สนทนาธรรม ตอนที่ 091
ตอนที่ ๙๑
อ.สมพร ภวังค์นี่มาจาก ภวะ กับ อังคะ นะครับ ภวะ ก็หมายความว่า ภพ คือการเกิดนั่นเอง แต่อันนี้มันสืบต่อมาจากปฏิสนธิเป็นชาติเดียวกับปฏิสนธิ เป็นวิบากเหมือนกัน องค์ของภพ ส่วนของภพ หมายถึงว่าจิตดวงนี้ ทำหน้าที่ดำรงภพชาติสืบต่อจากปฏิสนธิ จิตนั้นนะครับ ต้องมีความสืบต่อ ติดต่อกันไปเลยนะครับ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป จนกระทั่งจุติ จึงเคลื่อนนะ จากโลกนี้
ตั้งแต่ปฏิสนธิไม่มีขาดตอนเลย จิต จึงมีภวังคะสืบต่อนะครับ เมื่อมีปฏิสนธิแล้วก็มีภวังคะ แล้วก็จนกระทั่งรับอารมณ์แล้วก็ต้องมีภวังคะ มิฉะนั้นแล้วจิตนี้ก็จะขาดตอน จิตนั้นไม่ได้ขาดตอนเลย เรียกว่าจิตสันดานนะครับ
ท่านอาจารย์ ถามนิดหนึ่งนะคะ ทวนกลับไปที่ความหมายของคำว่าภวังค์นี่คะ เมื่อกี้อาจารย์ก็บอกแล้วว่าภวังค์คือจิตซึ่งเกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติ เพราะฉะนั้นถ้าจิตนี้ไม่เกิด และเป็นไง ตอบเองได้ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีภวังคจิต ก็คงเป็นจุติจิตไปเลย
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะว่าความหมายบอกแล้วว่าภวังคจิตคือจิตที่เกิดขึ้นทำกิจภวังค์ดำรงภพชาติ เพราะฉะนั้นถ้าจิตนี้ไม่เกิดขึ้นดำรงภพชาติก็คือ ตายค่ะ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามอาจารย์นิดนะครับ ถ้าเผื่อเห็นแล้วได้ยินนะ สมมติว่าไม่มีภวังคจิตคั่น จะได้ไหม จะได้ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลยค่ะ เพราะเหตุว่าต้องอาศัยเสียง ที่เกิดกระทบกับโสตประสาทจึงจะเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่ทางตากำลังเห็น สีทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาต้องดับด้วย เมื่อดับแล้วจะให้ได้ยินไม่ได้ ต้องมีภวังค์ดำรงภพชาติ
ผู้ฟัง ก็ได้ยินต่อเลย เป็นอนันตรปัจจัย
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ไม่มีทางค่ะ เพราะเหตุว่าจะต้องมีเสียงเกิดพร้อมกับการกระทบกับภวังค์ จิตเป็นปัจจัยนะคะ แล้วก็ยังมีจิตเกิดต่อไปอีก และโสตวิญญาณจึงจะเกิดขึ้นได้
ผู้ฟัง หรือได้ยินแล้วคิดต่อเลยได้ไหมโดยไม่มีภวังค์คั่น
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางค่ะ ไม่มีทาง
ผู้ฟัง ไม่ได้เลยใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลยค่ะ
ผู้ฟัง เป็นธรรมชาติของเขาอย่างนั้น
อ.สมพร เป็นจิตตนิยาม
ท่านอาจารย์ ไม่อย่างงั้นจะให้เสียงกระทบกับอะไรคะ
ผู้ฟัง เสียงก็ต้องกระทบกับโสตปสาท
ท่านอาจารย์ แต่เวลานี้กำลังเห็นนี่คะ ที่หมอบอกว่าถ้าเห็นแล้วนะคะ จะให้ได้ยินเกิดต่อทันทีโดยไม่มีภวังค์คั่นเลย เพราะฉะนั้นขณะที่สีกำลังปรากฏทางตามีจิตเห็นเกิดขึ้น และยังมีวิถีจิตที่เกิดสืบต่อ ที่จะรู้สีนั้น และยังจะชอบไม่ชอบในสีนั้น เป็นกุศลอกุศลในสีนั้น กว่าสีนั้นจะดับเพราะว่ารูปทุกรูปที่เป็นสภาวรูปนี่คะ ต้องมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปนั้นจึงจะดับ เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ได้ยินต่อจากทาง วาระทางจักขุทวารวิถีเลยนี่ จะให้เสียงกระทบกับอะไร เพราะว่าเขากำลังมีอารมณ์ทางตา กำลังเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง ผมอาจจะพูดข้ามขั้นไป โดยชื่อ โดยจิตตนิยามแล้ว คือว่าวิถีจิตทางตาเกิดแล้ว ก็จะต้องไปทางใจ ทางใจจบแล้วก็จะไปทางวิถีจิตอื่นต่อไปนะ ทีนี้ที่ผมสงสัยก็คือว่า อย่างวิถีจิตทางตาแล้ว พอไปทางใจนี่ก็โดยไม่มีภวังค์คั่น ก็เกิดต่อไปเลยได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย
ผู้ฟัง หรือว่าทางใจจบแล้ว ก็ไป
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ค่ะ พอรูปดับแล้วใช่ไหมคะ จิตต้องเกิดดำรงภพชาติก่อน แล้วถึงภวังค์ไหว ไม่อย่างนั้นจะไหวที่จะรับอารมณ์ต่อจากนั้นไม่ได้ค่ะ
ปรมัตถธรรม ๔ นะคะ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน สำหรับปรมัตถธรรมที่เกิดปรากฏ ก็มีแต่ จิต เจตสิก รูป เพราะฉะนั้นขันธ์นี่ เข้ามายังไง ตอนไหน ในเมื่อบอกว่าเป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ความมุ่งหมายการที่บัญญัติเป็นขันธ์ด้วยนะคะ ว่าขันธ์ หมายความถึงสภาพที่เป็นปรมัตถธรรมนั่นแหละ ไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จึงเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต เพราะฉะนั้นก็จะไม่พ้นจากปรมัตถธรรมค่ะ
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราตั้งหน้าตั้งตาจะไปรู้จักขันธ์ ๕ เราได้ยินเพียงชื่อ แต่เราต้องเข้าใจความจริงว่าก็คือสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม แต่ที่ทรงบัญญัติว่าเป็นขันธ์เพราะเกิดดับ เรื่องเกิดดับนี่คะ ไม่ใช่ว่าเราจะมา ชินลักษณะ ทันทีว่าได้ฟังก็เกิดดับ เวลานี้ก็ทางตาเกิดดับ ทางนี้ก็ทางหูเกิดดับ นั้นเป็นเรื่องราว
เพราะฉะนั้นไม่ทิ้งความคิดที่ว่า จะชินกับขันธ์ เพราะเราเอาชื่อมาจะชิน แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ นี่เพราะเกิดดับต่างหากจึงทรงบัญญัติว่า ขันธ์ เพราะไม่เที่ยงจึงจำแนกเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคตได้ ก็ต้องคือเรื่องของความเข้าใจธรรมนั่นเองนะคะ
ไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไรก็คือว่าต้องพยายามเข้าใจอรรถ เข้าใจตัวจริง ของสภาพธรรมไม่ใช่เพียงแต่จำเรื่อง หรือว่าจำชื่อเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วเรื่องเดียวกันหมด
ผู้ฟัง เรื่องเดียวหมายความว่ายังไงครับ
ท่านอาจารย์ คือปรมัตถธรรม ๔
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ เวทนาก็เป็นปรมัตธรรมคือเจตสิก สัญญาก็เป็นปรมัตถธรรมคือเจตสิกวิญญาณก็คือปรมัตถธรรมคือจิต สังขารขันธ์ก็คือปรมัตถธรรมเจตสิก ๕๐ ประเภท นี่ค่ะ เราก็ต้องเข้าใจ แต่ว่าการที่เราจะเข้าใจสภาพธรรม ต้องหมายความว่าเวลาพูดชื่อหนึ่งชื่อใดนะคะ ให้เข้าใจถึงอรรถคือตัวจริงๆ ของสภาพธรรมนั้น
อย่างที่ใช้คำว่านามธรรม ไม่ใช่ชื่อนะคะ นามธรรมหมายความถึงสิ่งที่มีจริง และเป็นสภาพรู้ นี่ยังไม่ไปถึงขันธ์ แต่ต้องเข้าใจลักษณะอันนี้ก่อน แล้วพอบอกว่าขันธ์พอ ราเข้าใจความหมาย ว่าหมายความถึงสภาพที่เกิด และดับไป จึงเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต เราจะไม่มีความสงสัยเลย
เพราะใครพูดถึงเรื่องขันธ์ เราก็รู้ว่า ทำไมบอกว่ารูป แล้วมีคำว่าขันธ์เข้ามาด้วย ก็เพราะเหตุว่ารูปขณะนี้ก็มี ที่ดับไปแล้วก็เป็นอดีต ที่จะเกิดต่อไปก็เป็นอนาคต อะไรก็ตามซึ่งมี ขันธ์เข้าไปใส่ไว้ ก็หมายความว่าสภาพธรรมนั่นเอง จำแนกออกได้เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต แต่ก็ไม่พ้นจากปรมัตถธรรม ทั้งหมดต้องฟังเพื่อเข้าใจตัวธรรมนะคะ
ผู้ฟัง ครับ เพราะว่าสิ่งที่ฟังแล้วจำได้ไม่ลืมนะว่าความยึดติด ในรูป และก็รักรูปนี้มาก แล้วก็ไม่สละ ไม่ปล่อย ไม่วาง การกระทำทั้งหมดนำมาซึ่งรูปนี้ และสิ่งที่พูด ก็พูดตามได้ว่ามันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนะครับ เป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ว่าก่อนที่จะถึงความรู้ที่สูง มากพอที่จะประจักษ์ได้ ก็ต้องอาศัยความเข้าใจ และความรู้ ที่พอจะเป็นการสะสมเหตุที่ถูก อันนี้ท่านอาจารย์ กรุณากล่าวในหนทางที่จะนำไปสู่ด้วยครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ เดี๋ยวนี้ค่ะ คือการฟัง และเข้าใจ คือหนทาง ถ้าเวลานี้ใครฟังแล้วไม่เข้าใจก็ไม่ใช่หนทาง ใช่ไหมคะ แต่ฟังแล้วเข้าใจ คือเริ่มที่จะเข้าใจ เป็นหนทางอยู่แล้ว
ผู้ฟัง เพราะการที่ จะละ จะคลาย นี่มันเป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะว่าแม้แต่ใครจะพูด ใครจะบอกว่าให้ละ ให้วาง ให้ปล่อย ให้คลาย อะไรต่างๆ มันไม่มีเหตุผลพอ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เปลี่ยนเป็นให้เข้าใจค่ะ ฟังให้เข้าใจ ความเข้าใจนั่นคือหนทาง
ผู้ฟัง แต่ถ้าเข้าใจแล้วนะครับ ยังไม่มีการระลึก ไม่มีการสังเกตอีก
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย จะระลึกได้ไหม ยังก็ยัง แต่ว่าถ้าไม่เข้าใจเลย จะระลึกได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจนี่ไม่มีสิทธิระลึกได้
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อเข้าใจแล้วยังไม่ระลึกได้ แต่เมื่อเข้าใจแล้วก็ย่อมระลึกได้ เพราะเข้าใจแล้ว แต่จะระลึกหรือไม่ระลึก ยังไม่ระลึกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สามารถจะระลึกได้เพราะเข้าใจแล้ว แต่ถ้าไม่เข้าใจเลยนี่ค่ะ ไม่มีทางเลย
ผู้ฟัง เพราะปกติในชีวิตประจำวันนะครับ เท่าที่สังเกตดู มันระลึก มันนึก มันคิด แต่ในเรื่องไอ้ความเป็นตัวเป็นตนไปหมดเลย
ท่านอาจารย์ เป็นของจริง หรือเปล่าคะ ที่กำลังนึกเรื่องราวอะไรต่างๆ ไปมากมายเยอะแยะเป็นของจริงหรือเปล่า
ผู้ฟัง จริงแน่นอนครับ เพราะมันผ่านมาแล้ว
ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ อยากจะไปรู้อย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่ตอนนั้น นั่นผิดใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ผิดครับ ที่ถูกละครับ ถูก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสัจจญาณสำคัญมากจริงๆ นะคะ รอบที่หนึ่งจะทำให้เรานี่ละความต้องการขวนขวายไปทำอย่างอื่น เพราะว่ามีความมั่นใจจริงๆ ว่า ไม่ว่าสภาพธรรมใดๆ ทั้งสิ้นนะคะ ก็เป็นสิ่งที่ปัญญาจะต้องรู้ตามความเป็นจริง เราจะไม่กระเสือกกระสนวุ่นวายไปหาความสงบ หรือว่าทิ้งอันนี้ คิดอะไรเตลิดเปิดเปิงทั้งวัน ไม่ให้ปัญญาระลึกรู้
เราจะไม่ทำอย่างนั้น แต่สติระลึกขณะใด สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นของจริงขณะนั้น เพราะฉะนั้นจะไม่ขวนขวายค่ะเพราะว่าจริงๆ แล้วจะขวนขวายทำอะไรได้ ในเมื่อไม่มีตัวตน ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย คิดอะไรที่ว่าไร้สาระเมื่อกี้นี้ใช่ไหมคะ คิดอะไรไปเรื่อยๆ ก็เป็นความจริงเมื่อความจริงก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ความจริงอันนี้ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น
เรียกว่า ไม่มีใครที่จะพ้นไปจากนามธรรม และรูปธรรมตั้งแต่เกิดจนตายที่จะต้องทราบก็คือว่าเป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้นจริงๆ ทั้งหมด ความติดข้องเกิดขึ้นความอยากได้อะไร การสนใจโทรทัศน์ ข่าวลงคะแนน หนังสือพิมพ์ หรืออะไรทั้งหมดทุกอย่างคือของจริงหมด เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งนั้น ซึ่งไม่ใช่เรา อย่าลืมค่ะว่าการที่จะดับกิเลสได้นะคะ ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ไปเว้นค่ะ เว้นไม่ได้ผู้ที่จะรู้จริงๆ ต้องรู้ทั่วแล้ว ก็รู้ละเอียดด้วย
เพราะฉะนั้นอย่าคิดที่จะเว้น อย่าคิดที่จะทำ อย่าคิดที่จะเจาะจงรู้สิ่งนั้น ไม่รู้สิ่งนี้ แต่ให้รู้ตามความเป็นจริง ว่าทุกอย่างเป็นธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วก็ไม่เคยขาดไปเลยนะคะ เมื่อสติเกิดระลึกเมื่อไหร่ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นเป็นของจริง เป็นสิ่งที่มีจริง ที่จะให้รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าจะกำลังคิดวุ่นวายจริง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ปัญญาสามารถที่จะรู้ได้ว่าลักษณะนั้นเป็นนามธรรม
ผู้งฟัง พูดถึงความเพียรที่จะนำมาใช้ในการประพฤติปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ไม่มีการนำมาใช้ค่ะ
ผู้ฟัง ไม่ทราบว่า ใครฟังแล้วจะมึนเหมือนผมไหม
ท่านอาจารย์ คืออย่างนี้นะ ขอเติมอีกนิดหนึ่ง นะคะ คือโดยมากทุกคนจะพูดเรื่องเพียรพูดถึงเรื่องขันติ ความอดทน เพราะว่าในโอวาทปาติโมกข์นะคะ ก็มีการกล่าวแสดงไว้อันดับแรกก็คือว่า ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นก็เห็นอุปการะคุณ หรือคุณของขันติว่าทุกสิ่งทุกอย่างนะคะ จะสำเร็จไม่ได้เลยถ้าปราศจากขันติคือความอดทน
เพราะฉะนั้นความอดทนที่นี่ คืออะไร และความเพียรที่จะประจักษ์ลักษณะของธรรมนี้คืออะไร เพราะว่าโดยมากก็บอกว่าความเพียรนะคะ ทุกคนก็รีบเลยค่ะไปที่ไหนเขาให้ทำอะไรเขาให้เพียรยังไง รู้สึกว่านั่นคือความเพียร แต่เพียรฟัง เพียรเข้าใจ และเป็นความเพียรที่ยิ่ง หรือเปล่า เป็นตบะอย่างยิ่งหรือเปล่า
จากสิ่งที่ไม่เคยเข้าใจเลย นามธรรม และรูปธรรม ก็พูดกันทุกวัน วิทยุออกวันละหลายๆ ครั้งไม่ว่าสถานีไหนก็นามธรรม และรูปธรรมนะคะ แล้วเพียรที่จะเข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมที่ได้ฟัง หรือว่าเพียรให้คนอื่นจูงไปไหนทำอะไรก็ได้ไปนั่ง ๑๐ นาที ครึ่งชั่วโมง แล้วคิดว่ากำลังเพียร
เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าเพียรก็ดี หรือขันติความอดทนก็ดีต้องเข้าใจถึงอรรถว่าให้อดทนอะไร ไม่ใช่อดทนไปทำลำบาก ทุกข์ยาก ไม่ใช่ไปเพียงทำอย่างอื่นนะคะ แต่เพียรฟังแล้วฟังอีก ให้เป็นความเข้าใจเพราะว่าขณะที่เข้าใจนะคะ เป็นปัญญาเจตสิกไม่ใช่เราอีก ไม่มีเราเลยจะอยากเข้าใจมากๆ ก็คือโลภะมาอีกแล้ว ไม่ได้เพียรที่จะฟัง ใช่ไหมคะ เพราะโลภะอยากแล้ว
นี่แสดงให้เห็นว่าต้องฟังด้วยดีค่ะ ถึงสามารถจะถึงสัจญาณซึ่งเป็นอริยสัจรอบที่หนึ่ง ถ้าไม่มีสัจญาณคือปัญญาที่เข้าใจในสัจธรรมจริงๆ ว่าสัจธรรมนี้คืออะไรทั้ง ๔ อริยสัจก็ไม่มีทางถึง แม้แต่การฟังเรื่องความเพียร ความอดทน เรายังต้องฟังแล้วรู้เลยว่าที่ถูกแล้วให้เพียรอะไร ไม่ใช่เพียรทำอย่างอื่น แต่เพียรฟังให้เข้าใจ
ผู้ฟัง ขอกราบเรียนถามอาจารย์สุจินต์นะคะ เรื่องที่ว่าสติระลึกรู้ว่า เป็นรูป เป็นนาม เอาเป็นรูป เป็นนาม ก่อนนะคะ คือดิฉันจะได้ไปบอกให้เพื่อนฟังว่า สติระลึกรู้ว่าเป็นรูปเป็นนาม หรือว่าเรียนเรื่องสติปัฎฐาน รู้นี่ จะต้องรู้มาจากการฟังใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าไม่ใช่ตัวตน นะคะ แล้วจะสติเกิดได้ไหมค่ะ
ผู้ฟัง ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์ คือว่าต้องมีความรู้ก่อน
ผู้ฟัง คือว่า ดิฉันเกิดมาสะดุดตาคำว่าสติระลึกรู้ หรือว่าสติปัฏฐาน ดิฉันก็เอ้ะ รู้ รู้มาจากไหนล่ะ รู้มันก็ต้องมาจากการฟัง
ท่านอาจารย์ เวลาใช้คำว่าสติระลึกรู้นี่นะคะ หมายความว่าไม่ใช่รู้เรื่องค่ะ แต่ระลึกลักษณะ รู้ลักษณะที่กำลังปรากฏ ที่ใช้คำว่าระลึกรู้ เติมคำว่าระลึกรู้ลักษณะ ที่เป็นปรมัตถ์
ผู้ฟัง คือรู้อย่างที่อาจารย์ว่านะ สติระลึกรู้
ท่านอาจารย์ ลักษณะที่เป็นปรมัตถ์
ผู้ฟัง ระลึกรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ ที่นี้ดิฉันจะได้ไปบอกกับเพื่อนว่า ยังไงก็ต้องมาฟัง มาฟังเรื่องนี้แหละ เพราะว่ามันต้องรู้จากการฟังใช่ไหมคะ สตินะคะ ระลึกรู้ว่าเป็นรูป เป็นนามสติระลึกรู้ว่าเป็นปรมัตถ์ ต้องรู้จักการฟังใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องคำพูดนะคะ แต่เป็นเรื่องเข้าใจค่ะ ต้องเข้าใจก่อน
ผู้ฟัง ก็ทีนี้จะเข้าใจไง เขาไม่รู้เรื่องนี้เลย
ท่านอาจารย์ ก็หมายความว่าเราเข้าใจ แล้วอธิบายให้เขาฟัง จะไปบอกเขาเป็นคำๆ อย่างนี้ไม่ได้ค่ะ เวลาที่เราจะอธิบายอะไร หมายความว่าเราเข้าใจสิ่งนั้น แล้วเราก็อธิบายให้คนอื่นฟัง แต่ถ้าเราไม่เข้าใจแล้วเอาคำในหนังสือมาบอก เราก็ไม่เข้าใจ เขาก็ไม่เข้าใจทั้งสองคนก็ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ตอนแรกดิฉันเข้าใจว่า คงเข้าใจผิดนะคะ เข้าใจผิดไปแล้วใช่มั้ยคะ ที่สติระลึกรู้ รู้ว่าเป็นรูป เป็นนาม รู้ลักษณะ ดิฉันนึกว่ารู้ ก่อนจะรู้เรื่องสติ ระลึกรู้ว่าเป็นรูป เป็นนาม จะต้องรู้จากการฟังมาก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ ถ้าไม่ฟังเลยสติจะเกิดระลึกอะไรละคะ
ผู้ฟัง ใช่คะ คือดิฉันจะไปบอกเขาว่า ว่ากราบเรียนถามอาจารย์แล้ว เราจะต้องฟังเรื่องนี้ให้รู้เรื่องก่อน เรื่องสติระลึกรู้ เรื่องสติปัฎฐาน แล้วเราถึงจะเข้าใจคำว่ารูปว่านาม ว่ามันเป็นรูป เป็นนาม ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเราไม่มีความรู้เลยนะคะ ไม่ได้ฟังมาก่อนเลยว่า ไม่มีเราแต่มีสภาพที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม ถ้าไม่รู้อย่างนี้ สติจะระลึกได้ไหม เพราะว่าขณะนี้ก็เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง คือว่าพวกที่อยู่ด้วยกันนั่น เขาไม่รู้เรื่องนี้ ดิฉันก็อยากจะให้เขารู้
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจค่ะ เข้าใจทำไมคุณบงไม่มีโลภะ เวลาที่มีสภาพธรรมปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยที่แม้ว่าจะยังไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรอ่ะ
ผู้ฟัง แสดงว่าพูดมากเลยค่ะ แสดงว่ามีอนุสัยอยู่แล้วไงคะ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องไปถึงอนุสัย ให้เข้าใจจริงๆ ค่ะ ว่าความติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ เราต้องรู้ตัวรึเปล่า เวลาที่มีความติดข้อง ไม่ใช่ว่าเรารู้ตัวนะคะ เป็นความติดข้องแล้ว เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้น ถึงจะรู้ว่าลักษณะใดเป็นความติดข้อง เราเกิดมา เราเห็นสิ่งใด เราก็พอใจที่จะเห็นสิ่งนั้น พอใจที่จะได้ยินเสียง พอใจที่จะได้กลิ่น พอใจที่ลิ้มรส แต่เราไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นความติดข้องค่ะ
บางทีรับประทานอะไรเข้าไปนะคะ ยังไม่ทันรู้เลยว่าอะไร อร่อยใช่ไหมค่ะ เขายังไม่ได้บอกเลยว่าอะไร ชื่อเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ ใส่อะไรบ้างก็ไม่รู้ แต่เวลาที่ลิ้มรสนี่คะ เกิดความพอใจในรสนั้น ต้องรู้เสียก่อนหรือเปล่าว่าเป็นรสอะไร ถึงจะเกิดความติดข้องขึ้น นี่เป็นเรื่องลักษณะของปรมัตธรรมนะคะ ว่าปรมัตถธรรมใดก็ตามที่มีลักษณะที่น่าพอใจ โดยสภาพของเขาเป็นปัจจัยทำให้เมื่อจิตใดรู้สิ่งนั้น ก็มีความติดข้องในลักษณะที่น่าพอใจของสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าเราต้องไปรู้เสียก่อนเราถึงจะชอบ
ผู้ฟัง บงกราบ ถ้าจะพูดอีกคำ คือถ้าอย่างงั้น ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ตรงนี้จะเป็นกิริยาจิตได้เลยใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ ดับหมด ไม่มีปัจจัยที่จะให้เกิดแม้ชั่วขณะที่เคยเป็นอกุศลใดๆ หรือเป็นกุศลใดๆ
ผู้ฟัง มีพระสูตรตอนหนึ่ง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกท่านพระราหุลว่า ให้ปฏิบัติทาง ใช้อานาปานสตินี่ก่อนถึงจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เขาก็เลยคิดไปมาก แต่ว่าจะผิดจะถูกนั้นผมไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วท่านพระสารีบุตรค่ะ หลังจากที่ท่านพระราหุลท่านกลับจากบิณฑบาตแล้ว แล้วก็นั่งอยู่ในป่าท่านพระสารีบุตรก็สนทนาธรรม แล้วก็ให้ท่านพระราหุลเจริญอานาปานสติ และก็เมื่อเจริญแล้ว ท่านพระราหุลได้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า อานาปานสติเจริญแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมากมีอานิสงส์มาก
เพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านให้ ท่านพระราหุลเจริญ หรือใครก็ตามจะให้ใครเจริญนะคะ แล้วแต่อัธยาศัยของบุคคลนั้น อย่างอัธยาศัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านี่คะ คืออานาปานสติเพราะเหตุว่าอย่างเราๆ นี่นะคะ ลมที่กระทบกาย เราสามารถที่จะรู้ได้ แต่ว่าสำหรับขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ลมที่ช่องจมูกกับลมที่กระทบกายอันไหนจะละเอียดกว่ากัน
เพราะฉะนั้นวิสัยของคนที่สะสมปัญญาละเอียดก็สามารถที่จะรู้อารมณ์ละเอียดได้แต่วิสัยของคนที่ไม่ได้สะสมปัญญาละเอียดมา จะไปรู้อย่างละเอียดนั้นก็ไม่ได้ แม้แต่เพียงเวลาที่เรากระทบสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ที่แข็งนะคะ อย่างจับถ้วยแก้วอย่างนี้ สติเกิดหรือยัง ไม่ต้องมุ่งจะไปหาอารมณ์ที่ละเอียดกว่าโผฏฐัพพะอันนี้ เพราะว่าลมหายใจเวลานี้ละเอียดกว่า
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องของเราจะบอกใครให้ทำอะไรนะคะ แต่เป็นเรื่องที่คนนั้น ฟังธรรมพิจารณาเข้าใจ แล้วก็แล้วแต่ว่าเขาสะสมมาที่สติปัฐานจะเกิดระลึกอะไร เพราะเหตุว่าถึงอย่างไรก็ตามค่ะ หนทางที่จะรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาก็หนทางเดียว คือไม่ใช่ไปฝืน หรือไปบอก หรือไปสั่ง หรือไปชวนให้ใครทำอะไร แต่ว่าเมื่อเขาเข้าใจสภาพธรรมแล้ว มีปัจจัยที่สติจะเกิดขณะไหน ก็บอกไม่ได้ว่าให้เกิดเดี๋ยวนี้ วันนี้ ตอนไหน แต่ว่าเมื่อมีปัจจัยที่สติจะเกิด สติระลึก ไม่ใช่ใครไปบอกให้สติระลึก
เพราะฉะนั้นสติก็ระลึกลักษณะของสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่สติระลึกที่ลักษณะของปรมัตธรรม ถ้าใคร สติระลึกที่ลมหายใจ ดีใจไหมคะ รู้อารมณ์ละเอียด ตกใจไหม นี่จะเป็นมหาบุรุษกับเขาหรือเปล่า หรือว่ารีบเปลี่ยนอารมณ์เสีย เพราะอารมณ์นี่ละเอียดมาก นี่เป็นเรื่องความหวั่นไหวทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าปัญญายังไม่พอค่ะ ที่จะละความไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาจะเห็นได้ว่า ยิ่งอบรม ยิ่งละเอียดนะคะ แล้วต้องรู้ทั่วขึ้น เพื่ออะไร เพื่อละคลาย ว่าลักษณะของนามอย่างนี้ ลักษณะของรูปอย่างนี้ หวั่นไหว หรือเปล่า ถ้ายังหวั่นไหวอยู่นะคะ วิปัสสนาญาณก็เกิดหรือเจริญไม่ได้ เพราะเหตุว่าคนนั้นจะรู้เลยคะว่าขณะนั้นเพราะหวั่นไหว ปัญญาไม่สามารถที่จะละความเป็นตัวตนได้
คุณสุรีย์ มีท่านผู้ใดอีกมั้ยคะ ไม่มีจะต่อเลยนะคะ จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เมื่อจำแนกออกไปตามอารมณ์ที่จิตรู้แล้ว ระดับขั้นของจิตจะต่างกันออกไปด้วย ถามว่า ข้อ.ก จิตที่มีกามเป็นอารมณ์ได้แก่จิต ระดับใด
ผู้ฟัง กามาวจรจิตค่ะ
คุณสุรีย์ ข้อ.ข จิตที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์ ได้แก่จิตระดับใด
ผู้ฟัง รูปาวจรจิตค่ะ
คุณสุรีย์ อันนี้อาจารย์ ท่านอาจารย์สุจินต์ ท่านอธิบายตอนต้นแล้วนะคะ ข้อ.ค จิตที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ ได้แก่จิตระดับใด
ผู้ฟัง อรูปาวจรจิตคะ
คุณสุรีย์ ข้อ.ง จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ได้แก่จิตระดับใด
ผู้ฟัง ได้แก่โลกุตรจิตค่ะ
ท่านอาจารย์ จิตต้นๆ คงจะไม่ใช้คำว่ามีรูปเป็นอารมณ์นะคะ
คุณสุรีย์ เดี๋ยวๆ นะคะ อันไหนนะคะ
ท่านอาจารย์ รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต
คุณสุรีย์ จิตที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์ ได้แก่จิตระดับใด
ท่านอาจารย์ หมายความถึงจิตที่เป็นรูปฌาน
คุณสุรีย์ จิตที่เป็นรูปฌาน
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะว่ารูปฌานมีหลายอารมณ์
คุณสุรีย์ ไม่ใช่รูปาวจรจิตนะคะ
ท่านอาจารย์ รูปาวจรจิตคือฌานจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีบัญญัติเป็นอารมณ์
คุณสุรีย์ จิตที่มีอรูปา
ท่านอาจารย์ หมายความว่าไม่มีรูปเป็นอารมณ์
คุณสุรีย์ ไม่มีรูปฌาน
ท่านอาจารย์ ฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์
คุณสุรีย์ เป็นต่อฌานอีกนิดหนึ่งนะคะ ต่อฌานอีกตัว
ท่านอาจารย์ ฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์
คุณสุรีย์ ค่ะๆ ขอบคุณค่ะ
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120