พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
ตอนที่ ๒๙
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง ความต่างของอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะในปัญจทวาร ที่ไม่สามารถจะนับภวังค์ได้ และก็เป็นภวังคุปัจเฉทะ และก็เป็นมโนทวาราวัชชนจิต แต่กลับไปเปรียบเทียบว่าปัญจทวารคือจะต้องมีอตีตภวังค์ ภวังคจลนะมาเกี่ยวข้องด้วย
ท่านอาจารย์ เพื่อจะกำหนดว่ารูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะ จะดับเมื่อไร
ผู้ฟัง ในกรณีที่จะกล่าวถึงอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะ ในกรณีที่จะทราบว่ารูปมีอายุ ๑๗ ขณะเท่านั้น ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีความหมายอะไร ก็คือภวังค์ทั่วๆ ไป
ท่านอาจารย์ ไม่รู้จะไปนับตอนไหนให้รู้ว่าดับเมื่อไร
ผู้ฟัง ตอนนี้มีทั้งเสียง และรูปให้เห็นตลอดเวลา ซึ่งอาจารย์บอกว่าเร็วมาก เราไม่สามารถที่จะไปอยากเห็นอย่างเดียวก่อน หรือว่าอยากจะได้ยินก่อน ทำไมถึงเป็นอย่างนี้
อ.วิชัย คือโดยสภาพของธรรมแล้ว เกิดตามเหตุปัจจัย มีเหตุจะทำให้ธรรมนั้นเกิดขึ้น อย่างเช่นเรื่องของการเห็น ก็จะมีเหตุเรียกว่าอุปัติเหตุ หรือว่าเหตุให้เกิดของการเห็น เพราะเหตุว่ามีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเห็นจะเกิดขึ้นมาขณะหนึ่ง ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแน่นอน หรือเรียกว่าเป็นวัณณะสีสันต่างๆ คือต้องมี ประการที่สองคือต้องมีปสาทด้วย ปสาทก็คือจักขุปสาทที่เกิดจากกรรมที่ยังมีอยู่ที่ยังไม่ดับ เมื่อมี ๒ อย่าง มีปสาทซึ่งมีความพิเศษที่สามารถรับกระทบกับวัณณะรูป หรือสีได้ เมื่อมีจักขุปสาท มีสีมากระทบกับจักขุปสาท เมื่อมีปัจจัยอย่างนี้แล้วก็เป็นปัจจัยให้มีนามธรรมเกิดขึ้น เรียกว่าปัญจทวาราวัชชนจิต แต่เดิมก็เป็นภวังค์เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยทวารใดทวารหนึ่งเลย แต่เมื่อมีปสาท คือมีจักขุปสาทที่เป็นทวาร มีรูป มีสีสันวรรณะต่างๆ มากระทบเป็นปัจจัยให้เกิดจิตที่รำพึงนึกถึงอารมณ์ที่มากระทบทางนั้น เมื่อดับไปแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น นี้คือปัจจัยของการเห็น
ทางหูก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเสียง มีโสตปสาท มีการกระทบกัน ก็เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรำพึงนึกถึงเสียงที่มากระทบดับไปแล้วจิตได้ยินก็เกิดขึ้น ฉะนั้นการเกิดขึ้นของการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องกระทบสัมผัสก็เกิดขึ้นตามปัจจัย แล้วแต่ว่าจะมีรูปใดมากระทบก็เป็นปัจจัยให้เกิดการรู้รูปที่มากระทบ หรือไม่ อย่างเช่นขณะที่เราหลับสนิทไม่รู้อะไรเลยในโลกนี้ อาจจะมีเสียงต่างๆ มีโผฏฐัพพะต่างๆ มีสีสันต่างๆ แต่ว่าขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้ถูกต้องกระทบสัมผัส เพราะเหตุว่าเป็นภวังคจิต แต่เมื่อมีเสียงมากระทบ อาจจะเป็นเสียงต่างๆ มากระทบกับโสตปสาท ซึ่งเกิดทุกอนุขณะของจิต เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่เกิดจากกรรม เมื่อมากระทบแล้ว แล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยที่จิตเกิดขึ้นรำพึงนึกถึงเสียงที่มากระทบ และเป็นปัจจัยให้เกิดการได้ยิน หรือไม่ นี่ก็คือเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง จะแยกกันได้อย่างไร เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็ได้ยิน เดี๋ยวก็เห็น
อ.วิชัย เพราะเหตุว่าเป็นธรรมชาติของจิต เมื่อเกิดขึ้นทำกิจแล้วก็ดับไปทันที ดังนั้นจิตไม่ได้เห็นตลอดเวลา หรือไม่ได้ยินตลอดเวลาเพราะเหตุว่าเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นทำกิจเห็น เพียงทำกิจเห็นแล้วก็ดับทันที หลังจากนั้นก็เป็นจิตประเภทอื่นที่เกิดสืบต่อ ฉะนั้นธรรมชาติของจิตก็คือเป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์แล้วก็ดับไป เพราะเหตุว่าเมื่อดับไปแล้วเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นอีกขณะหนึ่งเกิดสืบต่อทันที ฉะนั้นให้เห็นว่าขณะนี้เราเสมือนว่ามีการเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องกระทบสัมผัสพร้อมกัน แต่ถ้าพิจารณาจิตเกิดขึ้นทีละขณะ ฉะนั้นเมื่อจิตเห็นดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตขณะอื่นสืบต่อคือรับอารมณ์ต่อจากจิตเห็นที่รู้ในสีที่มาปรากฏขณะนั้นแล้วดับไป และก็มีจิตที่รู้สีนั้นสืบต่อเป็นจิตประเภทอื่น เพราะฉะนั้นจิตก็มีหลายประเภท และความรวดเร็วของจิตก็ทำให้เราเสมือนว่าเราเห็น แล้วก็มีการคิดนึกเป็นเรื่องราวต่างๆ มากมาย ก็เป็นเรื่องของจิตที่เกิดดับสืบต่อกัน เป็นปัจจัยให้เกิดการคิดนึกต่างๆ รู้อารมณ์ประเภทต่างๆ
จิตเมื่อเกิดขึ้นจะมีจิตนิยาม คือความแน่นอนของจิต เพราะฉะนั้นก่อนที่จิตเห็นจะเกิด จิตที่เกิดก่อนต้องเป็นปัญจทวาราวัชชนจิตเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจิตเห็นมีรูปกระทบแล้วจิตเห็นจะสามารถเกิดขึ้นทันทีได้ แต่เป็นธรรมชาติว่าต้องมีจิตที่เกิดก่อนคือทำกิจอาวัชชนะคือรำพึงถึงอารมณ์ที่มากระทบก่อน ดับไปแล้ว จึงเป็นปัจจัยให้จิตเห็นสามารถเกิดขึ้นรู้แจ้งในสิ่งที่เห็นได้ และจิตเห็นดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตที่รับอารมณ์ต่อเรียกว่าสัมปฏิจฉันนจิต เมื่อดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยแก่สันตีรณะจิต แต่ว่าการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การถูกต้องกระทบสัมผัส ทางทวารต่างๆ ก็เกิดจากหลายปัจจัย มีปัจจัย มีเหตุพร้อมไหมให้เกิดการเห็น ถ้ามีปสาท มีสีที่มากระทบปสาท แล้วมีจิตที่รู้อารมณ์คือเกิดขึ้นรำพึงถึงอารมณ์ที่มากระทบ นี้ก็พร้อมเป็นปัจจัยที่การเห็นจะเกิดขึ้น ถ้าขาดปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ถ้าไม่มีจักขุปสาท การเห็นก็มีไม่ได้ ถ้าขาดโสตปสาท การได้ยินก็จะมีไม่ได้ นี้คือเหตุปัจจัยของธรรม ที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเกิดขึ้นของจิต
ท่านอาจารย์ น่าอัศจรรย์จริงๆ ทั้งๆ ที่เรากำลังนั่งอยู่เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้อะไรอีกหลายอย่าง คือเหมือนกับว่ามีเห็นอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่มีคิดนึกสลับก็ไม่รู้ ทั้งๆ ที่มีภวังค์คั่นอยู่ก็ไม่รู้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ว่าทางหนึ่งทางใดก็ยังไม่ครบ วิถีจิต เรากล่าวเพียงวิถีจิตแรก คือถ้าเป็นทางปัญจทวาร ปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดเป็นวิถีจิตแรกโดยที่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยินอะไรเลย ถ้าเป็นทางมโนทวาร ภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว มโนทวาราวัชชนจิตต้องเกิดเป็นวิถีจิตแรก เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตไม่ใช่มโนทวาร เพราะว่ามโนทวารเป็นภวังคจิตขณะสุดท้ายคือภวังคุปัจเฉทะ แต่วิถีจิตแรกทางมโนทวารเป็นมโนทวาราวชนะ เพราะฉะนั้นจิตที่ทำอาวัชชนกิจจะเกิดก่อนวิถีจิตอื่นทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก่อนที่กุศลจิต และอกุศลจิตจะเกิด หรือว่าก่อนที่จิตอื่นๆ จะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ทาง ๕ ทวารต้องเป็นปัญจทวาราวัชชนะ ทางมโนทวารก็ต้องเป็นมโนทวาราวัชชนะ
เมื่อเป็นวิถีจิต วิถีจิตแรกต้องเป็นอาวัชชนจิต แล้วแต่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร ถ้าเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย วิถีจิตแรกก็คือปัญจทวาราวัชชนะ ไม่ใช่ปัญจทวาร แต่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ถ้าเป็นทางมโนทวาร ไม่ใช่มโนทวาร แต่เป็นมโนทวาราวัชชนจิต แสดงถึงวิถีจิตที่ไม่ใช่ภวังค์ แล้วที่คุณวีระกล่าวเมื่อสักครู่นี้ว่าเห็นก็เหมือนไม่เห็น ทั้งๆ ที่คนนี้ก็นั่งอยู่ แต่ก็เหมือนไม่เห็นคนนั้น จริงใช่ หรือไม่ ถ้าจริงต่อไปก็จะรู้ว่า การที่จิตเห็นจะเกิดขึ้นจะมีหลายวาระ บางวาระก็ยาว บางวาระก็สั้น ถ้าสั้นก็จะเพียงเห็น เหมือนเห็น แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ได้
จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาต่อไปถึงสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน หลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว จิตต่อไปก็ต้องเป็นวิถีจิต เพราะว่าเพียงแค่รำพึงถึงอารมณ์เท่านั้นพอ หรือไม่ อารมณ์มากระทบตารำพึงถึง หรือนึกถึงเท่านั้น ซึ่งยังทันไม่เห็น แต่ก็ไม่พอ จะต้องมีผลของกรรมที่จะเกิดต่อ สำหรับมโนทวาราวัชชนจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต ก็เป็นสิ่งที่เราจะเห็นว่าขณะที่เป็นวิบากกับขณะที่ไม่ใช่วิบากต้องต่างกัน เพราะเหตุว่าถ้าเป็นวิบาก กรรมมีสองอย่าง คือกุศลกรรม และอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นวิบากต้องเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากเพราะว่าวิบากเป็นผลของกรรม แต่สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิต สามารถที่จะรู้ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กระทบทวาร ยังไม่เห็นยังไม่ใช่วิบาก แต่เป็นกิริยาจิต เป็นสิ่งที่เราจะต้องทราบว่าจิตทั้งหมดมี ๔ ชาติ จิตแต่ละขณะที่เราได้ยินชื่อจะต้องรู้ว่าจิตนั้นเป็นชาติอะไร มโนทวาราวัชชนจิตก็ป็นกิริยาจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตก็เป็นกิริยาจิต เพราะไม่ใช่วิบากของกรรมหนึ่งกรรมใด ถ้าเป็นวิบากต้องเป็นกุศลวิบากเป็นผลของกุศล หรืออกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของอกุศลเท่านั้นจะไม่มีอื่น ต้องมีคำว่าวิบากถ้าเป็นวิบาก แต่ถ้าไม่ใช่วิบากก็ไม่ใช่วิบาก กุศลจิตไม่ใช่วิบาก อกุศลจิตไม่ใช่วิบาก ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นกิริยาจิต มโนทวาราวัชชนจิตเป็นกิริยาจิต นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีกิริยาจิต ๒ ขณะ ในที่นี้รวมสัตว์เดรัจฉาน ในนรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย คือก่อนจิตเห็นจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตามกับบุคคลใดก็ตาม จักขุทวาราวัชชนะ หรือปัญจทวาราวัชชนจิตต้องเกิดก่อน ซึ่งคงไม่มีปัญหา และคงไม่ลืมด้วย จำได้ เพราะเหตุว่าเข้าใจ ความต่างกันของจักขุทวาร และจักขุทวาราวัชชนจิต
พระอรหันต์มีปัญจทวาราวัชชนจิต หรือไม่ ก่อนจิตเห็นไม่ว่าจะใครจะเห็นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ปัญจทวาราวัชชนจิตต้องเกิดก่อน พระอรหันต์มีมโนทวาราวัชชนจิต หรือไม่ มี แมวมีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม มี นกมีมโนทวาราวัชชนจิตไหม มี ก็มีกิริยาจิตเพียง ๒ ดวง ไม่ว่าจะมีการเห็นอะไร มากน้อยสว่างจ้า หรือว่าสลัวเท่าไรก็ตาม อาศัยจักขุปสาท จิตเห็นเกิดสิ่งนั้นๆ ขณะนั้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงคน หรือว่าสัตว์ในโลกนี้ โลกไหนก็ตามที่จักขุวิญญาณเกิด ขณะนั้นก็ต้องอาศัยจักขุปสาท
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นความต่างกันอยู่ตรงที่จักขุปสาท
ท่านอาจารย์ คือ ไม่มีเลย
ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าคนตาบอดไปรักษาตาหายแล้ว
ท่านอาจารย์ ก็มีจักขุปสาท ถ้าหายเห็นได้ก็ต้องมีจักขุปสาทรูปเกิด แต่จริงๆ หมอทำให้จักขุปสาทรูปเกิดไม่ได้ ต้องเป็นกรรมที่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด มีหมอคนไหนที่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด
ผู้ฟัง แต่ตาบอดหาย
ท่านอาจารย์ หายก็มี ไม่หายก็มี ถ้าหายก็เพราะกรรมเป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเรียกว่ามีจักขุปสาทเกิดขึ้นแล้ว
ท่านอาจารย์ ถ้ามีเห็น จะเห็นลักษณะใดก็ตาม จิตเห็นต่างกับขณะที่เป็นภวังค์ เพราะฉะนั้นเวลาที่สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ซึ่งเป็นรูปชนิดหนึ่งกระทบจักขุปสาท จิตอะไรเกิด ไม่ทันเกิด เกิดไม่ได้ เพียงแค่รูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท จิตอะไรเกิด พอกระทบแล้วจักขุวิญญาณเกิดไม่ได้ ขณะนั้นกำลังเป็นอะไร เป็นภวังค์ใช่ หรือไม่ เพราะฉะนั้นอตีตภวังค์คือขณะที่รูปกระทบกับจักขุปสาทแต่ยังเป็นภวังค์ ยังเห็นไม่ได้ เพราะกระแสภวังค์เกิดเป็นภวังค์สืบต่ออยู่เรื่อยๆ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มากระทบเกิดขึ้นผ่านไปหมดแล้ว จิตถึงได้รู้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ผ่านไปหมดไม่ได้ ต้องยังไม่ดับ ถ้ารูปกระทบจักขุปสาทหมายความว่ารูปนั้นต้องยังไม่ดับ และปสาทยังไม่ดับด้วย นี่คือปัจจัยที่จะทำให้จิตเห็น หรือว่าจิตที่รู้รูปารมณ์ขณะนี้เกิดขึ้นสืบต่อกันจนกระทั่งรูปดับ รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นเพียงขณะแรกที่เกิดแล้วกระทบกับจักขุปสาท รูปยังไม่ดับ และจักขุปสาทก็ยังไม่ดับด้วย เพราะต้องมีอายุ ๑๗ ขณะของจิตที่เกิดดับ
ผู้ฟัง เพียงแต่ว่ารู้ช้ากว่า
ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้ด้วย เพราะเหตุว่ากำลังเป็นภวังค์ เพราะฉะนั้นจึงแสดงอายุของรูป ๑๗ ขณะ โดยเรียกจิตที่เกิดขณะที่กระทบว่า “อตีตภวังค์” เพราะขณะนั้นยังเป็นภวังค์อยู่ แสดงให้เห็นว่าพอรูปกระทบ เห็นทันทีไม่ได้ ต้องกระทบภวังค์ก่อนเพราะขณะนั้นจิตเป็นภวังค์ ภวังค์ก่อนๆ ก็เกิดดับนับไม่ถ้วน แต่หมายถึงภวังค์ที่รูปเกิดแล้วกระทบกับจักขุปสาท เพื่อที่จะได้รู้ว่า ๑๗ ขณะจิตรูปจะดับเมื่อไร รูปไม่ดับก่อน ๑๗ ขณะจิต ต้องจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ถ้าเป็นต้นไม้ใบหญ้า รูปมีอายุเท่าไร ต้อง ๑๗ ขณะ คือเป็นปรมัตถธรรมรูปที่เป็นสภาวะรูป รูปจริงๆ ที่มีลักษณะมีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชาเหล่านี้ เกิดแล้วต้องตั้งอยู่เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ วิธีที่จะรู้ว่ารูปดับช้ากว่าจิตก็ต้องเอาอายุของจิตมาเป็นเครื่องวัดคือสิ่งที่ดับเร็วกว่าถึงจะวัดได้ ถ้าสิ่งที่ดับช้ากว่ารูปนั้นก็ดับไปแล้ว แต่เพราะเหตุว่ารูปๆ หนึ่งไม่ว่าจะเป็นภายในภายนอก รูปที่เป็นสภาวรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเป็นภวังค์ ๑๗ ขณะ รูปที่เกิดข้างนอก ๑๗ ขณะ รูปนั้นเกิดแล้วก็ดับอีกตามสมุฏฐาน คือ แล้วแต่ว่าจะเกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน หรือว่าจิตเป็นสมุฏฐาน หรือว่าเกิดเพราะอุตุเป็นสมุฏฐาน หรือเกิดเพราะอาหารเป็นสมุฏฐาน แต่รูปที่เป็นสภาวรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ๑๗ ขณะ
เพราะฉะนั้น ขณะที่รูปารมณ์กระทบกับภวังค์ รูปยังไม่ได้ดับ ปสาทรูปยังไม่ดับ แต่ยังไม่เห็นเพราะว่าขณะนั้นเป็นภวังค์ แต่ใช้คำว่าอตีตภวังค์เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าจักขุปสาทรูป และรูปารมณ์เกิดในขณะนั้น เมื่ออตีตภวังค์ดับแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ ภวังคจลนะ ยังไม่เห็น รูปก็ยังไม่ดับ ปสาทรูปก็ยังไม่ดับ รูปารมณ์ก็ยังไม่ดับ พอภวังคจลนะดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ ภวังคุปัจเฉทะ ใครจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือไม่ ไม่ให้เป็นอย่างนี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ ต้องเป็นอย่างนี้ ภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว จะเป็นภวังค์อีกต่อไปได้ หรือไม่ ไม่ได้ เพราะหมายความว่าสิ้นสุดกระแสภวังค์ คำนี้ใช้เรียกการสิ้นสุดของกระแสภวังค์ด้วยคำว่าภวังคุปัจเฉทะ เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ วิถีจิตแรก ลืมไม่ได้ กิริยาจิตซึ่งทุกคนมีเพียงสองประเภทเท่านั้น สำหรับจักขุปสาทก็ต้องมีจักขุทวาราวัชชนจิตเกิดเป็นวิถีจิตแรก เห็น หรือยัง จักขุทวาราวัชชนจิต ยังไม่เห็น เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทางตาดับไปเลย เพียงรู้แค่นั้น จิตอะไรเกิดต่อ จักขุวิญญาณเห็นแล้ว หนึ่งขณะเท่านั้นไม่ได้นาน หนึ่งขณะแล้วก็ดับไป หลังจากนั้นอะไรเกิดต่อ
อ.ธีรพันธ์ ขณะที่เห็นเป็นจักขุวิญญาณทำกิจเห็น หลังจากจักขุวิญญาณจิตดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะจิตก็รับอารมณ์คือสีนั้นต่อ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้จักขุวิญญาณดับ หรือเปล่า ความจริงจิตมีอายุที่สั้นมาก เกิดแล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปแสนเร็ว เพราะฉะนั้นใครจะยับยั้งให้จิตขณะนี้ยาว หรือว่ามากกว่าสามขณะนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นมีอายุเพียงแค่ ๓ อนุขณะแล้วก็ดับ แต่ทำไมเห็นตลอดเวลา เหมือนไม่ดับเลยใช่ หรือไม่ นี่คือนายมายากล จิตเกิดดับเร็วมากจนกระทั่งปรากฏเสมือนว่าไม่ดับ มีใครเล่นกลที่เอานกออกมาจากหมวกได้ไหม ทำไมได้ แล้วจิตมิยิ่งวิจิตรกว่านั้น หรือ นั่นเพียงแต่อาศัยความชำนาญก็สามารถจะทำเสมือนเป็นอย่างนั้นได้ แต่นายมายากลยิ่งกว่านายมายากลใดๆ ก็คือจิต เพราะว่าเกิดดับเร็วมาก และก็รู้อารมณ์ และก็ยังมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำกิจการงานเฉพาะเจตสิกนั้นๆ
เมื่อจักขุวิญญาณดับขณะนี้ จักขุวิญญาณดับ จิตที่เกิดจะเป็นอื่นไม่ได้นอกจากสัมปฏิจฉันนะ เรียกชื่อตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าจะไปตั้งชื่อว่าสัมปฏิจฉันนะไว้ก่อน แล้วก็มาทำหน้าที่ แต่ว่าจริงๆ แล้วจิตที่เกิดสืบต่อทำกิจ คือ รับ และรู้อารมณ์เดียวกับจักขุวิญญาณ แต่ไม่ใช่จักขุวิญญาณที่เห็น เพราะฉะนั้นจึงเรียกจิตนี้ว่าสัมปฏิจฉันนะตามกิจ หรือหน้าที่ของจิต เพราะว่าจิตทุกขณะที่เกิดต้องทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด จะไม่มีจิตซึ่งเกิดแล้วไม่ทำหน้าที่อะไร ไม่ได้ จิตต้องทำหน้าที่ ซึ่งหน้าที่ของจิตทั้งหมดมี ๑๔ กิจ
จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต มี ๓ กิจ คือ ปฏิสนธิกิจ ๑ ขณะของชาติหนึ่ง ภวังคกิจสืบต่อจากปฏิสนธิดำรงภพชาติในระหว่างที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นทำภวังคกิจ ๒ กิจแล้ว และกิจสุดท้ายก็คือจุติกิจ เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ จะเป็นบุคคลนี้อีกต่อไปไม่ได้ ๓ กิจแล้ว เหลืออีก ๑๑ กิจ
อาวัชชนกิจก็เป็นกิจหนึ่งซึ่งมีจิตที่ทำกิจนี้ ๒ ดวง หรือ ๒ ประเภท คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจเดียวกันแต่ต่างทวาร แต่เป็นกิจเดียวกัน จักขุวิญญาณทำกิจเห็น เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเป็นกิจหน้าที่หนึ่งของจิตซึ่งเกิดขึ้นเห็น รูปเห็นไม่ได้ ใครก็เห็นไม่ได้ จิตได้ยินก็เห็นไม่ได้ แต่จิตนี้เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นทำกิจเห็น ทำอื่นไม่ได้ ลองคิดดู แค่เกิดขึ้นแล้วก็เห็น ๑ กิจ ได้ยิน ๑ กิจ ได้กลิ่น ๑ กิจ ลิ้มรส ๑ กิจ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ๑ กิจ อีก ๕ กิจ เมื่อกี้นี้ ๔ กิจแล้ว ตอนนี้เพิ่มอีก ๕ กิจ เป็น ๙ กิจ เหลืออีก ๔ กิจ ทั้งหมดมี ๑๔ กิจ เหลืออีกแค่ ๕ กิจเท่านั้น
สัมปฏิจฉันนะที่เกิดต่อ เห็น หรือไม่ เห็นไม่ได้ เพราะสัมปฏิจฉันนะไม่ได้ทำทัศนกิจ แต่รู้อารมณ์เดียวกัน ไม่ใช่อารมณ์อื่น แต่ไม่ได้ทำทัศนกิจ นี่คือความน่าอัศจรรย์ของจิตซึ่งสามารถอาศัยทวารนี้ รู้อารมณ์นี้ แต่ว่ารู้โดยกิจต่างๆ กัน สัมปฏิจฉันนจิตทำกิจสัมปฏิจฉันนะ คือรับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณในขณะนี้ ดับ หรือไม่ ต้องดับ ไม่มีจิตสักขณะเดียวซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตซึ่งเกิดต่อ คือ สันตีรณจิต
ผู้ฟัง จักขุวิญญาณจิตเกิด ก็เห็นแล้วไม่ใช่ หรือ
ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณจิตเห็นแล้วดับ
ผู้ฟัง แล้วเมื่อสักครู่อาจารย์กล่าวว่าสัมปฏิจฉันนจิต
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ทำทัศนกิจเลย
ผู้ฟัง แล้วทำอะไร
ท่านอาจารย์ ทำสัมปฏิจฉันนะ
ผู้ฟัง ซึ่งไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ไม่เห็น แต่รับรู้อารมณ์ต่อ
ผู้ฟัง รับต่อเฉยๆ
ท่านอาจารย์ รู้ต่ออารมณ์นั้น ทางใจเห็นอะไร หรือไม่ ไม่เห็น แต่ยังรู้ได้ เหมือนเห็น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 1
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 2
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 3
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 4
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 6
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 7
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 8
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 9
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 10
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 11
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 12
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 15
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 16
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 17
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 18
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 19
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 20
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 21
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 22
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 23
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 26
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 27
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 30
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 32
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 34
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 35
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 36
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 37
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 38
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 39
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 41
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 42
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 43
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 44
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 45
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 46
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 50
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 51
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 52
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 53
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 54
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 56
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 57
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 58
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 59
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60