พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
ตอนที่ ๔๙
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง ถ้าในขณะที่มีลักษณะของความเป็นตัวตนเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของอกุศลจิต ก็ให้รู้ว่าเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดมี ๒ อย่างคือ นามธรรม และรูปธรรม จะเป็นกุศลก็ดับเร็วมาก จะเป็นอกุศลก็ดับเร็วมาก อย่างที่กล่าวแล้วว่า โทสะเกิด ก็รู้ว่าลักษณะของโทสะเป็นอย่างนั้น แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นลักษณะของโทสะก็ไม่เปลี่ยน สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ต้องเริ่มที่จะเจริญความรู้ถูกว่าเป็นสภาพธรรม ไม่ต้องไปคำนึงว่านั่นเป็นอสังขาริก หรือสสังขาริก หรือว่ามีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่ให้ไปคิดอย่างนั้น แต่สภาพธรรมเกิดเร็วมาก จะรู้อย่างนั้น จะเห็นอย่างนั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ไม่อย่างนั้นเราก็เรียกชื่อตลอด และคิดว่าเรารู้ตลอด เพราะโทสะเกิดก็เรียกเลย นี้โทสะ นี้มานะ ก็เรียกชื่อ และก็ยังอยากที่จะเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่แท้จริงก็คือว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจด้วยความเป็นเรา นอกจากลักษณะนั้นมี นานแล้วที่รู้ว่าเป็นโทสะ แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม หรือว่าเป็นนามธรรม
ผู้ฟัง ตรงนี้จริงๆ ก็คือรู้แล้วจากการศึกษาว่าขณะสภาพธรรมเกิดไม่มีชื่อ แต่ขณะนี้ก็ยังถามหาชื่ออยู่ว่าเป็นอะไร ตรงนี้ก็ยังเป็นอยู่ประจำ
ท่านอาจารย์ แสนโกฏิกัปป์ที่สภาพเหล่านี้สะสมมา และกว่าจะคิดถูก เข้าใจถูก อบรมถูกจริงๆ ก็ต้องใช้เวลา ไม่ใช่ทันทีที่เราได้ฟังแล้ว เราก็ยิ่งอยาก ว่า เมื่อไรสติสัมปชัญญะจะเกิด เมื่อไรจะรู้อย่างนั้นอย่างนี้ นี้เป็นเรื่องอยาก แต่เรื่องละคือ รู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง รู้ คือไม่ต้องไปถามหาชื่อแต่เข้าใจลักษณะของเขาว่าเป็นรูป หรือนามเท่านั้น เท่านี้จริงๆ
ท่านอาจารย์ ซึ่งแม้จะรู้ว่าเป็นรูป หรือนามก็ไม่ง่าย เพราะฉะนั้นก็ยังไม่ต้องไปคำนึงถึงว่ามีอะไรเกิดร่วมด้วย ชื่ออะไร
ผู้ฟัง เพราะแม้จะมีอะไรเกิดร่วมด้วยก็เป็นลักษณะของรูป หรือนามเท่านั้น ซึ่งไม่หนีไปไหน
ท่านอาจารย์ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน แต่เคยเรียนมาว่าจิตนี้มีเจตสิกประกอบเท่านี้ เป็นนามธรรม เป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รู้เรื่องหมด แต่ลักษณะจริงๆ ที่เป็นอย่างนั้นยังไม่รู้ แม้แต่ว่าเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ก็ยังไม่รู้
ผู้ฟัง จากการสนทนาก็จะเรียกว่าเอ๊ะ ตรงนั้นเป็นอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วลักษณะของเขาก็เป็นนาม หรือรูป
ท่านอาจารย์ ตัวใครที่คิดว่า เอ๊ะ นั่นอะไร เห็น หรือไม่ว่าติดไปหมด ไม่รู้ไปหมด
ผู้ฟัง ขอให้อธิบายความแตกต่าง เด็กโกรธ เราก็รู้ว่านั่นเด็กโกรธเพราะเขาอยากได้ของ นี้ก็คือโกรธ คือโทสะ สิ่งนี้คือโลภะ แล้วต่างกันอย่างไร ๒ อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ก็คงจะลำบาก ถ้าเขาไม่ได้สะสมความหนักแน่นที่จะต้องเข้าใจถูกต้องว่าขณะนี้เป็นธรรมไม่ต้องไปหาที่อื่นเลย แต่ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะฉะนั้น ก่อนที่แต่ละคนจะได้ฟังธรรม แล้วก็ได้ฟังธรรม แล้วก็เริ่มเข้าใจ ก็พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ว่าก่อนนั้นไม่เคยรู้เลยว่าเป็นธรรม ไม่มีใครบอก มีแต่ความเป็นเราทั้งหมด แต่เมื่อได้ยินได้ฟังก็เริ่มเข้าใจว่าผู้ที่ตรัสรู้ก็ได้ทรงแสดงว่า เราไม่มี แต่มีธรรม ก็จะค่อยๆ ไตร่ตรองไป เพราะฉะนั้นก็เป็นความเข้าใจของแต่ละคน จนกระทั่งสามารถที่จะรู้จักตัวธรรมจริงๆ ด้วยปัญญาอีกระดับหนึ่ง เพราะรู้ว่า เพียงแค่ฟังก็เป็นเรื่องราวของธรรม พิจารณาก็เป็นเรื่องราว เข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ตัวธรรมก็กำลังปรากฏ เหมือนเช่นที่คุณสุรีย์ถามครั้งแรกว่า เหตุใดพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกจิตเป็น ๔ ชาติ จริงๆ แล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ได้หมายความว่าทรงจำแนกโดยพระองค์เอง แต่เนื่องจากว่าสภาพธรรมเป็นอย่างไร ก็ทรงแสดงความจริงของสภาพธรรมนั้นว่าเป็นอย่างนั้น เหมือนขณะนี้ที่กำลังนั่ง จะเป็นคน จะเป็นเรา จะเป็นเพื่อน จะเป็นอะไรก็ตามแต่ แต่กำลังฟังให้เข้าใจจริงๆ แล้ว สิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏจริงๆ แต่ละขณะนั้นเป็นอะไร นี่คือความเข้าใจที่เริ่มเข้าใจการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าทรงตรัสรู้ความจริงแท้ของสภาพธรรม และก็ทรงแสดงความจริงนั้นว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง
เพราะฉะนั้น เด็กโกรธ ผู้ใหญ่โกรธ ลักษณะของโกรธก็ไม่เปลี่ยน ความคิดว่าเป็นเราก็ไม่เปลี่ยน จนกว่าจะรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้เพียงทรงแสดงเรื่องของสภาพธรรมให้เราเข้าใจ แต่ทรงแสดงหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาให้ประจักษ์แจ้งความจริงอย่างที่พระองค์ประจักษ์แจ้งด้วย
ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า "ปัญญา" ในภาษาไทยเริ่มต้นก็คือเข้าใจถูก เห็นถูก จึงจะเป็นปัญญา หากแม้ว่าสภาพธรรมมีปรากฏแต่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นก็ไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นปัญญาก็มีขั้นฟัง เข้าใจ บางคนฟังก็ไม่เข้าใจ เป็นไปได้ หรือไม่ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า"ปัญญา" คือ ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกของแต่ละบุคคล ในขณะที่ฟังด้วยกันอย่างนี้ จะมีความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏไว้ในขั้นต้นว่าเป็นธรรมก็ยากเพราะเคยเป็นเรามานาน ฟังแต่ชื่อว่าเป็นธรรม แต่ตัวธรรมจริงๆ ที่เป็นธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ต้องอาศัยการฟังต่อไปอีก เราอยู่มาโดยที่ไม่ได้ฟังธรรมมานานแสนนานนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นเรากำลังอยู่ด้วยการได้ฟังธรรมเพียงไม่นาน เทียบกับความไม่รู้ของเราซึ่งมากมายมหาศาล แต่พอเริ่มเข้าใจถูกก็จะรู้ว่านี่คือความต่างของขณะที่ไม่เคยเข้าใจถูก กับการที่เริ่มเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ปัญหาใหญ่ก็คือความเป็นตัวตน และโลภะ เมื่อมีความเป็นตัวตนก็เกิดอยากได้ คือรู้ตาม และก็อยากรู้ตามมากๆ แต่หนทางที่จะรู้จักตัวจริง ไม่รู้จักเลย เพราะว่าจิตเกิดทีละหนึ่งขณะ และหนึ่งอารมณ์ อารมณ์ที่ต้องการมาบังหมด เพราะฉะนั้นปัญญาที่จะรู้ความจริงก็ไม่เกิด สิ่งนี้เป็นเหตุจากสักกายทิฏฐิ หรือไม่
ท่านอาจารย์ การสะสมมาที่จะเป็นบุคคลต่างๆ กัน ถ้าเป็นผู้ที่สะสมมาที่จะเห็นถูก เข้าใจถูกว่าพระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพที่มี ทุกชาติเหมือนกันหมดตามความเป็นจริง เห็นชาติก่อน ไม่เคยรู้ พอถึงเห็นชาตินี้ก็ไม่เคยรู้ เห็นชาติหน้าก็ไม่รู้อีก ไปรู้เรื่องตัวหนังสือ แต่ไม่เคยได้เข้าใจถูกต้องว่าขณะใดที่ได้ฟังธรรม ก็คือฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมดให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น เวลาที่กล่าวถึงโลภะ มี หรือไม่ ระดับไหน เราไม่เคยรู้ เราคิดว่าเรามีโลภะเฉพาะเวลาที่โลภะแรงๆ เกิดขึ้น แต่ว่าจริงๆ แล้วจากการศึกษาทำให้เราเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น และก็รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่แต่เฉพาะโลภะแรงๆ เพราะแม้นิดเดียวก็เป็นโลภะ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมก็เพื่อละโลภะซึ่งเป็นสภาพที่ติดข้อง เพราะตราบที่ติดข้องในสภาพธรรมที่ปรากฏก็จะมีความเป็นเรา บางครั้งก็มีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจถูกว่า หนทางที่จะดับกิเลสต้องเป็นการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น ถ้าปัญญาไม่มีแม้แต่ในขั้นการฟัง อย่าไปคิดเรื่องที่กิเลสจะดับ แต่หลงเข้าใจผิดว่าถ้าทำอย่างนั้นทำอย่างนี้แล้วก็จะเป็นพระโสดาบันจะดับกิเลสได้โดยไม่รู้
เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ เราก็จะรู้จักตัวเองว่าการฟังแต่ละครั้งของเราเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมซึ่งเข้าใจยาก แม้ว่ากำลังเผชิญหน้าก็เป็นเรื่อง ก็เป็นชื่อ เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็มี และก็มีคำมาให้เข้าใจว่าสภาพธรรมนี้มีจริงๆ สามารถกระทบจักขุปสาท แล้วก็ปรากฏกับจิตที่เห็น กล่าวอย่างนี้ก็เป็นความจริง กว่าจะมีความเข้าใจ พร้อมที่จะเข้าใจในขณะที่เห็นว่าลักษณะนี้เป็นอย่างนี้จริงๆ ก็ต้องอาศัยกาลเวลาที่นานมาก แต่ผู้นั้นก็ไม่ท้อถอย เพราะรู้ว่ากว่าจะได้ฟังคำจริงที่ทำให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง และก็ดำเนินหนทางที่จะรู้จักสภาพธรรมจนกระทั่งดับกิเลสได้จริงก็มีทางเดียว คือการที่ปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ถ้าเราศึกษาเรื่องราว ชาติก่อนเราคงได้ฟังภาษาบาลีมามาก เพราะว่าทรงแสดงธรรมเป็นภาษามคธี แล้วเราก็เคยได้ยินได้ฟังธรรมมาในครั้งอดีตคงไม่ใช่คนไทยใช่ไหม ภาษาไทยอย่างนี้ก็ยังไม่มี แต่ว่าเราสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่จะได้ยินได้ฟังอีก ชาติไหน ภาษาไหน การสะสมความสนใจที่จะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นสัจจธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ไม่ใช่สิ่งที่ใครสามารถจะรู้ได้ ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมากเกินบุคคลใดๆ ที่จะตรัสรู้สภาพธรรมพร้อมด้วยทศพลญาณ พระญาณทั้งหมดที่สามารถจะรู้ความจริงอย่างที่บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเทียบได้
เช่น ในขณะนี้เราคิดถึงคำที่เราได้ฟัง และก็มีเห็น และก็มีได้ยิน มีสภาพธรรมเหมือนพร้อมกัน แต่พระปัญญาที่ทรงบำเพ็ญมาจะเกิดดับที่จะรู้สภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริงเร็วกว่าเรากี่เท่าจึงสามารถทรงประจักษ์ได้จริงๆ ว่าเห็นชั่วหนึ่งขณะไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่คิดนึก แล้วยังมีเจตสิกอื่นซึ่งเกิดร่วมด้วยเท่าไร เพราะฉะนั้นการที่เราได้ยิน ได้ฟังแต่ละครั้ง เทียบกับพระปัญญาซึ่งคม เร็ว ลึก ชัด ประมาณไม่ได้เลย จากพระบารมีซึ่งได้สะสมมา แม้นั่งอยู่ด้วยกันกับพระภิกษุทั้งหลาย ทรงแสดงธรรม พระภิกษุฟังธรรม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงเทศนาจบ ชาวบ้านผู้ที่ฟัง หรือพระภิกษุอนุโมทนาปลาบปลื้ม พระองค์ทรงเข้าพละสมาบัติชั่วครู่ เพราะฉะนั้นความรวดเร็วของการเกิดดับ การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน จะมากมายเท่าไร นี้ก็แสดงให้เห็นว่าปัญญามีหลายระดับ
เพราะฉะนั้นปัญญาระดับที่เพิ่งได้ยินได้ฟัง เพิ่งค่อยๆ เห็นประโยชน์ ค่อยๆ คิด กับได้ยินได้ฟังบ่อยๆ แล้ว พอฟังอีกก็เข้าใจได้ พอสติสัมปชัญญะเกิดก็รู้ได้ว่าขณะนั้นไม่หลงลืมสติ ลักษณะของสติก็คือมีสภาพปรมัตถธรรมที่ปรากฏ ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นอนัตตาว่าลักษณะนั้นมีจริง จะใช้คำว่า “ปรมัตถธรรม” ที่ไหน เมื่อไร ก็เข้าใจ เพราะว่าสภาพธรรมที่มีจริงมีลักษณะปรากฏ แต่ต้องด้วยสติสัมปชัญญะจึงรู้ว่า นั่นเป็นธรรม มิฉะนั้นก็เป็นเราไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมก็ปรากฏ ก็คงไม่ต้องห่วงเรื่องภาษา เรื่องคำ แต่ว่าเรื่องเข้าใจสภาพธรรมเป็นสิ่งที่จะสืบต่อจนถึงชาติต่อๆ ไปได้ ไม่ว่าจะในภาษาอะไร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่าเห็นกับได้ยินคนละขณะ แต่ดิฉันก็มาได้ยินท่านอาจารย์กล่าวอีกว่า หู ๒ หูก็ได้ยินทีละขณะ คือคิดเองไม่ได้ หู ๒ หู ก็คิดว่าได้ยินพร้อมกันในครั้งแรก แต่พอได้มาฟัง คือจะเห็นได้ว่าปัญญา เหมือนจะคิดเองไม่ได้ ต้องฟัง ทั้งๆ ที่ก็ทราบว่าจิตเกิดดับทีละขณะ แต่พอมีหู ๒ หูก็คิดว่าได้ยินพร้อมกัน คือจะเห็นความละเอียดของพระธรรมมากๆ ก็ต้องมาศึกษา ต้องมาฟัง เมื่อฟังแล้วก็เห็น เข้าใจความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ แล้วเหตุผลคือ
ผู้ฟัง เหตุผลก็คือว่า ให้เห็นว่าไม่มีเรา ไม่ใช่เรา แค่ขั้นเข้าใจตรงนี้
ท่านอาจารย์ แล้วทำไมถึงเกิดทีละข้าง
ผู้ฟัง เพราะว่าจิตเกิดดับทีละขณะ
ท่านอาจารย์ และจิตทุกขณะที่เกิดต้องอาศัยรูปรูปหนึ่ง จิตหนึ่งขณะจะอาศัย ๒ รูปได้ หรือไม่ เพราะฉะนั้นขณะใดเมื่อโสตปสาทที่เกิดแล้วยังไม่ดับ รูปๆ นั้นเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิด จะไปอาศัยปสาทอื่นไม่ได้ ต้องเฉพาะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู
ผู้ฟัง ปสาทรูปอยู่กลางตา
ท่านอาจารย์ ตัวจักขปสาทรูปอยู่กลางตา
ผู้ฟัง แล้วก็เหมือนจะแต่เห็นอยู่ข้างหน้า กล่าวว่าข้างหลังไม่เห็น
ท่านอาจารย์ เห็นสิ่งที่ปรากฏ ที่กระทบกับจักขุปสาท เพราะว่าจักขุปสาทอยู่ตรงกลางตาไม่ได้อยู่ข้างหลัง
ผู้ฟัง ตรงนี้ไม่สงสัย แต่ขณะที่ดิฉันส่องกระจกอยู่ ก็มองเห็นคนข้างหลัง ตรงนี้คืออย่างไร ไม่ทราบว่าเห็นข้างหลังได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เพียงแค่เห็นเป็นเราในกระจก ถูก หรือผิด
ผู้ฟัง เห็นเป็นเราในกระจก ที่จริงเป็นเราก็ไม่ใช่แล้ว เป็นสีใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสีอะไรก็ตามแต่ เห็นเราในกระจกเพราะคิดว่ารูปร่างอย่างนี้เป็นเรา พอเกิดมีอะไรที่เหมือนอยู่ข้างหลัง ก็เป็นความคิดอีกว่าสิ่งนั้นอยู่ข้างหลังด้วยความทรงจำ แต่ทั้งหมดก็คือสิ่งที่ปรากฏ
อ.ธิดารัตน์ ความสามารถของจักขุปสาทซึ่งท่านใช้คำว่าคลองจักษุ สามารถที่จะกระทบได้ในสถานที่ไกล อย่างนี้ไม่ว่าจะมีข้างเดียว หรือ ๒ ข้าง ความสามารถก็จะต้องเหมือนกันทั้ง ๒ ข้าง เพียงแต่ว่าเราชินที่จะมี ๒ ข้าง และเราก็นึกถึงสิ่งที่เห็น อย่างนี้จะหมายถึงว่าเป็นนิมิตอนุพยัญชนะใช่ หรือไม่ ซึ่งจะเป็นความกว้าง ความลึก
ท่านอาจารย์ จิตเห็นก็แค่เห็นจริงๆ จะรู้อะไรไม่ได้ทั้งสิ้น แต่หลังจากนั้นแล้วก็จะต้องมีจิตที่คิดนึก ซึ่งเกิดต่อจากจิตที่เห็นแล้วก็จำ เพราะฉะนั้นความคิดนึกนั้นก็สามารถที่จะคิดได้ถึงสิ่งที่ได้ปรากฏทางตา และก็เกิดความเข้าใจในลักษณะของสิ่งนั้น แล้วแต่ว่าถ้าเป็นส่วนที่หยาบไม่ละเอียด เช่น เพียงรูปร่างสัณฐาน เราก็ใช้คำว่า “นิมิต” แต่ถ้าเป็นส่วนละเอียดกว่านั้นก็ใช้คำว่า “อนุพยัญชนะ” เป็นความจำซึ่งเกิด แต่จิตเห็นเพียงเห็นอย่างเดียว
ผู้ฟัง มีคำถามว่าถ้างานยุ่งมากแล้วเป็นอุปสรรคในการเจริญสติ หรือไม่ อย่างไร
ท่านอาจารย์ คือผู้นั้นไม่ได้เข้าใจว่าสติปัฏฐานคืออะไร
ผู้ฟัง เหมือนกับเขาเข้าใจว่าสติปัฏฐานนั้นต้องทำ
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วการทำงานคืออะไร ก็คือเคลื่อนไหว คิดนึก จับแข็ง ดูสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเขาคิดว่าเขาทำ ถ้าเราถามว่าใครทำ เขาจะไม่มีปรมัตถธรรมเลย คือว่าเขาจะไม่รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เขาตั้งแต่เกิดจนตาย แม้เห็นขณะนั้นก็ไม่ใช่เขาที่กำลังทำกิจเห็น คิดนึกก็ทำกิจคิดนึก ก็แสดงว่าเขาไม่มีพื้นฐานที่มั่นคงที่จะเข้าใจจริงๆ ว่าไม่มีตัวตน มีแต่สภาพธรรมทุกขณะ เพราะฉะนั้นไม่มีเขาที่กำลังทำงาน และไม่มีเขาที่จะทำสติปัฏฐาน หรือว่าเจริญสติปัฏฐาน คือพื้นฐานไม่มั่นคงที่จะรู้ว่าไม่มีเขา แต่เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เราอาจจะบอกว่าจำชื่อได้ ปัจจัยนี้คูณปัจจัยนี้เป็นเท่านั้นเท่านี้ออกมา เป็นตัวเลขเท่านั้นเท่านี้ นั่นคือความคิด แต่ในความเข้าใจของเราจริงๆ ในแต่ละปัจจัยก่อนที่จะไปคูณกัน หรือว่าแต่ละสภาพธรรมที่มีจริงๆ ก่อนที่จะไปคูณยาวๆ ก็คือถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมนั้นได้ แล้วก็ไม่กังวลว่าจริง ตัวเลขนั้นมี แต่ใครรู้ แล้วใครแสดง แล้วผู้ที่ยังไม่รู้สามารถที่จะเข้าใจได้เพียงเท่าไรของตัวเลขนั้น เช่นนี้ก็จะเป็นประโยชน์แล้วก็มีปัญญาที่เกิดจากการไตร่ตรอง
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ว่าดีกว่าตัวเลขนั้นคือสติปัฏฐาน และผมก็บอกได้ว่ากำลังที่จะเกิดสติปัฏฐานนั้นอ่อน
ท่านอาจารย์ กำลังอ่อน แต่ว่าถ้าจะพิจารณาว่าในแปดหมื่นที่จำตัวเลขไว้ สามารถที่จะเข้าใจในนั้นเท่าไร
ผู้ฟัง ไม่ต้องแปดหมื่น เพียงแปดสิบเก้า ก็ไม่ครบอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วที่ตัวเลขที่ไปคูณๆ กันขึ้นไปอีก กับการที่เราจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมแม้หนึ่ง แม้สอง ค่อยๆ เพิ่มขึ้นโดยไม่กังวล เพราะตัวเลขอย่างไรก็เป็นตัวเลขอย่างนั้น
ผู้ฟัง แต่ผมก็ไม่ได้ยึดติดตัวเลขอย่างที่กล่าว แต่ก็คิดไป ก็เป็นความคิดสะสมมา ก็ต้องคิด แต่ผมก็อยากให้สติปัฏฐานเกิด แต่ก็ไม่เกิด เพราะรู้กำลังตนเอง
ท่านอาจารย์ ถ้าตัวเลขพอสถานประมาณก็เป็นประโยชน์ เช่น จิตที่เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร นี้ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ถ้าจะไปคูณเยอะๆ แล้วก็ลืมใช่ หรือไม่ คูณเสร็จก็ลืมไป แต่สำหรับสิ่งที่เราได้ฟังเช่นอกุศล ๑๒ เรารู้จักชื่อ แล้วพอสภาพธรรมนั้นเกิด เราก็รู้ว่านี่คือลักษณะของธรรมที่เราได้ยินได้ฟังมา แต่เท่านั้นยังไม่พอเพราะว่าขณะนั้นเป็นแต่เพียงคิด ต้องรู้ลักษณะที่ไม่ใช่เราด้วย ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เราคิดต่อไปเรื่อยๆ แทนที่จะมีเหตุปัจจัยที่สติสัมปชัญญะจะเกิด และก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ที่กล่าวกันว่าสนใจเรื่องธรรมดีกว่าอย่างอื่นก็สนใจเรื่องธรรม ก็ดี ขณะที่อ่าน แต่ขณะนั้นสภาพจิตก็มีความสงสัยเกิดขึ้นได้ หรือโทสะก็เกิดขึ้นได้ หรือว่าชอบโดยเนื้อความ ลักษณะตรงนี้ หรือไม่ที่มีแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เราสนใจในเนื้อเรื่องต่างขณะ
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนขณะนี้ที่เห็นก็มี แล้วเราก็พูดเรื่องเห็น ใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะนั้นโทสะมี แล้วเราก็อ่านเรื่องโทสะ ก็ไม่ต่างกัน
ผู้ฟัง คือที่ดิฉันกล่าว แม้ว่าจะสนใจเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่สภาพธรรมก็มีให้ปรากฏอยู่ตรงนั้น
ท่านอาจารย์ คือให้ค่อยๆ เข้าใจ แต่ตอนที่จะค่อยๆ เข้าใจ ต้องมีพื้นฐานที่มั่นคง
อ.ธิดารัตน์ พื้นฐานที่มั่นคง เหมือนกับว่าการพิจารณาลักษณะสภาพธรรมที่เกิดกับตัวเราซึ่งไม่ใช่ชื่อ หรือเรื่อง
ท่านอาจารย์ การเข้าใจแม้แต่คำที่ได้ยินว่า “ธรรม” และ “อนัตตา” พอเริ่มจะทำเรื่องยุ่งก็คือ “เรา” ใช่ หรือไม่ ไม่ใช่รู้ทันทีว่าเป็นอนัตตา และก็เป็นธรรม เพราะฉะนั้นแค่สองคำนี้ ถ้าเราเข้าใจจริงๆ และเรารู้ว่าเราได้ยินชื่อแต่ความจริงธรรมก็มี และกำลังปรากฏด้วย เพราะฉะนั้นหนทางที่จะทำให้เราเข้าใจขึ้นจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริงก็มี
คุณอุไรวรรณ ผู้ที่เริ่มศึกษาเรื่องจิต มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเรื่องชาติของจิต เพราะอย่างน้อยที่สุด ถ้ารู้จักชาติกุศล และชาติอกุศลเป็นเหตุให้เกิดวิบากในโอกาสต่อไป แล้วชาติวิบากก็เป็นผล ส่วนชาติกิริยานั้นไม่ใช่ทั้งเหตุ และไม่ใช่ทั้งผล ขอเชิญคุณอรรณพกรุณากล่าวเสริมตรงนี้
อ.อรรณพ กามาวจรภูมิ และกามาวจรจิตโดยภูมิแล้วเป็นไปในกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ชื่อ เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นจิตที่เป็นไปโดยมากในกามภูมิ ซึ่งภูมิมี ๒ ความหมาย ภูมิคือที่เกิดของสัตว์หนึ่ง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 1
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 2
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 3
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 4
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 6
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 7
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 8
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 9
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 10
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 11
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 12
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 15
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 16
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 17
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 18
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 19
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 20
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 21
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 22
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 23
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 26
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 27
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 28
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 29
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 30
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 32
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 34
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 35
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 36
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 37
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 38
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 39
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 40
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 41
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 42
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 43
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 44
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 45
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 46
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 48
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 50
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 51
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 52
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 53
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 54
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 55
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 56
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 57
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 58
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 59
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60