สนทนาธรรม ตอนที่ 095


    ตอนที่ ๙๕


    อ.นิภัทร เพราะฉะนั้นเราต้องยึดให้มั่นว่า ทิฏฐิจะต้องเกิดกับอกุศลจิตเท่านั้น สักกายทิฏฐิต้องเกิดกับอกุศลจิตทั้งนั้น ส่วนสัญญาวิปปลาส จิตวิปลาสนี้ เกิดกับกุศลจิตก็ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้คะ ต้องอกุศลจิตเท่านั้น เพราะเป็นเรื่องที่ต้องละ

    อ.นิภัทร อ่อ เป็นเรื่องที่ต้องละ ถึงแม้ว่าจิตนั้นจะเป็นญาณวิปปยุต

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทางค่ะสำหรับกุศลจิตจะไม่มีสัญญาวิปลาสกับจิตวิปลาสเพราะว่าประกอบด้วยโสภณเจตสิกมากมาย

    อ.นิภัทร ผมหมายถึงว่า จิตขณะที่เป็นกุศลญาณวิปปยุต

    ท่านอาจารย์ กุศลใดๆ ทั้งสิ้นจะไม่มีวิปลาสเกิดร่วมด้วย

    อ.นิภัทร ทั้ง ๓ เลย

    ท่านอาจารย์ กุศลใดๆ ทั้งสิ้น

    อ.นิภัทร ครับ

    อ.สมพร เรื่องทิฏฐิไม่ได้จบง่ายๆ นะครับ ทิฏฐิที่เรามีความเห็นอย่างนี้ แขนของเรา ขาของเรา มือของเรา ผมของเรา เขาเรียกว่า สามัญญทิฏฐิ ทั่วไปนะครับ ทุกคนเลยที่เป็นโลกิยปุถุชน ต้องมีเสมอทุกคนเลย เรียกว่าสามัญญะ แปลว่าเสมอกันหมด ผมของเรา แขนของเราเป็นสามัญญทิฏฐิ

    แต่ว่าทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีโทษร้ายแรงนะครับ ก็มีเฉพาะบุคคลบางคน เรียกว่า วิสามัญญทิฏฐิ เช่นเห็นว่า ทำบุญไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป เหล่านี้เป็นต้น เป็นวิสามัญญทิฏฐิพิเศษไม่มีแก่บุคคลทั่วไป มีเฉพาะบุคคลที่เป็นนิยตมิจฉาทิฎฐิอันนี้น่ากลัวมากนะครับ อย่างสามัญญทิฐินี่เป็นธรรมดา ถ้าเราไม่ได้ศึกษาธรรมเราก็จะไม่รู้ว่าสกายทิฏฐิมันคืออะไร แล้วมันละยากยังไง เพราะมันเป็นทิฏฐิธรรมดาทั่วไปก็มีความคิดเห็นอย่างนี้นะครับ

    ท่านอาจารย์ ความละเอียดของพระธรรมนะคะ คงจะต้องประกอบกันหลายอย่างค่ะ เช่นความเห็นว่าเป็นเรา มีด้วยลักษณะ ๓ อย่าง คือเราด้วยตัณหา เราด้วยมานะ เราด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้นเวลาที่เป็นเราด้วยทิฏฐิมีความเห็นจริงๆ ค่ะ ว่าเป็นเราแน่นอนจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย หรือว่าต้องเป็นโต้ะแน่นอน จะมาบอกว่าเป็นรูปซึ่งมีอากาสธาตุแทรกคั่นอยู่ แล้วก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ว่างเปล่าอยู่ทุกขณะ อันนี้เขาจะไม่มีความเห็นว่าเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเขาเห็นเป็นโต๊ะจริงๆ

    เพราะฉะนั้นเขาก็มีความยึดมั่นอย่างนั้น นอกจากมีความเป็นเราด้วยทิฏฐิ ยังมีความเป็นเราด้วยตัณหา หรือว่ามีความเป็นเราด้วยมานะ ซึ่งเป็นประจำวันเลย เราด้วยตัณหา มีความพอใจในเรา ทุกคน มีใครบ้างคะ ถ้าไม่มีความพอใจในเราด้วยโลภะ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เราด้วยความพอใจ แต่ว่าขณะใดที่มีความเป็นเราด้วยมานะ ไม่ใช่อย่างทุกวันๆ นะคะ ที่ว่าผมของเรา เสื้อของเรา ทุกอย่างเป็นของเราด้วยโลภะ

    แต่ว่าขณะนั้นนะคะ มีความสำคัญตน เราด้วยมานะ เพราะฉะนั้นเวลาที่มานะเกิด ใครคะเราใช่มั้ยคะขณะนั้น เราทีเดียวแหละ ใหญ่ด้วย เพราะฉะนั้นขณะนั้นนะคะ เห็นว่าเป็นมานะแต่เป็นเรา นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราจะต้องทราบจริงๆ นะคะ ว่าแม้แต่ที่เราใช้คำพูดเนี่ยค่ะแต่ว่าสภาพของปรมัตธรรมในขณะนั้นนะเป็นอะไร แม้แต่เราทั้งหลายเนี่ยนะคะ จะเป็นเราด้วยตัณหา หรือว่าเราด้วยมานะ หรือว่าเราด้วยทิฏฐิ ถ้าคุณประทีปส่องกระจก มีเรามั้ยคะในกระจก มีด้วยอะไรคะ

    ผู้ฟัง มีครับ ด้วยมานะครับ

    ท่านอาจารย์ ในกระจกก็มีมานะหรอค่ะ

    ผู้ฟัง ด้วยตัญหา

    ท่านอาจารย์ ด้วยตัณหานี่ตลอดเวลานะคะ

    ผู้ฟัง รู้สึกมันก็จะเกิดตลอด

    ท่านอาจารย์ อย่างนั้นคุณประทีปก็มีมานะตลอดวัน

    ผู้ฟัง คนละขณะกัน พอตัณหาปุ๊บก็มานะแล้ว แม้เรารูปหล่อ

    ท่านอาจารย์ รูปหล่อนั้นคืออะไรคะ เราด้วยอะไร ขณะที่ว่าเราหล่อ รูปหล่อนะคะ เราด้วยอะไร

    ผู้ฟัง ด้วยตัณหา

    ท่านอาจารย์ ด้วยตัญหา เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ค่ะ จะเป็นเราด้วยตัณหานะคะ แต่บางกาละเป็นเราด้วยมานะคะ ถ้าเราเกิดเก่ง หรือสำคัญ หรือใหญ่โตนะคะ ทำไมคนนั้นไม่อย่างนี้อย่างนั้น หรืออะไรอย่างนี้ ขณะนั้นเป็นเราด้วย

    ผู้ฟัง บางทีส่องกระจกแล้ว เราดีกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันนะ เรายังหนุ่มกว่าอะไรอย่างงี้

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ขณะจิต ส่องทีไรเป็นอย่างงั้นทุกทีเลยหรอค่ะ เพราะฉะนั้นแสดงว่าทุกทีเนี่ยคือโลภะแน่นอน เป็นประจำอยู่แล้ว นานๆ ก็มานะ เวลาที่มานะเกิด จะรู้สึกต่างจากปกติ มีความสำคัญตนขึ้นมาทีเดียว ส่วนเรื่องของทิฏฐินั้นก็คือความเห็น เพราะว่าจริงๆ แล้วนะคะ ถ้าใครที่คิดว่าทุกอย่างจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ขณะนั้นเป็นอเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุเลย ทุกคนเกิดมาเนี่ยเกิดมาเอง ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นการกระทำ หรือจิต หรืออะไรต่างๆ ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่มีการเกิดสืบต่อจากชาติก่อน ไม่มีกรรม ไม่มีวิบาก

    เพราะฉะนั้นถ้าเห็นผิดอย่างนี้ อย่างอื่นก็ต้องเห็นผิดไปด้วย แม้แต่กิริยา หรือกรรมที่ทำเนี่ยก็ไม่ใช่กรรมค่ะ ทำไปเถอะ ไม่เป็นกรรมหรอก ใช่ไหมคะ ก็เหมือนกันว่าสิ่งที่เกิดโดยที่ไม่มีเหตุนั้นก็เป็นความเห็นผิด และขณะที่กระทำกรรมก็ไม่เป็นกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นกุศลก็ไม่เห็นว่าเป็นกุศล เป็นอกุศลก็ไม่เห็นว่าเป็นอกุศล คือไม่เห็นว่าเป็นกรรม แล้วนอกจากนั้นนะคะ ยังไม่เชื่อว่ากรรมที่ได้กระทำเนี่ยมีผล

    ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ การแสดงความนอบน้อม หรือว่าจิตที่อ่อนโยนเป็นกุศลในขณะใด ก็คิดว่าขณะนั้นไม่มีผล เป็นการกระทำเพียงการกระทำเท่านั้น คือไม่รู้ถึงสภาพของจิตซึ่งเป็นเหตุที่เป็นกรรมที่จะให้เกิดผล เพราะฉะนั้นก็ไม่เชื่อว่าผลจะเกิดเพราะการกระทำอันนั้นก็เป็นนัตถิกทิฏฐิ ซึ่งความจริงทั้ง ๓ อย่างนี่ก็ต้องเนื่องกันแน่นอนว่า ถ้ามีความเห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นมาลอยๆ จะไปเชื่อว่ากรรมมีก็ไม่ได้ จะเชื่อว่าผลของกรรมมีก็ไม่ได้ ที่เป็นนิยตมิจฉาทิฎฐิหมายความว่า ความเห็น ๓ อย่างนี่แน่นอนที่เป็นกรรมที่มีโทษมาก หรือยังไงคะ

    อ.สมพร มีโทษมากครับ

    ท่านอาจารย์ ที่ใช้คำว่านิยต สำหรับ ๓ ทิฏฐินะคะ

    อ.สมพร ๓ อย่างนี่ มีโทษมาก คือสามารถ เราจะแยกได้เป็น ๓ อย่างนะครับ แต่ความจริงมันเกี่ยวเนื่องกันอย่างที่อาจารย์ว่า มีความเห็นผิดอันเดียวมันก็ถึงไปหมดเลย เห็นว่าการกระทำบุญไม่ได้บุญ นี่ส่วนหนึ่งถ้าแยกได้ แต่ความจริงมันเกี่ยวเนื่องว่าการกระทำเป็นเหตุให้ได้วิบากผลของการกระทำ

    ท่านอาจารย์ ที่นี้บางคนอาจมีครึ่งๆ อย่างละนิด อย่างละหน่อยได้มั้ยคะ คือว่าไม่ถึงกับทั้งหมดทีเดียว อาจจะคิดว่าอย่างนี้ไม่ใช่กรรมแต่อย่างอื่นใช่ ได้ไหมค่ะ

    อ.สมพร ความเห็นนี้นะครับ ความเห็นเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังไม่จัดเป็นนิยตะนะครับ เพราะว่ามันยังแก้ไขได้ นิยตะนี่หมายความมีความเห็นผิดที่แก้ไขไม่ได้แล้วดิ่งแน่นอนจึงมีโทษมากครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคงต้องเพิ่มน้ำหนักว่านอกจาก ๓ อย่างนี้แล้วยังมีความมั่นคง

    อ.สมพร ต้องมั่นคงแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ บางคนมีความเห็นถือว่าบุญไม่มีบาปไม่มีแต่ว่าพอฟังธรรมแล้ว เออบุญมี ปาปมี อย่างนี้ก็ยังไม่จัดเป็นนิยตมิฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่ามันยังไม่แน่นอนทีเดียวยังเปลี่ยนแปลงได้

    ผู้ฟัง ผมจะพยายามที่จะศึกษาไอ้ตัวธรรมที่ว่าความมุ่งหมายที่จะกระทำการให้จิตบริสุทธิ์เนี่ย มันเหมือนกับลักษณะที่ว่า เราจะมีความมุ่งหมายแก่ทำการซักอย่าง แล้วเราก็ทำไปเช่นทำเป็นลักษณะคล้าย คล้ายสุนัขบ้าง คล้ายโคบ้าง หรือทำการกรวดน้ำต่อแถวยาวบ้าง อย่างเนี่ย ความมุ่งหมายเพื่อถึงซึ่งความสามารถทำให้จิตบริสุทธิ์ ไอ้ลักษณะความสามารถทำให้บริสุทธิ์นี่มันเกิดขึ้นของมันเองใช่ไหมครับ ไม่ใช่ว่าใครจะทำให้เกิด

    ท่านอาจารย์ คะ ยังไม่ต้องไปถึงความมุ่งหมายที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์นะคะ เพียงแค่ให้มีความเห็นถูกก่อน เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเห็นถูกก่อนแล้วเราก็จะไปถึงความบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็จะพิจารณานะคะ ว่าทั้งหมดเนี่ย มาจากความเห็นผิดเนี่ยต้องมีแน่นอน และเมื่อมีความเห็นผิดแม้แต่ในขั้นต้นๆ อย่างนี้ค่ะ และก็จะไปถึงความบริสุทธิ์ได้ยังไง

    ไปประพฤติอย่างโค ไปประพฤติอย่างสุนัข และก็จะไปให้ถึงนิพพาน หรือว่าแม้ไม่ประพฤติอย่างโค แม้ไม่ประพฤติอย่างสุนัข อยากจะไปเที่ยวสวรรค์นั่งสมาธิ ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีความรู้ในเรื่องของจิตบริสุทธิ์ หรือการที่จะดับกิเลสเลย เพราะฉะนั้นก็แน่นอนที่สุดค่ะว่าทุกอย่างที่ทำไปก็ต้องเป็นส่วนของความประพฤติซึ่งจะไม่นำไปสู่ความบริสุทธิ์ของจิตแน่นอน

    แม้ว่าเขาจะปรารถนา หรือไม่ปรารถนาก็ตาม เช่นเขาเพียงแต่อยากจะไปดูสวรรค์สนุกๆ ใช่ไหมคะ ขณะนั้นก็มีความเห็นผิดอยู่แล้ว ก็ยังมีการกระทำด้วยความเห็นผิด เพราะฉะนั้นเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเขาไม่มีทางที่จะถึงการดับกิเลสได้เลย เมื่อมีความเห็นผิดถึงอย่างนี้ เพราะว่าสีลพัตตปรามาสนี่คะ ละเอียดมากซึ่งผู้ที่จะดับได้คือพระโสดาบันบุคคล

    แสดงให้เห็นว่าแม้ขณะที่สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าเคลื่อนจากหนทางที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ นิดเดียว ขณะนั้นมีโลภะเกิดขึ้น มีความติดข้องเกิดขึ้น มีความจงใจเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นสีลพัตตปรามาสกายคันธะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ต้องไปพูดถึงส่วนละเอียด แต่ว่าปัญญาจะทำให้เห็นนี่คะ ทุกอย่างตามความเป็นจริง

    ขณะที่มีการเข้าใจผิดในข้อปฏิบัติ จะด้วยวิธีใดก็ตามทั้งสิ้นนะคะ นั่นคือสีลพัตตปรามาส แต่ว่าในขณะที่มีความเห็นถูกแต่ยังไม่ใช่เป็นพระโสดาบันบุคคล แต่เวลาที่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ว่าขณะนั้นมีอกุศลเกิดแทรก มีความจงใจ หรือมีความต้องการแม้เล็กแม้น้อยนิดหน่อย ปัญญาที่เกิดขึ้นนะคะ จะทำให้ละจุดนั้นได้ เพราะเหตุว่าปัญญาเกิดเห็นโลภะตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าแม้แต่พยัญชนะซึ่งอาจจะปรากฏในพระไตรปิฎกว่าละโลภะด้วยโลภะ ก็อย่าเพิ่งตามไปง่ายๆ เพราะว่าถ้าใครตามไปง่ายๆ ก็เป็นกามสุขัลลิกานุโยคใช่ไหมคะ ให้มีความสุขไว้เถอะแล้วก็จะหมดกิเลส หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ต้องมีทุกข์ มีโศกรื่นเริงตลอดเวลา

    แต่จริงๆ แล้วค่ะที่ละโลภะ ด้วยโลภะที่กำลังเป็นอารมณ์ของปัญญาที่รู้ความจริงของโลภะ เฉพาะตรงนั้นเท่านั้นนะคะ ที่จะเป็นประโยชน์ ที่ว่าสามารถที่จะละเมื่อโลภะเกิดขึ้นปัญญาก็เห็นโลภะขณะนั้นตามความเป็นจริง เพระส่วนใหญ่ คนที่ต้องการจะที่ใช้คำสามัญกันทุกวันนี้นะคะ ว่าจะปฏิบัติเพื่อที่จะได้รู้แจ้งนิพพาน

    แต่ตามความเป็นจริงแล้วแม้โลภะเราก็ยังไม่เห็น แล้วจะละอะไร เพราะเหตุว่าการที่จะถึงได้นี่นะคะ ต้องละโลภะซึ่งเป็นสมุทยสัจ อริยสัจข้อที่ ๒ เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะต้องอบรมตามลำดับ และก็ละเอียดจริงๆ ซึ่งจะดับหมดสำหรับสีลพัตตปรามาส เมื่อเป็นพระโสดาบันบุคคล เพราะฉะนั้นก็พิจารณาไปได้เลยนะคะ ว่าความเห็นผิดมี และก็ทำให้เกิดความคิดการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีความปรารถนาที่จะกระทำแต่หนทางนั้นไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ถึง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการที่กล่าวว่าอาศัยตัณหาละตัณหา หรืออาศัยโลภะละโลภะก็ไม่ใช่ลักษณะที่ว่าเราไปเตรียมทำอะไร เพื่อที่จะให้เกิดความรู้ในเรื่องของตัญหาตัวนั้น หรือครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นไม่ได้เลย มรรคมีองค์ ๘ ไม่มีตัณหาสักองค์หนึ่ง แต่ว่าเริ่มด้วยสัมมาทิฏฐิความเห็นถูก เพราะฉะนั้นความเห็นถูกสำคัญที่สุดนะคะ แม้แต่ในเบื้องต้น ถ้าความเห็นถูกจริงๆ ไม่มี ก็จะมีโลภะประเภทต่างๆ และก็มีสีลพัตตปรามาสกายคันธะประเภทต่างๆ ได้ทั้งหมดเลย ก็ทำให้ไขว้เขว ทำให้วนเวียน ทำให้ไม่รู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง แต่เราต้องอาศัยตัณหาก่อนนะครับ ถึงจะรู้ตัณหาได้..

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คะ อย่าใช้คำนี้นะคะ ไม่ใช่ว่าเราต้องอาศัยตัณหา แต่ตัณหาละตัณหาเพราะเหตุว่าในขณะนั้นมีตัณหา จึงได้มีปัญญาที่รู้ลักษณะของตัณหาที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีปัญญานะคะ ใครล่ะคะอาศัยตัณหาละตัณหาทำยังไง

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีหนทางเลยค่ะ

    ผู้ฟัง ก็ยังงั้น ก็ลักษณะที่ว่า รู้สภาพของตัญหาเพื่อที่จะเกิดความระลึกรู้ว่า

    ท่านอาจารย์ รู้จักตัญหาแน่นอน ไม่อย่างงั้นก็ละตัณหาไม่ได้

    ผู้ฟัง ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ.สมพร ความจริงเรื่องตัญหาอาศัยตัณหาละตัณหานะครับ ก็มาจากเรื่องของภิกษุณีกับพระอานนท์ คือภิกษุณีท่านมีตัญหามีความรักในพระอานนท์ แต่ว่าพระอานนท์ท่านก็ทราบว่าภิกษุณีนี้มีความรัก ภิกษุณีทำเป็นป่วยคลุมโปง พระอานนท์มาเยี่ยม ให้พระอานนท์มาเยี่ยม ทีนี้พระอานนท์ก็ดูอาการแล้ว ภิกษุณีนี้ไม่ได้ป่วยจริงๆ ท่านก็แสดงธรรมว่าเรื่องตัณหาอาศัยตัณหาละตัณหา

    หมายความว่าเมื่อความรักคือตัณหาเกิดขึ้น ให้พิจารณาเห็นโทษของตัญหานั่นคือปัญญา อาศัยตัณหาเนี่ยพิจารณาตัญหาคือปัญญาพิจารณาตัณหานั้น เห็นโทษของตัณหาก็ปัญญาก็เกิดขึ้น จึงละตัณหาได้ ท่านจึงบอกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา

    อ.นิภัทร พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่เราสวด เราสวดในวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง มันก็มีอยู่คือต้องการความสวัสดี ต้องการความคุ้มครองจากพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณที่เราสวด

    ท่านอาจารย์ เห็นเหมือนเครื่องแลกเปลี่ยนหรือป่าวคะ

    อ.นิภัทร คล้ายๆ อย่างงั้นนะครับ ต้องการความป้องกัน ป้องกันภัยอันตรายที่นี้ถ้าเราไม่

    ท่านอาจารย์ อย่างนี้ชื่อว่ามีศรัทธาหรือเปล่าคะ

    อ.นิภัทร ถ้าไปพูดในศรัทธา มันมี ใน ใน โสภณเจตสิกก็ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว และศรัทธาต้องมี เพราะว่าไม่ได้ไปทำอย่างอื่นใช่ไหมคะแต่สวดแต่ว่าพอศรัทธาดับอะไรเกิด

    อ.นิภัทร โลภะเกิด

    ท่านอาจารย์ นะคะ แล้วเวลาที่ไม่สบายใจเลยนะคะ ทุกคนนี่คะ ต้องมีเวลาที่ไม่สบายใจคงจะไม่มีใครที่จะปลอดโปร่งไปตลอดนะคะ แล้วความไม่สบายใจเนี่ยขอให้ดูว่าแม้แต่เหตุเล็กนิดเดียวคือไม่ได้สวดก็แค่เนี่ยค่ะ ทำให้เกิดความไม่สบายใจแล้ว เพราะฉะนั้นเหตุอื่นที่จะทำให้ไม่สบายใจต้องใหญ่กว่านี้มาก นี่เพียงแค่นี้ยังไม่สบายใจได้นะคะ

    อ.นิภัทร ผม เหตุเล็กๆ น้อยๆ ผมก็ไม่สบายใจ ผมเป็นคนที่มีปกติข้องอยู่ในอารมณ์มากครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นนะคะ ทางที่จะหมด หรือละความไม่สบายใจ มีไหมคะ

    อ.นิภัทร มีครับผม คือรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงทรงแสดงไว้ว่ามีหนทางเดียวเท่านั้นจริงๆ ใครอย่าเปลี่ยนเป็นหนทางอื่นนะคะ จะไปหาตำราเล่มไหน หรืออะไรๆ ไม่มีทางสำเร็จเลยค่ะ นอกจากสติระลึกได้ที่เราศึกษาทั้งหมดเนี่ยเราศึกษาเรื่องสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวตนเลยสักขณะเดียวถ้าสภาพธรรมจริงๆ เป็นอย่างนั้นนะคะ เพียงแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้ หรือไม่ระลึกรู้ ได้แต่เรียนไปฟังไปเฉยๆ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้วนะคะ

    ทุกขณะถ้าระลึกเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง อย่างใดทั้งหมด จะเป็นจิต หรือจะเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เพราะฉะนั้นพระภิกษุที่ท่านสาธยาย แล้วท่านเป็นพระอริยะบุคคลใช่ไหมคะก็เพราะเหตุว่า..

    อ.นิภัทร สำเร็จเป็นพระอรหัตต์ด้วยไง

    ท่านอาจารย์ แล้วใครจะคิดว่าท่านจะมีความสบายใจบ้าง ไม่สบายใจบ้าง แม้แต่เป็นพระภิกษุท่านก็ต้องมี อาจจะเนื่องจากเหตุใดก็ได้ใช่ไหมคะ อย่างของคุณนิภัทรเนี่ยเนื่องจากเหตุคือไม่ได้สวดมนต์ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ ก็ตามหนทางมีหนทางเดียวอย่าคิดว่าเป็นหนทางอื่นนะคะ และสภาพธรรมถ้าระลึก นิดเดียวเลยค่ะอย่าคิดว่าไม่เป็นผล เพราะเหตุว่า

    เมื่อเริ่มระลึกนิดหนึ่งคราวต่อไปก็รู้ว่าปรมัตถธรรมมีอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสติจะระลึกเมื่อไหร่ ได้ ขึ้นอยู่กับว่าปัญญาเท่านั้นที่จะค่อยๆ เจริญขึ้น พอที่จะเห็นว่าเป็นสภาพธรรมเท่านั้นจริงๆ ไม่ว่าสติจะลึกลักษณะของสภาพธรรมใด ขณะไหน นี่เป็นทางที่จะทำให้พระภิกษุรูปนั้นท่านเป็นพระอริยะบุคคล

    ผู้ฟัง คราวนี้ ถึงคำถามของผมที่ว่า แล้ว แล้วขณะที่สวด แล้วพิจารณาด้วย ไปด้วย กับสวด และพิจารณาธรรมไปด้วย มันยังไงครับ แตกต่างกันยังไง

    ท่านอาจารย์ ดูเหมือนคุณวีระจะทำใช่ไหมคะ เป็นแบบขึ้นมา ว่ายังงี้ๆ ใช่มั้ยคะ เป็นยังไงใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ไม่ได้อยากจะทำครับ อยากจะว่า อยากจะเข้าใจนะครับ อาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าอยากจะเข้าใจก็ทราบว่าสติเป็นอนัตตาค่ะ เพราะฉะนั้นสติระลึกแล้วแม้แต่ขณะที่กำลังสวดนะคะ ถ้ากล่าวดังๆ เนี่ย ก็มีรูปที่กระทบริมฝีปาก ชั่วขณะนั้นนิดเดียวสวดไม่หายค่ะ สวดต่อไปอีกได้ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าในขณะที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามแม้ขณะนี้เอง ทั้งเห็น ทั้งคิด ทั้งได้ยิน สติระลึกได้ ถ้าสติไม่ระลึก ชวนวิถีจิตเป็นอะไร

    ผู้ฟัง อกุศลครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ค่ะว่าไม่ต้องห่วงเรื่องการที่แม้แต่ขณะที่กำลังสวด จะมีการพิจารณา หรือสติจะเกิดระลึกเป็นเรื่องของการอบรม ถ้าไม่เคยอบรมเจริญสติปัฎฐานเลย ไม่เห็นว่าแม้แต่เพียงชั่วขณะนิดหนึ่งนี่ก็เป็นการสะสมแล้ว ถ้าไม่รู้อย่างนี้นะคะ ที่จะให้มีสติมากๆ นี่เป็นไปไม่ได้ เพื่อที่จะให้ปัญญารู้จริงๆ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราก็เป็นไปไม่ได้อีกเหมือนกัน

    ทั้งๆ ที่เป็นธรรม ทั้งๆ ที่ฟัง ทั้งๆ ที่เข้าใจ แต่ถ้าสติไม่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมธรรมก็เป็นแต่เพียงชื่อซึ่งจำได้ แต่ว่ายังไม่รู้จักลักษณะแท้ๆ ที่เป็นปรมัตถ์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเลยค่ะ ว่าจะกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ว่าจะกำลังสวดมนต์ หรือไม่สวดมนต์กำลังเห็น หรือกำลังคิด กำลังพูด ทุกอย่างสติสามารถจะระลึกลักษณะของปรมัตธรรมได้

    ไม่มีแบบฉบับว่าให้ทำอย่างนี้ สอนให้ทำอย่างโน้น ไม่ได้เป็นความเข้าใจถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสังขารขันธ์ที่จะทำให้มีการระลึกรู้ได้

    อ.นิภัทร คุณวีระ อยากจะ อยากจะเอาตัวอย่างกับผมใช่ไหม ฟังอาจารย์แล้วก็เลิกคิดได้

    อ.สมพร ลักษณะสวดมนต์ของคุณนิภัทรนี่นะครับ ประมวลมามี ๓ อย่าง หนึ่ง สวดมนต์เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ สอง สวดมนต์เพื่อให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้น เมื่อเราสวดมนต์ก็สามารถระลึกได้ไช่ไหมครับ สาม สวดมนต์เพื่อให้มีการคุ้มครองรักษา คงจะเป็นข้อที่ สอง ละมัง ครับ สวดมนต์แล้วก็สติสัมปชัญญะสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะการสวดมนต์เป็นประโยชน์

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วถึงไม่สวดสติปัฐานก็เกิดได้นะคะ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้เลยค่ะว่าสำหรับชาวพุทธเรา ที่ไม่ได้ศึกษาในเหตุผลจริงๆ และอาจจะไม่ได้คิดแม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งน่าคิด ว่าเพราะเหตุใดเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะเสด็จจากพระวิหารเชตวันจาริกไปสู่ที่อื่นแล้วก็ชาวสาวัตถีนะคะ ก็ใคร่ที่จะได้มีสิ่งที่เตือนให้ระลึกถึงพระองค์ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ให้สร้างรูป เพราะอะไรคะ

    ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า ทรงทราบอย่างดีว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ว่าอย่างปลูกต้นโพธิ์ เป็นการระลึกถึงพระองค์ แสดงให้เห็นว่าต้นโพธิ์นี้ไม่ต้องใช้เงินทองอะไรมากมายเลย แล้วเมื่อปลูกแล้วก็ตั้งมั่นคง ยั่งยืน ที่ใครจะมากราบไหว้ระลึกถึงพระพุทธคุณได้

    แม้แต่พระเจ้าอโศกพระองค์ก็ให้มีการปลูกต้นโพธิ์ จากที่ตายไปแล้วในที่เดิมนะคะ ก็เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ เพราะฉะนั้นไม่เป็นเรื่องเสียเงินเสียทองไม่เป็นเรื่องที่เราจะไปไขว้เขว หรือไม่เป็นเรื่องที่ชาวพุทธเนี่ยจะไปมีความยึดมั่นว่าองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ หรือองค์นั้นทำด้วยทอง องค์นี้ทำได้หยก หรืออะไร ซึ่งขณะนั้นไม่ใช่การระลึกถึงพระพุทธคุณเลย

    เพราะฉะนั้นถ้าย้อนไปถึงเหตุผลว่าทำไม เพียงแต่ให้ปลูกต้นโพธิ์นะคะ เพื่อที่จะระลึกถึงพระพุทธองค์ ก็จะแสดงให้เห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่ใกล้ชิดที่จะทำให้น้อมระลึกถึงพระพุทธคุณได้เพียงพอแล้ว เพื่อเราจะได้ไม่ต้องไปติด หรือว่าไม่ต้องไปใช้เงินมหาศาลสร้างพระพุทธรูปหยกหรือว่าพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด หรืออะไรๆ ต่างๆ นะคะ

    ซึ่งผลก็คือว่ามีคนไปกราบเท่านั้นค่ะเพียงไหว้ แต่ว่าไม่มีการเข้าใจในพระธรรมเลย เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าไประลึกถึงพระคุณ แต่ว่าไปไหว้โดยการที่ว่าถ้าสร้างไว้บนเขาชายทะเล พวกชาวประมงก็ไหว้ เพื่อที่จะได้ มีความคุ้มครอง หรืออะไรนะคะ นั้นเป็นความเชื่อ ซึ่งไม่ใช่เชื่อเรื่องกรรมของตัวเองเลย แต่ว่าเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    แต่ถ้าคิดถึงว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นี่จะตรงกับพระพุทธประสงค์หรือเปล่า ที่ทรงแสดงพระธรรมเพื่อที่จะให้ทุกคนมีความเห็นถูก จริงค่ะ บางคนมีกุศลจิต แต่ว่าอ่อนมาก น้อยมากนะเพราะว่าไม่มีความรู้ว่าพระผู้มีพระภาคทรงมีพระปัญญาคุณอย่างไร


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 11
    3 ก.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ