แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2004
ครั้งที่ ๒๐๐๔
สาระสำคัญ
สนทนาธรรมที่พระวิหารเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี
ปริยัติและปฏิบัติ
ตัตตรมัชฌัตตตา - สภาพที่เป็นกลาง ไม่ตกไปในฝ่ายอกุศล ทั้งโลภะโทสะ
ปัญญา ๓
การเจริญปัญญาเหมือนกับการจับด้ามมีด
สนทนาธรรมที่พระวิหารเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๓
ถ. ตอนที่เดินทักษิณาวัตร เรากำหนดเฉพาะสัมปชัญญะอย่างเดียว จะถือว่าเป็นสติปัฏฐานไหม คือ รู้สึกว่า ก้าวก็ก้าว เดินก็เดิน หันก็หัน
สุ. โดยมากมักจะถามเรื่องถือ ถือว่าเป็นอย่างนั้น ถือว่าเป็นอย่างนี้ไหม สภาพธรรมเป็นความจริงอย่างไรก็ต้องเป็นความจริงอย่างนั้น ซึ่งผู้นั้นจะต้อง อบรมปัญญาจนรู้ด้วยตัวเองถึงความต่างกันของขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด และขณะที่สติเกิดปัญญายังน้อยแสนน้อย คือ ไม่ทันจะรู้ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นอะไร แต่ก็รู้ว่านี่เป็นหนทางที่จะทำให้ปัญญาค่อยๆ รู้ขึ้นได้เมื่อสติเกิด ก็เป็นเรื่องที่ แต่ละคนจะรู้จักปัญญาของตนเองตามระดับขั้น
ถ. วันนี้เล็กพูดกับคุณป้าสงวนเกี่ยวกับกรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้ เมื่อชาติก่อน จะส่งผลมาถึงชาตินี้หรือชาติถัดๆ ไปอย่างไร
สุ. ก่อนอื่นต้องทราบว่า ทุกคนมีจิตเกิดขึ้นเพียงทีละขณะเดียว เพราะฉะนั้น ที่ดูเหมือนว่า ทุกคนมีจิตและยังคงมีจิตอยู่ ไม่เห็นการดับไปของจิตเลย ก็เพราะว่าจิตเกิดดับอย่างเร็วมาก การดับไปของจิตขณะก่อนเป็นปัจจัยให้จิต ขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปซึ่งเกิดต่อ มีทุกสิ่งทุกอย่างของจิต ขณะก่อนที่ดับไป เพราะว่าเกิดจากจิตขณะก่อนเป็นปัจจัย
เราจะไม่มีการเกิดมาในโลกนี้เลย ถ้าเราไม่ตายจากชาติก่อนเสียก่อน เพราะฉะนั้น ชาติก่อนเราจะทำกรรมอะไรไว้มากมายก็ตาม ปฏิสนธิจิตซึ่งเกิดต่อจากจุติจิตก็มีทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วน ไม่ได้หายไปไหนเลย จากชาติก่อนสืบต่อมาในชาตินี้
และถ้าย้อนไป เลยชาติก่อนๆ ไปอีก การบำเพ็ญพระบารมีของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ตั้งแต่สมัยพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แสดงให้เห็นถึงการเกิดดับสืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฉันใด เราจำชาติก่อนไม่ได้ เรากำลังรู้เรื่องของชาตินี้ ซึ่งถ้าจุติเกิด และดับไปทำให้เราสิ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ขณะใด เราจะลืมเหตุการณ์ของชาตินี้ทั้งหมดว่า ครั้งหนึ่งหรือวันนี้เราได้นั่งสนทนาธรรมที่พระวิหารเชตวัน เพราะว่า เมื่อจุติเกิดทำให้สิ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ปฏิสนธิจิตเกิดต่อทันทีตามกรรมหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นกรรมในปัจจุบันชาตินั้น หรือในชาติก่อน หรือในอดีตอนันตชาติ ก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ และเราก็ไม่รู้ว่า ทำไมเราถึงเกิดมาเป็นคนนั้น แต่ต้องมีกรรมที่ทำให้เกิดเป็นคนนั้น
นอกจากจะทำให้เกิดเป็นคนนั้นแล้ว ก็ยังจะทำให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแต่ละขณะตามกรรมด้วย นี่เป็นการให้ผลของกรรม ถ้าไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส กรรมจะให้ผลได้อย่างไร ก็ไม่มีทางที่กรรมจะให้ผล เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่ปรินิพพาน กรรมที่ทำแล้วย่อมมีโอกาสที่จะให้ผล อย่างท่านพระสารีบุตรท่านก็อาพาธหนัก ก่อนที่จะปรินิพพาน
ถ. เวลาฟังธรรมแล้วเกิดปีติ ร้องไห้ อาจารย์ช่วยบอกความแตกต่างได้ไหม
สุ. จิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นเองจะเป็นผู้ที่รู้ว่า ขณะใดเป็นกุศลจิต ขณะใดเป็นอกุศลจิต ขณะใดเป็นวิบากจิต
อย่างทางตาที่กำลังเห็น ต้องแยกออกจากทางใจ หรือความรู้สึกที่ดีใจ หรือเสียใจ ปัญญาต้องละเอียดขึ้นพร้อมสติสัมปชัญญะ และเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละบุคคลจริงๆ ที่จะรู้ว่า ขณะนั้นสภาพของจิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เพราะเพียงเวทนาอาจจะไม่สามารถรู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ถ. เวลาที่เราเห็นอะไร เป็นสีก่อน และแปลว่าอันนี้คืออะไร ใช่ไหม
สุ. เป็นเรื่องของคำที่พยายามให้เข้าใจว่า จิตเห็นไม่ใช่จิตที่คิดนึก จะใช้ คำอะไรก็แล้วแต่ จะใช้คำว่า แปล จะใช้คำว่า นึก ก็ได้ คือ จิตเห็นเป็นชั่วขณะ ที่เห็น แต่ขณะที่รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร ขณะนั้นไม่ใช่จิตเห็น แต่เป็นสภาพของจิตที่ รู้รูปร่างสัณฐานและนึกถึงเรื่องราว
ถ. ขอให้อธิบายตัตรมัชฌัตตตาอีกครั้งหนึ่ง
สุ. ตัตรมัชฌัตตตา เป็นโสภณสาธารณเจตสิก เป็นสภาพที่เป็นกลาง ไม่ตกไปในฝ่ายอกุศลทั้งโลภะโทสะใดๆ เลยทั้งสิ้น ขณะนั้นเป็นสภาพที่เที่ยงตรง เป็นกุศล
ถ. วันนั้นก็สนทนาธรรมกันเรื่องตัตรมัชฌัตตตา เป็นเจตสิกประเภท โสภณเจตสิก ผมสงสัยว่า การที่จะมีจิตประเภทนั้นโดยที่ไม่มีอคติ และไม่ตกไปในอกุศล น่าจะต้องมีปัญญาทุกครั้ง แต่จริงๆ แล้วกุศลจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็มีเจตสิกนี้อยู่ด้วย ใช่ไหม
สุ. ใช่ เจตสิกตัวนี้จะเจริญขึ้นๆ จนกระทั่งปรากฏสภาพของความเป็นอุเบกขา แล้วแต่ว่าจะเป็นสัมโพชฌงค์ หรือแม้แต่อุเบกขาพรหมวิหารก็ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
ถ. สูงขึ้นไป ยิ่งเข้าใจยาก แต่ฟังดูแล้ว น่าจะมีปัญญาประกอบด้วย
สุ. คิดถึงสภาพความเป็นผู้ตรง
ถ. ความเป็นผู้ตรง สมมติว่า ผมได้ฟังผู้ใดแสดงธรรม เผอิญผมไม่ชอบ ผู้นั้นเลย แต่เมื่อผมมีตัตรมัชฌัตตตา ผมเคารพในธรรม ไม่คิดถึงตัวบุคคลนั้น ผม ฟังแต่ธรรมว่า เขาแสดงธรรมโดยถูกต้อง อย่างนั้นใช่ไหม
สุ. ขณะนั้นเป็นกุศลจิต มีตัตรมัชฌัตตตา
ถ. อย่างนั้นต้องมีปัญญาประกอบด้วย ถ้าไม่มีปัญญาจะวินิจฉัยได้อย่างไร
สุ. แล้วแต่ว่าขณะที่คุณธงชัยกำลังฟัง ปัญญาของคุณธงชัยมีขั้นไหน
ถ. สรุปว่า ถ้ามีปัญญาก็ต้องมี …
สุ. กุศลจิตเกิด คือ ไม่เลือกว่าผู้พูดเป็นใคร
ถ. แต่กุศลบางอย่างก็ไม่เห็นเจตสิกตัวนี้เด่นชัด เช่น ให้ทาน จะมีเจตสิกตัวนี้ด้วยหรือเปล่า
สุ. ก็เหมือนกับเวลาให้ทาน คุณธงชัยทราบไหมว่า ขณะนั้นเป็นสติ ที่กำลังให้ ต้องมีสติด้วย
ถ. สติเห็นชัด เพราะว่าให้ทาน
สุ. บางคนไม่รู้เลย ถ้าไม่ได้ศึกษาจะบอกว่ามีสติไม่ได้ ให้ไปเลย เพราะฉะนั้น ทั้งสติ ทั้งตัตรมัชฌัตตตา ทั้งอโลภะ อโทสะ มี แต่ไม่รู้ จนกว่าจะ ได้ทรงแสดง และเมื่อทรงแสดงแล้ว ปัญญาที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องอโลภะว่า ตรงกันข้ามกับโลภะก็พอจะเข้าใจได้ อโทสะตรงกันข้ามกับโทสะก็พอจะเข้าใจได้ แต่พอถึงคำพิเศษซึ่งไม่เคยฟังมาก่อน หรือลักษณะอย่างนี้คิดว่าเคยรู้จัก แต่ลักษณะสภาพนี้ก็ต้องมี เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่กุศลจิตเกิด เราจะสามารถเข้าใจ โสภณเจตสิกได้ทั้งหมด แต่ว่ามี
ถ. วันนี้ได้คุยกับคุณศุกลเรื่องปัญญา ๓ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา อยากให้ท่านอาจารย์ช่วยให้ความเข้าใจเพิ่มเติม
สุ. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่สำเร็จจากการฟัง ในขณะนี้ที่กำลังฟัง ปัญญาเกิด เข้าใจเพราะได้ฟัง นั่นคือปัญญาที่สำเร็จจากการฟัง
สำหรับจินตามยปัญญา ฟังแล้ว และยังมีปัญญาพิจารณาให้กว้างขวาง ให้เข้าใจละเอียดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นจินตามยปัญญา
ภาวนามยปัญญา ภาวนา คือ การอบรมเจริญให้มีขึ้น ได้แก่ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แต่สำหรับการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ต้องเป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นสงบเป็นสมถะด้วย
สุ. บางคนเขาอาจจะเรียนพระอภิธรรมเข้าใจ แต่การปฏิบัติไม่สอดคล้อง ก็เลยยุ่งมาก คือ ขั้นปริยัติ กว่าจะได้มาเรียนก็พวกหนึ่ง และเมื่อเรียนไปแล้ว เวลาปฏิบัติก็ยังไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็ถึงยุคนี้จริงๆ
ผู้ฟัง คิดว่าที่พระพุทธศาสนาเสื่อมไป เพราะว่าตัวที่จะเข้าไปทำความเข้าใจ นี่ยาก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เข้าใจยาก คนที่จะเดินทางเข้าไป เหมือนกับเดินทางมา ๑๐ ก้าว หรือ ๔ - ๕ กิโล เดินลำบากแล้ว ก็ถอยหลังกลับ มีแต่คนถอยหลังๆ คนที่จะเดินหน้าก็เหลือน้อยเต็มที
ผู้ฟัง ไม่เห็นผลอะไร เห็นผลนิดๆ หน่อยๆ
สุ. ผลคืออะไร ถ้าเราเป็นคนตรง คือ ปัญญา ใช่ไหม เราก็ต้องอดทนเหมือนจับด้ามมีด ไม่อย่างนั้นจะทรงแสดงไว้ทำไม คือ รู้ใจของพวกเราจนกระทั่ง ต้องทรงแสดงพระสูตรนี้ว่า การเจริญปัญญาเหมือนกับการจับด้ามมีด จะให้สึกเร็วๆ ได้อย่างไร
ขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป อีก ๑,๐๐๐ ปี ไม่รู้ อยู่ตรงไหนแล้ว ไม่ต้อง ๑,๐๐๐ ปี ลดลงมาเหลือ ๑๐๐ ปี ก็ไม่อยู่แล้ว ก็ห้ามไม่ได้ จิต เจตสิก รูป รูปจะเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องแก่ ต้องตาย จิตเกิดแล้ว ก็ดับ และดำรงภพชาติสืบต่อไปอีก ไม่เป็นคนนี้อีกต่อไปอีก เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ. สติถ้าเกิดเร็วขึ้น แสดงว่าเราดีขึ้น ใช่ไหม
สุ. หมายความว่ามีปัจจัยที่จะให้สติเกิด แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ให้เรา ละความเป็นตัวตน แม้แต่กุศลจิตที่เกิดก็ไม่ให้ติดในกุศล ต้องขัดไปอย่างชนิดที่ละเอียดขึ้นๆ เรื่อยๆ จากอกุศลเป็นกุศล และยังต้องละความติดในกุศล เพราะว่าตัวตน ใช่ไหม จึงอยากเป็นคนดี ก็มาอีกตอนหนึ่ง
ถ. ความติดในกุศล ส่งผลอย่างไร
สุ. ก็แล้วแต่ ถ้ากุศลเป็นปัจจัยก็ทำให้เกิดกุศลวิบาก แต่ตัวจิตก็ตามไป ยึดมั่นอยู่นั่น กี่ชาติๆ ก็ยึดมั่นอยู่ ด้วยเหตุนี้ถึงแม้จะถึงอรูปพรหม ก็ยังดับความ เป็นตัวตนไม่ได้ แม้แต่กำลังอ่านหนังสือ เป็นความรู้สึกของคนนี้ พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ก็เรานึกเอา ความรู้สึกเราเกิดขึ้น กลายเป็นความรู้สึกของคนนี้ ของคนนั้น สลับ เดี๋ยวพระเอก เดี๋ยวนางเอก เดี๋ยวพ่อ เดี๋ยวแม่ เดี๋ยวเพื่อน
ผู้ฟัง เรื่องในละคร ก็ยังดีกว่านินทาคน
สุ. แสดงให้เห็นว่า ใจของเราวิปลาสอย่างไร แต่ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ว่า เป็นใจเราที่นึก นี่สำคัญที่สุด และที่นึกนี่ นึกได้สารพัดเรื่อง ใช่ไหม เรื่องของตัวเอง เรื่องของคนอื่น คือ คิดแล้ว สภาพธรรมมีอย่างเดียว คือ คิดเรื่อง เป็นเรื่องราวทั้งหมด แม้แต่ตัวเราเองก็ไม่มี เพราะว่าขันธ์แต่ละขันธ์เกิดและดับเร็วมาก แต่ ความทรงจำว่ามีเรา เมื่อมีเราก็มีคนอื่น ก็เลยเป็นความคิดเรื่องสัตว์ บุคคล แม้แต่ฝัน ก็คือการคิดเรื่อง
อย่างเวลานี้เราจำเลยว่า ใครกำลังนั่งอยู่ และเวลาเราฝัน ก็มีคุณนีน่า มีคุณโจนาธาน มีใครๆ แต่เสื้อสีอะไร ผ้าสีอะไร ในฝันไม่มี มีแต่เรื่องว่า คนนี้พูดอย่างนี้ คนนี้บอกอย่างนั้น แปลว่าทันทีที่ตาเห็น ทางทวารตาดับไปแล้ว เรื่องเข้ามาเลย เพราะฉะนั้น เราไม่สนใจหรือไม่จำสี แต่จำเรื่องทันที อย่างเวลานี้ ถ้าจำสีเราตายแน่ ตั้งมากมายจะจำได้อย่างไร เราฝันไม่ทันหรอก ใช่ไหม ถ้าเรามัวไปจำสี แต่เพราะว่าเราจับเรื่องมาเลยทันทีที่เห็น ความทรงจำเรื่องราวต่างๆ เข้ามา ฝันของเราจึงได้เป็นเรื่องทั้งหมด เหมือนฝันเห็น แต่ความจริงเป็นคิดเรื่องทั้งหมด เพราะว่ารู้เรื่อง ไม่ใช่เห็น รู้เรื่องเลย เป็นการจำเรื่องเลย
ถ. บางครั้งเวลาฝัน เหมือนกับเห็นเป็นสี
สุ. น้อยครั้ง แสดงว่าขณะนั้นเราจำสี ความจำเรามีทั้งจำสีและจำเรื่อง แต่ส่วนใหญ่จะจำเรื่อง ส่วนจำสีน้อย อย่างเวลานี้เราจำสีน้อยกว่าจำเรื่อง บันได สีอะไร ราวบันไดสีอะไร โคมไฟสีอะไร กรอบรูปสีอะไร เสื้อคุณสุวัฒน์สีอะไร กระเป๋าสีอะไร เราไม่ได้จำแต่เราเห็น เราจำเรื่อง เพราะฉะนั้น จำสีน้อยกว่าเรื่อง
ถ. บางทีเวลาฝัน ก็ฝันถึงสี
สุ. แล้วแต่บุคคล บางคนก็จำสี แน่นอน จำสีนั้นจำด้วย แต่ส่วนใหญ่ เรารู้เรื่องโดยที่ไม่มีสี อย่างเวลานี้คุณณรงค์หลับตาและนึกเรื่อง จะไม่มีสี แสดงว่า ทันทีที่สิ่งปรากฏทางตาทำให้เรามีสมมติบัญญัติ คือ จำเรื่อง แต่สีเราไม่จำ เพียงแต่ปรากฏเป็นเรื่องเป็นราวเท่านั้นเอง สีเราจำน้อย ไม่ใช่ไม่จำเลย อย่างเช่นเราจะนึกถึงสีอะไรสักสี เราก็นึกได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจำเรื่อง
ถ. เสียง กลิ่น รส ก็ทำนองเดียวกัน
สุ. เหมือนกัน เราจึงแยก ๒ โลกออกจากกันได้ โลกของปรมัตถธรรม มีจริงๆ กระทบจริงๆ ปรากฏจริงๆ แต่เราไม่รู้การเกิดดับ เพราะอวิชชารู้ไม่ได้ และหลังจากปรมัตถธรรมแล้ว ก็มีการคิดนึกเรื่องราว เราจึงจับได้ว่า สมมติสัจจะ หลังจากปรมัตถสัจจะ ต่างจากปรมัตถสัจจะ เพราะว่าสมมติสัจจะไม่กระทบทาง ทวารทั้ง ๕ เลย เพราะไม่มีปรมัตถธรรม ไม่ใช่สภาพธรรม แต่เป็นความคิดนึก หลังจากสภาพธรรมปรากฏ เราจึงสามารถเข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงทั้งสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ และยังรู้ด้วยว่า ทวารไหนเริ่มสมมติสัจจะ ทวารไหนปรมัตถสัจจะ เพราะว่าบัญญัติเข้ามาไม่ได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ. เราจะ estimate ได้ไหมว่า วันหนึ่งๆ สติของเราเกิดขึ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ ขอถามคุณนีน่า
นีน่า สติเกิดน้อย แต่ว่ารู้ขึ้น สติเกิดน้อยทุกวัน น้อยที่สุด และไม่แน่ใจว่า สติเป็นอย่างไร เป็นสติที่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะมีความคิดมากกว่า ต้องมีสัจจบารมี ต้องรู้ตัวเองจริงๆ
ถ. ที่ยกปัญหานี้ขึ้นมาก็เป็นเพราะว่าเราเอง ในชีวิตประจำวันเราอยู่ในกรุงเทพ ฯ จริงๆ เรารู้ว่าใจเราเป็นอย่างไร เช่น วันนี้เรายุ่งกับธุรกิจมากเลย เรียกว่าหลงเข้าป่าไปเลย แทบจะไม่มีสักนิดเดียว ...
นีน่า ดีมาก ต้องพูดคำของอาจารย์สุจินต์ว่า เป็นชีวิตประจำวันของทุกคน สำหรับโจนาธานด้วยที่ทำธุรกิจ
ถ. และวันไหนที่เราโอเค ถ้าธุรกิจมีช่วงที่ให้คลายตัวได้บ้าง เราจะมีโอกาสระลึกได้เป็นครั้งเป็นคราว
ผู้ฟัง ขอบอกว่า เครื่องขวางกั้นสติมีหมกมุ่นในการงาน ชอบกิน ชอบนอน ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ไม่สำรวมอินทรีย์
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๑ ตอนที่ ๒๐๐๑ – ๒๐๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1950
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1951
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1952
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1953
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1954
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1955
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1956
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1957
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1958
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1959
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1960
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1961
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1962
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1963
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1964
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1965
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1966
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1967
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1968
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1969
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1970
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1971
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1972
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1973
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1974
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1975
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1976
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1977
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1978
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1979
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1980
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1981
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1982
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1983
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1984
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1985
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1986
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1987
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1988
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1989
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1990
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1991
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1992
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1993
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1994
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1995
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1996
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1997
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1998
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1999
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2000
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2001
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2002
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2003
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2004
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2005
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2006
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2007
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2008
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2009
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2010
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2011
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2012
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2013
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2014
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2015