สนทนาธรรม ตอนที่ 072
ตอนที่ ๗๒
ท่านอาจารย์ คุณนิภัทรถามคุณประทีปใช่ไหมคะว่าเมื่อเห็นแล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นไมโครโฟนพวกนี้มันมาจากไหน ลองคิดถึงเด็กเล็กๆ นะคะ เขาสามารถจะรู้ได้ไหมเห็นได้แต่ไม่รู้เลยว่าเป็นไมโครโฟนใช่ไหมคะเด็กที่เพิ่งเกิดนะคะ มีตาก็เห็นแต่ว่ายังไม่สามารถที่จะรู้ความหมายของสิ่งที่เห็นเหมือนอย่างเราซึ่งค่อยๆ โตขึ้นทีละเล็กทีละน้อยนะคะ แล้วก็ถูกสอนโดยสัญญาความจำ แต่สิ่งที่เราเห็น ยังเด็กก็คงจะเห็นหน้าแม่ใช่ไหมคะแล้วก็จำไว้ เพราะฉะนั้นพอคนที่ไม่ใช่แม่เด็กก็กลัวแล้วก็ตื่นเต้นตกใจเพราะว่าถ้าไม่ชินกับหน้านั้นแสดงให้เห็นว่าความทรงจำของเราเนี่ยค่อยๆ เกิดค่อยๆ จำมาเรื่อยๆ นะคะ จนกระทั่งโตขึ้นเนี่ยเราก็สามารถที่จะเห็นทันทีแล้วก็รู้ได้ทันที พ้นสภาพจากเด็กเพิ่งเกิดซึ่งไม่สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่กำลังเห็นนะเป็นอะไร
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงว่าลักษณะที่จำมี แต่ว่าจำรูปร่างสัณฐานนั้นก็อย่างหนึ่ง แล้วยังจะจำเสียง ค่อยๆ พูดเป็นทีละคำ๒ คำจนในที่สุดก็รู้เรื่องรู้ราว และสามารถที่จะเรียกสิ่งที่เห็นได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรต้องการอะไร แล้วก็ต่อมาก็มีความสนใจในเรื่องเสียงสูงๆ ต่ำๆ เป็นภาษาต่างๆ อีกนานาชนิดก็ทำให้มีความจำที่คนนั้นสามารถที่จะใช้ภาษาที่เขาจำได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าทั้งเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งไม่ใช่ตัวตนนะคะ ซึ่งถ้าสามารถที่จะแยกลักษณะของจิตลักษณะของเจตสิกลักษณะของรูปออกได้โดยการฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการระลึกในขณะที่กำลังเห็น เพราะว่าขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ให้พูดซักแท่าไหร่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่คนไม่ใช่สิ่ง หนึ่ง สิ่งใดก็ยังไม่เป็นจริงอย่างนั้นใช่ไหมคะถ้าสติไม่ระลึก และก็เมื่อระลึกแล้วก็ยังจะค่อยๆ เข้าใจตามที่ได้ยินได้ฟังทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าสามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้จริงๆ ในลักษณะที่แยกขาดจากกันของนามธรรม และรูปธรรมซึ่งเกิดดับเร็วมาก
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเรานะคะ เริ่มจะเข้าถึงพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมเร็จเจ้าว่าทรงแสดงธรรมที่มีจริงให้ทุกคนเข้าใจพิสูจน์แล้วก็ประจักษ์ได้ไม่ใช่เลื่อนลอยค่ะแต่สิ่งที่มีนั้นแสนที่จะยากที่จะต้องฟังนานๆ พิจารณานานแล้วอบรมไปแต่ละชาติ หรือแต่ละขณะจิตนะคะ จนกว่าสามารถที่จะประจักษ์ได้จริงๆ และเมื่อนั้นถึงจะถึงปรมัตธรรมที่ ๔ นะคะ คือนิพพานแต่ก่อนนั้นก็จะต้องรู้ และเข้าใจลักษณะของจิตเจตสิกรูป ฟังดูเหมือนไม่สงสัยแล้วใช่ไหมคะเชิญค่ะ
ผู้ฟัง ผมก็มาจากจังหวัดอุบลนะครับ เมื่อกี้ท่านอาจารย์พูดว่าเด็กนี่เห็นไหมรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไรนะครับ แต่ก็คงไม่ได้หมายความว่าเด็กนี้จะสามารถที่จะมีปัญญาทราบว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา จะต้องเห็นรูปที่ร่วมกัน
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนะคะ ต้องแยกนี่เรายังไม่ได้พูดถึงเรื่องปัญญาเลยเราพูดถึงเห็น เด็กเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่ค่ะเห็นมั้ย
ผู้ฟัง เห็นครับ
ท่านอาจารย์ เห็นใช่ไหมคะ สามารถที่จะรู้ได้ไหมว่าเป็นใครเป็นอะไรทั้งๆ ที่เพิ่งเก
ผู้ฟัง เป็นเกิดกลุ่มเป็นก้อนอยู่
ท่านอาจารย์ ทันทีที่เพิ่งเกิด และสามารถจะรู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ นี่แสดงให้เห็นว่าจะต้องค่อยๆ มีการพัฒนาหรือว่ามีสัญญาความจำที่ค่อยๆ จำเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าสามารถจะรู้ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร นี่คือตอบคำถามของคุณนิภัทรที่กล่าวว่าก็สิ่งที่ปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้มี และความทรงจำว่าเป็นสัตว์เป็นบุคลมาได้ยังไงว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เนี่ยมาได้ยังไง ถ้าไม่มีสัญญาความจำนะคะ ก็จะไม่มีเลยแต่เพราะเหตุว่ามีสัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวงสัญญาเป็นสภาพธรรมที่จำไม่ใช่เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์อย่างจิต แต่สัญญาเกิดกับจิตทุกขณะไม่ว่าจะเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาสัญญาจำสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเสียงทางหูสัญญาก็จำเสียงที่ปรากฏทางหูจนกว่าจะค่อยค่อยรู้เรื่องรู้ความขึ้นจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่จนถึงเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง คือไม่รู้จักชื่อแต่ว่าเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อนใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ คุณวีระชัยก็คงจะย้อนไปถึงตอนเพิ่งเกิดไม่ได้นะคะ แต่ลองคิดดูสิคะว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั่นนะเป็นกลุ่มเป็นก้อนหรือเปล่ามีความคิดว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อนไหม หรือเพียงเห็น โดยมากใช้ชื่อแต่นี่เราไม่ได้ใช้ชื่อนะคะ พยายามที่จะพูดให้เข้าใจว่าทางตาเห็นใช่ไหมคะยังไม่ต้องใช้ชื่อเห็นไม่ต้องใช้คำว่าจักขุทวารยังไม่ต้องใช้ภาษาบาลีค่ะให้เข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ขนาดนี้โดยภาษาอะไรก็ได้นะคะ อย่าไปติดที่ชื่อ เพราะฉะนั้นพอเห็นปุ๊บคุณวีระชัยจะบอกว่าจักขุทวารก็ไม่ต้องกำลังเห็นขณะนี้มีเข้าใจได้ไหมคะว่ามีเห็นขณะนี้โดยที่ไม่ต้องใช้คำว่าจักขุทวาร เข้าใจได้ไหม เอาใหม่นะคะ ถามใหม่ว่าขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้มีเห็น มีไหมคะ มีไม่ต้องใช้คำว่าจักขุทวาร ก็รู้ว่าเห็นมีใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับคำว่าจักขุทวารเพราะว่าจะต้องเข้าใจสภาพธรรมมก่อนแล้วจะเข้าใจภาษาไทยว่าขณะนี้กำลังเห็นทางตาโดยที่ไม่ต้องใช้ภาษาบาลีเลยก็ได้ใช่ไหมคะ หรือไม่ได้ หรือต้องใช้คำว่าจักขุทวาร เพราะฉะนั้นเรายังไม่เข้าไปถึงภาษาบาลี แต่ให้เข้าใจตัวธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ว่าเห็นมี แล้วเห็นนี่ไม่ใช่รูปค่ะเป็นแต่เพียงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งมีการเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาซึ่งลักษณะที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาให้เข้าใจโดยภาษาไทยอย่างนี้ ขณะที่กำลังเห็นขณะนี้สภาพหรือธาตุที่เห็นเป็นลักษณะรู้ หรือเป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะว่าถ้าไปถึงอายตนะไปถึงอะไรไม่มีทางจะย้อนมาเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นในขณะนี้ได้เพราะว่าเต็มไปด้วยชื่อแต่ขณะนี้ที่กำลังเห็นจริงๆ ขอให้ทุกคนนะคะ พิจารณาจริงๆ ว่าจริงไหมขณะนี้โต๊ะเก้าอี้ไม่เห็นรูปเห็นอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นลักษณะเห็นเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เห็น นี่คือไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นเราจึงใช้คำว่าธาตุ หรือธา-ตุ เพราะใช้คำว่าธาตุ หรือธา-ตุ จะเห็นได้เลยว่ะไม่ใช่อะไรสักอย่างนอกจากสิ่งที่มีลักษณะนั้นจริงๆ แท้ๆ เฉพาะของตนเช่นรูปธาตุนี้ก็เพิ่มภาษาบาลีขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง แต่ว่าเพื่อให้เข้าใจความหมายว่าถ้าใช้ธาตุแล้วล่ะก็จะเข้าใจว่าเราเคยรู้จักธาตุที่เป็นรูปเท่านั้นใช่ไหมตามหลักวิทยาศาสตร์เรียนกันมา แต่ให้ทราบว่าไม่ใช่มีแต่เพียงรูปธาตุอย่างเดียวมีนามธาตุด้วย นี่ค่ะเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เพิ่มว่าเป็นธาตุจริงแต่ว่าต่างกันเป็น ๒ อย่างคือรูปธาตุอย่างหนึ่ง และก็นามธาตุอีกอย่างหนึ่ง ถ้าใช้คำว่ารูปธาตุทุกคนจะรู้ว่าเกิดขึ้นใช่ไหมคะมีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นผสมรวมกันแล้วก็เกิดขึ้นเป็นอะไรก็แล้วแต่นั่นคือรูปธาตุแต่นามธาตุเป็นธาตุซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นเช่นเดียวกับรูปธาตุแตกต่างกันที่ธาตุที่เป็นนามธาตุนั้นเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้เลยค่ะว่าจริงๆ แล้วก็คือธาตุรู้กับรูปธาตุ ๒ อย่าง ไม่อย่างงั้นแล้วความเป็นตัวตนเนี่ยจะมากนะคะ แล้วก็จะสืบต่อนานแต่ถ้าคิดในลักษณะที่ว่ารูปธาตุคือธาตุ เพราะฉะนั้นนามธาตุก็คือธาตุรูปธาตุเกิดขึ้นนามธาตุก็เกิดขึ้นแต่ลักษณะที่ต่างกันก็คือว่ารูปธาตุเกิดขึ้นแต่รูปธาตุนั้นไม่รู้อะไรเลยใครจะไปเรียกว่าอะไรใครจะเข้าห้องทดลองใครจะทำอะไรทั้งหมด รูปธาตุไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยแต่ธาตุพิเศษอีกชนิดหนึ่งนั้นต่างกับรูปธาตุเป็นธาตุเหมือนกันแต่เป็นธาตุรู้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นขณะใดที่ไหนในโลกนี้ หรือโลกไหนก็ตาม เมื่อนามธาตุเกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏให้รู้นี่คือความหมายของปรมัตถ์ธรรม หรือสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เริ่มต้นจากจุดที่หนึ่ง ว่าปรมัตถ์ธรรม ของจริงแท้ๆ มีอะไรบ้าง ๔ จิตเจตสิกรูปนิพพานหรือจะแบ่งเป็น ๒ ก็แบ่งว่าเป็นอันหนึ่งเป็นนามอีกอันเป็นรูป นามแปลว่าอะไรรูปเป็นอะไรก็บอกถ้านามคือมีสภาพรู้อะไรที่รู้แล้วเป็นนามอะไรที่ไม่รู้เป็นรูปหมด แล้วจะไปตามระดับถ้าเราเข้าใจเป็นอย่างนี้ไปอย่างนี้แล้วก็ในที่สุดจะพาไปสู่ในลักษณะที่เราสามารถที่จะหลุดพ้นได้จากธรรมพระพุทธเจ้า มันจะไปตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งเห็นว่าไร้สาระพูดไรกันเลอะเทอะถ้าเราจะค่อยๆ เรียนค่อยๆ รู้เราจะเขาให้เข้าใจแล้วมันจะขัดเกลาใจเราไปได้ตามลำดับผมขออนุญาตรวบรัดชี้เพราะไม่อยากผมเกรงว่าท่านจะหนีซะก่อนกับตรงนี้เท่านั้นเองครับขอบคุณ
ท่านอาจารย์ ขอถามคนใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยนะคะ โกรธเป็นรูปหรือเป็นนามคะ ใครก็ได้ที่ไหนก็ได้นะคะ ที่อยากจะตอบค่ะโกรธเป็นรูป หรือเป็นนาม
ผู้ฟัง โกรธเป็นนามค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะ
ผู้ฟัง เพราะเป็นเพียง สภาพรู้ซึ่งอาศัยจิตค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นความรู้สึก
ผู้ฟัง ค่ะเป็นความรู้สึกนะคะ
ท่านอาจารย์ ส่วนที่ไม่รู้สึกเลยเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นโกรธเป็นนามธรรม ดีใจเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมดีใจค่ะ
ผู้ฟัง ดีใจก็เป็นนามธรรมเหมือนกันค่ะ
ท่านอาจารย์ ดีใจก็เป็นนามธรรมเหมือนกัน ขยันล่ะคะ
ผู้ฟัง ก็เป็นนามธรรมค่ะ
ท่านอาจารย์ ขี้เกียจ
ผู้ฟัง เช่นเดียวกันค่ะ
ท่านอาจารย์ ง่วง ง่วงนะคะ
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะ
ผู้ฟัง ก็เป็นความรู้สึกรู้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ยากเลยนะคะ ส่วนที่เป็นรูปธรรมก็เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลยนอกเหนือจากนั้นแล้วเป็นนามธรรมนะคะ ไม่ทราบจะมีใครสงสัยตอนนี้บ้างหรือเปล่าคะ เรื่องนามธรรมกับรูปธรรมขอให้เข้าใจกันจริงๆ นะคะ ความจำเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เชิญที่นี่ค่ะ ความจำค่ะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมคะ
ผู้ฟัง ความจำเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรมไม่เผลอตอบนะคะ ว่ารูปธรรมค่ะความคิดนึก
ผู้ฟัง ความคิดนะคะ เป็นนามธรรม
อาจท่านารย์ เป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นที่เคยเป็นเราทั้งหมดนะคะ ก็มีแต่นามธรรมกับรูปธรรมเท่านั้นจริงๆ นะคะ เห็นเป็นอะไรคะเห็น
ผู้ฟัง เห็นก็เป็นนามธรรมค่ะ
ท่านอาจารย์ ได้ยิน
ผู้ฟัง ได้ยินก็เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ได้กลิ่น
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ ลิ้มรส
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ค่ะไม่ยากเลยใช่ไหมคะนามธรรมกับรูปธรรมแต่จะยากอีกนิดหนึ่ง ถ้าแยก นามธรรมเป็นจิต และเจตสิกพราะว่านามธรรมมี ๒ อย่างนะคะ คือจิตกับเจตสิกจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏแต่จิตไม่ใช่สภาพจำไม่ใช่สภาพรู้สึกค่ะเป็นแต่เพียงสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏเท่านั้นนะคะเพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ถ้าอย่างนั้นขอถามว่าโกรธนะคะ เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก
ผู้ฟัง โกรธเป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ยินดีต้องการเป็นจิตหรือเป็นเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิกค่ะ
ท่านอาจารย์ เสียใจดีใจ
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ค่ะฝัน
ผู้ฟัง ฝันเหรอคะ เป็นเจตสิกเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้บอกว่าฝันว่ายังไงนะคะ ฝันเฉยๆ นะคะ
ผู้ฟัง เป็นจิตค่ะ
ท่านอาจารย์ ฝันเป็นจิตแต่ขณะนั้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยนะคะ เช่นความรู้สึกเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่กล่าวว่าถ้าไม่มีความรู้สึกซะแล้วนะคะ โลกนี้ก็ไม่มีกุศลอกุศลใดๆ ทั้งสิ้นเพราะเหตุว่าไม่รู้สึกค่ะ เพราะฉะนั้นตัวความรู้สึกเนี่ยเป็นสภาพนามธรรมที่ทำให้เราเนี่ย เห็นความสำคัญมากนะคะ เพราะว่าทุกคนเนี่ยก็ต้องการแต่สุขเวทนาโสมนัสเวทนา เพราะฉะนั้นความรู้สึกเป็นจิตหรือเป็นเจตสิก
ผู้ฟัง ความรู้สึก เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิกก็เข้าใจว่าทุกคนก็คงไม่สงสัยเรื่องจิตเจตสิกแล้วนะคะ
ถ้าไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะไม่มีทางเลยที่จะรู้ เพราะฉะนั้นแม้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ ไม่ปฏิเสธ แต่ว่าเราทำไมถึงจะหวั่นไหวที่เมื่อไหร่เราจะรู้มันเร็วแค่ไหน หรืออะไรอย่างนี้ไม่ต้องเป็นเรื่องคิดเลยค่ะเร็วก็คือว่าคุ้นเคยต่อการที่จะหลงลืมสติ นี่คือคุ้นเคยต่อการที่หลงลืมสติขณะใดก็ตามที่อกุศลจิตเกิดนะคะ ให้ทราบว่าขณะนั้นมีอวิชชาซึ่งตรงกันข้ามกับสติ แปลว่าเราหลงลืมสติอยู่เรื่อยๆ ขณะใดที่ฟังพระธรรมเข้าใจขณะนั้นก็ไม่ใช่เราแต่เป็นสติที่กำลังระลึกในสิ่งที่ได้ฟัง และปัญญาก็สามารถที่จะรู้ที่จะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่าถ้าขนาดนี้ไม่มีสตินะคะ เลื่อนลอยไปไหนก็ไม่รู้ฟังเท่าไรก็ไม่เข้าใจผ่านไปละนี่แสดงให้เห็นว่าขั้นฟังนะคะ ก็จะต้องมีสติแต่ว่าสติขั้นฟังเนี่ยไม่ใช่ขณะที่กำลังระลึก และสามารถประจักษ์แจ้งจริงๆ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าความหวั่นไหวเพราะอยากจะรู้เร็วไม่ใช่หนทางค่ะแต่หนทางคือค่อยๆ เข้าใจขึ้นแล้วก็เบาสบายแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ให้อกุศลคือเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่างตัณหาความต้องการมานะความสำคัญตนทิฏฐิความเห็นผิด เข้ามาเป็นเครื่องกั้น
ผู้ฟัง เพราะว่าเท่าที่ผมได้ทบทวนฟังเทปการสนทนาธรรมจากที่นี่ไปนะ ท่านอาจารย์จะพยายามแยกสภาพธรรมให้คนผู้ฟังทุกคนเนี่ยให้เห็นว่าให้เห็นโดยความเข้าใจก่อนว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงสภาพธรรมไม่ว่าจะเป็นความโกรธก็ดีจะเป็นความรู้สึกอะไรต่างๆ ก็ดีเป็นเพียงจิตก็ดีเป็นเจตสิกก็ดีเน้นอยู่ตลอดเวลานะฮะฟังแล้วก็ดูเข้าใจไม่คัดค้านนะครับ แต่ว่าพอมีการนึกขึ้นมาบอกเป็นเพียงสภาพธรรมรู้สึกมันช้าเหมือนลักษณะเดินขึ้นเขาครับ
ท่านอาจารย์ นั่นสิค่ะ และอะไรทำให้คิดว่าช้าอย่างนี้
ผู้ฟัง มันไม่ไวเหมือนคนอื่น
ท่านอาจารย์ นั้นซิค่ะอะไรทำให้คิดอย่างนี้
ผู้ฟัง ก็ทราบอีกว่าท่านอาจารย์บอกอวิชชามันรู้ไม่ได้ต้องเป็นวิชานะฮะบอกอย่างนี้เท่าไหร่เท่าไหร่นะมันก็อดมาเทียบระหว่างความรวดเร็ว
ท่านอาจารย์ โดยมากถ้าฟังจริงๆ นะคะ จะรู้ว่าถ้าพูดถึงเรื่องการเจริญสติปัฎฐานทั้งหมดโดยตลอดมานะคะ เพื่อให้ละโลภะแต่ว่าคนเนี้ยไม่เห็นโลภะแต่กับอยากที่จะให้ได้ซึ่งเป็นการส่งเสริมโลภะนี่แสดงว่าการฟังเนี่ย ไม่ตรงจุดใช่ไหมคะเพราะจุดทั้งหมดเนี่ยฟังเพื่อให้ละความต้องการแต่ว่าคนฟัง ฟังแล้วเกิดอยากจะรู้นี่ผิดแล้ว ถูกไหมคะ ฟังเพื่อละความต้องการค่ะไม่ต้องการแม้แต่ว่าสติจะเกิดเมื่อไหร่เพราะรู้ความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตานี่คือความเข้าใจจริงๆ ค่ะ เพราะฉะนั้นเรื่องของการเจริญสติปัฐานคือสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมเป็นอนัตตาถ้าวันนี้ทั้งวันสติไม่เกิดก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่ผิดธรรมดานะฮะ เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้ทั้งวันสติเกิดตั้งแต่เช้าจนเย็นเนี่ยผิดธรรมดา และต้องการแบบไหนต้องการแบบผิดธรรมดา หรือต้องการตามความเป็นจริงธรรมดา แค่นี้ก็คิดแล้วใช่มั้ยฮะถ้าเป็นคนที่มีโลภะมากก็อยากจะให้สติเกิดทั้งวันเพราะว่าส่วนใหญ่เนี่ยเราจะได้ยินคำว่าอยากให้มีสติมากๆ นี่ก็แสดงอยู่แล้วทั้งวันยิ่งดีใช่ไหมคะถ้าพูดอย่างนี้นี่หรือคะเป็นการส่งเสริมให้มีความรู้จริงๆ เพื่อล่ะอยากให้มีสติมากๆ อยากให้เกิดทั้งวันนี้แสดงว่าคนนั้นเนี่ยค่ะ เต็มไปด้วยโลภะค่ะ และสนับสนุนให้เกิดโลภะแต่จริงๆ แล้วการฟังพระธรรมให้แข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเรื่องอนัตตาาถ้าวันนี้สติไม่เกิดธรรมดา ต้องรู้ว่าเป็นธรรมดา และต้องการอย่างผิดธรรมดาหรือเป็นธรรมดาคะ
ผู้ฟัง ก็เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจขึ้นมาอีกนิดหน่อยว่าเพียงแค่กุศลจิตเกิดนี่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐแล้วเพราะปกติแล้วเนี่ยถ้าจะพิจารณาโดยขณะใกล้ๆ มาถึงขณะนี้เนี่ยนะฮะก็รู้ว่าอกุศลมากกว่าแม้แต่นั่งอยู่เฉยๆ นะฮะถ้ามีโอกาสเปรียบเทียบกับถ้าไม่เป็นไปในเรื่องทานเรื่องศีล เราว่าบุณยกิริยาวัตถุ ๑๐ เนี่ยมันก็ต้องเป็นในธรรมที่คุ้นเคยคืออกุศลอันนี้เข้าใจครับ
ท่านอาจารย์ และข้อสำคัญที่สุดอย่าลืมนะคะ ละโลภะ พระธรรมทั้งหมดเนี่ยนะคะ ที่ทรงแสดงตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ เพื่อปัญญา เพื่อให้รู้แล้วล่ะเพราะว่าถ้าปัญญารู้แล้วที่จะมั้ยละเนี่ยไม่มีค่ะแต่ถ้าไม่มีปัญญาเกิดขึ้นยังไงยังไงก็ต้องการอยู่
ผู้ฟัง แล้วก็อีกเรื่องหนึ่ง คือท่านอาจารย์เคยพูดในรายละเอียดถึงวิปัสสนาญาณต่างๆ อยากจะขอให้ท่านอาจารย์ด้วยช่วยอธิบายอีกสักครั้งว่าประโยชน์ของการพูดเรื่องวิปัสสนาญาณต่างๆ จะมีประโยชน์อะไรกับผู้ฟังที่ยังไม่มีโอกาสถึงขั้นอย่างนั้นได้นะครับ วันนี้
ท่านอาจารย์ เพื่อให้ไม่หลงผิดไม่เข้าใจผิดว่าถึงวิปัสสนาญาณ เพราะว่าบางคนนะคะ อยากถึงมากๆ เลยค่ะนั่งจ้องนะคะ เมื่อไหร่จะถึงถึงแล้วหรือยังนี้ใช่รึเปล่า นี่แสดงให้เห็นว่าต้องมีความรู้จริงๆ อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าอยากรูปแบบว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่มีตัวไม่มีตนนะฮะถ้าเป็นเพียงรูปนาม หรือจะจำแนกออกไปก็เป็นขันธ์ ๕ เนี่ยนะฮะ หรือรูปนาม รูปนามขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เนี่ยถ้าจะเข้าใจอย่างนี้แล้วก็เข้าใจจริงๆ ด้วยนะฮะ แต่ว่าจะเอาวิปัสสนาญาณมาช่วยสงเคราะห์อะไรยังไงได้ไหมครับ
ท่านอาจารย์ เข้าใจจริงๆ คือท่านเข้าใจจริงๆ แต่ถ้าเป็นสติปัฎฐาน และเป็นความรู้ที่ชัดนะคะ ตลอดเวลาขณะนี้สติระลึกทางทวารทั้ง ๕ และ ๖
ผู้ฟัง ไม่ใช่เพียงแต่พูดๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ค่ะนี้แสดงให้เห็นว่าสภาพธรรมเนี่ยกำลังปรากฏนะคะ ทางตา อย่างหนึ่ง ทั้งหูอย่างหนึ่งถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาที่ถึงความมั่นคงเป็นพละนะคะ จะไม่หวั่นไหวเลยไม่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอะไรก็ตามแต่เพราะระลึก และก็รู้ด้วยว่าแค่นิดเดียวหมดแล้ว และสติก็ระลึกทางทวารอื่นต่อไปเป็นปกติข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าเป็นปกติ ถ้าหวั่นไหวนิดนึงนะคะ ความต้องการอยู่ตรงนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฎฐานจึงรู้ว่าเรื่องของปัญญาเนี่ยรู้แล้วล่ะ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่รู้อย่าไปคิดเวลาค่ะจะไปบอกให้ละความเป็นตัวตน ละความเป็นตัวตนโดยปัญญาไม่เกิดไม่มีทางสำเร็จเพราะเหตุว่าต้องเป็นหน้าที่ของปัญญาเท่านั้น ที่รู้แล้วละได้ ไม่หวั่นไหวเลยไม่ว่าจะเป็นทางทวารไหน และรู้ด้วยว่าขณะไหนสติเกิด และสติก็ดับแต่ว่าสติก็เกิดทางทวารอื่นแล้วก็รู้ได้ว่าสติเป็นสติไม่ใช่เราที่กำลังจ้อง หรือกำลังอยากหรือกำลังพยายามเป็นเรื่องของการรู้แล้วละไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดความต้องการจนกว่าจะละสีลัพพตปรามาสกายคันถะคือความเห็นผิดในข้อปฏิบัตินะคะ ซึ่งจะรู้ได้ว่าขณะใดผิดปกติแม้นิดเดียวขณะนั้นก็คือผิด ยิ่งอบรมเจริญปัญญามากเท่าไหร่นะคะ ก็ยิ่งรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วปัญญารู้สภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริงขณะหนึ่ง ขณะใดได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ฟัง นี่พูดถึงข้อปฏิบัติที่จะไปแสวงหานี้สำหรับตัวผมเองนี้รู้สึกจะมีความมั่นคงครับ ว่าวิธีอื่นหรือข้อปฏิบัติอย่างอื่นเนี่ยมันยอมรับไม่ได้นะฮะไม่ว่าจะเป็นการไปฝึกอะไรกันตามเนี้ยนะฮะแล้วทำให้เกิดความรู้สึกว่าโอเรารู้สึกว่าสบายใจได้แล้วไอ้เรื่องที่จะไปแสวงหาข้อปฏิบัติอื่นคงไม่มีอีกแล้วความคิดอย่างนี้จะมั่นคงไปได้ตลอดนะครับ หรือว่าต้องวิปัสสนาญาณเกิดแล้วจึงจะกล่าวได้ว่าผู้นั้นไม่ไปยึดถือข้อปฏิบัติที่เป็นนอกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจในเหตุผลนะคะ แล้วก็เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังพอที่จะมั่นใจได้ว่าคงจะไม่ไปทางอื่นแต่ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทด้วย เพราะเหตุอะไรคะเพราะเหตุว่าทุกคนเนี่ยถ้าจะพูดถึงว่าเข้าใจพระพุทธศาสนาแต่ระดับไหน ถ้าเข้าใจขั้นศึกษาปริยัติก็ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเข้าใจการอบรมเจริญปัญญา เพราะว่าส่วนมากโดยมากจะพูดถึงปฏิบัติๆ แล้วก็ชวนกันซะจริงเลยพอถึงวันสำคัญวันดีคืนดีก็ชวนกันไปปฏิบัติธรรม แต่จริงจริงแล้วเนี่ยไม่ได้เข้าใจเลยค่ะว่าใครปฏิบัติไม่ใช่ตัวเราเลยนะคะ ขณะนี้สภาพของปรมัตธรรมคือจิตเจตสิกกำลังเกิดขึ้นทำหน้าที่ของจิตเจตสิกแต่ละประเภท เพราะฉะนั้นไม่มีเราที่จะปฏิบัติแม้แต่มรรคมีองค์ ๘ นะคะ ก็เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นทำกิจของเจตสิกนั้นๆ ก็ไม่ใช่เราปฏิบัติอีก
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120