แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1884
ครั้งที่ ๑๘๘๔
สาระสำคัญ
ลักษณะของมานะ แตกต่างกับโลภะ
วิปลาส ๓
วิปลาส ใครที่ละได้บ้าง
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๙ กรกฏาคม ๒๕๓๒
ถ. ลักษณะของมานะ มีความแตกต่างกับโลภะอย่างไร
สุ. มีความสำคัญในเรา เรามีความสำคัญหรือใหญ่ ขณะนั้นเป็นมานะ
ถ. คงจะแยกออกจากโลภะยาก
สุ. เวลาที่มีความพอใจในวัตถุสิ่งของ ในมิตรสหาย ในบุคคลหนึ่งบุคคลใด มีความผูกพัน ในขณะนั้นด้วยโลภะ อย่างนี้จะเห็นชัดว่าต่างจากมานะ แต่ขณะใดที่มีความสำคัญในตัวเอง ตัวเองเป็นคนสำคัญหรือว่ามีความสำคัญ ในขณะนั้นก็พอที่จะรู้สึกได้ว่า ลักษณะความสำคัญนั้นมี เช่น เวลาที่คนอื่นแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะไม่ควร ก็พิจารณาดูว่า ขณะนั้นมีความสำคัญในตนเองบ้างไหม ซึ่งก็เป็นลักษณะของมานะ ไม่ใช่ลักษณะของสักกายทิฏฐิหรือทิฏฐิ แต่ขณะใดที่เป็นความคิดเห็นในเรื่องของธรรม ขณะนั้นเป็นความเห็น และถ้าเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นความเห็นผิด
ลักษณะของทิฏฐิมีหลายอย่าง ที่เห็นชัดๆ ก็อย่างไหว้ปลาไหลทอง ขณะนั้นเห็นได้เลยว่าเป็นความเห็นผิด ทำไมต้องไหว้ปลาไหลทอง ถูกหรือผิดที่ไหว้ปลาไหลทอง เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดมีได้ตั้งแต่อย่างที่เห็นได้ชัดๆ กับอย่างที่จะต้องพิจารณาโดยละเอียดว่าเป็นความเห็นผิดขั้นใด
ผู้ฟัง เมื่อกี้อาจารย์ถามว่า สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มีขณะไหน ในวันหนึ่งๆ มีมากตอนไหน
ผมขอตอบว่า สัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาสมีอยู่เกือบตลอดเวลา เว้นแต่ ในขณะที่สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นจะละคลายสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส รวมทั้งทิฏฐิวิปลาสด้วย
ส่วนทิฏฐิวิปลาส จะเกิดขึ้นก็อย่างที่อาจารย์ว่า ถ้าเราศึกษาธรรมเข้าใจแล้ว แต่เห็นว่าต้องไปไหว้ปลาไหลทองก็ดี หรือตายแล้วสูญก็ดี ตายแล้วเกิดก็ดี ขณะนั้น ก็เป็นทิฏฐิวิปลาส ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า
สุ. ขอให้พิจารณาให้ละเอียด เพราะว่านี่เป็นส่วนหนึ่ง
ถ. ส่วนใหญ่ผมจะเปรียบเทียบตัวเองเป็นหลัก คือ หลังจากที่ได้ศึกษา พระธรรมแล้ว บางเวลาในขณะที่สุขกายสบายใจ แข็งแรงดี มีทั้งลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ยังคิดว่า เราไม่น่าไปนิพพาน ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นทิฏฐิวิปลาส ใช่ไหม
สุ. ขณะนั้นเป็นอกุศลหรือเปล่า
ถ. ขณะนั้นเป็นอกุศล
สุ. ถ้าเป็นอกุศล สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส
ถ. ไม่ใช่ทิฏฐิวิปลาสหรือ
สุ. ไม่ใช่ความเห็น ถ้าเป็นความเห็นต้องเป็นทิฏฐิ แต่ถ้าไม่มีความเห็นผิด ขณะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิวิปลาส อย่างท่านที่เข้าใจว่า ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่ไม่สามารถอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ได้ ต้องไปทำอย่างอื่น นั่นเป็นทิฏฐิวิปลาสแล้ว
ถ. ผมเคยสนทนาธรรมกับเพื่อนๆ เขาได้รับคำสั่งสอนมาว่า ต่อไปนี้เขาจะไม่รับประทานเนื้อวัว และกินมังสวิรัติ ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นทิฏฐิวิปลาสไหม
สุ. เพราะอะไรจึงไม่บริโภคเนื้อ
ถ. เขาตอบเหตุผลไม่ได้ เพียงแต่บอกว่า อาจารย์สั่งไม่ให้กิน และเขาอยากจะได้บุญ ก็เลิกกิน ผมก็พยายามแนะนำว่า ต่อไปนี้ถ้าใครให้ทำอะไร ควรพูดกันด้วยเหตุด้วยผลว่า ถ้าไม่กินเนื้อแล้วเรายังอยากกินไหม ยังมีโลภะ ยังมีโทสะไหม เขาก็ไม่ฟัง เพียงแต่พูดว่า อาจารย์สั่งไม่ให้กินเนื้อ ให้กินมังสวิรัติแล้วจะได้บุญ สภาพความเป็นอยู่ การงาน ครอบครัวก็จะดีขึ้น อย่างนี้ถือว่าเป็นทิฏฐิวิปลาสไหม
สุ. เป็น เพราะว่าไม่ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงเรื่องการไม่บริโภคเนื้อสัตว์แล้วจะเป็นบุญ เพราะว่าบุญอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่เนื้อสัตว์ หรืออาหารชนิดหนึ่งชนิดใด แต่อยู่ในขณะจิตที่กำลังบริโภค อาหารนั้น ถ้าบริโภคผักด้วยโลภะ จะต่างกันไหมกับบริโภคเนื้อสัตว์ด้วยโลภะ
ถ. ไม่ต่างกัน ลักษณะอย่างนี้เป็นทิฏฐิวิปลาสหรือเปล่า
สุ. ไม่ทราบจุดประสงค์ว่าเพื่ออะไร เพราะว่าการบริโภคผัก ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ บางคนมีความเข้าใจถูกเรื่องสภาพธรรม แต่สะสมมาที่จะไม่บริโภคเนื้อ
ถ. แต่ลักษณะนี้คงไม่ใช่สะสม
สุ. ถ้าคิดว่าไม่บริโภคแล้วได้บุญ อย่างนั้นจะตรงไหม ในเมื่อบุญคือจิต ไม่ใช่อยู่ที่เนื้อสัตว์ หรืออยู่ที่ผัก หรือที่อาหาร แต่อยู่ที่จิตที่กำลังบริโภค ต้องให้เขาพิจารณาว่า บุญอยู่ที่ไหน ให้เขาเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ถ. สรุปแล้วเป็นทิฏฐิวิปลาส
สุ. ความเห็นผิดทั้งหมด แล้วแต่ว่าจะเห็นผิดในเรื่องอะไร ความเห็นผิดนี่ ก็มีมากประการต่างๆ
ถ. ผมยังสับสนเรื่องวิปลาสทั้ง ๓ อยู่ ทิฏฐิวิปลาส สัญญาวิปลาส พอจะมองเห็น แต่จิตตวิปลาส ขอความกรุณาท่านอาจารย์อธิบายอีกครั้ง
สุ. เคยอ่านหนังสือนวนิยายไหม ดูหนังดูละครในโทรทัศน์ไหม
ถ. เคย
สุ. ขณะนั้นจิตตวิปลาสหรือเปล่า
ถ. คือ มีความเห็นคล้อยตามเขาไปทั้งหมด ใช่ไหม
สุ. สภาพของวิปลาสจะไม่ปรากฏให้รู้ได้ถ้าไม่มีกำลัง เพราะฉะนั้น เวลาที่อกุศลจิตมีกำลัง ก็สามารถทำให้เห็นความวิปลาสของจิตในขณะนั้นได้ เพราะว่า ไม่มีเรื่องอะไรเลย แต่ก็ต้องมีคนเขียน มีคนแต่งให้มีเรื่องที่มีปัญหา ให้มีคนดี ให้มีคนชั่ว ให้มีคนริษยา ให้มีคนมีปัญหามากมายของชีวิต และต้องค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ เรื่องนักสืบ เรื่องอะไรต่ออะไร จนกระทั่งในที่สุดก็จบลงด้วยดี ตัวจริงๆ มีที่ไหน ไม่มีอะไรเลย แต่ความวิปลาสของจิตที่คิดเรื่องต่างๆ และคนแต่งก็วิปลาส ที่ในขณะนั้นต้องคิดว่า คนนั้นพูดอย่างนี้ และคนนี้พูดอย่างนั้น คนอ่านก็วิปลาส เพราะว่าในขณะนั้นไม่มีอะไรเลย แต่ก็ติดตามเรื่องราวในหนังในละครเหมือนมี ตัวจริงๆ ซึ่งถ้าไม่มีกำลังจะไม่เห็นว่า จิตตวิปลาส
และไม่ใช่วิปลาสเฉพาะในขณะที่กำลังดูหนัง ดูละคร แต่ขณะใดก็ตามที่ อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นจิตตวิปลาส สัญญาวิปลาส แม้ว่าไม่มีความเห็นคือทิฏฐิ ความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่โลภมูลจิตเกิด แม้ไม่มีทิฏฐิเกิด ร่วมด้วย ขณะนั้นก็เป็นสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส แต่ไม่รู้ตัว จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อ เป็นเรื่องหนังเรื่องละคร แต่ให้ดูชีวิตจริงๆ ซึ่งทุกคนก็บอกว่ายิ่งกว่านิยาย ไม่มีใครสามารถไปรู้ชีวิตจริงของแต่ละชีวิตในโลกที่กว้างใหญ่นี้ได้หมดครบถ้วน แต่ก็ปรากฏว่าบางชีวิตยิ่งกว่านิยายจริงๆ ถ้าได้ทราบเรื่องชีวิตของแต่ละบุคคลโดยละเอียด
ถ. การคิดไปตามเรื่องราวของนวนิยายที่อ่านก็ดี หรือการดูละครและ คิดตามไปเห็นตามไปเป็นจริงเป็นจัง อย่างนี้เป็นจิตตวิปลาส
สุ. หรือบางคนก็อาจจะคิดว่า ถ้าถูกสลากกินแบ่งจะทำอะไรบ้าง ก็เป็นเรื่องยาวไป ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นถึงจิตตวิปลาส คือ ความคิดนึกเรื่องที่เพ้อฝัน ไม่จริง ถ้าไม่มีกำลังจะไม่ปรากฏ แต่เวลาที่มีกำลังก็จะรู้ได้ว่า โธ่ คิดทำไม ไร้สาระ ไม่มีเรื่องราวจริงจังอะไรเลย เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะรู้ว่า ที่ทรงแสดงลักษณะของอกุศลจิตที่เป็นวิปลาสต่างๆ ทั้งสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส ก็เพื่อให้ระลึกถึงสภาพอาการของอกุศลนั้นว่า ควรที่จะละความวิปลาสนั้นด้วย
ถ. วันหนึ่งๆ เราก็ไม่พ้นวิปลาสทั้ง ๓
สุ. ไม่พ้น เพราะว่าวันหนึ่งๆ อกุศลจิตเกิดมาก
ถ. ถ้าเช่นนั้นสำหรับตัวผมเอง จิตตวิปลาส สัญญาวิปลาสก็เป็นเจ้าเรือนตลอด ทิฏฐิวิปลาสก็เป็น แต่ไม่มากเท่าจิตตวิปลาสกับสัญญาวิปลาส
สุ. ก็ดีใช่ไหม ที่ได้ทราบความจริง ได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นมา
ถ. เข้าใจแจ่มแจ้งเรื่องจิตตวิปลาส
สุ. สัญญาวิปลาสเป็นขณะไหนบ้าง มีไหม
ถ. สัญญาวิปลาส ก็ขณะเห็นในสิ่งที่ไม่สวยงามก็บอกว่าสวยงาม ส่วนใหญ่ก็มีความสำคัญในสิ่งที่เห็น โดยผิดจากความเป็นจริง เช่น มองเห็นปั๊บ ก็สวยงาม ชอบแล้ว อย่างนี้สัญญาวิปลาสไหม
สุ. แต่ถ้าไม่มีกำลังก็ไม่รู้ เพราะว่าเป็นปกติเหลือเกิน ทุกคนมีวิปลาส จนไม่รู้ว่าเป็นวิปลาส ต่อเมื่อใดมีวิปลาสที่มีกำลัง เมื่อนั้นจึงรู้ว่าวิปลาส เช่น เห็นสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ได้ยินคำพูดซึ่งคนนั้นไม่ได้พูด แต่คนนี้ได้ยินว่าอย่างนั้น ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าสัญญาวิปลาส แม้ในเสียง แม้ในสี แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะก็วิปลาสได้ ซึ่งถ้ามีกำลังก็สามารถรู้ได้ แต่ถ้าไม่มีกำลังก็ชิน เหมือนปกติธรรมดา
ถ. สัญญาวิปลาสกับจิตตวิปลาส ที่เป็นไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ขณะนั้นสัญญาวิปลาสกับจิตตวิปลาส และต้องเกิดกับทิฏฐิวิปลาสด้วยหรือเปล่า
สุ. ขณะใดที่ทิฏฐิวิปลาสเกิด ขณะนั้นต้องเป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง ในอกุศลจิต ๑๒ ดวง และแม้ไม่ใช่โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาสแล้ว
ถ. ถ้าเป็นอกุศลจิตชนิดอื่นที่ไม่ใช่โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์
สุ. ขณะนั้นก็สัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส แต่ไม่ใช่ทิฏฐิวิปลาส
ถ. และสัญญากับจิตตวิปลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ได้ไหม โดยที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย
สุ. ขณะที่พอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นโลภมูลจิต เพราะฉะนั้น วิปลาสมี ๔ คือ ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ๑
สำหรับพระโสดาบันละทิฏฐิวิปลาส ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ๑
เพราะฉะนั้น พระโสดาบันละวิปลาสได้ ๘ ประเภท คือ ละทิฏฐิวิปลาส ในอาการ ๔ คือ ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ๑
ละสัญญาวิปลาส ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนว่า เป็นตัวตน ๑
ละจิตตวิปลาส ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนว่า เป็นตัวตน ๑
พระอนาคามีบุคคลสามารถดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น พระอนาคามีก็ละสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาสในสิ่งที่ ไม่งามว่างาม แต่ท่านก็ยังมีกุศลจิต แม้ว่าจะไม่มีความติดข้องเยื่อใยยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่จิตที่ดีงามที่สงบจากอกุศลท่านมี เพราะฉะนั้น ท่านก็ยังมีความยินดีพอใจ ยังมีวิปลาสในสภาพที่เป็นทุกข์เพราะเกิดดับว่าเป็นสุข ต่อเมื่อใดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์จึงดับวิปลาสที่เห็นสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขได้ ฉันใด เราก็ต้องเทียบเคียงได้ว่า ในเมื่อเราไม่ใช่พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เราจะมีวิปลาสอย่างไรบ้าง ก็ต้องเทียบเคียงกับท่านเหล่านั้นว่า ขณะใดที่ โทสมูลจิตเกิด โมหมูลจิตเกิด โลภมูลจิตเกิด โดยทิฏฐิไม่เกิดร่วมด้วย ขณะนั้น เป็นสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส ต่อเมื่อใดมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็มี ทิฏฐิวิปลาสเพิ่มด้วย
ถ. ยังไม่เข้าใจ อาจารย์บอกว่าขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นสัญญาและจิตไม่วิปลาส
สุ. ถูกต้อง
ถ. ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล จิตที่เป็นไปในทาน จิตที่เป็นไปในศีล ขณะนั้นสัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาสไม่มีหรือ
สุ. ไม่เกิด ต้องพิจารณาถึงสภาพธรรม ไม่ใช่ว่ามีอยู่ สภาพธรรมทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิด ไฟในป่า ก่อนที่จะมีไฟไหม้ป่า มีป่าแต่ไม่มีไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าขึ้น ไฟที่ไหม้ป่านั้นมาจากไหน ต้องมีปัจจัยจึงจะเกิดขึ้นได้ แต่ก่อนที่จะมีไฟไหม้ป่า ไม่เห็นปัจจัยที่จะทำให้ไฟป่าเกิด ต่อเมื่อมีไฟป่าเกิดขึ้นก็รู้ได้ว่า ที่ไฟป่าเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยจึงเกิดได้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมแต่ละขณะให้ทราบว่า ไม่ใช่มีอยู่แล้ว แต่มีปัจจัยให้สภาพธรรมประเภทใดเกิดขึ้น สภาพธรรมประเภทนั้น จึงจะเกิดขึ้นได้
เพราะฉะนั้น เจตสิกแต่ละชนิดแต่ละประเภทก็ดี รูปแต่ละชนิดแต่ละประเภท ก็ดี จิตแต่ละชนิดแต่ละประเภทก็ดี ไม่ใช่ว่ามีอยู่แล้วและมาเกิดขึ้น แต่หมายความว่ามีเหตุปัจจัยเมื่อไร สภาพธรรมคือจิตประเภทนั้นๆ จึงเกิดขึ้น
ถ. เป็นเหตุเป็นปัจจัย ถ้าผมจะตีความอย่างเคร่งครัดว่า ผมไม่เจริญวิปัสสนาภาวนา ผมก็เจริญทาน ศีล ก็จะละวิปลาสได้หมด
สุ. ไม่ได้
ถ. นั่นซิ ผมเข้าใจว่า ต้องวิปัสสนาแน่
สุ. ละไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ในขณะนั้นเกิด
ถ. คือ ทานและศีลจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้วิปลาสเบาบางลงได้เหมือนกัน
สุ. คนละขณะจิต ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นอกุศลจิตเกิดไม่ได้ เพียงเท่านี้ก็ต้องเห็นแล้ว ใช่ไหม ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นอกุศลจิตเกิดไม่ได้ เพราะว่าโสภณเจตสิกทั้งหมดเกิดขึ้นร่วมกันทำกิจการงานขณะนั้นจึงเป็นกุศลจิต ขณะใดที่สติเกิด ขณะใดที่ศรัทธาเกิด ขณะใดที่หิริโอตตัปปะเกิด ขณะนั้นอวิชชา จะเกิดไม่ได้ โลภะจะเกิดไม่ได้ โทสะจะเกิดไม่ได้
ถ. แต่ไม่ได้หมายความว่า จะละได้
สุ. ไม่ได้หมายความว่า ละแล้ว แต่หมายความว่า สภาพธรรมแต่ละขณะเป็นธาตุแต่ละชนิดจริงๆ อย่างหิริเป็นธาตุชนิดหนึ่ง โอตตัปปะเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ศรัทธาเป็นธาตุชนิดหนึ่ง สติเป็นธาตุชนิดหนึ่ง แต่เวลานี้ธาตุเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ก็ต้องมีเหตุปัจจัย มีเหตุปัจจัยเมื่อไรธาตุเหล่านี้จึงจะเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้น ขณะใดมีธาตุที่เป็นอกุศลธาตุเกิด ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศล โดยที่กุศลเจตสิกหรือ โสภณเจตสิกทั้งหมดจะเกิดไม่ได้เลย
แสดงให้เห็นว่า ขณะใดที่อวิชชาเกิด ขณะนั้นสติ หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา เป็นต้น เกิดไม่ได้ และขณะใดที่มีปัจจัยที่ศรัทธาเกิด สติเกิด หิริเกิด โอตตัปปะเกิด โสภณเจตสิกเกิดร่วมกัน ขณะนั้นอวิชชาจะเกิดขึ้นทำกิจการงานไม่ได้
เพราะฉะนั้น จิตแต่ละขณะก็เหมือนกับเพียงชั่วขณะเดียวที่มีปัจจัยพร้อม ก็เกิดขึ้นเป็นกุศล มีปัจจัยพร้อมก็เกิดขึ้นเป็นอกุศล เพราะเป็นแต่เพียงธาตุแต่ละชนิด
ถ้าจะวิเคราะห์วิจัยรูปธาตุโดยนัยของนักวิทยาศาสตร์ เขาก็สามารถย่อยและกระจายออกไปได้ว่ามีอะไรเกิดรวมกันบ้าง แต่เมื่อเป็นนามธาตุที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง ในขณะนั้นก็ต้องมีนามธาตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัย ได้แก่ เจตสิก ซึ่งเกิดกับจิต เมื่อมี เหตุปัจจัยที่โสภณเจตสิกจะเกิด โสภณเจตสิกก็เกิดร่วมกันทำกิจการงานโดยที่ อกุศลเจตสิกจะเกิดในขณะนั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น วิปลาสจึงมีในขณะที่เป็น อกุศลจิต ซึ่งควรจะได้พิจารณาความละเอียดของสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน ที่ตั้งแต่เกิดจนตายไม่พ้นจากจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ละขณะวนเวียนไปแต่ละวัน เดี๋ยวก็เห็น เดี๋ยวก็ได้ยิน เดี๋ยวก็ได้กลิ่น เดี๋ยวก็ลิ้มรส เดี๋ยวก็คิดนึก และก็เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และก็คิดนึกเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู และก็คิดนึกเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางหู แต่ละภพแต่ละชาติหมุนเวียน และเรื่องก็เปลี่ยนไปตามภพตามชาติเท่านั้นเอง แต่สภาพธรรมจริงๆ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่จะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เพราะฉะนั้น ขอให้พิจารณาว่า วิปลาส จะเกิดในขณะไหน อย่างไร
เช่น ในชีวิตประจำวัน ขณะที่นอนหลับสนิทมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือเปล่า ขณะนั้น ขณะที่นอนหลับสนิท ไม่มีทิฏฐิวิปลาส ไม่มีจิตตวิปลาส และ ไม่มีสัญญาวิปลาส เพราะว่าผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ปฏิสนธิเป็นกามาวจรวิบากหรือ มหาวิบาก เป็นผลของกามาวจรกุศลหรือมหากุศลที่เป็นไปในทาน ในศีล เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๙ ตอนที่ ๑๘๘๑ – ๑๘๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1884
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1885
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1886
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1887
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1888
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1889
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1890
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1891
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1892
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1893
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1894
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1895
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1896
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1897
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1898
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1899
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1900
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1901
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1902
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1903
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1904
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1905
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1906
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1907
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1908
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1909
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1910
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1911
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1912
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1913
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1914
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1915
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1916
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1917
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1918
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1919
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1920
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1921
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1922
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1923
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1924
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1925
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1926
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1927
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1928
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1929
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1930
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1931
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1932
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1933
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1934
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1935
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1936
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1937
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1938
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1939
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1940
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1941
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1942
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1943
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1944
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1945
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1946
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1947
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1948
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1949