พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
ตอนที่ ๔๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นสิ่งที่รู้ได้แค่ไหน แต่ละท่านก็คงทราบ แต่สามารถฟังได้ และเข้าใจได้ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรจะฟังต่อไปอีกถึงความละเอียดต่างๆ สามารถฟังได้ เข้าใจได้ ความละเอียดก็เป็นความละเอียด แต่ว่าผู้นั้นก็รู้ตามความเป็นจริงว่าสติปัญญาของตนว่าจะรู้อะไรได้แค่ไหน
สิ่งที่ได้ฟังเมื่อเช้านี้ก็พอดีสอดคล้องกับข้อความที่ได้เพิ่งสนทนากับท่านผู้หนึ่งเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน และก็ได้เรียนให้ท่านผู้นั้นทราบว่าเมื่อได้ศึกษาธรรมแล้ว เราก็ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นที่รักของคนอื่น ท่านผู้นั้นก็บอกว่าท่านไม่ได้ต้องการให้ใครรักท่าน ซึ่งดิฉันก็บอกท่านว่าถูกต้อง คำพูดนี้ถูก "รักในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงโลภะ แต่หมายความถึงเมตตา" เมื่อพูดอย่างนี้ท่านนั้นก็เข้าใจ
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพูดถึงการรังเกียจอกุศล โดยมากเราจะรังเกียจแต่โทสะ ไม่ชอบเลย เมื่อโทสะเกิด กาย วาจาของเราก็จะเปลี่ยนไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่เวลาที่เรารัก โลภะเกิดขึ้น เราก็ไม่ได้ไปทำร้ายคนอื่น ไม่ได้ประทุษร้ายเขา เพราะฉะนั้นที่ท่านผู้นั้นท่านกล่าว ท่านกล่าวถูก เพราะว่าท่านเข้าใจว่าดิฉันหมายความถึงโลภะ
แต่ความจริงดิฉันหมายความถึงเมตตาที่จะให้ใครๆ รักเราคือมีเมตตาต่อเรา มีความหวังดี มีความเป็นเพื่อน เพราะว่าทุกคนไม่ควรจะรังเกียจเฉพาะโทสะ โลภะก็ควรรังเกียจด้วย แต่โดยมากทุกคนจะลืม อยากจะให้ทุกคนมารัก และก็มีโลภะกับตน ไม่ได้รังเกียจเลยถ้าใครจะมารักมากๆ แต่ว่าจริงๆ แล้วน่ารังเกียจ หรือไม่ เพราะว่าไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้นถ้าจะพิจารณาจริงๆ การเป็นที่รักต้องหมายความถึงเป็นที่เมตตา มีความเป็นเพื่อน มีความหวังดีต่อกัน ไม่ประทุษร้ายต่อกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ใครๆ มาช่วยกันมีโลภะ มีความรัก ซึ่งท่านผู้นั้นท่านเห็นด้วย และท่านก็เข้าใจ
เพราะฉะนั้นเวลาฟังธรรมก็ฟังด้วยกันแต่ไม่ทราบว่าคิดอย่างไร หรือว่าฟังเรื่องเดียวกัน หรือไม่
ผู้ฟัง ก็ฟังเหมือนกัน ก็เข้าใจว่าโลภะที่คนอื่นเขามีต่อเราก็น่ารังเกียจ แต่ถ้าคนอื่นเขามาเมตตาต่อเรา แล้วเราเกิดโลภะก็ยิ่งน่ารังเกียจใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะอกุศลทั้งหมดควรเป็นที่รังเกียจ ทั้งโลภะ ทั้งโทสะ ทั้งโมหะ ไม่ใช่รังเกียจแต่โทสะ
ผู้ฟัง แม้แต่คำชมที่คนอื่นชมเรา เราก็ไม่รู้ว่าเขาชมด้วยโลภะ หรือเมตตา แล้วที่ท่านอาจารย์สอน พอเรานึกถึงคำชม ก็คิดว่าน่ารังเกียจแล้วเพราะจะทำให้เราติด และมีอกุศลเพิ่มขึ้นถ้าปัญญาเรายังไม่คมกล้า
ท่านอาจารย์ จะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้เมื่อได้ศึกษาธรรมเพิ่มขึ้นโดยละเอียด และเข้าใจ ปัญญาที่เข้าใจตั้งแต่ขั้นการฟัง ก็จะทำให้ความคิดถูกต้องมากขึ้น เป็นสัมมาสังกัปปะได้ เป็นกุศลวิตกได้ มิฉะนั้นเราก็จะตรึกไปในเรื่องของอกุศลตลอด แม้เพียงจะคิดให้ตรงต่อธรรมก็คิดไม่ได้ ถ้าไม่ได้พิจารณาโดยละเอียด
ผู้ฟัง ไม่ว่าใครจะมาชม หรือใครจะมาชอบเรา ก็ไม่มีอะไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผู้ที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นที่พึ่งจริงๆ คือสติปัฏฐาน ถ้าเกิดยินดีเป็นความจริง แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ สติปัฏฐานสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ทุกอย่าง
ผู้ฟัง โลภะที่เป็นมานะนี้ก็แรง อยากจะฟังอาจารย์อธิบายว่าจะลดละได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็เป็นบุญของคุณสุกิจที่ทราบตามความเป็นจริง คนที่มีมานะแล้วไม่รู้ว่ามีมานะกับคนที่มีมานะแล้วรู้ว่ามีมานะ คนที่มีมานะแล้วรู้ว่ามีมานะก็ต้องดีกว่า แล้วก็ยังเห็นโทษด้วยถึงกับว่าทำอย่างไรถึงจะละคลายมานะลงได้บ้าง
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่จะไม่รู้ รู้ว่าไม่รู้ ในภายหลัง
ท่านอาจารย์ ก็เห็นความเป็นอนัตตาก็เป็นประโยชน์ ไม่ได้ประโยชน์อย่างหนึ่งก็เป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง และประโยชน์ที่แท้จริงก็คืออนัตตา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็มีความมั่นคงว่าไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง มิฉะนั้นเราเรียนแล้วเราก็ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ ไม่ได้เข้าใจตามนั้น
ผู้ฟัง จะมีอัธยาศัยอะไรต่ออะไรพ่วงมาด้วย
ท่านอาจารย์ ก็เป็นอนัตตาด้วย เป็นการสะสม
ผู้ฟัง เป็นอัธยาศัยด้วย แต่จะลดจะละก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป ฟังแล้วก็เข้าใจแต่ก็ยังลดละไม่ได้มาก
ท่านอาจารย์ ถ้ามีแก้วน้ำอยู่หนึ่งใบ คุณสุกิจก็ใส่เกลือไปนิดนึง แล้วก็ใส่น้ำตาลไปอีกหน่อยหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าจะใส่อะไรมาก
ผู้ฟัง แต่ว่าจะลดละได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็เข้าใจขึ้น เข้าใจว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นก็รู้เลยว่าไม่ใช่เรา ถ้าเป็นเราแล้วเดือดร้อน ถ้าเป็นธรรมมีปัจจัยแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็หมดไป
ผู้ฟัง เมื่อพูดถึงอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ที่กล่าวมานี้คือผลของกรรม ซึ่งที่เรียนรู้มาแล้วว่า ผลของกรรมก็คือจิต คือนามธรรม แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงผลของกรรมที่เป็นรูปธรรม ก็อยากจะให้กล่าวบ้างได้ หรือไม่
ท่านอาจารย์ คุณจำนงค์ต้องการที่จะฟังเรื่องของรูปซึ่งเป็นผลของกรรมใช่ หรือไม่
ผู้ฟัง คือ กัมมชรูป ๑๙ กลุ่ม หรือ ๑๘ รูป
ท่านอาจารย์ ก็ดีที่เข้าใจว่าเวลาที่กรรมให้ผล ไม่ได้ให้ผลเฉพาะทำให้จิตซึ่งเป็นวิบากเกิด แต่ยังทำให้รูปเกิดด้วยตามผลของกรรมนั้นๆ จะเห็นได้ชัดเจนในขณะที่ปฏิสนธิจิตคือจิตขณะแรกเกิด กรรมทำให้จิต และเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเกิดพร้อมกับรูป เพราะฉะนั้นตอนที่เกิดมา รูปที่อยู่ในครรภ์ที่ไม่ใช่โอปปาติกะ ไม่ใช่เกิดขึ้นผุดเป็นตัวครบทันที แต่ว่าจะเกิดในครรภ์ หรือจะเกิดในไข่ หรือว่าจะเกิดในที่เปียกชื้นแฉะ สกปรกอย่างไรก็ตามแต่ เมื่อเริ่มเกิดก็จะเล็กมาก เพราะว่ากำเนิดมีหลายอย่าง บางอย่างก็พร้อมทันทีเป็นตัว บางอย่างก็ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น สำหรับมนุษย์เรา หรือว่าสัตว์บางประเภทก็จะเห็นได้ว่าขณะแรกที่เกิดมีจิตแน่นอนพร้อมกับเจตสิก ซึ่งเป็นวิบากเป็นผลของกรรมพร้อมกับรูปด้วย ไม่ใช่มีแต่จิต เจตสิกเท่านั้น เพราะฉะนั้นรูปที่เล็กมาก ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นจากเล็กๆ ที่มองไม่เห็นจนกระทั่งมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย กายก็ยังต่างกันตามกรรม เพราะเหตุว่าถ้าเป็นมนุษย์ปฏิสนธิจิตด้วยมหาวิบาก เป็นผลของกามาวจรกุศล หรือมหากุศลก็ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ จะมีรูปร่างอย่างสัตว์ เหมือนตุ๊กแก เหมือนแมวก็ไม่ได้ แต่จะมีลักษณะซึ่งกรรมก็จะทำให้เกิดทุกอณุขณะของจิตจนกว่าจะเจริญเติบโตขึ้น แล้วก็เป็นลักษณะของคน ถ้าจะเป็นผลของกรรมที่ทำให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน ทำให้เป็นแมว ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นก็จะมีรูปที่ยังมองไม่เห็น แต่เมื่อมีรูปเกิดทุกอณุขณะของจิตซึ่งเป็นกัมมชรูปเจริญเติบโตขึ้นก็เป็นรูปของแมว ไม่ใช่รูปของช้าง ไม่ใช่รูปของลิง นี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ากรรมที่ให้ผลทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ทำให้กัมมชรูปเกิดร่วมด้วย
พระเนตรของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องต่างกับบุคคลอื่นเพราะผลของกรรมที่ได้ทำ มหาปุริสลักษณะทั้งหมดที่ต่างจากบุคคลอื่น ก็ได้แสดงไว้ด้วยพระองค์เองว่าแต่ละลักษณะเป็นผลของกรรมอะไร
เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็จะเห็นได้ว่ากรรมไม่ได้เพียงทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด และวิบากจิตต่อๆ มาเกิด ยังทำให้รูปเกิดด้วย จักขุปสาทของแต่ละคน บางคนก็สายตาดี บางคนก็ตาอาจเกือบจะบอด แต่ก็ยังมองเห็น อันนี้ก็เป็นเรื่องของกรรมทั้งหมด ก็เป็นเรื่องรูปซึ่งเกิดเพราะกรรมนั่นเองเป็นปัจจัย
ผู้ฟัง ความพิสดารของกรรม เหตุใดทำให้คนมีตาเหมือนกัน มีหูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกันสักคนเดียวทั้งในอดีต ในอนาคต ปัจจุบัน จะไม่เหมือนกันจริงๆ นี่คือความพิสดาร
ท่านอาจารย์ เพราะกรรมต่างกันจริงๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นกุศลกรรมด้วยกัน ความหนักเบา หรือความเป็นอธิบดี หรือแต่ละอย่างของขณะนั้นก็หลากหลายต่างกันมาก
ผู้ฟัง กัมมชรูปที่มี ๙ กลุ่ม มีอะไรบ้าง
อ.ธิดารัตน์ ก็ได้แก่มีหทยทสก กายทสก ภาวทสก
ท่านอาจารย์ ขอโทษนะคะ ลืม หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ลืม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าปฏิสนธิจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องเกิดที่รูป เพราะฉะนั้นกรรมต้องทำให้รูปที่เป็นที่เกิดของจิตเกิด และรูปแต่ละรูปจะเกิดเพียงรูปเดียวไม่ได้เลย จะต้องเกิดร่วมกัน เช่น เมื่อมีปฐวีธาตุ ก็ต้องมีเตโชธาตุ วาโยธาตุ อาโปธาตุ รวม ๔ รูป และก็ยังมีรูปอื่นซึ่งต้องเกิดร่วมด้วยคือ สี กลิ่น รส โอชา รวมทั้ง ๘ รูป เป็นรูปที่ไม่แยกจากกัน แต่ตอนที่เกิดโดยกรรมจะต้องมีรูปอื่นเกิดร่วมด้วย
อ.ธิดารัตน์ ได้แก่ ชีวิตรูป และถ้าเป็นกลุ่มของหทยวัตถุซึ่งจะเป็นที่เกิดของจิต จะต้องมีหทยวัตถุเกิดด้วย และมีกลุ่มที่มีภาวรูป
ท่านอาจารย์ รวมเป็น ๑๐ รูปแล้ว ใช่ หรือไม่ ถ้าพูดเร็ว บางทีคนอื่นก็ตามไปเร็ว แล้วก็ลืมเร็ว แต่ก็ขอให้ซักถามเพิ่มเติมเช่นบอกอย่างนี้ คุณจำนงค์จะลืม หรือไม่ ตั้งแต่เกิดมาเลยได้กัมมชรูปเท่าไรแล้ว
ผู้ฟัง ขณะแรกก็อวินิพโพครูป ๘ คือดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ แล้วก็มีชีวิตรูป ๑ หทยรูป๑ ภาวรูปคือเพศหญิงเพศชาย ๑ และกาย ๑
ท่านอาจารย์ โอชะเป็นภาษาไทย โอชาเป็นภาษาบาลี แต่ว่าถ้าเราพูดถึงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ไม่ต้องเกิดจากกรรมก็ได้ เพราะเกิดจากจิตก็ได้ เกิดจากอุตุก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะกล่าวเจาะจงถึงกัมมชรูปล้วนๆ เพื่อที่จะไม่ลืม เพราะประโยคที่ถามว่าจำไม่ได้ว่ามีเท่าไร แต่วิธีที่จะจำก็โดยความเข้าใจเช่น ตอนเกิดมีกัมมชรูปแน่นอนเพราะเหตุว่ากรรมทำให้วิบากจิตเกิดพร้อมกับกัมมชรูปอะไรบ้าง เราก็เริ่มตั้งแต่รูปที่สำคัญที่สุดคือ หทยรูป ต้องมีรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต เพราะว่าจิตจะเกิดโดยไม่มีรูปไม่ได้ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องอาศัยรูปหนึ่งรูปใดเกิด แม้แต่ในขณะนี้จะเป็นจิตเห็นก็ต้องเกิดที่รูปหนึ่งรูปใด จะเป็นจิตได้ยิน จะเป็นจิตคิดนึก ก็ต้องมีที่เกิดของจิตนั้นๆ
เพราะฉะนั้นในขณะปฏิสนธิในขณะแรก ลืมไม่ได้เลยว่ากรรมทำให้หทยรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตเกิดหนึ่งรูปแล้ว ลืม หรือไม่ มีรูปเดียว หรือไม่ มีแค่หทยรูป หรือไม่
ผู้ฟัง มี ๑๘ รูปครับ
ท่านอาจารย์ มิได้ เฉพาะกัมมชรูป จะได้รู้ว่ากัมมชรูปมีเท่าไร
ผู้ฟัง มี ๙ รูปที่เกิดจากกรรมโดยตรง ก็มีปสาทรูป ๕ หทยรูป ๑
ท่านอาจารย์ นี่คือหลังจากเกิดไปแล้ว แต่ก็จะลืมอีก ดังนั้นเพื่อที่จะไม่ให้ลืมก็นับตั้งแต่เกิดว่าขณะเกิดนั้นมีรูปเท่าไร กี่รูป
ผู้ฟัง กล่าวถึงรูปเฉพาะกรรม ก็มี ภาวรูปหญิง หรือชาย๑ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ รวม ๓ รูป
อ.ธิดารัตน์ เพราะฉะนั้น ที่ใช้คำว่า ๙ คือ ๙ กลุ่ม แต่ถ้านับจริงๆ ก็ไม่ถึง
ผู้ฟัง ขอให้คุณจำนงค์นับเอง โดยเป็นการเข้าใจด้วย เช่น หทยรูป คุณจำนงค์ไม่ลืมแล้ว ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ตั้งแต่ขณะแรกเกิด จิตเกิดที่ไหนต้องมีที่เกิดซึ่งเป็นรูป เพราะฉะนั้น แม้แต่ปฏิสนธิจิตต้องมีที่เกิดของจิต ซึ่งกรรมนั่นเองเป็นปัจจัยทำให้หทยรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตเกิดพร้อมปฏิสนธิจิต รูปนี้ไม่ลืม อีกกี่วันก็ไม่ลืม
เกิดมาแล้วในภูมิที่มีขันธ์ห้า ในภูมิมนุษย์ เทวดา ไม่ใช่รูปพรหม ต้องมีภาวรูป คือเป็นหญิง หรือชาย เป็นรูปที่จะทำให้เกิดลิงค คือ รูปร่างลักษณะของเพศหญิง หรือเพศชาย ภาวรูปเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งเลือกไม่ได้ว่าชาตินี้จะเป็นหญิง หรือจะเป็นชาย หรือใครเลือกมา เลือกไม่ได้เพราะกรรมทำให้เป็นหญิง หรือทำให้เป็น ชาย ภาวรูปนี่ก็จะเกิดเพราะกรรมทุกอณุขณะของจิตเหมือนกัน
ผู้ฟัง ในขณะเกิดมีภาวรูปจะเป็นหญิง หรือชาย อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป นี้แน่นอน แต่เมื่อเกิดมาแล้วในชีวิตประจำวันเราก็เห็นอยู่ เกิดมาเป็นชายโตขึ้นเป็นหนุ่มมีภรรยา มีลูก แต่เหตุใดหลังจากนั้นทำตัวเป็นหญิงไปแล้ว นี่คือการเปลี่ยนภาวรูปจากปุริสภาวรูปเป็นอิตถีภาวรูป คือเปลี่ยนจากชายเป็นหญิง หรืออย่างไร ทำตัวเป็นอย่างนั้นไปแล้ว ก็มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันก็มากด้วย
ท่านอาจารย์ ดูหมือนว่ารูปนี่เที่ยงเลย ยังไม่ได้แตกสลายไปทุก ๑๗ ขณะของจิต ดูเหมือนอย่างนั้น แต่แท้จริงควรทราบความจริงว่ารูปใดแม้ไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้นการที่จะเปลี่ยนจากเพศหนึ่งไปอีกเพศหนึ่งด้วยแรงของกรรมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จากที่ไม่เคยเจ็บป่วยเลย แล้วโรคภัยมาจากไหน ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าขณะนี้รูปที่เราคิดว่ายังไม่ได้ดับนั้น แต่รูปใดที่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้นกรรมก็ทำให้รูปใหม่ซึ่งเป็นกัมมชรูปตามแรงกรรมนั้นๆ เป็นไปได้ แต่กรณีนี้ก็เป็นเรื่องซึ่งพิเศษใช่ไหม ไม่ใช่เป็นโดยทั่วไปบ่อยๆ
เรื่องของกรรมนี้จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจะชราแล้ว อายุมาก บางคนก็ยังตาดีกว่าคนที่อายุน้อยกว่า ยังสนเข็มได้ ยังอ่านหนังสือได้ ก็เป็นเรื่องของการที่เราจะเห็นว่าสภาพธรรมมีความหลากหลายมาก เพราะเหตุว่า ถ้าพูดถึงวัยเด็กตั้งแต่เริ่มเกิดมา ธาตุไฟจะเท่ากับผู้ใหญ่ หรือไม่ ในแต่ละกลุ่มของรูปที่เกิดจากกรรมก็มี ที่เกิดจากจิตก็มี ที่เกิดจากอุตุก็มี ที่เกิดจากอาหารก็มี
สำหรับรูปที่เกิดจากกรรมกับรูปที่เกิดจากจิตก็ไม่มีปัญหา แต่ก็มีผลเหมือนกัน เพราะเหตุว่ากระทบถึงรูปอื่นๆ ด้วย แต่รูปที่กระทบมากก็คือรูปที่เกิดจากอาหาร และรูปที่เกิดจากอุตุ นี้ก็แสดงให้เห็นว่ายิ่งโต ความหลากหลายของสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และจากอุตุภายในร่างกายก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปที่ดูไม่แก่ ใส สะอาด ตั้งแต่เด็กค่อยเพิ่มขึ้น ค่อยๆ ผ่องใสขึ้น จนกระทั่งภายหลังก็จะมีการสะสม หรือการเป็นปัจจัยที่กระทบกันระหว่างรูปที่เกิดจากอาหารบ้าง รูปที่เกิดจากอุตุบ้าง ซึ่งก็จะสืบต่อจากการที่มีธาตุไฟจากรูปเหล่านั้นเกิดขึ้นเป็นธาตุไฟที่เกิดจากกรรม ธาตุไฟที่เกิดจากจิต ธาตุไฟที่เกิดจากอุตุ ธาตุไฟที่เกิดจากอาหาร และอาหารก็รับประทานต่างกันไป บางคนก็ไม่แก่ถึงแม้จะอายุมากแล้ว ก็เป็นเรื่องแล้วเหตุ แต่หลายเหตุที่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็ตามแต่ จะเพราะจากจิต หรือจะเพราะจากอุตุ หรือจะเพราะจากอาหารก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการปรากฏความเสื่อมของวัย ก็เพราะเหตุว่าได้บริโภค ได้มีรูปซึ่งเกิดจากอาหารต่างๆ ซึ่งก็จะเป็นผลที่ต่อเนื่องกันระหว่างธาตุไฟของรูปนั้นที่ทำให้เกิดรูปนั้นๆ มากขึ้น เป็นธาตุไฟที่ทำลายเมื่อมากเกินไป จริงๆ แล้วก็คงจะกล่าวว่าเมื่อมีวัยเจริญขึ้นก็จะทำให้เป็นอย่างนั้นได้
ผู้ฟัง เรื่องของจิต ก็เหมือนกับจิตเกิดอยู่ตลอด แต่จริงๆ แล้วในขณะนี้มันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างไรก็เป็นเราอยู่ ไม่ยอมที่จะคิดว่าขณะไหนเป็นจิตอะไร
อ.อรรณพ ที่กล่าวตรงนี้ก็ให้เห็นประโยชน์ว่าทำไมต้องศึกษาเรื่องจิต เพราะว่าถึงมีจิตอยู่ แต่เราไม่รู้จิตตามความเป็นจริง ใช่ หรือไม่ พูดก็ดูเหมือนจริง ถ้าเริ่มศึกษาพระอภิธรรมบ้างแล้วก็เริ่มจะเห็นลางๆ ว่าไม่ปราศจากจิตจริงๆ ตั้งแต่เกิดจนตายแล้วก็เกิดใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ด้วยความสอดคล้องของพระอภิธรรม แต่การที่ประจักษ์ในลักษณะของนามธาตุที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในขณะที่รู้อารมณ์ขณะหนึ่งๆ ...
ท่านอาจารย์ เมื่อสักครู่นี้ได้ยินคำว่า “ไม่ยอมที่จะรู้” ถ้าพูดอย่างนี้หมายความว่าเป็นเรา แต่ถ้าพูดว่ายังไม่มีปัจจัยพอที่สติสัมปชัญญะจะเกิดระลึกรู้ อย่างนี้หมายความว่าเรามีความเข้าใจถูกว่าธรรมเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นแม้แต่คำที่เราใช้ ก็แสดงให้เห็นว่าขณะไหนมีความยึดมั่นในความเป็นเรามากน้อยแค่ไหน ถ้าใครยังพูดว่าไม่ยอม ไม่ยอม ก็คือมีตัวเรานั่นเองที่ไม่ยอม แต่ถ้ามีความเห็นถูกว่า ยังไม่มีปัจจัยที่สติสัมปชัญญะจะเกิด
เพราะฉะนั้น แม้แต่ความคิดแต่ละครั้ง นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะสูญหาย ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องมั่นคงก็จะไม่เดือดร้อน ไม่ว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด หรือไม่เกิด แต่ความเป็นตัวตนคอยหวังเมื่อไรจะเกิด ยังไม่เลิกล้มความหวัง แต่ถ้ามีความเข้าใจขึ้น ยิ่งเป็นปกติธรรมดา แล้วสติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นสภาพธรรมเกิดโดยที่ไม่มีความหวังที่จะทำให้เกิดขึ้น หรือแม้เมื่อเกิดแล้วก็ยังไม่หวังแม้นิดหน่อย ที่จะให้รู้ หรือให้เข้าใจสภาพธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น จึงต้องเริ่มเห็นว่าความหวังเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่มีมาก และทั่วไป ไม่ว่าจะในขณะไหน แม้แต่คำพูดที่ว่าไม่ยอมให้สติเกิด
ผู้ฟัง ในลักษณะเหมือนกับว่ามีตัวตน ขณะนั้นสภาพจิตจะอยู่ในลักษณะอะไร เป็นอกุศลอะไร ตรงไหน
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นกุศล หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่กุศลก็คืออกุศล ที่อยากรู้นั่นคืออะไร จะรู้ได้ หรือไม่?โดยอย่างไร
ชื่อ (สภาพธรรม) ทรงแสดงไว้ครบถ้วน จิตมีเจตสิกประกอบเท่าไร เจตสิกประเภทใดตลอดทั้ง ๓ ภูมิ ไม่ว่าจะเป็นกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ แสดงไว้ครบถ้วน แต่ไม่รู้เพราะสติสัมปชัญญะไม่เกิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราอยากจะรู้ไปหมด โดยที่ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้ว แล้วไม่รู้ในสิ่งนี้ แต่ไปคิดถึงสิ่งอื่น เห็นโลภะ หรือไม่ ถ้ายังไม่เห็นก็คือว่า ไม่มีวันจะเห็น ทั้งๆ ที่โลภะก็ติดตามไปตลอด
ผู้ฟัง ถ้าในลักษณะที่มีลักษณะของความเป็นตัวตนเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของอกุศลจิต ก็ให้รู้ว่าเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดมี ๒ ประเภท คือ นามธรรม และรูปธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 1
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 2
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 3
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 4
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 6
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 7
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 8
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 9
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 10
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 11
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 12
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 15
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 16
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 17
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 18
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 19
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 20
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 21
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 22
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 23
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 26
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 27
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 30
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 32
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 34
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 35
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 36
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 37
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 38
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 39
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 41
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 42
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 43
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 44
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 45
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 46
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 50
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 51
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 52
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 53
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 54
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 56
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 57
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 58
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 59
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60