ปกิณณกธรรม ตอนที่ 15
ตอนที่ ๑๕
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษาไม่มีทางมีพระธรรมเป็นสรณะเลย เราได้แต่กราบไหว้บูชาว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ แต่ไม่รู้ว่า พระธรรมคืออย่างไร เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้มีพระธรรมเป็นสรณะจริงๆ เลย สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เรานึกถึงพระคุณของพระอริยบุคคล เพราะจากความเป็นปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลส ถึงความเป็นผู้ที่ดับกิเลสชนิดซึ่งกิเลสที่ดับแล้วไม่เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้นบุคคลนั้นควรที่เราจะมีความเคารพในความเพียร ในศรัทธา ในวิริยะ ในปัญญามากแค่ไหน กว่าจะได้เป็นพระอริยบุคคล เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะที่ว่า จะไม่ทำให้เราหลงผิดไปจากหนทางที่จะทำให้เกิดความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิต่างๆ เพราะฉะนั้นสังฆทานที่นี้หมายความว่า จิตของเราในขณะที่ถวายสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ภิกษุ ไม่เจาะจง และในขณะนั้น มีความนอบน้อมต่อพระภิกษุ โดยการที่น้อมระลึกถึงคุณของพระสงฆ์คือ พระอริยสงฆ์ เพราะฉะนั้น จิตใจของเราในขณะที่ถวายแก่บุคคลนั้นจะผ่องใส ปลาบปลื้ม ไม่มีการเพ่งเล็งว่า ผู้รับมีอาจาระ คือ มีกิริยาที่ไม่สมควร มีความประพฤติที่ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าคิดอย่างนี้ จิตของเราก็ไม่ได้นึกถึงพระอริยสงฆ์ เพราะฉะนั้นสังฆทานไม่ใช่ถัง ข้าวสาร หรืออะไรๆ ที่เป็นวัตถุ ทานทั้งหมดไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นสภาพจิตที่สละ ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น และถ้าเป็นสังฆทานก็คือว่า ในขณะนั้นจิตที่ให้ ให้ด้วยความนอบน้อมระลึกถึงคุณของพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้นไม่ใช่อย่างที่เราคิดที่ว่า จะต้องไปท่อง พอถึงสังฆทานก็บอกว่า ต้องพูดอย่างนี้ พูดทำไม ไม่รู้เรื่องใช่ไหม พูดกับไม่พูดต่างกันอย่างไร ในเมื่อเราไม่ได้เข้าใจอะไรเลย แต่ในขณะที่เรามีจิตนอบน้อมขณะใด ขณะนั้นเป็นสังฆทาน
ผู้ฟัง เรื่องสังฆทาน บังเอิญเร็วๆ นี้ใส่บาตรเช้าหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งได้แนะนำบอกว่า ทุกครั้งที่ใส่บาตรให้ครบ ๔ รูปขึ้นไป จึงเป็นสังฆทาน มีอยู่ในกฎเกณฑ์ด้วยหรือ
ท่านอาจารย์ ไม่มี ในพระไตรปิฎกไม่ได้บอกอย่างนั้น
ผู้ฟัง นี่พระสงฆ์เป็นผู้พูด
ท่านอาจารย์ คือจะเป็นใครก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้แล้ว แม้ผู้นั้นจะบอกว่า ได้ฟังจากพระโอษฐ์ เราก็ต้องพิจารณา เพราะฉะนั้นพระธรรมที่เป็นพระไตรปิฎกอรรถกถาคำอธิบายยังมีอยู่ ให้เรารู้ว่า คำไหนเป็นคำจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง แต่คำที่ไม่มีจริงๆ ไปหาดูในนั้น ไม่มี เพราะเหตุว่า ความจริงต้องเป็นจริง
ผู้ฟัง หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องมีกี่รูป
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น อยู่ที่สภาพจิตว่า เรามีความนอบน้อม
ผู้ฟัง ส่วนที่ว่า ๙ รูปคือ เป็นเรื่องของชาวบ้าน
ท่านอาจารย์ บางคนก็ไม่กล้า นิมนต์พระภิกษุ ๔ รูปไปที่บ้าน กลัวมากเลย เพราะเหตุว่า เวลาสวดศพอภิธรรม นิมนต์พระ ๔ รูป แต่ในพระไตรปิฏกมีอุบาสกที่นิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุ รวม ๔ รูปทั้งพระองค์ด้วย ไปรับภัตตาหาร ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย จำนวนนี้ เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เรางมงาย งมงาย คือ ไม่มีเหตุผล ที่เราจะตัดสินว่า อะไรงมงายคือว่า สิ่งนั้นไม่มีเหตุผลเลย ถ้าเราจะให้พระภิกษุรูปหนึ่ง จิตเราเป็นกุศล ถ้าเราจะให้พระภิกษุ ๒ รูป จิตเราก็เป็นกุศล ถ้าเราจะให้พระภิกษุ ๓ รูป จิตเราก็เป็นกุศล ทำไมต้องมา ๙ รูปถึงจะเป็นกุศล ไม่มีเหตุผลเลยนอกจากความเชื่อ
ผู้ฟัง ข้อนั้นเข้าใจ คือว่า ชาวบ้านถือเป็นมงคล
ท่านอาจารย์ มงคลคืออะไร มงคลมี ๒ อย่าง มงคลจริงๆ กับ มงคลตื่นข่าว
ผู้ฟัง มงคลตื่นข่าว
ผู้ฟัง คือดิฉันมีความปิติที่ว่า ณ ที่แห่งนี้ คือเกิด ส่วนมากคนจะมาเกิดที่โรงพยาบาลใช่ไหม และนึกถึงความแก่ เช่น มารับกายบำบัดบ้าง หรือว่าสายตาสั้น นี้แสดงถึงความชรา เกิด แก่ เจ็บก็แน่นอน เข้ามาโรงพยาบาลเสมอใช่ไหม และส่วนตาย ถ้ารักษาไม่หาย หรือว่าเป็นกรรมก็ต้องตายที่โรงพยาบาล เพราะฉะนั้น จุดนี้เป็นจุดที่น่าจะแสดงธรรมมาก แสดงให้เห็นถึงสภาวะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ คือรู้สึกไม่ได้ฟังธรรมอย่างนี้ เลยรู้สึกว่า กราบขอบพระคุณที่มีการจัดขึ้นที่โรงพยาบาล และการให้ธรรมเป็นทานนี้เป็นการให้อย่างสูงส่ง โดยเฉพาะได้มาฟังพระธรรมเพิ่มขึ้น นี้ก็เพราะว่า ทางโรงพยาบาลจัดขึ้น ขอกราบขอบพระคุณด้วย
ท่านอาจารย์ ขออนุโมทนา ไม่ว่าจะมีการสนทนาธรรมที่ไหน ก็เป็นประโยชน์ที่นั่น และโดยเฉพาะอย่างที่คุณบุษบงได้กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ว่า โดยเฉพาะถ้าเป็นที่โรงพยาบาล มีคนป่วย มีคนแก่ มีคนเจ็บ มีคนตาย เป็นที่ที่เรามองเห็นสัจจธรรม และถ้าได้มีการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นก็เป็นประโยชน์ คือถ้าเราเข้าใจธรรมจริงๆ และเราจะไม่มีการคิดเรื่องที่จะทำให้เราเกิดความทุกข์ เพราะเรารู้ว่า ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น ถ้าเราเกิดถูกใครทำร้าย ไม่โกรธแม้แต่คนที่ทำร้ายเรา เพราะเหตุว่า เป็นกรรมของเรานี้แน่นอนที่สุด ถ้าไม่ใช่กรรมของเราที่จะถูกทำร้าย เขาก็ทำร้ายเราไม่ได้ คงจะได้ทราบว่า มีการยิงผิดตัวบ้าง มีอะไรบ้างใช่ไหม นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ถึงเวลาที่กรรมจะให้ผลแล้ว ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าถึงเวลาที่กรรมจะให้ผล ไม่ต้องมีใครทำให้เลย เราตกกระไดเองก็ได้ ขับเครื่องบินไปเครื่องบินตกก็ได้ หรือว่า ตกภูเขาตกอะไรก็ได้สักอย่าง เป็นโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา แล้วทำไมเราไม่โกรธเวลานั้น แต่เวลาที่เราคิดว่า มีคนอื่นทำร้ายเรา เราโกรธ นี้แสดงให้เห็นว่า เรายังไม่เข้าใจเรื่องของกรรมจริงๆ แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องของกรรมว่า ทุกอย่างนี้ต้องเกิดขึ้นตามกรรมของเรา เราจะไม่มีความน้อยใจ ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความขุ่นใจว่า เพราะคนโน้นหรือเพราะคนนี้ จะไม่มีคำว่า เพราะคนอื่น แต่ว่าจะเป็นเพราะกรรมของเราเอง เพราะฉะนั้นที่เขาถามกันว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา แต่ทางธรรมจะต้องตอบว่า เพราะต้องเป็นเรา เพราะว่าเราทำเหตุ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงคราวที่จะได้รับผล ก็ต้องเกิดผล ซึ่งเมื่อเราทำมาแล้วก็ต้องเป็นเราที่จะได้รับ จะให้คนอื่นได้รับได้อย่างไร แล้วเราจะไม่ขุ่นเคืองคนอื่นเพราะว่า แล้วจริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะเขา แต่เป็นเพราะกรรมของเราจริงๆ เพราะฉะนั้นเราทุกคนในขณะนี้ ที่ยังสุขสบาย ไม่เดือดร้อนเพราะกุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว แต่เราจะเป็นผู้ที่ไม่ประมาทเพราะเหตุว่า เราก็ได้เคยทำอกุศลกรรมมาแล้วมาก ในชาติก่อนๆ นั้นก็พร้อมที่จะให้ผลได้ แม้แต่พระชาติสุดท้ายที่ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว อดีตกรรมก็ยังให้ผล พระผู้มีพระภาคเองก็ทรงประชวร ถูกท่านพระเทวทัตกลิ้งหินถูกพระบาท ห้อพระโลหิต นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกคนหนีกรรมไม่พ้น ยิ่งเห็นกรรมแล้วก็รู้ว่า คนอื่นทำร้ายเราไม่ได้เลย นอกจากกรรมที่ได้ทำมาแล้วให้ผล เราก็ยิ่งเป็นผู้ที่ไม่ประมาท แล้วก็จะเป็นผู้ที่กระทำกรรมดีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไม่เดือดร้อนกับใครเลย เมื่อเป็นกรรมดี ดีทั้งกับตนเอง และกับคนอื่นด้วย ผู้ที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ที่เชื่อเรื่องกรรม เพราะฉะนั้นตัดเรื่องมงคลตื่นข่าวไปได้ทั้งหมด บางคนบอกว่า ถ้าเห็นดอกประดู่บานวันแรกก็เอามาทัดหูแล้วก็จะโชคดี พอคนอื่นทำตามก็ขับรถชนเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าจะไปขึ้นอยู่กับดอกไม้หรือว่าชื่อของดอกไม้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับจิตใจ สภาพของจิต และการกระทำทางกายทางวาจา
ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ คือเท่าที่ท่านอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องความตาย ก็รู้สึกว่า ทุกคนเกิดมาแล้วก็ไม่พ้นเรื่องตาย แต่ก็มีข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งที่เป็นอนุสสติ ในเรื่องของมรณานุสสติ ให้พิจารณาหรือให้มีการระลึกถึงความตายบ่อยๆ เนืองๆ ตามความเป็นจริงแล้ว ถึงจะทราบว่า อย่างไรก็ต้องตาย แต่พอคิดถึงเรื่องความตายทีไร ทำไมจิตใจถึงเศร้าหมอง มันไม่เป็นกุศลเลย
ท่านอาจารย์ เพราะว่า มีการยึดมั่นในตัวตน ในบุคคล สิ่งของ ที่จะต้องพลัดพรากจากไปเพราะยังเป็นของเราอยู่
ผู้ฟัง จะมีคำแนะนำที่จะทำให้เกิดเป็นปกติได้ไหม
ท่านอาจารย์ คำแนะนำ คือ คำเก่าคำเดิม คำเก่าคำเดิมทุกคนคงทราบ ฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ให้เข้าใจ และเมื่อปัญญาเกิด ปัญญาก็ทำหน้าที่ของปัญญา เรื่องทำอย่างไรในพระพุทธศาสนานี้ตัดออกต้องเป็นการอบรมเจริญปัญญา และปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา ถ้าปัญญาไม่เกิด ทำไม่ได้ เอาอะไรไปทำหน้าที่ของปัญญา ไม่หวั่นไหวต่อความตาย นั้นต้องเป็นเรื่องของปัญญา ไม่ติดของในทรัพย์สมบัติ ในตัวตน ในสัตว์ บุคคล ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าปัญญาไม่เกิด จะทำอย่างไรก็ทำไม่ได้
ผู้ฟัง เรื่องของการคิดนึกเวลาที่เราคิดว่า ความตายเป็นของธรรมดา
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นปัญญาอีก ความคิด กุศลจิตคิดก็ได้ อกุศลจิตคิดก็ได้ เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ ขอให้เราพิจารณาจิตที่คิดว่า จิตที่คิดของเราในวันนี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล และเราก็บังคับไม่ได้อีก เพราะปัญญาคิดจะเป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้าโลภะถ้าคิดจะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าโทสะจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าโทสะคิด วันนี้ร้อนทั้งวันเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อนบ้านคนโน้นคนนี้ นั้นคือโทสะคิด ร้อนมาก ถ้าโลภะคิดก็ติดอยู่นั่น พรุ่งนี้จะทำอะไร เมื่อไหร่จะเป็นอย่างนี้ อย่างนั้นเป็นโลภะ แต่ถ้าปัญญาคิดจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าปัญญาไม่มีแล้วจะให้ปัญญาไปคิดได้อย่างไร ก็ต้องเจริญปัญญาก่อน เพราะฉะนั้นที่เราฟังพระธรรม ให้เข้าใจว่า เรากำลังเจริญปัญญา ให้ปัญญาเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่ชอบใช้คำว่า ใช้สติ ใช้ปัญญา เขาลืมคิด ไม่มีปัญญา ไม่มีสติ แล้วจะเอาอะไรมาใช้ เหมือนคนไม่มีเงิน คนมีเงินเขาบอกให้ใช้เงิน แต่ไม่มีเงินจะใช้ แล้วจะใช้อย่างไร ใช้เงินซื้อ ใช้เงินอะไรๆ ทุกอย่างแต่เงินไม่มี เพราะฉะนั้นบอกให้ใช้สติ ให้ปัญญา แต่ปัญญาไม่มี สติไม่มี จะใช้อย่างไร คนที่คิด คนที่เชื่อตามก็ใช้ใหญ่ แต่ไม่ใช่ปัญญาทั้งหมด เป็นตัวตน เป็นอวิชชา เป็นความไม่รู้ แต่ว่าถ้าคนที่รู้ความจริง ต้องรู้ว่า ปัญญาไม่มี ต้องเจริญปัญญาให้ปัญญาเกิด และปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา เหมือนกับเมตตา ไม่อยากโกรธ อยากจะมีเมตตา แต่โทสะโกรธ และเมตตาไม่เกิดแล้วบอกว่า ให้ใช้เมตตา ไม่ได้เจริญเมตตาให้เกิดให้เจริญขึ้น แล้วจะเอาเมตตาที่ไหนมาใช้ แต่ถ้าเจริญเมตตาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ไม่ต้องมีใครสั่ง พอเห็นคนอื่นก็มีความเป็นมิตรทันที พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลทันที และขอให้ทราบว่า ยิ่งคิดถึงคนอื่นยิ่งช่วยคนอื่นมากเท่าไหร่ ความเป็นตัวตนของเรา จะเล็กน้อยลงเท่านั้น ความทุกข์จะเบาบางมาก เพราะว่า วันหนึ่งๆ ไม่มีเวลาคิดถึงตัวเอง คิดถึงแต่คนอื่นที่จะทำประโยชน์ให้เขา ลืมตัวเองเมื่อไหร่เมื่อนั้นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนเลย วันหนึ่งหมดไปแล้ว ไม่ต้องนั่งคิดถึงตัวเอง นี้เป็นเรื่องของปัญญาที่คิด เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่มีปัญญา ก็อย่าไปใช้ปัญญา ไม่มีสติก็อย่าไปใช้สติ ไม่มีเมตตาก็อย่าไปใช้เมตตา อบรมค่อยๆ เจริญให้เกิดให้มีขึ้น และเขาก็จะทำหน้าที่ของเขา
ผู้ฟัง เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เรื่องของเพียร เพราะโดยมากเป็นตัวเป็นตนที่จะเพียร ถ้าโดยทางเข้าใจแล้ว ก็ต้องไม่ลืมคำว่า ไม่มีตัว ไม่มีตน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า วิริยเจตสิก ลักษณะที่เพียรเกิดกับกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ อย่างคนที่เขากำลังอยากจะเย็บเสื้อสวยๆ ใหม่ๆ พรุ่งนี้จะต้องใส่ เขาก็เพียรทั้งคืนได้ เย็บไปเถอะ แก้ไปเถอะ ทำอะไรไปเถอะ เพราะฉะนั้นความเพียรของทุกคนมี นั้นเป็นเพียรในอกุศล เพียรในกุศลทางกาย กำลังยืนอย่างนี้เพียรหรือเปล่า
ผู้ฟัง เพียรเพื่อจะฟังคำอธิบายให้เกิดความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพียรเดิน เพียรยืนด้วยใช่ไหม เพียงแค่ลุกขึ้นมา เพียรหรือเปล่า
ผู้ฟัง เพียร
ท่านอาจารย์ นี้คือความเพียรทางกายหรือเปล่า ไม่ใช่ให้ไปทรมานทำอะไรด้วยความต้องการ อยากจะเห็น อยากจะนั่ง อยากจะสบาย นั้นเป็นอกุศลทั้งหมด ไม่ใช่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นความรู้ถูก สำคัญมาก ต้องรู้จริงๆ ว่า ความรู้นั้นไม่ได้รู้อย่างอื่น ปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้อย่างอื่นเลย นอกจากขณะนี้ที่กำลังเห็น ประจักษ์แจ้งความจริงของขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังมีชีวิตปกติธรรมดา โลภะ โทสะ โลกนี้ คือโลก ทุกอย่างเป็นโลก เกิด ดับ นี้คือ สิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ ปัญญาต้องรู้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ความเพียรนั้นเป็นไปเพื่อเข้าใจสิ่งนี้ ขณะนั้นก็เพียรแล้ว เพียรนั่ง เพียรฟัง นี้คือความเพียรทางกาย ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่นที่ไม่รู้อะไรเลย และทำไปด้วยความพอใจ หวังว่าจะสบาย หวังว่าจะสงบ หวังอะไรไม่ทราบ แต่ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ความจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเพียรเพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้ ทุกคนนั่งตั้ง ๒ ชั่วโมงแล้วใช่ไหม เพียรไหม อาจจะหิวน้ำ อาจจะเมื่อย อยากจะเดินหรืออะไร แต่มีความเพียรที่จะฟัง เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเพียรทำอย่างที่เขาทำกัน คือ เพียรทำด้วยความเป็นตัวตน เพื่อความไม่รู้ และเพื่อความพอใจ เพื่อความสบาย แต่ไม่ใช่เพื่อปัญญา รู้สิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ คือเพียรเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง มีปัญหาเรื่องผู้ปฏิบัติธรรมกล่าวว่า ถ้าผู้ปฏิบัติยังข้องเกี่ยวกับบุญ และบาปอยู่ ผู้นั้นจะไม่พ้นไปจากความทุกข์ได้ ท่านอาจารย์ฟังแล้วมีความเห็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วต้องพิจารณาไปตั้งแต่ต้นเลย ได้ยินได้ฟังอะไรมาอย่าเพิ่งตามลิ่วไป ผู้ปฏิบัติคืออะไร แค่นี้ก็ต้องเข้าใจ และไม่ใช่พอเขาบอกว่า ผู้ปฏิบัติ เราก็ผู้ปฏิบัติไปด้วย เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติคือใคร ทำอะไรจึงชื่อว่าผู้ปฏิบัติ
ผู้ฟัง ผู้ปฏิบัติที่ยังข้องเกี่ยวกับบุญ และบาป
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ เอาคำว่า ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติคือใคร กำลังทำอะไรถึงได้ชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ
ผู้ฟัง คือขณะนั้นกำลังมีการพิจารณาหรือว่า ต้องการให้เกิดความสงบ
ท่านอาจารย์ นั้นก็ไม่พ้นความต้องการ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความต้องการ ถ้าจะสรุปจากคำนี้ คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อความต้องการ ไม่ใช่เพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้นถ้าใครใช้คำว่า ผู้ปฏิบัติอย่าเพิ่งตื่นเต้น และอย่าเพิ่งยอมรับว่า ผู้ปฏิบัติ เพราะยังไม่รู้เลยว่า ปฏิบัติอะไร ก็ปฏิบัติกันทั้งนั้น มีใครบ้างที่ไม่ปฏิบัติ แต่ว่า ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูก ปฏิบัติเพื่อโลภะ ความต้องการติดข้อง หรือปฏิบัติเพื่อปัญญาที่จะรู้สภาพธรรม แม้แต่คำคำเดียวกันที่จะพูดต้องรู้ว่า เราพูดเรื่องเดียวกันหรือพูดกันคนละเรื่อง เพราะคำว่า ผู้ปฏิบัติ เข้าใจกันว่าอย่างไร ผู้ปฏิบัติคือใคร ใครๆ ก็ปฎิบัติแต่ว่า ปฏิบัติถูกหรือปฏิบัติผิด และปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติเพื่อรู้หรือปฏิบัติเพื่อไม่รู้ ปฏิบัติเพื่อต้องการหรือว่า ปฏิบัติเพื่อละความต้องการ
ผู้ฟัง นี้คงเป็นเรื่องของคำพูด สำหรับความเป็นจริงคือว่า จะต้องมีการฟังพระธรรมให้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ต้องสะสาง ต้องเรียกว่า ต้องสะสางความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ความรู้ผิดๆ ที่เคยติดไว้ แกะออกทิ้งไปให้หมดแล้วถึงจะรับสิ่งที่ถูกได้เต็มที่
ผู้ฟัง ขอเรียนถามว่า การเจริญสติปัฏฐานเหมือนกับการเจริญวิปัสสนาไหม ถ้าเหมือน เหมือนกันอย่างไร ถ้าไม่เหมือน ไม่เหมือนกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจตั้งแต่คำว่า สติ เข้าใจคำว่า ปัฏฐาน เข้าใจว่า วิปัสสนา ถึงจะพูดได้ ถ้ายังไม่เข้าใจคำเหล่านี้ พูดกันก็ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง คำตอบเหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เหมือน แต่ว่า เหมือนคืออะไรก็ไม่รู้ เพราะยังไม่รู้ว่า คืออะไร ถ้าตอบคำเดียวว่า เหมือน แต่เหมือนอย่างไร อะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าเหมือน เพราะฉะนั้นพอใครบอกว่า นี่คือสติปัฎฐาน ด้วยความไม่รู้ เราก็คิดว่า ใช่ สติปัฏฐาน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่เมื่อเขาบอกว่า เหมือนก็เหมือน เพราะฉะนั้นเพียงคำพูดไม่พอ ไม่ทำให้เข้าใจ ที่ท่านเคยอุปมาไว้ว่า เหมือนคนตาบอดที่แสวงหาผ้าขาว และมีคนหนึ่งเอาผ้าดำไปให้คนตาบอด คนตาบอดก็ดีใจคิดว่า ได้ผ้าขาวผ่องสะอาด ส่วนคนตาดีก็รู้ว่า คนตาบอดไม่ได้ผ้าขาว ได้ผ้าดำ แต่ว่า คนตาบอดไม่รู้ต่างหากว่า เขาได้ผ้าดำ ส่วนคนตาดีนั้นรู้ว่า คนนั้นไม่ได้ผ้าขาว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเปรียบเหมือนผู้ที่รักษาคนตาบอด ให้มองเห็นตามความเป็นจริง ให้รู้ว่า ผ้าขาวคืออย่างไร ผ้าดำคืออย่างไร ไม่ใช่เพียงแต่ตามๆ ไป เพราะฉะนั้นถ้าจะตอบว่า เหมือนคนนั้นก็ยังไม่รู้อีก ใช่ไหม
ผู้ฟัง คำถามแผ่นที่ ๒ คำว่า สติเฉยๆ ต่างกับการเจริญสติปัฎฐานอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี้ก็เหมือนกัน ต้องเข้าใจสติก่อน และเข้าใจสติปัฎฐานก่อน ไม่อย่างนั้นเท่ากับว่า ต่างอย่างไรก็ยังไม่เข้าใจอีก เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจตามลำดับ วันนี้เข้าใจเรื่องโลกหรือยัง วันนี้เข้าใจอารมณ์หรือยัง วันนี้เข้าใจจิตหรือยัง วันนี้เข้าใจเจตสิกหรือยัง ถ้าเข้าใจ เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก ต้องค่อยๆ ขยับไปทีละน้อย แต่พอจะเดาได้ใช่ไหม ถ้าไม่ได้ ต้องกลับมาหาความต่างกันของจิต และเจตสิก เพราะเหตุว่า เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน แต่ทำไมธรรมหนึ่งเป็นจิต ส่วนธรรมอื่นๆ เป็นเจตสิก มีสภาพความจริงต้องเป็นความจริง ซึ่งมีลักษณะซึ่งสามารถจะค่อยๆ เข้าใจ และค่อยๆ พิสูจน์ได้
ผู้ฟัง กลับคำถามตอนแรกที่ได้เรียนถามอาจารย์ถึงลักษณะที่ต่างกัน ขอคำจำกัดความของท่านอาจารย์นิดหน่อยว่า ลักษณะของสติต่างกับความคิด
ท่านอาจารย์ สติคิดก็ได้ คิดด้วยสติก็ได้ เป็นกุศลได้ สติ จำไว้อย่างเดียว สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีที่เป็นคุณธรรม เพราะฉะนั้น สติต้องเป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในภาวนา ภาวนาที่นี้ไม่ใช่ท่องบ่น ภาวนาที่นี้คือ การอบรมจิต ให้ปราศจากอกุศลหรือว่าให้เจริญปัญญาขึ้น
ผู้ฟัง หมายความว่า สติก็คิดได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จิตที่คิดเป็นกุศลจิตต้องมีสติเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ส่วนความคิดเฉยๆ ที่ไม่ประกอบด้วยสติ
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่า คิดด้วยโลภะ โลภะคิด หรือโทสะคิด หรือกุศลจิตคิด ถ้ากุศลจิตคิดมีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้งที่เป็นกุศล
ผู้ฟัง เช่นตัวอย่าง
ท่านอาจารย์ คิดให้ทานหรือเปล่า
ผู้ฟัง เพียงแค่คิดเฉยๆ แต่ทานนั้นยังไม่สำเร็จ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นคิดเป็นกุศลหรือเปล่า
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นสติที่ระลึกเป็นไปในทาน
ผู้ฟัง อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ ก่อนที่จะถามท่านอาจารย์ในจุดว่า ความหมายของคำซึ่งเป็นเรื่องของเจตสิก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 2
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 3
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 4
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 5
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 6
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 7
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 8
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 9
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 10
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 11
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 12
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 13
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 14
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 15
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 16
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 17
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 18
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 19
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 20
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 21
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 22
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 23
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 24
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 25
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 26
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 27
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 28
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 29
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 30
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 31
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 32
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 33
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 34
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 35
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 36
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 37
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 38
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 39
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 40
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 41
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 42
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 43
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 44
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 45
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 46
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 47
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 48
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 49
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 50
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 51
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 52
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 53
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 54
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 55
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 56
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 57
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 58
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 59
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 60