แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1937
ครั้งที่ ๑๙๓๗
สาระสำคัญ
สักกายทิฏฐิละได้ด้วยการเห็นทุกข์
วิจิกิจฉาละได้ด้วยการเห็นสมุทัย,
สีลัพพตปรามาสละได้ด้วยการเห็นมรรคและการเห็นพระนิพพาน
ถ้าไม่เห็นสมุทัยจะไม่ละสมุทัย
ทุกข์คือสภาพที่เกิดดับ
ธรรม เป็นสภาพที่มีจริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล
เมื่อสติปัฏฐานเกิด ก็เริ่มเห็นสมุทัยตามความเป็นจริง
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๓
ท่านผู้ฟังเคยได้ยินอริยสัจจะ ๔ ใช่ไหม ทุกขอริยสัจจะ สมุทยอริยสัจจะ ทุกขนิโรธอริยสัจจะ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะ
สักกายทิฏฐิจะละได้ด้วยการถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกข์ วิจิกิจฉาจะละได้ ด้วยการถึงพร้อมด้วยการเห็นสมุทัย สีลัพพตปรามาสจะละได้ด้วยการเห็นมรรค และการเห็นพระนิพพาน
แสดงให้เห็นว่า กว่าจะละ ปัญญาต้องอบรมเจริญ อย่างสักกายทิฏฐิ การยึดถือกายที่ประชุมรวมกันเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นวัตถุ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะละได้ด้วยการถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกขสัจจ์ หมายความถึง สภาพที่เป็นไตรลักษณ์ของนามธรรมและรูปธรรม เมื่อใดได้ประจักษ์ลักษณะที่เกิดดับของสภาพธรรม เมื่อนั้นจึงจะเริ่มละการยึดถือสภาพธรรม ซึ่งก็ตรงกับภังคญาณ ที่เป็นวิปัสสนาญาณ เริ่มเป็นปหานปริญญา เพราะถ้ายังไม่ประจักษ์การเกิดดับ ขณะนี้เป็นนามธรรม ใครไม่รู้ ขณะนี้เป็นรูปธรรม ใครไม่รู้ ก็รู้ ไม่เดือดร้อน ใช่ไหม เป็นนามธรรมก็เป็น เป็นรูปธรรมก็เป็น แต่ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ถึงขั้นประจักษ์ลักษณะที่เกิดและดับไป คือ สภาพที่เป็นทุกขอริยสัจจ์ เมื่อนั้นจึงเริ่มละคลายสักกายทิฏฐิ การที่เคยยึดถือสภาพธรรมรวมกันเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
วิจิกิจฉาจะละได้ด้วยการเห็นสมุทัย ความสงสัยในเรื่องเหตุของทุกข์ ถ้ากล่าวตามก็กล่าวได้ การเกิดขึ้นของนามธรรมและรูปธรรม มีความยินดี ความติดข้อง ซึ่งเป็นโลภะ ตัณหา เป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิด แต่จะเห็นสมุทัยในขณะไหนที่จะกล่าวว่า วิจิกิจฉาจะละได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ข้อความในอรรถกถาอธิบายว่า
สักกายทิฏฐินั้น เป็นมูลรากของกิเลสทั้งหลาย
ทุกคนก็พิจารณาเข้าใจได้ ถ้ายังเห็นสภาพธรรมเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ที่จะไม่ให้มีความยินดีพอใจติดข้องก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่อมีสักกายทิฏฐิ ยังยึดมั่นในสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐินั่นเองเป็นมูลรากของกิเลสทั้งหลาย
ปัญญาท่านเรียกว่า จิกิจฉิตะ เพราะระงับพยาธิคือกิเลสทั้งหลาย
เวลาที่กุศลจิตเกิด โลภะก็ต้องการให้เป็นกุศลมากๆ ได้บุญมากมาย เพราะฉะนั้น โลภะพอใจในทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากโลกุตตรธรรมเท่านั้นซึ่งไม่เป็นอารมณ์ของโลภะ แต่ที่ใดที่มีปัญญา ที่นั่นจะไม่มีกิเลสทั้งหลาย เพราะปัญญาเท่านั้นเป็นสภาพธรรมที่ระงับพยาธิคือกิเลสทั้งหลาย
สำหรับวิจิกิจฉา ได้แก่ ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในสภาพธรรม ก็เป็นมูลของกิเลสทั้งหลายด้วย ถ้ามีความเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน ไม่สงสัยเลย กิเลส ก็เกิดไม่ได้ มีแต่จะระงับลงจนกระทั่งถึงดับหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท แต่ถ้ายังเคลือบแคลง ยังคลางแคลง ยังไม่แน่ใจ ตายแล้วจะเกิดอีกไหม กิเลสที่มีอยู่จะเป็นปัจจัยอย่างไร เหล่านี้ ก็จะเห็นได้ว่า เมื่อยังมีความสงสัย ก็เป็นปัจจัยให้สงสัยต่อไป เป็นปัจจัยให้กิเลสอื่นๆ เจริญขึ้นอีกจากความสงสัย หรือความเคลือบแคลงสงสัยไม่แน่ใจ ในพระรัตนตรัย เพราะฉะนั้น จะเริ่มละวิจิกิจฉาด้วยการเห็นสมุทัย เมื่อปัญญา รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วขึ้น ละเอียดขึ้น ตามปกติ
ถ้าพูดถึงเรื่องรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามปกติ และกล่าวว่าละเอียดขึ้น ทั่วขึ้น ก็เหมือนกับเป็นคำพูด ไม่ใช่การกระทำ แต่ความจริงแล้วเป็น การกระทำ และเป็นปัญญาจริงๆ ซึ่งปัญญานั้นต้องเจริญจนกระทั่งสามารถรู้ สภาพธรรมทั่วตามปกติได้
ไม่ใช่เป็นเพียงคำพูด แต่เป็นเรื่องของการอบรมด้วยความเข้าใจถูก ด้วยความเห็นถูก จนกระทั่งสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติตามความ เป็นจริง จึงจะเห็นสมุทัย มิฉะนั้นแล้วสมุทัยก็เป็นเพียงชื่อว่าสมุทัย คือ โลภะ แต่ขณะนี้โลภะอยู่ที่ไหน ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดจะไม่รู้เลยว่า มีสมุทัยแทรกคั่น หรือเปล่าในขณะที่กุศลจิตกำลังเกิด
ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐานจริงๆ ไม่ใช่ผู้ที่ตั้งสติ ไม่ใช่ผู้ที่ทำสติ แต่เป็นผู้ที่รู้ว่า สติเกิดตามปกติ หลงลืมสติตามปกติ และสติก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ จึงจะเห็นสมุทัย
ท่านผู้ฟังอยู่ที่บ้าน ตื่นขึ้นมาและสติเกิดระลึก เห็นสมุทัยไหม เห็นจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่นึกขึ้นมาว่า โลภะเป็นสมุทัย เพราะเหตุใด ก็เพราะกำลังเอื้อมมือที่จะ ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด สติระลึก ขณะนั้นรู้เลยว่าเป็นความต้องการ เป็นความยินดี ไม่ว่าจะอ่านหนังสือพิมพ์ กำลังอ่านอยู่ สติเกิด ขณะที่กำลังมีความสนใจในเรื่องที่อ่าน ขณะนั้นถ้าเป็นสติปัฏฐานรู้ได้ทันทีว่า สมุทัยไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย เป็นชีวิตประจำวัน ทุกขณะจริงๆ ที่สติระลึกได้
ถ้าสติระลึกจริงๆ เป็นสัมมาสติจริงๆ เป็นปกติจริงๆ ที่จะไม่เห็นสมุทัย ในชีวิตประจำวัน ไม่มี ไม่ว่าในขณะใดทั้งสิ้น กำลังจะดื่มน้ำ สติเกิดระลึก ถ้าขณะนั้นรู้ลักษณะของจิตจะรู้ได้ว่า มีความต้องการ หรือแม้แต่การกระทบสัมผัส สิ่งหนึ่งสิ่งใดทางกาย ขณะที่ทุกขเวทนาไม่เกิด ขณะนั้นก็มีความยินดีพอใจที่จะกระทบสัมผัสสิ่งนั้น เช่น จะหยิบหนังสือ สติปัฏฐานเกิดระลึกที่แข็ง ที่จะไม่เห็น สมุทัยนั้นไม่มี นอกเสียจากในขณะนั้นเป็นกุศลจิตเท่านั้นจึงไม่ใช่สมุทัย
ผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานจะเป็นผู้ที่รู้สมุทัยจริงๆ ว่า วันทั้งวันมีแต่โลภะ สติเกิดระลึกเมื่อไรก็เจอโลภะทันที ตามปกติ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น วิจิกิจฉาจะละได้ด้วยการถึงพร้อมด้วยการเห็นสมุทัย
ถ. สมุทัย ผมก็เชื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีแน่ๆ แต่ด้วยความเคยชิน เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว เอื้อมมือไปหยิบ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ความเคยชินทำให้ไม่เห็นสมุทัย เลยสมุทัยไป กลายเป็นว่า รีบๆ แปรงฟัน รีบๆ ให้เสร็จ และไปแต่งตัว จะออกไปข้างนอก
สุ. รีบๆ นั่นแหละ สติระลึกก็รู้เลย สมุทัยทั้งนั้น ตลอดเวลา แต่ถ้าตื่นเช้าเปิดวิทยุฟังธรรม ไม่เหมือนกัน
ถ. ก็สมุทัยอีก
สุ. ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้ละเอียดจะรู้ได้
ถ. ฟังด้วยความเคยชิน วันนี้ขาดไม่ได้
สุ. สามารถรู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นโลภะหรือเป็นกุศล แต่ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่เกิด ปัญญาไม่รู้ ไม่มีทางใดที่จะละอกุศลได้เพราะความไม่รู้ จะละอกุศลได้ต่อเมื่อรู้ในขณะที่เป็นอกุศลจริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอกุศล ก็ไม่ละ
ถ. เป็นเรื่องที่ละเอียด วันหนึ่งๆ สักนิดเดียวคงได้ ต่อรองได้ไหม
สุ. มิได้ เป็นเรื่องการอดทน เป็นเรื่องความเพียร
ถ. ก็เป็นได้ตอนที่สติระลึกถึงสภาพธรรม นิดเดียวจริงๆ
สุ. ถ้าไม่เห็นสมุทัย จะไม่ละสมุทัย
ถ. ต้องเป็นอย่างนั้นแน่นอน การเจริญถึงขั้นที่ว่ารู้ชัด เมื่อมาเจริญเห็นแต่ที่ไม่ชัด รู้ว่าที่ชัดนั้นต้องยิ่งกว่านี้มาก เวลานี้เห็นแต่ที่ไม่ชัดๆ ทั้งนั้น อย่างที่อาจารย์บอกว่า ต้องบ่อยๆ เนืองๆ ก็เป็นการย้ำให้เรามีสติระลึกในสภาวธรรมเหล่านั้นจริงๆ
สุ. จากความเป็นปุถุชนจะไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคล ขอให้คิดดูว่า เป็นผู้ที่ติดโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอด ทันทีที่เห็นติดข้องในสิ่งที่เห็นโดยไม่รู้ตัว ทันทีที่ได้ยิน ทันทีที่ได้กลิ่น ทันทีที่ลิ้มรส ให้ทราบว่า มีโลภะ มีความติดข้องโดยไม่รู้ตัววันหนึ่งๆ มากสักแค่ไหน เพราะฉะนั้น ติดข้องโดยรู้ตัวก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง ใช่ไหม ขั้นแรกติดข้อง ก็ไม่รู้ตัว เห็นก็ไม่รู้ว่าติดแล้ว ได้ยินก็ไม่รู้ว่าติดแล้ว แต่ปัญญาอีกขั้นหนึ่ง คือ ติดก็รู้ว่าติด เห็นสมุทัยตามความเป็นจริงแล้วจึงจะละได้
ถ. ผมยังติดใจเรื่องสักกายทิฏฐิ ที่บอกว่าละได้ด้วยการถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกข์ เห็นไตรลักษณ์ ตรงนี้มีคำถามว่า ทิฏฐิหมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อว่า มีพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิด ไม่เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เป็นต้น ตรงนี้จะละ ได้หรือด้วยการเห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นทุกข์ ละได้อย่างไร
สุ. ขณะนี้ทุกคนมีทุกข์ ใช่ไหม
ถ. ใช่
สุ. ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใด ต้องมีคำจำกัดความตกลงกันก่อนว่า คำนั้นหมายความว่าอะไร
ถ. ท่านอาจารย์โปรดกรุณา
สุ. ถ้าจะบอกคนอื่นว่า ขณะนี้มีทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ใช่ ชาวพุทธ หรือชาวพุทธที่ยังไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด ก็จะไม่รู้เลยว่า พูดเรื่องอะไร หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ใช้เวลานานในการปรับความเห็น หรือทำความเห็นผิดให้ค่อยๆ เห็นถูกขึ้น ค่อยๆ ตรงขึ้น และเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลด้วย ถ้าบุคคลนั้นสะสมมาที่จะฟังเหตุผล ก็ยังพอพูดเรื่องสัจจธรรมได้ แต่ถ้าบุคคลนั้น ไม่ได้สะสมมาที่จะฟังเหตุผล คำดีก็เป็นคำชั่ว เพราะทำให้เขาเกิดโทสะ ทำให้เกิดมานะ ทำให้เขาเกิดความลบหลู่อีกมากมาย เพราะฉะนั้น ควรพูดกับผู้ที่พร้อมจะ รับฟังเหตุผล สิ่งใดผิดก็จะต้องตกลงกันว่า ผิดเป็นผิด ถ้าสิ่งใดถูกก็ถูก
เพราะฉะนั้น ทุกข์ที่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เห็นง่าย เพราะทุกข์ในที่นี้หมายความถึง การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมทุกอย่าง ก็ต้องมาตั้งต้นกันที่ธรรมอีก ใช่ไหม เพราะว่าการจะกล่าวถึงทิฏฐิ ความเห็นต่างๆ มี ๑๐๐ คน ก็ ๑๐๐ ความเห็น มี ๑,๐๐๐ คน ก็ ๑,๐๐๐ ความเห็น มี ๑๐๐,๐๐๐ คน ก็ ๑๐๐,๐๐๐ ความเห็น ความเห็นนี่มากมายจริงๆ
แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่ทุกคนมี จะทำให้เข้าใจขึ้นได้ เช่น คำว่า สัจจะ ความจริง ของจริง และธรรม ถ้าใช้คำว่า ธรรม ก็หมายความว่าไม่ได้พูดถึงใครทั้งสิ้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ธรรมคือธรรม เป็นสภาพที่มีจริง เพราะฉะนั้น ถ้าพูดว่า ธรรม ก็หมายความว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน
เพราะฉะนั้น ก็เริ่มพิจารณาว่า สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ทุกคนยอมรับไหม ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ภาษาใด นับถือศาสนาใดก็ตาม ที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ให้ถูกต้องขึ้น เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส ความรู้สึก ความสุข ความทุกข์ต่างๆ เป็นการเรียนให้เข้าใจเรื่องของสภาพธรรมเพื่อจะได้ไม่ยึดถือ หรือ ไม่เห็นผิด แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่สนใจเรื่องความเห็นผิดเห็นถูก อยากจะไปสวรรค์ ก็ไม่มีทาง เพราะอาจมีหนทางอื่นที่เขาคิดว่าทำให้เขาไปสวรรค์ได้โดยที่ไม่ใช่กุศลกรรมของเขาเอง
ถ. เป็นพระคุณอย่างสูง ท่านอาจารย์ ยังมีอีกคำหนึ่งที่อาจารย์พูดแล้ว ยังไม่ได้อธิบาย คือ สัจจะ
สุ. สัจจะ หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ใช้ได้กับทุกศาสนา ทุกชาติ เห็นมี จริงไหม ได้ยินมีจริงไหม เห็นเกิดขึ้นได้อย่างไร อาศัยอะไรจึงเห็น เห็นดับหรือเปล่า ขณะไหนไม่เห็น เพราะอะไรจึงไม่เห็น และเพราะอะไรจึงเห็น ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ถ้ามีความเห็นถูกในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะชื่อว่าเห็นถูกหรือเห็นผิด ถ้ามี ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น จะชื่อว่าเห็นถูกหรือเห็นผิด
ถ. ไม่ทราบท่านผู้ฟังจะเข้าใจแจ่มแจ้งไหม สำหรับผม ผมคิดว่าเข้าใจ ผมคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ การที่จะพูดเรื่องทิฏฐิต่างๆ เหล่านี้ เป็นเรื่องคำ ๓ คำ คำว่า ทุกข์ ต้องเข้าใจตรงกันในนัยของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสัจจธรรม คำว่า ธรรม และคำว่า สัจจะ คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นจริงๆ ถ้าจะพูดความจริงกัน จะพูดกันรู้เรื่อง
สุ. อีกอย่างหนึ่ง ถ้าพูดถึงความเห็นเรื่องตายแล้วเกิด ก็แสดงว่า ไม่ได้พูดถึงเรื่องสัจจธรรมที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ เป็นความเห็นที่ไกลไปถึงขณะที่ยัง ไม่เกิดจริงๆ ยังไม่ตายจริงๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงสิ่งที่เป็นการคาดคะเนเรื่องการเกิดการตาย โดยที่บุคคลนั้นยังไม่เข้าใจ ยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนี้จริงๆ จะมีอะไรพิสูจน์ได้ว่า ความคิดนั้น ความเห็นนั้น ถูกหรือผิด
แต่ถ้าเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ก่อน และพูด เรื่องเกิดเรื่องตาย ก็จะเป็นความถูกต้อง เพราะรู้ว่าขณะนี้อะไรเกิด อะไรตาย
ถ. อาจารย์กล่าวว่า ติดโดยไม่รู้ ขั้นหนึ่ง กับติดโดยรู้ อีกขั้นหนึ่ง ถ้าติดโดยไม่รู้ ไม่มีทางละได้
สุ. ทั้งวันเลย
ถ. และเป็นมาตลอดชีวิต ตั้งแต่ก่อนศึกษาธรรม แม้กระทั่งมาศึกษาธรรมหลายปีแล้ว ติดโดยไม่รู้ตัวก็ยังมากกว่า แม้เดี๋ยวนี้ที่ติดโดยรู้ตัวก็ยังน้อยที่จะระลึก ได้ว่า เวลานี้เราติดนะ อย่างเราเคยไปที่โน่นที่นี่ เราติดแล้วโดยไม่รู้ตัว แต่อาศัยธรรมที่ได้ร่ำเรียนมา มาระลึก มาเทียบเคียง มาสังเกตเข้า นี่เราติดแล้ว ได้เริ่มรู้แล้วว่า เราติด แสดงว่าเราติดโดยรู้บ้าง แต่แม้กระนั้นติดโดยไม่รู้ก็ยังมากกว่า
สุ. ติดโดยไม่รู้ตัวนี่เร็ว เกือบจะทั้งวันที่สติปัฏฐานไม่เกิด เมื่อสติปัฏฐานเกิด ก็เริ่มเห็นสมุทัยตามความเป็นจริงตามปกติว่ามากแค่ไหน และจะละกันอย่างไร วันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว ชาติเดียว เป็นไปไม่ได้
ถ้าคิดถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขยแสนกัป จากปุถุชนสู่ ความเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยามที่ ๓ เมื่ออรุณขึ้นในวันวิสาขะ เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยบารมี การอบรม ๔ อสงไขยแสนกัปที่จะให้เป็นพระโสดาบัน แต่พระองค์สามารถรู้แจ้งถึงความเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องสิ้นหวัง ยังมีหวัง เมื่อมีความเห็นถูกและมีการประพฤติปฏิบัติอบรมเจริญปัญญาอย่างถูกต้อง
ถ. ขณะที่ยินดีพอใจ และขณะนั้นก็มีความติดด้วย ความยินดีพอใจจะเป็นฉันทะ หรือเป็นโลภะ
สุ. ถ้าอกุศลจิตเกิด สามารถรู้ได้ไหมว่า ขณะนั้นเป็นฉันทะหรือเป็นโลภะ
ถ. อกุศลจิตเกิด รู้ไม่ได้ ต้องสติเกิดจึงจะรู้ได้
สุ. ถ้าสติปัฏฐานเกิด ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นฉันทะหรือเป็นโลภะ จะต้องรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรมเสียก่อน
ถ. จากการศึกษา ฉันทะเกิดกับกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ เพราะว่าเวลาทำกุศล บางทีก็เป็นความยินดีพอใจที่จะกระทำสิ่งนั้น ฉันทะอาจจะมีกำลังเป็นอธิปติได้
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม และ รู้ลักษณะที่ต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิต จึงจะรู้ว่า ขณะใดเป็นฉันทะที่เกิดกับอกุศล ขณะใดเป็นฉันทะที่เกิดกับกุศล
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๙๔ ตอนที่ ๑๙๓๑ – ๑๙๔๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1884
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1885
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1886
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1887
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1888
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1889
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1890
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1891
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1892
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1893
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1894
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1895
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1896
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1897
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1898
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1899
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1900
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1901
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1902
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1903
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1904
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1905
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1906
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1907
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1908
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1909
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1910
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1911
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1912
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1913
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1914
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1915
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1916
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1917
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1918
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1919
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1920
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1921
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1922
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1923
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1924
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1925
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1926
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1927
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1928
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1929
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1930
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1931
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1932
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1933
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1934
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1935
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1936
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1937
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1938
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1939
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1940
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1941
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1942
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1943
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1944
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1945
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1946
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1947
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1948
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1949