พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
ตอนที่ ๒๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ในหนึ่งคน จิตเมื่อวาน จิตวันนี้ จิตต่อไปข้างหน้า อะไรจะเกิดขึ้น ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า จะเป็นจิตประเภทไหน มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่า ทั้งหมดเป็นอนัตตา ซึ่งถ้าศึกษาละเอียดขึ้นๆ ก็จะรู้ได้ว่าไม่มีใครสามารถที่จะไปยับยั้งสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ในขณะนี้ได้ เพียงแต่ว่าเราจะค่อยๆ ศึกษาให้เข้าใจขึ้นเพื่อที่จะละความเป็นเรา ก่อนอื่นต้องทราบว่า ถ้าศึกษาเรื่องจิตจะต้องทราบว่าจิตมี ๔ ชาติ เพราะเหตุว่าในวันหนึ่งๆ ไม่เหมือนกันเลย จิตที่เป็นกุศลซึ่งเป็นจิตที่ดีงามก็มี จิตที่เป็นอกุศลเป็นจิตที่ไม่ดีงามก็มี จิตที่เป็นผลของกุศล และอกุศลเป็นวิบาก จิตที่เป็นวิบากที่เป็นผลของกุศล และอกุศลก็มี และจิตที่เป็นกิริยาก็มี กิริยาจิตส่วนใหญ่เป็นของพระอรหันต์ แต่ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็มีกิริยาจิต ๒ ประเภทคือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นกิริยา และมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นกิริยา สำหรับบุคคลทุกประเภท เพราะเหตุว่าจิตมีหลากหลายโดยการที่มีทางที่จะรู้อารมณ์ต่างๆ เช่น ขณะนี้ทางตาที่กำลังเห็น ทุกคนกำลังฟัง และมีจิตที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และมีจิตที่ได้ยินเสียงอาศัยหู ขณะนี้การฟังแต่ละครั้งแม้ว่าจะกล่าวซ้ำๆ ทบทวน ก็เพื่อเตือนให้เข้าใจจริงๆ ว่า ในขณะที่กำลังเห็นเป็นจิตประ เภทหนึ่ง ขณะที่กำลังได้ยินเป็นจิตประเภทหนึ่ง จิตเห็น และจิตได้ยินเป็นผลของกรรม ทุกคนอยากที่เห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงดี ลิ้มรสดี ได้กลิ่นดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสดี แต่ก็ต้องแล้วแต่กรรม
แต่ว่าก่อนจิตเห็น จิตต้องเป็นภวังค์ก่อน ขณะที่กำลังเป็นภวังค์หมายความว่า ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก เช่น ขณะที่นอนหลับสนิท ไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเลย ขณะนั้นเป็นภวังคจิต
ผู้ที่ไม่ได้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่คิดไตร่ตรอง จะใช้คำหลายคำซึ่งเกิดจากการคาดคะเน หรือการศึกษาต่างๆ แต่การตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสภาพธรรมโดยละเอียด เช่น ขณะใดที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนั้นเป็นภวังคจิต สัตว์เดรัจฉานมีภวังคจิต หรือไม่ มี
การศึกษาธรรมให้ทราบว่าศึกษาเรื่องจิต ไม่ต้องนึกถึงรูปคน หรือรูปสัตว์ แต่จิตเห็น หรือจิตใดๆ ก็ตามเกิดขึ้นเมื่อไร ขณะไหน จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้ เมื่อกำลังเป็นภวังค์จิต จะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รับผลของกรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่กำลังเป็นผลของกรรมที่ทำให้ยังไม่สิ้นชีวิต เพราะฉะนั้นเวลาที่กรรมจะให้ผล ต้องเห็น ขณะนั้นให้ทราบว่าต้องเห็น ไม่เห็นไม่ได้ แต่ก่อนจิตเห็นจะเกิดขึ้นต้องมีปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกที่เกิดก่อน ก็ทบทวนไปทบทวนมาโดยที่ไม่ต้องไปท่อง แต่ให้ทราบว่าเวลาที่จิตจะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด วิถีจิตแรกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นปัญจทวาราวชนจิต จิตนี้สามารถจะรู้อารมณ์ได้ทั้ง ๕ อารมณ์ ชื่อว่าปัญจทวาราวัชชนจิต การที่จะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใด แต่ขณะที่เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต จิตเกิดรู้อารมณ์ของตนโดยไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเลย อารมณ์ของภวังค์ใครรู้บ้างว่าเป็นอะไร กำลังหลับสนิทรู้ หรือไม่ ภวังค์ของแต่ละคนจะเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ไม่ใช่วิสัยที่จะรู้ได้ เพราะว่าขณะนั้นไม่รู้แม้แต่ว่ามีตัวตน หรือว่ามีสภาพรู้ หรือว่าจำอะไรได้เลยในขณะนั้น เหมือนกับว่าโลกก็ไม่ปรากฏ อะไรก็ไม่ปรากฏเลย คนที่เคยเป็นลม โลกปรากฏ หรือไม่ ขณะนั้นเป็นอะไร เป็นภวังค์จนกว่าจะมีการรู้สึกตัวเมื่อไร ก็อาจจะรู้สึกตัวโดยลืมตาเห็น หรือได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น หรือคิดนึก ขณะนั้นเป็นวิถีจิต แต่ขณะที่เป็นปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ใช่วิถีจิต ไม่ใช่จิตที่อาศัยทวารหนึ่งทวารใดเกิดขึ้นจึงไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรก ถ้าเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นปัญจทวารวิถี ถ้าเป็นทางมโนทวาร ขณะนั้นไม่ใช่ปัญจทวารวิถี แต่เป็นจิตอีกประเภทหนึ่งคือ มโนทวารวิถีจิต ซึ่งวิถีแรกคือมโนทวารวัชชนจิต
คราวก่อนกล่าวถึงคำว่า มโน แล้วคำว่าอะไรอีก จำได้ หรือไม่ ขอเชิญคุณวิชัยสนทนา
อ.วิชัย มีคำว่า “มโน” “มโนทวารวิถี” “มโนทวาร” “มโนทวาราวัชชนจิต”
ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงศ์จะร่วมสนทนา คำว่า “มโน” ด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง "มโน" แปลว่าใจ แปลว่าจิต แปลว่า วิญญาณ
ท่านอาจารย์ "มโน" หมายความถึงตัวจิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทไหน “มโนทวาร” มีคำว่า "ทวาร " และ "มโน" หมายความว่าเป็นทางของจิตที่จะเกิดขึ้นรู้อารมณ์โดยไม่ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ทวารทั้งหมดมี ๖ ทวาร คือ ปัญจทวาร ๕ มโนทวาร ๑ ถ้ากล่าวว่าเป็น"ปัญจทวาร" ไม่มีคำว่า"มโน" จึงจะเป็นนามธรรมไม่ได้ "ปัญจทวาร" เป็นรูป ๕ รูป คือ จักขุปสาทรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ กายปสาทรูป ๑ รูปทั้งหมดนี้เป็นทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทวารนั้นๆ เพราะว่าเรามีตาที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานสำหรับกระทบสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จึงมีจิตเห็นเกิดขึ้น มีหู เพราะกรรมเป็นสมุฏฐานทำให้โสตปสาทเกิดขึ้นกระทบเสียง จึงมีจิตได้ยินเสียงที่ไม่ใช่ภวังค์ ขณะใดที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต ขณะนั้นเป็นวิถีจิต ซึ่งจะเป็นทางจักขุทวาร หรือทางโสตทวาร หรือทางฆานทวาร หรือทางชิวหาทวาร หรือทางกายทวารก็ได้
แต่เมื่อกล่าวถึง "มโนทวาร " มีคำว่า "มโน" แล้วเป็นทวาร ได้แก่ "ภวังคุปัจเฉทะ" เป็นจิต ขณะที่เป็นภวังคจิต จิตจะเกิดดับสืบต่อเป็นภวังค์ แล้วแต่จะมากจะน้อยเท่าไรในขณะที่ยังไม่มีการรู้อารมณ์อื่น แต่เมื่อจะรู้อารมณ์อื่น จิตจะต้องไหว จากภวังค์เป็นภวังคจลนะ และเมื่อภวังคจลนะดับก็เป็นภวังคุปัจเฉทะ ถ้ายังเป็นภวังค์อยู่ ยังไม่ได้รู้อารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์ แต่เมื่อเวลาจะเกิดการคิดนึกขึ้น เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับ มโนทวาราวัชชนจิตจะต้องเกิดเป็นวิถีจิตแรก ซึ่งปัญจทวาราวัชชนะเป็นถีจิตแรกทางปัญจทวาร แต่มโนทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร ขณะนี้กำลังเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ ถ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง แต่จากการที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดก็จะทำให้เราเห็นความเป็นอนัตตาว่า ไม่มีใครไปจัดการอะไรได้เลย
จากภวังคจิตมาสู่การเห็น การได้ยิน ภวังค์ต้องไหว และดับไปแล้ว กระแสภวังค์สุดท้ายคือภวังคุปัจเฉทะ เมื่อเกิดแล้ว ภวังค์จะเกิดต่ออีกไม่ได้ ต้องเป็นวิถีจิต ถ้าใช้คำว่าภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ต่อไปก็คือ มโนทวาราวัชชนะ เพราะเหตุว่าไม่ได้มีอารมณ์มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ขณะนั้นมีการสั่งสมของจิตที่ถึงกาลที่จะทำให้ภวังค์ไหว และภวังคุปัจเฉทะดับไป ก็มีการคิดนึก โดยไม่อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลย เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกทางใจ คือ "มโนทวาราวัชชนจิต' ขณะนี้มี หรือไม่
"มโน" คือ จิตทั้งหมดทุกประเภท ส่วน "มโนทวาร" ต้องเป็นภวังคุปัจเฉทะ เป็นภวังค์ขณะสุดท้าย เป็นทวารของจิตอื่นๆ ซึ่งรู้อารมณ์ทางใจ ดังนั้น "มโนทวารวิถี" ได้แก่วิถีจิตทั้งหมดที่อาศัยเกิดสืบต่อจากมโนทวาราวชน ส่วน "ปัญจทวารวิถี" คือวิถีจิตที่เกิดสืบต่อจากปัญจทวาราวชน นี้คือความต่างกันของวิถีจิตกับจิตที่ไม่ใช่วิถี แต่ถ้าเป็นปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ใช่วิถีจิต จิตอื่นทั้งหมดนอกจากภวังคจิต ปฏิสนธิจิตที่ดับไปแล้ว จุติจิตที่ยังไม่เกิด ต้องเป็นวิถีจิต แล้วแต่ว่าจะเป็นวิถีจิตทางทวารใด
ผู้ฟัง มีคำที่ผมยังไม่แน่ใจ มโน และ มโนทวาร และ ภวังคุปัจเฉทะ ศัพท์ใหม่นี้ คำนี้หมายถึงอะไร
ท่านอาจารย์ คำว่า "มโน" ได้แก่จิตทุกขณะ แต่ "มโนทวาร" เป็นทวารที่จิตจะเกิดรู้อารมณ์ "ทวาร" เป็นทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ ตา คือ จักขุปสาทรูป เป็นทวารสำหรับเห็น โสตปสาทรูป เป็นทวารสำหรับได้ยิน ฆานปสาทรูป เป็นทวารสำหรับได้กลิ่น ชิวหาทวารเป็นทวารสำหรับจิตลิ้มรส และกายทวารก็คือทวารของกายปสาทรูปที่สามารถจะรู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ส่วน "มโนทวาร" ไม่ใช่รูป ๕ รูป แต่เป็นภวังคุปัจเฉทะ คือ ภวังค์ขณะสุดท้าย เป็นทวารของมโนทวารวิถีจิตที่จะเกิดต่อ
ผู้ฟัง ภวังคุปัจเฉทะ จะเป็นที่เกิดของมโนทวารใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ที่เกิดไม่ใช่ทวาร ทวารเป็นทางรู้อารมณ์ กำลังกล่าวถึงทาง ไม่ได้กล่าวถึงที่เกิด "ทวาร"คือทางรู้อารมณ์ แต่"ที่เกิด"เป็นที่ๆ จิตที่เกิดขึ้น สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตต้องเกิดที่รูป เพราะฉะนั้นจะมีรูป ๖ รูปซึ่งเป็นที่เกิด แต่ทวารมี ๖ ทวารเป็นทาง "ทวาร" กับ "ที่เกิด" เป็น คนละความหมาย
ผู้ฟัง มโนทวารเป็นทาง แต่จริงๆ แล้วจิตต้องเกิดที่หทยวัตถุ
ท่านอาจารย์ ศึกษาต่อไปจะทราบว่าจิตขณะใดเกิดที่ไหน แต่ขณะนี้ให้ทราบว่า ขณะนี้ที่กำลังเห็น เพราะมีทางที่จิตจะเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต ขณะเห็นไม่ใช่จิตที่ไม่ใช่วิถี
ผู้ฟัง เป็นทาง ตรงนี้เข้าใจยาก
ท่านอาจารย์ คือถ้าปราศจากสิ่งนั้นแล้ว จิตเห็นจะมีไม่ได้ ถ้าปราศจากจักขุปสาทรูป แม้มีจิตเกิดดับแต่ไม่เห็น เพราะเหตุว่าไม่มีจักขุปสาทรูป ก็ต้องเป็นจิตประเภทอื่น
ผู้ฟัง มีทาง ๕ ทาง และ ทางที่ ๖ เป็นมโนทวาร การที่จิตจะเกิดต้องมีการสะสม ก่อนที่มโนทวาราวัชชนจิตจะเกิด สะสมอะไรที่ทำให้เราคิดอย่างนั้นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เวลานี้คิดเรื่องอะไร ก็สะสมเรื่องที่จะคิดนี้ไว้แล้ว จึงได้คิด
ผู้ฟัง นั่นก็คือเหตุที่ทำให้เกิดการคิดใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ เพราะสัญญาความจำ
ผู้ฟัง สัญญาจำเรื่อง จำอะไรต่างๆ เปรียบเทียบว่าการที่ตาก็เห็นได้ หูก็ฟังเสียงได้ จมูกได้กลิ่น ลิ้นก็ลิ้มรสได้ ทางกายก็สัมผัสสิ่งที่ถูกต้องทางกายได้ ขณะนี้เราสัมผัส เช่น สัมผัสแข็งอยู่ เช่นโต๊ะ เก้าอี้ ก็สัมผัสว่าแข็ง ขณะนี้มีทั้งเห็น ทั้งได้ยินเสียง เปรียบเทียบว่า สิ่งที่เกิดทางใจ ต่างกันมากมายอย่างไร ระหว่าง ๕ ทางกับอีก ๑ ทาง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ต้องต่าง เพราะเหตุว่า แม้ขณะที่กำลังหลับสนิทจักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูปก็เกิด เพราะกรรมเป็นสมุฏฐานให้รูปเหล่านี้เกิด และก็ดับ แม้แต่ขณะนี้ขณะที่กำลังได้ยิน จักขุปสาทรูปก็เกิดดับแต่ไม่ใช่ทวาร เพราะว่าขณะนั้นได้ยิน ไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยิน แม้จักขุปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูปจะเกิดเพราะกรรม และก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่เฉพาะโสตปสาทรูปเท่านั้นที่เป็นโสตทวารสำหรับจิตจะเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตจะเกิดขึ้นได้ยิน ก่อนนั้นต้องเป็นภวังค์ ต้องมีจิตเกิดดับดำรงภพชาติเสมอ เพื่อที่จะเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง ซึ่งเป็นผลของกรรมต้องเป็นอย่างนี้ เวลาที่กรรมพร้อมที่จะให้ผล ถ้าจะให้ผลทางหู ขณะนั้นก่อนที่จิตจะได้ยิน ก็จะต้องเป็นภวังคจิตก่อน เพื่อดำรงภพชาติ และเวลาที่เสียงเกิดขึ้นกระทบโสตปสาทรูป ก็ยังไม่ได้ยิน แต่ว่าเกิดพร้อมกับภวังค์ คำว่า “อตีตภวังค์” คือ ภวังค์ที่มีอารมณ์เดียวกับภวังค์ก่อนๆ ที่เป็นอดีต ยังไม่ได้เปลี่ยนอารมณ์ ไม่ว่าจะชื่อภวังค์อะไรก็ตาม แต่เมื่อใช้คำว่า “อตีตภวังค์” เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่ารูปเกิดพร้อมกับโสตปสาทรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม เพราะว่ากรรมจะทำให้โสตปสาทรูปเกิดทุกอนุขณะของจิต เร็วแค่ไหน จิตหนึ่งขณะสั้นมาก แต่แม้กระนั้นขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะที่ดับไป เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตเกิดขึ้นในอนุขณะแรกคือ อุปาทขณะ โสตปสาทรูปเกิด ในฐีติขณะ โสตปสาทรูปเกิด ในภังคขณะโสตปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้นเวลาที่เสียงเกิดพร้อมโสตปสาทรูป และภวังค์ที่กระทบ เริ่มที่จะกล่าวว่าเป็นอตีตภวังค์
รูปๆ หนึ่งจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นรูปนั้นจะดับเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งอย่าลืมว่าเร็วแสนเร็ว เพราะว่าขณะนี้ทั้งเห็นทั้งได้ยินเหมือนเกิดพร้อมกัน แต่ความจริงมีจิตเกิดดับเกินกว่า ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นจะไม่มีใครที่สามารถตรัสรู้ และทรงแสดง แม้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ยุคไหนสมัยไหนก็ตาม เมื่อไม่ได้ตรัสรู้สภาพธรรม วิสัยของปุถุชนจะไตร่ตรอง ตรึกตรอง จะคิด ก็เพียงคิดได้เท่าที่จะสามารถจะเป็นได้ในในกาลสมัยหนึ่ง แต่ไม่ใช่การตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เช่นการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาที่รูปเกิดพร้อมโสตปสาทแล้ว รูปดับ หรือยัง
ผู้ฟัง รูปก็ยังไม่ดับ
ท่านอาจารย์ โสตปสาทรูปดับ หรือยัง
ผู้ฟัง โสตปสาทรูปก็ยังไม่ดับ
ท่านอาจารย์ อตีตภวังค์ดับ เมื่ออตีตภวังค์ดับแล้ว ภวังค์ต่อไปก็ใช้คำว่า “คจลนะ” เพื่อที่จะเปลี่ยน แต่ไม่ได้ไหวอย่างรูป แต่ลักษณะของนามธรรมให้ทราบถึงความรวดเร็ว เพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่จะเป็นภวังค์อีกต่อไปไม่ได้ แม้แต่ขณะที่ต่อจาก อตีตภวังค์ก็เป็นภวังคจลนะ หนึ่งขณะสั้นๆ แล้วดับไป ภวังคุปัจเฉทะเกิดสืบต่อ ถ้าเป็นทางมโนทวารไม่ต้องอาศัยตา ไม่ต้องอาศัยปสาทรูปใดๆ จิตที่เป็นกุศล และ อกุศล เกิดต่อได้ทันทีจากมโนทวาราวัชชนจิต แต่ถ้าเป็นทางปัญจทวาร เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับแล้ว จิตที่เกิดต่อเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่มโนทวาราวัชชนจิต เพราะเหตุว่า“อาวัชชนะ” หมาย ความถึง จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบ คำว่ารำพึงในภาษาไทย จะรำพึงถึงอะไรนี่ จะต้องยาวใช่ หรือไม่ แต่การที่จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบ ขณะนั้นเพียงชั่วหนึ่งขณะที่รู้ว่าอารมณ์กระทบดับ ขณะนั้นยังไม่ทันเห็น ยังไม่ทันได้ยิน หลังจากนั้น จิตเห็นจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุปสาทรูป หรือจิตได้ยินจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยโสตปสาทรูป หรือจิตได้กลิ่นเกิดขึ้นโดยอาศัยฆานปสาทรูป แล้วแต่ว่าจะเป็นการกระทบของทวารใด จิตก็เกิดขึ้นรู้รูปที่กระทบทางทวารนั้นๆ แต่ต่อจากภวังคุปัจเฉทะ ถ้าเป็นทางปัญจทวารต้องเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต เติมคำว่าอาวัชชนะ จึงรวมเป็นคำว่าปัญจทวาราวัชชนะ ถ้ากล่าวถึงปัญจทวารต้องเป็นรูป ๕ รูป แต่ถ้ากล่าวถึงปัญจทวาราวัชชนะ ต้องเป็นวิถีจิตแรกที่สามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบได้ทั้ง ๕ ทวาร ทีละทวาร รูปยังไม่ดับ
นี้คือความต่างของปัญจทวาร เพราะทางมโนทวารไม่ได้มีรูปมากระทบ ฉะนั้นเมื่อภวังคุปัจเฉทะดับ มโนทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิตเกิดก่อน นึกถึง แล้วแต่ว่าจะนึกถึงอะไรทางมโนทวาร เมื่อดับไปแล้วกุศลจิต หรืออกุศลจิตเกิดต่อได้ทันที เวลาเราคิดถึงอะไรเราอาจจะไม่ทราบว่าเราคิดด้วยกุศลจิต หรือด้วยอกุศลจิต และก่อนนั้นต้องมีมโนทวาราวัชชนจิตเกิดก่อน ก่อนนั้นต้องเป็นภวังคุปัจเฉทะ ก่อนภวังคุปัจเฉทะก็คือภวังค์ เพราะฉะนั้นถ้าจะพิจารณาว่า มโนทวารคือเมื่อไร มโนทวาราวชนเป็นวิถีจิตเป็นมโนทวารไม่ได้ เพราะฉะนั้นภวังคุปัจเฉทะนั้น เป็นมโนทวาร สำหรับวิถีจิตอื่นๆ ที่จะเกิดต่อทางมโนทวาร ในทวาร ๖ จึงเป็นรูป ๕ ทวาร เป็นนาม ๑ ทวาร เป็นนามคือจิตแต่ไม่ใช่จิตทั่วไปทั้งหมด แต่หมายถึงภวังคุปัจเฉทะเป็นมโนทวาร
ผู้ฟัง ภวังคุปัจเฉทะเท่านั้นที่มีทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ที่เป็นมโนทวาร เป็นตัวมโนทวาร
ผู้ฟัง ทางใจที่จะรู้ได้
ท่านอาจารย์ สำหรับทางมโนทวารเท่านั้น ถ้าเป็นทางปัญจทวารไม่ใช่ทวาร
ผู้ฟัง ซึ่งหายไปสองภวังค์ ภวังค์แรกก่อนที่จะถึงภวังคุปัจเฉทะก็ภวังคจลนะ และอตีตภวังค์ หายไปเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ไม่หาย หมายความว่าภวังค์นับไม่ถ้วน นับไม่ได้ ไม่มีใครนับ กำลังเป็นภวังค์ ไม่มีใครจะไปนับได้ว่าเท่าไร เพราะว่าเป็นภวังค์อยู่
ผู้ฟัง ภวังค์ที่ท่านอาจารย์กล่าวช่วงต้นๆ ว่า ไม่รู้อารมณ์ แต่อดีตภวังค์เหตุใดจึงรู้อารมณ์
ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นภวังค์แล้ว ต้องมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ ซึ่งไม่ใช่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้น แม้อารมณ์กระทบอตีตภวังค์ อตีตภวังค์ไม่ได้รู้อารมณ์ที่กระทบนั้น เพราะยังคงมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ และภวังค์อื่นๆ ทั้งสาม คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ เปลี่ยนอารมณ์ไม่ได้
ผู้ฟัง พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ลักษณะของอตีตภวังค์เกิดขึ้น แล้วก็เป็นขั้นตอน เป็น ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ
ท่านอาจารย์ ขณะที่เป็นภวังค์ จะไม่รู้อารมณ์ใหม่ จิตจะรู้เมื่อเป็นวิถีจิต ถ้าจิตที่ไม่ใช่วิถีคือปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ จะไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่รู้อารมณ์ที่สืบต่อมาตั้งแต่ปฏิสนธิ
ผู้ฟัง ความต่างของอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะในปัญจทวาร ที่ไม่สามารถนับภวังค์ได้ และก็เป็นภวังค์คุปัจเฉทะ และก็เป็นมโนทวาราวัชชนจิต แต่กลับไปเปรียบเทียบว่าปัญจทวารจะต้องมีอตีตภวังค์
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 1
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 2
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 3
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 4
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 6
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 7
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 8
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 9
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 10
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 11
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 12
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 15
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 16
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 17
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 18
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 19
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 20
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 21
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 22
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 23
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 26
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 27
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 30
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 32
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 34
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 35
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 36
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 37
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 38
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 39
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 41
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 42
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 43
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 44
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 45
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 46
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 50
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 51
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 52
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 53
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 54
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 56
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 57
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 58
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 59
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60