พระโสณโกลวิสเถระ
ขอกล่าวถึงข้อความใน อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ประวัติของท่านพระโสณโกฬวิสเถระ ซึ่งท่านเป็นเอตทัคคะในการเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวก ผู้ปรารภความเพียร ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นความวิจิตรในการที่มารดาบิดาของท่าน เลี้ยงท่านมา
ข้อความโดยย่อมีว่า
ท่านพระโสณโกฬวิสะเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวดังสีทอง มารดาบิดาจึงให้ชื่อท่านว่า โสณะ ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้าที่มีทรัพย์สมบัติมาก พร้อมทั้งบริวารยศที่ไม่มี พ่อค้าผู้ใดจะมีสมบัติและยศมากยิ่งกว่านั้น
เรื่องในอดีตโดยย่อของท่านมีว่า
ในสมัยแห่งพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเกิดในตระกูลเศรษฐี มีชื่อว่า สิริวัฑฒกุมาร เมื่อท่านได้ไปเฝ้าฟังพระธรรมที่วิหาร ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งพระภิกษุรูปหนึ่งในตำแหน่งเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีความเพียร ท่านก็คิดว่า สังสารวัฏฏ์ คือ การเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เวียนวนอยู่ในสังสาระนี้ไม่มีกำหนด ว่าจะสิ้นสุด ถ้าปรารถนาตำแหน่งสาวกผู้เลิศ จะเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์โดยมีกำหนดเพียงแสนกัปบ้าง อสงไขยกัปบ้าง ตามภูมิของมหาสาวกและอัครสาวก ท่านจึงตั้งความปรารถนาที่จะเป็นสาวกผู้เลิศด้วยความเพียร และได้รับพยากรณ์จาก พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านก็ได้บำเพ็ญกุศลตลอดมา
ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ในขณะที่ฟังพระธรรม แต่ละท่านมีความคิดต่างกัน บางคนเห็นพระผู้มีพระภาคทรงแต่งตั้งพระภิกษุผู้เป็นผู้เลิศทางหนึ่งทางใด ก็มีความปรารถนาที่จะเป็นอย่างนั้นบ้าง เพราะว่าสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมา ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่า มากมายสักเท่าไรในอดีต แม้สังสารวัฏฏ์ข้างหน้า ก็ไม่มีใครสามารถกำหนดได้ แต่ถ้าปรารถนาความเป็นผู้เลิศ ก็ยังมีกำหนดว่า เมื่อได้บำเพ็ญบารมีแสนกัปจะได้เป็น พระมหาสาวก หรือบำเพ็ญบารมีถึงหนึ่งอสงไขยแสนกัปจะได้พระอัครสาวกเพราะฉะนั้น สำหรับท่านเอง สังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมาแล้ว ยาวนานจนกำหนดไม่ได้ และสังสารวัฏฏ์ข้างหน้า ก็กำหนดไม่ได้ แต่ถ้าจะเทียบกับแสนกัปก็ยังกำหนดได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงตั้งความปรารถนาที่จะเป็นสาวกผู้เลิศด้วยความเพียร ซึ่งท่านก็ได้บำเพ็ญกุศลตลอดมา
ในภัทรกัปนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระสมณโคดมพระองค์นี้ยังไม่ทรงอุบัติ ในกาลนั้น ท่านได้ทำบรรณศาลาและที่จงกรมถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า และได้ เอาผ้าห่มราคาหนึ่งแสนปูไว้เป็นเครื่องลาดพื้นที่จะเข้าสู่บรรณศาลา
กาลเวลาล่วงผ่านไป จนถึงสมัยที่พระผู้มีพระภาคพระสมณโคดมพระองค์นี้ ทรงอุบัติแล้ว ท่านเกิดเป็นบุตรอุสภเศรษฐี ในกาลจัมปากนคร ตั้งแต่ท่านปฏิสนธิ ในครรภ์มารดา มีผู้นำเครื่องบรรณาการมาให้ท่านเศรษฐีเป็นอันมาก แม้ในวันที่ท่านออกจากครรภ์มารดา ก็มีผู้นำเครื่องบรรณาการมาให้ทั่วพระนคร เศรษฐีผู้มารดาบิดาก็จัดแจงพี่เลี้ยงนางนมให้ปฏิบัติบำเรอท่านให้เจริญขึ้นด้วยความสุขดุจเทพกุมาร
วิธีที่ท่านเศรษฐีจัดแจงอาหารให้แก่ผู้เป็นบุตรนั้น ไม่มีใครเหมือน คือ หว่านข้าวสาลีลงในที่ประมาณได้ ๗ กรีส และเลี้ยงข้าวสาลีด้วยน้ำ ๓ ประการ คือ น้ำปกติ น้ำนมสด และน้ำหอม เหมืองน้ำที่จะเข้านานั้น ท่านเศรษฐีได้ให้เอา ตุ่มใหญ่มีประมาณมากกว่าพันตุ่ม ใส่น้ำนมสดและน้ำหอมให้เต็ม และเอาไปเทลงใน เหมืองน้ำให้ไหลเข้าไปในนา เวลาที่ข้าวสาลีออกรวงพอเป็นน้ำนม ท่านเศรษฐีก็ให้ ตั้งรั้วแวดล้อมโดยรอบ และฝังเสาไว้ในระหว่างๆ นั้น เอาผ้าขาวเนื้อละเอียดลาดปู ปกคลุมลงข้างบน และเอาท่อนไม้เรียงขึ้นไว้ และปกคลุมด้วยเสื่อลำแพน และเอาม่านกั้นไว้รอบนา จัดยามเฝ้าไว้โดยรอบ เพื่อไม่ให้สัตว์และนกเข้ามากัดกินข้าวสาลีเป็นเดนกิน พอข้าวกล้านั้นเป็นรวงแก่แล้ว ท่านเศรษฐีก็จัดแจงฉางใส่ข้าวสาลี ในฉางนั้น เอาของหอม ๔ อย่างปะพรมเรี่ยรายลงไว้บนพื้น และจึงเอาของหอมพิเศษอุดมยิ่งขึ้นไปกว่านั้นปะพรมเรี่ยรายทับข้างบน
เมื่อถึงเวลาเกี่ยวข้าวสาลี ก็ให้คนประมาณมากกว่าพันคน เด็ดเอาแต่รวง ข้าวสาลี ทำให้เป็นกำ เป็นมัด ผูกห้อยตากไว้กับเชือกราว พอแห้งแล้วก็เอาใส่ไว้ ในฉาง โดยให้เอาของหอมปูลาดพื้นลงก่อน เอารวงข้าวสาลีนั้นลำดับไว้ข้างบน และเอาของหอมมาราดปูทับรวงข้าวนั้น และเอารวงข้าวสาลีมาลำดับทับของหอมอีก กระทำรวงข้าวกับของหอมนั้นให้เป็นชั้นๆ จนเต็มฉาง เพื่อที่จะอบให้หอม ปิดประตูอบไว้ถึง ๓ ปี พอครบ ๓ ปีก็เปิดฉาง เวลาที่เปิดฉางนั้น กลิ่นก็หอมตลบไปทั่ว พระนคร
เวลาที่เอาข้าวสาลีนั้นไปตำ ชาวบ้านก็มาอ้อนวอนขอซื้อเอาแกลบไปใช้ต่างจุณ เครื่องหอม แต่รำของข้าวสาลีนั้นได้แก่จุลลปัฏฐาก เวลาที่จะหุงข้าวสาลีก็คัดเลือกเอาแต่เมล็ดไม่แตกหัก เลือกเอาเมล็ดที่แตกหักออก เอาข้าวสารนั้นใส่ลงในกระเช้าทอง ซาวด้วยน้ำ ซาวแล้วซาวเล่า ๗ หน
บางแห่งใช้คำว่า ๑๐๐ หน เนื่องจากคำว่า สัตต กับ สต แต่ก็ไม่เป็นความสำคัญอะไรว่าจะเป็น ๑๐๐ หน หรือ ๗ หน
เมื่อข้าวหมดมลทินแล้ว ก็เอาข้าวสารนั้นลงในน้ำจันทน์หอม ซึ่งตั้งไว้ให้ร้อนเดือดพลุ่งครู่หนึ่ง และเอาขึ้นหุงให้สุก ที่ข้าวมูลขึ้นที่ปากหม้อนั้นปรากฏดัง เทริดพนมฉัตร อันบุคคลกระทำด้วยดอกมะลิ และเอาอาหารนั้นใส่ลงในภาชนะทอง ยกขึ้นตั้งไว้บนภาชนะเงิน ที่เต็มไปด้วยข้าวปายาสที่มีน้ำน้อยที่กำลังร้อน เพื่อที่จะ อบไอให้ร้อนอยู่ และเอาเข้าไปตั้งไว้ข้างหน้าเศรษฐีบุตร ซึ่งเศรษฐีบุตรนั้นก็บริโภคสมควรแก่การที่จะมีชีวิตอยู่ บ้วนปากแล้ว ชำระมือ และเท้าด้วยน้ำอบที่หอมฟุ้ง ชื่นชูใจ
เมื่อเศรษฐีบุตรล้างมือและเท้าเสร็จแล้ว ชาวเครื่องสำอางก็เชิญเครื่องของหอมสำหรับอบมีประการต่างๆ เข้าไปให้ และที่ที่เศรษฐีบุตรจะเหยียบย่างก้าวเดินไป ทุกแห่งในสำนักของตนนั้น ก็มีพนักงานปูพรมเครื่องลาดอาสนะที่วิจิตรด้วยลวดลายวิเศษให้เศรษฐีบุตรนั้นเดินสบายๆ ไม่ให้ขัดเคืองระคายเท้า
เศรษฐีบุตรเป็นผู้มีบุญลักษณะ คือ พื้นมือและเท้ามีสีแดงงามดุจดอกชบาแดง มีสัมผัสที่ละเอียดอ่อนดุจยองใยแห่งสำลีที่บุคคลดีดประชีประมาณได้ ๑๐๐ หน มีเส้นขนเป็นขนแก้วกุณฑลสีแดงงดงามที่พื้นเท้าทั้ง ๒ ข้าง ด้วยเหตุนี้มารดาบิดาจึง รักใคร่ทะนุถนอมเอาใจให้เดินแต่บนเครื่องลาด เวลาที่เศรษฐีบุตรโกรธใครก็จะกล่าวเป็นคำขัดเคืองว่า ฉันจะเหยียบแผ่นดินละ คือ จะไม่เดินไปบนเครื่องลาด ชนทั้งหลายก็กระทำตามใจให้หายโกรธ และให้เดินไปบนเครื่องลาด
เมื่อเศรษฐีบุตรโตขึ้น มารดาบิดาก็ให้กระทำปราสาท ๓ หลังที่สมควรจะอยู่ ใน ๓ ฤดู ให้หญิงฟ้อนทั้งหลายขับฟ้อนบำรุงบำเรอ เศรษฐีบุตรสมบูรณ์ด้วยความสุขราวกับอยู่ในสวรรค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้เสด็จไปแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจวัคคีย์ที่อิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธให้หาเศรษฐีบุตรนั้น และส่งไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคกับชาวบ้านประมาณ ๘๐,๐๐๐ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรขนละเอียดอ่อนที่พื้นเท้าของเศรษฐีบุตร
นี่เป็นการหาวิธีดูขนที่พื้นเท้าของเศรษฐีบุตร เพราะว่าพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระราชา ไม่มีทางที่จะได้ดูพื้นเท้าของเศรษฐีบุตรได้ แต่ถ้าเศรษฐีบุตรไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาค และกราบถวายนมัสการพระผู้มีพระภาค ก็จะเป็นโอกาสที่หมู่ชน และพระราชาจะได้เห็นขนที่พื้นเท้าของเศรษฐีบุตร
เมื่อเศรษฐีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว มีศรัทธาที่จะบวช เมื่อบิดามารดาอนุญาตแล้ว ท่านก็ได้อุปสมบท แต่พวกมิตรสหายพากันนำเครื่องสักการบูชา มาถวาย และสรรเสริญความงามของท่านเป็นประจำ แม้คนที่ไม่ใช่ญาติก็พากัน มาเยี่ยมเยือนเพื่อที่จะดูท่านไม่ขาดเลย ท่านต้องกังวลกับผู้ที่มาพูดจาปราศรัยด้วยเป็นนิตย์ ท่านจึงคิดว่า จะไปเจริญสมณธรรมที่ป่าช้าในสีตวัน ซึ่งเป็นที่ที่ใครก็กลัวและรังเกียจ ไม่กล้าจะไปที่นั่น เมื่อท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคและได้ฟังพระธรรม เพื่อเจริญสมณธรรมแล้ว ท่านก็ไปสู่ป่าสีตวัน
ท่านคิดว่า ท่านเป็นผู้ที่มีรูปร่างกายละเอียดอ่อนยิ่งนัก ควรที่จะเพียรด้วยความทุกข์ยาก ท่านจึงเพียรเดินจงกรมจนกระทั่งพื้นเท้าพุพอง มีหนอง ช้ำ แตก เป็นโลหิตไหลติดที่จงกรม ที่จงกรมนั้นแปดเปื้อนด้วยหยาดโลหิต เมื่อเท้าทั้งสองนั้นแตกช้ำ เดินไปไม่ได้ ท่านพระโสณเถระก็ไม่ย่อท้อที่จะกระทำความเพียร อุตส่าห์พยายามจงกรมด้วยเข่าและมือทั้งสอง แต่ท่านก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ท่านคิดว่า คนอื่นที่ได้ชื่อว่าการปรารภความเพียรนั้น ถ้าจะเพียรอย่างบากบั่นมั่นคง ก็จะเท่ากับความเพียรของท่านนั่นเอง แต่เมื่อท่านพากเพียรจนถึงอย่างนี้แล้ว คือ เพียรจนไม่มีใครเสมอเหมือน หรือใครจะเพียรก็คงจะไม่เพียรมากเกินไปกว่าท่าน แต่เมื่อท่าน เพียรอย่างนี้แล้วไม่บรรลุมรรคผล ท่านก็คิดว่า ท่านคงไม่ใช่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ไม่ใช่วิปัญจิตัญญูบุคคล ไม่ใช่เนยยบุคคล ท่านคงจะเป็นปทปรมบุคคล ซึ่งแม้ว่าจะได้ฟังพระธรรมเทศนาสักเท่าไรก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ท่านจึงคิดกลับไปเป็นคฤหัสถ์ และบริโภคสมบัติ กระทำบุญกุศลต่างๆ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่าน ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปสู่ที่ที่ท่านพระโสณโกฬวิสเถระเดินจงกรม ทรง พระมหากรุณาตรัสโอวาทที่มีอุปมาด้วยสายพิณ ทรงแสดงทางสายกลางแก่ ท่านพระเถระ และเสด็จกลับสู่เขาคิชฌกูฎ
ท่านพระโสณเถระประพฤติตามพระโอวาท ในเวลาไม่นานนักท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และในกาลต่อมาพระผู้มีพระภาคก็ทรงตั้งท่านพระโสณโกฬวิสะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทำความเพียร
- ขันติวาทีดาบส (ขันติบารมี)
- กามชาดก (ไม่ประมาทในการเจริญกุศล)
- ติลมุฏฐิชาดก (เป็นผู้ที่ว่าง่าย)
- พระสารีบุตรปรินิพพาน
- พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
- คามนิจันทชาดก
- ทานสูตร และ ทานวัตถุสูตร
- คันธารชาดก (ผู้สะสมสิ่งของ)
- รัฏฐปาลสูตร (ชีวิตของท่านพระรัฐปาละ)
- กุมารลิจฉวีสูตร
- ชนสูตร (เรื่องพราหมณ์ชรา ๒ คน)
- กัณหทีปายนจริยา (สัจจบารมี)
- สัปปุริสสูตร (เรื่องการพูด)
- เรื่องพระสุขเถระ
- ทานบารมี
- อัสสุสูตร (สังสารวัฏฏ์)
- รสพระธรรม
- ฤกษ์ดี (สุปุพพัณหสูตร)
- วิโรจนอสุรินทสูตร และ สุภาษิตชยสูตร
- โกกาลิกสูตร
- พระโสณโกลวิสเถระ
- เสรีสูตร
- มหากัสสปสูตร
- อักโกสกสูตร (ความโกรธ)
- มหาสุญญตสูตร (ความประพฤติที่เหมาะสม)
- พระโลสกติสเถระ (อรรถกถาโลสกชาดก)
- ให้แล้วไม่เสียดาย (ทสัณณกชาดก)
- มิตตามิตตชาดก
- เจติยราชชาดก
- กินททสูตร (การให้)
- สัจจกนิครนถ์โต้วาทะ
- โสณนันทบัณฑิตจริยา
- อกิตติจริยา (ศีลบารมี)
- พระเจ้าปุกกุสาติ 1 (ธาตุวิภังคสูตร)
- พระเจ้าปุกกุสาติ 2 (ธาตุวิภังคสูตร)
- กกจูปมสูตร (การคลุกคลี การเป็นผู้ว่าง่าย)
- จะเป็นคนดีหรือพระโสดาบัน
- ปังกธาสูตร และ ปุปผรัตตชาดก
- ผลของความประมาท (เขตตูปมาเปตวัตถุ)
- เจ้ากรรมนายเวร
- มีธรรมเป็นที่พึ่ง (มหาปรินิพพานสูตร)
- กปิลสูตร และ ยโสชสูตร
- ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ ๑ (ทรงบำเพ็ญพระบารมี)
- ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ ๒ (ทรงบำเพ็ญพระบารมี)
- ตอบแทนมารดาบิดา
- เรื่องอตุลอุบาสก (ความโกรธ)
- ธนัญชานีสูตร (ฆ่าความโกรธ)
- ทานสูตร และ ราชาสูตร
- นักฟ้อนนามว่า นฏคามณิ และ เรื่องนางรัชชุมาลา
- ภิสชาดก
- มาตุโปสกสูตร และ พหุภาณีสูตร
- หัตถกสูตร (เรื่องหัตถกเทพบุตร)
- อักขณสูตร
- อาสีวิสสูตร (อสรพิษ ๔ จำพวก)
- อิณสูตร