พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
ตอนที่ ๔๐
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ โสตปสาทรูปเป็นที่เกิดของโสตวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ จิตอื่นเกิดที่นั่นไม่ได้เลย ฆานปสาทรูปเป็นที่เกิดของฆานวิญญาณ ๒ คือ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ จิตอื่นเกิดที่ฆานปสาทรูปไม่ได้ จักขุวิญญาณเกิดที่ฆานปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ โสตวิญญาณเกิดที่ฆานปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ฆานปสาทรูปเกิดที่จักขุปสาทรูปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มี จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ ฆานวิญญาณ ๒ ชิวหาวิญญาณ ๒ กายวิญญาณ ๒ เกิดที่ปสาทรูป ๕ เมื่อเป็นที่เกิดจึงใช้คำว่า "วัตถุ"
เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณ ๒ คือ จักขุวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ เกิดที่จักขุวัตถุซึ่งได้แก่จักขุปสาทรูปนั่นเอง และเมื่อขณะนั้นเป็นที่เกิดจึงไม่ใช่ทวาร เมื่อไม่ได้พูดถึงทวารก็ใช้คำว่า จักขุวัตถุ ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ ส่วนภวังคจิต และ ปฏินธิจิต เกิดที่หทยวัตถุ หรือหทยรูป แล้วปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดที่ไหน
ผู้ฟัง เกิดที่หทยวัตถุเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง จิตอื่นทั้งหมดยกเว้นจิต ๑๐ ประเภทนี้เกิดที่หทยรูปในภูมิที่มีขันธ์ ๕
โลภมูลจิตเกิดที่ไหน
ผู้ฟัง หทยวัตถุ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เกิดที่หทยวัตถุในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ส่วนในอรูปพรหมภูมิมีโลภะแต่ไม่ได้เกิดที่รูปใดเลยทั้งสิ้น ซึ่งต่อไปจะค่อยๆ มีความละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง ความแตกต่างกันอยู่ตรงนี้ด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเรียนเรื่องอะไรให้เข้าใจเรื่องนั้นให้ชัดเจน ถ้าเรียนเรื่องปสาทรูปหมายความว่าอะไร ถ้าเรียนเรื่องทวารเป็นอย่างไร ถ้าเรียนเรื่องวัตถุเป็นอย่างไร เช่นขณะนอนหลับมีจักขุปสาทรูปเกิดดับเพราะเป็นกัมมชรูป กรรมทำให้รูปเหล่านี้เกิดสืบต่อกัน เกิดดับอยู่เรื่อยๆ ทุกขณะจิต จิตหนึ่งขณะจะมีขณะย่อย ๓ ขณะ ขณะเกิด (อุปาทะ) ขณะที่ยังไม่ดับ ยังตั้งอยู่ (ฐีติขณะ) ขณะที่ดับ (ภังคขณะ) กรรมทำให้กัมมชรูปเกิดทุกอนุขณะของจิต ไม่มีใครยับยั้งได้ กำลังนอนหลับก็มีจักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป
แต่ขณะที่หลับจักขุปสาทรูปเป็นทวาร หรือไม่ มีจักขุปสาทรูปเกิดจริงขณะที่กำลังนอนหลับ แต่จักขุปสาทรูปในขณะที่หลับเป็นจักขุทวาร หรือไม่ ตอบว่าไม่เป็น ถ้าเป็นทวารต้องเป็นทวารของวิถีจิต คือจิตที่เป็นวิถี เพราะขณะที่หลับนั้นเป็นภวังค์ไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใด จึงต้องไม่ลืมว่าขณะใดก็ตามที่เป็นปฏิสนธิจิต เป็นภวังคจิต เป็นจุติจิต เกิดได้รู้อารมณ์ได้โดยไม่อาศัยทวารหนึ่งทวารใดเลย เพราะฉะนั้น ๓ ขณะจิตนี้เท่านั้น เป็นวิถีมุตตจิต คือจิตที่พ้นจากวิถี คือไม่ใช่วิถีจิตนั่นเอง และไม่ได้อาศัยทวารด้วย แม้ว่ามีรูปแต่รูปนั้นก็ไม่ใช่ทวารเกิดแล้วก็ดับแล้ว
ในขณะที่หลับสนิทมีโสตปสาทรูปเกิดดับ โสตปสาทรูปในขณะที่กำลังหลับสนิทเป็นโสตวัตถุคือเป็นที่เกิดของจิต หรือไม่ ขณะที่กำลังนอนหลับมีจักขุปสาทรูป มีโสตปสาทรูปซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา และโสตปสาทรูปขณะที่กำลังหลับสนิทนั้นไม่เป็นที่เกิดของจิต เพราะโสตปสาทรูปจะเป็นที่เกิดของโสตวิญญาณ ๒ ประเภทเท่านั้น คือ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ จิตอื่นจะเกิดที่นั่นไม่ได้เลย เพราะขณะที่นอนหลับจิตเกิดที่หทยรูป จิตอื่นนอกจากจิต ๑๐ ดวงต้องเกิดที่หทยรูปในภูมิที่มีขันธ์ ๕
การศึกษาธรรมไม่ใช่ศึกษาชื่อ แต่ให้รู้ว่าลักษณะของจิตจริงๆ เป็นอย่างนั้น เมื่อจิตมี ๔ ประเภทจึงได้แสดงสภาพธรรมที่เป็นจิตทั้ง ๔ นั้นว่าต่างกันจะปะปนกันไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตที่เป็นกุศลจะเป็นอกุศลไม่ได้ และจิตที่เป็นวิบากซึ่งเป็นผลจะเป็นกุศล และอกุศลไม่ได้ และจิตที่เป็นกิริยาเกิดขึ้นทำกิจการงานหน้าที่ก็จะเป็นกุศล หรืออกุศล หรือวิบากไม่ได้เลย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็พอที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของจิตในขณะนี้จนกระทั่งเห็นว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงธาตุซึ่งเกิดขึ้นหลากหลาย ทำกิจการงานแต่ละประเภทในวันหนึ่งๆ แล้วก็ไม่มีอะไรเหลือเลย จิตขณะก่อนมีปัจจัยเกิดขึ้นปรากฏนิดเดียวแล้วก็ดับไปเร็วมาก ไม่มีใครสามารถที่จะประจักษ์ได้เพราะว่ารวดเร็วจนกระทั่งต้องอาศัยปัญญาที่สามารถที่จะอบรมด้วยความเห็นถูก ความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งถึงวันหนึ่งที่สามารถจะประจักษ์ความจริง เช่น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงประจักษ์ และทรงแสดงธรรม
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะพูดถึงธรรมไม่ว่าจะกล่าวถึงจิตก็ควรที่จะได้เข้าใจจิตในชีวิตประจำวัน จึงเป็นเหตุที่ต้องมีประเภทอื่นๆ ของจิต เช่นกิจการงานของจิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นทุกคนเกิดมาเป็นที่แน่นอน แต่มีใครบ้างที่จะรู้ว่าคนเราต่างกันไป มากแล้วก็ละเอียดโดยประการทั้งปวง เช่น แม้แต่รูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกัน จะไปเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาของเราซึ่งเกิดมาแล้วให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ก็ลองคิดดู อะไรทำให้เป็นอย่างนั้น ทำให้มีคิ้วอย่างนี้ ที่มีตาอย่างนั้น มีจมูก มีปาก มีร่างกาย แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่ประเสริฐสุด กรรมก็ทำให้พระวรกายของพระองค์ต่างกับบุคคลอื่น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เกิด เราก็ไม่รู้ว่าเป็นผลของกรรมแต่เมื่อศึกษาแล้วก็จะทราบได้ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม เช่น เกิดเป็นสัตว์ เป็นนก เป็นปู เป็นปลา สภาพก็ต่างกันแล้ว รูปร่างก็ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเป็นอย่างนั้น อะไรทำให้เกิด แม้แต่อกุศลกรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังต่างกัน สัตว์ในน้ำก็มีรูปร่างต่างๆ ความวิจิตรของเขาน่าจะดูว่าทำไมอะไรทำให้วิจิตรถึงอย่างนั้น เช่น ปลาหมึกก็มีหนวด หนวดปลาหมึกนี่มากมาย ส่วนสัตว์บนบก ที่มีขาก็มี ที่ไม่มีขาก็มี ถ้าเข้าใจจริงๆ จะเห็นความเป็นธรรมค่อยๆ ละเอียดขึ้น จนกว่าสามารถที่จะน้อมไปสู่ความเป็นจริงของธรรมทีละเล็กทีละน้อยเป็นการอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีกำลังปรากฏ
เกิดมาก็ต่างกัน เกิดมาแล้วยังต่างกันอีก ไม่ใช่ว่าต่างกันเพียงแค่เกิด ความคิดก็ไม่เหมือนกัน คิดถูกก็มี คิดผิดก็มี คิดดีก็มี คิดชั่วก็มี แสดงให้เห็นว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาจริงๆ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเห็น ได้ยิน แต่ยังมีความคิดต่างๆ ทั้งๆ ที่ทุกคนในขณะนี้เห็นอย่างเดียวกัน สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเหมือนกัน แต่คิดไม่เหมือนกันเลย
ถ้าเข้าใจจริงๆ ในความเป็นธรรมของทุกๆ ขณะก็จะค่อยๆ คลาย แม้ในขั้นการฟังซึ่งไม่เคยฟังมาก่อน ก็จะรู้ว่าเมื่อฟังละเอียดขึ้นก็จะเห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นตอนเกิดก็อนัตตา มีชีวิตแต่ละขณะก็อนัตตา กำลังหลับก็อนัตตา ตื่นมาแล้วก็อนัตตา ทั้งนั้นเลย บังคับไม่ได้ว่าตื่นแล้วจะเห็นอะไร และเมื่อเห็นแล้วจะเป็นกุศล หรืออกุศลอย่างไรก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้ววันหนึ่งๆ อกุศลยิ่งมากด้วยความไม่รู้ ก็ยิ่งเพิ่มความขวนขวาย ความเป็นไปด้วยโลภะ ด้วยโทสะมากมาย ซึ่งจริงๆ แล้วขณะที่หลับสนิทก็ไม่ได้มีอกุศลใดๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ต้องตื่นเพื่อที่จะเป็นกุศล หรืออกุศล ลองคิดเปรียบเทียบ วันนี้ที่ตื่นมาแล้วก็เพื่อเป็นกุศล หรืออกุศล จะเห็นได้ว่าอกุศลมากมาย ให้เข้าใจจนกระทั่งเห็นพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดด้วยประการทั้งปวง โดยนัยของพระวินัย ของพระสูตร และของพระอภิธรรมทั้งหมด เพื่อที่จะเกื้อกูลให้ผู้ที่ไม่รู้ค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้น จึงมีการกล่าวถึงความต่างของขณะที่หลับกับขณะที่ตื่นว่าต้องเป็นจิตต่างประเภท ซึ่งจะมีวิถีจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จะแสดงให้เห็นว่าเวลาหลับ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่เมื่อฝันขณะใดก็มีความต่างกันอีก ในทุกๆ ขณะจิตจะเป็นสภาพธรรมที่ต่างกันทั้งหมดโดยกิจการงาน และโดยชาติ
จึงได้กล่าวถึงชาติ และกล่าวถึงกิจ ไม่ใช่เพื่อให้งง แต่เพื่อให้เข้าใจโดยที่ยังไม่ต้องไปนึกเรื่องชื่อ เพราะว่าถ้าจะคิดเรื่องชื่อทุกคนอาจจะคิดว่าจำยาก ทำไมจะต้องให้จำ ไม่ได้มุ่งหมายให้จำเลย แต่ให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรม เช่น จิตที่เกิด ดับไปแล้วก็จริง ขณะแรกขณะเดียว แต่ทำไมเรายังมีชีวิตสืบต่อมา และชีวิตสืบต่อมาก็มีต่างกันเป็น ๒ ขณะ คือ (ขณะที่รู้อารมณ์โดยไม่อาศัยทาง และขณะที่รู้อารมณ์โดยต้องอาศัยทาง) ขณะที่เป็นภวังคจิต ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่จิตก็ต้องเกิดสืบต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นคำตอบว่าทำไมเราถึงต้องกล่าวถึงจิตแม้แต่ในวันนี้เริ่มตั้งแต่หลับจนกระทั่งตื่น มีจิตกี่ชาติ แล้วจิตแต่ละประเภทนั้นทำกิจอะไรบ้าง ไม่ใช่ให้งง แต่ว่าให้เข้าใจให้ถูกต้อง
มีใครสงสัยในเรื่องนี้บ้าง หรือไม่ เรื่องของจิตตั้งแต่หลับจนกระทั่งตื่น แล้วก็รู้อารมณ์เป็นวิถีจิต ขณะใดที่ไม่ใช่ภวังค์ ขณะนั้นต้องอาศัยทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ทางรู้อารมณ์นั้นไม่ว่าจะเกิดในโลกไหน เป็นใคร เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นพรหม จะมีทางรู้อารมณ์ ๖ ทางไม่เกินนี้ แต่มากน้อยต่างกัน บางภูมิอาจจะมีแค่ทางเดียว เช่น อรูปพรหมภูมิมีทวารเดียว คือ มโนทวาร ไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีจมูก ไม่มีลิ้น ไม่มีกาย ค่อยๆ เข้าใจธรรมแล้วก็พิจารณาเห็นโทษของการเกิด ไม่ว่าจะเกิดในภูมิใดทั้งสิ้น ก็ต้องค่อยๆ อบรม ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ถ้าไม่มีข้อสงสัยในเรื่องของชาติ และเรื่องของกิจแล้ว ก็จะกล่าวเรื่องของภูมิต่อไป เพราะว่า จิตไม่ใช่มีแต่เฉพาะเป็นชาติที่เป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา เมื่อเกิดขึ้นทำกิจต่างๆ ก็ยังมีระดับของจิตด้วย ทำให้จิตมีความต่างกัน เช่น จิตของสัตว์เดรัจฉาน จิตของมนุษย์ จิตของเทพ หรือพวกที่เกิดในสวรรค์ ก็จะอยู่ในระดับของกาม เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะที่สามารถจะรู้ได้ทางกาย ยังไม่สูงไปกว่านั้น ยังไม่ได้ละความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส โผฏฐัพพะ ในสิ่งที่เป็นไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องทราบถึงระดับของจิตด้วยว่า จิตอีกนัยหนึ่งสามารถที่จะจำแนกออกได้โดยระดับของจิตที่เป็นภูมิต่างๆ ซึ่งมี ๔ ภูมิ ได้แก่ กามาวจรจิต จิตซึ่งเป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รูปาวาจรจิตซึ่งเป็นระดับที่ละคลายความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ไม่ใช่ตามความต้องการ เพราะต้องเป็นระดับของปัญญาที่อบรมกุศลที่มั่นคงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นฌาณจิตที่สงบ และเมื่อไม่เสื่อมสามารถที่จะเกิดได้ก่อนที่จะจุติก็จะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิเป็นพรหมบุคคล สูงกว่าระดับนั้นก็คือพรหมที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในรูปใดๆ เลยทั้งสิ้นเป็นอรูปพรหมภูมิ และสูงกว่านั้นอีกระดับหนึ่งก็คือ โลกุตตรภูมิ เพราะฉะนั้นโดยชาติจิตมี ๔ ชาติ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา โดยภูมิ (ระดับของจิต) จิตมี ๔ ภูมิ คือ กามวจรภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ โลกุตตรภูมิ
อ.อรรณพ ภูมิในที่นี้ หมายถึง ระดับของจิต ภูมิมี ๒ ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง ที่เกิด เช่น ในมนุษย์ภูมิ ก็คือความเป็นมนุษย์ หรือว่าในพรหมโลก ก็คือพรหมภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดอย่างหนึ่ง แต่ที่กำลังกล่าวในขณะนี้ คือ "ระดับของจิต" (ภูมิในที่นี้ หมายถึง ระดับของจิต) เพราะฉะนั้นกามาวจรจิตก็เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส ไม่ว่าจะหลับ หรือตื่น เป็นวิถีจิตต่างๆ เมื่อจิตเกิดขึ้นแล้วก็ทำกิจต่างๆ ตามที่เราได้กล่าวถึงกิจของจิต แต่ก็เป็นไปเพียงระดับที่เกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะคงยังไม่มีใครมีความสงบของจิตถึงระดับที่จะเป็นฌาณจิตขั้นต่างๆ หรือจิตนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งต้องเป็นจิตที่จิตที่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และพ้นจากจิตในระดับที่เป็นรูปาวจรจิต หรือ อรูปาวจรจิต ซึ่งมีอารมณ์ของฌาณจิตนั้นๆ หากเป็นโลกุตตระจิตนั้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์จึงพ้นจากโลกก็คือโลกียธรรมทั้งหลายซึ่งก็ยังไม่เกิดกับเรา จึงไม่ต้องกล่าวถึงโลกุตตรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ซึ่งยังไม่ได้เกิดกับเรา เพราะฉะนั้นจิตในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะหลับ หรือตื่น ก็เป็นกามาวจรจิต
ท่านอาจารย์ มีผู้ที่ถามว่าจะระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างไร โดยเฉพาะคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่รู้ว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทั้งหมดโดยประการทั้งปวง แล้วทรงแสดงความละเอียดของสภาพธรรม เพื่อที่จะให้บุคคลผู้อื่นที่ได้ฟังสามารถที่จะเข้าใจ และอบรมเจริญปัญญาด้วย ก็จะระลึกไม่ถูก แต่ขณะนี้ที่กำลังฟัง ระลึกถึงคุณของใคร หรือไม่ กำลังฟังพระธรรม เมื่อฟังก็รู้ว่าไม่มีใครอื่นที่สามารถที่จะแสดงธรรมที่กำลังปรากฏโดยละเอียดอย่างนี้ได้ เท่านี้ก็คือการระลึกถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งก็รวมถึงการระลึกถึงพระคุณของพระธรรมซึ่งได้ทรงแสดงธรรมที่ทำให้หมดสิ้นความเป็นปุถุชน ถึงความเป็นพระอริยบุคคล และก็ระลึกถึงคุณผู้ที่ได้ฟังพระธรรมหลังจากที่ได้ทรงตรัสรู้ ก็คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อได้ฟังแล้วเข้าใจก็คงจะไม่มีใครไปคิดถึงพระคุณอื่น ในขณะที่ได้ฟัง และเข้าใจก็ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
ไม่ทราบว่าท่านใดจะสนทนาเรื่องของกามาวจรจิต หรือไม่ ขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นจิตอะไร ขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นจิตแน่นอน ซึ่งเป็นวิบากจิต คือเป็นผลของกรรม แล้วก็เป็นเป็นกามาวจรจิตด้วย เพราะเหตุว่าเป็นไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คำว่า “กาม” ตามความหมายของสภาพธรรมจะได้แก่ รูป สิ่งที่น่าพอใจเป็นกาม เสียงเป็นกาม เสียงน่าพอใจ หรือไม่ กลิ่นเป็นกาม น่าพอใจ หรือไม่ รสเป็นกาม สิ่งที่กระทบกาย เป็นกาม เพราะฉะนั้นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่สามารถจะกระทบกายได้คือ เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว เป็นกามอารมณ์ ขณะใดที่จิตรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๕ อารมณ์นี้ จิตกำลังมีกามอารมณ์ และชีวิตในวันหนึ่งๆ ของเราก็จะไม่พ้นไปจากกามอารมณ์เลย เวลาที่คิดถึง คิดถึงอะไรถ้าไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ต้องคิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ไม่พ้นจากกาม หรือแม้บัญญัติคือคำที่เราใช้เรียก ก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นกามนั่นเอง เช่น รสอาหาร ดอกกุหลาบ หรืออะไรก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่เป็นกามที่น่าพอใจนั่นเอง
"กาม" มีสองความหมายคือ "กิเลสกาม" ได้แก่ เจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นความติดข้อง คือโลภเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง เป็นกิเลสกาม ส่วนสิ่งที่โลภะติดข้องทั้งหมดเป็น "วัตถุกาม" เป็นสิ่งที่ขณะนั้นมีความยินดีพอใจในสิ่งนั้น
อ.วิชัย ความหมายของคำว่า "กาม" มี ๒ ความหมาย คือ "กิเลสกาม" และ "วัตถุกาม" สำหรับกิเลสกามก็เป็นสภาพที่ใคร่พอใจ ตัวสภาพธรรมคือ โลภะ เป็นความยินดี ความพอใจ ความติดข้อง ดังนั้นกิเลสกามได้แก่โลภะ ความไม่สละต่างๆ ซึ่งเป็นไปในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นกามาวจรจิตก็คือ ตัณหา หรือว่าโลภะ มีความยินดีพอใจ ไม่พ้นไปจากกามคือ กิเลสกาม
อีกประการหนึ่งก็คือ วัตถุกาม หมายถึงเป็นที่ตั้งของความยินดีความพอใจ อะไรบ้างที่เป็นที่น่ายินดีน่าพอใจ ก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ โดยมากก็เป็นไปในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นจิตที่เป็นไปในสิ่งเหล่านี้ก็เป็นกามาวจรจิต โดยสภาพของโลภะนั้นติดข้องไปเกือบจะทั้งหมดทุกสิ่ง ยกเว้นโลกุตตรธรรม ฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีความพอใจก็เป็นวัตถุกาม แต่โดยมากก็เป็นรูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนควรคิด และจะได้เป็นการไตร่ตรองด้วยตนเอง เพราะว่าจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องของคำที่เราจะใช้ในที่ต่างๆ แต่เราต้องมีความเข้าใจในความหมายของคำนั้น เช่น คำว่า กาม ถ้าภาษาไทยก็อาจฟังดูน่าเกลียด แต่จริงๆ แล้วเป็นคำธรรมดา ในภาษาบาลี "กาม" หมายความถึงที่น่าใคร่ น่าพอใจ ถ้าเป็นกิเลสกาม ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ใคร่ ที่ติดข้อง ที่พอใจ ซึ่งมีอยู่มาก เป็นคนที่มีกามาวจรจิตมาก ก็ต้องยอมรับตามความเป็นจริง ไม่ใช่คำที่น่าเกลียด แต่ต้องเข้าใจว่าขณะนั้นมีจิตประเภทที่เป็นไปในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะว่ากามที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นรูปก็ได้แก่ สีที่ปรากฏทางตาน่าใคร่ น่าพอใจ เสียงน่าใคร่ รสน่าใคร่ กลิ่นน่าใคร่ สรุปว่าเป็นสิ่งที่น่าใคร่สำหรับจิตเกิดขึ้นแล้วก็ยินดี พอใจ
เพราะฉะนั้นถ้ามีคำอื่นเข้ามาเพิ่ม เช่น กาม กิเลสกาม และก็ วัตถุกาม ...
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 1
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 2
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 3
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 4
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 6
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 7
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 8
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 9
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 10
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 11
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 12
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 15
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 16
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 17
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 18
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 19
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 20
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 21
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 22
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 23
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 26
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 27
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 30
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 32
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 34
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 35
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 36
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 37
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 38
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 39
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 41
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 42
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 43
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 44
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 45
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 46
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 50
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 51
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 52
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 53
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 54
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 56
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 57
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 58
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 59
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60