สนทนาธรรม ตอนที่ 102
ตอนที่ ๑๐๒
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญที่สุดคืออะไรก็ตามทั้งหมดที่เคยคิดเคยเข้าใจว่าเป็นเรา หรือว่าของเราแท้ที่จริงแล้วต้องรู้ตามความจริงว่าเมื่อไม่ใช่ของเราเป็นอะไร เป็นรูปที่ปรากฏแล้วก็ดับ ไม่ว่าจะแข็งที่ไหนข้างนอก หรือข้างในก็เหมือนกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ขณะนี้ตามความเป็นจริงทุกคนไม่ลืมใช่ไหมว่า กำลังนั่งอยู่ที่นี่ มีใครลืมบ้างไหม กำลังนั่งอยู่ที่นี่ คุณประทีปลืมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ลืมครับ
ท่านอาจารย์ ลืมหรือคะว่าคุณประทีปกำลังนั่งอยู่ที่นี่
ผู้ฟัง ในขณะนี้ไม่ลืมครับ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้นะคะ
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ก็ไม่ลืมครับ
ท่านอาจารย์ แสดงว่าเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เรากำลังทำอะไรอยู่เราก็รู้ ต้องเพิกอิริยาบถ ข้อสำคัญก็คือว่าถ้าตราบใดยังมีเรากำลังนั่งอยู่ที่นี่ต้องเป็นเราตลอดเวลา ต่อให้จะบอกว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เป็นรูปธรรมก็ยังคงเป็นเรา ต่อเมื่อใดประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม อิริยาบถ หรือความเป็นเราไม่มี นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นกำลังรู้ลักษณะของรูปจริงๆ ลองคิดดูว่าถ้ามีแข็งกำลังปรากฏ สมมติว่ากำลังจับที่นิ้ว ส่วนอื่นที่ร่างกายปรากฏ หรือเปล่า เวลานี้ที่ตัวมีแข็งตรงไหนบ้างไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ถ้าปรากฏว่าจิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะแล้วรู้เฉพาะแข็งตรงนั้น จริงๆ ขณะนั้นเพิกอิริยาบถ ไม่มีตัวเราทั้งตัวซึ่งกำลังนั่งที่เคยจำไว้ แต่ว่ามีเพียงลักษณะแข็งที่กำลังปรากฏตรงนั้นจริงๆ เมื่อนั้นถึงจะไม่มีเรา มิฉะนั้นแล้วเราก็พูดว่าไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา แต่ว่าเวลาที่นั่งทีไรก็เป็นเราที่กำลังนั่ง กำลังยืน กำลังพูดกำลังเดิน นี่แสดงให้เห็นว่าปัญญาต้องอบรมจริงๆ จึงจะตรงกับที่เราเคยศึกษาเข้าใจว่าตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรที่เป็นของเรา ถ้ามีแข็งปรากฏตรงไหนเฉพาะตรงนั้นที่ปรากฏเกิดแล้วดับต้องเพิกอิริยาบถ นี่คือความหมายของเพิกอิริยาบถ คือไม่มีความทรงจำที่จะเหลืออยู่ว่าเป็นเราทั้งตัวที่กำลังนั่ง แล้วอย่างนี้ต้องใช้คำว่าบรรพไหนหรือไม่
ผู้ฟัง ในการใช้คำว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ ตามความเป็นจริงเป็นแต่เพียงชื่อที่บอกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ต่อเมื่อสติระลึกสภาพธรรมก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมเท่านั้น
ท่านอาจารย์ แต่ว่าระลึกที่ไหนเท่านั้นเอง ถ้าระลึกที่กายก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน เพราะว่าตอนท้ายของทุกบรรพจะบอกว่าเห็นธรรมทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฐาน ก็เห็นธรรมในธรรม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคำว่ากายนี้ไม่ใช่สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ส่วนที่เคยยึดถือว่าเป็นร่างกายเพราะว่ามีใครบ้างที่ไม่ยึดถือในร่างกายนี้ แม้ไม่ปรากฏยังจำไว้เลย เพราะขณะนี้มีร่างกายตัวเรากำลังนั่งทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏเพราะอะไร เพราะสีสันวรรณกำลังปรากฏ ถ้าเสียงกำลังปรากฏในขณะนั้นไม่มีจริงๆ แต่ยังจำไว้ว่ามี
ผู้ฟัง กายานุปัสสนาสติปัฏฐานตามความเป็นจริงกายนี้ก็เป็นแต่เพียงชื่อของสภาพธรรมที่รวมกันเท่านั้น แต่ลักษณะธรรมที่ปรากฏก็มีที่กายสติก็ระลึกได้เท่านั้น ไม่จำเป็นใส่ชื่อว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อถ้าระลึกที่กายจริงๆ แสดงไว้เลยค่ะว่าได้แก่มหาภูติรูป ๔ ที่ปรากฏที่กาย
ผู้ฟัง เมื่อเวลาสติระลึกเราระลึกที่ชื่อ หรือว่าระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมนั้น
ท่านอาจารย์ ระลึกที่ชื่อไม่ได้ ต้องมีสภาพธรรมจริงๆ ปรากฏให้รู้
ผู้ฟัง ในขณะนั้นด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เวลานี้ถ้าสติจะเกิด คือประการที่ ๑ ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วแต่สติจะเกิดเมื่อไหร่ก็ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดที่กำลังปรากฏ ธรรมเมื่อครู่นี้ดับแล้ว ต้องเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง โดยระลึกในลักษณะที่เราได้ศึกษามาจากการฟัง
ท่านอาจารย์ มิได้ค่ะ มีลักษณะของสภาพธรรมให้เข้าใจไม่ใช่เป็นเรื่องราวยาวๆ ที่กำลังพูดเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เข้าใจในลักษณะนั้นจนกว่าสติจะระลึก แล้วรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นจริงๆ มีจริงๆ อย่างนั้น อย่างเช่นเราพูดเรื่องเห็น เราพูดเรื่องเห็นมากต้องเป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทเป็นสภาพที่กำลังเห็นคือรู้ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏให้รู้ทางตา นี่เราพูดมากยาวเป็นจิตประกอบด้วยเจตสิก ๗ ดวงสำหรับจักขุวิญญาณจิต เราพูดอย่างนี้เพื่อให้สติระลึกที่เห็นที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เพื่อจะได้รู้จริงๆ ว่าเห็นเดี๋ยวนี้มีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ตัวตนด้วย เป็นธาตุรู้ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น เพราะฉะนั้นการรู้จริงๆ อย่างนี้ก็จะทำให้เราคลายความยึดถือในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนของเรา หรือว่าของคนอื่นก็คือจิตเจตสิกรูปเท่านั้น
ผู้ฟัง เมื่อเวลาสติระลึกรู้ในขณะนั้นก็ไม่ได้ระลึกรู้อย่างยาวๆ อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า
ท่านอาจารย์ ระลึกยาวๆ ไม่ได้เลย นี่คือการฟังเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่สติจะระลึกลักษณะนั้นแล้วรู้ว่าจริงๆ เป็นอย่างนั้น เช่นได้ยินจริงๆ ก็คือธาตุรู้ และเสียงก็คือเสียง แต่ขณะที่เสียงปรากฏเพราะว่าสภาพรู้นั้นกำลังรู้เสียงกำลังได้ยินเสียง คือให้เข้าใจว่าตั้งแต่เกิดจนตายมีนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ตลอดเวลา ซึ่งเกิดดับสืบต่อทีละหนึ่งขณะ ตั้งแต่ขณะแรกคือขณะปฏิสนธิ เรื่อยมาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ขณะเห็นก็เพียงขณะเดียว แล้วก็ดับ และสืบต่อกันไปเรื่อยๆ แต่ว่าเรื่องราวต่างๆ ปรากฏมากมายโดยที่ไม่รู้ความจริงว่าทั้งหมดจะมีไม่ได้เลยถ้าจิตไม่เกิดขึ้นพร้อมเจตสิก คือสิ่งซึ่งเหมือนกับมองโลกเป็นสีสันวรรณเป็นคนเป็นสัตว์ แต่ว่าตามความเป็นจริงถ้าจะย้อนรู้เบื้องหลังว่าสภาพซึ่งไม่เปิดเผยก็คือจิต และเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นทำกิจอยู่ตลอดเวลา เวลานี้ เห็น คิด สุข ทุกข์ ดี ชั่วเป็นเรื่องของจิตเจตสิกทั้งหมด แต่ไม่เคยรู้ แต่รู้เรื่องราวภายนอกหมด สีกำลังปรากฏเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นอาหารเป็นอะไรต่างๆ นี่คือเรื่องราวภายนอก แต่ไม่รู้ว่าทั้งหมดมีเพราะจิต เห็นบ้าง คิดบ้าง นึกบ้าง ตลอดเวลา
ผู้ฟัง ถ้าจิตไม่มีเรื่องทั้งหมดก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มีค่ะ มีไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าในขณะนี้สติจะยังไม่ระลึก เราก็เข้าใจตามความเป็นจริงได้ว่าสภาพธรรมเขาจะมีลักษณะของเขา
ท่านอาจารย์ เป็นจิตเจตสิกรูปเกิดดับสืบต่อตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่ยึดมั่นในตัวเรามากมายเพราะว่าวันหนึ่งก็ต้องตาย มีจิตที่เกิดก็ต้องมีขณะสืบต่อไปจนถึงที่เราใช้คำสมมติว่าตาย แล้วก็ต้องเกิดอีก และก็หมุนเวียนไปอย่างนี้ ไม่ว่าใครทั้งนั้น เพราะฉะนั้นชาติหนึ่งที่เราคิดว่าเป็นเราที่มีความสำคัญมาก แท้ที่จริงก็เพียงชาติเดียวที่เป็นคนนี้ ชาติก่อนก็อาจจะมีความสำคัญหมายในเรื่องราวของชาติก่อน และชาติหน้ากำลังคอยมาอีกที่เราจะต้องไปยึดต่อไปอีกติดต่อไปอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจจริงๆ เราก็เห็นว่าเป็นธรรมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเป็นอย่างนี้ ชาตินี้จะสุขจะทุกข์มากน้อยสักเท่าไหร่ก็ชั่วคราว ไม่มีอะไรที่จะยั่งยืนอยู่ได้เลยสักอย่างเดียว
ผู้ฟัง ที่มาศึกษาเรื่องปรมัตถธรรมก็เพื่อให้รู้ความจริงว่ามีแต่เพียงจิตเจตสิกรูปซึ่งเกิดดับสลับกันต่อเนื่องโดยไม่ขาดสาย
ท่านอาจารย์ ถ้าคลายความยึดถือในตัวตนทุกข์จะน้อยลงมาก เพราะว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าไม่มีเรา ไม่มีของเรา ทุกอย่างเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดปรากฏแล้วก็หมดไป
ผู้ฟัง แต่ถ้าเพียงแต่เข้าใจอย่างเดียว ก็จะทำให้เราเราคลายทุกข์ได้บ้างไหม
ท่านอาจารย์ แล้วแต่คุณประทีปคลายไปบ้างหรือยัง
ผู้ฟัง ของผมก็ยังไม่รู้ตัว ในขณะนี้
ผู้ฟัง กิเลสนี่ก็จะคงหมายถึงโลภะ โทสะ โมหะ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าโลภะเป็นสมุทัยซึ่งจะต้องละ ทุกข์เป็นสิ่งที่จะต้องรู้ สมุทัยเป็นสิ่งที่จะต้องละ ถ้าไม่ใช่เป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานจะไม่เห็นโลภะแน่นอน ลืมตาตื่นขึ้นมาก็เป็นแล้ว ที่หน้าคุณพรรณธิภา ก็มีดอกกล้วยไม้ทันทีที่เห็น เกือบจะไม่รู้เลยว่ามีโลภะเกิดต่อจากทางตาที่เห็น เพราะว่าเป็นสิ่งที่น่าชอบก็เกิดความยินดีพอใจขึ้นถ้าสติไม่ระลึกไม่มีทางรู้โลภะ และไม่มีทางละโลภะด้วย
เพราะฉะนั้นให้เห็นว่ากระแสของชีวิตในวันหนึ่งๆ ตั้งแต่ลืมตามาถ้าไม่เป็นกุศล ขณะนั้นก็เป็นอกุศล แล้วถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทมนัสเวทนาก็ไม่ใช่โทสมูลจิต ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นโลภมูลจิตซึ่งไม่เคยเห็นเลยแต่ว่าเป็นสิ่งที่ควรจะต้องละ ถ้าไม่ละก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งพระนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเวลาใดที่สติปัฎฐานเกิด ขณะนั้นไม่มีโลภะเพราะว่าขณะนั้นเป็นกุศล และปัญญาก็กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่สติระลึกทีละเล็กทีละน้อย จึงกล่าวว่าละโลภะ และต่อไปตลอดสายก็จะยิ่งเห็นโลภะมากขึ้นละเอียดขึ้นด้วย ซึ่งถ้าไม่เห็นก็ละโลภะอย่างละเอียดไม่ได้ซึ่งเกิดร่วมกับความเห็นผิดซึ่งจะต้องดับ เพราะฉะนั้นยิ่งสติปัฎฐานเกิดมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงไม่ใช่เพียงรู้แต่ชื่อ
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฎฐานเกิดนั้นละโลภะได้หมายถึงว่าละแต่ไม่ได้ลดใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กุศลจิตเกิดขณะนั้นอกุศลจิตไม่เกิดจะเรียกว่าลดไหม
ผู้ฟัง แต่ยังมีอยู่
ท่านอาจารย์ แน่นอนยังไม่ได้ดับค่อยๆ รู้ขึ้นค่อยๆ ละไปถ้าความรู้ไม่เกิดก็ละไม่ได้
ผู้ฟัง พอสติปัฏฐานดับไปแล้ว
ท่านอาจารย์ อกุศลเกิดก็ได้กุศลอื่นเกิดก็ได้
ผู้ฟัง โลภะก็เกิดต่ออีกก็ยังละไม่ได้
ท่านอาจารย์ ของธรรมดาธรรมดาที่สุด ถ้าไม่ใช่โลกกุตรจิตแล้วดับกิเลสไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ายังมีเชื้อปัจจัยที่จะทำให้อกุศลจิตเกิด
ผู้ฟัง ถ้าสติปัฎฐานเกิด เราจะตอบได้ไหมว่ากิเลสลดลง
ท่านอาจารย์ ทำไมเราจะต้องไปคิดมากว่าลดลงหรือเปล่า ลดลงแค่ไหน น้อยไปเท่าไหร่ หรืออะไร ให้ทราบว่าขณะใดที่จิตเป็นกุศลขณะนั้นไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นเราก็รู้จักตัวเราเองว่าวันหนึ่งกุศลมากหรืออกุศลมาก แต่คงไม่ต้องถึงกับชั่งตวงวัดใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ ถ้าเผื่อว่ากิเลสที่จะลดน้อยลงได้ จะเป็นเพราะว่าเรารู้สภาพตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เพราะปัญญา
ผู้ฟัง เพราะปัญญาก็ต้องเกิดจากการเจริญสติปัฐาน
ท่านอาจารย์ จากการศึกษาการพิจารณาการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง เคยฟังเทปท่านอาจารย์บอกว่าการที่จะรู้ลักษณะของจิตเจตสิกในแต่ละประเภทแตกย่อยลงไปในแต่ละประเภทที่เป็นปัญญารู้จริงๆ ไม่ใช่ใส่ชื่อจะต้องรู้ลักษณะที่เป็นธาตุรู้ที่เป็นนามธรรมก่อน ไม่ทราบว่าไม่สามารถที่จะรู้ในแต่ละอย่างได้เลย ต้องรู้แยกนามธรรมแยกจากรูปธรรมก่อนถึงจะรู้ในรายละเอียดได้
ท่านอาจารย์ คุณสุนันท์เวลาโกรธรู้ไหมคะ
ผู้ฟัง รู้ค่ะ รู้
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นชื่อว่ารู้เจตสิกที่โกรธหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้ารู้ลักษณะก็จะรู้
ท่านอาจารย์ เด็กๆ ก็รู้ แข็งเด็กๆ ก็รู้ ดีใจเด็กๆ ก็รู้ ถามว่าชอบไหมเด็กๆ ก็บอกว่าชอบ และหมายความว่าเขารู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า ลักษณะของโทสะเปลี่ยนไม่ได้ ปรากฎ ลักษณะของโลภะก็เปลี่ยนไม่ได้ปรากฏ ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้ลักษณะของความโกรธความขุ่นใจหรือความดีใจ ทุกคนรู้ แต่เป็นตัวตน เพราะฉะนั้นไม่มีความรู้จริงในลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมทั้งๆ ที่โทสะเป็นปรมัตถธรรม โลภะเป็นปรมัตถธรรมแท้ๆ แต่เพราะความไม่รู้ แม้ว่าปรมัตถธรรมปรากฏมีจริงๆ ก็มีความไม่รู้ในสภาพที่เป็นปรมัตถว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ขณะที่รู้ว่าโกรธแล้วลักษณะเป็นอย่างไรก็ไม่ใช่ว่ารู้ปรมัตถหรือคะอย่างเด็กๆ
ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรมปรากฏเขารู้ลักษณะของปรมัตธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นนามธรรม ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง ก็เขาไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรียกชื่อค่ะ ไม่รู้ค่ะ ไม่รู้ไม่ต้องเรียกชื่อ ไม่รู้ไม่ใช่ว่าต้องเรียกชื่อเขาไม่รู้ว่าเป็นนามธรรมเขาไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม แต่เขารู้จักลักษณะที่โกรธ
ผู้ฟัง รู้จักลักษณะโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตกรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสำคัญมาก ที่เรียกว่าเรารู้เพียงชื่อ หรือว่าเรารู้สภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน ถ้าเรารู้เพียงชื่อเราตอบได้ พอโกรธแล้วบอกว่าโกรธเราก็เรียกถูก ใช่ไหมคะ กำลังโกรธแล้วก็เรียกชื่อถูกด้วยว่าโกรธ แต่ก็ไม่ใช่หมายความว่ารู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
ด้วยเหตุนี้การที่จะรู้ว่าเป็นปรมัตถธรรมคือรู้ว่าไม่ใช่เรา แล้วก็เป็นสภาพธรรม แล้วก็มีลักษณะที่เป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้เท่านั้น ถ้ารู้อย่างนั้นจริงๆ จึงจะชื่อว่ารู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง ถ้ารู้ว่าจิตเป็นกุศล และอกุศลแตกต่างกันอย่างนั้นก็ไม่เป็นไม่เป็นการรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถ์เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ว่าเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมก็รู้ชื่อทั้งนั้น แม้ว่าสภาพธรรมใดปรากฏก็เรียกชื่อได้ถูกต้อง ริษยาเกิดขึ้นก็รู้เรียกชื่อถูกว่านั้นเป็นอิสสา เรียกชื่อไม่ผิดเลย สภาพธรรมนั้นก็กำลังเป็นอย่างนั้นแต่ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนที่เป็นนามธรรม
ผู้ฟัง ไม่ใช่รู้ว่าเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ ถึงเวลานี้เขาบอกว่าเป็นนามธรรมก็พูดได้ เรียกได้ และบอกได้ด้วยว่าโลภะเป็นนามธรรม โลภะกำลังติดข้องกำลังต้องการ แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นรู้ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เพียงแต่รู้ชื่อว่าเป็นนามธรรม
ผู้ฟัง แล้วอย่างไรถึงจะรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานต้องรู้ว่าสติปัฎฐานคือขณะไหน
ผู้ฟัง รู้ว่าขณะนั้นมีลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ รู้ว่าขณะใดหลงลืมสติ ขณะใดสติเกิด นี่เป็นขั้นแรก
ผู้ฟัง ถ้าเรารู้รูปธรรมเราก็จะรู้ลักษณะนี้เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ขั้นแรกรู้ว่าสติเกิด สติระลึกอะไร ปัญญารู้อะไร รู้ลักษณะของรูปธรรม หรือนามธรรม จึงไม่ใช่เป็นการพูดตาม
ผู้ฟัง แต่ถ้าเราระลึกรู้ลักษณะของรูปธรรมโดยที่ไม่ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมมาก่อนเลยจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ไม่รู้ลักษณะของนามธรรมก็ไม่เรียกว่าสติปัฎฐาน
ท่านอาจารย์ ไม่ค่ะเหมือนกันกำลังเรียกชื่อเราก็บอกได้ว่านี่แข็ง แข็งเป็นรูปธรรมเราก็พูดอย่างนี้
ผู้ฟัง ไม่สามารถที่จะแยกได้ว่าไหนเป็นนามธรรมไหนเป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่ความรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมหมายความว่าไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด และขณะนั้นมีสติสัมปชัญญะเกิดต้องรู้ความต่างกันของขณะที่มีสติกับหลงลืมสติ เพราะใครก็พูดได้ว่านี่แข็ง นี่เป็นรูปธรรมนี่ไม่ใช่สภาพรู้แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นสติระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์รู้สึกจับใจตรงที่ว่าถ้าโทสะเกิดแล้ว รู้ว่าเป็นโทสะแต่เรียกชื่อ แต่ว่าถ้าโทสะเกิดแล้วรู้ว่าเป็นลักษณะของโทสะ และเป็นเพียงนามธรรมที่ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน พูดตามนะคะ ไม่ใช่ว่ารู้ ถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้ไปพิจารณาบ่อยๆ ศึกษาแล้วพอที่จะช่วยเกื้อกูลได้มากขึ้นหรือไม่
ท่านอาจารย์ คือสติปัฎฐานๆ จุดเริ่มแรกก็คือว่ารู้ว่าขณะใดสติเกิด จะรู้ว่าต่างกับขณะอื่นซึ่งหลงลืมสติ เพราะเหตุว่าแม้จะฟังเรื่องโทสะรู้ว่าเป็นนามธรรม รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน เรียกชื่อถูกเวลาที่โทสะเกิด แต่ขณะนั้นหลงลืมสติเพราะว่าไม่ได้ระลึกลักษณะที่เป็นโทสะที่เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นธาตุรู้หรือว่าเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นจึงเรียกแต่ชื่อ ต่อเมื่อใดรู้ในอาการที่เป็นธาตุรู้จริงๆ ไม่เกี่ยวกับรูปธรรมเลย เป็นลักษณะของธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีเป็นปกติ แต่เริ่มค่อยๆ เข้าใจในอาการที่เป็นธาตุรู้ว่าธาตุรู้คืออย่างนี้ ต่างกับรูปธรรม
ผู้ฟัง ธาตุรู้ที่ต่างๆ กันที่เป็นนามธรรมที่เป็นธาตุรูนี้จะมีลักษณะที่เหมือนๆ กันอยู่อย่างหนึ่ง คือเป็นธาตุรู้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่รูปธรรม
ผู้ฟัง แต่ว่าจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละลักษณะ
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่าจิตต่างกับเจตสิก
สิ่งที่มีจริงไม่ต้องเรียกก็ยังมีจริงหรือเปล่า อย่างแข็งมีจริง ยังไม่ต้องเรียกเลยไม่ต้องเรียกว่าอะไรทั้งสิ้นแม้แต่คำว่าแข็งก็เป็นคำที่บัญญัติขึ้นเรียกลักษณะนั้นซึ่งต่างภาษาก็ใช้ภาษาที่ต่างกัน ภาษาไทยใช้แข็ง ภาษาอื่นไม่ใช่แข็งก็ได้ใช่ไหมคะ แต่ลักษณะสภาพของแข็งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงแม้ไม่เรียกชื่อสิ่งนั้นก็ยังคงมีจริงๆ แต่สำหรับบัญญัติหรือว่าคำที่จะเรียกว่าผม เรียกรถยนต์ เรียกตระกร้าเรียกอะไรก็ตามแต่ ทั้งหมดเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีคำคือไม่มีการคิดคำ สิ่งที่มีจริงก็ยังคงมีจริง
ขณะที่ความคิดเกิดขึ้น ขณะที่คิดไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่มีจริงคือคิด แต่สิ่งที่ไม่จริงคือเรื่องที่คิด หรือคำที่คิด เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจว่าเวลาที่เราพูดถึงสิ่งที่มีจริงหมายความว่าสิ่งนั้นมีแม้ไม่เรียกอะไร ก็มี
ผู้ฟัง มีลักษณะเฉพาะตัวอยู่เลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ มีลักษณะของเขาแต่ละอย่าง
ผู้ฟัง ที่จะรู้ได้
ท่านอาจารย์ แสดงว่ามีจริงถ้ามีจริงต้องมีลักษณะ ถ้าบอกว่ามีจริงแล้วไม่มีลักษณะสิ่งนั้นจะมีจริงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็คงพอจะแยกระหว่าง ๒ อย่างนี้ได้ ว่าถ้าใช้คำว่าธรรมหรือปรมัตถธรรม หรืออภิธรรมอย่างที่เราเริ่มคำแรก เราก็ต้องรู้ว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริงโดยการตรัสรู้ของพระองค์
ไม่ทราบว่ายังมีใครที่ยังแยกไม่ออกบ้างไหมคะ สิ่งที่มีจริงกับสิ่งที่ไม่มีจริง สิ่งที่มีจริงคือไม่ต้องใช้ชื่ออะไรก็มี แต่ถ้ามีการสมมติบัญญัติเรียกคำทั้งหมดเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นแม้แต่ความคิดเรื่องคำเรื่องราวทั้งหมดไม่จริง เรื่องราวก็คือคำต่างๆ ไม่จริง แต่ว่าสภาพจิตที่คิดจริง ก่อนที่จะไปถึงแยกเป็นอย่างๆ ต้องเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้นก่อน
ผู้ฟัง ท่านผู้ฟังถามว่าการคิดนึกที่วิจิตรต่างกันเกิดจากอะไร
อ.สุภีร์ คุณพูลทรัพย์ การคิดนึกที่ตอบไปแล้วคือตอบอย่างไร
ผู้ฟัง การคิดนึกก็คือจิตที่คิดนึกแล้วก็เป็นความจริง ส่วนเรื่องที่คิดนึกนี่เป็นเรื่องที่เราคิดเป็นคำ เป็นการบัญญัติเป็นสภาพที่ไม่จริง ก็อยากจะให้ช่วยตอบว่าความคิดนึกที่วิจิตรต่างกันอย่างไรวิจิตรมากวิจิตรน้อย ต่างกันเกิดจากอะไร
อ.ประเชิญ ความคิดที่วิจิตรต่างกันตามที่ผมเข้าใจก็คือว่าเกิดจากการสั่งสมที่เคยคิดมาก่อน แล้วก็เคยเห็นเคยได้ยิน ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสมา แล้วก็เคยคิดมา ก็ทำให้การคิดนั้นแตกต่างกัน ลักษณะของจิตอย่างหนึ่งก็คือวิจิตรต่างๆ กันตามสภาพการสั่งสม และจิตวิจิตรเพราะตัณหาวิจิตรก็ทำให้ต่างกัน
ผู้ฟัง การคิดนึกถ้าเผื่อเราไม่คิดนึกถึงคำ ถึงชื่อ เราคิดนึกถึงสีเลย ถึงสิ่งที่มีที่เราคิดว่าสิ่งนี้มีจริง จะเปรียบเทียบอย่างไรว่าขณะที่คิดนึกคือนึกถึงลักษณะ ที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้กลิ่นมา จะเป็นสิ่งที่มีจริงหรือสิ่งที่ไม่มีจริงครับการคิดนึก
อ.ประเชิญ มีสิครับเพราะว่าสภาพคิดคือจิต
ผู้ฟัง แล้วสิ่งที่ถูกคิดถูกนึก
อ.ประเชิญ สิ่งที่ถูกคิดจะเป็นเรื่องที่ถูกคิดก็ได้ หรือว่าจะเป็นสภาพธรรมก็ได้
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120