สนทนาธรรม ตอนที่ 097
ตอนที่ ๙๗
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญก็คือหลังจากเห็นแล้วนี้มีสัญญาเจตสิก ที่เกิดกับจิตเห็น สืบต่อไปแต่ละขณะๆ จนเป็นความทรงจำในสีสันวรรณะ เมื่อมีความทรงจำในสีสันวรรณะ ก็มีการเห็นสีสันวรรณะซึ่งต่างเป็นสัณฐานต่างๆ อนุพยัญชนะ คือส่วนละเอียดไม่ใช่ว่าตามใจฉัน ว่าฉันจะไม่ใส่ใจ นั่นผิดนั่นคือความเป็นตัวตน แต่ขณะใดที่สติระลึก เริ่มที่จะรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นความไม่ใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะจะค่อยๆ เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าเป็นเราพยายามที่ไปนึกเอาเอง พิจารณาเอาเองว่าไม่สนใจในนิมิตอนุพยัญชนะ แต่ต้องเป็นปัญญา เรื่องของพระพุทธศาสนาคือ การอบรมเจริญปัญญา เพราะเหตุว่าพุทธะคือ การประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีทางเลยที่จะประจักษ์แจ้ง ถ้าไม่มีการฟังแล้วอบรมฟังเข้าใจ ฟังนี้คือความจริงใจอยู่ที่ความเข้าใจ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้น
เพราะฉะนั้นแม้แต่การที่จะไม่ใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะ ก็ต้องทราบว่าอย่าไปทำไม่ใส่ใจ หรืออย่าไปคิดว่าฉันไม่สนใจ คืออย่าไปคิดว่าฉันจะพิจารณา ขณะนั้นจะไม่รู้ว่าขณะใดที่สติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ เพราะถ้าสติเกิด สติจะระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์พร้อมทั้งปัญญาที่เกิดจากการฟังมาแล้ว การฟังทุกขณะนี้ไม่สูญหาย ฟังใหม่ก็เข้าใจขึ้นมาอีกหน่อย ฟังต่อไปอีกก็เข้าใจขึ้น พร้อมกับมีสภาพธรรมปรากฏ ให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ แทนที่จะไปเข้าใจในตำรา แต่ว่ามีสภาพธรรมกำลังปรากฏ และก็ได้ยินบ่อยๆ เพราะฉะนั้นก็เริ่มที่จะเข้าใจ และเมื่อสติระลึกจะค่อยๆ รู้ความต่างกันของขณะที่จิตกำลังนึกถึงนิมิตอนุพยัญชนะ กับจิตซึ่งขณะนั้นไม่ได้นึกถึงอนุพยัญชนะ แต่รู้ในลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ค่อยๆ สะสมความรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม และก็จะค่อยๆ ละคลายการที่ขณะนั้นจะไปนึกถึงนิมิตอนุพยัญชนะ แต่ไม่ใช่หมายความว่าคนนั้นจะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร รู้ แต่ความรู้ในลักษณะที่เป็นปรมัตถ์นั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย เพราะฉะนั้นที่ว่าเมื่อไหร่นั้นใครจะเป็นคนตอบ
ผู้ฟัง ก็ต้องพยายาม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ที่ถามดูว่า คำถามที่ว่าเมื่อไหร่นี้ใครคือผู้ตอบ ความจริงใจคือ ตัวเองว่าปัญญารู้แค่ไหน ไม่ใช่ว่าเราไม่รู้อะไร แล้วเมื่อไหร่เราจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เมื่อไหร่เราจะประจักษ์ลักษณะที่เกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม แม้แต่ขณะที่รูปกำลังปรากฏทางตา รูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้ แล้วก็ไม่ใช่ขณะที่กำลังคิดในสิ่งรูปร่างสัณฐานด้วย เพียงเท่านี้ ใครจะเป็นคนตอบว่าแล้วเมื่อไหร่จะประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรม ก็ต้องเป็นคนนั้นเอง และคนนั้นก็จะค่อยๆ รู้ว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นหรือยัง แม้ขั้นการฟัง ถ้าขั้นการฟังนี้ยังไม่มีความเข้าใจจริงๆ แล้วใครจะตอบคำถามว่าเมื่อไหร่ คนอื่นตอบไม่ได้เลย แต่คนที่เริ่มเข้าใจขึ้นจะเห็นได้เลยว่า เมื่อไหร่นั้นคือผู้นั้นตอบเองว่าไม่ใช่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ขณะที่ยังไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่ขณะที่ฟังแล้วยังสับสน ไม่ใช่ขณะที่สติไม่ระลึก ไม่ใช่ขณะที่สติระลึก และความรู้ยังไม่ชัด และความรู้นั้นก็ยังไม่ทั่วด้วย
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีความเข้าใจจริงๆ จะเป็นผู้ที่เข้าใจว่า ทำไมพระอริยสาวกท่านอบรมเจริญปัญญากันแสนกัป แล้วเราก็ไม่ต้องไปเป็นห่วงว่ากี่กัปมาแล้ว ไม่สำคัญเลย สำคัญที่ว่าขณะนี้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นหรือยัง นั่นคือหนทางที่ว่าจะทำให้เราเข้าใจตรง แล้วก็จริงใจรู้ได้ทันทีว่าเข้าใจขึ้นหรือเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจขึ้นก็คือต้องฟัง ต้องอบรมจนกว่าสติจะมีการระลึก และก็จะต้องเป็นผู้ที่จริงใจ และรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่ารู้เพิ่มขึ้นหรือยัง ทีละเล็กทีละน้อยทางตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้างลิ้นบ้าง กายบ้าง ใจบ้าง จนกว่าจะทั่ว เพราะฉะนั้นคงจะไม่ได้ยินคุณสุนันท์ถามอีก ว่าเมื่อไหร่ ใช่ไหมคะ คุณสุนันท์ถามว่า เมื่อไหร่ จิตดวงไหน
ผู้ฟัง โลภะค่ะ
ท่านอาจารย์ โลภะเป็นสมุทัย ถ้าไม่ละไม่ถึง และเราเห็นไหมว่าโลภะเมื่อไหร่ ขณะไหน ถ้าเราคิดถึงเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เราอาจจะคิดว่าเราเบาบาง เรากำลังสนใจธรรม แต่ตัวโลภะตามมาแล้ว เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่ง ซึ่งลืมไม่ได้เลยคือพระพุทธสาสนา เป็นศาสนาที่ละ ถ้าเมื่อไหร่นี่ไม่ละแล้ว ต้องคอยรู้อยู่ตลอดเวลา แต่ละนี่ด้วยความรู้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความรู้ แล้วใครจะไปคิดละ ละอย่างไรก็ละไม่ได้เพราะว่าเป็นตัวเรา เก่งมากที่พยายามจะไปละ แต่พระพุทธศาสนานั้นละด้วยการรู้ ขณะใดที่มีปัญญาเกิด ขณะนั้นละอวิชชาความไม่รู้ แล้วก็ยังมีกิเลสอีกตั้งมากมายใช่ไหมคะ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้แต่เพียงคำถามนั้นเราก็ลืมแล้วไปว่าขณะนั้นก็คือโลภมูลจิต เพราะฉะนั้นต้องเห็นธรรมถูกต้องตามความเป็นจริง และคิดดูว่ามากแค่ไหนในวัน หนึ่งๆ ที่จะเห็นโลภะเพื่อที่จะละโลภะ เพราะเหตุว่าขณะใดที่โลภะเกิด ขณะนั้นจะรู้ความจริงไม่ได้ กำลังเมื่อไหร่ขณะนั้นไม่ใช่สติที่ระลึกแล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นก็ยังคงเป็นเมื่อไหร่ไปอีกยาวนานมาก เพราะเหตุว่าโลภะทำให้คิดถึงว่าเมื่อไหร่
ผู้ฟัง ก็หมายความว่า ถ้าเผื่อว่าเรายังไม่มีปัญญาเกิดขึ้น เราก็ต้องเพียรไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่เราจะมีปัญญาเองเกิดขึ้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ นี่คือผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่าธรรม หรือปัญญาไม่ใช่จะเกิดได้ตามใจชอบ หรือด้วยความอยาก แต่ต้องเป็นการอบรม คำว่าอบรมนี้แม้แต่ในขณะนี้กำลังอบรม เพราะเหตุว่าถ้าใครไม่ฟังให้เข้าใจที่สติจะระลึกเป็นสัมมาสตินั้นเป็นไปไม่ได้ และก็ไม่มีทางเลยที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นจิรกาลภาวนา ในพระไตรปิฎกใช้คำนี้ เพราะเป็นการอบรมที่ยาวนานมาก และทุกคนก็รู้ตัวเองว่าทางตากำลังเห็นมีสติระลึกหรือเปล่า ทางหูที่กำลังได้ยินสติระลึกไหม ถ้ายังไม่ระลึก และจะใช้คำว่าเมื่อไหร่นั้นไม่ได้ หรือเมื่อระลึกแล้วยังไม่มีความรู้ชัดถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ก็ยังละไม่ได้ มีแต่โลภะจะคอยตามมาเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องเห็นตามความเป็นจริงว่านี้คือจดจ้อง นี้คืออภิชชา นี่คือความต้องการ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นปัญญาที่รู้เพิ่มขึ้นจะละ เพราะเหตุว่าเป็นหน้าที่ของเจตสิกทั้งหมดที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่มีเราจะทำ
ผู้ฟัง แต่มีความรู้สึกว่าพอถ้ารู้เพิ่มขึ้นมา ถึงแม้จะเล็กน้อยนิดหน่อยก็จะรู้สึกว่าเรา เราอีกแล้ว
ท่านอาจารย์ ก็แน่นอน เพราะฉะนั้นก็จิรกาลภาวนา ให้เราถึงรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง รู้ด้วยตัวเอง ใครจะมาบอกคุณสุนันท์บอกว่าพรุ่งนี้เป็นพระโสดาบัน พรุ่งนี้รู้แจ้งอริยสัจธรรม จะเอาไหมทั้งๆ ที่ไม่รู้อะไร และก็ยังมีโลภะ เป็นเรื่องขัดเกลาความไม่รู้ เป็นเรื่องอบรมเจริญปัญญา
ผู้ฟัง จากที่เรียนมาก็จากการจำมาก็คือเป็นสภาพที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ กำลังปรากฏนี้ต้องจำหรือว่าเป็นสภาพที่ปรากฏทางตา ก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้ ยังจะต้องไปจำหรือว่าเป็นสภาพที่ปรากฏทางตา นี่คือความต่างกันของการฟังธรรม ถ้าฟังแบบจำนั้นจะจำคำ แต่ถ้าเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏนี้ปฏิเสธไม่ได้เลย นี่เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ต้องไปจำมา แต่หมายความว่ากำลัง นี้มีจริงๆ อย่างนี้คือปรากฏอย่างนี้ คนเปลี่ยนคำพูดบอกว่า ไม่ได้หรอกสิ่งที่ปรากฏทางตานี้ปรากฏทางหูด้วย จะเชื่อไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้ครับ เพราะว่าสภาพธรรมที่ปรากฏเท่านั้นที่เป็นไปได้
ท่านอาจารย์ เพราะว่าความจริงคือเดี๋ยวนี้ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นความจริงก็คือจริงอย่างนี้ คือกำลังปรากฏทางตา ไม่ต้องไปจำมา แต่ว่าเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าลักษณะนี้เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่ผิดก็คือว่าเคยเป็นเราเห็น และสิ่งที่ปรากฏก็เคยเป็นคนโน้นคนนี้เป็นโลกทั้งโลก แต่ความจริงก็คือว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้คิด ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วจะมีแก้วจะมีอะไรให้คิดได้ไหม ให้เป็นคนนั้นคนนี้ได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแหล่งจริงๆ ก็คือว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตาแน่นอน แล้วหลังจากที่สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นแล้วก็มีจิตที่คิดจำสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นจึงมีโลก มีเรา มีตัวตน มีคนนั้น มีคนนี้ แต่ตามความจริงแล้วก็คือสภาพของจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อจากทางตาไปทางใจ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ว่าเราฟังเพื่อที่จะให้เข้าใจ เพราะสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเพียงชั่วขณะที่กระทบกับทางตา ต่อจากนั้นเป็นเรื่องจำหมด เวลาที่เรานอนไม่หลับกำลังนอน คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ คิดถึงคนนั้นคนนี้ได้หมดเลย มีความทรงจำรูปร่างหน้าตาเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นอิทธิพลของความไม่รู้ว่า เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าเป็นเพียงธาตุ หรือสภาพธรรมที่เพียงปรากฏ แต่ว่าหลังจากนั้น แล้วเป็นความทรงจำที่ทำให้เราเกิดความคิดว่ามีตัวตน คือความทรงจำว่าเป็นเราที่เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าโลกของสมมติบัญญัติ กับโลกของปรมัตถ์นี้ต่างกันที่ว่าโลกของสมมติบัญญัติเป็นโลกที่คิดเรื่องปรมัตถธรรม มีปรมัตถธรรมปรากฏให้คิด เพราะสิ่งที่ปรากฏทางตาเราคิดเลยนี่เป็นโต๊ะ นั่นเป็นเก้าอี้ นั่นเป็นคนนั้นคนนี้ พอเสียงปรากฏทางหูก็มีความคิดอีกในเรื่องราวของสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง พอกลิ่นกระทบจมูกก็คิดอีก
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าปรมัตถธรรมที่แสนสั้น แต่นำมาซึ่งความคิดว่ายั่งยืน และเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อย่างถาวร เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมนั้นต้องฟังนาน จริงใจคือให้เข้าใจเท่านั้น ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่ว่าแล้วจะทำอย่างไร เรื่องทำนี้ไม่มีทาง เป็นเรื่อง เข้าใจขึ้นๆ เป็นการอบรม
ผู้ฟัง คือได้ยินที่มีกล่าวว่าให้เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน หมายความว่าแค่ไหน
ท่านอาจารย์ นี่คือเรื่องของการอ่าน แล้วเราก็ไม่เข้าใจแน่นอน แสดงให้เห็นว่าพระธรรมนี้ถ้าใครเพียงอ่าน คนนั้นไม่มีทางจะเข้าใจ ต้องศึกษาจริงๆ แม้แต่คำสั้นๆ ที่ว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน คนที่คิดเองก็จะคิดว่าเห็นก็ไม่ต้องสนใจ ใช่ไหม ก็สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เพราะว่าบางคนพอได้ยินแล้วคิดมาก เขาชมเราหรือเขาติเราเป็นทุกข์ต่างๆ หรือเขาาว่าเรา เขาจริงใจกับเราหรือเปล่า ก็นำมาซึ่งความทุกข์ต่างๆ จากความที่คิดหลังจากที่ได้ยิน เพราะฉะนั้นบางคนก็เข้าใจเอาเองว่าสักแต่ว่าได้ยินก็คือไม่ไปสนใจเรื่องราวเสียก็หมดเรื่องจบ ไม่ต้องเป็นทุกข์ แต่ความจริงอย่างนั้นไม่หมดทุกข์ เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางหูกับจิตที่ได้ยิน
เพราะฉะนั้นพระธรรมนั้นลึกลงไปถึงการที่จะดับทุกข์ ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ด้วยปัญญาที่อบรมเจริญขึ้นจนกระทั่งรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า คำใดที่พระผู้มีพระภาคตรัส คำนั้นไม่เป็นสอง อย่างสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ เป็นความจริง ได้ยินเมื่อครู่นี้ก็ดับแล้ว แต่ว่าใจคิดนึกตามเรื่องที่ได้ยิน และก็ปรุงแต่งเป็นสุขเป็นทุกข์ต่างๆ แต่ว่าใครจะไปพยายามฝืน สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ได้ใช่ไหม รู้เรื่องไปเสียแล้ว พอรู้เรื่องไปเสียแล้วก็เป็นทุกข์ไปเสียแล้วอีกตั้งนาน เพราะฉะนั้นไม่มีทางเลยที่ใครจะคิดว่าวิธีอื่น หรือว่าเพียงแค่คำสั้นๆ ก็เอามาปฏิบัติกันว่า เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าจริงๆ ต้องเป็นสติที่ระลึกจากการที่ได้ฟังเรื่องของปรมัตถธรรม และรู้ว่าสภาพธรรมเป็นจริงอย่างนั้นคือ ไม่มีเราเลยสักขณะเดียว ถ้าไม่มีเราเมื่อไหร่ทุกข์จะเบาบางลงไปมากทีเดียว แต่ทุกข์ที่ทุกคนมีเวลานี้เพราะมีเรา เมื่อมีเราแล้ว มีของเราด้วย เมื่อมีของเราแล้วก็ต้องผิดหวัง เพราะว่าทุกอย่างจะไม่เป็นไปตามที่เราคิดหรือเราหวัง
ถ้าเป็นสมัยเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ธรรมที่ทรงแสดงที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้นไม่ผิดกันเลย ข้อความทั้งหมดทรงแสดงไว้อย่างไรในพระไตรปิฎกก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้อยคำที่ตรัสกับท่านพระพาหิยะเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปี ก็คือคำที่เรายุคนี้ต่างกาลต่างสมัยนั้นเอามาอ่าน แต่ว่าย้อนนึกถึงสมัยโน้นที่เต็มไปด้วยพระอรหันต์ เพราะเหตุว่าท่านสะสมปัญญา ท่านไม่สงสัยเลยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม พอพูดถึงจิตเห็นเรียกว่าเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกต่างๆ ซึ่งท่านย่อสั้นกว่านี้อีก สิ่งที่รู้ได้ทางตา รู้ได้ทางหู รู้ได้ทางใจ ท่านเหล่านั้นสะสมมาที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมทันทีที่ทรงแสดงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สภาพธรรมกำลังเกิดดับ ท่านเหล่านั้นประจักษ์ในความเกิดดับ เพราะเหตุว่าปัญญาที่จะรู้จริง ไม่ใช่รู้อย่างอื่น ในเมื่อตรัสไว้แล้วว่า สภาพธรรมใดเกิดขึ้นสภาพธรรมนั้นดับไป ขณะนี้สภาพธรรมใดเกิด สภาพธรรมนั้นดับ ผู้ใดประจักษ์ผู้นั้นก็รู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระอริยบุคคล เพราะว่าจะรู้ต่างจากอย่างนี้ไม่ได้ นี่คือสัจธรรม ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ผู้นั้นที่กำลังฟังต้องรู้อย่างนี้จึงจะเป็นพระอริยะบุคคลได้
แต่เมื่อต่างกาลสมัย มาถึงสมัยนี้ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่บรรลุในครั้งสมัยพุทธกาล แต่ว่าเป็นผู้ที่ต้องเคยสะสมบุญในปางก่อนมา จึงมีความสนใจที่จะฟังสัจจธรรม เพราะเหตุว่าสัจจธรรมเป็นเรื่องลึกเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่ฝืนกระแส เพราะว่าทุกคนมีแต่ความอยาก ความต้องการความติดข้อง แต่ผู้ที่สะสมมาแล้วก็เห็นคุณประโยชน์ คุณค่าของพระรัตนตรัย ของพระธรรมรัตนะ ว่าสามารถที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาของตัวเองได้ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเอาเงินทองไปซื้อหามาได้ ขอซื้อปัญญาของท่านพระสารีบุตร หรือของท่านพระมหาโมคคัลลานะ หรือของใครนั้นไม่ได้เลย คนนั้นต้องอบรมเจริญปัญญาของตัวเอง และก็รู้ว่าสิ่งใดๆ ทั้งหมดที่จะประเสริฐมีค่าเป็นรัตนะเท่ากับปัญญานั้นไม่มี เพราะเหตุว่าคนที่มีความทุกข์เพราะขณะนั้นปราศจากปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาเกิดขึ้นขณะใด ปัญญาเป็นทุกข์ไม่ได้เลย ปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นก็สามารถที่จะดับทุกข์ได้จริงๆ ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้เมื่อต่างกาลต่างสมัยผู้ที่อบรมเจริญปัญญาไม่ถึงขั้นที่จะรู้แจ้ง ก็จะต้องฟังแล้วก็พิจารณา และก็อบรมไป ซึ่งถอยไปหลายแสนปีหลายกัป ท่านที่ได้รู้แจ้งในสมัยที่ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ ท่านก็เคยเป็นอย่างนี้ คือเป็นผู้ที่มีความฝักใฝ่สนใจที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังเป็นจริง แต่ต้องค่อยๆ อบรม เพราะฉะนั้นท่านที่ฟังธรรมนี้ไม่หมดหวัง แต่ว่าเป็นเวลาที่แต่ละคนเป็นคนตอบว่าเมื่อไหร่ คุณสุนันท์จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมตอนนั่งหรือตอนยืน ตอนนอน ตอนเดินคะ
ผู้ฟัง ไม่ทราบค่ะ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องะ อย่าไปเจาะจงคิดว่าฉันนั่งแล้วเดี๋ยวฉันก็จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นตัวตนที่ตั้งใจจงใจ ไม่ใช่มรรคหนึ่งมรรคใดในมรรคมีองค์ ๘ เลย
ผู้ฟัง ลองพิจารณาดูเอง เห็นที่ว่าเห็นนี่ไปคิดนี่ เวลาจะคิดนี้จะต้องถามว่า เห็นอะไร จะต้องมีคำถาม
ท่านอาจารย์ ก็มีคิดตลอด ไม่ใช่สติปัฏฐาน ยังไม่ใช่ระดับขั้นสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง แล้วอยาก อยากกลับมาแล้ว พออยากจะรู้อยากจะอะไรที่ไหน คือต้องมีคำถามอยู่ เราถึงจะเพ่งไปที่นั่น
ท่านอาจารย์ ทำไมถึงก้าวล่วงหน้าขณะนี้ไป ขณะนี้เรากำลังเข้าใจอะไร นี่คือขณะนี้กำลังเข้าใจ ทีนี้เราก้าวล่วงหน้าขณะนี้ไปแล้ว คืออยากอีกแล้ว ใช่ไหม ถ้าขณะเราไม่ก้าวล่วงหน้า คือฟังต่อไปแล้วก็เข้าใจขึ้น ก็เป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ อบรม ไม่เดือดร้อน แต่ที่เดือดร้อนเมื่อไหร่นั้นเพราะอยาก แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่รู้จักโลภะ ว่าเขากว้างขวางมาก สามารถที่จะกั้นได้รอบด้านทีเดียว ถ้าไม่รู้จักโลภะจริงๆ ถ้าเราพอใจ มีฉันทะในการฟัง และกำลังฟังนั้นก็กำลังเข้าใจ โลภะไม่มีโอกาสจะเข้ามาเลย แต่พอจากขณะนี้ไป ล่วงหน้าไปแล้วนั่นคือโลภะเข้ามาได้ แต่ถ้าเรารู้จริงๆ ว่าเป็นเรื่องของการอบรม ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น และเราก็เป็นผู้ที่ตรงกับจริงใจว่าเราค่อยๆ เข้าใจจริงๆ กำลังอบรมจริงๆ ก็ไม่เดือดร้อนว่าเมื่อไหร่ และก็ไม่มีความอยากด้วย เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น อยู่ที่ว่าเราเข้าใจขึ้นหรือยัง เข้าใจขึ้นหรือเปล่า ถ้ายังไม่เข้าใจก็ฟังบ้าง พิจารณาบ้าง สนทนาบางตรึกตรองบ้าง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็สบายๆ
ผู้ฟัง หมายถึงว่าแยกจากเห็นกับคิด
ท่านอาจารย์ ก็นี่ ก็พยายามจะทำ ไม่ใช่อบรมให้เข้าใจ ว่าจะทำ จะทำได้อย่างไรในเมื่อสภาพธรรมขณะนี้กำลังเกิดดับ และจะทำอะไรซึ่งไม่ใช่การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับขณะนี้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเพราะไม่เข้าใจ ใครก็ตามที่จะทำแสดงว่าไม่รู้ความจริงว่าขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับ แล้วจะไปทำอะไรซึ่งไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ เพราะฉะนั้นเรื่องทำก็เป็นอันว่าจบไป อย่าไปคิดที่จะทำ
ผู้ฟัง สมมติว่า มีใครที่มีลูกๆ เกิดอุบัติเหตุตายเขาก็ได้ยินได้เห็นว่าลูกตาย เขาก็รู้สึกเศร้ามาก ไม่เป็นชาติวิบากแล้ว เป็นการรับเคราะห์ที่ว่ามีลูกตายอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ปนกันหมดเลย ปนกันหมดเลย ทั้งจิตทุกชาติเลย
ผู้ฟัง คือต่อเนื่องกันเลย
ท่านอาจารย์ คือต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นต้องแยกเป็นขณะจิต ถ้ารู้จริงต้องรู้ความต่างกันของจิต ว่าจิตนี้เป็นชาติอะไร ชาติคือการเกิดขึ้นเป็นกุศลจะเปลี่ยนขณะจิตนั้นให้เป็นอกุศลไม่ได้ ให้เป็นผลคือเป็นวิบากไม่ได้ ให้เป็นกิริยาไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตทุกดวงหรือทุกขณะที่เกิดขึ้น ต้องรู้ว่าขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน คือชาติอะไร เป็นกุศลหรือว่าเป็นอกุศล หรือเป็นผลของกุศลกรรม อกุศลกรรม หรือไม่ใช่ทั้งกุศลอกุศลวิบาก แต่เป็นกิริยาจิต
ผู้ฟัง การที่ลูกเขาประสบ สมมติเรื่องที่เขาตายจริงๆ ก็น่าจะเป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เรื่องยาวมาก เขามีจิตเห็นไหม
ผู้ฟัง เห็นค่ะ
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นเป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง จิตวิบาก
ท่านอาจารย์ เขามีความทุกข์เกิดขึ้นไหมคะ
ผู้ฟัง มีค่ะ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง อกุศลค่ะ
ท่านอาจารย์ อกุศลจิตก็ต้องแยกออกไป เป็นชั่วขณะที่สั้นๆ แล้วก็เกิดดับสืบต่อกัน แต่จะไม่พ้นจากจิตประเภทเหล่านี้
ผู้ฟัง แต่สรุปแล้วโทมนัสกับโสมนัสนี้ก็เป็นๆ ผลของวิบาก
ท่านอาจารย์ โทมนัสเป็นอกุศล จะเปลี่ยนอกุศลให้เป็นผลไม่ได้
ผู้ฟัง ทิฏฐิคตสัมปยุต ต่างกับทิฏฐิคตวิปยุตอย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าเป็นทิฏฐิคตสัมปยุต หมายความว่า มีความเห็นผิดประกอบกับจิต ถ้าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยก็เป็นทิฏฐิคตวิปยุต
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องชื่อ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องสภาพธรรมได้ คือว่าก่อนอื่นเวลาพูดถึง สัมปยุตตธรรม คืออะไรก็ตามที่แปลกๆ หูจากภาษาไทยนี้ เราก็ไม่ใช่เพียงผ่านไปแต่ว่าถ้าเราพยายามจะเข้าใจขึ้นก็ย่อมได้ อย่างเช่นคำว่า สัมปยุตตธรรม หรือสัมปยุตตปัจจัย พอได้ยินคำว่าสัมปยุตนี้ต้องรู้เลยว่าความหมายของเขานั้นหมายความถึงธรรม หรือสภาพธรรม และเวลาที่พูดถึงธรรมนั้นก็ต้องพ้นจากปรมัตถธรรมไม่ได้ อย่าลืมว่าต้องยืนปรมัตถธรรม พอถึงคำว่าสัมปยุตนั้น หมายความถึงนามธรรมซึ่งได้แก่ จิต และเจตสิก ซึ่งเขาเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และถ้าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตเจตสิกเกิดพร้อมกัน ก็อาศัยรูปใดก็ต้องอาศัยที่เดียวกันด้วย เพราะว่าเขาเกิดพร้อมกันอยู่แล้ว แล้วก็รู้อารมณ์เดียวกันด้วย
เพราะฉะนั้นคำว่า สัมปยุตตธรรม หรือสัมปยุตตปัจจัยนั้นหมายความถึงจิต และเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเท่านั้น ที่เกิดร่วมกันอย่างสนิท เพราะอะไร ไม่ใช่รูปเปรี้ยวหวานแข็งอ่อนเย็นร้อนพอที่จะกระทบสัมผัส แต่เป็นนามธรรมล้วนๆ และก็ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสันวรรณะ แต่ก็เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แต่ว่ารู้โดยความต่างกัน ที่ว่าจิตเป็นประธาน และเจตสิกแต่ละชนิดก็เกิดกับจิต เพราะฉะนั้น ๒ อย่างนี้กลมกลืนกันที่ว่าต้องเกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน เพราะฉะนั้นคำว่า สัมปยุตตธรรม หรือสัมปยุตตปัจจัย หมายเฉพาะจิตกับเจตสิกเท่านั้น คือทุกอย่างที่ฟังอย่าลืม และก็เป็นความเข้าใจว่า รูปที่เกิดพร้อมกับจิต หรือรูปซึ่งเกิดจากจิต เช่น จิตตชรูปขณะนั้นเกิดพร้อมกันก็จริง แต่ว่ารูปนั้นไม่รู้อะไรจริงๆ
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120