สนทนาธรรม ตอนที่ 087
ตอนที่ ๘๗
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ายังไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าใจสองคำนี้ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจว่าธรรมคืออะไร ก็ไปคิดเรื่องธรรมเป็นกุศลธรรมเป็นคำสอนเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่เพราะเหตุว่าธรรมกว้างขวางมาก หมายความถึงคุณความดีก็ได้ หมายความถึงพระธรรมก็ได้ เพราะว่าถ้าพูดถึงฝ่ายกุศลก็เป็นฝ่ายดี ถ้าพูดถึงธรรมเทศนาก็เป็นจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ทุกอย่างที่มีจริงก็ไม่ใช่มีแต่เฉพาะกุศลธรรม อกุศลธรรมก็มี โดยที่ว่าคนที่จะดีขึ้นไม่รู้ลักษณะว่าตัวเองมีอกุศลเท่าไรเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย มีใครชอบคนไม่ดีบ้าง คนไม่ดีมากๆ น่าเกลียดมีใครชอบบ้างหรือไม่
ผู้ฟัง ตัวเองก็ไม่ดีอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ว่าเกลียดคนอื่นหรือไม่ชอบคนอื่นมากกว่าตัวเองใช่ไหม จากคำพูดที่กล่าวถึงบุคคลอื่นแสดงให้เห็นเลยว่าเราไม่ชอบสิ่งที่ไม่ดี แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ดีคนที่ไม่ชอบผิดหรือถูก
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ตรงจากใจจริงของทุกคนคือชอบคุณความดี เราอาจจะไม่ชอบชื่อนี้แม้ว่าเขาทำดีเพราะว่าเราไม่ชอบเขา แต่ตัวความดีจริงๆ เราชอบหรือเปล่า ทุกคนชอบหรือเปล่า แล้วสภาพนั้นก็ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลยนอกจากอยู่ที่จิตของแต่ละคน เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเข้าใจเรื่องจิตยิ่งขึ้นเราก็จะรู้ว่าแทนที่เราจะกลายเป็นคนที่ไม่ดียิ่งขึ้นทุกวันๆ ๆ ก็มีทางที่เราจะค่อยๆ ดีขึ้นวันละเล็กวันละน้อยทั้งทางกายทั้งวาจาทั้งใจด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องเห็นประโยชน์ และเห็นว่าทุกสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่นำประโยชน์สุขมาให้ แต่สิ่งที่ไม่ดีเราจะไม่ชอบ แต่ว่าเรามักจะมีข้อยกเว้นว่าเป็นของคนอื่นเราไม่ชอบ แต่ของเรารู้สึกว่าจะให้อภัย และให้อภัยเร็วด้วยค่ะ แป๊ปๆ ก็ไม่เป็นไรหรืออะไรอย่างนี้ แต่ความจริงไม่ได้เลย เพราะว่าความชั่วของคนอื่นหรือความไม่ดีของเขาก็ติดตามเขาไป แต่ของเราก็ต้องติดตามเราไป ที่กำลังฟังมีใครกำลังฟังบ้าง มีตัวตน มีเราจริงๆ หรือเปล่า ถ้าจิตเกิดมีการเห็น มีการได้ยิน และก็มีการคิดในขณะที่กำลังฟัง นั่นคือจิตไม่ใช่เรา แต่เราเคยไปยึดถือจิตว่าเป็นเรามานานแสนนานความรู้สึกก็เป็นเรา ทุกอย่างในโลกนี้เป็นเราหมด แต่เมื่อเราได้ฟังธรรมตั้งแต่คำแรกคืออนัตตา พุทธศาสนาสอนเรื่องอนัตตา เพราะว่าพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ความจริงว่าสิ่งที่มีเป็นอนัตตา อะ แปลว่าไม่ ไม่ใช่อัตตา คือไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นทราบได้เลยว่าคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เพียงสอนให้เข้าใจ แค่เข้าใจดับกิเลสไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็สอนจนกระทั่งถึงสามารถที่จะดับกิเลสจนหมดด้วย มีหนทางจริงๆ แต่หนทางเป็นหนทางที่ยาวไกลนาน แต่ถ้าเราไม่เริ่มเดินในชาตินี้เมื่อไหร่เราจะถึง คำสอนของพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราท้อถอย แต่สอนให้รู้ว่าความจริงมีจริงๆ แล้วเป็นความจริงแท้ๆ ถ้าจะกล่าวว่าความจริงคืออะไร ถ้าไปถามพวกนักปราชญ์ ปรัชญาจิตวิทยาก็จะตอบกันไปคนละแบบ แต่ตามพุทธศาสนาความจริงคือสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ สิ่งที่จริงกำลังเห็นจะบอกว่าไม่จริงไม่ได้ เสียงกับได้ยินก็จริง จะบอกว่าไม่จริงก็ไม่ได้ จิตคิดนึกก็จริง เพราะฉะนั้นถ้าใครสามารถจะรู้ความจริงขณะนั้นก็เป็นสภาพของเจตสิกที่เป็นปัญญาเจตสิกที่สามารถจะเข้าใจความจริงนี้ได้โดยขั้นการฟังโดยขั้นที่จะอบรมต่อไปจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ก็ไม่ได้ประจักษ์แจ้งอย่างอื่นนอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าคลาดเคลื่อนไปนิดเดียวก็คือไปรู้เรื่องราวคิดนึก คิดนึกก็จะติดตามการเห็น พอเห็นแล้วคิดสารพัดเรื่องในสิ่งที่ปรากฏ พอได้ยินก็คิดตามเสียงที่ได้ยินอีก พอได้กลิ่นก็ตามกลิ่น คิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ พอลิ้มรส เมื่อกี้นี้ใครรับประทานอะไรบ้าง ข้าวเหนียวเหลือง ฟังต่อ๐๔.๕๘ เห็นไหมว่าตามรสที่ปรากฏความคิดของเราจะตามทุกอย่างที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เก็บไว้อีกในใจสำหรับคิดต่อไม่จบ ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องแยกความจริงให้รู้ว่าจริงแท้ๆ ทางตาคืออะไร ทางหูคืออะไร ทางจมูกคืออะไร ทางลิ้นคืออะไร ทางกายคืออะไร ทางใจคืออะไร สภาพของนามธรรมมีฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล หรือฝ่ายที่ไม่ใช่ทั้งกุศล อกุศล ถ้าแยกละเอียดก็คือว่าถ้าเป็นฝ่ายดี จะใช้คำว่าโสภณ ขณะใดที่จิตฝ่ายดีเกิดขึ้น ยกตัวอย่างกุศลจิตเป็นจิตฝ่ายดี ขณะนั้นจะมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยที่แสดงความไม่ใช่เรา เพราะว่าทรงแสดงจิตแม้หนึ่งขณะว่า ขณะที่เกิดเป็นกุศล ไม่ใช่ว่าเราไปทำหรือว่ามีใครไปจัดแจง แต่มีเหตุปัจจัยคือเจตสิก ๑๙ ชนิดเกิดร่วมกับจิตนั้นในขณะที่เป็นกุศล แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นจิตหนึ่งขณะที่เกิดทรงแสดงไว้ว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ ถ้าเป็นจิตประเภทนี้หรือถ้าเป็นจิตประเภทนั้นตามที่ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่เป็นกุศลจิตจะต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยมีเอกัคคตาเจตสิกซึ่งเป็นลักษณะของสมาธิเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ จึงมีทั้งอกุศลสมาธิ และกุศลสมาธิด้วยเพราะเหตุว่าสมาธิไม่ใช่ต้องเกิดกับกุศลจิตเท่านั้น หรือไม่ใช่ว่าต้องเกิดกับอกุศลจิตเท่านั้น เอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ นี่เป็นการที่เราจะค่อยๆ เรียนค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจโลก เพราะเหตุว่าถ้าจิตไม่เกิดโลกไม่ปรากฏ คำว่าโลกจริงๆ หมายความถึงสภาพที่เกิดดับ อะไรไม่ใช่โลก ปรมัตถธรรมหรือสภาพธรรมที่มีจริง จำง่ายมากเลย แค่ ๔ จิต๑ เจตสิกอีก๑ รูปอีก๑ นิพพานอีก๑ ปรมัตถ์ธรรมมี ๔ เพราะฉะนั้นจิตก็เกิด และก็ดับ เจตสิกก็เกิดแล้วก็ดับ รูปก็เกิดแล้วก็ดับ ทุกอย่างที่เกิดดับเป็นโลก ที่จะเกิดขึ้นแล้วไม่ดับได้ไม่มีเลย ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ต้องเกิดดับอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้นอะไรที่ไม่เกิดไม่ดับ นิพพานอย่างเดียว ก็ยังไม่มีในที่นี้หรือไม่ปรากฏก็ไม่ต้องไปคิดถึง แต่ให้ทราบว่าปรมัตถ์ธรรมมี ๔ ไม่ใช่มีเพียง ๓ เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตที่ดีเกิดมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะว่าเวลาที่เราคิดในเรื่องอกุศล สติเจตสิกเกิดไม่ได้เลย บางคนก็บอกว่าให้ระลึกให้นึกถึงความหลังเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ขณะที่นึกถึงระลึกถึง คิดถึงในภาษาไทยที่เราใช้ไม่ใช่สติเจตสิก ต่อเมื่อไหร่ขณะใดที่เป็นกุศลยกตัวอย่างแค่กุศลขณะนั้นจะต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย สมาธิก็ไม่ต้องไปทำ เพราะมีสมาธิเอกัคคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกขณะอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นในขณะนี้เองทั้งสติ และสมาธิก็กำลังมีเกิดดับอยู่ตลอดไป ขณะที่กำลังฟังแต่ละขณะเป็นสังขารขันธ์อย่างเวลาที่เราเรียนเรื่องขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์ หนึ่ง เวทนาขันธ์ หนึ่ง สัญญาขันธ์ หนึ่ง สังขารขันธ์ หนึ่ง วิญญาณขันธ์ หนึ่ง ถ้าไม่ศึกษาธรรมก็เป็นชื่อรูปขันธ์ก็ยังบอกไม่ได้ว่าอะไรเป็นรูปขันธ์ รู้แต่เพียงว่ารูปขันธ์มี๑ นามขันธ์มี๔ แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่ารูปหมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริงแต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ไม่จำเป็นต้องมองเห็น อย่างกลิ่นนี้ก็เป็นรูป รสก็เป็นรูป ตัวเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็เป็นรูป แสนโกฏกัปมาแล้วแข็งก็คือแข็งไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เสียงชาติก่อนๆ โน้นซึ่งเกิดแล้วก็ดับไปก็มีลักษณะที่เป็นเสียงไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้นรูปธรรมแต่ละชนิดก็มีลักษณะที่ต่างๆ กัน เสียงก็มีหลายเสียงแต่ก็เป็นรูปขันธ์ รสก็มีหลายๆ รสแต่ก็เป็นรูปขันธ์ รสในอดีตจะเป็นนามขันธ์ไม่ได้ จะเป็นสภาพรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นรสในอดีตก็เป็นรูขันธ์ รสที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าก็เป็นรูปขันธ์ คือรูปขันธ์ก็ยังคงเป็นรูปขันธ์ไม่ว่าจะเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน หยาบ ละเอียด เลว ประณีตก็ตามแต่ ก็เป็นประเภทรูปขันธ์ แต่ว่าถ้าไม่มีนามขันธ์เกิดขึ้นก็จะไม่มีการรู้การเห็น โลกก็ไม่ปรากฏ เพียงแค่ที่เราได้ฟังธรรมแล้วก็แยกเป็นนามธรรม รูปธรรมต่อไป ความเข้าใจของเราก็จะละเอียดขึ้นจนกระทั่งสามารถเข้าใจได้ว่าที่เราเคยได้ยินคำว่าขันธ์ ๕ ได้แก่ปรมัตอะไร ถ้าศึกษาธรรมจะต้องกลับมาหาปรมัตถธรรม ได้ยินขันธ์ ๕ ก็ต้องรู้ว่าอะไรเป็นรูปขันธ์ มีเท่าไหร่ อะไรเป็นเวทนาขันธ์ปรมัตถ์อะไร อะไรเป็นสัญญาขันธ์ อะไรเป็นสังขารขันธ์ อะไรเป็นวิญญาณขันธ์ อย่างอื่นนอกจากจิต เจตสิก รูป จะเป็นขันธ์ได้ไหม เพราะอะไร
ผู้ฟัง มีอยู่เท่านี้
ท่านอาจารย์ มีอยู่เท่านี้ คือว่ามีแต่จิต เจตสิก รูป ใช่ไหม และนิพพานก็ไม่ใช่ขันธ์เพราะเหตุว่านิพพานไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไม่ใช่สภาพธรรมที่เกิด ไม่ใช่สภาพธรรมที่ดับ ถ้าทรงแสดงเรื่องอริยสัจจะได้แก่ปรมัตธรรมอะไร ต่อไปเราก็จะรู้ขึ้นจะไม่พ้นจากปรมัตถธรรมเลย เหมือนอย่างเกลือจะไปอยู่ในแกงจืด แกงเผ็ด ไปอยู่ในขนม จะไปอยู่ไหนอะไร เกลือก็คือเกลือ เพราะฉะนั้นเจตสิกทั้งหลายจะไปอยู่ที่ไหน ตรงไหนอย่างไรก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นขันธ์อะไร ก็จะเป็นขันธ์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ขณะนี้มีสติเจตสิกหรือไม่ จิตเป็นกุศลหรือไม่ขณะที่สติเจตสิกเกิด
ผู้ฟัง เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นกุศล ถ้าขณะนี้เกิดง่วง เกิดเบื่อ สติเจตสิกเกิดหรือไม่ขณะนั้น
ผู้ฟัง ไม่เกิด
ท่านอาจราย์ ไม่เกิดเพราะว่าขณะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ เป็นอกุศล ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วก็จะต้องเดินไปโน่นมานี่ แล้วก็ไม่หกล้มเดินดี สติเจตสิกเกิดรึไม่
ผู้ฟัง ไม่เกิด
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะไม่มีโสภณเจตสิก
ท่านอาจารย์ เพราะขณะนั้นไม่ใช่กุศล กุศลต้องเป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบซึ่งเป็นสมถภาวนา หรือเป็นสติปัฎฐานซึ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจโดยฟัง แต่ขณะนี้ต้องมีปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งสามารถจะรู้ลักษณะของปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏ นี่กำลังเป็นเรื่องราว เพราะฉะนั้นปัญญานี้ก็จะค่อยๆ เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งไปจากการฟังเข้าใจเรื่อยๆ
ผู้ฟัง แต่สติปัฏฐานนี่ ระลึกรู้ว่าโดยที่ไม่มีตัวเรา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นสติระลึกไม่ใช่คุณบงจะไปทำให้เขาเกิด แต่คุณบงกำลังจะให้ไปรู้ตรงได้ยินกับเสียงว่าขณะนั้นสติตรงนั้นไม่เกิด
ผู้ฟัง แต่ว่าไม่ใช่แบบไม่มีตัวตนที่ระลึกรู้โดยออโตเมติก
ท่านอาจารย์ ก็ใช่ เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเข้าใจว่ากว่าจะเข้าใจ และความเข้าใจเขาเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ถ้ามีปัญญาเกิดปัญญาก็ค่อยๆ เจริญ แต่ถ้าขณะนี้ปัญญาไม่เกิดจะเอาอะไรเจริญเมื่อไหร่ ก็ต้องทีละขณะ ๒ ขณะไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง รูปขันธ์ในอดีต หมายความว่าอย่างไร รูปขันธ์ในอนาคต รูปขันธ์ในปัจจุบันนี้หมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็เป็นคำจำกัดความของคำว่าขันธ์ได้ คือหมายความว่าเป็นสภาพธรรมที่จำแนกออกได้เป็น ๑๑ อย่าง แต่ ๑๑ อย่างมีอยู่ในหนังสือแล้ว อะไรที่มีอยู่ในหนังสืออยากจะให้ทุกคนค้น ไปอ่าน แล้วก็จะแตกฉาน แทนที่จะให้มีคนบอกแล้วก็ลืม แล้วก็บอก แล้วก็ลืม หรือว่าบอกแล้วก็จด แต่ว่าถ้าเป็นค้นเองจะเข้าใจขึ้นแล้วก็บางครั้งค้นหนังสือเล่มเดียวข้อความหนึ่งอ่านจบหมดเลยทั้งเล่มเพราะว่ามีสิ่งที่น่าสนใจมากที่ไพเราะ และที่เป็นประโยชน์จริงๆ ก็เป็นการที่จะช่วยพวกเราค้นคว้าเพื่อที่จะได้ แทนที่อ่านตอนเดียวก็อาจจะอ่านทั้งเล่มก็ได้ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่เท่าที่ผ่านมา แม้แต่คุณนี่นาเองดิฉันก็จะสนับสนุนให้เข้าใจธรรมก่อนแล้วไปค้น และประโยชน์จากการค้นจะได้มากเลย คือว่าแทนที่จะได้ข้อความตอนเดียวจะได้อีกมากมาย ก็จะมีความแตกฉานมากกว่าที่เราจะไม่อ่านเอง สำหรับคำว่าขันธ์จำแนกออกเป็น ๑๑ อย่าง ทิ้งไป ๘ อย่างให้ไปหาเอง ถ้าบอกชื่อเดี๋ยวนี้ก็ได้แต่ไม่มีประโยชน์เพราะว่าต้องไปอ่านอีกแล้วจะเจอความละเอียดอีกมากมายซึ่งน่าสนใจ เพราะฉะนั้นก็ทราบเพียงแต่ว่าสิ่งที่จำแนกเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต แค่นี้เราก็คิดได้แล้วว่าต้องหมายความถึงสิ่งที่เกิดดับ ถ้าไม่เกิดแล้วดับจะเป็นอดีตปัจจุบันอนาคตได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้กำลังเป็นปัจจุบันแล้วดับ เมื่อดับแล้วก็เป็นอดีต และก็สิ่งซึ่งจะเกิดต่อจากขณะนี้ซึ่งยังไม่มาถึงคืออนาคต แต่เมื่อปัจจุบันขณะนี้ดับ สิ่งที่เป็นอนาคตก็เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นก็จะไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เกิดดับ สิ่งใดที่ไม่เกิดดับสิ่งนั้นจึงไม่มีอดีต อนาคต ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอย่างเดียวซึ่งพ้นจากการเป็นขันธ์เพราะเหตุว่าไม่เป็นอดีต ไม่เป็นอนาคต ไม่เป็นปัจจุบัน เพราะไม่เกิดขึ้นไม่ดับไป สภาพธรรมนั้นคือนิพพาน
เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นความต่างกันของปรมัตถ์ธรรม ๔ ว่าสำหรับปรมัตถ์ธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป เกิดดับ เพราะฉะนั้นจึงมีจิตที่เป็นอดีตซึ่งเกิดแล้วดับ แล้วรูปซึ่งเป็นอดีตที่เกิดแล้วดับ แล้วเจตสิกซึ่งเป็นอดีตเพราะเกิดแล้วดับแล้ว แต่ส่วนนิพพานไม่เกิด เพราะฉะนั้นจะจำแนกเป็นอดีตเป็นปัจจุบันเป็นอนาคตไม่ได้ นี่ก็เป็นธรรม ซึ่งถ้าเราไตร่ตรองในขณะที่ฟัง ถึงแม้หนังสือจะไม่บอก เราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าก็หมายความถึงจิต เจตสิก รูป เพราะว่าเป็นขันธ์ ซึ่งเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต
ผู้ฟัง บอกว่าจิตเกิดขึ้นได้อย่างไรบอกว่าจิตเกิดขึ้นเพราะมีเจตสิก ถ้าเราจะถามว่าเจตสิกเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องตอบว่าเพราะมีจิต
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง อย่างไหนเป็นใหญ่กว่าอย่างไหน
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นใหญ่แต่ละส่วน เช่นจิตเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ จึงชื่อว่ามนินทรีย์ เวลานี้เรากำลังพูดถึงนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ ดูเสมือนว่าเราเข้าใจ แต่ความจริงแล้วถ้ารู้ลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้จริงๆ จะเห็นได้ว่า ขณะนั้นไม่มีอย่างอื่นเลยทั้งหมด เวลาที่สภาพรู้ปรากฏ แต่มีสภาพที่เป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้นลักษณะของสภาพที่รู้ในขณะนั้นโดยไม่มีอย่างอื่นเลยนั่นคือความเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ นั่นคือลักษณะซึ่งธาตุชนิดหนึ่งเกิดขึ้นแม้ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นเพราะว่าขณะนั้นธาตุนั้นกำลังเป็นอารมณ์ของปัญญาที่รู้ธาตุนั้น เพราะฉะนั้นธาตุนั้นจะปรากฏเป็นเพียงธาตุรู้ลักษณะรู้ ซึ่งลักษณะนั้นคือมนินทรีย์ความเป็นใหญ่ขณะที่รู้แจ้งอารมณ์ แต่ไม่ใช่มีแต่จิตเท่านั้นที่เป็นใหญ่ ความรู้สึกทุกชนิดเป็นใหญ่ด้วย เช่นโสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจเป็นใหญ่แน่นอนเวลาที่ได้ข่าวที่เป็นข่าวดีมากๆ ขณะนั้นลักษณะของจิตจะไม่เป็นใหญ่เป็นสภาพที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เกิดจนตายขณะนี้กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก นั่นคือจิต ซึ่งไม่ใช่เจตสิกใดๆ ไม่ใช่รูปใดๆ เป็นแต่เพียงเป็นใหญ่ในการรู้ แต่ว่าเวลาที่มีความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นเห็นลักษณะความเป็นใหญ่ของความรู้สึกอย่างนั้น ทุกข์ทางกายเวลาที่เจ็บปวดมากๆ อย่างอื่นจะไม่ปรากฏเลย ไม่ได้คิดถึงเรื่องทรัพย์สมบัติ ไม่ได้คิดอะไร มีแต่ความรู้สึกทุกข์กายที่เกิด ขณะนั้นทุกขเวทนาเป็นใหญ่ ครอบงำทุกอย่าง หรือถ้ากายไม่เป็นอะไรเลยแต่ใจเศร้าหมองหดหู่ไม่เบิกบานขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่าโทมมนัสเวทนาเป็นใหญ่ อาหารบนโต๊ะก็อร่อย ดอกไม้ที่ไหนๆ ก็สวยดี บ้านช่องทุกอย่างยังเรียบร้อยเหมือนเดิม แต่ใจไม่เป็นสุข เพราะว่าใจขณะนั้นมีโทมนัสเวทนา ความขุ่นเคืองหรือความไม่แช่มชื่นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นลักษณะของเวทนานั้นก็เป็นใหญ่ที่ทำให้แม้ทุกอย่างสบายสวยดีเรียบร้อยแต่ก็โทมนัสเวทนาเป็นใหญ่
เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงอินทรีย์ไม่ใช่มีแต่มนินทรีย์ยังมีอินทรีย์อื่นๆ อีกทั้งหมด ๒๒ อินทรีย์ ยังมีข้อสงสัยตอนนี้หรือไม่เรื่องจิตกับอารมณ์ แล้วก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น คือจิตให้ทราบว่าเกิดขึ้นเองตามลำพังไม่ได้ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมต้องมีเหตุปัจจัย ใครจะบอกว่าไม่มี หมายความว่าคนนั้นไม่รู้ เพราะฉะนั้นจิตที่จะเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้งปรุงแต่ง และเจตสิกที่จะเกิดได้ก็เพราะมีจิต ถ้าไม่มีสภาพรู้หรือธาตุรู้เพียงอย่างเดียว เจตสิกทั้งหลายก็เกิดไม่ได้โสมนัสเวทนาก็เกิดไม่ได้ โทมนัสเวทนาก็เกิดไม่ได้ อุเบกขาเวทนาก็เกิดไม่ได้ ความรู้สึกใดๆ ในวันหนึ่งซึ่งเรารู้สึกว่าสำคัญก็เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจะเห็นความสำคัญของทั้งจิต และเจตสิกซึ่งต้องเกิดร่วมกัน
ผู้ฟัง ขอฟังตัวอย่างเรื่องธรรมารมณ์
ท่านอาจารย์ คือเรื่องชื่อเป็นเรื่องที่สำคัญที่ปิดกั้น อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาไม่เรียกอะไรเลยก็ยังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ถ้าเรียกเป็นภาษาบาลีก็คือรูปารมณ์หรือภาษาบาลีก็ต้องเป็นอารัมณะ รูปารัมมณะ แต่ก็แล้วแต่ว่าเราจะเคร่งครัดขนาดไหน เพียงแต่ให้ทราบว่า ถ้าออกเสียงโดยการถูกต้องสากล ต้องออกเป็นอารัมณเป็นรูปารัมณ แต่ว่าถ้าเป็นคำที่เราใช้จนชินหูก็คือรูปารมณ์ ถ้าได้ยินคำว่ารูปารมณ์ไม่ต้องตื่นเต้นเลย สิ่งที่กำลังปรากฏที่กำลังเห็นในขณะนี้เรียกชื่ออย่างนี้เพราะว่าเป็นภาษาบาลีเท่านั้นเอง เพราะทรงแสดงพระธรรมโดยภาษาบาลี เวลาที่มีคำว่ารูปารัมณเราก็เข้าใจได้ธรรมดาๆ หมายความถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา นี่หนึ่งอารมณ์ซึ่งต้องอาศัยจักขุประสาทเป็นจักขุนทรีย์ เห็นไหมว่ามีรูปที่เป็นใหญ่อีกหนึ่งรูปที่ตัวทั้งหมดนี่มีธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม แต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ได้เป็นใหญ่ที่จะให้เกิดการเห็น การได้ยินอะไรได้เลย แต่เวลานี้กำลังเห็นต้องมีจักขุประสาทรูป มีรูปพิเศษซึ่งใครๆ ก็มองรูปนี้ไม่เห็น สัมผัสก็ไม่ได้ แต่ว่ามีลักษณะที่สามารถกระทบสี และก็ทำให้จิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นรูปนี้อีกรูปหนึ่งเป็นจักขุนทรีย์เป็นใหญ่จริงๆ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีรูปนี้โลกมืด อะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้ แต่เพราะเหตุว่ามีรูปนี้ต่างหากซึ่งเป็นใหญ่จึงทำให้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตานี้ปรากฏได้ นี่คือหนึ่งอารมณ์ หนึ่งทวาร
ทางหูกำลังได้ยินฟังมาเพลิน ลืมคิดถึงเหตุปัจจัยของจิตได้ยินว่าถ้าไม่มีโสตประสาทรูป เสียงปรากฏไม่ได้เลย แม้ว่าจะมีเสียงแต่เสียงไม่ปรากฏ เพราะเหตุว่าเสียงจะปรากฏกับจิต และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน ซึ่งกำลังได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นในขณะนี้โสตประสาทเป็นโสตินทรีย์ในขณะที่มีจิตได้ยินเกิดขึ้น และเสียงก็คือสัททารมณ์ คือใช้คำภาษาบาลี สัททะแปลว่าเสียง รวมกับคำว่าอารัมมณก็เป็นสัททารมณหรือสัททารมณ์หมายความว่าขณะนี้เสียงนี้ที่ปรากฏแล้วดับเป็นสัททารมณ์ นี่ทางหู
ทางจมูกก็เพิ่มภาษาบาลีว่าคันธารมณ์ กลิ่น ทางลิ้นก็รสารมณ์ รส ทางกายก็โผฏฐัพพารมณ์ คือเย็น หรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึง หรือไหว
นี่คือชีวิตประจำวันซึ่งกำลังเห็นอยู่หนึ่งอารมณ์ กำลังได้ยินอยู่หนึ่งอารมณ์ ถ้ากระทบสัมผัสทางกายก็อีกหนึ่งอารมณ์ ถ้ากลิ่นปรากฏก็อีกหนึ่งอารมณ์ ถ้ารสปรากฏก็อีกหนึ่งอารมณ์ รวม๕ อารมณ์ เหลืออีกอารมณ์หนึ่ง ซึ่งก็เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ทุกคนคิดนึกหรือไม่ ไม่ใช่แค่เห็น ไม่ใช่แค่ได้ยิน แต่ยังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นเรื่องราวต่างๆ ที่จิตกำลังรู้ไม่ต้องอาศัยตา ตาเพียงแต่ทำให้จิตเห็นหรือจิตที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ได้คิดอะไร
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120