แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1927
ครั้งที่ ๑๙๒๗
สาระสำคัญ
ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม
การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส ละคลายความไม่รู้
การอันตรธานไปแห่งเพศ
การอันตรธานแห่งปริยัติ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษาภาคม ๒๕๓๓
ผู้ฟัง เห็นด้วยทุกประการ ผู้ที่ปฏิบัติตามสำนักดังกล่าว อาจจะมีการ ก้าวไปสู่สิ่งที่ถูกต้องอย่างที่ท่านอาจารย์ได้กรุณากล่าวเป็น ๒ ลักษณะ คือ คนที่ ไปปฏิบัติลักษณะนั้นในที่สุดจะไปหยุดตัน ถ้าโชคดีไปเปิดวิทยุฟังอาจารย์ ก็จะได้เริ่มต้นสนใจอย่างตัวผมเองเป็นต้น นี่เป็นลักษณะประการที่ ๑ ลักษณะประการที่ ๒ คือ ได้แต่หวังว่าเมื่อมีการแสดงธรรม สนทนาธรรม จะหยิบพระไตรปิฎกมาพูดกันบ้าง ตกลงเป็น ๒ เรื่องเท่านั้นที่หวัง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากสรุปในเรื่องนี้ คือ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ และขออนุโมทนาท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมในลักษณะนี้ ซึ่งสามารถนำพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่ใช่น้อยให้หันมาสนใจ แม้แต่พระคุณเจ้า ก็มีจำนวนมากทีเดียว เพราะฉะนั้น พวกเราต้องช่วยกันให้รายการนี้มีอยู่ต่อไปเรื่อยๆ คงจะช่วยได้แน่นอน
สุ. ขอบพระคุณ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดที่จะต้องพิจารณาว่า ประโยชน์ของการศึกษาก็เพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามที่ได้ศึกษา ให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจอย่างไร การอบรมเจริญปัญญาก็ต้องรู้ตรงตามที่ ได้เข้าใจอย่างนั้น จึงจะเป็นการถูกต้อง
ถ้าศึกษาพระอภิธรรมแล้ว แต่การปฏิบัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การเป็น ผู้มีปกติหลงลืมสติ และมีปกติสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เป็นปกติอย่างนี้จริงๆ ถ้าไม่ใช่เป็นไปในลักษณะนี้ ขณะนั้นไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญาที่จะ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดแล้วในขณะนี้ตามเหตุตามปัจจัยตามปกติ ซึ่งนี่เป็นเหตุให้ไม่มั่นคงในสัจจญาณ เมื่อมีความไม่มั่นคงในสัจจญาณ กิจจญาณ ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติก็ไม่ตรง
ผู้ฟัง เนื่องจากไม่ศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธพจน์อย่างแจ่มแจ้ง จะเอาใจคนฟัง กล่าวแต่ง่ายๆ สิ่งที่คนจะไม่เชื่อหรือไม่ฟังก็กล่าวข้ามไป เช่น ไม่พูดถึงสวรรค์ นรกเป็นต้น หรือตายแล้วเกิดก็ไม่พูด หรือพูดเป็นอย่างอื่นไป นี่เป็นประการที่ ๑ ที่ผมเป็นห่วง ประการที่ ๒ บางท่านเอาศาสนาอื่นมาผสม ซึ่งนี่เป็นเหตุสำคัญที่จะทำให้ ปริยัติอันตรธานในอนาคต เป็นอันตราย ผมขอกราบเรียนว่า ถ้าใครสามารถปกป้องให้ยึดมั่นต่อพระพุทธพจน์ได้จะเป็นการดี คงจำเป็นต้องช่วยกัน
สุ. ขออภัยท่านผู้ฟังที่นำเรื่องนี้มากล่าว เพราะว่าเป็นเรื่องการอันตรธานของพระศาสนา ซึ่งเป็นในอนาคต แต่ก็ต้องเริ่มจากขณะนี้เองเพื่อไปสู่อนาคต ที่จะอันตรธาน
ผู้ฟัง ขณะนี้การศึกษาพระปริยัตติธรรมในประเทศไทยแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ เรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และเรียนบาลีประโยค ๑ ถึงประโยค ๙ การเรียนจบหลักสูตรนี้ ถือเป็นการรู้ปริยัติตามหลักที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา หรือเปล่า ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะสังเกตดูท่านที่เรียนมาแล้ว เวลาจะปฏิบัติท่านต้องเข้าป่าไปหาอาจารย์ ซึ่งผมก็เคยเจอมาแล้ว เป็นเปรียญสูงๆ ด้วย ไปหาอาจารย์ อาจารย์ก็บอกว่า ปริยัติเอาไว้ก่อน อย่าเอามาอ่าน ทำตามที่ อาจารย์สอน อาจารย์บอก
การเรียนปริยัติของท่านถึงขั้นได้ประโยคสูงๆ จะชื่อว่าปริยัติยังอยู่หรือเปล่า ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะว่าการเรียนปริยัติที่จะเป็นปัจจัยหรือเป็นเหตุให้เกิดข้อปฏิบัติ ที่ถูกต้องนั้น ต้องเป็นการเรียนที่เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เรียนแบบแปลได้ อธิบายได้ และสอนเขาได้ แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ ต้องไปหาอาจารย์ อาจารย์ที่สอนก็ยังไม่ได้เป็นนักธรรมด้วย มีมากมายตามสำนักต่างๆ
ผมเป็นห่วงว่า การเรียนปริยัติของเราเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่การเรียนปริยัติเพื่อเกื้อกูล ต่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง พระไตรปิฎกมีอยู่ อรรถกถามีอยู่ ฎีกามีอยู่ แต่เวลาเรียน จริงๆ แทนที่จะหาความเข้าใจให้ถูกต้อง ท่านก็ไม่สนใจ ผมก็ไม่อยากจะตำหนิ เป็นเรื่องที่ประสบมาจริงๆ
เพราะฉะนั้น การเรียนพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องจริงๆ จะต้องเรียนอย่างที่ ท่านอาจารย์สอน คือ เรื่องไหนสงสัยต้องค้นคว้า มีพระไตรปิฎกเป็นหลัก อรรถกถาเป็นหลัก ฎีกาเป็นหลัก อนุฎีกาเป็นหลัก
สุ. จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ที่เรียนทุกท่านควรพิจารณาจิตใจ ของตนเองว่า เรียนเพื่ออะไร ถ้าเรียนเพื่อจะรู้ เพื่อจะเก่ง นั่นไม่ถูก แต่ควรเรียนเพื่อ ขัดเกลากิเลสของตนเอง เรียนเพื่อที่จะละ แม้แต่การใช้คำว่า ปฏิบัติธรรม ก็เหมือนกัน ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อการสรรเสริญ เพื่อสักการะ แต่เพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อละคลายกิเลส เพราะฉะนั้น พิจารณาการประพฤติปฏิบัติของแต่ละสำนัก หรือแม้แต่จิตใจของท่านเองได้ว่า เพื่ออะไร เพื่อให้ได้ผล ข้ามการอบรมเจริญปัญญา หรือเพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ถ้าคำตอบของท่านเป็นการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมเพื่อขัดเกลากิเลส ละคลายความไม่รู้ เพื่ออบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น นั่นคือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นหนทางทำให้รู้แจ้ง อริยสัจจธรรม โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า มรรคมีองค์ ๘ หรือสติปัฏฐาน หรือมัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่เข้าใจหนทางที่ถูก ไม่ว่าจะใช้บัญญัติคำว่าอะไร หนทางนั้นก็เป็นหนทางอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อละคลายความไม่รู้อันเป็นมูลเหตุของอกุศลทั้งหลาย ซึ่งผู้ศึกษาพระธรรมย่อมทราบว่า ตราบใดที่ยังมีอวิชชา ความไม่รู้ กิเลสทั้งหลายไม่หมด
ท่านอาจจะเข้าใจว่า กิเลสน้อยลง แต่ความจริงไม่ใช่ เพียงแต่ไม่มีเหตุปัจจัย ที่จะเกิดก็ไม่เกิด ถ้ามีเหตุปัจจัยที่กิเลสระดับไหนจะเกิด กิเลสระดับนั้นที่ยังไม่ได้ดับ ย่อมสามารถเกิดได้ตามเหตุตามปัจจัยนั้นๆ ตามกาล ตามโอกาส ตามสถานการณ์ในชีวิตของแต่ละบุคคล ในแต่ละภพแต่ละชาติ จนกว่าปัญญาจะเจริญและสามารถ ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทไม่เกิดอีก กิเลสนั้นจึงจะไม่เกิดได้
ในคราวก่อนได้กล่าวถึงเรื่องการอันตรธานของพระศาสนา อันตรธานต่อไป คือ การอันตรธานแห่งเพศของบรรพชิต
ข้อความต่อไปใน มโนรถปูรณี อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต อรรถกถาวรรคที่ ๑๐ มีว่า
เมื่อกาลล่วงไปๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การเหยียด การดู การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขน ถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน
เมื่อกาลล่วงไปๆ เอาบาตรลงจากปลายแขน หิ้วไปด้วยมือ หรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง กระทำให้มีสีแดงใช้ เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัดชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้วใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมาไม่กระทำทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก
เมื่อกาลล่วงไปก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไรด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็กๆ เข้าที่มือ หรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถหว่านเลี้ยงชีพ ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา ย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาข้อนี้จึงตรัสว่า
ดูกร อานนท์ ในอนาคตกาลจักมีโคตรภูบุคคลผู้มีผ้ากาสายะพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลายให้ทานในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ อานนท์ ในกาลนั้นเรากล่าวว่า ทักขิณาเป็นไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจักต้องการอะไรด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในป่า ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป
ได้ยินว่า การห่มผ้าขาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้ง พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังว่านี้ ชื่อว่าการอันตรธานไปแห่งเพศ
บางสำนักก็ถึงแล้ว ที่เปลี่ยนเป็นผ้าขาว แทนที่จะเป็นผ้ากาสาวพัสตร์
ต่อไปจะถึงกาลที่พระศาสนาเสื่อมสิ้น อันตรธาน คือ การอันตรธานแห่ง พระบรมสารีริกธาตุ
ข้อความในอรรถกถามีว่า
ปรินิพพานมี ๓ คือ กิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์ ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ
บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีที่โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีที่พระนครกุสินารา ธาตุปรินิพพานจักมีในอนาคต จักมีอย่างไร คือ ครั้งนั้นธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะและสัมมานะ การบำรุงในที่นั้นๆ ก็ไปสู่ที่ที่มีสักการะและสัมมานะ ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้า
เมื่อกาลล่วงไปๆ สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ (คือ ประเทศลังกา) จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์
พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง พระธาตุทั้งหมดจะประชุมกันที่มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระ ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมด ครบบริบูรณ์ทีเดียว แต่นั้นจะกระทำปาฏิหาริย์ แสดงเหมือนในวันแสดง ยมกปาฏิหาริย์ ในกาลนั้น ชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น
คือ ไม่มีมนุษย์สักคนเดียวที่จะได้เห็นเหตุการณ์นั้น
ก็เทวดาในหมื่นจักรวาล ประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้ พระทศพลจักปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด
ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้นถึงความ หาบัญญัติมิได้ ... พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป
ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะด้วยของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์ เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน เทพเหล่านั้นกระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้น ในอนาคต ดังนี้ แล้วกลับไปที่อยู่ของตนๆ นี้ชื่อว่าอันตรธานแห่งพระธาตุ
คำสอนค่อยๆ หายไป เพศค่อยๆ หายไป จนถึงพระธาตุคือพระบรมสารีริกธาตุก็จะอันตรธานไป ถึงกาลที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่เมื่อพร้อม ถึงแก่การที่จะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะเสด็จบังเกิดในพระครรภ์พระมารดา และเมื่อประสูติแล้ว ก็ถึงกาลที่จะทรงตรัสรู้และทรงแสดงพระธรรมเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป
ข้อความต่อไปมีว่า
การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ จริงอยู่ เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน เมื่อปริยัติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่
พระ การอันตรธานของพระศาสนา เพศของพระภิกษุมีความสำคัญในเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะความต่างกันของฆราวาสกับพระภิกษุ คือ เพศและศีลในเรื่องของอันตรายิกธรรมซึ่งมีหลายๆ ประการ เรื่องหนึ่งคือวีติกกมะ ซึ่งเป็นการล่วงอาบัติโดยไม่จงใจ เรียนถามอาจารย์ว่า สำหรับฆราวาสกับพระภิกษุต่างกันหรือเปล่า
สุ. วินัยของคฤหัสถ์ คือ ศีล ๕ แต่ต้องหมายความว่าคฤหัสถ์นั้น เป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาด้วยความตั้งใจของตนเองที่จะสมาทานรักษาศีล ๕ นั้น ไม่ใช่ว่ามีการบังคับ และเมื่อบุคคลนั้นมีเจตนาที่จะปฏิบัติและศึกษาธรรมในเพศของบรรพชิต ย่อมจะต้องมีพระวินัยบัญญัติในการประพฤติปฏิบัติต่างจากคฤหัสถ์
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๙๓ ตอนที่ ๑๙๒๑ – ๑๙๓๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1884
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1885
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1886
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1887
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1888
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1889
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1890
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1891
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1892
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1893
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1894
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1895
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1896
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1897
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1898
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1899
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1900
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1901
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1902
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1903
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1904
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1905
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1906
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1907
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1908
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1909
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1910
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1911
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1912
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1913
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1914
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1915
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1916
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1917
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1918
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1919
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1920
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1921
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1922
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1923
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1924
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1925
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1926
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1927
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1928
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1929
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1930
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1931
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1932
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1933
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1934
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1935
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1936
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1937
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1938
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1939
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1940
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1941
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1942
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1943
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1944
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1945
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1946
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1947
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1948
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1949