอย่างเรา
ท่านอาจารย์ เวลาที่เราใช้คำว่า คน เพราะว่ามีจิต เจตสิก ไม่ใช่มีแต่รูปใช่ไหม แล้วในภูมินี้ก็ต้องมีทั้งจิต เจตสิก รูป เรายังไม่เห็นคนซึ่งไม่มีรูปใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีทั้งจิต เจตสิก และรูป จึงชื่อว่า คน แต่ว่าอะไรจะหายไป ที่ว่า ถ้าไม่มีจักขุปสาทจิตเห็นเกิดไม่ได้ ไม่มีโสตปสาทจิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ แต่ว่าจิตก็หลากหลาย ตั้งแต่ปฏิสนธิขณะ คือขณะแรกที่เกิด ซึ่งต่อไปเราก็จะพูดถึง แต่ให้ทราบว่าทุกอย่างเป็นไปตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ที่จะกล่าวว่า ถึงแม้ไม่มีจักขุปสาทก็เห็น ถูกหรือผิด จักขุวิญญาณเป็นจิตชนิด ๑ ซึ่งเกิดขณะใดก็ทำหน้าที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น คำจำกัดความมาจากการตรัสรู้การทรงแสดงทุกคำ เห็นแจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่คิดนึก เราอาจจะคิดนึกได้ แต่ขณะที่เรากำลังคิดถึงรูปหนึ่งรูปใดที่เราเคยเห็น ขณะนั้นไม่ใช่จิตที่เห็นแจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น ก็จึงเป็นความหลากหลายที่แสดงให้เห็นชัดว่า เมื่อพูดถึงจิตก็จะต้องพูดถึงจิตโดยละเอียดแต่ละประเภทไป ไม่กล่าวรวม ถ้ากล่าวรวมก็ คนเป็นปัญญาอ่อน แต่ถ้ากล่าวถึงจิต ต้องรู้เลย จิตชนิดนี้เกิดเมื่อไร ไม่ใช่เฉพาะคนปัญญาอ่อน ปลามีจิตเห็นไหม หนอนมีจิตเห็นไหม แล้วแต่ เราพูดถึงจิต เราไม่ได้พูดถึงชื่อ แต่เราพูดถึงสภาวธรรมซึ่งมีจริงแล้วก็เกิดขึ้น ทำกิจนั้นๆ ตามลักษณะของสภาวธรรมนั้น
วิทยากร ถ้าไม่มีสภาพของชีวิตินทรีย์ ซึ่งจะทำให้จิต และเจตสิกนั้นดำรงอยู่ หรือว่าช่วยรักษาอยู่ ชั่วอายุสั้นๆ ของจิตนั้น จิต และเจตสิกก็เกิดไม่ได้ ก็จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมชีวิตินทรีย์จึงจะต้องเป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับจิตทุกดวง เพราะว่าจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นจะต้องมีขณะที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ก็คือมีอายุของจิต และเจตสิกนั้น ซึ่งสั้นมาก แต่ที่ว่าสั้นขนาดไหน แสนสั้นขนาดไหน ก็จะต้องมีอายุอยู่ชั่วขณะ ซึ่งเป็นกิจ เป็นหน้าที่ของชีวิตินทรีย์
ผู้ฟัง คำว่า ชีวิตินทรีย์ มีคำว่า อินทรีย์ ด้วย คือ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ แล้วก็เป็นใหญ่ในการที่จะดำรงรักษาสภาพธรรมอื่นซึ่งเกิดร่วมกันให้ดำรงอยู่ ตั้งแต่เกิดขึ้นแล้วก็ดำรงอยู่ ไปจนถึงขณะที่ดับ
วิทยากร สำหรับชีวิตินทรีย ถ้าศึกษาก็จะมีทั้งเป็นนามธรรมก็มี และเป็นรูปธรรมก็มี ส่วนลักษณะที่เป็นนามก็คือ โดยลักษณะที่กล่าวไปแล้ว คือ ลักษณะของเจตสิกมีลักษณะที่แตกต่างกัน แล้วก็มีกิจที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น ชีวิตินทริยเจตสิก มีกิจคือ อนุบาลรักษา ให้จิตเจตสิกดำรงอยู่ ส่วนชีวิตินทริยรูปก็เป็นรูป รูปหนึ่ง ซึ่งเกิดจากกรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดจากกรรมทั้งหมด ต้องมีชีวิตินทริยรูป อนุบาลรักษารูปให้ดำรงอยู่เช่นเดียวกัน อันนี้คือชีวิตินทรีย์
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นแล้ว จะกล่าวได้ว่า ในทุกขณะนี้ จะมีทั้งชีวิตรูป และชีวิตนาม ตลอดไปหรืออย่างไร
วิทยากร ขณะที่เกิดชีวิตินทรีย์ ที่เป็นนามเกิดขึ้น มีกิจคือ อนุบาลรักษาจิต และเจตสิกที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น แล้วก็ต้องดับ คือขณะที่ยังไม่ดับก็อนุบาลรักษา ชีวิตินทริยรูปก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดก็อนุบาลรักษารูปที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้นที่ยังไม่ดับ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ชีวิตรูป และชีวิตนาม ก็มีปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันใช่ไหม
วิทยากร มีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วแต่ว่าจะปรากฏแก่บุคคลใด แล้วแต่ว่าบุคคลใดที่จะทราบ ที่จะรู้ มีชีวิตินทรีย์ขณะนั้นเป็นอารมณ์ แต่ว่าโดยปกติก็มีรูป ๗ รูปเป็นโคจรรูป คือ เป็นรูปที่เที่ยวไปของจิต ๗ รูป ตามที่ท่านอาจารย์กล่าวในตอนต้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ใช้คำว่า ในขณะที่เราดำรงชีวิตอยู่ด้วยกรรม เราก็จะไม่ขาดรูปที่เกิดจากกรรม ซึ่งจะต้องมีชีวิตินทริยรูปเกิดร่วมด้วยในกลุ่มนั้น แล้วก็อย่างเช่น จักขุปสาทก็เป็นรูปที่เกิดจากกรรม เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีจิตเห็นเกิดขึ้น ก็เรียกว่าขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้นก็มีชีวิตินทริยเจตสิกประกอบร่วมด้วย แล้วก็อาศัยจักขุปสาทซึ่งเป็นรูป ก็มีชีวิตินทริยรูปด้วย เพราะฉะนั้น ก็เรียกว่า มีทั้งชีวิตรูป และชีวิตนามประชุมรวมกันแล้วก็อาศัยกัน เกิดขึ้นในแต่ละขณะที่ยังดำรงชีวิตอยู่
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะกล่าวถึงเจตสิก เพราะว่าขณะนี้ อย่างจิตเราก็พอจะเข้าใจ แต่ให้ทราบว่าเป็นปรมัตถธรรม คือสิ่งที่มีจริง เป็นจิตประเภทหนึ่ง จิตไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ที่ไหน อย่างไร รู้อารมณ์อะไร ในรูปพรหม อรูปพรหม อย่างไรก็คือจิต และเจตสิกก็เป็นสภาพปรมัตถธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งเกิดด้วยกัน แยกกันไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าจิตหนึ่งขณะ จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร แต่ว่าอย่างน้อยที่สุดของจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้น จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท
มีคำถามเรื่อง ชีวิตินทริยเจตสิก ซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ จิตไม่ใช่ก้อนกรวด ใช่ไหม เป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้น สภาพรู้หรือธาตุรู้ ก็เป็นนามธรรม ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่ามีชีวิต ถ้าปราศจากจิตแล้วก็ตาย ไม่มีชีวิต แต่ถ้าเราจะพูดถึงจิต ลักษณะที่จะทำให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่ต่างกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็เพราะเหตุว่ามีจิต แต่ถึงกระนั้นก็จะต้องมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ซึ่งขาดไม่ได้เลยคือ ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะ ที่ทำหน้าที่หรือกิจของเจตสิกนี้ คือ อนุบาลรักษานามธรรมที่เกิดร่วมกันทั้งหมด ทั้งจิต และเจตสิกให้ดำรงอยู่ชั่วขณะที่ยังไม่ดับไป
นี่ก็แสดงให้เห็นถึง สภาพธรรมที่เรามองไม่เห็นเลย จิตนี้เรามองไม่เห็นเลย เจตสิกเราก็มองไม่เห็นเลย แต่แม้กระนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ทรงแสดงว่า ขณะที่จิตเกิด ไม่ใช่มีแต่เวทนาเจตสิกซึ่งรู้สึกในอารมณ์นั้นเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่มีแต่สัญญาเจตสิกซึ่งจำในอารมณ์ คือสิ่งที่จิตกำลังรู้ ไม่ใช่มีแต่เจตสิกอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึง รวมทั้งชีวิตินทริยเจตสิกด้วย แสดงให้เห็นถึงสภาพที่ทรงชีวิตหรือมีชีวิต เพราะแม้นามธรรมก็เป็นสิ่งที่มีชีวิตด้วย ชีวิตินทริยเจตสิกซึ่งดำรงอนุบาลรักษาให้จิตนั้นดำรงอยู่ชั่วขณะที่ยังไม่ดับไป นี่คือลักษณะของชีวิตินทริยเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ
สำหรับรูป เฉพาะรูปซึ่งเกิดจากกรรมเท่านั้น ที่มีชีวิตินทริยรูป เพราะฉะนั้น คำว่า ชีวิต จะเห็นได้ว่า ทำให้สภาพธรรมต่างกัน ระหว่างสิ่งที่มีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต แม้นามธรรมก็ต้องเป็นสภาพที่ทรงชีวิต ไม่ใช่ไม่มีชีวิตแล้วก็จะเป็นนามธรรมได้ แม้รูปธรรมบางรูปต้องเป็นสภาพที่ทรงชีวิต เพราะฉะนั้น เวลาที่กัมมชรูปไม่เกิด เวลาที่จุติจิตดับ กัมมชรูปดับพร้อมกันจุติจิต รูปที่มีอยู่ ซึ่งเคยเป็นคนนั้นที่เรารู้จัก แม้เพียงชั่วขณะจิตเดียว ดูความรวดเร็วของจิต จิตเกิดแล้วดับเร็วมาก แต่ทันทีที่จะจุติจิตดับ ซึ่งก่อนจุติจิตก็จะมี จิตเกิดดับ สืบต่อไปเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่จุติ เพราะว่าจุติต้องเป็นจิตขณะสุดท้ายของชาติ ๑ ที่ทำกิจพ้นสภาพ ความเป็นบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิง จะเป็นบุคคลนั้นต่อไปอีกไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น เพียงชั่วจิตนี้ดับ รูปนั้นเป็นรูปที่ปราศจากชีวิต รูปทุกรูปนั้นไม่มีชีวิตินทริยรูปเลย แต่ว่าในความทรงจำของเราซึ่งไม่ละเอียด เราก็ยังมองเห็นว่า คนที่ตาย บางทีเราไม่รู้หรอกว่า เขาตายเมื่อไรใช่ไหม เพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมาก แล้วก็รูปก็ยังไม่ทันแข็ง ยังไม่ทันเปลี่ยนสภาพ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720