ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
ตอนที่ ๗๑๖
สนทนาธรรม ที่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ขณะที่ทุกคนนั่งอยู่ที่นี่ ก็มีเห็นก็ข้ามไป มีเสียงก็ข้ามไป มีแข็งก็ข้ามไป ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของแข็ง หรือสิ่งที่ปรากฏ หรือเสียง หรือสภาพที่เป็นธรรมที่สามารถเห็น ที่สามารถได้ยิน เราไม่ได้เข้าใจในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เพียงแต่กำลังได้ยินได้ฟัง แล้วก็จะไปรู้อะไร ในเมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็ยังไม่ได้เข้าใจ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ก็จะรู้ว่าขณะนี้หลงลืมสติ หรือสติสัมปชัญญะเกิด เพราะเหตุว่าทางที่จะรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วกำลังเกิดดับ มีหนทางเดียว คือเมื่อสติสัมปชัญญะ ซึ่งใช้คำว่า สติปัฏฐาน เพราะว่าขณะนั้นกำลังมีฐานที่ตั้งที่ระลึกของสติ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ไม่ใช่จะไปถึงไหน แล้วก็จะไปรู้อะไร แต่ละความไม่รู้ ค่อยๆ รู้ลักษณะที่ต่างกันของหลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด
ผู้ฟัง ที่อาจารย์เคยกล่าวว่า คอยสังเกต สำเหนียก หรืออะไร
ท่านอาจารย์ เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด จะค่อยๆ รู้ ใช้คำว่าค่อยๆ รู้ จะนานสักแค่ไหน เหมือนจับด้ามมีด นานสักแค่ไหนกว่าด้ามมีดสึก เพราะฉะนั้น อวิชชาที่เคยไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มี ตั้งแต่เกิดกี่ชาติก็ตามแต่ มีสิ่งที่มีแต่ไม่เคยรู้ความจริง ก็จะต้องอาศัยการฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพื่อที่จะละความเป็นเราเป็นสมุจเฉท เพราะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ได้ แต่ไม่ใช่วิธี
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง ธาตุรู้มืด แต่ว่าสามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏซึ่งสว่าง แสดงว่าเวลาที่เราเห็นสี ลักษณะของสีสว่าง เพราะฉะนั้น ขณะที่ได้ยินเสียงขณะนั้นก็มืด คือแปลกใจตรงที่สว่าง ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าความสว่างมันอยู่ตรงไหน อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ากำลังเห็นขณะนี้ จะสงสัยว่าความสว่างอยู่ตรงไหนได้ไหม กำลังเห็นอยู่แท้ๆ
ผู้ฟัง การปรุงแต่งในลักษณะของรูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ ต่างจากการปรุงแต่งของสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก ๕๐ ที่เป็นสังขาร การปรุงแต่งของนามธรรม รูปธรรมต่างกันอย่างไร ท่านถึงแสดงสังขารขันธ์ว่าเป็นสภาพที่ ขันธ์ปรุงแต่ง ทั้งๆ ที่รูปก็ปรุงแต่ง เวทนาก็ปรุงแต่ง
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว แต่ละคำไม่อยากจะให้ผ่านไปเร็ว แต่อยากจะย้ำแล้วย้ำอีก จนกระทั่ง ไม่มีความสงสัย แล้วก็ไม่ต้องไปท่อง หรือไปคิดว่าจะต้องจำอะไร แต่ว่าอาศัยความเข้าใจ ก็จะมีการจำได้ เช่นคำว่า ขันธ์ คราวก่อนเราได้พูดถึง ปรมัตถธรรม ปรม อรรถ ธรรม หมายความถึงสิ่งที่มี มีอรรถ หรือความหมาย หรือลักษณะนั่นเอง เฉพาะอย่างๆ ซึ่งไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อกล่าวโดยนัยของปรมัตถธรรม จะมี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่นิพพานก็เป็นเรื่องที่ไกลมาก ถ้ายังไม่รู้ความจริงของจิต เจตสิก รูป ก็ยังไม่ควรที่จะไปคิดถึงเรื่องของนิพพาน เพราะว่าต้องมีปัญญาตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของจิต เจตสิก รูป ไม่ว่าจะได้ยินคำว่า ขันธ์ ทุกคำที่ได้ยิน ถ้าเป็นปรมัตถธรรม จะต้องเป็น จิต หรือ เจตสิก หรือ รูป ได้ยินคำว่า อายตนะ คำอะไรอีกมากมาย แต่โดยปรมัตถธรรม สิ่งที่มีจริง ก็ต้องเป็นจิต เจตสิก รูป นั่นเอง
ถ้าได้ยินคำว่า ขันธ์ ซึ่งคงจะได้ยินบ่อยๆ สำหรับท่านที่ไปวัด แต่ท่านที่ไม่ได้เคยไปวัดเลย ก็อาจจะได้ยินน้อยหน่อย แต่อย่างน้อยก็คงได้ยินคำว่า ขันธ์ ซึ่งจะมี ๕ ใช้คำว่าขันธ์ ๕ ที่ทรงแสดงจำนวนไว้ ไม่ใช่เรากล่าวเอง เราไม่สามารถที่จะเอาพระธรรมที่ละเอียด หลากหลายโดยประการทั้งปวง มาแสดงได้เป็นหมวดหมู่ตามใจชอบ แต่เหตุผล และพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ถ้าโดยนัยของขันธ์ ๕ จะไม่มีขันธ์ ๖ แต่โดยนัยของขันธ์ ๓ ก็มี นี่คือความละเอียดขึ้น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ นี่คือความหลากหลายของคำที่ใช้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของคำว่า ขันธ์ก่อน ว่าขันธ์คืออะไร
วิทยากร คำว่าขันธ์มีความหมายหลายอย่าง แล้วแต่ความประสงค์ในที่นั้นๆ ที่ท่านบอกว่าขันธ์มาจากอากาศ คือ หมายความว่า เป็นของว่างเปล่า ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย แต่เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ เราก็ยังคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา สิ่งนี้เป็นของเรา แต่เมื่อเราตายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็สูญไป เราจะเห็นชัดเจนว่า เป็นของสูญ เป็นประดุจจะอากาศ ว่างเปล่าจริงๆ
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วก็พอที่จะเข้าใจได้ ว่าขันธ์เป็นสภาพธรรม ที่อาจารย์บอกว่า โดยศัพท์หมายความถึงว่างเปล่า จากสาระ จริงๆ แล้วก็เพราะเหตุว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นขันธ์ สิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่มีอะไรเหลือเลย เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นขันธ์ก็ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป ถ้าพูดถึงขันธ์ ในที่นี้ในความหมายของขันธ์ ๕ จะได้แก่ จิต เจตสิก รูป ถ้ากล่าวโดยปรมัตถธรรม ก็จะจำแนกปรมัตถธรรม ๓ เป็นขันธ์ ๕ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเหตุว่าขันธ์ ๕, ๑ ขันธ์เป็นรูป หมายความว่า รูปทุกรูปเกิดแล้วดับ ขณะนี้รูปไหนที่เกิดแล้วดับแล้ว ไม่มีรูปนั้นอีกต่อไป ที่ร่างกายของเรา ที่มองดูเหมือนกับว่าไม่ได้เกิดดับเลย แต่ว่าความจริง รูปใดเกิดแล้วดับ รูปนั้นไม่กลับมาอีกเลย ไม่เหลือเลย แต่มีรูปอื่นเกิด เพราะว่ามีสมุฏฐานที่จะทำให้รูปเกิด ๔ อย่าง อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น กรรมเป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด จิตเป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด อุตุความเย็นความร้อนเป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด อาหารที่บริโภคเข้าไปก็เป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด เพราะฉะนั้น รูปเกิดเพราะสมุฏฐาน ถ้ารูปที่เกิดเพราะจิต มีการยิ้มหัวเราะ เคลื่อนไหวกระทำกิจการงานต่างๆ ถ้าไม่มีจิต รูปเหล่านี้เกิดไม่ได้เลย แล้วก็สำหรับตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานะปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป เป็นรูปที่สามารถกระทบกับรูปภายนอก เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รูปเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เราไม่มีการที่จะไปบังคับบัญชา หรือว่าจะไปมีอำนาจใดๆ ที่จะให้รูปเกิดขึ้นเลย ตามใจชอบ แม้แต่รูปที่เกิดเพราะจิต ถ้าจิตเป็นอย่างไรก็เป็นเหตุให้กาย วาจาไหวไปเป็นอย่างนั้น ตามประเภทของจิตนั้นๆ ด้วย เช่นจิตที่เป็นอกุศล ก็จะมีการไหวไปในทางที่เป็นอกุศลหรือทุจริตต่างๆ เหล่านี้
เพื่อถึงความเข้าใจความเป็นอนัตตาทุกขณะ ว่าไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งเป็นอัตตา แล้วก็สภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ที่เป็นปรมัตถ ถ้ากล่าวแต่เพียงว่า มีจิต มีเจตสิก มีรูป ละกิเลสได้ไหม เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแสดงพระธรรมวิจิตรหลากหลายไปอีกว่า ๓ อย่างนี้แหละเป็นขันธ์ ๕ คือ รูป ไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ทั้งสิ้น รูปทุกประเภท ถ้าเป็นสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้แล้ว เป็นรูปทั้งหมด รูปในอดีตมีไหม เมื่อวันก่อนมีรูปไหม มี รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว รูปในขณะนี้ก็มีเกิดแล้วดับแล้ว รูปข้างหน้าที่จะเกิดก็ไม่พ้นจากการเป็นรูป ซึ่งเป็นลักษณะของรูปแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น รูปทุกประเภท ทุกชนิด เป็นรูปขันธ์ ไม่ได้หมายความว่า เอารูปทุกชนิดมารวมกันเป็นกองหนึ่ง แต่ที่นี่หมายความว่า ลักษณะของรูปจะไปเป็นขันธ์อื่น อย่างอื่นไม่ได้ รูปไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ละรูป เป็นรูปขันธ์ เพราะว่า รูปที่เป็นอดีตมี รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นอนาคตมี แล้วความหลากหลายของรูป มองเห็นได้เลย ใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นสีสันวัณณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง เสียง ทุกคนลองพูด เหมือนกันไหมเสียงของทุกคน เพราะฉะนั้น แต่ละเสียงก็เป็นรูปขันธ์ ไม่ว่าจะหลากหลายอย่างไร ในอดีต ในปัจจุบัน ในอนาคต รูปเป็นรูป จึงเป็นรูปขันธ์ นี้อย่าง ๑ ส่วนที่เหลืออีก ๔ ขันธ์ เป็นนามธรรม แล้วนามธรรมที่เกิดดับ ก็มีจิต และเจตสิก
สำหรับจิตทั้งหมดเป็น วิญญาณขันธ์ จะใช้คำว่า จิต จะใช้คำว่า วิญญาณ จะใช้คำว่า มโน จะใช้คำว่า มนัส ก็คือจิต แต่โดยนัยของขันธ์ จิตทุกประเภท ทุกขณะที่เกิดขึ้นเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้น รูปขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ เหลืออีก ๓ ขันธ์ เป็นเจตสิก
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ถ้าปรมัตถไม่มี บัญญัติก็ไม่มีได้
ท่านอาจารย์ บัญญัติมีเมื่อไร เมื่อจิตคิดเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีจิตที่คิดบัญญัติใดๆ ก็มีไม่ได้ทั้งสิ้น
ผู้ฟัง ที่อาจารย์บอก ปรุงแต่ง ผมเข้าใจว่ามันเป็นเนื้อความของพระอภิธรรมปิฎกทั้งปิฎก อยู่ใน ๔ คำนี้เอง ไม่ใช่ว่าย่อคำ
วิทยากร ถ้าพูดถึงย่อจริงๆ ทุกอย่างเป็นธรรม ก็เหลืออย่างเดียว แต่ทีนี้ ถ้าใช้คำว่า จิต เจตสิก รูป ก็คือการจำแนกออกไปว่า แม้กระทั่งนามธรรมก็มีความต่างกัน ก็คือ นามธรรมก็แยกเป็นจิต แยกเป็นเจตสิก แล้วก็เป็นพระนิพพาน พระนิพพานซึ่งเป็นนามธรรม แต่ก็ยังไม่ใช่นามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ ส่วนรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ก็ตาม ทุกอย่างจะต้องเป็นรูปธรรม จึงจำแนกออกมาโดยลักษณะที่ละเอียด ก็เลยได้จิต เจตสิก รูป นิพพาน
วิทยากร ในส่วนของพระไตรปิฎกที่ท่านแสดงไว้ ซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง ๓ ปิฏก ก็ไม่พ้น จิต เจตสิก รูป แล้วก็พระนิพพาน เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็มีสภาวะลักษณะ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป และพระนิพพาน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่มีใครไปแยก แต่ลักษณะของธรรมนั้นเป็นอย่างนั้น ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น ว่าจิตไม่ใช่เจตสิกไม่ใช่รูปไม่ใช่นิพพาน นิพพานก็ไม่ใช่จิตไม่ใช่เจตสิกไม่ใช่รูป รูปก็ไม่ใช่จิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรมจึงมี ๔
ผู้ฟัง รูปนาม นามธรรมทั้งหลายนั้น เกิดแล้วดับทั้งนั้น ก็ไม่จริง เพราะว่าพระนิพพานเป็นสภาพที่เที่ยงใช่ไหม แต่ว่ารูปธรรม นามธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง ถึงไม่จริง
ท่านอาจารย์ เกิดมาแล้วดับแล้วตลอดเวลา ขณะนี้หาอีกไม่ได้ ไม่กลับมาอีกเลย แต่หลงเข้าใจว่ายังมีอยู่
เพราะฉะนั้น พื้นฐานสำคัญที่สุด ก็คือ เข้าใจปรมัตถธรรม ๓ เป็นขันธ์ ๕ คือ รูปเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ ที่เหลือก็ต้องเป็นเจตสิกทั้ง ๓ ขันธ์ แล้วก็ขอให้เราคิดถึงความจริง ว่าการที่ทรงจำแนกเป็นขันธ์ ๕ เพราะอะไร ขณะนี้ อะไรสำคัญมากสำหรับทุกคน คุณวิชัย
ผู้ฟัง ตามความคิดเห็น คือ จิต เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีจิตก็คือไม่รู้อะไรเลยในโลกนี้
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่คุณวิชัยกำลังสนุกมาก อร่อยมาก คิดถึงจิต หรืออะไร
ผู้ฟัง ยินดีความชอบ ยินดีพอใจกับสิ่งที่เราติดข้องตรงนั้นอยู่
ท่านอาจารย์ จริงๆ ถ้าทราบว่าสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีจริง และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนที่สุดคือ ความรู้สึก ไม่มีใครอยากเป็นทุกข์ ห่างไกลแสนไกล ทั้งทุกข์กาย ทุกข์ใจ นี่คือความปรารถนา เพราะฉะนั้น ปรารถนาโสมนัส คือความรู้สึกเป็นสุข แสวงหาทุกอย่างเพื่อความรู้สึกอันนี้ ทำไมทำอาหารอร่อยๆ ทำไมไปซื้อของสวยๆ งามๆ ทำไมประดิษฐ์ อะไรทุกอย่างให้น่าดูน่าพอใจ จะเห็นได้ว่าเพื่อสภาพธรรมที่มีจริงอย่างเดียว คือความรู้สึก ความรู้สึกมีจริง แต่ไม่ใช่จิต จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่จิตกำลังรู้เรียกว่า อารัมมณะหรืออาลัมพนะ เป็นที่มายินดีของจิต เพราะจิตจะไม่พรากจากอารมณ์เลย จิตเกิดขึ้นต้องไปสู่อารมณ์ ต้องมีอารมณ์ เพราะฉะนั้น สำหรับอารมณ์ทั้งหลายที่จิตรู้ ถ้าอารมณ์นั้นไม่ดี จิตก็ไม่เป็นสุขเลย แล้วเราก็ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้นบ่อยๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทุกคนแสวงหาต้องการที่สุด คือ โสมนัสเวทนา ความรู้สึกสบายใจ ทางกายก็เป็นสุขเวทนา ถ้าไม่ได้ อทุกขมสุขก็ยังดี คือเฉยๆ ขออย่าให้เป็น โทมนัสหรือทุกข์ทางกายเลย ไม่มีใครต้องการเลย
จะเห็นได้ว่า ที่เราแสวงหารูป แล้วติดในรูป เพราะเราอยู่ในภูมิ ภพ ที่มีรูปขันธ์ เราไม่ได้อยู่ในภูมิซึ่งมีแต่จิต เจตสิก ไม่มีรูปเลย เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ก็จะเห็นรูป ทางตา ได้ยินเสียง รูปทางหู ได้กลิ่น รูปทางจมูก ได้ลิ้มรส รูปทางลิ้น ได้กระทบสัมผัส รูปทางกาย แล้วจะให้เราติดข้องอะไร ถ้าไม่ติดข้องในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน แล้วก็สิ่งที่พอใจที่สุดคือความรู้สึกที่เป็นสุขหรือโสมนัส อันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เวทนาเจตสิกเป็นเจตสิก ๑ ประเภทในเจตสิกทั้งหมด ๕๒ ประเภท เป็นเวทนาขันธ์ ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเวทนาประเภทใด เป็นส่วนของเวทนา จะไม่เป็นส่วนของธรรมอื่นเลย เป็นเวทนาเจตสิกซึ่งเป็นเวทนาขันธ์
ถามว่า เวทนาเจตสิกที่ไม่เป็นเวทนาขันธ์มีไหม การศึกษาธรรมใครจะไปเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ไม่ได้ ความจริงเป็นอย่างนั้นก็ต้องตรงตามจริงอย่างนั้นว่า สภาพธรรมที่รู้สึกไม่ว่าจะเป็นรู้สึกเฉยๆ รู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข นั่นคือ ความรู้สึกซึ่งมีจริง ประเภท ๑ คือ เป็นเวทนาเจตสิก แล้วก็เป็นเวทนาขันธ์ด้วย หมายความว่าไม่ปะปนกับเจตสิกอื่นเลย
แล้วก็ที่ทรงแสดงอย่างนี้ ต่อจากนี้ก็จะทราบว่า เพราะอำนาจของความยึดถือ เราต้องการอะไรถ้าไม่ใช่รูป เห็นไหมว่าเราติดในรูป เกิดมาก็ด้วยความไม่รู้ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ถ้าจะใช้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท ก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ใช้ แต่ใช้โดยความเข้าใจว่าเกิดมาไม่รู้ ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะเหตุว่าถ้าใช้คำว่า รู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเข้าใจถูก หรือว่า เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ถ้าเป็นปัญญา ปัญญากับอวิชชาตรงกันข้ามกัน ถ้าบอกว่าอวิชชา คือสภาพที่ไม่สามารถเข้าใจถูก ไม่สามารถเห็นถูก ไม่เห็นถูก ไม่เข้าใจถูกในอะไร ไม่ใช่ลอยๆ ใช่ไหม ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เช่น ในขณะนี้ มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกในเห็นที่กำลังเห็นหรือเปล่า ตรงตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีความเข้าใจถูก ไม่มีความเห็นถูก เคยได้ยินคำว่าอวิชชา แต่ไม่รู้ว่าอวิชชาเมื่อไร มีลักษณะอย่างไร แต่ขณะนี้ เราไม่ได้เรียนเรื่องคำเฉยๆ แต่คำส่องถึงลักษณะของปรมัตถธรรมซึ่งต่างกัน ขณะนี้ไม่รู้ความจริงของเห็น ลักษณะที่ไม่สามารถรู้ได้ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่เป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ แล้วสภาพธรรมนี้ซึ่งเป็นอวิชชา ไม่สามารถจะรู้ถูกเห็นถูก ไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังเผชิญหน้า ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ได้เลย
มีไหมอวิชชา มีเมื่อไร พอจะรู้ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ขณะใดที่มีอวิชชา ขณะนั้น เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ภายหลังธรรมทั้งหมดก็จะสอดคล้องกัน แล้วจะทำให้เราเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เข้าใจโดยชื่อปฏิจจสมุปบาท แล้วเอามาเรียงกัน แล้วก็โยงกันไปเป็นข้อๆ แต่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อไร ต้องเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง เวทนา หนูเคยได้ยินคุณอลัน ไดร์เวอร์ ซึ่งท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ท่านเคยพูดว่า เวทนาเป็นตัวที่ร้ายที่สุด
ท่านอาจารย์ คุณอลัน ไดร์เวอร์ ใช้คำว่าเจ้าตัวร้าย เพราะว่า ทุกคนติดในเวทนาที่เป็นสุขมาก แสวงหา ดิ้นรน กระทำสังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศลก็แล้วแต่ เพื่อที่จะให้ได้เป็นเวทนาที่เป็นสุข
เราพูดที่ละอย่าง เช่น เราพูดถึงรูปขันธ์ เพราะว่าเป็นรูป แล้วเราก็พูดถึงวิญญาณขันธ์ซึ่งเป็นจิต แล้วเราก็กำลังจะถึงนามขันธ์ที่ ๑ คือ เวทนาขันธ์ ซึ่งเป็นความรู้สึก ตอนนี้คงไม่มีใครสงสัยเรื่องของเวทนาความรู้สึก ต่อไปจะไม่มีเวทนาได้ไหม ไม่มีทางเลย แต่ไม่รู้ว่าเวทนาประเภทใดจะเกิด เพราะเหตุว่า เป็นอนัตตา จะเป็นอุเบกขาเวทนา ทุกขเวทนา สุขเวทนา โสมนัสเวทนา หรือโทมนัสเวทนา ไม่มีใครสามารถจะรู้ขณะจิตต่อไปได้ เพราะเหตุว่า เป็นอนัตตา แต่ว่าให้เข้าใจจริงๆ ว่า ทุกวันทุกขณะจิตที่เกิดมาจนตายไม่ขาดเวทนาเลย แล้วเวทนาก็มีถึง ๕ อย่าง ที่เป็นสุขทางกาย ๑ เป็นทุกข์ทางกาย ๑ ที่เป็นโสมนัสสุขใจ ๑ แล้วก็โทมนัสทุกข์ใจ ๑ แล้วก็อทุกขมสุข คือขณะที่เฉยๆ
ถ้าจะถามใครดูว่า ขณะนี้รู้สึกอย่างไร จะตอบว่าอย่างไร เป็นสุข ทางไหนอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่มีจริง ขณะนั้นไม่ได้อยู่ที่อื่น สามารถที่จะตอบได้ ถึงความรู้สึกที่มี
คุณหมอศรีพธู ขณะนี้รู้สึกอย่างไร สบายดี หมายความถึง ทางกาย หรือทางใจ
ผู้ฟัง ทางกาย
ท่านอาจารย์ ทางกายก็สบาย
ผู้ฟัง ทางใจก็ดี
ท่านอาจารย์ ทางใจก็สุข มีใครตอนนี้เป็นทุกข์กายบ้างไหม ตามความเป็นจริง แต่ละคนก็แต่ละอย่าง ไม่ได้หมายความว่าต้องไปเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สภาพธรรมคือตรงในขณะนั้น แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่จะเกิดซ้ำสืบต่อ จนกระทั่งปรากฏลักษณะนั้นได้บ่อยๆ นี่ก็คือ เจตสิก ซึ่งมีความสำคัญเป็นที่ยึดถืออย่างเหนียวแน่นมาก เป็นเวทนาขันธ์
ผู้ฟัง จะเรียกได้ว่าเป็นขันธ์ที่สำคัญกว่าขันธ์อื่นหรือเปล่า หรือว่าเป็นตัวร้ายที่สุดในตัวขันธ์ทั้งหมด หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ถ้าจะพูดไปทุกขันธ์ก็สำคัญ เพราะปราศจากกันไม่ได้ จะมีเวทนาโดยไม่มีจิตไม่ได้แล้วเมื่อมีจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีอารมณ์ เพราะฉะนั้น ทุกรูปขันธ์ก็สำคัญ เพราะว่าจิตกำลังรู้รูปขันธ์นั้นด้วยเวทนาอะไร ก็เป็นเรื่องที่ทั้ง ๕ ขันธ์ เป็นที่ยึดถืออย่างมากมาย
ผู้ฟัง เวทนาขันธ์ เขาแปลงสภาพ ๕ อย่าง ที่นี้มันหนักใจตอนที่เป็นโทมนัสเวทนา เป็นปัญหาของทุกคน โทมนัสเวทนาเกิด และเป็นปัญหาของผมด้วย
อ.อรรณพ เวทนา ก็เป็นสภาพความรู้สึกซึ่ง ไม่ปราศจากเลย ไม่ว่าจะขณะไหนที่จิตเกิดขึ้นก็จะต้องมีสภาพความรู้สึก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720