สนทนาธรรม ตอนที่ 111
ตอนที่ ๑๑๑
ท่านอาจารย์ สภาพของจิตไม่เปลี่ยนจิตต้องเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เสมอไปอย่างเดียว แต่เจตสิกมีถึง ๕๒ ประเภท แล้วก็เปลี่ยน เช่นความรู้สึกไม่ใช่มีแต่เฉพาะดีใจ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเสียใจ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะทุกข์กาย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะสุขกาย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะอุเบกขา รวมความว่าเวทนาซึ่งเป็นภาษาบาลี ภาษาไทยคือความรู้สึกมีลักษณะ ๕ อย่าง แต่เกิดขึ้นทีละหนึ่งลักษณะ มีใครบ้างที่เกิดมาไม่เคยเสียใจ ไม่เคยโกรธมีไหม แต่โกรธไม่ใช่เสียใจ ไม่ใช่ความรู้สึก แต่เวลาโกรธความรู้สึกไม่สบายเลย ตรงกันข้ามกับเวลาเห็นสิ่งที่น่าพอใจ เพราะฉะนั้นเวทนาเจตสิกแม้ว่าจะเกิดกับจิตทุกดวงก็จริงแต่สภาพของเวทนานั้นเปลี่ยนเป็นอุเบกขาก็ได้ โสมนัสก็ได้ โทมนัสก็ได้ แต่จิตไม่เปลี่ยน จิตเป็นมนินทรีย์คือต้องเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น ไม่ทำหน้าที่อื่นเลยทั้งสิ้น หน้าที่ของจิตมีอย่างเดียวคือรู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏ
แต่จิตไม่ใช่รู้อย่างปัญญาซึ่งเป็นความเห็นถูกว่าไม่ใช่ตัวตน แต่ไม่ว่าอารมณ์ปรากฏทางใดจิตรู้อารมณ์นั้นเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้ ส่วนเจตสิกอื่นๆ ก็เกิดทำกิจของเจตสิกนั้นๆ ตามหน้าที่ เช่นเวทนาความรู้สึกเป็นสภาพที่เป็นอินทรีย์ด้วยเป็นใหญ่ เพราะเหตุว่าถ้าสุขเวทนาเกิดขึ้นขณะใดเจตสิก และจิตซึ่งเกิดร่วมด้วยเป็นสุขหมดเป็นไปตามเวทนาเจตสิก เพราะฉะนั้นที่เราใช้คำว่าสหคตัง ทุกครั้งที่พูดถึงจิตดวงหนึ่งดวงใดจะต้องมีเวทนาเจตสิกกำกับทุกครั้งให้รู้ความต่างกัน เวลาที่ใช้คำว่าโสมนัสสสหคตังเป็นสภาพของความรู้สึก ซึ่งดีใจเป็นสุขทางใจ ทำให้เจตสิก และจิตที่เกิดร่วมด้วยเป็นสุข ขณะนั้นจะมีความรู้สึกเป็นสุขชัดเจน เป็นอินทรีย์หนึ่งในอินทรีย์ ๒๒ ทุกอย่างเป็นไปกับความรู้สึกนั้น ถ้าเกิดตรงกันข้าม กำลังสบายๆ ทุกอย่างได้รับข่าวร้ายกะทันหันทุกขเวทนาเกิด ทุกอย่างที่เกิดกับจิตขณะนั้นจะเฉยๆ หรือว่าจะโสมนัสไม่ได้เลย เมื่อเวทนาเป็นอย่างใดสภาพธรรมอื่นที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นไปกับเวทนานั้น นี่คืออินทรีย์หนึ่ง ซึ่งก็เป็นขันธ์หนึ่ง
ซึ่งต่อไปก็คงจะเพิ่มเติมได้ว่า คงไม่มีใครลืมว่าปรมัตถธรรมมี ๔ หนึ่งจิต สองเจตสิก สามรูป สี่นิพพาน จิตเป็นหนึ่ง ไม่ว่าจิตเกิดขึ้นขณะใดก็เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์เป็นวิญญาณขันธ์ ใช้อีกคำหนึ่ง สักครู่ท่านอาจารย์สมพรคงจะให้ความหมายของวิญญาณกับขันธ์ แต่ดิฉันก็คงจะอธิบายให้เข้าใจแต่ไม่ใช่ในเรื่องของพยัญชนะหรือในเรื่องศัพท์ เมื่อสภาพธรรมไม่ได้มีน้อยเลย จิตแม้ว่าเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์แต่ก็เกิดไม่หยุด ตั้งแต่เกิดจนตายมีใครนับประมาณได้ว่าจิตเกิดไปแล้วเท่าไหร่ เพราะว่าเร็วแสนเร็ว ขณะนี้ทันทีที่เห็นก็ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน แล้วระหว่างจิตเห็นกับจิตได้ยินที่มีวาระที่จะเกิดดับสืบต่อกันจิตหลายขณะที่ห่างกัน แต่เสมือนว่าพร้อมกัน เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าความรวดเร็วของการเกิดดับของจิตเจตสิกเร็วแค่ไหน
จิตนับไม่ถ้วนเลย จิตเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดเวลา แต่รวมแล้วก็คือประเภทเดียวกัน เมื่อจัดเป็นกองหรือเป็นส่วนจะแยกปรมัตถธรรม ๓ ซึ่งเกิดดับออกเป็น ๕ ส่วน ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับส่วนใดที่เป็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ เฉพาะจิตอย่างเดียวเป็นวิญญาณขันธ์หนึ่งส่วน และเจตสิกถึงแม้ว่าจะมีต่างกันเป็นประเภท ๕๒ อย่าง เช่นโลภะเป็นเจตสิก โทสะเป็นเจตสิก วิริยะเป็นเจตสิก โมหะเป็นเจตสิก ทุกอย่างที่มีในชีวิตประจำวันเมื่อไม่ใช่จิตแล้วเป็นนามธรรมเป็นเจตสิกทั้งหมด เราจะรู้หรือไม่รู้ จะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อก็ตาม เจตสิกก็ต้องเกิดขึ้นทำกิจของเจตสิกนั้นๆ
เพราะฉะนั้นเจตสิกทั้งหมดมีใครรู้บ้างวันนี้ ๕๒ อย่าง แต่ที่รู้แน่ๆ คือ เวทนา ใช่ไหมหรือเวทนาก็ไม่รู้ เวทนารู้ไหมคะความรู้สึกรู้ไหม ถามว่ารู้สึกอย่างไร ตอบได้ใช่ไหมเสียใจตอบได้ ใครพูดอะไรหรือทำอะไรที่ไม่ถูกใจจิตเศร้าหมองเสียใจ น้อยใจหรือคิดถึงเรื่องที่อาจจะทำให้เกิดความทุกข์แม้ว่าผ่านไปแล้ว พอคิดขึ้นก็ยังอาจจะเป็นความรู้สึกที่เศร้าหมองเสียใจอีกก็ได้ แสดงให้เห็นว่าทุกคนมีเวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ แล้วก็รู้ลักษณะของเวทนาเจตสิก แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับจิตจะไม่เกิดที่อื่นเลย เจตสิกทั้งหมดต้องเกิดกับจิต เกิดในจิต เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน และก็รู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นเราก็แยกเวทนาซึ่งเป็นเจตสิกหนึ่งออกไปอีกพวกหนึ่ง เวทนาก็เกิดกับจิตทุกดวง ชาตินี้เวทนานับไม่ถ้วนใช่ไหม เวทนาอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ที่เกิดนี่ก็จริงๆ ก็เป็นอุเบกขา ถ้าสังเกตมาทั้งหมดนี้ก็มีทั้งนั้น
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ใช่ไหม พอถามก็เฉยๆ ตั้งแต่เช้ามานี้ก็เฉยๆ เสียมากเลย นานๆ ก็จะโสมนัสนิดหนึ่งหรือว่าโทมนัสก็แล้วแต่เหตุการณ์ บางคนก็เจ้าทุกข์คิดมากไม่มีความสุขเลย คิดแต่เรื่องทุกข์ๆ ทั้งนั้นเลย เรื่องสุขๆ ไม่คิดก็มีใช่ไหม ขณะนั้นก็แสดงว่าสำหรับคนนั้น โทมนัสเวทนาก็ออกจะมากพอที่จะรู้ได้ว่าเป็นคนเจ้าทุกข์ บางคนก็รื่นเริง ไม่ทุกข์เลย ทุกอย่างสบายหัวเราะร้องเพลงจะสังเกตได้ ใครร้องเพลงทั้งวัน เวทนาเป็นอย่างไร ขณะที่กำลังร้องเพลงเฉยๆ ได้ไหม น้อยะ ยากเพราะเหตุว่าเวลาร้องเพลงนี่แสดงถึงความรู้สึกที่เป็นสุข
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกทั้งหมดจัดเป็นพวกหนึ่งคือเป็นพวกความรู้สึกคือเวทนาขันธ์ หรือกองของเวทนา แม้ว่าปรมัตถธรรมจะมี ๓ แต่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ขันธ์หนึ่งคือรูปขันธ์ ส่วนจิตเป็นสภาพรู้ แต่รูปไม่รู้อะไรเลย เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ และในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็มีรูปมากมายเลย เพราะฉะนั้นจิตจะรู้อะไร ส่วนใหญ่ตั้งแต่เช้ามาคือในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ไม่ใช่มีแต่นามขันธ์คือจิตเจตสิก แต่มีรูปด้วย ดังนั้น ปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นมี ๓ อย่าง คือจิต เจตสิก รูป จิตเจตสิกเป็นสภาพรู้อารมณ์ ในภูมิที่มีรูปอย่างโลกเราเวลานี้ ส่วนใหญ่จิตจะรู้อะไร
ผู้ฟัง รู้รูป
ท่านอาจารย์ รู้รูป เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่ารูปมีมาก แต่ที่ปรากฏในชีวิตประจำวันมีเพียง ๗ รูป และรูปทุกรูปไม่ว่าจะเป็นรูปอะไร รูปที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็อยู่ในประเภทของรูป หรือจะเรียกว่าอยู่ในกองของรูป ภาษาบาลีใช้คำว่ารูปขันธ์คือเป็นรูป เป็นกองรูป เป็นประเภทรูป ไม่เกี่ยวกับนามเลย แยกขาดจากนามโดยเด็ดขาดนี่คือขันธ์ที่หนึ่ง คือรูปขันธ์ ส่วนขันธ์ที่สองกล่าวถึงแล้วคือ เวทนาขันธ์ ประเภทความรู้สึกทุกชนิด จะเป็นความรู้สึกประเภทใดๆ ก็เป็นเวทนาขันธ์ ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เจตสิกหนึ่ง ใน ๕๒ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เป็นขันธ์ เจตสิกเป็นวิญญาณขันธ์ รูป เป็นรูปขันธ์ ก็เหลือเจตสิกซึ่งจำแนกเป็น ๓ ขันธ์ เพราะเหตุว่ารูปเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ เมื่อขันธ์มี ๕ รูปเป็นหนึ่งขันธ์ จิตเป็นหนึ่งขันธ์ ก็เหลืออีก ๓ ขันธ์ซึ่งล้วนเป็นเจตสิก แต่ใน ๓ ขันธ์ เฉพาะเวทนาขันธ์ความรู้สึกเท่านั้นที่เป็นเวทนาขันธ์ แล้วก็มีเจตสิกอีกเจตสิกหนึ่งคือสัญญาเจตสิกซึ่งเป็นสภาพจำ ลักษณะที่จำ มีใครไม่มีบ้าง มีไหม แต่ก็ยังจำ จะเสื่อมหรือไม่เสื่อมก็ยังจำ ต้องเกิดกับจิตทุกดวงเพราะสัญญาที่จำนี่เองจึงทำให้ปรุงแต่งเกิดสังขารขันธ์ ขวนขวายต้องการแล้วแต่ว่าจะเป็นด้วยโลภะด้วยโทสะด้วยโมหะ ถ้าความรู้สึกนั้นไม่ใช่ความสุขแล้วสัญญาไม่ได้จำก็คงจะไม่มีความสำคัญอะไร แต่ถ้าเป็นความรู้สึกที่ความรู้สึกเป็นสุขต่างกับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ต่างกับความรู้สึกเฉยๆ ทุกคนต้องการความรู้สึกที่เป็นสุขหรือโสมนัส
เพราะฉะนั้นที่โลกอยู่มาตลอด ไม่ว่ากี่กัป กี่กัลป์ ก็ด้วยความต้องการของสุขเวทนาซึ่งจะหาได้จากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่คือชีวิตประจำวันจริงๆ ให้เห็นความสำคัญของสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งคือสัญญาเจตสิก ซึ่งจำ เพราะจำจึงขวนขวาย เจตสิก ที่เหลือทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ เจตสิก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เป็นเวทนาขันธ์หนึ่ง เป็นสัญญาขันธ์หนึ่ง เจตสิก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ รูปเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ ครบ ๕ ขันธ์ ได้แก่ปรมัตถธรรม ๓ ก็เป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด คือเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ผู้ฟัง ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตรู้รูปเป็นส่วนมาก ก็ต้องเป็นรูปในรูปปรมัตถ์ใช่ไหมบ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ะเวลานี้รูปทั้งนั้นที่ปรากฏทางตา ดับแล้ว ก็เห็นอีก ดับแล้วก็เห็นอีก เสียงก็ปรากฏ แข็งก็ปรากฏ
ผู้ฟัง ก่อนหน้าที่จะฟังเรื่อง จิต รู้เสียง เช่นว่า ฟังอาจารย์ ฟังเสียง
ท่านอาจารย์ เสียงก็เป็นรูป
ผู้ฟัง โดยธรรมดาปัจจุบันนี้ก็น่าจะเป็นรู้บัญญัติ มากกว่าที่จะรู้ปรมัตถ์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็อยู่ในโลกของบัญญัติมานานแสนนานกว่าจะรู้ว่าความจริงแล้วก็มีปรมัตถ์ธรรมจึงได้มีบัญญัติ
ผู้ฟัง หนทางที่จะไปให้รู้รูปซึ่งเป็นปรมัตก็ต้องมีหนทางเดียวคือการเจริญสติ
ท่านอาจารย์ โดยวิธีไหน
ผู้ฟัง ก็โดยการฟังอย่างนี้ก็คือทางหนึ่ง โดยการฝึกทดลองปฏิบัติก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง
ท่านอาจารย์ มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐานคืออย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิไม่มีความเห็นถูกสัมมาสติก็เกิดไม่ได้ โดยวิธีที่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่ว่าเพียงฟังเรื่องหรือจำเรื่องแต่ต้องเข้าใจตัวธรรมจริงๆ ว่ามีธรรมมีปรมัตถธรรมไม่ใช่มีเรื่องราวมีปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง เชื่อว่าปัจจุบันนี้ก็มีปรมัตถธรรมอยู่ แต่ที่รู้บัญญัติอยู่ก็ปิดบังสภาวะของ
ท่านอาจารย์ เราถึงต้องฟังเรื่องปรมัตถ์ ที่มาที่นี่มาฟังเรื่องปรมัตถธรรมเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ เรื่องอื่นไม่สนใจ เดี๋ยวก็รู้มากมาย กลับไปก็คุยกันเรื่องนั้นเรื่องนี้ อ่านหนังสือเรื่องนั้นเรื่องนี้ดูโทรทัศน์ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวของบัญญัติทั้งนั้น แต่โอกาสที่จะรู้ว่าปรมัตถธรรมเพราะมีปรมัตถธรรมจึงมีบัญญัติ ทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่าสุขทุกข์หรือปัญหาของโลกหรือของคนทั้งหมดอยู่ที่ไหนจะได้แก้ที่นั่น เพราะว่าถ้าไม่มีจิตไม่มีเจตสิกไม่มีสภาพรู้ไม่เดือดร้อนเลย แต่เมื่อมีจิตมีเจตสิกซึ่งเป็นสภาพรู้ แต่รู้ไม่ถูกไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ได้เข้าใจถูก เพราะฉะนั้นจึงเป็นทุกข์ แม้แต่เป็นรูปก็เข้าใจว่าเป็นเรา เป็นเขา ถ้าจะโกรธคนอื่นลองพิจารณาดูว่าโกรธอะไรกำลังเห็นโกรธสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือว่าโกรธเสียง หรือว่าโกรธรูป หรือว่าโกรธอะไร เป็นเรื่องความนึกคิดทั้งหมด เพราะจริงๆ แล้วขอให้ทราบว่าทุกคนไม่ได้อยู่ ในโลกหลายใบ แต่ทุกคนอยู่ในโลกของตัวเอง คือจิตเกิดขึ้นแต่ละคน ก็แต่ละขณะ แต่ละโลก เพราะฉะนั้นโลกนี้เกิดดับสืบต่อสะสมกุศลหรืออกุศลประการใด โลกนั้นคือจิตนั้นเกิดดับสืบต่อสะสมกุศลอกุศลประการใดก็เป็นแต่ละโลก
เพราะฉะนั้นขณะนี้ทุกโลกจะว่ามีหน้าต่างหรือมีประตูอยู่ ๕ บาน คือตา หู จมูก ลิ้นกาย และก็ใจด้วย เป็นทางที่ ๖ จะเห็นได้ว่าเรามีการเห็น แล้วก็มีการได้ยิน สั้นแสนสั้นแต่เรื่องที่คิดนี่ยาวนานมาก ยังเป็นคนนั้น เมื่ออาทิตย์ก่อนไปเชียงใหม่ ปีก่อนไปที่ไหนก็ยังเป็นเรื่องราวเป็นคนเป็นความจำ แต่จริงๆ แล้วไม่มีเหลือเลย จิตใดเกิดแล้วดับทันที เกิดอีกรู้อารมณ์ที่ปรากฏแล้วดับทันที สิ่งที่ปรากฏก็เล็กน้อย สภาพของจิตก็เล็กน้อย เมื่อดับแล้วก็ดับหมดทั้ง ๒ อย่าง ไม่มีอะไรเหลือเลยทุกๆ ขณะเป็นอย่างนี้
ผู้ฟัง เมื่อไม่ประจักษ์การเกิดดับของจิตก็ย่อมมีแต่บัญญัติเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ ประจักษ์ ไม่ใช่ว่าตาเห็นหรือนั่งจ้อง แต่ความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้นละความไม่รู้ลงไปทีละเล็กทีละน้อย สภาพธรรมจึงจะปรากฎได้ ถ้ายังคงมีความต้องการ มีความไม่รู้ มีความจงใจก็ปิดบังสภาพธรรมอยู่ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมกำลังเกิดดับ เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะประจักษ์ได้คือความรู้เกิดขึ้นละความไม่รู้ และความต้องการให้เบาบางลง
อริยสัจมี ๔ อริยสัจ ที่๑ คือทุกขอริยสัจจ สภาพที่เกิดดับเป็นทุกข์คือไม่เป็นสิ่งที่น่ายินดีติดข้อง ทำไมถึงต้องการสิ่งซึ่งชั่วคราวเหลือเกิน เพียงเกิดแล้วดับ แต่ก็ต้องการมากเพราะเหตุว่าไม่ปรากฏว่าดับเหมือนเกิดสืบต่อไปเรื่อยๆ ไม่ดับ นี่คือไม่เข้าใจจริงๆ ว่าสภาพธรรมทุกอย่างเกิดดับ เพราะฉะนั้นถ้าเห็นจริงๆ อย่างนี้คือเห็นทุกขอริยสัจจเมื่อเห็นแล้วละความต้องการความติดข้องในสิ่งที่เห็น แต่ว่ากว่าจะถึงจุดนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ละความต้องการผล ไม่ใช่ไปนั่งทำไม่ใช่เป็นนั่งนอนแล้วก็เดินแล้วก็ยืนเป็นวันเป็นเดือน แต่ว่าขณะนี้ที่กำลังฟังมีความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพราะสติเกิด และปัญญาขณะที่ฟังนี้ก็มีนิดหนึ่ง ฟังอีกสติเกิดอีก ปัญญาเข้าใจอีกสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าสติจะระลึกลักษณะของปรมัตถ์ซึ่งไม่มีอย่างอื่น ไม่ใช่วิธีอื่นไม่ใช่ไปเห็นอย่างอื่น แต่เข้าใจถูกต้องขึ้น จึงจะเป็นปัญญา
ผู้ฟัง คือหมายถึงเข้าใจสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง เช่นอาจารย์บอกว่าปรมัตถธรรมที่เกิดเดี๋ยวนี้สั้น
ท่านอาจารย์ สั้นมากเล็กน้อยมาก
ผู้ฟัง เมื่อปัญญาตามระลึกรู้ไม่ทัน ก็ไม่สามารถที่จะรู้ในสภาวะที่สั้นนั้น ก็จะไปจับอารมณ์ตรงที่เป็นบัญญัติ ก็จะไปหลงอยู่ตรงบัญญัติ ไม่สามารถจะไปล่วงรู้สภาพที่เป็นปรมัตถ์ซึ่งเกิดก่อนหน้านั้นได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังต่อให้เป็นปริเฉจ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ หนังสือเล่มนั้นหนังสือเล่มนี้ก็เพื่อเข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ รู้ทั่วจริงๆ ประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่าทุกขณะนี้เป็นนามธรรม และรูปธรรมก่อนที่จะประจักษ์การเกิดดับ
ผู้ฟัง ต้องฟังให้เข้าใจก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง นี่คือการอบรม
ผู้ฟัง เมื่อเข้าใจถูกแล้ว
ท่านอาจารย์ สังขารขันธ์ ไม่ใช่เราทำ แต่เจตสิก ๕๐ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ขณะนี้ดับแล้วก็ปรุงแต่งให้สภาพธรรมขณะต่อไปเกิด และกลับไปบ้านก็สภาพธรรมนี่แหละเกิดดับ ทั้งจิตเจตสิกสังขารขันธ์ก็ปรุงแต่ง วันนี้ถ้าใครกลับบ้านแล้วนึกถึงจิต สังขารขันธ์ปรุงแต่งแล้วให้เกิดนึกถึงจิต ถ้าขณะต่อไปหรือพรุ่งนี้เกิดมีการระลึกลักษณะของปรมัตธรรมให้ทราบว่าสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกลักษณะของปรมัตธรรม ไม่มีใครที่จะไปทำอะไรได้เลยสักอย่างเดียว แต่ให้เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเรื่องของธรรมคือจิตเจตสิกรูป เพราะฉะนั้นรู้จักตัวสังขารขันธ์หรือยัง ถ้ารู้จักตัวสังขารขันธ์จะทำอะไรอีกไหม หรือค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าไม่มีใครทำ แต่ว่าเป็นสังขารขันธ์ที่เกิดดับสืบต่อทำกิจการงานของสังขารขันธ์นั้นๆ
ผู้ฟัง คือเมื่อรู้จักตัวสังขารขันธ์แล้วก็จะทำให้
ท่านอาจารย์ ละความเป็นตัวตนที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ผู้ฟัง และสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะระลึกถึงสภาพรู้
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่สังขารขันธ์ ขณะนี้ถ้าโลภะจะเกิด สังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เกิดโลภะ มีใครทำอะไรได้ ถ้าขณะนี้โทสะจะเกิด สังขารขันธ์นั่นเองปรุงแต่งให้ขณะนี้โทสะเกิด ให้ทราบว่าทุกขณะที่มีสภาพธรรมเกิด มีปัจจัยปรุงแต่งซึ่งไม่ใช่เราทำ แต่ว่าปัญญาสามารถที่จะเริ่มเข้าใจได้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
ผู้ฟัง สภาพธรรมที่เกิดแล้วไม่สามารถที่จะทำ..
ท่านอาจารย์ ดับแล้ว เกิดแล้วทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นแล้วดับเลย ไม่มีตัวอีกตัวจะไปนั่งทำอะไรเลย
ขันธ์มีเท่าไหร่ มี ๕ อะไรบ้าง รูปขันธ์หนึ่ง เวทนาขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์หนึ่ง สังขารขันธ์หนึ่ง วิญญาขันธ์หนึ่ง รู้จริงๆ หรือเปล่า ตอบได้แน่นอน แค่ ๕ ใครจะตอบไม่ได้ปรมัตถธรรม ๓ ใครจะตอบไม่ได้ แต่ว่ารู้จริงหรือเปล่า ปัญหาอยู่ที่นี่ เพราะฉะนั้นการศึกษาต่อไปการฟังต่อไปเพื่อให้รู้จริงๆ ในนามธรรม ในรูปธรรม ในจิต ในเจตสิกรูป ในขันธ์ ๕ เพราะว่าเราตอบได้ ไม่ใช่ตัวตน นามธรรมได้แก่จิตเจตสิก และก็รูปไม่ใช่สภาพรู้ ขณะนี้กำลังเห็นตอบได้ว่าเป็นรูป และก็มีธาตุรู้กำลังเห็น นี่เป็นอาการของธาตุรู้ ตอบได้ แต่ว่ารู้จริงๆ หรือเปล่า
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่รู้ชื่อหรือจำชื่อ แต่เข้าใจจนกระทั่งซึมซาบจนกระทั่งสติสามารถที่จะระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์แล้วเห็น และเข้าใจในสภาพที่เป็นปรมัตถ์ว่าเป็นปรมัตถ์ นี่คือจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมซึ่งเป็นสัทธรรม เป็นธรรมที่จะถึงความสงบจากกิเลสจากความไม่รู้
- สนทนาธรรม ตอนที่ 061
- สนทนาธรรม ตอนที่ 062
- สนทนาธรรม ตอนที่ 063
- สนทนาธรรม ตอนที่ 064
- สนทนาธรรม ตอนที่ 065
- สนทนาธรรม ตอนที่ 066
- สนทนาธรรม ตอนที่ 067
- สนทนาธรรม ตอนที่ 068
- สนทนาธรรม ตอนที่ 069
- สนทนาธรรม ตอนที่ 070
- สนทนาธรรม ตอนที่ 071
- สนทนาธรรม ตอนที่ 072
- สนทนาธรรม ตอนที่ 073
- สนทนาธรรม ตอนที่ 074
- สนทนาธรรม ตอนที่ 075
- สนทนาธรรม ตอนที่ 076
- สนทนาธรรม ตอนที่ 077
- สนทนาธรรม ตอนที่ 078
- สนทนาธรรม ตอนที่ 079
- สนทนาธรรม ตอนที่ 080
- สนทนาธรรม ตอนที่ 081
- สนทนาธรรม ตอนที่ 082
- สนทนาธรรม ตอนที่ 083
- สนทนาธรรม ตอนที่ 084
- สนทนาธรรม ตอนที่ 085
- สนทนาธรรม ตอนที่ 086
- สนทนาธรรม ตอนที่ 087
- สนทนาธรรม ตอนที่ 088
- สนทนาธรรม ตอนที่ 089
- สนทนาธรรม ตอนที่ 090
- สนทนาธรรม ตอนที่ 091
- สนทนาธรรม ตอนที่ 092
- สนทนาธรรม ตอนที่ 093
- สนทนาธรรม ตอนที่ 094
- สนทนาธรรม ตอนที่ 095
- สนทนาธรรม ตอนที่ 096
- สนทนาธรรม ตอนที่ 097
- สนทนาธรรม ตอนที่ 098
- สนทนาธรรม ตอนที่ 099
- สนทนาธรรม ตอนที่ 100
- สนทนาธรรม ตอนที่ 101
- สนทนาธรรม ตอนที่ 102
- สนทนาธรรม ตอนที่ 103
- สนทนาธรรม ตอนที่ 104
- สนทนาธรรม ตอนที่ 105
- สนทนาธรรม ตอนที่ 106
- สนทนาธรรม ตอนที่ 107
- สนทนาธรรม ตอนที่ 108
- สนทนาธรรม ตอนที่ 109
- สนทนาธรรม ตอนที่ 110
- สนทนาธรรม ตอนที่ 111
- สนทนาธรรม ตอนที่ 112
- สนทนาธรรม ตอนที่ 113
- สนทนาธรรม ตอนที่ 114
- สนทนาธรรม ตอนที่ 115
- สนทนาธรรม ตอนที่ 116
- สนทนาธรรม ตอนที่ 117
- สนทนาธรรม ตอนที่ 118
- สนทนาธรรม ตอนที่ 119
- สนทนาธรรม ตอนที่ 120