ปกิณณกธรรม ตอนที่ 49
ตอนที่ ๔๙
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสภาพธรรมปรากฏให้ศึกษาให้เข้าใจ แล้วเราจะบอกว่า เราเข้าใจธรรมได้ไหม เข้าใจธรรมอะไร นึกเอาคิดเอาหรืออย่างไร ในเมื่อสภาพธรรมที่มีจริงๆ ขณะนี้ไม่ได้เข้าใจ
ผู้ฟัง จิรกาลภาวนาในกายคตาสติ ทำอย่างไร มันทำไม่ได้ตลอด และจะมีผลได้สักเท่าไหน
ท่านอาจารย์ จะทำหรือว่า จะเข้าใจ
ผู้ฟัง ทั้งทำ และทั้งเข้าใจด้วย
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ขณะที่ทำเข้าใจหรือเปล่า เข้าใจอะไรขณะที่ทำ
ผู้ฟัง เข้าใจว่า อย่างกาเยกายานั้น
ท่านอาจารย์ ทำอะไร
ผู้ฟัง เราใช้สติ
ท่านอาจารย์ ใช้สติได้หรือ มีสติที่ไหนที่จะใช้ สภาพธรรมเกิดแล้วดับเร็วมาก แต่ละขณะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ และจะไปใช้สติเมื่อไหร่ มีสติตรงไหนที่จะใช้ เรากำลังศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจว่าไม่มีเรา ศึกษาให้เข้าใจว่า ถ้าไม่มีนามธรรมคือ จิต เจตสิกเกิด มีแต่รูปธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลเกิด เป็นแต่เพียงรูปเกิด แต่ขณะใดที่มีจิตเจตสิกเกิดเป็นสภาพรู้ พร้อมทั้งในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องมีรูปเกิดร่วมด้วย เกิดพร้อมกันในขณะปฏิสนธิ ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นจิตเจตสิกรูป คือไม่ว่าจะศึกษาตอนไหน ตรงไหน ก็คือสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นในขณะที่เกิดนั้น ตั้งใจจะเกิดตรงนี้ ครอบครัวนี้ วงศาคณาญาตินี้ ได้ไหม ไม่ได้เลย เพราะว่าการเกิดเป็นผลของกรรม จิตที่เกิดเราแบ่งจิตออกเป็น กุศล อกุศล ซึ่งเป็นเหตุ และวิบากซึ่งเป็นผล เพราะฉะนั้น กุศลวิบากเป็นผลของกุศล อกุศลวิบากเป็นผลของอกุศล ปฏิสนธิจิตเจตสิกขณะนั้นเป็นวิบากจิต และเจตสิกเป็นผลของกรรมหนึ่งที่ทำให้เมื่อจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อทันที นี้ไม่ใช่เรา เป็นสภาพของวิบากจิตซึ่งเลือกไม่ได้เลย และเมื่อวิบากจิตเกิดขึ้นแล้ว ก็จะดับแล้วก็มีจิตเกิดดับสืบต่อโดยอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย คือจิต สภาพของจิตเป็นปัจจัย ตัวจิตเป็นปัจจัย ทันทีที่จิตดับต้องเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ ซึ่งเราเรียนมาแต่เราไม่เคยใช้คำว่าปัจจัย แต่ถ้าเราเข้าใจเริ่มเข้าใจปัจจัยตั้งแต่ต้น การที่สภาพนามธรรมหนึ่งเกิด และดับไป เป็นปัจจัยให้นามธรรมอื่นเกิดสืบต่อ เป็นโดยอนันตรปัจจัย ความหมายว่าไม่มีระหว่างคั่น เกิดดับสืบต่อ และด้วยดีตามลำดับขั้นด้วย คือไม่ก้าวก่ายสับสน เป็นสมนันตรปัจจัย เพราะฉะนั้นจิตทุกขณะเป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ไม่ใช่เรา เริ่มเห็นความเป็นปัจจัยแล้ว เริ่มเข้าใจว่าเพียงชั่วหนึ่งขณะจิต ซึ่งเกิด และดับ เร็วแค่ไหน เพราะขณะนี้ถ้าพูดถึงรูปๆ หนึ่ง มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ระหว่างเห็นกับระหว่างได้ยิน จิตเกิดดับเกิน ๑๗ ขณะ รูปดับแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าไปคิดถึงจิตซึ่งสั้นกว่านั้นอีก สั้นกว่าอายุของรูป ชั่วหนึ่งขณะจิตจะเกิดดับเร็วแค่ไหน แต่ต้องมีปัจจัย และเราเริ่มเข้าใจกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยให้วิปากจิตเกิดขณะที่เกิด และเป็นวิบากเป็นผลของกรรม และตัวจิตเองก็เป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัยที่ทันทีที่จิตนั้นดับก็ทำให้จิตขณะต่อไปเกิด ทำกิจภวังค์ไม่ใช่ทำกิจปฏิสนธิ เพราะว่า ปฏิสนธิกิจหมายความถึงกิจที่สืบต่อจากจุติจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อทำกิจปฏิสนธิสืบต่อแล้วดับ แต่การดับไปก็ทำให้ภวังคจิตคือขณะต่อไปเกิดสืบต่อดำรงภพชาติทำกิจภวังค์ คือไม่ให้ถึงการตายโดยจุติ ถ้ายังไม่สิ้นผลของกรรมที่จะทำให้เป็นบุคคลนั้น หรือว่าระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เวลาที่เป็นภวังค์ก็ดำรงความเป็นบุคคลนั้นจนกว่าจะมีการเห็นซึ่งเป็นวิบากของกรรมหนึ่งกรรมใด ทำให้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นวิบาก ทำให้จิตได้ยินเกิดขึ้นเป็นวิบากจิต หรือทำให้ได้กลิ่นเป็นวิบากเกิดขึ้น ทำให้มีการรู้รสหรือลิ้มรสเป็นวิบากเกิดขึ้น ทำให้มีการรู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส ในขณะนี้เกิดขึ้น นี้เป็นวิบาก แต่ก็จะเห็นว่าคนเราจะมีเพียงแค่วิบากไม่ได้ ทันทีที่เห็นก็มีชอบไม่ชอบ
การศึกษาจิตโดยละเอียดทั้งหมดเพื่อเข้าใจว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่จะทำ ถ้ามีความคิดว่าจะทำเป็นเราแน่นอน และทำได้ไหม จะทำอะไร จะทำจิตขณะไหน จะทำจิตดวงไหน จะเอาสติที่ไหนมาใช้ ไม่มี เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับรวดเร็ว เป็นอนัตตา เกินกว่าที่ใครจะยับยั้งได้ เพียงแต่ว่าการศึกษายิ่งเข้าใจ ยิ่งรู้ว่า เป็นการรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ คำว่ากายานุปัสสนา อนุปัสสนา (รู้ตาม) ตามอะไร ตามสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่า สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก แต่ว่าสิ่งใดที่เพียงปรากฏทั้งๆ ที่ผู้ที่ตรัสรู้ รู้ว่าเกิดดับเร็ว แต่เมื่อสภาพธรรมปรากฎ ให้รู้ ก็ศึกษาให้รู้สิ่งที่ปรากฏ เพื่อที่จะรู้ความไม่ใช่เราของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น เลิกคิดที่จะทำได้ไหม หรือยังคิดที่จะทำ ถ้าเข้าใจว่าไม่มีเรา และก็เป็นธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นจิต ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทหนึ่งไม่ใช่วิถีจิต ไม่ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็รู้อารมณ์เช่น ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็ขณะใดที่เห็นคืออาศัยตา ขณะที่ได้ยินคืออาศัยหู ขณะที่ได้กลิ่นคืออาศัยจมูก ขณะที่ลิ้มรสก็อาศัยลิ้น ขณะที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็อาศัยกาย ขณะที่คิดนึกก็อาศัยใจ ซึ่งเกิดก่อนเป็นทวารทำให้นึกคิดเรื่องที่กำลังคิดอยู่ในขณะนี้ ก็ไม่มีเราเลยทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อทำ ยังคิดที่จะทำไหม ถ้าทำ จะทำอะไร แล้วจะเอาอะไรมาทำ เมื่อสักครู่ว่าจะเอาสติมาทำ เป็นไปไม่ได้เลย จะเอาสติที่ไหนมาทำ
ผู้ฟัง เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจในจุดนี้ การดำเนินในการปฏิบัติธรรมจึงไม่รู้ว่าจุดไหนควรจะทำจุดไหนไม่ควรจะทำ
ท่านอาจารย์ นี่เพราะเหตุว่าเราไม่ได้ศึกษา เรากล่าวว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ มีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เรามีความเข้าใจว่า ไม่มีผู้ใดจะเลิศกว่าพระองค์ เป็นผู้ที่ตรัสรู้ความจริงซึ่งรู้ยาก ต้องบำเพ็ญพระบารมีมานานแสนนาน กว่าจะรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ได้ตามปกติธรรมดาอย่างนี้ มีความเคารพเลื่อมใสถึงพระองค์เป็นสรณะ แต่ต้องถึงโดยการศึกษาธรรม ถ้าไม่ศึกษาธรรมจะไม่รู้เลยว่า พระพุทธเจ้าเป็นยังไง รู้อะไร มีพระบริสุทธิคุณอย่างไร มีพระมหากรุณาคุณอย่างไร ๔๕ พรรษาที่ทรงแสดงธรรม ทรงแสดงเรื่องอะไร ให้คนฟังเกิดปัญญาของคนฟังเองที่จะรู้อะไร ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ต้องมีพระธรรมเป็นสรณะจริงๆ คือศึกษาปริยัติ เพื่อที่จะมีปัจจัยให้สภาพธรรมเกิดขึ้น ทำกิจปฏิปัตติ เพราะว่าถ้าศึกษาภาษาบาลีจะทราบว่า ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปัตติแปลว่า ถึง เพราะฉะนั้น ปฏิปัตติ คือ สติที่เกิดระลึกรู้เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งที่กำลังปรากฏ เพื่อศึกษาเพื่อเข้าใจถูก แต่คนไทยใช้คำว่า ปฏิบัติ หมายความว่า ทำ เราก็ไม่เรียนอะไรเลย ได้ยินคำว่า ปฏิบัติ เราก็คิดว่าทำ และเราก็ทำ แต่เราไม่ได้เข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ยังจะทำไหม ต้องเป็นผู้ตรง อาจหาญ ร่าเริง ผิดคือผิด ถูกคือถูก ความจริงคือความจริง ความจริงต้องพิสูจน์ได้ สามารถเป็นเหตุเป็นผลที่จะให้เข้าใจได้ ก็อยากถามตรงๆ ว่า ที่ฟังแล้วยังจะทำอีกหรือเปล่า ก็ตอบตรงได้ ถ้าจะทำก็บอกว่าจะทำ ถ้าจะไม่ทำก็บอกว่าไม่ทำ เป็นผู้ตรง ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะไปต้องเดือดร้อนใจกับใครเลย แต่ธรรมเป็นอย่างไร ธรรมก็เป็นอย่างนั้น มีความเข้าใจถูกคืออย่างไร มีความเข้าใจผิดคืออย่างไร เป็นเรื่องของการสะสมที่จะพิจารณาธรรม ถ้ามีความเข้าใจถูก ก็ถูกตรงตามลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งไม่มีใคร ไม่มีตัวตน ถ้าศึกษาเรื่องวิถีจิตจะเอาตัวเราไปแทรกตรงไหนไม่ได้เลยซักขณะเดียว ไม่ว่าจะเป็นปัญจทวาราวัชชนะ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทาลัมพณะ ว่าเราไปทำตรงไหน หรือทางมโนทวารก็เหมือนกัน ก็ไม่มีเราที่จะไปทำอะไรได้เลย แล้วยังจะทำไหม
ผู้ฟัง จากที่ฟังท่านอาจารย์ ผมก็รู้สึกว่า การปฏิบัติที่แล้วๆ มา เรามัวแต่ไปยึดถือ
ท่านอาจารย์ เรามีความเข้าใจถูกต้องว่าธรรมคืออะไรหรือเปล่า ขณะนี้เรามีความถูกต้องว่า เป็นธรรมที่ทรงแสดงไว้ในเรื่องของสติปัฏฐานทั้งหมดหรือเปล่า เรามีความเข้าใจถูกต้องว่าสิ่งนี้แหละที่กำลังปรากฏเป็นสิ่งที่ปัญญาจะรู้ได้ จะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ปัญญารู้อะไร ปัญญาไปรู้อะไรที่ไหน ในเมื่อสิ่งที่กำลังปรากฏนี้ไม่รู้
ผู้ฟัง ตัวของตัวเราเองที่หลอกตัวของเราเอง เป็นอย่างนี้ใช่ไหมท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ที่ปรากฏในขณะนี้เป็นภาพลวงตาให้เห็นว่าเป็นคน หนังสือพิมพ์มีรูปของนายกรัฐมนตรีไหม มีนายกรัฐมนตรีในกระดาษดำๆ ขาวๆ หรือเปล่า ไม่มี แต่แค่กระดาษดำๆ ขาวๆ นั่นก็เป็นนายกรัฐมนตรีได้ เป็นภูเขาไฟได้ เป็นอะไรได้หมดทุกอย่าง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ สิ่งที่ปรากฏเป็นเพียงปรากฏให้จิตนึกคิด แล้วแต่ว่าจะคิดอะไร อย่างที่เคยกล่าวถึงสภาพธรรมจริงๆ อย่างภวังคจิตมืดมาก เพราะอะไร ไม่มีแสงสว่างใดๆ เลย เสียงไม่มี กลิ่นไม่มี รสไม่มี เย็นร้อนอ่อนแข็งไม่ปรากฏเลยทั้งสิ้น ทางมโนทวารถ้าไม่ใช่การรับรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาต่อจากทางจักขุทวาร ขณะที่กำลังได้ยินเสียง ลองคิดถึงสภาพจิตตอนนี้คือเวลาที่จะนึกถึงธาตุรู้หรือสภาพรู้ซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ เจือปนเลย ต้องเอารูปออกให้หมด ลองคิดถึงโลกซึ่งเต็มไปด้วยสี เสียง กลิ่น รส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นออกหมด เอาสีออก เสียงออก กลิ่นออก รสออก เย็นออก ร้อนออก อ่อนแข็งตึงไหวออกหมด เหลืออะไร ไม่มีรูปใดๆ แต่มีธาตุรู้ เพราะฉะนั้นธาตุรู้ขณะนั้นไม่ได้สว่างไสว ไม่ได้ปรากฏอย่างนี้เลย ใช่ไหม อย่างเวลานี้ถ้าเราจะคิดถึง แข็ง มันก็ยังสว่าง มีแข็งมากระทบก็ยังสว่างด้วย ก็เลยกลายเป็นเห็นโต๊ะแข็ง อะไรแข็งไปหมด นี่เพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว แต่ธรรมต้องตรง ต้องจริงตามลักษณะของสภาพธรรม แล้วค่อยๆ คิดเปรียบเทียบว่า จริงๆ แล้ว จิต เจตสิก ที่ไม่มีรูปสว่างเลยจะต้องมืด ขณะใดที่ไม่รู้สิ่งที่สว่างจะต้องมืด และก็ขณะที่เป็นภวังคจิตมีจิตเกิดแล้ว แต่สีไม่ปรากฏ เสียงไม่ปรากฏ กลิ่นไม่ปรากฏ รสไม่ปรากฏ เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวไม่ปรากฏ และถ้าไม่มีรูปพิเศษซึ่งกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดเช่น จักขุปสาทซึ่งเปราะบางเบาเล็กน้อยแค่ไหนลองคิดดู ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่แข็ง จักขุปสาทไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่เป็นรูปซึ่งสามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา และรูปนี้ก็มองไม่เห็นด้วยเพราะรูปเดียวที่จะมองเห็นในบรรดารูปทั้งหมดคือ สี หรือ วรรณะ (วัณณะ วัณโณ) ใช้หลายคำ บางทีก็ใช้คำว่า นิภา ด้วย แต่ว่าให้ทราบว่า รูปนั้นเกิดดับเร็วมาก ลองคิดดูอีก ระหว่างตากับหู ไกลกัน มีอากาศธาตุแทรกคั่น และก็การเกิดดับที่อายุ ๑๗ ขณะ เร็วยิ่งกว่า ระหว่างเห็นก็ได้ยินซึ่งก็เหมือนพร้อมกัน เพราะฉะนั้น รูปนั้นที่ยังไม่ดับกระทบกับสิ่งที่สามารถกระทบได้คือ สีสันวรรณะ และสภาพรู้หรือธาตุรู้จึงเกิดเห็นแล้วก็ดับ วาระของจักขุทวารวิถีสั้นแค่ไหน แต่ทางใจรับต่อหลายวาระ จดจำทุกอย่าง สร้างโลก สร้างรูป สร้างเรื่องขึ้นมา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของสิ่งที่ปรากฏว่าเห็นอะไรมีดอกเซ็กซี่เฮลิโคเนีย ก็ต่างกับเฮลิโคเนียธรรมดา ใบต่างกันคือถ้าใบเซ็กซี่อ่อนไหวเป็นสีชมพูด้วย สร้างไว้หมดเลย ดอกลั่นทมเหลืองจัด บางชนิดก็มีไส้สีขาวอยู่ตรงกลาง โลกของความคิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา มหาศาล แค่คิด พอไม่คิดไม่มีเลย ที่เคยคิดเมื่อกี้นี้ จะเป็นเซ็กซี่เฮลิโคเนียหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่มี ไม่มีทั้งนั้น อะไรก็ไม่มี มีเมื่อคิด มีเมื่อเห็น มีเมื่อได้ยิน มีเมื่อได้กลิ่น มีเมื่อได้ลิ้มรส มีเมื่อปรากฏที่กำลังกระทบสัมผัส นี่คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สั้นแสนสั้น แต่ความไม่รู้ก็ลวงให้เป็นเราที่ยั่งยืน ตั้งแต่เกิดแล้วไม่เห็นดับเลย จำไว้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไม่รู้ว่าเพราะจิตเกิดขึ้นจึงมีจำ ถ้าจิตไม่เกิด จะมีจำได้ยังไง นี่ก็เป็นเหตุผลที่เราจะค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรม และนี่คือธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ทรงพระมหากรุณา ให้คนที่เหมือนคนตาบอดอยู่ในเหว ยากที่จะขึ้นจากเหว มารู้ความจริง ซึ่งไม่มีอะไรนอกจากสภาพธรรม ละคลายความเป็นตัวตน การที่ไม่รู้ความจริง จนกระทั่งสามารถที่จะเป็นพระอริยบุคคลได้ ด้วยพระมหากรุณาที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีมากกว่าปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่สามารถที่จะประกอบด้วยพระญาณต่างๆ ที่จะทำให้ทรงแสดงธรรม ๔๕ พรรษา ที่จะให้ธรรมเป็นสรณที่พึ่งสำหรับเรายุคนี้ เพราะคนสมัยนั้นแค่ฟังธรรมไม่มากท่านก็บรรลุแล้วส่วนใหญ่ ท่านมีปัญญาระดับนั้น และหลังจากนั้นมาแค่ ๒๐๐ -๓๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์มากมายถึง ๑,๐๐๐ ปี เพราะฉะนั้น พอมาถึงเรายุคนี้จะไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่งโดยรอบคอบ โดยละเอียด โดยเข้าใจจริงๆ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นี่คือโลกทางตาผ่านไปแล้วโลกหนึ่ง ในความมืดสนิท ซึ่งเกิดดับด้วยไม่เที่ยงด้วย ทางหูขณะที่กำลังได้ยิน ลองคิดถึงว่าไม่มีสีกำลังปรากฏ หลับตา มีแต่เสียงปรากฏ แต่เสียงนั้นมีความหมาย มาละเรื่องอีกเยอะแยะ บางคนก็จำจนตายจากคำพูดบางประโยคของบางคน ไม่ลืม ไม่อภัยด้วย ก็คิดถึงความไม่รู้นำมาซึ่งกิเลสมากมายมหาศาล หนาแน่น จนกระทั่งเป็นความพยาบาทบ้าง เป็นความริษยา เป็นอะไรหลายประการ ซึ่งก็จะต้องสืบต่อไปอีกด้วยความไม่รู้มากมายสักเท่าไหร่ ด้วยพระมหากรุณาจริงๆ จึงได้ทรงแสดงธรรมให้คนที่มีบุญในปางก่อนที่ได้สะสมมาแล้ว มีโอกาสจะได้ยินได้ฟัง แล้วก็ได้พิจารณา แต่ต้องเป็นความเข้าใจธรรม ถ้าไม่เข้าใจธรรม ผิด จำชื่อจำเรื่อง เช่นจะปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ได้มีความรู้อะไรเลย แล้วต้องการอะไร นี่ก็เป็นเรื่องยุคสมัยกาลของพระศาสนากำลังเสื่อม เราจะรู้ได้ด้วยตัวของเราเองว่าเราเสื่อมเพราะเราไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เข้าใจถูกต้อง ไม่ได้มีการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้สภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เราก็ไปคิดว่าทำอย่างอื่นแล้วก็จะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่ใช่ อยู่ในโลกมืด แล้วก็มีสีปรากฏนิดนึง แล้วก็มืดต่อ มีเสียงปรากฏนิดนึงแล้วก็คิดต่อ มีกลิ่นปรากฏนิดนึงก็วนเวียนอยู่ในสี ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ด้วยความติดข้องมหาศาล ลองคิดดู นอกจากความไม่รู้ มีความเห็นผิด แล้วยังมีความติดข้องในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ แล้วจะออกได้ยังไงถ้าไม่ใช่จิรกาลภาวนา และต้องเป็นความรู้จริงๆ ด้วย รู้แม้กระทั่งว่า ขณะใดสัมมาสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ นี้คือขั้นแรก ถ้าขั้นนี้ไม่มี จะเจริญสติไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่สัมมาสติ
ผู้ฟัง ขอย้อนถามไปคำถามแรกที่จะถาม ที่อาจารย์อธิบาย อยากจะทราบตรงปัญจทวาร เมื่อเรารับรู้สีทางตาแล้ว เมื่อไปสู่ตรงมโนทวาร วาระแรกที่อาจารย์อธิบายว่า วาระแรกเท่านั้นเองที่เป็นปรมัตถธรรม นอกนั้นแล้วจะเป็นการปรุง เป็นการคิด
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่า วาระหลังๆ ไม่กำหนด
ผู้ฟัง วาระหลังๆ อยากจะฟังตรงนี้ให้ชัดๆ อีกสักครั้งตั้งแต่ทางปัญจทวาร
ท่านอาจารย์ เมื่อปัญจทวารวิถีจิตดับแล้ว จิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง ปัญจทวารวิถีจิตดับแล้ว
ท่านอาจารย์ เราไม่รีบร้อนไปตรงนั้น ตรงนี้นะ เราจะเข้าใจย้อนไปย้อนมาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเราเข้าใจโดยไม่ต้องไปท่อง ไม่ต้องไปจำ เข้าใจจริงๆ ว่า เมื่อปัญจทวารวิถีจิตดับหมด
ผู้ฟัง จิตเป็นภวังค์
ท่านอาจารย์ เมื่อจิตเป็นภวังค์ แล้วต่อจากนั้นเป็นอะไร อะไรเกิดขึ้น
ผู้ฟัง มโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น แล้วต่อจากนั้นเป็นชวนจิต เหมือนกับทางปัญจทวาร เพราะฉะนั้นก็คู่กัน เหมือนกับปัญจทวาร และมโนทวารทุกครั้ง
ผู้ฟัง แค่วาระแรกวาระเดียวที่เป็นปรมัตถ์
ท่านอาจารย์ ทางมโนทวารวาระแรกต้องเป็นปรมัตถ์ แต่เราจะไม่กำหนดว่ากี่วาระ เราใช้คำว่า วาระหลังๆ เพราะอะไร เท่าที่เราจะรู้ได้ การศึกษาธรรมต้องรู้ว่า สามารถจะเข้าใจได้แค่ไหน รู้จริงได้แค่ไหน ไม่ใช่เราจะคร่ำเคร่งกับตำรานั้น ตำรานี้ พม่าว่าอย่างนี้ ลังกาว่าอย่างโน้น ไทยว่าอย่างนี้ มหายานเข้าไปอีก ใครจะรู้ ถ้าไม่ใช่ปัญญาของเราเอง เพราะฉะนั้นถ้าปัญญาของเราเองสามารถจะรู้ได้แค่ไหน ก็ควรที่จะเข้าใจให้ถูกต้องแค่นั้น ส่วนใครจะไปบอกว่ายังไง เขารู้ได้ไหม เขารู้ไม่ได้ก็เรื่องของเขาที่จะเข้าไปค้นคว้าตำรานั้นตำรานี้อีกหลายตำรา
ผู้ฟัง มโนทวารวิถีที่ดับไปแล้วก็ภวังคจิตคั่น เมื่อภวังคจิตคั่นก็เกิดเป็นนึกคิดอะไร เป็นลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็มโนทวาร เพราะวิถีทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่ได้ ทางตาเห็นมีสิ่งที่กำลังปรากฏเท่านั้น ทางหูมีเสียงเท่านั้นที่ปรากฎ ทางจมูกก็มีกลิ่นปรากฏ ทางลิ้นก็มีรสปรากฏ ทางกายก็มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหวปรากฏ นอกนั้นเป็นเรื่องของมโนทวารหมด
ผู้ฟัง ที่ว่ามโนทวารวิถี เห็นปรมัตถธรรมครั้งแรก
ท่านอาจารย์ เห็นอะไร จักขุทวารวิถีมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเราใช้คำว่า รูป คือสีสันวรรณะต่างๆ ขณะนี้ปรากฏกับจักขุทวารวิถีจิตเมื่อจักขุทวารวิถีจิตดับ คือรูปมีอายุ ๑๗ ขณะจิต จักขุทวารวิถีจะเกิดต่อไปไม่ได้เมื่อรูปดับ ภวังคจิตก็เกิด ต่อจากนั้น มโนทวารวิถีก็รู้สีที่เพิ่งดับต่อเหมือนกันอย่างเดียวกันเลย เพราะฉะนั้นระหว่างปัญจทวารวิถี และมีภวังค์คั่น และมีมโนทวารวิถีเกิดต่อ ไม่มีใครสามารถจะแยกได้ อย่างขณะนี้จะแยกได้ไหมว่า ขณะไหนเป็นปัญจทวารวิถี ขณะไหนเป็นมโนทวารวิถี ถ้าแยกได้ก็ต้องรู้ภวังค์ที่คั่น
ผู้ฟัง ปัญญาขั้นนี้ไม่สามารถจะทราบได้เลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อบรมเจริญไป แล้วใครจะรู้อะไร ก็เป็นสภาพจริงๆ ตามกำลังของปัญญาของแต่ละคน
ผู้ฟัง มโนทวารวิถีที่เกิดขึ้นครั้งแรกก็จะเห็น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เห็น มีอารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถี แล้วแต่ว่าจะเป็นสี หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ มโนทวารต้องเกิดสืบต่อมีอารมณ์เดียวกับอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดของปัญจทวารวิถีที่เพิ่งดับ
ผู้ฟัง แล้วมีอารมณ์เดียวกันกับปัญจทวารวิถี
ท่านอาจารย์ ที่เพิ่งดับ
ผู้ฟัง แล้วที่ว่าจะเป็นความนึกคิดช่วงไหน
ท่านอาจารย์ ขณะที่ไม่ใช่มีพวกนี้เป็นอารมณ์ ขณะที่มโนทวารวิถีไม่มีสี ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 2
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 3
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 4
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 5
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 6
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 7
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 8
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 9
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 10
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 11
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 12
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 13
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 14
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 15
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 16
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 17
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 18
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 19
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 20
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 21
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 22
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 23
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 24
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 25
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 26
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 27
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 28
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 29
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 30
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 31
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 32
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 33
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 34
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 35
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 36
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 37
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 38
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 39
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 40
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 41
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 42
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 43
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 44
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 45
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 46
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 47
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 48
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 49
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 50
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 51
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 52
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 53
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 54
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 55
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 56
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 57
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 58
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 59
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 60