ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๗

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าละเอียดขึ้นด้วยการที่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นความถูกต้อง แต่ไม่มีการที่สามารถจะเข้าถึงความละเอียดได้เพียงด้วยการฟัง หรือว่าเพียงด้วยการที่ว่ารู้จักชื่อ แล้วก็ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม เป็นแต่เพียงการสะสม ของการฟังเพื่อที่จะให้มีการพิจารณา แล้วการพิจารณาตรง ไม่คลาดเคลื่อน อย่างอายตนะ ถ้าเข้าใจว่าเป็ขณะนี้เดี๋ยวนี้ และต้องรู้ เราจะทำอย่างอื่นไหม หรือว่าจะไปอยากก็ไม่ได้ ใช่ไหม เพราะว่าลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ก็ยังไม่ได้ปรากฏ เพราะเหตุว่าสติสัมปชัญญะ ก็ยังไม่ได้เกิด นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องฟังตามลำดับ แล้วก็ต้องอบรมตามลำดับ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าการศึกษาปริยัตินี้จะทำให้วุ่นวาย แต่ว่าก็เป็นประโยชน์เกื้อกูลในการที่จะอบรมปัญญาเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ถ้าวุ่นวายขณะนั้นเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นอกุศล ไม่ทรงให้เจริญอกุศล

    ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์เตือนเราว่า ขณะที่เราฟังพระธรรมขณะนี้ มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า อันนี้พูดถึงสติสัมปชัญญะ ก็คือปัญญาที่เกิดกับสติ ก็คือขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะที่เราฟังพระธรรม แล้วเป็นเรื่องราวของพระธรรม ที่ท่านทรงแสดงเอาไว้ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ขณะที่มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น ที่จะรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทำไมล่ะ ไม่มีสิ่งที่กำลังทรงแสดงหรือ

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เป็นเครื่องยืนยัน ทั้งๆ ที่มี ถ้าสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็จะไม่รู้เรื่องหรือ ลองคิดดู เพราะว่าส่วนมากจะเข้าใจผิด คิดว่าขณะที่กำลังรู้เรื่อง แต่ไม่มีการระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เวลาฟัง ได้ยิน แล้วก็คิดตามคำ ความเข้าใจมาจากไหน ถ้าไม่มีการพิจารณาซึ่งไม่ใช่เรา แต่เป็นสภาพของจิต ในขณะนั้นที่ปรุงแต่ง ให้สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม นั่นขั้นฟัง แต่ก็ยังมีขณะอื่นอีก แน่นอน เพราะเหตุว่าบางคน ทั้งๆ ที่ฟังยังคิดเรื่องอื่นได้ กำลังกระทบสัมผัสสิ่งที่แข็ง มีลักษณะที่แข็งปรากฏ ก็ยังมีการคิดเรื่องแข็ง ซึ่งเป็นคนละขณะกัน ถ้าขณะนั้นไม่ได้คิดเรื่องแข็งแต่มีแข็ง แล้วระลึกลักษณะของแข็ง ขณะนั้นคือสติสัมปชัญญะที่ระลึก เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าขณะที่กำลังฟัง แล้วก็มีสติสัมปชัญญะระลึก จะไม่มีการเข้าใจ เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่มีสติ

    เป็นผู้ที่มีสติ หมายความว่า ไม่ว่าจะได้ยิน ไม่ว่าจะคิดนึก ไม่ว่าจะเห็น ขณะนั้นเป็นผู้ที่มีสติที่ได้อบรมแล้วจึงสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏหรือมี เช่นในขณะที่ได้ยิน ลักษณะที่ได้ยินก็ต้องมี

    ผู้ฟัง ความที่จะเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง คือ การเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ละทาง ท่านอาจารย์ แล้วที่ท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาแน่นอน ต้องใช้เวลา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็แสดงถึงเรื่องของการจับด้ามมีด ซึ่งท่านอาจารย์ก็ให้ความหมายว่า เราต้องค่อยๆ อบรมไปทีละเล็กทีละน้อย จะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า คำอุปมานี้ กับคำที่ว่า ไม่พักไม่เพียร จะสอดคล้องกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ พัก คืออะไร ไปเที่ยวกันดีไหม ฟังแล้วก็มีแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็รู้แล้ว รู้แล้ว จะฟังอีกทำไม ไม่เห็นประโยชน์ของการฟังเลย ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว การยิ่งได้ยิน ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเป็นประโยชน์ แต่จะฝืนอัธยาศัยได้ไหม ในเมื่อยังเป็นผู้ที่มีกิเลส หรือว่าสะสมมา ที่จะไม่ให้เกิดโลภะ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็จะต้องเป็นผู้ที่รู้ตามความเป็นจริง ว่าไม่พัก ถึงแม้ว่าจะยังมีกิเลสเป็นไปตามกิเลส อาจจะอ่านหนังสือพิมพ์ดูโทรทัศน์ ไปสังคมกับมิตรสหาย หรืออะไรก็ได้ แต่ก็ไม่ลืมพระธรรม ยังคงมีความสนใจที่จะศึกษา ไม่มีสิ่งใดที่จะพรากให้จากพระธรรมไปได้แม้ว่า ชีวิตส่วนหนึ่ง ก็เป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่องของโลก ซึ่งต้องเป็นไปตามการสะสมของแต่ละคน เพราะว่าแต่ละคนในที่นี้ แต่ละอัธยาศัย แค่ในที่นี้ ข้างนอกที่นี้อีกมากมายสักแค่ไหน บางคนก็มีอัธยาศัยที่สะสม มาทั้งโลก และธรรม บางคนก็อาจจะมีอุปนิสัยที่สะสมมาในทางธรรมมากกว่าทางโลก บางคนก็อาจจะมีอุปนิสัยที่สะสมทางโลกมากกว่าทางธรรม ซึ่งก็เป็นความจริง ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมใดๆ ได้เลยทั้งสิ้น ต้องเป็นไปตามการสะสม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว แม้อดีต อนันตชาติแสนนานมาแล้วก็เป็นปัจจัยที่สะสมสืบต่อ จนปรากฏในขณะนี้ เป็นบุคคลนี้อย่างนี้ ซึ่งจะปรากฏเป็นบุคคลอื่น ต่อไปในโลกอื่น ในที่อื่นแต่ ก็ต้องมาจากการสะสม

    เพราะฉะนั้น ไม่พักก็คือว่า ไม่ใช่ว่าเราจะทอดธุระ ไม่สนใจเลย รู้แล้วจบแล้ว ไม่เห็นมีอะไร ทั้งหมดก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นามธรรม รูปธรรม นั่นคือพัก

    แล้วถ้าเพียร แต่ผิด จะได้อะไร ทั้งๆ ที่ปัญญายังไม่ถึงระดับจะหน่าย แต่พยายามทุกทางที่จะละ จะคลาย จะหน่ายโดยที่ว่าไม่ใช่ปัญญาเลย แต่มีความเพียรพยายาม ขณะนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ก็เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ก็พูดว่า ไม่มีวันที่จะพรากจากพระธรรมไปได้ ตรงนี้ก็หมายความว่า เราเข้าใจว่าธรรมเกิดอยู่ทุกขณะ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า เป็นผู้ที่มั่นคง ในการที่จะเห็นประโยชน์ของพระธรรม สิ่งอื่นจะเอามาแลกได้ไหม ตั้งแต่ก่อนฟังพระธรรม ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจเลย แล้วก็ขณะนี้เริ่มที่จะเข้าใจถูก แล้วก็จะให้กลับไปเป็น ผู้ที่ไม่เห็นถูกไม่เข้าใจอะไรเลย แลกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยอมไหม

    ผู้ฟัง แต่การที่จะเข้าใจว่า มีพระธรรมอยู่ตลอดนี่ ก็เข้าใจธรรมว่ามัน

    ท่านอาจารย์ ตลอดได้อย่างไร หมายความว่าสภาพธรรม มี

    ผู้ฟัง มีตลอด

    ท่านอาจารย์ มีตลอดไม่เคยขาดเลย เป็นธรรมแต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม แล้วส่วนที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม กับส่วนที่รู้ว่าเป็นธรรมในวันหนึ่งๆ ส่วนไหนมาก

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ นี่คือการที่จะต้องอบรมไง ถ้าไม่มีผู้ที่ตรัสรู้เลย เราก็ไม่ต้องอบรม แต่มีผู้ที่ตรัสรู้แล้วก็ทรงแสดงหนทางให้อบรมด้วย แล้วทำไมเราถึงจะท้อถอย วันไหนก็ได้ก็เป็นไปตามความเป็นจริง ถ้ากิเลสยังมากอยู่แล้วก็จะไปให้เราหมดกิเลส วันนี้พรุ่งนี้ เป็นไปได้อย่างไร ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าปัญญารู้อะไร รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ หรือเปล่า ถ้าไม่รู้ อะไรเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ลืมไปแล้ว ใช่ไหม สภาพธรรมที่มีตามปกติในชีวิตประจำวัน นั้นเอง เป็น สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง

    ผู้ฟัง จากที่กล่าว่าจักขุรูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส ถ้าเราอ่านอย่างนี้ มันก็เหมือนกับเป็นชื่อ แต่จริงๆ แล้วมันจะต้องมีความสำคัญ คือว่ามันจะมีความสัมพันธ์กันแน่นอน ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวว่า กำลังเห็นก็ต้องมีสิ่งที่จิตเห็นเป็นอารมณ์ ตรงนี้ก็คือว่าจักขุวิญญาณเห็น อารมณ์ก็คือรูป ทีนี้อยากให้ท่านอาจารย์ได้กรุณา อธิบายที่ว่ามันต่อเนื่องกัน ทั้ง ๔ อย่าง ที่ว่าต้องมีจักขุด้วย รูป จักขุวิญญาณแล้วก็ จักขุสัมผัส

    ท่านอาจารย์ เริ่มจากการที่จะรู้ว่าขณะนี้ทุกสิ่งทุกกอย่างที่เกิด ไม่ได้เกิดลอยๆ แต่ต้องมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ยังไม่ไปขยาย จักขุ จักขุสัมผัสสะอะไรเลย เพียงแต่มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูกว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏจะต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง อันนี้พอที่จะเป็นขั้นต้นได้ไหม ก่อนที่จะขยาย ที่จะให้เห็นว่าสภาพธรรมเป็นธรรมมีปัจจัยปรุแต่งก็เกิด อย่างคิด อย่างนี้ ถ้าเราไม่ได้จำไว้ เราจะคิดในสิ่งที่กำลังคิดในขณะนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็พอที่จะเห็นว่า มีปัจจัยที่ปรุงแต่งสภาพธรรม แล้วแต่าว่าเราสามารถที่จะเข้าใจสภาพที่ปรุงแต่งได้แค่ไหน เช่นในขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แน่นอน ใช่ไหม รูป ถูกต้องไหม มีเห็นไหม

    ผู้ฟัง เห็น คือ จักขุวิญญาณ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มีใช่ไหม แล้วมีความเข้าใจว่า ถ้าไม่มีตา จะเห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง ตาก็คือ จักขุปสาท

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มี จะเห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้

    ส.ไม่ได้ ถ้าไม่มีรูป จะเห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีตา มีรูปแต่นอนหลับ เห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ได้ การศึกษาการเข้าใจอย่างนี้ ก็จะทำให้เราเห็นความเป็นปัจจัย และความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ถ้ามาอ่านถึงตรงนี้ เรา ก็พอที่จะเข้าใจเรื่อง จักขุรูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัสสะได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แล้วก็ทุกอย่างที่ว่ามันไม่เที่ยงนี่ เพราะว่ามันจะเกิดเมื่อไรก็ไม่ทราบหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่เที่ยงเพราะว่าเกิดแล้วก็ดับไป

    ผู้ฟัง ถ้าเรายังไม่รู้พยัญชนะ และอรรถ มันก็ยังไปไม่ถึงสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ตามขั้นตอน มันก็จะต้องเรียนให้เข้าใจเรื่องราวเสียก่อน มันถึงจะรู้สภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ อันนี้สำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทั้งหมด ก็คือสิ่งที่มีจริงๆ ที่ว่าไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจเพียงคำ แต่ต้องเข้าถึงลักษณะของความเป็นธรรม ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่เที่ยง ความเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม เพื่อที่ว่าสติสัมปชัญญะ จะได้ระลึก มิฉะนั้นแล้วเราก็จะติดตามเรื่องราวโดยที่ไม่ได้เข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว ทรงเตือน พูดถึงสิ่งที่มีจริงทุกอย่าง แล้วก็ให้เข้าใจโดยคำ แต่ว่าให้เข้าใจสภาพธรรมนี่แหละ ที่มีจริงๆ นั้นโดยคำ เช่น จักขุ นี่ก็คือตา ถ้าจักขปสาทก็เป็นรูปธรรม ไม่ใช่เห็น นี้ก็คือให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ มุ่งหมายไปที่ลักษณะของสภาพธรรม จึงได้ทรงแสดงโดยประการทั้งปวง ด้วยนัยต่างๆ ที่จะให้เข้าถึงความเป็นธรรมนั่นเอง

    ผู้ฟัง ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนี้เราก็รู้สึก กับสัมผัสมันได้ ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มี แต่ว่าเรารู้โดยอย่างไร รู้โดยฟังว่ามีจักขุปสาทใช่ไหม แล้วก็มีจิตเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา นี้รู้โดยขั้นการฟัง แต่ลักษณะจริงๆ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เป็นขั้นคิดหรือขั้นฟัง แต่เป็นขั้นที่จะเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้ยังไม่รู้อย่างนั้น แต่ว่าฟังทั้งหมด ก็เพื่อที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้อย่างนั้นได้เพราะสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่จะรู้อย่างนั้นได้ เพียงโดยการไตร่ตรอง โดยการแสดง หรือว่าโดยการคิด แต่ว่าต้องการที่โดยสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    เพราะฉะนั้น ทั้งหมด ก็คือเพียงเตือน ให้เข้าใจว่าขณะนี้ มีสภาพธรรมทุกครั้งที่จะเป็นสูตรหนึ่ง สูตรใด ก็ตาม ให้รู้ว่าเป็นเรื่องของสภาพธรรมที่ทรงแสดง ให้เราค่อยๆ เข้าใจขึ้น พร้อมกันกับที่ว่าเป็นการปรุงแต่ง เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะทำให้สติสัมปชัญญะเกิด นี่คืออีกระดับ ๑ ของการที่จะรู้สภาพธรรมได้ ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น พื้นฐานการที่จะอบรมเพื่อที่จะให้สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นจริงๆ มันก็ต้องเป็นการอบรมก่อน

    ท่านอาจารย์ จะขาดปริยัติไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้ต้องเริ่มอบรม ตั้งแต่ตรงนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ต้องมีปริยัติ ต้องมีการฟัง การไตร่ตรองด้วย ไม่ใช่เพียงฟังเฉยๆ พร้อมกันนั้น ก็รู้จุดประสงค์ของการฟัง

    ผู้ฟัง ซึ่งขณะอย่างนี้ ก็มีปรากฏอยู่แล้ว ก็อบรมได้ ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ไป

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วแต่กำลังของปัญญา ขอถามคุณกุลนิดเดียว ว่าขณะที่คุณกุล กำลังเขียน แล้วก็กำลังเข้าใจ ข้อความที่กำลังเขียนนี้ เห็นด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะมีสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะที่เห็นได้ไหม เพราะว่าแม้แต่ขณะที่กำลังเขียน ก็เหมือนกับพร้อมกันเลย ทั้งเห็นด้วย แล้วก็ทั้งเขียนด้วย แล้วก็ทั้งคิดด้วย เพราะฉะนั้น เวลาที่สติสัมปชัญญะ จะเกิด ก็คือรวดเร็วอย่างนั้น แล้วเป็นปกติอย่างนั้น เพียงแต่ว่าไม่เคยเกิดก็ไม่รู้ แต่ถ้าเกิดก็จะรู้ว่า ขณะนั้นก็จะมีสติสัมปชัญญะชั่วขณะ ที่มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ โดยที่ว่าไม่ผิดปกติเลย เพราะว่าบางคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าพอสติสัมปชัญญะเกิด ก็กวาดบ้านไม่ได้ ขับรถไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ อันนั้นไม่ถูกต้อง เพราะว่าความรวดเร็ว แม้ขณะนี้เหมือนเห็น ทำไมได้ยินด้วย ทำไมรู้เรื่องด้วย แล้วก็ยังเห็นด้วย ฉันใด เวลาที่สติสัมปชัญญะจะเกิดตามรู้ หรือว่าต่อจากที่เห็นก็ย่อมเป็นไปได้

    ผู้ฟัง สติสัมปชัญญะ จะเกิดขึ้นก็คือ ขณะที่มีลักษณะสภาพธรรม เป็นปรมัตถธรรม ปรากฏให้ระลึกศึกษา

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ขณะที่จับปากกา ที่กำลังเขียนก็มีลักษณะแข็ง จะรู้ลักษณะแข็งนั้น ขณะนั้นก็จะเหมือนกับ ขณะที่เห็นแล้วก็คิด แล้วก็รู้ ข้อความที่เขียนด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ก่อนที่เราจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง เพื่อจะไถ่ถอนความเป็นเรา โดยทั่วไปแล้วคือจากการที่เรายังไม่ได้ศึกษา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่อง ของสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือความมีความเป็นเราอยู่ แต่พอหลังจากได้การศึกษา พระธรรมที่ทรงแสดงเรื่องของนามธรรม รูปธรรม เรื่องของปรมัตถธรรม แล้วก็จะเป็นปัจจัยให้เรามีการพิจารณาสภาพธรรมที่ปรากฏในแต่ละทาง ซึ่งจริงๆ แล้วก็อย่างที่ท่านอาจารย์เคยบอกว่า เราต้องย่อให้เหลือเล็กน้อยที่สุดคือ ส่วนใหญ่ เราจะรวมเป็นตัวเรา เป็นสัตว์บุคคล หรือเป็นกาย เรา เป็นแขนเรา เป็นสิ่งของมากมาย แต่เวลาสภาพธรรมปรากฏ แล้วก็มีลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม แต่ละทาง แล้วก็สั้นมาก แล้วก็นิดเดียว แล้วก็เป็นสิ่งที่ควรจะศึกษา แล้วก็พิจารณาได้

    ผู้ฟัง ผมขอถามนิดเดียว เช่น บอกว่าจักขุ อะไร พวกนี้มาสัมผัส มโน ไปอะไรที่โน้น ไปอะไรที่นี่ อะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เราเริ่มจากการอ่านในข้อความในพระไตรปิฎก ถูกต้องไหม เราจะทิ้งคำที่ทรงแสดงไว้โดยตรงไม่ได้ แล้วเราก็ใช้ภาษาไทยอธิบายความหมายด้วย เราไม่ใช่กล่าวถึงแต่เพียง จักขุสัมผัสสะ จักขุรูป จักขุวิญญาณ แต่ว่าหลายท่านที่มาที่นี่ ก็คุ้นเคยกับการศึกษาธรรม ปรมัตถธรรม ซึ่งก็ต้องใช้ภาษาบาลีด้วย เพื่อไม่ให้คลาดเคลื่อน

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มาใหม่จริงๆ ก็คงจะเป็นอย่างที่ว่า คือว่าได้ยินคำ ซึ่งเราอาจจะเดาว่า จักขุสัมผัสสะนี่จะเป็นอย่างไร เพราะว่าภาษาไทยเราพอสัมผัส เราก็ คือกระทบสิ่งหนึ่ สิ่งใด ไปสัมผัสกับโต๊ะ ไปสัมผัสกับ อะไรก็แล้วแต่ เราเข้าใจสัมผัสในความหมายนั้น แต่จริงๆ แล้วผัสสะ หรือสัมผัสสะ จริงๆ มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นซึ่งสมควรที่จะเข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่ว่า เราใช้คำว่า ผัสสะ แล้วก็ไม่พูดถึง ความหมายในภาษาบาลี แล้วก็ไปเข้าใจสัมผัส ภาษาไทยว่าต้องสัมผัส คือความหมายแค่นั้นเอง เป็นผัสสะ หรือว่าเป็นสัมผัส ซึ่งไม่ถูกต้อง

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้คำในภาษาไทยจนชิน เราก็ต้องรู้ว่า นั่นไม่ใช่สภาพธรรม เป็นแต่เพียงคำ ที่ภาษาไทยใช้อย่างนี้ แล้วก็เข้าใจอย่างนี้ ภาษาอื่นก็ใช้คำอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็เข้าใจอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาอะไรก็แล้วแต่ เข้าก็ใช้คำที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ แต่ต้องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งสภาพธรรมที่มีจริงๆ ถ้าไม่มีการใช้คำบัญญัติเลย เราจะเรียกถูกไหม อย่างความรู้สึกอย่างนี้ เสียใจกับดีใจ ไม่ได้เหมือนกันเลย ใช่ไหม แล้วถ้าเราไม่มีคำที่จะใช้แยกว่าเสียใจ เป็นอย่างไร ดีใจเป็นอย่างไร เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ฉันใด การที่สภาพธรรมที่มีจริงๆ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงเป็นภาษามคธ ภาษาบาลี คือเป็นคำของพระองค์ ที่ใช้ในการทรงแสดงธรรมโดยตรง แล้วก็หมายความถึง สภาพที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้น แม้ว่าภาษาบาลี เป็นคำนี้ แต่ภาษาไทยจะว่าอย่างไร ภาษาอังกฤษจะว่าอย่างไร ภาษาจีนจะว่าอย่างไร ก็คือให้เข้าใจถึงความหมาย ของสิ่งที่มีจริงนั้น เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีคำภาษาบาลี ด้วยเพื่อไม่ให้คลาดเคลื่อน แต่ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละเล็กทีละน้อย แต่ข้อสำคัญก็คือว่า ตรงกันข้ามกับความเข้าใจเดิมของเรา ที่เราใช้ในภาษาไทย อย่างคำว่า อารมณ์ เข้าใจไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง อารมณ์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจเรา

    ท่านอาจารย์ เช่น

    ผู้ฟัง โกรธ หรือรัก หรืออะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ นี่ เราเคยเข้าใจว่าอย่างนี้ แต่ความจริงคำนี้ พระองค์ทรงใช้หมายความถึง สิ่งที่จิตรู้ เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ อย่างเสียงมี เสียงที่เราได้ยินก็มี เสียงที่เราไมได้ยินก็มี ถ้ามีของแข็งกระทบกัน มีเสียงดังไหม เสียงในป่ามีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เสียงที่ถนน เสียงในครัว

    ผู้ฟัง ก็มี

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้ยิน ใช่ไหม แต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เราไม่ได้อยู่ในป่า เราจะได้ไปได้ยินเสียงในป่า แต่เราอยู่ที่นี่ เสียงใดที่ปรากฏกับจิต รู้ลักษณะของเสียงนั้น รู้แจ้งในลักษณะของเสียง เสียงอย่างนี้ จะไม่เหมือนกับเสียงอื่น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าลักษณะของเสียง จะต่างกันมากมายอย่างไร ก็ตาม จิตเป็นนามธาตุ เป็นนามธรรม ซึ่งเราก็ใช้ในภาษาไทย แต่เราไม่ได้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของจิต ว่าเป็นสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นธาตุที่สามารถจะรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ ให้รู้ในขณะนั้น เช่นเสียงปรากฏเพราะจิตกำลังได้ยิน เสียงนั้น เพราะฉะนั้น เสียงในขณะที่จิตได้ยิน เป็นอารมณ์ของจิตที่ได้ยิน นี่คือเราจะต้องตั้งต้นใหม่ ให้มีความเข้าใจคำ ที่ใช้ว่าต่างกับภาษาไทย ที่เราเอามาใช้ มิฉะนั้นเราก็เข้าใจธรรมผิดหมด คือพออ่านพระไตรปิฎก ก็เอาความเข้าใจภาษาไทยเรามาใส่หมด ซึ่งไม่ถูกต้อง

    ผู้ฟัง เราจะแปลให้ เป็นภาษาไทยที่ละเอียดแบบ

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้ละเอียดหรือยังว่า อารมณ์ หรืออารัมมาณะ หมายความถึง สิ่งที่ถูกจิตรู้ ละเอียดหรือยัง

    วิทยากร แม้กระนั้นสภาพธรรมบางลักษณะ ภาษาไทยเข้าไม่ถึง ไม่รู้จะเอาอะไรไปเข้า ไปถึง อย่างเช่น โยนิโสมนสิการะ อย่างนี้ ถ้าไม่ใช้คำนี้ คุณ ใช้ภาษาไทยอาจจะต้องใช้ ๒,๓ บรรทัด หรือโลกียธรรม โลกุตตรธรรม เหล่านี้ เราต้องคงเอาไว้

    ท่านอาจารย์ หรือแม้แต่อนัตตา ทั้งบอก ทั้งได้ยิน ทั้งฟัง ทั้งจำ ทั้งพูด เข้าถึงลักษณะของอนัตตาหรือเปล่า ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องสิ่งที่มีจริง แล้วก็ทรงแสดงด้วยภาษาซึ่งเมื่อถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาอื่น ก็สามารถที่จะใช้ ภาษานั้นสื่อให้เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ถูกต้อง ถ้ามีความเข้าใจสภาพธรรมถูก ชาติก่อนคุณบงเคยฟังธรรม ภาษาอะไร

    ผู้ฟัง บงเกิดหลายชาติก็คงได้ฟังหลายภาษามาแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเป็นภาษอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าต้องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่ว่าเราจะไปติดที่ภาษาว่าต้องเป็นภาษานี้ หรือว่าต้องเป็นภาษนั้น ภาษาใดๆ ที่สามารถที่จะทำให้ เข้าถึงลักษณะของสภาพธรรม ได้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์หมายความว่า ถ้าชาตินี้เราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ชาติหน้ามันก็มีอย่างนี้ อีก เรา ก็ตามรู้ได้อีก

    ท่านอาจารย์ ด้วยภาษาใดๆ ไม่มีความสำคัญเลย เพราะว่าชาติก่อนก็คงจะมีคนที่ได้ฟังพระธรรม ชาติก่อนไม่ทราบนานเท่าไร ภาษาบาลี เข้าใจดีมาก แต่ชาตินี้พอพูดภาษาบาลี เข้าใจไหม ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องคำ เป็นเรื่องสัญญาความจำ คำเท่านั้นเอง แต่ถ้าเป็นการเข้าถึง หรือเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ภาษาอะไรก็ได้ ก็ทำให้เราเข้าใจได้ ต่อจากชาตินี้จะเป็นภาษาอะไรก็ไม่ว่า แต่ว่าถ้าได้มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมแล้ว แม้ใช้ภาษาอื่นเราก็สามารถจะเข้าใจได้

    ผู้ฟัง แสดงว่าปรมัตถธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่วาบัญญัติเปลี่ยนไปตามเรื่องตามราว อย่างที่มาฟังธรรมก็รู้ สึกว่าอยากที่ว่าจะเข้าใจธรรม แต่ในขณะที่ฟังอยู่ อกุศลจิตเกิด เดี๋ยวก็ไม่ชอบ เดี๋ยวก็ขุ่นใจ มันก็รู้สึกว่า ไม่สบายใจ ขนาดมาฟังอยากให้มันดี มันก็ยังไม่ดี ก็ต้องระลึกว่ามันเป็นธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567