ปกิณณกธรรม ตอนที่ 29
ตอนที่ ๒๙
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ
พ.ศ. ๒๕๓๖
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง เปิดมาแล้วก็ได้ฟังธรรมพอดี ตรงกับที่ดิฉันได้เปิดมาแล้วก็ได้ฟังธรรมของท่านอาจารย์พอดีเหมือนกัน อันนี้ขอยืนยันว่าเป็นความจริง
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็คือบุญในอดีต ผันให้เกิดการฟังหรือว่าทำให้ โสตปสาทกระทบกับเสียง
ผู้ฟัง เราได้กล่าวถึงคำว่า อโหสิกรรม และ ปัญญา ทางโลกก็เข้าใจกันไปอีกทาง จะมีอีกคำที่คิดว่าคำนี้ก็เป็นคำๆ หนึ่ง ที่ทำให้เข้าใจผิดแปลกไป ก็คือคำว่า วิญญาณ วิญญาณโดยทั่วไป ก่อนที่จะมาฟังธรรมของท่านอาจารย์ ก็เข้าใจว่าพอตายไป วิญญาณก็ล่องลอยไป ออกไป ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน แต่พอมาฟังอาจารย์แล้ว วิญญาณจะเกิดทั้ง ทางหู ทางตา ทางจมูก คือ ๖ ทางจะเกิดในแต่ละขณะ ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ลิ้มรส ถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะเหตุว่า ที่ว่าเราเข้าใจธรรม หรือคำที่ใช้กันเอาเองโดยที่ไม่ได้ศึกษาก็เข้าใจผิด เพียงวิญญานก็คิดว่าต้องออกจากร่างเวลาตาย แต่เขาไม่รู้เลยแท้ที่จริงแล้วจะเรียกว่า วิญญาณ หรือจะเรียกว่า จิต ความหมายอันเดียวกัน คือเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้
ผู้ฟัง ถ้าพูดละเอียดขึ้นมาทางตา ที่จะเห็น ก็ต้องเป็นวิญญาณ ที่บอกว่าเกิดขึ้นตานี้เราจะเรียกว่า จักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ หมายความว่า จิตรู้โดยอาศัยตา ถ้าไม่มีตาแล้วเห็นไม่ได้ เป็นจิตก็จริง กำลังนอนหลับไม่เห็น เป็นจิตก็จริงกำลังคิดนึกไม่เห็น เพราะฉะนั้นเป็นจิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งต้องอาศัยตา จึงจะเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ ถ้าทางหูก็เป็นจิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยโสตปสาท จึงเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะเหตุว่าถ้าโสตปสาทไม่มี จิตได้ยินเสียงก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยของจิตที่จะเกิดขึ้นแต่ละขณะ ต้องอาศัยสภาพที่เป็นปัจจัยเฉพาะของจิตนั้นๆ
ผู้ฟัง ความหมายของ วิญญาณ กระจ่างแจ้งขึ้น ทางกายปสาท หมายถึง ปสาททั้งร่างกายจะมีอยู่ทั่วตัวใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ซึมซาบอยู่ทั่วตัว เว้นส่วนซึ่งไม่สามารถจะรับกระทบกับสิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง เช่นอะไร
ท่านอาจารย์ เวลาที่ชา หรือปลายผม ปลายเล็บ
ผู้ฟัง นั่นคือไม่มีไม่มีกายปสาท
ท่านอาจารย์ ส่วนใดที่ไม่มีกายปสาท ส่วนนั้นก็ไม่กระทบกับสิ่งที่กระทบกาย
ผู้ฟัง ถ้าเรายังฉีดยา เข็มมาถูกที่กาย คือกระทบกับกายปสาท แล้วในขณะนั้นก็มีวิญญาณเกิดขึ้นด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงวิญญาณคือจิต ไม่เคยขาดไปเลยสักขณะเดียว ตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วแต่ว่าจิตขณะไหน ทำกิจอะไร ทำหน้าที่อะไร อย่างกำลังนอนหลับสนิท จิตทำกิจภวังค์ ภวังค์คือดำรงค์ภพชาติ ยังไม่ให้ตาย ต้องตื่นอีก เห็นอีก ได้ยินอีก เพราะฉะนั้นตอนที่ตื่น และตอนที่หลับ ต่างกันโดยกิจ แต่ว่าต้องเป็นจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อ แล้วทำหน้าที่ต่างๆ กัน
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงภวังคจิต ขณะที่เกิดนั้นจะเป็นลักษณะยังไง
ท่านอาจารย์ ไม่รู้อารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นอนหลับสนิท เป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้
ผู้ฟัง โลกุตตรปัญญา อาจารย์ยังไม่ได้อธิบาย เผื่อเราจะถึงโลกุตตรปัญญา จะได้ถึง นิพพาน
ท่านอาจารย์ เผื่อไม่มี มีแต่เหตุกับผล เหตุ กับ ผล คือขณะนี้ทางตามีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้ายังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่มีทางที่จะรู้นิพพาน เหมือนกับเราไปพูดให้คนหูหนวกเรื่องเสียง เขาก็ไม่มีทางที่จะได้ยินเสียง หรือไปพูดเรื่องสีสันวรรณะ ต่างๆ ให้คนตาบอด เขาก็ไม่มีทางที่จะเห็น เพราะฉะนั้นต้องรักษาหู รักษาตาจากบอดให้เป็นดีก่อน และถึงสามารถที่จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงได้ ก่อนจะถึงนิพพาน จิตมี รู้ความจริงของจิตหรือยัง เจตสิกมี รู้ความจริงของเจตสิกหรือยัง รูปมีรู้ความจริงของรูปหรือยัง นี่คือกำลังรักษาตาที่บอด ให้ตาดี ให้เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ต้องเป็นโลกียปัญญาก่อน ก่อนที่จะถึง โลกุตตรปัญญา
ผู้ฟัง อาจารย์ยกตัวอย่าง อายตนะ อย่างงั้นคนตาบอดก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะ
ท่านอาจารย์ ที่จะเห็น
ผู้ฟัง อย่างเดียว รู้ธรรม ได้ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าเขาไม่ตาบอดตั้งแต่กำเนิด เขามีโอกาสจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถ้าเขาเกิดมาประกอบด้วยปัญญา เพราะว่าคนในโลกนี้เกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเป็นคนปัญญาอ่อน จะบอกว่าคนปัญญาอ่อนจะรู้นิพพานได้ไหม ไม่ได้เพราะเหตุว่าจิตของเขาขณะที่เกิดไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นการเกิดของเรา เป็นผลของกรรมที่ต่างกัน กรรมที่เราทำ เวลาที่เราให้ทาน ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ รักษาศีลก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่ขณะที่เรากำลังฟังพระธรรม เป็นกรรมชนิดหนึ่ง เป็นกุศลกรรม เป็นกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา ขณะใดที่กำลังเข้าใจถูกต้อง ขณะนั้นเป็นปัญญา ไม่ใช่เราเป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิต ทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นกุศลประเภทที่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นถ้ากุศลนี้ให้ผล ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด จิตที่ปฏิสนธินั้น จะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ทำให้ผู้นั้น เมื่ออบรมเจริญปัญญาขึ้นสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่ถ้าเป็นผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เช่นผลของทาน ผลของศีล ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัญญา ปฏิสนธิจิตของผู้นั้นเวลาที่เป็นผลของกรรมนั้นก็ทำให้เป็นปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นเขาฟังธรรมได้ เขาค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาได้ แต่ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นก็ต้องมีเหตุผลด้วย ไม่ใช่ทุกคนจะเหมือนกันหมด ต้องเป็นไปตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว และเหตุก็ต้องสมควรกับผลด้วย จิตเป็นสภาพที่เกิดดับ เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหลาย สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยงเกิดขึ้น และดับไป เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่จิตดวงเดียว จิตเกิดดับ ทำกิจต่างๆ กันแต่ละขณะ อย่างเวลาที่เป็นภวังค์ หมายความว่า ขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ฝันไม่คิดนึก แต่ว่ายังไม่ตาย เพราะเหตุว่าจิตขณะนั้นเกิดแล้วก็ทำเพื่อภวังคกิจคือดำรงภพชาติ หลังจากที่ตื่นก็รู้ว่าไม่ตาย ไม่ใช่ว่าเป็นภพใหม่ชาติใหม่ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า จิตไม่ใช่มีชนิดเดียว มีหลายประเภทแล้วก็ต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย เช่นจิตเห็นต้องอาศัย จักขุปสาท ถ้าไม่มีจักขุปสาท จิตเห็นก็เกิดไม่ได้ จิตได้ยินก็เป็นจิตอีกชนิดหนึ่ง อีกประเภทหนึ่ง ไม่ใช่จิตได้ยินมาเห็น เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตจะได้ยินเกิดขึ้น แม้ในขณะนี้ เป็นเพียงธาตุรู้แสียง ซึ่งต้องอาศัยโสตปสาท และเราใช้คำภาษาไทยว่า จิตได้ยิน แต่ถ้าเป็นภาษาบาลี โสตวิญญาณจิต คือจิตที่รู้โดยอาศัยหู ตรงๆ ตามธรรมชาติของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะที่จิต เจตสิก รูป เกิดดับ ในขณะนั้นไม่ใช่นิพพาน จิตคือจิต เจตสิกคือเจตสิก รูปคือรูป จะเป็นนิพพานไม่ได้ จิตเ จตสิก รูปไม่ใช่นิพพาน กำลังหลับก็เป็นจิต ไม่ใช่นิพพาน
ผู้ฟัง จิตเกิดดับ เป็น สันตติ ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นสังขตธรรม
ผู้ฟัง เป็นสังขตะ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง จิตหรือเจตสิก เป็น สังขตะ
ท่านอาจารย์ จิต และเจตสิก และรูปทั้ง ๓ อย่าง ในปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูปเกิดดับ เป็นสังขตธรรม สภาพธรรมใดก็ตามซึ่งเกิดดับ ภาษาบาลีใช้คำว่าสังขตธรรม เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย นิพพานเป็นอสังขตะ ไม่เกิดไม่ดับ และสำหรับ จิต เจตสิก รูป ต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เป็นสังขารธรรม สำหรับนิพพานนั้นเป็นวิสังขารธรรม นี้คือแสดงความต่างของปรมัตถธรรม ๔ ว่าปรมัตถธรรมที่เป็นโลก เป็นโลกียะ เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดดับมี ๓ ชนิดคือ จิต เจตสิก รูป ส่วนนิพพานนั้นเป็นปรมัตถธรรม แต่เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับสังขตธรรม ไม่เกิดขึ้น ไม่ดับไป ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น นิพพานไม่ใช่จิต โลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ รู้ประจักษ์แจ้งในลักษณะของนิพพาน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโสตาปัตติมัคคจิต โสตาปัตติผลจิต ซึ่งเมื่อประจักษ์แจ้งของนิพพานแล้ว ดับกิเลสแล้ว ผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน เวลาที่สกทาคามิมัคคจิต สกทาคามิผลจิต เกิดมีนิพพานเป็นอารมณ์ เวลาที่ประจักษ์แจ้ง อริยสัจจธรรม ดับกิเลสขั้นของพระสกทาคามี ผู้นั้นก็เป็น พระสกทาคามีบุคคล และอีกระดับหนึ่งก็คือ เมื่อประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ อนาคามิมัคคจิต อนาคามิผลจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ จึงดับกิเลสขั้นของพระอนาคามีบุคคล และบุคคลนั้นก็เป็นพระอนาคามีบุคคล จนกระทั่งในที่สุดดับกิเลสหมดไม่เหลือด้วยอรหัตตมัคคจิต อรหัตตผลจิต ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ บุคคลนั้นก็เป็นพระอรหันต์ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมต้องเป็นลำดับขั้น เพราะกิเลสมีมาก ก็ดับกิเลสเป็นขั้นๆ กว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ต้องมีการรู้แจ้งสัจจธรรมถึง ๔ ขั้น
ผู้ฟัง ขอบพระคุณอาจารย์ ทุกคนก็ได้ฟัง ถ้าเข้าใจอย่างที่อาจารย์พูด ผมก็พอใจแล้วสำหรับที่มาวันนี้ แต่ว่า คุณจะทำนิพพานอารมณ์ให้มันตลอดหรือต่อเนื่อง ตรงนี่แหละ
ท่านอาจารย์ ทำไม่ได้ ใช้ไม่ได้ มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัจจัยสำคัญมาก อย่างเวลาเห็นสิ่งที่น่าพอใจ มีปัจจัยที่จะให้ทุกคนเป็นโสมนัสเวทนา ความรู้สึกสบายใจ ดีใจ เห็นดอกไม้สวยๆ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่น่าพอใจ ขณะนั้นโทมนัสเวทนาจะไม่เกิด แต่ถ้าขณะใดที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ จะไปยับยั้งไม่ให้ โทมนัสเวทนาเกิดก็ไม่ได้ จะต้องมีความขุ่นเคืองใจ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นรูปต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะไปเกิดเอง ไปทำ ไปใช้ ไม่ได้เลย ไม่มีใครทำ จักขุปสาท ไม่มีใครทำเห็น ไม่มีใครทำได้ยิน จิตเกิดขึ้นทำกิจเห็น หน้าที่ของจิตคือเห็น จิตเกิดขึ้นทำกิจได้ยิน นั่นคือหน้าที่ของจิตได้ยิน ซึ่งจิตอื่นก็ทำหน้าที่นี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะมีใครไปใช้อะไรไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่มีตัวตนที่จะใช้ สภาพธรรมทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นเราจะต้องทราบความเป็นอนัตตาว่า ถ้าเป็นอนัตตาแล้ว อนัตตาจริงๆ คือไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย เราจะต้องค่อยๆ เข้าใจความหมายของอนัตตาตามลำดับ ต้องเข้าใจความหมายว่าสภาพธรรม เกิดจากเหตุปัจจัยจริงๆ เมื่อนั้นจึงจะไม่มีเรา แต่ถ้ายังคิดว่าจะทำ จะใช้อยู่ ก็ยังมีตัวตน ยังมีความเป็นเรา ซึ่งไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งจะเป็นเราได้ ทุกอย่างเกิดขึ้น มีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ แม้แต่เวทนา ความรู้สึกก็มีถึง ๕ อย่าง ความรู้สึกดีใจโสมนัสอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เราไม่ได้ดีใจอยู่ตลอดวัน เราไม่เป็นสุขอยู่ตลอดวัน สภาพธรรมที่โทมนัส เสียใจ ขุ่นใจ ไม่สบายใจ ก็ไม่ใช่มีอยู่ตลอดวัน แล้วแต่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สภาพธรรมที่เป็นอุเบกขาเวทนา เฉยๆ เราจะไปบังคับให้เปลี่ยนเป็นดีใจก็ไม่ได้ เปลี่ยนเป็นเสียใจก็ไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เอุเบกขาเวทนาจะเกิด อุเบกขาเวทนาก็เกิด แล้วก็ดับก็ไม่เที่ยง ต้องเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมแต่ละอย่าง กว่าเราจะเห็นจริงๆ ว่าไม่มีเราที่จะใช้ หรือจะทำอะไรเพราะเหตุว่าไม่มีตัวตนจริงๆ ถ้ายังมีตัวตนก็เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดอย่างหนึ่ง ในบรรดาความเห็นผิดเยอะแยะมากมาย ถ้าจะเข้าใจคำว่าอนัตตา ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ถ้าจะเข้าใจคำว่าเหตุปัจจัย ก็ต้องเข้าใจจริงๆ โดยถ่องแท้ ไม่ใช่เดี๋ยวเป็นตัวเรา เดี๋ยวเป็นปัจจัย เดี๋ยวเป็นอนัตตา เดี๋ยวเป็นอัตตา อย่างนั้นแสดงว่าไม่เข้าใจความหมายของคำนั้นโดยถ่องแท้ ถ้าโดยถ่องแท้ อนัตตาก็คืออนัตตาล้วนๆ เราจะบังคับกายของเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าก็ไม่ได้ ดิฉันมีหลาน อายุไม่มาก เป็นคนที่มีผมดำสวย แต่เสร็จแล้วเขาก็เป็นโรคที่ทำให้ผมร่วงหมด บังคับไม่ได้เลย แล้วแต่เหตุปัจจัย จะไม่ให้ความรู้สึกชนิดหนึ่งชนิดใดเกิดก็ไม่ได้ เวลาเป็นอย่างนั้นก็ต้องมีความโทมนัส มีความเสียใจ เวลาที่ผมจะขึ้นมาสักเส้นสองเส้นก็ดีใจ ก็บังคับไม่ได้อีกเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกของใครก็บังคับไม่ได้ ไม่ว่าจะเสียใจ ดีใจ ก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ต้องเข้าใจถึงความเป็นอนัตตา ต้องเข้าใจถึงเหตุปัจจัย แล้วก็จะรู้ว่าไม่มีเรา ไม่มีตัวตน ถ้ามีเรา มีตัวตน จะมีความทุกข์ ทุกอย่างเพื่อเราต้องการให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อไม่ได้ก็เกิดโทมนัสเสียใจ แต่ถ้ารู้ว่าทุกอย่างจะเกิดขึ้นแม้แต่เห็น ก็ต้องอาศัยจักขุปสาทรูป ซึ่งกรรมเป็นปัจจัยทำให้เกิด เราจะทำให้จักขุปสาทรูปเกิดก็ไม่ได้ กรรมทำให้จักขุปสาทรูปเกิด กรรมทำให้เห็น ต่างวาระว่าขณะไหนเห็นดี ขณะไหนเห็นไม่ดี ก็เป็นไปตามกรรม ขณะใดที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจ ก็เป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลกรรม ขณะใดที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรมตรงตัว ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาจริงๆ เพราะว่าทุกคนอยากมีแต่ความสุข ทุกคนอยากจะเห็นแต่สิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี แต่ชีวิตก็เลือกไม่ได้ แล้วแต่ว่าวันไหน ขณะไหน ย่อยจากวันเป็นขณะจิต จะเห็นชัดว่าแต่ละขณะแล้วแต่กรรม อยู่ด้วยกรรม เป็นไปตามกรรม สมกับคำในภาษาไทยที่เราใช้ ถึงแก่กรรม เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว ใครก็จะไปให้มีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้ เพราะว่าถึงการสิ้นสุดของกรรม และคนนั้นก็เป็นไป ตามยถากรรมคือกรรมของตนที่ได้กระทำแล้ว ไม่ใช่คนอื่นจะมาดลบันดาลให้ เราจะเข้าใจคำว่าอนัตตาขึ้นในชีวิตประจำวัน และเราก็จะรู้ในสภาพของธรรม ซึ่งเกิดดับ ซึ่งเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้น และดับไป และก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ต้องเข้าใจสิ่งที่มีอยู่ก่อนให้ชัดเจน ปัญญาต้องเพิ่มขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้งจริงๆ ไม่ใช่เพียงประมวลความคิดจากสิ่งนั้น สิ่งนี้แล้วเข้าใจว่านิพพานคืออย่างนั้นอย่างนี้ เพราะเหตุว่านิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิกไม่ใช่รูป จิตเป็นจิต ไม่ใช่เจตสิก เจตสิกเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต ไม่ใช่รูป นิพพานเป็นนิพพาน ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่จิต
ผู้ฟัง มีความรู้สึกอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มีความรู้สึกว่า ถ้าเราไม่คิด จะปล่อยให้มันเป็นเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยไปวันๆ หนึ่ง ถ้าหากว่าเราสร้างเหตุปัจจัยดี ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จะต้องดี อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีเราที่จะสร้าง แต่ว่ามีความรู้เรื่องปัจจัย อย่างความรู้เรื่องการฟังธรรม เรารู้เลย หนึ่งได้ยินได้ฟังสิ่งซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ธรรมต้องเป็นสิ่งซึ่งเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ก่อนการตรัสรู้แราได้ยินสารพัดเรื่องจากครูทั้งหลาย ในสมัยโน้น มักขลิโคศาล สญชัยเวลัฏฐบุตร อะไรหลายอาจารย์ แต่ยังไม่เคยฟังธรรม ที่เราไม่เคยฟังมาก่อน ก่อนการฟังธรรม เราจะฟังเรื่อง และความประพฤติชั่ว ทำความดี รักษาศีลก็เท่านั้นเอง แต่ไม่มีคำสอนซึ่งเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เรื่องจิตซึ่งเกิดดับ เรื่องเจตสิกซึ่งเป็นสภาพที่เกิดกับจิต เรื่องรูปซึ่งเกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือกรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง อาหารบ้าง เรื่องนิพพาน เราก็ไม่เคยรู้มาเลย เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ทำให้เราได้ยินได้ฟังสิ่งซึ่งเราไม่เคยได้ฟังมาก่อน เพราะฉะนั้นเราเริ่มเห็นประโยชน์ของการฟัง และเรารู้ว่าปัจจัยของการที่จะให้ปัญญาเกิด ก็คือการฟัง ถ้าไม่มีการฟัง และจะให้เราคิดเอง นึกเอง เป็นไปไม่ได้ ต้องผิดเพราะว่าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้มีปัญญาบารมีมา ที่จะตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเกิดจนตายก็เห็นทางตา แต่ไม่เคยรู้ความจริง เพราะฉะนั้นเราถึงเห็นประโยชน์ของการฟัง และเรารู้ว่าปัญญาจะเจริญขึ้นเพราะฟัง จึงได้ฟัง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะทำอย่างนั้น เราจะทำอย่างนี้เพื่อจะให้ปัญญาเกิด แต่เพราะเรารู้ปัจจัยว่า ปัญญานั้นต้องอาศัยการฟัง และการฟังไม่ใช่การได้ยิน เพราะว่าการได้ยินแต่ไม่ฟังก็ได้ ได้ยิน ก็ได้ยินก็ผ่านไป แต่ฟังต้องคิด ต้องพิจารณาในเหตุผลว่าถูกต้อง เป็นความจริงไหม พิสูจน์ได้ไหม ขณะนี้เป็นความจริงอย่างนั้นหรือเปล่า นี้คือการฟัง แต่ว่าการฟังที่ถูกต้องยิ่งกว่านั้นก็คือ ต้องประพฤติปฏิบัติตามด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ฟังเท่านั้น เพราะฉะนั้นการอบรมจิตใจ ก็จะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นจริงๆ เราได้ฟังเรื่องโลภะเป็นสิ่งซึ่งนำความทุกข์มาให้ ความติดข้อง ไม่ว่าเราอยากได้อะไร หรือต้องการอะไร ให้ทราบว่าในขณะเป็นทุกข์จริงๆ ถ้าเพียงไม่ต้องการ จะสุขสักแค่ไหน เบาสบายทันที ไม่ต้องไปแสวงหา ไม่ต้องไปเก็บรักษา ไม่ต้องมาประคับประคอง ไม่ต้องมานั่งหวง นั่งหยิบขึ้นมาดูวันละหลายๆ ครั้งว่ายังอยู่หรือเปล่า ก็แสดงให้เห็นว่าเราเริ่มจะเห็นโทษของสิ่งที่มีโทษจริงๆ แต่ยังละไม่ได้ นี่คือความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า การฟังธรรม เพื่อให้เรารู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง แม้ว่ายังไม่สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตาม คือละ เพราะเหตุว่าตัวตนละไม่ได้ อวิชชาละไม่ได้ อกุศลละกิเลสไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นเราก็รู้ปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญญาว่า ต้องอาศัยการฟัง และการฟังวันนี้กับอีก ๒๐ ปีข้างหน้าจะผิดกัน จะมีความเข้าใจที่เร็วขึ้นถูกต้อง ละเอียดขึ้น เหมือนคนที่ฟังมาแล้ว ๒๐ ปี กับคนที่เพิ่งเริ่มฟัง การฟังของเขาก็ต้องผิดกันสำหรับคนที่ฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรองแล้วก็เห็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัย โดยที่ว่าไม่มีใครไปบังคับหรือว่าไปทำอะไรได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 2
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 3
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 4
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 5
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 6
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 7
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 8
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 9
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 10
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 11
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 12
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 13
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 14
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 15
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 16
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 17
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 18
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 19
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 20
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 21
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 22
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 23
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 24
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 25
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 26
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 27
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 28
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 29
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 30
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 31
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 32
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 33
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 34
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 35
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 36
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 37
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 38
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 39
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 40
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 41
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 42
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 43
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 44
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 45
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 46
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 47
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 48
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 49
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 50
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 51
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 52
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 53
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 54
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 55
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 56
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 57
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 58
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 59
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 60