พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 75


    ตอนที่ ๗๕

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ ถ้ากรรมที่เรากระทำประกอบด้วยปัญญาให้ผล ปฏิสนธิจิตในชาติต่อไป ก็จะเป็นวิบากจิตที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เราสามารถที่จะเข้าใจอย่างนี้ แต่เราไม่รู้เวลาเกิดว่าเป็นผลของกรรมใด เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าเป็นทวิเหตุกะ มี อโลภเจตสิก อโมหเจตสิกเกิดเป็นส่วนใหญ่ ไม่ประกอบด้วยปัญญา นั่นก็เป็นเรื่องคิดทั่วๆ ไปว่าคนที่สนใจ และก็มีปัญญาจะมีมากหรือมีน้อย เพราะฉะนั้นก็พอจะคิดได้ตามตรงๆ ว่าถ้าชาตินี้เป็นผลของกรรมในอดีต ซึ่งเป็นไปกับปัญญา เวลาที่ให้ผลก็จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับเหตุที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้

    ผู้ฟัง สัตว์เดรัจฉานบางตัวที่ใช้กรรมหมดแล้ว มีสิทธิ์ที่จะเกิดเป็นมนุษย์ เช่น ม้ากัณฑกะ หลังจากที่ม้านั้นตายแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกคนอยู่ในโลกนี้ไม่นาน เพียงชั่วขณะที่กรรมที่ทำให้เกิดเป็นบุคคลนี้ ทำให้ยังเป็นบุคคลนี้ต่อไป แต่ก็จะถึงวันหนึ่งซึ่งต้องสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ เมื่อสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ก็แล้วแต่กรรมไหนจะให้ผล จะไปเกิดในนรก จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน จะไปเกิดบนสวรรค์ก็ได้ แล้วแต่กรรมใดที่จะให้ผล

    ผู้ฟัง สัตว์เดรัจฉานตัวนั้นปฏิสนธิสู่ความเป็นมนุษย์ได้

    ท่านอาจารย์ ก่อนเป็นสัตว์เป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเคยกระทำกรรมดีก็ได้ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นสัตว์มาก่อน แล้วก็เกิดเป็นสัตว์อีก แล้วแต่ว่ากรรมใดในชาติไหนจะให้ผลที่เป็นกุศล ให้ผลเมื่อไหร่ ก็ทำให้ปฏิสนธิเป็นกุศลวิบาก แล้วแต่ว่าจะเป็นอย่างไหน ที่ไหน ไม่ใช่เฉพาะชาติที่เป็นสัตว์ แม้ชาติก่อนๆ นั้นกุศลที่ได้กระทำแล้วหรืออกุศลที่ได้กระทำแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยทำให้วิบากจิตทำปฏิสนธิกิจสืบต่อจากชาตินี้ได้

    ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันนะจิตทำกิจปฏินธิได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ทำไม่ได้ เพราะตามความเป็นจริง ระหว่างสัมปฏิจฉันนจิต และสันตีรณจิต สัมปฏิจฉันนจิตเกิดก่อน มีเจตสิกเท่ากับสันตีรณจิตที่เป็นอุเบกขาเท่ากันเลย แต่ว่าลองคิดถึงฐานที่เกิด จักขุวิญญาณเกิดที่จักขุปสาท ไม่ได้เกิดที่หทยวัตถุ แต่สัมปฏิจฉันนะไม่ได้เกิดที่จักขุปสาท แต่เกิดที่หทยวัตถุ เพราะฉะนั้นเพิ่งเป็นจิตที่เกิดที่หทยวัตถุ ยังไม่มีกำลังเท่ากับจิตที่หลังจากที่สัมปฏิจฉันนะดับไปแล้ว สันตีรณะก็เกิดที่หทยวัตถุ มีกำลังมากกว่าโดยฐานที่เกิด และในบรรดา ๗ ดวงที่เป็นอกุศลวิบากก็เหลือเพียงดวงเดียวคือสันตีรณะที่จะทำปฏิสนธิได้

    ผู้ฟัง สันตีรณะมีทั้งหมด ๓ ดวง แต่ทำกิจปฏิสนธิได้แค่ดวงเดียว

    ท่านอาจารย์ สำหรับอกุศลวิบาก ๑ ดวง เกิดในอบายภูมิทั้งหมดทุกภูมิ จะเป็นสัตวในนรก จะเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานตัวเล็กตัวใหญ่ ก็ปฏิสนธิด้วยอเหตุกอกุศลวิบากที่เป็นอุเบกขาสันตีรณะ แต่ยังมีอีกหนึ่งที่เป็นอุเบกขาสันตีรณะที่เกิดในสุขติภูมิได้สองภูมิคือ มนุษย์กับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต้นชั้นแรก แต่ว่าเป็นผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิดสำหรับในภูมิมนุษย์ จะบ้า ใบ้ บอด หนวก แต่สำหรับเทวดาไม่มีบ้า ใบ้ บอด หนวก แต่ต้องต่างกันเพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่ผลของกุศลที่ทำให้มหาวิบากเกิด

    ผู้ฟัง สันตีรณะมีทั้งหมด ๓ ดวง ทำกิจปฏิสนธิได้ ๒ ดวง เว้นดวงเดียว

    ท่านอาจารย์ คือโสมนัสสันตีรณะ เพราะว่าถ้าเป็นผลของกุศลที่โสมนัส ก็เป็นปัจจัยให้โสมนัสมหาวิบากทำกิจปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นถ้าเขามีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย หมายความว่ามีกำลังมากกว่าอุเบกขาเวทนา แต่กำลังอันนั้นถ้ามีแล้วก็ต้องเป็นหน้าที่ของมหาวิบาก ไม่ใช่หน้าที่ของสันตีรณโสมนัสที่จะทำปฏิสนธิ

    ผู้ฟัง เป็นดวงที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ ไม่มี ต้องจำไว้เลย อเหตุกจิตมี ๑๘ เป็นวิบาก ๑๕ เป็นกิริยา ๓ ทั้งหมดในพระไตรปิฎกจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย จะมีอกุศลวิบากเกิน ๗ ไม่ได้ และอกุศลวิบากจะมีเหตุเกิดร่วมด้วยไม่ได้ แต่สำหรับทางฝ่ายกุศลวิบากที่เป็นกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมี ๘ เท่านั้นเกินกว่านั้นก็ไม่ได้ สำหรับวิบากที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีมากกว่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงจิตประเภทที่ไม่มีเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย ก็จะต้องเป็นวิบาก ๑๕ คือ เป็นอกุศลวิบาก ๗ และเป็นกุศลวิบาก ๘ ส่วนกิริยาจิตมี ๓ ที่เป็นอเหตุกะคือไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ ง่าย และจำได้ดีเลยใช่ไหม น้อยมากเลย

    ผู้ฟัง จิตที่ปรากฏ คือ สัมปฏิจฉันนะ หรือ ลักษณะใดลักษณะหนึ่งไม่สามารถจะทราบได้เลย แต่ว่าเราศึกษาไปทำไม

    ท่านอาจารย์ ศึกษาเพื่อให้เห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงสภาพธรรมที่เกิดเพราะมีปัจจัย เมื่อเกิดแล้วดับ แล้วก็ต้องมีสภาพธรรมอื่นเกิดต่อตามลำดับด้วยดี เพราะฉะนั้นการศึกษาของเราเท่าที่เราสามารถจะเข้าใจได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เราไปพยายามขวนขวายที่จะไปรู้เช่นที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดง สามารถเข้าใจได้ว่าเหตุผลก็คือว่า จักขุวิญญาณดับแล้วโดยนัยของพระสูตรจะแสดงอย่างที่เราเข้าใจได้ หลังจากเห็นแล้วจิตที่เกิดต่อเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เราสามารถจะรู้ได้เพียงเท่านี้เอง เป็นธรรมที่เป็นอนัตตา ทุกคนอยากมีกุศลจิตหลังเห็น จะเป็นได้อย่างไรถ้าไม่มีการฟังพระธรรมจนกระทั่งสามารถที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้กุศลจิตเกิดต่อจากโวฏฐัพพนจิตซึ่งเป็นกิริยา

    เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ก็คือหลังจากที่โวฏฐัพพนะดับไปแล้ว กุศลจิตเกิดบ้างไหม คงจะยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีปัจจัยพอที่กุศลจิตจะเกิด อกุศลจิตเกิดอย่างรวดเร็วเลย ยับยั้งไม่ได้เลยตามการสะสม ซึ่งก็จะเป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด คือ เป็นโมหมูลจิตมีโมหเจตสิกเป็นเหตุเกิดร่วมด้วยเพียงเหตุเดียว หรือเป็นจิตที่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมกับโลภเจตสิกรวมเป็น ๒ เหตุ ทำให้จิตนั้นติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือถ้าอารมณ์นั้นไม่ใช่อารมณ์ที่น่าพอใจก็จะเป็นปัจจัยให้โมหเจตสิกกับโทสเจตสิกเกิดร่วมกับจิตซึ่งเป็นโทสมูลจิตโดยที่ยับยั้งไม่ได้เลย

    แต่ให้เราเข้าใจว่าสิ่งใดก็ตามที่เกิดต้องมีปัจจัย

    เพราะฉะนั้น อะไรที่เกิดกับใครคนนั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ เช่น บางคนก็จะบอกว่าเขาเป็นคนที่เจ้าโทสะมากเลย เกือบจะเป็นคนที่โทสะเดินได้ หรือโทสะนั่ง หรือโทสะนอน คือ เป็นโทสะไปโดยตลอด แต่ถ้าศึกษาธรรมก็รู้ว่าบังคับไม่ได้ และก็เป็นธรรม และจะได้รู้ว่าได้สะสมธรรมฝ่ายอกุศลมามาก หรือฝ่ายกุศลมามาก นี่ก็เป็นการที่ว่าถ้าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความเป็นอนัตตา เราก็จะมีความเข้าใจซึ่งตัวปัญญาก็จะเริ่มสะสมทางฝ่ายกุศลมากกว่าทางฝ่ายอกุศล เพราะเริ่มรู้ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ฉะนั้นในชีวิตประจำวันของเราแม้เราจะฟังพระธรรม และศึกษาพระธรรม ก็คือปกติธรรมดาว่าเราก็เคยโมโห ก็ยังโมโหอยู่ได้เป็นเหตุ และปัจจัยที่เราสะสมมาในอดีต

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่ปรากฏที่เราศึกษานี่ก็คือสิ่งที่อยู่กับตัวเราในชีวิตประจำวันโดยตลอด

    ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นจึงได้ปรากฏ แต่เร็วแสนเร็วขณะนี้ ทุกอย่างเกิดดับเร็วมากโดยสติสัมปชัญญะไม่ได้ระลึกจึงไม่รู้ลักษณะที่เป็นธรรม พูดแต่เรื่องธรรม ชื่อธรรม เรื่องของสิ่งที่มี แต่ยังไม่มีการรู้ลักษณะที่เป็นธรรม จนกว่าสติสัมปชัญญะเกิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็จะเริ่มเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เช่นขณะนี้เป็นปกติ อาศัยการฟังก็เริ่มที่จะเข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏนี่คืออะไร แล้วสภาพที่เห็นก็ไม่ใช่เรา แต่ทุกอย่างต้องตรงขึ้น ชัดเจนขึ้น

    ผู้ฟัง ตราบใดที่เราไม่มีปัญญา เราก็จะมีความเข้าใจผิด เห็นผิดได้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราคิดเอง แต่การฟังธรรมไม่ใช่ให้เราคิดเอง ตามที่กำลังได้ฟังมีเหตุมีผลหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ ไม่ใช่ให้เราคิดเองโดยไม่ได้ฟัง แล้วไปคิดเอาเอง แต่ว่าสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง ฟังอะไร จากใคร ฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ ทรงแสดงด้วยพระมหากรุณาโดยละเอียด แม้สิ่งที่เหมือนกับชีวิตประจำวันที่ธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน และก็มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าต้องมีความเข้าใจตามการฟังว่าขณะนี้ฟังเรื่องอะไร ถ้าฟังเรื่องนี้เข้าใจตรงที่ได้ยินได้ฟัง ไม่เอาความคิดอื่นๆ มารวมด้วยใช่ไหม แต่ถ้าเอาความคิดอื่นๆ มารวมด้วยก็คือว่าพระธรรมว่าอย่างนี้ แล้วเราก็คิดอย่างนี้เราก็ยังคิดของเราไปเอง

    ผู้ฟัง แล้วชีวิตประจำวันเรา เราแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า รูปคืออะไร นามคืออะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าแยกออกแล้วจะต้องฟัง แล้วจะต้องอบรมไหม

    ผู้ฟัง คือจริงๆ แล้วยังไม่ถึงจุดที่แยกออก ก็ไม่มีคำตอบให้อาจารย์

    ท่านอาจารย์ คือฟังเพื่ออบรมให้เกิดความเข้าใจให้ชัดเจนในความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมนั่นเอง

    ผู้ฟัง แล้วลักษณะของรูปอยู่ตรงไหน

    ท่านอาจารย์ เห็นอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าเห็นก็เป็นไมโครโฟน เห็นท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา จะรู้ว่าเป็นไมโครโฟนหรือไม่

    ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็น เห็นอะไร ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา รวดเร็วเหมือนแสงฟ้าแลบ เพราะว่าดับแล้วเร็วมาก แต่ใจนั้นคิดไม่จบในสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้น ชื่อว่าจิต อีกความหมายหนึ่ง "เพราะมากด้วยความคิด" เพราะฉะนั้นเราจะแยกโลกออกได้ว่า โลกทางตา ชั่วขณะที่กระทบจักขุปสาท ปรากฏแล้วหมดเลย ต่อจากนั้นก็คิด โดยที่ไม่จำเป็นต้องคิดเป็นคำๆ แต่คิดถึงรูปร่างสัณฐานด้วยความทรงจำก็ได้ เช่น เวลาฝัน เหมือนเห็นใช่ไหม แต่จริงๆ ไม่ใช่ ไม่ใช่สิ่งที่กระทบจักขุปสาทเลย เพราะฉะนั้น ก็คือคิดด้วยความจำ แสดงให้เห็นว่าโลกของความคิดติดตามไปแม้สิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏทางตาก็ยังคิด เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ อยู่ในโลกของความคิดของตัวเองมากมายมหาศาล แล้วแต่เหตุปัจจัยว่ามีปัจจัยที่คิดดีหรือคิดไม่ดี คิดถูกหรือคิดผิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า ก่อนจะได้ฟังพระธรรม จิตที่คิดคิดไปในเรื่องอะไร และหลังจากที่ได้ฟังแล้วก็ยังไม่ได้หมดความคิดเลย ไม่มีใครหมดความคิดเลย แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าคิดไม่ใช่เห็น เป็นคนละขณะ ถ้ายังแยก ๖ โลกไม่ออก ก็ยังเป็นเรา และก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างเช่นเห็นว่าเป็นไมโครโฟน ก็เป็นไมโครโฟนอยู่เรื่อยๆ ไม่ได้เกิดความเข้าใจสักนิดที่จะรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเริ่มเข้าใจถูกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ว่า ตอนแรกเราอาจจะนึกเป็นคำ แต่ตอนหลังชินเข้าก็รู้ได้ว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เป็นความจริงของสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่ถามว่าไม่เห็นรูปธรรมนี่ไม่ได้ใช่ไหม เพราะว่า รูปปรากฏ แต่ว่าดับเร็วมาก ฉะนั้นก็ยังเหลือแต่ความจำที่ทำให้เกิดคิดอย่างยาว เสียงก็เช่นเดียวกัน เสียงปรากฏรวดเร็วเหมือนแสงฟ้าแลบดับแล้ว แต่คิดเรื่องเสียง คิดเรื่องราวต่างๆ แม้แต่กำลังอ่าน จะอ่านพระไตรปิฎก จะอ่านหนังสือพิมพ์ หรือจะอ่านอะไรก็ตาม ความทรงจำเรื่องเสียงทั้งนั้น แม้ว่าจะไม่เปล่งออกมาเป็นคำ แต่ก็รู้ว่าเป็นความทรงจำเรื่องเสียง เป็นเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นเรื่องคิดนี่มากมายเหลือเกิน อยู่ในโลกของความคิดของเราเอง สุขทุกข์ก็อยู่ที่ความคิด

    ผู้ฟัง ถ้าเราแยกโลกทั้ง ๖ โลกนี้ไม่ได้ ก็คือเราไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าต้องอบรมความรู้ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ในแต่ละทวาร เพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ

    ผู้ฟัง เพื่อเป็นการค่อยๆ เข้าใจจากการที่ได้ยินได้ฟัง จากการสนทนา ค่อยๆ น้อมให้มีความเข้าใจตรงนี้ว่ามีโลกอย่างนี้ๆ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ฟังไปจนกว่าจะระลึกหรือรู้ขึ้นทีละน้อยว่าขณะนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเป็นขณะนี้ก็คือขณะที่จะเข้าใจความหมายของคำว่าไม่ติดนิมิตอนุพยัญชนะ นิมิตคือส่วนหยาบ อนุพยัญชนะคือส่วนละเอียดของสิ่งที่ปรากฏ เพราะขณะนั้นกำลังรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ที่เคยสนใจอย่างมากในรูปร่างสัณฐานในส่วนละเอียดก็จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นเรื่องคิด เพราะจริงๆ ก็คือสิ่งที่ปรากฏสามารถกระทบจักขุปสาทแล้วปรากฏแล้วก็ดับไปเลย

    ผู้ฟัง โลภะ โทสะ โมหะ เกิดร่วมด้วยกับเจตสิก ก็ยังไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าเจตสิกจะเกิดเพียง ๑ ดวงไม่ได้ เวลาที่จิตหนึ่งขณะเกิดจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท ถ้ามากกว่านั้นก็คือแล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวว่าโทสเจตสิกเกิดร่วมกับเจตสิกอื่นก็แสดงว่ามีเจตสิกอื่นที่ไม่ใช่โทสเจตสิกเท่านั้นที่เกิดกับจิตในขณะนั้น

    ผู้ฟัง อยากทราบว่านินทา อิจฉา ริษยา มักโกรธ ชอบฆ่า ชอบเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เป็นตัวให้ผลใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ตัวผลเกิดขึ้น ผล คือ วิบาก เป็นผลของอกุศลกรรม ซึ่งอกุศลกรรมนั้นสำเร็จไปแล้วดับไปแล้ว ถึงกาละพร้อมที่จะให้ผลเมื่อไหร่ก็คือวิบากจิตเกิดพร้อมเจตสิก กรรมก็เป็นธรรม วิบากก็เป็นธรรม คิดก็เป็นธรรม เห็นก็เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ตอนนี้ตรงไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล

    อ.กุลวิไล ขณะที่มีโลภมูลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นมีความติดข้องในอารมณ์ ถ้าเราชอบนั่นคือความติดข้องในอารมณ์นั้นก็เป็นโลภะ แต่ถ้าเราไม่ชอบในอารมณ์นั้น เราจะรู้ว่าจิตใจเราจะขุ่นมัวหรือว่าหนัก ไม่พอใจในอารมณ์นั้นก็จะเร่าร้อนใจ ในขณะนั้นก็เป็นโทสะที่เราไม่พอใจในอารมณ์นั้น แต่ถ้าเป็นกุศลแล้วจะเบาสบาย และผ่องใส เราไม่ติดในอารมณ์นั้น และเราก็ไม่เกิดความที่ไม่พอใจในอารมณ์นั้นด้วย และถ้าเป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐานจะเป็นการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละทาง จะมีลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมปรากฏ ก็เป็นความสงบ และความเข้าใจในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้น ขณะนั้นก็มีกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาด้วย

    ผู้ฟัง ขอให้ยกตัวอย่างขณะที่นั่ง

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ หลังจากที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว เป็นกุศลหรืออกุศลทั้งหมด เพราะฉะนั้นแสดงว่าจิตที่ไม่ใช่กุศล คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส โดยนัยของพระสูตร และตามความเป็นจริงที่สามารถจะเข้าใจได้ เพราะว่าเมื่อพูดถึงปัญจทวาราวัชชนะ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยความรวดเร็ว เพราะฉะนั้นขณะใดที่ไม่ใช่จักขุวิญญาณกำลังเห็น หรือจิตที่ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นอกนั้นก็เป็นกุศลหรืออกุศล

    เพราะฉะนั้นเวลานี้ เห็นตลอดเวลา เหมือนอย่างนั้น ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ว่ารูปดับเร็วแค่ไหน ๑๗ ขณะจิต ขณะเห็นกับได้ยิน ยังแยกไม่ออกเลย เหมือนพร้อมกัน เกิน ๑๗ ขณะจิตแล้ว เพราะฉะนั้นรูปนี่ดับแล้ว จะเร็วสักแค่ไหน จึงปรากฏว่ามีสิ่งที่เห็นแล้วคิดโดยที่เราก็ไม่รู้ตัว แล้วขณะที่กำลังฟังมีใครรู้ไหม ถ้าไม่บอกว่าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต มีจิตรู้ แต่เป็นกุศลหรืออกุศล นำชื่อมาเรียง นำตำรามากาง บอกได้ว่าถ้าขณะนั้นมีความขุ่นเคืองใจ ขณะนั้นเป็นอกุศล มีความติดข้องเป็นอกุศล ขณะที่กำลังฟังธรรมเป็นกุศล นี่ก็บอกแต่จะรู้ไหม เพราะว่าเร็วเหลือเกิน สภาพธรรมหลายวาระมากเลยที่จะเกิดดับสืบต่อจนกระทั่งถ้าสติสัมปชัญญะไม่รู้ตรงลักษณะหนึ่ง สิ่งทั้งหมดที่เรากล่าวถึง เกิดแล้วดับแล้วทั้งนั้นเลย

    เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าเราจะรู้ตัวกุศลหรืออกุศล แต่เราเริ่มเข้าใจว่านอกจากเห็น นอกจากได้ยิน นอกจากได้กลิ่น นอกจากลิ้มรส นอกจากรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้วเป็นกุศลหรืออกุศลเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งตรงกันข้าม ถ้าเป็นพระอรหันต์ไม่มีทั้งกุศล และอกุศลเลย นี่คือความต่างกันอย่างเป็นผู้ที่ควรแก่การบูชาเป็นรัตนหนึ่งใน ๓ รัตนที่สามารถที่จะเป็นแม้สาวกที่ได้อบรมเจริญปัญญาจนประจักษ์แจ้งความจริง และดับกิเลสได้เป็นพระอริยบุคคล ในขณะที่สภาพธรรมแม้ในขณะนี้ก็ปรากฏเหมือนไม่มีอะไรดับเลย เพราะฉะนั้นก็เพียงแต่ว่าให้เราเริ่มแยกเห็นเป็นวิบาก ได้ยินเป็นวิบาก ได้กลิ่นเป็นวิบาก ลิ้มรสเป็นวิบาก รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นวิบาก หลังจากนั้นกุศลหรืออกุศล นี้คือ อย่างคร่าวๆ แต่ว่าตัวจริงๆ ก็คือฟัง แต่ขณะนี้รู้ไหมว่าเป็นกุศลหรือไม่ หรือเป็นอกุศล ขณะฟังก็ฟัง เสียงพัดลมก็มี นกร้องก็มี สิ่งที่กระทบสัมผัสแข็งก็มี เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่แยก เรื่องวิบากคือผลของกรรมว่าเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ขณะเห็น ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส กล่าวซ้ำเพื่อเตือนให้รู้ว่า นอกจากนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล นอกจากนั้นส่วนใหญ่เป็นอะไร กุศลหรืออกุศล เห็นไหมวันหนึ่งๆ มากแค่ไหน แต่ไม่รู้

    ผู้ฟัง จากการศึกษาเราก็ทราบว่าอกุศลเกิดมากกว่า จึงอยากจะให้กล่าวถึงว่าประโยชน์ของการฟังธรรม การฟังถึงเรื่องราวของอกุศลมีประโยชน์ต่อเราอย่างไรที่จะทำให้เรามีการอบรมปัญญาต่อไป

    ท่านอาจารย์ คุณศุภัสสรชอบคนที่มีกุศลหรืออกุศล

    ผู้ฟัง ชอบคนที่มีกุศล

    ท่านอาจารย์ แล้วเราเป็นคนไหน

    ผู้ฟัง คนที่มีอกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นประโยชน์ก็คือ ถ้ารู้ว่าธรรมฝ่ายใดดี เขาเราเหมือนกัน เราก็สะสมสิ่งที่เป็นกุศลแทนอกุศล โดยมีความรู้ถูกต้องว่าเรามีอกุศลมากแค่ไหน ก็เริ่มที่จะมีกุศลทุกทางที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าทางกาย หรือทางวาจา แม้ทางวาจาเป็นกุศลได้ แต่ปกติถ้าไม่ฟังธรรม จะเป็นกุศลหรืออกุศล นี่ก็เป็นประโยชน์ของการฟัง

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่นี้ท่านอาจารย์กล่าวถึงทางกาย เราจะเจริญกุศลทางกายได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เคยช่วยใครหรือเปล่า นั่นเป็นกุศล

    ผู้ฟัง แต่บางครั้งก็ไม่ช่วย

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นอกุศล คือเป็นเรื่องตรง เป็นเรื่องจริง สำคัญที่สุดคือเป็นอย่างไรให้เข้าใจถูกต้องอย่างนั้น มิฉะนั้นแล้วเรามีอกุศลมาก แต่เราอยากจะให้เป็นกุศลมากๆ แล้วเราก็ไปเรียกชื่อว่าเป็นกุศล แต่ไม่ได้เลย ธรรมเป็นเรื่องตรง ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ต้องเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง พิจารณาแล้วอกุศลมากจริงๆ แล้วจะอบรมอย่างไร คือ กุศลไม่เกิดเลย ระยะแรกก็หยาบกระด้าง ระยะหลังๆ ก็กลายเป็นโลภะมากมาย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 149
    20 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ