สนทนาธรรม ตอนที่ 070


    ตอนที่ ๗๐


    ท่านอาจารย์ แต่ว่าเรากล่าวลอยๆ ไม่ได้ว่าสภาพธรรมที่แตกดับ นั่นคือคนไม่รู้ค่ะ แต่ถ้าคนรู้ต้องกล่าวว่า อะไรแตกดับใช่ไหมคะ จะกล่าวว่าสภาพธรรมที่แตกดับ และสภาพธรรมคืออะไรก็มี ๒ อย่างคือนามธาตุกับรูปธาตุ หรือจะใช้คำว่านามธรรมกับรูปธรรม ซึ่งไม่ว่าจะไปแยกโดยนัยของโอกาสโลก เขากำลังสอนเรื่องภูมิศาสตร์ เราก็รู้เขากำลังสอนเรื่องรูป เขาพูดถึงเรื่องสัตว์ต่างๆ ที่มีชีวิตเราก็รู้ว่าเขากำลังพูดถึงเรื่องนามธรรมกับรูปธรรม แต่เขาไม่รู้ในความเป็นสังขารโลก คือแต่ละอย่างอาศัยเหตุปัจจัยเกิด และดับทันที เกิดขึ้นทำกิจการงานเฉพาะของตนแล้วดับ ขณะนี้กำลังเป็นขณิกมรณะอยู่ทุกขณะ

    อ.นิภัทร เฉพาะความเข้าใจ รู้ลักษณะก็คือเข้าใจความจริงของของโลก..

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรม

    อ.นิภัทร หรือสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เพียงชื่อ

    อ.นิภัทร ที่กำลังปรากฏให้ ...

    ท่านอาจารย์ เพราะส่วนมากจะสอนเรื่องชื่อ จะพูดเรื่องชื่อ เป็นชื่อ แต่ไม่ได้ชี้บ่งถึงว่าสิ่งที่เป็นตัวจริงนั้นคืออะไร เช่น พูดถึงเรื่องโลก ภูเขา ไฟฟ้า น้ำตก แล้วตัวจริงของสภาพนั้นคืออะไร ไม่ใช่นามธรรม แต่เป็นรูปธรรม ถ้าพูดถึงสัตว์จะจำแนกออกไปเป็นกี่ประเภทก็ตาม กี่ชนิดก็ตาม แต่เขาก็ไม่ได้พูด หรือรู้ความจริงว่า คือลักษณะของนามธาตุกับรูปธาตุ ตรวจต่อ

    เพราะฉะนั้นที่เข้าใจคือ เข้าใจสภาพที่มีจริงๆ สภาพที่มีจริงๆ นี่คะ ไม่ใช่ของใคร และก็ไม่มีใครสามารถที่จะสร้างได้ เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าธรรมหรือธาตุ ให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ผู้ที่จะดับกิเลสได้ และต้องเป็นผู้ตรง แล้วก็เป็นผู้ที่รู้ความจริงด้วย คนที่คิดว่าเข้าใจธรรมแล้ว รู้แล้ว เป็นไปได้ไหมที่จะไม่อาศัยการฟัง และการพิจารณาสภาพธรรมในขณะนี้ ว่าเป็นอย่างที่กล่าวหรือเปล่า เช่น นามธรรมขณะนี้เป็นนามธรรมหรือยัง หรือเพียงแต่ว่ากำลังเห็นก็เป็นเราที่กำลังฟังเรื่องนามธรรม และรูปธรรม

    นี่ก็แสดงให้เห็น ว่าจะต้องมีการอบรมเจริญปัญญานี่ค่ะอีกหลายระดับ จนกว่าจะถึงขั้นที่ประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่าไม่มีตัวตน เป็นธาตุหรือเป็นธรรม แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งในสัจจะความจริงของสภาพธรรมที่เป็นอริยสัจธรรมได้ แต่นี่คือจุดเริ่ม ไม่มีการท้อถอยเลย เข้าใจวันนี้ ก็คือนี่คือประโยชน์จากการที่ได้เกิดมาในสมัยที่ยังมีพระธรรมคำสอน แล้วก็มีโอกาสจะได้ยินได้ฟังเรื่องของสัตวโลก โอกาสโลก สังขารโลก

    ซึ่งก็เป็นความจริงทุกกาลสมัย แต่จะมีบางสมัยซึ่งจะไม่มีการได้ยินได้ฟังพระธรรม หรือมิฉะนั้นก็ผิด คือว่า ไม่เข้าใจจริงๆ แต่คิดว่าเข้าใจแล้วนั้น ก็เป็นสิ่งซึ่งผู้ที่เป็นผู้ตรงนี้จะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น เพราะเหตุว่าเท่านี้ก็ยังไม่พอ จะต้องมีการฟังแล้วพิจารณา และก็เข้าใจต่อไปอีก

    อ.นิภัทร ท่านอาจารย์พูดอยู่คำหนึ่ง ความคิดผม นึกได้ตอนนี้คือว่า เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ เราก็ตายอยู่ทุกขณะ เรียกว่า ขณิกมรณะคือตายอยู่ทุกขณะ ทุกขณะจิต แต่ทั้งๆ ที่เป็นอย่างนี้ เราก็ยังไม่ตกใจอะไรเลย ไม่ได้ตกใจเลย ตายก็ตายไป ทับถมไปไม่รู้ว่าเท่าไหร่ๆ วันๆ หนึ่งไม่รู้เท่าไร ไม่เคยตกใจ จนกว่าจะใจขาดตายไปจริงๆ จนไม่หายใจนั่นแหละ ถึงจะโวยวายกันร้องห่มร้องไห้กัน ซึ่งความจริงผู้ที่จะประจักษ์ธรรม จนถึงจะรู้แจ้งสัจธรรมจริงๆ นี่ ถ้าไม่รู้ความตายคือขณิกมรณะจนเกิดความสลดสังเวชจริงๆ แล้วก็เห็นจะไปไม่รอด

    ผู้ฟังขอถามว่า สภาพเข้าใจ แตกดับหรือไม่

    ท่านอาจารย์ แน่นอนที่สุดให้เข้าใจว่าทุกอย่างขณะนี้กำลังเกิดดับ เกิดมาสั้นมากแล้วดับไปทันที

    ผู้ฟัง สมมติว่า เราเข้าใจขณะนี้ แล้วต่อไป เวลาต่อไป สภาพนั้นก็ดับไปใช่ไหม แล้วก็ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่แต่เฉพาะความเข้าใจ เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นดับทันที เร็วมาก ขณะนี้เห็นเหมือนไม่ดับ ใช่ไหมแต่ความจริงกำลังดับ ได้ยินก็ดับ คิดนึกก็ดับ ทุกอย่างเกิดมาสั้นมาก แล้วก็ดับ

    ผู้ฟัง ดับแล้ว ตอนนี้ความเข้าใจของเราจะยังคงอยู่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ สืบต่อเก็บสะสมไว้ในจิตแต่ละขณะ ขณะที่นอนหลับเข้าใจอะไรหรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ตื่นขึ้นมา นึก และเข้าใจไหม

    ผู้ฟัง นึกเรื่องอะไร

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ เรื่องธรรมที่กำลังฟังธรรม เข้าใจไหม เพราะว่าส่วนมากเราจะตื่นขึ้นฟังธรรมตอนเช้าใช่ไหม ตอนหลับนี่เข้าใจไหม

    ผู้ฟัง ขณะหลับก็ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ แต่ตื่นขึ้นฟังธรรมเข้าใจไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการสะสมความเข้าใจมาก่อนๆ ทันทีที่ตื่นขึ้นแล้วฟังจะเข้าใจหรือไม่

    ผู้ฟัง ถ้าไม่สะสมมาก่อน ก็ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นที่เราเข้าใจไม่ได้สูญหายไปไหน

    ผู้ฟัง คือว่าสะสม

    ท่านอาจารย์ เก็บสะสมอยู่ในจิตแต่ละขณะซึ่งเกิด และก็ดับไป คือการดับไปของจิตขณะหนึ่งเป็นอนันตรปัจจัย ที่ใช้คำว่าอนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยไม่ได้ แล้วเราไม่ต้องไปแสวงหาปัจจัยจากอื่นเลย จากสิ่งที่มีในขณะนี้ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยทั้งสิ้น แม้แต่จิตที่เกิดขึ้นหนึ่งขณะดับไป จิตที่มีในขณะนี้เป็นปัจจัยซึ่งเมื่อดับแล้ว ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตเป็นอนันตรปัจจัยสำหรับขณะต่อไปซึ่งเป็นผล เรียกว่าปัจจยุบัน สิ่งที่เกิดเพราะปัจจัยชื่อว่าปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้นจิตขณะต่อไปก็เป็นปัจจยุบันของจิตขณะนี้เมื่อจิตขณะนี้ดับ

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้วค่ะ

    อ.นิภัทร ความเข้าใจก็เป็นสังขารธรรม ซึ่งก็จะต้องเกิดดับ บางครั้งเข้าใจแล้วก็อาจจะหลงๆ ลืมๆ ไปได้ อย่างนี้เป็นไปได้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อวิชชาก็สะสม ไม่ได้สะสมแต่ปัญญา

    อ.นิภัทร ปุถุชนความเข้าใจก็ไม่แน่นอนเพราะว่าเป็นสังขารธรรม ยังมีกิเลสอยู่ก็หลงๆ ลืมๆ ได้บ้าง ลืมบ้าง แต่สำหรับพระอรหันต์ ซึ่งท่านมีสติสมบูรณ์ท่านจะมีหลงลืมบ้างไหม

    ท่านอาจารย์ พระอรหันต์ท่านรู้ ใช้คำว่ารู้จบกิจ ไม่มีสิ่งใดที่ท่านจะต้องรู้อีก

    อ.นิภัทร ท่านจะลืมวันโน้น วันนี้ ลืมวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือไ่ม่

    ท่านอาจารย์ โดยมากคนมักจะคิดเรื่องพระอรหันต์จะมีโมหมูลจิตไหม จะลืมไหม จะนึกไม่ออกบ้างไหม แต่ให้ทราบว่าผู้ที่มีความรู้ ท่านจะไม่คิดถึงเรื่องที่ท่านจะต้องไปนั่งนึกว่า เอ๊ะวันนั้นเป็นอย่างไร วันนี้เป็นอย่างไร

    อ.นิภัทร ท่านไม่ได้ไปคิดเรื่องอื่น

    ท่านอาจารย์ ไม่มีปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ มีคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติ ที่ว่ามีตัวมีตนไปปฏิบัติ กับการฟังธรรมเป็นปกติ ขอให้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ และความต่างกันตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมความรู้ความเข้าใจ อย่างที่บอกว่าถ้าขณะนี้ยังไม่เข้าใจจริงๆ ในลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม และที่ใช้คำว่านามธรรม และรูปธรรมเป็นปรมัตถธรรมด้วย คือความหมายสักอย่างหนึ่งก็ทิ้งไม่ได้ เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมก็คือไม่ใช่ตัวตน เป็นปรมัตถธรรมมาจากคำว่า ปะ ระ มัต อรรถ หมายความว่าไม่ใช่สิ่งซึ่งใครจะไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ เลย โลภะเกิดขณะใดต้องติดข้อง โทสะเกิดขึ้นขณะใดต้องประทุษร้ายจิต มีอาการโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์หม่นหมองต่างๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องธรรมว่าเป็นปรมัตถธรรม ก็จะเห็นว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ค่อยๆ เข้าใจอย่างนี้ก่อน เพระเหตุว่าโลภะ เรารู้ได้เวลาที่เราเกิดติดข้องสิ่งหนึ่ง สิ่งใด อยากจะได้สิ่งนั้น ลักษณะของความต้องการนั่นคือโลภะ

    แต่ถ้าสัมมาสติยังไม่เกิด แล้วเราจะไปบอกว่า ไปอบรมให้สัมมาสติเกิด โดยไม่มีความเข้าใจเลยว่าสัมมาสติคืออะไร เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่สามารถจะเข้าใจได้ กำลังมีอยู่ อบรมความรู้ความเข้าใจก่อน แล้วก็ไม่ต้องไปห่วงเรื่องสติปัฎฐาน อย่าไปฝืนเคี่ยวเข็ญบังคับใคร ชักชวนใครมาปฏิบัติเร็วๆ ให้สติเกิดตรงนั้นตรงนี้ ขอให้เขาเพียงเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างไรๆ สัมมาสติก็เกิดไม่ได้ ไม่ต้องไปห่วงกังวล แล้วก็จะไม่มีคำถามว่าเหตุใดสติเกิดน้อยด้วย นั่นแสดงว่าอยากให้สติเกิดมาก ข้ามสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ถ้าจะสติเกิดก็คือสามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะที่เห็น เป็นสภาพรู้ เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ต่างกับสภาพที่กำลังรู้เสียง หรือได้ยิน ซึ่งตลอดชีวิตก็คือนามธรรม และรูปธรรม แต่จะรู้อย่างนี้ได้ไม่ใช่เพียงฟัง ฟังขณะนี้ นามธรรม และรูปธรรมเกิดดับนับไม่ถ้วนไปแล้ว นับไม่ถ้วนไปแล้วโดยไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ เพียงกำลังฟังเรื่องของนามธรรม และรูปธรรมซึ่งกำลังเกิดขึ้น และทำกิจการงานของนามธรรม และรูปธรรมนั้น เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะมีการระลึกรู้ที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นสภาพธรรม แล้วก็รู้ว่าจริงๆ แล้วไม่มีสัตวโลก เป็นแต่เพียงสังขารโลก เป็นสภาพธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ

    ก็เป็นเรื่องของความอดทน เป็นเรื่องของการที่จะต้องรู้ว่าความเข้าใจจะค่อยๆ เจริญขึ้นจากการฟัง การไตร่ตรอง แล้วสัมมาสติก็คือขณะที่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะขณะนี้เป็นปรมัตถธรรมแต่ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นความรู้ว่าเป็นปรมัตถธรรมจะเอามาจากไหน ถ้าไม่ใช่ฟังจนกระทั่งเข้าใจจริงๆ ในสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆ ในความเป็นปรมัตถธรรมก่อน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นที่มีคนกล่าวว่าต้องไปฝึกให้มีสติเกิดขึ้นเพื่อจะได้ไม่หลงลืมสติ ถ้าเป็นอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวมา สติที่เขาพูดกัน จะเป็นสติเจตสิกอย่างที่เรากำลังฟังอย่างนี้ หรือว่าเป็นเพียงความคิดเรื่องสติ พูดเรื่องสติ

    อ.นิภัทร ถ้าไปแล้ว เสร็จละ ถ้าไป ไปฝึกสติ

    ผู้ฟัง ไปฝึกสติครับ

    อ.นิภัทร ไม่ใช่ ผมตอบแทนอาจารย์

    ผู้ฟัง แล้วก็ผู้สอนก็บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็เอามาจากพระไตรปิฎกทั้งสิ้นนะ ผมก็บอกว่าก็คงไม่มีผู้บรรยายผู้สอนคนไหนที่บอกว่าคิดขึ้นมาเอง แต่ว่าก็เป็นความพอใจที่ผู้ไปปฏิบัติแล้วก็บอกว่าเอาบุญมาฝากผมด้วยในฐานะที่ไปสนทนาธรรมด้วย

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ ขณะนี้เอง ก็คือปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นถ้าจะเข้าใจปรมัตถธรรม ก็ไม่ใช่เข้าใจขณะอื่น ต้องเข้าใจในขณะที่ปรมัตถธรรมลักษณะใดกำลังปรากฏให้รู้ให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาจริงๆ ที่จะรู้ว่าตลอดชีวิตเป็นปรมัตถธรรม แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการฟังให้เข้าใจก่อน เพราะว่าปัญญาก็ต้องอบรมเป็นขั้นๆ ตั้งแต่ขั้นฟัง ถ้าไม่มีขั้นฟังเลย ใครจะมารู้ว่าขณะนี้เป็นปรมัตถธรรม ไม่มีทางเป็นไปได้เลย แต่เมื่อฟังขั้นเข้าใจแล้ว ก็ยังจะต้องมีการที่สติระลึกได้จริงๆ ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้ขั้นต่อไปจนกว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่ง

    ผู้ฟัง เวลานี้ ผมเข้าใจว่าสำหรับสติที่เป็นพื้นฐานกับผู้ที่ฟังรายการนี้ คือการที่ เวลาที่เราไม่ไปดูรายการโทรทัศน์ หรือว่าอะไรหมายความขณะนั้นมีการฟังธรรม จะเป็นจากเทปคาสเซ็ทก็ได้ หรือจากวิทยุก็ได้ ขณะที่กำลังตั้งอกตั้งใจฟัง หรือฟังแล้วเข้าใจขึ้นมา ขณะนั้นสติตามที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้ คงเป็นสติขั้นหนึ่ง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิตประเภทหนึ่งประเภทใดก็ตามเกิด ต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

    ผู้ฟัง แต่เวลาที่สติเขาเกิด และสามารถจะรู้ว่าขณะนั้น มีสติโดยที่ไม่หลงลืมสติ ขณะนั้นต้องเป็นเรื่องของปัญญารู้ใช่ไหม

    ท่านอาขารย์ ต้องมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ เวลานี้เป็นปรมัตถธรรมอยู่แล้ว แต่กำลังมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือไม่ หรือว่ามีเรื่องราวต่างๆ ของปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง มีเรื่องราวเป็นอารมณ์ตลอดเวลาโดยมีชื่อของปรมัตถธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เลยดูเหมือนว่าเวลานี้ ก็รู้อยู่ ที่ท่านอาจารย์พูดว่าสภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่ว่า สติของผู้ใดจะเกิด หรือว่าปัญญาของผู้ใด ก็แล้วแต่

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่รู้ทั้งหมดว่าเป็นธรรม แต่ละกิเลสไม่ได้ เพราะว่าการที่จะละกิเลสได้ ไม่ใช่เพียงแค่ฟังเข้าใจ

    ผู้ฟัง พูดถึงละกิเลสก่อนอื่นต้องรู้ว่าขณะที่กิเลสเกิด แล้วก็รู้ว่าเป็นกิเลสอย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ

    ผู้ฟัง เพราะตัวละ ต้องเป็นตัวปัญญาใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ

    ผู้ฟัง อันนี้ก็ยากเพราะว่าพูดตามท่านอาจารย์ได้

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ยากไม่มีง่าย ในพระพุทธศาสนาอย่าคิดว่าง่าย ถ้าง่ายไม่ใช่พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ขอความกรุณาให้ความกระจ่างแจ้ง ระหว่าง สติ กับสติสัมปชัญญะ ว่าต่างกันอย่างไร เมื่อวานดิฉันไปที่วัด ก็เรียนกับพระว่า ท่านอาจารย์บอกว่าให้มีสติอยู่เสมอ พระท่านบอกว่า ทำไมฉันจะไม่มี ไม่มีเอาข้าวใส่ปากได้หรือ ดิฉันก็เลยก็ไม่ทราบจะบอกว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วก็เป็นความสับสนของความคิด และการใช้คำ เพราะว่าคำพูดอย่างนี้มีมาตลอดสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรม แต่เมื่อศึกษาธรรมแล้วจะต้องเป็นผู้ที่ตรงต่อสภาพธรรมที่จะต้องใช้คำให้ถูกต้องด้วย เพราะว่าโดยสภาพของสติเจตสิก ต้องเป็นโสภณเจตสิกเป็นเจตสิกฝ่ายดี เพราะฉะนั้นต้องเกิดกับกุศลจิต เกิดกับวิบากจิตที่เป็นฝ่ายดี หรือแม้กิริยาจิตของพระอรหันต์ก็ต้องมีโสภณเจตสิก เจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย แต่สำหรับเรายังไม่จำเป็นต้องไปพูดถึงระดับอื่น เพียงแค่สติที่เป็นกุศล (คนที่ไม่ศึกษา) เขาก็ไม่ทราบ เพราะฉะนั้นจะมีคำถามอยู่เสมอว่าทำอย่างนี้ได้บุญไหม ใช้คำว่าได้ด้วย แล้วก็ได้บุญมากไหม ก็ยังอยากจะได้ให้มาก ไม่ใช่ว่าได้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ด้วย แต่ว่าตามความเป็นจริง ขณะที่พูดว่าได้บุญไหม ขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิต เพราะเหตุว่าขณะนั้น ไม่ใช่ปัญญา ไม่รู้ ความไม่รู้ทั้งหมดเป็นอกุศล ขณะใดที่ต้องการบุญ ตัวติดข้องต้องการก็ไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ที่จะต้องรู้ว่าเรื่องของกุศลจิตแล้วก็ต้องเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง มิฉะนั้นแล้วเป็นอกุศลทั้งนั้น จะบอกว่า ถ้าไม่มีสติก็รับประทานอาหารไม่ได้ เอาข้าวใส่ปากไม่ได้นั่นไม่มีในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย และสติที่เป็นในระดับขั้นของทานซึ่งไม่ใช่ขั้นภาวนาจะไม่ประกอบด้วยสัมปชัญญะ เพราะว่าเราให้ทานได้ มีวัตถุที่จะให้ สละให้ ก็ให้ แต่ขณะนั้นไม่ได้ระลึกลักษณะสภาพของจิต ซึ่งเกิดดับเร็วมาก ว่ามีอะไรที่สลับบ้างหรือเปล่าในขณะนั้น เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเร็ว กุศลจิตก็ดับเร็ว อกุศลจิตก็ดับเร็ว แล้วกุศลจิต และอกุศลจิตก็ยังเกิดสลับกันได้ด้วย

    เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ของจิตแต่ละขณะซึ่งเกิดแล้วดับไปอย่างเร็วมาก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าถึงระดับขั้นของสติสัมปชัญญะไม่ใช่เพียงขั้นทาน ขั้นศีล แต่จะต้องเป็นระดับขั้นของภาวนา

    อ.สมพร บอกว่าไม่มีสติจะเอาข้าวใส่ปากได้ไหม คราวนี้เรากำลังเอร็ดอร่อย ขณะนั้นโลภะเกิด แล้วก็เอาข้าวใส่ปาก ไม่ได้ใส่ปากด้วยอำนาจสติ คือเอาข้าวใส่ปากด้วยอำนาจโลภะ คือโลภะเป็นประธาน ในอื่นๆ ก็มีส่วนประกอบมากมายที่จะเข้าร่วมด้วย

    ก็มีที่บางคนอายุมากแล้ว ทำกิจการงานได้ แต่เวลาที่จะรับประทานอาหารยกมือจับข้าวใส่ปาก ไม่เคยตรงปากเลย ทั้งที่ทำกิจงานอย่างอื่นได้ ก็แปลก ว่าอย่างนี้อาจจะเป็นวิบากของเขาคือเขาก็ตักช้อนจะใส่ปากก็ไปที่อื่นทุกครั้งจนไม่เข้าปากเลย ก็นึกว่าเกี่ยวกับวิบากแน่นอน แต่เรื่องรับประทานแล้วก็เอาข้าวใส่ปากโดยมากเป็นไปด้วยอำนาจโลภะ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่แล้วทุกคนก็เป็นอกุศล ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต ไม่ว่าจะเป็นคฤหัส ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ปกติก็รับประทานด้วยความต้องการ เพราะฉะนั้นถ้ากุศลจิตจะเกิดในขณะที่ต้องการ ต้องเป็นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ขณะที่เป็นทาน หรือศีล เพราะเหตุว่าสำหรับเวลาที่สติจะเกิดในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ก็ต้องเป็นระดับขั้นให้ทาน มีวัตถุที่จะเป็นประโยชน์กับบุคคลอื่น และมีการสละให้ เพราะว่าชีวิตของคนเราโดยมากเราคิดแต่ว่า วันนี้เราจะทำอะไร เราจะได้อะไร เราต้องการอะไร เราจะมีผลประโยชน์แค่ไหน ขณะนั้นเป็นอกุศลทั้งหมด แต่เพราะสติเกิด สตินั่นเองที่ระลึกเป็นไปในการให้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่น แม้ว่าคนนั้นจะไม่รู้เลยว่านี่เป็นสติ นี่เป็นกุศล ไม่ต้องรู้แต่ว่าสภาพธรรมเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้ว และก็กระทำสิ่งนั้นไป โดยที่ว่าไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเรื่องของกุศลธรรมดาในชีวิตประจำวันก็เป็นเรื่องของทานเป็นเรื่องของศีลโดยทั่วๆ ไป มีการวิรัติทุจริต มีสัมมาวาจา มีคำพูดที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น มีความเมตตากรุณาในชีวิตประจำวัน แต่ว่าถ้าในขณะที่รับประทานอาหารแล้วจะเกิดกุศลขณะนั้นก็แบ่งอะไรให้ใครที่อร่อยๆ มีจิตเกิดระลึกขึ้นได้ เพราะว่าอาหารสิ่งที่มีรสอร่อย บางคนก็รู้สึกว่าต้องการที่จะบริโภคแต่เพียงคนเดียว แต่ถ้าเกิดระลึกขึ้นมาได้ว่าเขาก็คงต้องการรสอร่อยเหมือนเรา กุศลจิตเกิด แล้วก็อาจจะมีการแบ่งให้ เพราะฉะนั้นเป็นระดับของทาน แต่ถ้าผู้หนึ่งผู้ใด หรือกำลังรับประทานอาหาร และจะเป็นกุศลจิตเกิด ก็ต้องเป็นระดับที่สูงกว่านั้น ถ้าขณะนั้นไม่คิดเป็นไปในการแบ่งปัน หรือว่าไม่เป็นไปในการวิรัติทุจริตซึ่งเป็นศีล ก็จะต้องเป็นไปในเรื่องของภาวนา ซึ่งเรื่องของภาวนาเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาระดับที่สติเกิดระลึกได้จากความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาพธรรม เพราะเหตุว่าภาวนามี ๒ อย่าง สมถภาวนาอย่าง หนึ่ง วิปัสสนาภาวนาอย่างหนึ่ง สมถภาวนาคือผู้ที่สามารถที่จะระลึกรู้ว่าขณะนี้จิตเป็นอกุศลแล้วเห็นโทษ ผู้นั้นจึงจะอบรมเจริญสมถภาวนา

    แต่ถ้าผู้นั้นมีปัญญาอีกระดับหนึ่ง ก็รู้ว่าถึงแม้ว่าจิตจะเป็นกุศลเพียงชั่วขณะเล็กน้อยก็ไม่สามารถที่จะดับอกุศลได้เป็นสมุจเฉทถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญาถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้งความจริงว่า ขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าเรื่องของปัญญานี่ไม่ใช่เรื่องที่อยากจะให้เกิดก็ไปถามคนอื่นว่าทำอย่างไร แต่ต้องเป็นปัญญาของคนนั้นเองฃ ที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าสมถภาวนาคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร

    ถ้าในชีวิตประจำวันขณะนั้นไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล หรือไม่ใช่เรื่องที่จะสงเคราะห์เข้าในเรื่องของทานของศีลแล้ว ถ้าจะเป็นกุศลต้องเป็นกุศลอีกระดับหนึ่ง แต่ว่าชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ก็คือ ทาน ศีล

    ผู้ฟัง วันนี้ท่านจัดให้มีการสนทนาธรรม ไม่ต้องมีชื่อ ก็เป็นกุศลแล้ว นั่นแหละขณะนั้นเป็นสติ

    ท่านอาจารย์ เป็นสติทำให้ระลึกเป็นไปในการที่จะให้มีสนทนาธรรม ไม่ใช่ระลึกชวนกันไปเที่ยว

    อ.สมพร ไม่ต้องรู้ชื่อเลยนะ เพราะเป็นอยู่แล้วนะ แล้วอย่างถ้ายกตัวอย่างที่พระท่านหยิบอาหารเข้าปาก ท่านอาจารย์บอกว่า ถ้าจะให้เป็นสติ ก็จะสูงกว่านั้นคือว่าตอนนั้นไม่ได้แบ่งข้าวให้ใคร แล้วก็ไม่เป็นศีลคือไม่มีอะไรจะวิรัติ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 11
    9 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ