ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มี ก็รู้ได้เลย ใช่ไหม ว่าไม่ใช่วิสัย ไม่ใช่ปัญญาระดับที่จะไปรู้ ลักษณะของผัสสเจตสิก เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ขณะนี้ที่เป็นธรรม แล้วก็ทรงแสดงธรรม เรื่องของสภาพที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ที่เกิดดับ แล้วๆ เล่าๆ ตลอดทั้งไตรปิฎกทั้งหมด แล้วเราสามารถที่จะรู้ตรงนี้หรือยัง ถ้าเรายังไม่สามารถจะรู้ตรงนี้ ผัสสะ เวทนา เหล่านั้น ก็เป็นชื่อ

    แต่ถ้าเรารู้ว่าสภาพธรรมมี ๒ อย่างที่ ต่างกัน คือเป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม เราสามารถที่จะเข้าใจจากตรงนี้ ไปสู่ลักษณะของ รูปต่างๆ และนามต่างๆ ได้ไหม แม้ในขั้นของการฟัง จนกระทั่งถึงในขั้นที่สติสัมปชัญญะเกิด และค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้ ขณะที่เห็นก็ไม่ใช่จักขุปสาท แล้วก็ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏ นี่ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทรงแสดงกับบุคคลในครั้งนั้น ซึ่งท่านสามารถที่จะมีปัญญา แล้วก็สามารถที่จะรู้ แม้แต่ขณะที่กำลังฟัง สามารถที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมที่เกิดดับ ถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ แต่สำหรับเรา ก็ควรที่จะได้ทราบว่า แม้แต่สิ่งที่ปรากฏ เราก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ว่า เห็นกับสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เรา เพราะว่าลักษณะหนึ่ง เป็นสภาพรู้ อีกลักษณะหนึ่ง ไม่ใช่สภาพรู้

    นี่ก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงการต่างกัน ซึ่งจะทำให้เราเป็นผู้ละเอียด แล้วก็มีหิริ โอตตัปปะ ละเอียดขึ้น อย่างที่ถามคุณเด่นพงษ์เมื่อกี้นี้ ว่าความไม่รู้ น่ารังเกียจไหม แล้วก็ไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏด้วย แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏลึกซึ้งมากมาย ซึ่งแม้แต่เพียงจิตเห็นก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท ยังไม่ต้องต่อไปถึงอื่นเลย เราก็ยังไม่เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงนามธรรม แต่ว่าจะไปรู้ถึงผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตอินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตเห็นในขณะนี้ ได้ไหม

    แต่ว่านี้เป็นการที่เราจะเห็น พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ ที่ทรงแสดงทั้งหมด ยิ่งละเอียดขึ้นๆ ก็เพื่อที่จะให้เห็น ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งเป็นธาตุ เป็นธรรมจึงเป็นอนัตตา แต่กว่าจะประจักษ์ความไม่เที่ยง ไม่ใช่เราไปนั่งคิด หรือเราพยายามไปหาวิธี หรือนานๆ ก็คิดขึ้นมา ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นการอบรมความรู้ความเข้าใจ แม้ในขณะที่กำลังฟัง สะสมจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ได้ว่าแม้ความคิด ทั้งๆ ที่ฟังมาทุกวัน เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง วันไหนบ้างที่เกิดคิดว่าไม่เที่ยง ก็ต่อเมื่อมีบางเหตุการณ์เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง สามารถที่จะเกิดความคิดได้ แต่ก็เป็นเพียงความคิด ยังไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่จะเห็นความละเอียดของสภาพธรรมทั้งหมด

    แสดงให้เห็นว่าถ้ามีการศึกษามาก ในการฟังมาก ก็จะมีความคิด เช่น จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย เป็นอะไร นั่นก็เป็นเรื่องของความคิด ซึ่งมาจากการได้ยินได้ฟัง ก็ทำให้มีปัจจัยที่จะคิดไตร่ตรอง ถึงเรื่องสภาพธรรมนั้นๆ แต่จริงๆ แล้วเราก็ต้องรู้ว่าทั้งหมดในชาตินี้ ประโยชน์ สูงสุดคือ สามารถที่จะมีปัจจัยที่ทำให้สติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรมจนกว่า ได้ยินได้ฟังธรรมอีกชาติไหนเมื่อไร มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยปรุงแต่ง ให้สติสัมปชัญญะเกิดแล้วระลึกเท่านั้น แต่ไม่มีทางอื่นเลย ไม่มีทางที่เป็นตัวเรา ที่จะหาวิธี หรือที่จะทำ แต่เป็นการสะสมความเข้าใจ ซึ่งจะปรุงแต่ง เป็นสังขารขันธ์ เวลาที่มีการเข้าใจธรรมเมื่อไร มีความมั่นคง ก็จะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด

    ผู้ฟัง สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ค่อยได้คิด ไปคิดถึงอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุข

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นจริง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องรู้ว่าขณะที่คิด เป็นขณะที่เห็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ทั้งไม่ได้เห็น ก็คิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คิดไม่ใช่เห็น คนละขณะ มีสิ่งที่ปรากฏแต่ไม่รู้ความจริง จึงจำ ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แล้วคิดเรื่องราวมากมาย จนกว่าจะรู้ความจริง ขณะไหนเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เรื่องราวไม่ใช่สิ่งที่มีจริง ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นคิดในขณะนั้นจะไม่ปรากฏ ว่ามีเรื่องนั้น กำลังเป็นความคิดอยู่ จนกว่าเมื่อไรจิตคิดถึงอะไร ก็มีสิ่งนั้นปรากฏ เป็นสิ่งที่จิตกำลังคิดถึงเท่านั้นเอง แล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

    การฟังธรรม เหมือนกับว่าฟังแล้วจะให้ได้ผลทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ต้องทราบว่าเป็นเรื่องของการอบรมนาน นานแล้วก็นานจริงๆ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปคิดถึงว่าเมื่อไร ทิ้งคำนี้ได้เลย เพราะว่าเมื่อมีปัญญาเกิด แต่ไม่ใช่ว่าเป็นการวัดเวลา ว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่ ๑๐ ปี ๒๐ ปี แต่เมื่อมีปัญญาที่เกิดจากการฟังยิ่งขึ้น แล้วเราจะไม่รู้เลยว่า ขณะนี้กำลังเป็นการปรุงแต่งของสังขารขันธ์ ซึ่งต่อไปข้างหน้า เราอาจจะมีเพียงความคิด ว่าขณะนี้เป็นอนัตตา หรือสามารถที่จะมีปัจจัยที่สติสัมปชัญญะ ไม่ใช่แค่คิด แต่ว่าระลึกลักษณะหนึ่งลักษณะใด ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    นี่ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ ถ้ารู้สึกว่าจะช้า ก็คราวหน้าก็เอามีดมาด้วย คนละเล่ม แล้วก็จับไป ระหว่างที่กำลังฟัง แม้รอยนิ้วมือที่ด้ามมีดปรากฏไหม ยังไม่ต้องสึกนะ เพียงแค่รอยนิ้วมือที่เกิดจากการจับมีไหม ปรากฏให้เห็นว่าเป็นรอย จนกว่าจะสึก เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องของการที่จะช่วยให้แต่ละคนเพิ่มโลภะขึ้น ให้เร่ง ให้ขวนขวาย ให้ได้ ให้เอา แต่เป็นเรื่องของการให้ค่อยๆ รู้ จริงๆ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็จะค่อยๆ ละ ถ้าไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ จะอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ต่อไปแน่นอน แล้วจริงๆ แล้ว ก็ยังไม่ทันจะเห็นโทษของ สังสารวัฏฏ์ ถ้าขณะนั้นไม่ใช่เรื่องไม่ดี ทุกข์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าขณะใดที่ไม่ใช่เรื่องอย่างนั้นก็เพลิน ไม่เห็นมีใครที่เห็นภัยของสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น แม้แต่จะเป็นทุกข์ ต้องเป็นปัญญาที่เห็น ไม่ใช่ว่าเป็นเราที่เห็น

    ผู้ฟัง อีกนัยหนึ่ง แม้กระทั่งสัญญาเจตสิก หรือจะเป็นเวทนาเจตสิก ก็ชอบไปยึด

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิด

    ผู้ฟัง ไปยึด

    ท่านอาจารย์ ไหนเล่า

    ผู้ฟัง ไปยึดว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาเจตสิกที่ผ่านๆ ไปแล้ว จะนานแท่าไร ๕ ปี ๑๐ ปี หรือปีหนึ่งหรือเมื่อสักครู่นี้ ก็ยังยึด

    ท่านอาจารย์ แล้วยึดเจตสิก อื่นด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ยึด

    ท่านอาจารย์ หมดเลย ให้แสดงให้เห็นว่าหมด ทั้งหมดเลย จนกว่าจะไม่มีเหลือ เพราะเหตุว่ามีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ตามปกตินี้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ถ้าจะบอกให้ทำ พอใจไหม เดี๋ยวจะให้ทำ เอาไหม หรือต่อไปนี้ไม่เอาแล้ว หรือยังจะมีคนเอาอยู่ มีคนพยักหน้า แล้วก็มีคนส่ายหน้า ก็แสดงให้เห็นว่าต้องเป็นเรื่องของปัญญา ที่จะต้องรู้ว่า ที่คิดว่าจะทำ เป็นจิตหรือเปล่า เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งเกิดคิดขณะนั้นแล้วก็ดับไป นี่คือไม่เที่ยง ที่แสดงความไม่เที่ยง เน้นแล้วเน้นอีกก็คือความไม่เที่ยงของทุกอย่าง ที่จะต้องเข้าใจว่าแม้คิดอย่างนั้น ก็เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เป็นเราไม่ใช่เป็นความเห็นถูก หรือว่าไม่ใช่เป็นความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องทดสอบ ถ้าอยากจะทำแล้วบอกให้ทำ ถ้าเอาก็คือเป็นอย่างไร เอาอะไร ความเห็นผิด หรือความเห็นถูก รู้หรือไม่รู้ ก็เอาไม่รู้ต่อไป

    ผู้ฟัง ความอบรม กำลังปัจจุบันธรรมมากๆ

    ท่านอาจารย์ ท่านพระสารีบุตรท่านเคยฟัง ธรรมมาแล้วในอดีต นานเท่าไร คุณอดิศักดิ์

    ผู้ฟัง ๑ อสงไขยแสนกัป

    ท่านอาจารย์ นานไหม แล้วก็เวลาที่เป็นพระอรหันต์ยังฟังไหม

    ผู้ฟัง ก็ยังฟังอยู่

    ผู้ฟัง ที่สนทนากัน คำว่าตัวตน ผมก็เป็นมากๆ ด้วย แล้วก็ยังยึดอยู่

    ท่านอาจารย์ เอาแค่ความไม่รู้ออกไป นิดหนึ่ง ดีไหม จากการฟังแต่ละครั้ง เอาความไม่รู้ออกไป นิดหนึ่งๆ ทีละนิด พอใจแค่นี้ไหม

    ผู้ฟัง เมื่อพูดถึงคำว่า แสนกัป ๔ แสนกัป ๔ อสงไขยแสนกัป ผมเริ่มคิดใหม่แล้วว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป ผมจะไม่มีควาามพยายามอะไร มากไปกว่านี้ ทำเท่าที่จะทำได้ อย่างนี้จะช่วยผมไหม จะช่วยให้มีโลภะ โทสะมันหายไปไหม

    ท่านอาจารย์ ขอให้ข้อคิดนิดหนึ่ง ทำไมต้องคิดถึงเวลาด้วยเล่า มีความจำเป็นอะไรที่เราจะต้องคิดถึงเวลา อย่างไรๆ ก็ต้องอยู่ไป ใช่ไหม จะออกไปจากกาลเวลา จะออกไปได้อย่างไร ในเมื่อมีสภาพธรรมที่เกิด โดยที่เราก็ไม่ได้ตั้งใจ จะให้เกิดเลย ขณะนี้มีสภาพธรรมเกิดแล้ว นี่อย่าลืม แต่เราพยายามไปหาเหตุอะไรๆ ที่จะให้สภาพธรรม เกิดด้วยความเป็นเรา แทนที่จะรู้ว่า สภาพธรรมอย่างไรๆ ก็ไม่มีใครหนีพ้นเลย เห็นขณะนี้ เกิดแล้วแน่นอน ทำไมไม่คิดว่าเป็นสิ่งที่มีแล้ว ที่จะต้องรู้ยิ่ง ที่จะต้องรอบรู้ ที่จะต้องรู้ทั่ว แทนที่จะเข้าใจสิ่งที่มีไปหาอย่างอื่น ไปคิดอย่างอื่น แล้วก็ไปคิดถึงกาลเวลาซึ่งไม่จำเป็นต้องคิดเลย แต่ละขณะผ่านไปเรื่อยๆ แล้วก็จะไปเรื่อยๆ มาแล้วแสนโกฏิกัปป์ จะต่อไปอีกเท่าไร ก็ไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่า ถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้น จึงสามารถที่จะเห็นทุกข์ได้จริงๆ คือ ทุกข์ที่เป็นอริยสัจ แต่ถ้ายังไม่มีปัญญาก็เห็นทุกข์ ที่เราไม่ชอบ เท่านั้นเอง ใช่ไหม แล้วกาลเวลานี้ก็ไม่ต้องคำนึงถึงเลย อยู่ที่เป็นผู้ตรง คือมีความเห็นที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจถูกต้องเพิ่มขึ้น ปัญญาก็ทำหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่เราจะไปทำหน้าที่ของปัญญา หรือว่าเจตสิกอื่นก็ทำหน้าที่ของปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเห็นถูกต้องขึ้น ความเห็นนั้นก็จะเป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่ง ค่อยๆ ชะล้าง อกุศลทั้งหลายไป ทีละเล็กทีละน้อย โดยที่ว่าอย่างอื่นไม่สามารถ ที่จะทำหน้าที่นี้ได้เลย

    ผู้ฟัง เบื่อหน่ายก็ต้องมีเบื่อหน่ายในตัวตน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วคือไม่รู้ ถึงจะเบื่อ ถึงจะหน่าย ก็ไม่ใช่ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งแล้วหน่าย นี่ก็คือความต่างกัน เพราะฉะนั้น ใครจะเบื่อ ใครจะหน่าย ใครจะอย่างไรก็ตามแต่ เป็นปัญญาที่รู้จริง ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องไปคิดเลย เพราะเหตุว่า ยังไม่ถึง

    ผู้ฟัง ยังไม่ใช่ มันเบื่อหน่ายอย่างนั้นแหละ ไม่ได้ดั่งใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เรากำลังศึกษาธรรม พิจารณาธรรมแล้วก็คุณเริงชัยก็สนใจธรรม คือ รูปที่ปรากฏทางตา แต่ต้องมีอีก ธรรมทั้งหมดไม่มีอะไรเลยที่ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่มีแต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น เวลาที่ถามว่าพอไหวไหม เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรม เป็นทุกข์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ผมตอบ ผมก็ใช้จำเอา บอกอาจารย์ตรงๆ

    ท่านอาจารย์ นี่ก็คือ ความตรง ผู้ที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม อบรมไปต้องเป็นผู้ตรงแม้ว่าตอบก็รู้ว่า ขณะนั้น ตอบเพราะอะไร เป็นทุกข์หรือเปล่า นี่คือการที่จะเตือนให้เห็น ว่าทุกอย่าง ไม่ใช่แต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ควรรู้ยิ่ง ไม่ได้เว้นอย่างหนึ่ง อย่างใดเลย

    ผู้ฟัง อันนี้อาจารย์ก็เคยแนะบอกว่า ไม่ใช่คิด นะ ผมก็เลยไม่รู้จะตอบอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นความรู้ของเราเอง

    ผู้ฟัง ก็ต้องบอกว่าเป็นการคิดส่วนใหญ่

    ท่านอาจารย์ เป็นการคิด นี้ทีหลัง ใช่ไหม โดยที่ว่าไม่ได้ รู้ว่าขณะนั้น ไม่ใช่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็ไมใช่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น กว่าจะชำระความเห็นผิด ล้างความเห็นผิดออกหมด จากสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ก็จะต้องด้วยปัญญา และเป็นสติสัมปชัญญะเท่านั้น ไม่มีทางอื่นเลย ต้องเข้าใจอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น การฟังเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ยาวนาน ก็เป็นเรื่องของการที่จะให้ละ โลภะ ความติดข้องในผล โดยที่ว่าไม่มี เหตุเลย ถ้าปัญญายังไม่เกิดแล้วไปคิดว่า เมื่อไร วันไหนซึ่งกาลเวลาไม่ได้จำเป็นเลย ไม่ขึ้นอยู่กับเมื่อไร วันไหน แต่ขึ้นอยู่กับ ว่ามีความเข้าใจถูกต้องเพิ่มขึ้น แล้วมีการละความคิด ที่จะทำอย่างอื่น ที่จะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏ ก็เป็นเรื่องละเอียด ต้องค่อยๆ อบรมไปหรือเปล่า กว่าจะรู้จนทั่วจริงๆ เพราะว่าสิ่งทั้งปวงที่มีจริงๆ ที่เกิดขึ้นปรากฏ ควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่อย่างอื่น ถ้าจะข้ามขณะนั้นไม่รู้ ก็ยังคงมีความคิดต่อไปอีก แล้วก็ถูกไหม หวังไหม ก็คิดต่อไปอีก ก็เป็นเรื่องที่ว่าเพราะไม่รู้ แต่ว่าจริงๆ แล้ว แม้ว่าจะเป็นอย่างนี้ ก็ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่าคิดขณะนั้นเป็นโลภะ ก็เริ่มเห็นโลภะ ตามความเป็นจริงแล้วโลภะก็เป็นสิ่งที่จะต้องละ เมื่อเกิดร่วมกับความเห็นผิด ต้องละก่อน

    ผู้ฟัง ที่ผมฟังอาจารย์มา ตั้งแต่ต้นตลอดมา การศึกษาธรรม เพื่อที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เขาจะมีลักษณะของเขาโดยตรง แล้วก็ไม่ปะปนกัน ระลึกในลักษณะของสภาพธรรม ถูกต้องไหม ตามความเข้าใจของผม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง ถ้ามีปัจจัย สติสัมปชัญญะเกิดได้ เพียงแค่จับกระดาษหรือกระทบสิ่งหนึ่ง สิ่งใด รู้ลักษณะนั้นที่แข็ง สลับกับขณะที่กำลังเห็น หรือว่ากำลังได้ยินก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ว่าขณะนั้น สติสัมปชัญญะรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็หลงลืม รวดเร็วทันทีก็ไม่เป็นไร แต่ก็ยังรู้ความต่าง แม้ในขณะนี้เอง ถ้าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ก็มีปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้น ตามเหตุตามปัจจัย แล้วหมดไปก็คือ เห็นความต่างว่าขณะที่หลงลืมสติ ก็ต่างกับขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ค่อยๆ อบรมไป ทีละเล็กทีละน้อย ก็จะค่อยๆ รู้เพิ่มขึ้น แต่อย่าลืมว่าต้องเป็นเวลาที่ ไม่เหมือนอย่างที่เราต้องการ วันนี้พรุ่งนี้ เพราะเหตุว่าในสังสารวัฏฏ์ แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็เวลาที่สติสัมปชัญญะไม่ได้เกิด ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า การสะสม การที่สติสัมปชัญญะจะเกิด น้อยมาก

    ผู้ฟัง ฟังถึงตรงนี้แล้ว ทำให้ผม เข้าใจขึ้นมา อีกนิดหนึ่งว่า ในขณะที่เห็น ถ้าสติสัมปชัญญะระลึกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือสภาพรู้ทางตา เขาก็จะมีลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้นไม่หลงลืมสติ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ก็มี แต่สติสัมปชัญญะ ไม่ได้ระลึก

    ผู้ฟัง แล้วก็เห็นอีก แล้วก็หลงลืมสติ ก็เป็น เรื่องเป็นราว

    ท่านอาจารย์ ธรรมดาปกติ

    ผู้ฟัง แล้วก็เห็นอีก ได้ยินอีก ก็หลงลืมด้วย ถ้ายามใดที่ ขณะใดที่สติเริ่มระลึก ก็จะรู้ลักษณะที่เกิดสลับ

    ท่านอาจารย์ มีลักษณะที่สติกำลังระลึก ให้รู้ว่าขณะนั้นไม่ได้หลงลืมสติ เท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง มันก็จะเกิดสลับกับในเรื่องราว ในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ ต้องแน่นอนเพราะเหตุว่า สติก็ดับ ทุกอย่างดับอยู่ขณะนี้ ทุกๆ ขณะรวดเร็วมาก

    คำถามว่าขณะที่ฟัง มีสติสัมปชัญญะระลึก ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้นหรือเปล่า ตอบตามความเป็นจริงเป็นของธรรมดา ขณะนี้กำลังเป็นการเริ่มต้น ตั้งต้นที่จะอบรม

    เพราะฉะนั้น ถ้าขณะใดที่มีสติสัมปชัญญะเกิด ผู้นั้นก็จะรู้ได้ว่าต่างกับขณะก่อน ซึ่งสติสัมปชัญญะ ไม่ได้เกิด เราจะฟังอย่างนี้ไปกี่ครั้งก็ตามแต่ เพราะเราคงจะไม่ได้ฟังครั้งเดียว คงต้องฟังอีกๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงกาลที่รู้ได้ด้วยตัวของเราเองว่าขณะที่กำลังฟังอย่างนี้ มีสติสัมปชัญญะเกิดบ้าง ไม่ต้องทั้งหมด เพียงแค่บ้าง นี่ก็คือการรู้ตามความเป็นจริงว่านี่คือจุดเริ่มต้นของคำถามทั้งหมด เรื่องที่จะทำ หรือไม่ทำ หรือเรื่องอะไรทั้งหมด ก็ต่อเมื่อขณะใดที่มีสติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นก็จะรู้ว่าเป็นปกติ แล้วผู้ที่ฟังในครั้งนั้น ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะไม่มีการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเลย เพราะว่าการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ขณะไหนก็ได้ แล้วถ้ามีผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมในกาลนั้น ก็แสดงว่าขณะนั้นต้องมีสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็ปัญญาถึงระดับ ที่จะเป็นวิปัสสนาญาณ แล้วก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรม นั่นสำหรับผู้ที่อบรมมาแล้ว

    แต่ ณ สถานที่เดียวกัน คือพระวิหารเชตวัน ก็ต้องมีผู้ที่ยังไม่ได้อบรม แล้วก็สติสัมปชัญญะก็ไม่ได้เกิด ในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนา เพราะฉะนั้น ก็จะมีบุคคลต่างๆ ซึ่งก็เป็นจริงตามกาลสมัยว่า ถ้าเป็นบุคคลที่ได้สะสมเหตุปัจจัยมา ก็เป็นเหตุที่จะทำให้สติสัมปชัญญะเกิดได้ แต่ผู้ใดที่ยังไม่ได้สะสมมา สติสัมปชัญญะก็ยังไม่เกิด แล้วถ้าผู้ใดสะสมมามากแล้ว สติสัมปชัญญะก็สามารถที่จะเกิด แล้วก็มีการละความ ไม่รู้ยิ่งขึ้นได้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าการรู้ก็คือรู้สิ่งที่กำลังมี ไม่ว่าจะเป็น ณ สถานที่ใด ขณะไหน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงการอบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน สำหรับยุคสมัยของเรา ที่เป็นยุคที่ห่างจากครั้งพุทธกาลมามาก ควรที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ตามฐานะตามวิสัยของตัวเอง ใช่ไหม ที่จะให้เข้าใจว่า สิ่งที่กำลังปรากฏแต่ละอย่าง ให้ทราบว่าเป็นธรรมซึ่ง ก็เราจะไม่ไปติดที่ชื่อ หรือว่าพยัญชนะมากมาย แต่ว่าในพระสูตรต่างๆ ที่นำมาสนทนา ก็จะมีชื่อ มีศัพท์มากมาย ซึ่งทำให้ผู้ที่ศึกษาไปมัวยุ่งอยู่กับเรื่องพยัญชนะ กับชื่อ ต่างๆ คือบางท่านก็จะไปเอาเป็นเอาตาย กับพยัญชนะ การศึกษาอย่างนี้จะเกื้อกูลที่จะให้รู้สภาพธรรม ที่ว่าเป็นธรรมนี้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าทุกคน จะไม่มองบนกระดาน หรือจะมองก็ได้ เข้าใจสิ่งที่มี แล้วเป็นไร ก็ดับหมด ก็มีสภาพธรรม ก็ปรากฏ แล้วก็เป็นการไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏนั่นเอง เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจว่า การที่ฟังพระธรรมเพื่อ เห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ พร้อมกันนั้นก็รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ว่าเราสามารถเพียงจำ หรือว่าเราสามารถเข้าใจอรรถ คำแปลหรือความหมาย หรือเราสามารถที่จะเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    จุดประสงค์จริงๆ ทั้งหมดที่ทรงแสดง โดยละเอียดประการทั้งปวง ก็เพื่อเกื้อกูลให้เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด สามารถที่จะคลาย และไม่เข้าใจผิด ว่าขณะนั้นเป็นเรา หรือว่าเป็นตัวตน แต่ก็เป็นการที่จะอบรมปัญญา ให้รู้ขึ้น

    เพราะฉะนั้น ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ฟัง และรู้จุดประสงค์ ว่าจุดประสงค์ที่เราจะรู้มากมาก เราเพียงจำ หรือว่าเราสามารถเข้าถึงอรรถ เช่น อายตนะ สามารถเข้าถึงอรรถของอายตนะ เพราะเหตุว่า อายตนะ คือ นามธรรม และรูปธรรม ถ้าไม่มีนามธรรม และรูปธรรม จะไม่มีอายตนะเลย แต่เมื่อมีนามธรรม และรูปธรรม เป็นอายตนะเมื่อไร ไม่ใช่ว่าขณะนี้ที่เรากำลังฟัง เรื่องอายตนะ เรารู้คำแปล แต่ว่าไม่เข้าถึง หยั่งถึง ความเป็นอายตนะของสภาพธรรม ที่ขณะนี้กำลังเป็นอยู่ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการฟังธรรมจะขาดการไตร่ตรอง พิจารณาว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่ละเอียดขึ้นๆ ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าละเอียดขึ้นด้วยการที่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นความถูกต้อง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567