พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 94
ตอนที่ ๙๔
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ฟัง ตามที่สนทนาเรื่องผลของกรรมซึ่งจะทำให้เกิดปฏิสนธิจิต หนึ่งประเด็นนี้ซึ่งทุกคนก็เข้าใจแล้ว ส่วนประเด็นที่สองก็คือการสะสม ขอถามว่า ๒ ประเด็นนี้เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร เพราะบางคนอาจจะสะสมมาด้วยจิตนี้ ปฏิสนธิมาด้วยเหตุ ๒ เหตุ แต่เขามีการสะสมมาที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียนในเรื่องธรรม คือ คาบเส้นกันระหว่างปฏิสนธิจิตกับการสะสม จึงขอให้อาจารย์ชี้ชัดออกมาว่า เรื่องปฏิสนธิจิต เรารู้ตามเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถรู้ได้จริง ส่วนการสะสมเขาอยู่ตรงไหน มีอะไรเนื่องกันกับปฏิสนธิจิตหรือไม่
ท่านอาจารย์ จากชีวิตประจำวันก็คงจะทำให้พิจารณาเข้าใจได้ วันนี้ตั้งแต่เช้ามาถึงขณะนี้ เรามีการฟังธรรมมาโดยตลอด เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ หรือว่าน้อยกว่าขณะที่เรารับประทานอาหาร แต่งตัว เพลิดเพลิน อย่างไหนจะมากกว่ากัน หรือขณะที่ให้ทาน หรือช่วยเหลือบุคคลอื่น ขณะนั้นก็เป็นกุศล น้อยหรือมาก กับขณะที่ฟังธรรม ก็เป็นชีวิตของแต่ละคนตามความเป็นจริงเป็นปกติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เวลาที่จะสิ้นชีวิตไม่มีใครที่จะเลือกได้เลยว่าขอให้กรรมที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกให้ผล คือ ขอให้กรรมที่ได้มาฟังธรรมแล้วเข้าใจให้ผล เพราะเหตุว่าทั้งชาติเรามีกรรมอะไรบ้าง ทั้งที่เป็นกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา และกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา แต่ขณะใดที่มีการฟังธรรม มีการเข้าใจธรรม ไม่สูญหายสะสมสืบต่อเป็นอุปนิสัย
ที่เรากล่าวในภาษาไทยว่าอุปนิสัย ก็มาจาก "อุปนิสสย" คือที่เราได้กระทำมาแล้วเป็นสิ่งที่มีกำลังที่จะทำให้สิ่งนั้นสามารถที่จะเกิดอีก บางคนชอบให้ทานประเภทไหนก็จะให้ทานประเภทนั้น บางคนชอบศึกษาเล่าเรียน ก็ไม่มีใครที่จะยับยั้งความใส่ใจความสนใจที่จะเข้าใจธรรมได้ ก็เป็นเรื่องของชีวิตตามความเป็นจริงแต่ละขณะ ซึ่งเมื่อใกล้จะตาย กรรมหนึ่งเท่านั้นในชาตินี้ก็เลือกไม่ได้เลยว่าจะเป็นกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญา หรืออกุศลกรรมจะให้ผล แต่ถ้าเป็นกุศลกรรมให้ผล ก็เลือกไม่ได้อีกว่าจะเป็นกรรมที่เป็นผลของทาน หรือเป็นผลของศีล หรือเป็นกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา อาจจะเป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือการเข้าใจธรรม ตรึกนึกถึงธรรมในขณะนั้นก็ได้
เพราะฉะนั้น เวลาที่กรรมให้ผลทำให้ปฏิสนธิเป็นทวิเหตุกบุคคล คือประกอบด้วยเหตุ ๒ หรือเป็นติเหตุกบุคคล ประกอบด้วยเหตุ ๓ ก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นหลังจากที่เกิดแล้ว ความเป็นไปในระหว่างที่ยังไม่ตายของแต่ละชีวิต เป็นไปตามปัจจัยที่ได้สะสมมาแล้วทั้งนั้น แม้แต่การจะเห็น การที่จะได้ยิน ชีวิตวันหนึ่งจะขึ้นหรือลง จะเปลี่ยนแปลงเป็นสุขหรือทุกข์ ก็แล้วแต่กรรมใดถึงกาละที่สุกงอมพร้อมที่จะให้วิบากจิตนั้นๆ เกิดขึ้นก็ต้องเกิด และการที่ได้สะสมความเข้าใจธรรม ความสนใจธรรม การได้ฟังธรรมก็สะสมสืบต่อมา แม้ว่าเราจะได้ฟังธรรมไม่ถึงขนาดที่ว่าจะประพฤติปฏิบัติตามก็มี หรือบางกาละขณะนั้นก็มีการอบรมเจริญปัญญา หรือประพฤติปฏิบัติตามก็มี
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แต่ละขณะจิตที่เกิดได้ เรารู้ได้แน่นอนว่าเพราะมีปัจจัยที่ได้สะสมมาที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แม้ว่าปฏิสนธิจิตจะเป็นผลของกุศลกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่การสะสมที่ได้สะสมมาแล้วในความสนใจธรรมก็ทำให้เราได้ฟังธรรม แล้วอบรมความรู้ความเข้าใจต่อไป ซึ่งชาติต่อไปก็เหมือนชาตินี้ คือไม่รู้ว่ากรรมใดจะให้ผล จะเป็นอกุศลกรรม หรือกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แต่การสะสมสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ทั้งกุศล และอกุศลไม่สูญหายเลย ทำให้เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยอุปนิสัยต่างๆ กัน
อ.วิชัย ขอสอบถามสนทนาเพื่อความเข้าใจของผู้ฟังว่า เวทนา ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา โสมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา เป็นเวทนาอย่างเดียวกัน หรือไม่ใช่อย่างเดียวกัน
ผู้ฟัง เป็นเวทนาเจตสิกเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเป็นจิตชาติวิบากทางปัญจทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น ก็จะเป็นอุเบกขาเวทนา แต่ถ้าเกิดทางกายก็จะมีทั้งสุขเวทนา และทุกขเวทนา ถามว่าเป็นประเภทเดียวกันหมด หรือไม่ ถ้ากล่าวโดยเจตสิกก็เป็นเวทนาเจตสิกประเภทเดียวกัน แต่ถ้ากล่าวโดยประเภทของเวทนา ก็มีความแตกต่างกันถึง ๕ ประเภท คือ อุเบกขาเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา ส่วนทางใจคือโทมนัสเวทนา และโสมนัสเวทนา
อ.วิชัย การสอบถามสนทนาเพื่อให้เป็นความเข้าใจจริงๆ ไม่ว่าจะตอบโดยลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจ เพราะเหตุว่าโดยสภาพธรรมเป็นสังขารธรรม ต้องมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปโดยไม่มาเกิดอีกเลย ฉะนั้นโดยสภาพของการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม คือ จิต และ เจตสิก เมื่อเกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นเพียงเวทนาเดียว แล้วแต่ว่าเวทนาที่เกิดขึ้นเป็นสุข เป็นทุกข์ อุเบกขา หรือโสมนัส โทมนัส ดังนั้นก็เป็นการเกิดขึ้นของสภาพธรรมหนึ่งๆ แล้วก็ดับไป แล้วแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นประกอบด้วยเวทนาอะไร ฉะนั้นก็ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวกัน แต่ว่าการเกิดขึ้นของจิตแต่ละประเภทต้องประกอบด้วยเพียง ๑ เวทนาเท่านั้น
ท่านอาจารย์ คำถามของคุณวิชัยก็เป็นนัยทบทวนเรื่องของขันธ์ เมื่อกล่าวถึงปรมัตถ์ เราก็จำได้ว่ามีจิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ความหลากหลายของจิต เจตสิก และรูปมากเหลือเกิน เพราะฉะนั้นที่ถามเมื่อครู่นี้ก็แสดงให้เห็นถึงว่า พิจารณาโดยนัยของความเกิดขึ้นเป็นอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และเมื่อเกิดแล้วเพราะมีปัจจัยก็ดับไปเลยไม่กลับมาอีกเลย นี่ก็เป็นลักษณะของธรรมที่เป็นขันธ์ มีการปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เช่น เวทนา บางกาละก็เป็นสุขเวทนา บางกาละก็เป็นทุกขเวทนา นั่นคือความหลากหลายของขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอะไรก็ตามแต่ก็คือ "เวทนาขันธ์" ไม่เป็นอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาวะปรมัตถ์ ถ้าถามถึงปรมัตถ์ก็เป็นเวทนาเจตสิก ถ้าโดยนัยของขันธ์ ซึ่งเข้าใจแล้วว่าสภาพธรรมที่เราคิดว่ามีอยู่ตลอดเวลา ความจริงเป็นชั่วขณะที่เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย
เพราะฉะนั้น ลักษณะอย่างนั้นไม่มีทางที่จะเป็นแบบเก่า แต่ใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุว่าดับแล้ว ก็คือว่าพ้นจากภังคขณะก็ไม่มีทางที่จะเป็นสิ่งนั้นต่อไปอีกได้ แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมที่เป็นรูปบ้าง จิตบ้าง เจตสิกบ้างเกิดขึ้น เมื่อจำแนกเป็นรูปขันธ์ต่างๆ ก็คือ "รูปขันธ์" เวทนาต่างๆ ก็เป็น "เวทนาขันธ์" สัญญาความจำ จำเสียงก็มี จำสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี จำรสต่างๆ ก็มี ก็เป็น "สัญญาขันธ์" ที่จำ แม้ว่าจะหลากหลาย รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ อีก ๕๐ ประเภทก็เป็น "สังขารขันธ์" สำหรับจิตเป็น "วิญญาณขันธ์" ที่กำลังเห็นขณะนี้เป็นจิตเก่าหรือไม่ ไม่ใช่เลย นี่ก็คือเมื่อเข้าใจปรมัตถธรรม ก็รู้ไปถึงความเป็นจริงของปรมัตถธรรมนั้นๆ ว่าเพียงเกิดขึ้นแล้วดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน มีขณะไหนที่พอจะรู้ตัวว่าเป็นลักษณะเวทนาประเภทใด เพราะว่าโดยทั่วไปก็จะเป็นลักษณะเป็นการคิดนึก
ท่านอาจารย์ ธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ แล้วก็จะได้ทราบว่าความเข้าใจของเราค่อยๆ เพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้นอย่างไร ตามที่บอกว่าเป็นชื่อทั้งหมดเลยนั้นก็จริง แต่ชื่อนั้นแสดงถึงลักษณะที่มีจริงๆ ไม่ใช่ชื่อเปล่าๆ ลอยๆ แต่เป็นชื่อซึ่งบ่งถึงว่าคำที่ได้ยินได้ฟังหมายถึงสภาพธรรมอะไร เช่น ถ้าบอกถึงความรู้สึก เราใช้คำว่าเวทนาในภาษาบาลี ไม่ต้องไปติดคำภาษาบาลีที่จะคิดว่า อาการตึงนี่เป็นทุกขเวทนา หรือเป็นเวทนาอะไร ไม่ต้องนึกถึงคำว่าเวทนาเลย แต่เมื่อเราฟังคำว่า "เวทนา" คำนี้ในภาษาบาลี หมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความโกรธ แต่เป็นความรู้สึก เวลาที่เกิดความรู้สึกที่กายเรา มีดบาดก็เจ็บ ต้องไปนึกว่าเป็นทุกขเวทนาหรือไม่ ไม่ต้องเลย แต่ฟังว่าเวทนานี่มีจริง เป็นสภาพธรรม ให้เข้าถึงลักษณะที่มีจริงในภาษาอะไรก็ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ภาษาบาลี เพราะว่าทรงแสดงพระธรรมเป็นภาษาบาลีเพื่อที่จะให้ไม่คลาดเคลื่อน ทุกชาติก็จะใช้ภาษาที่ตัวเองเข้าใจ แต่ต้องส่องถึงลักษณะจริงๆ ให้เข้าใจถูกว่าลักษณะของความรู้สึกไม่ใช่ลักษณะของ"เห็น" เพราะ"เห็น"ก็ "เห็น" แต่ความรู้สึกนี่ ถ้าเป็นทุกข์ทางกายทุกคนรู้ มี ๑ เวทนาแล้วคือทุกข์กาย นอกจากนี้ก็มีสบายทางกาย อาบน้ำเสร็จสดชื่น รู้ไหม ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เสียใจ น้อยใจ มีจริงไหม นั่นก็เป็นความรู้สึกที่เป็นโทมนัสเวทนา มีจริงๆ โทมนัสเวทนาเป็นภาษาบาลีมาจากคำว่า “ทุ ” กับ “มนัส” ส่องถึงลักษณะที่มีจริงๆ นั่นเอง
ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจว่าทรงแสดงถึงสภาพที่มีจริงให้เราเข้าใจถูก เห็นถูก โดยที่ไม่ต้องไปนึกถึงชื่อว่าภาษาบาลีชื่ออะไร มีคำแน่นอนในภาษาบาลี แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏไม่ต้องย้อนกลับไปหาชื่อ เพราะเหตุว่าถ้าย้อนกลับไปหาชื่อก็คือเรานั่นเอง การที่จะประจักษ์อย่างมั่นคงแม้ขั้นเข้าใจว่า “ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรม” ความจริงประการนี้ลืมไม่ได้เลย เพราะว่าจะอุปการะให้เราเข้าใจสภาพธรรมถูกต้องว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละลักษณะ และเวลาที่ดีใจก็มีจริง เสียใจก็มีจริง สุขก็มีจริง ทุกข์ก็มีจริง พอจะรู้ได้ แต่อุเบกขาแสดงไว้ว่าเห็นยาก เพราะละเอียดกว่า ทรงแสดงเวทนาโดยนัยของความหยาบละเอียดก็จะแสดงโดยหลายนัย เช่น อกุศลเวทนาต้องหยาบกว่ากุศลเวทนา และอกุศลเวทนาด้วยกันโทมนัสเวทนาก็ต้องหยาบกว่าเวทนาอื่น นี่ก็ตามความเป็นจริง ซึ่งเราก็พิสูจน์ได้ในชีวิตประจำวันว่าถ้าพูดถึงความรู้สึก เมื่อบอกว่าเจ็บ รู้ได้ อาการคันก็รู้ได้ หรือเวลาสุขก็รู้ได้ เสียใจก็รู้ได้ ดีใจก็รู้ได้ แต่เมื่อเป็นอุเบกขา แม้ว่าในวันหนึ่งๆ อุเบกขาเวทนาจะมีมากกว่าเวทนาอื่นแต่ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจธรรมคือตัวธรรมจริงๆ ต้องอาศัยการฟัง การไตร่ตรอง การรู้ประโยชน์ว่าที่ทรงแสดงพระธรรมทั้งหมดเพื่อเกื้อกูลให้เกิดความเห็นถูกว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่มีจริงๆ และก็ไม่ใช่ว่าจะเอาชื่อมาเรียกเมื่อมีสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดปรากฏ แต่สะสมความเข้าใจในความไม่ใช่ตัวตน เช่น ขณะที่ปวด ลักษณะที่ปวดมีจริงกำลังปรากฏ ปกติเราจะนึกถึงเรื่องอื่นไปเลย เป็นเรื่องเป็นราวทั้งหมด แต่ขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะที่ปวด เฉพาะตรงนั้นนิดเดียวก็จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเราไม่ได้คิดเรื่องอื่น เราไม่ได้มีความเห็นผิดร่วมด้วยในขณะนั้น เพราะว่าลักษณะของสภาพปวดก็ปรากฏกับกายวิญญาณคือจิตที่สามารถจะรู้สึกในขณะนั้นว่าความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่สบาย เป็นเวทนาเจตสิกที่เกิดกับกายวิญญาณ แต่ปัญญาสามารถจะเกิดกับจิตขณะต่อไปที่จะรู้ในลักษณะที่ปวดนั้นก็ได้ หรือรู้ในลักษณะของรูป หรือนามใดๆ ที่ปรากฏ ก็เป็นเรื่องที่เราเข้าใจถูกว่า เราศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรม เพื่อเข้าถึงธรรม ไม่ใช่ไปติดอยู่ที่ชื่อ
อ.สมพร เวทนา ๓ นั้น ท่านเรียกว่าเวทนาเพราะอำนาจของการเสวยอารมณ์มี ๓ อย่าง เมื่อว่าด้วยความเป็นใหญ่หรือความเป็นอิสระ ท่านจัดเป็นเวทนา ๕ อย่าง ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. โทมนัสเวทนา ๔. โสมนัสเวทนา ๕. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าด้วยความเสวยอารมณ์ ท่านจัดเป็นเวทนา ๓ อย่าง แต่เหมือนกันคืออย่างเดียวกัน เพราะอาจจะทำให้สับสนว่าบางทีเรียกว่าเวทนา ๓ บางทีเรียกว่าเวทนา ๕ เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่าเวทนา ๓ ด้วยอำนาจของการเสวยอารมณ์ เพราะเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน เช่น ปวดศรีษะ ซึ่งเราศึกษามาว่าจิตเกิดดับเร็วมาก แต่ความรู้สึกปวดศรีษะ ครึ่งชั่วโมงก็ยังไม่หาย
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้นั่งที่นี่ เห็นเกินครึ่งชั่วโมงหรือยัง
ผู้ฟัง เกิน
ท่านอาจารย์ จิตเห็นเกิดดับหรือไม่
ผู้ฟัง เกิดดับ
ท่านอาจารย์ เช่นเดียวกันใช่ไหม ดูนาน เห็นนาน เพราะฉะนั้นก็ดูรู้สึกปวดนาน เจ็บนาน แต่ความจริงก็คือจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน โดยที่ความรู้สึกนั้นมีปัจจัยที่ให้เกิดขึ้นเป็นความรู้สึกที่เจ็บ
ผู้ฟัง แต่ว่าจริงๆ แล้วถึงแม้ว่าเราจะศึกษาอย่างไรก็ตาม เราก็มีความรู้สึกว่าถ้าเป็นทุกขเวทนา ไม่ต้องพูดถึงคำว่าทุกขเวทนา แต่พูดถึงความปวด ความเจ็บ
ท่านอาจารย์ แล้วอุเบกขาเวทนาที่เกิดกับจิตเห็น รู้ไหม
ผู้ฟัง เราไม่รู้
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกันหรือไม่ เพียงแต่ว่าความรู้สึกต่างกัน ในขณะที่เห็นไม่ปวดเจ็บ แต่เฉยๆ นั่งอยู่ที่นี่มาตั้งนาน เห็นเฉยๆ มาตั้งนานก็ไม่รู้ใช่ไหม แต่เมื่อเกิดทุกขเวทนาทางกายปวดเจ็บรู้สึกว่านานเป็นครึ่งชั่วโมง แต่ความจริงเราอยู่ตรงนี้เกินครึ่งชั่วโมง และอุเบกขาเวทนาก็เป็นอุเบกขาเวทนา ไม่ใช่ทุกขเวทนา ซึ่งผัสสะจะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา และก็สืบเนื่องไปถึงการที่มีจิต แล้วก็มีทวาร คือ อายตนะที่จะต้องมีการกระทบกับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตเกิดขึ้นจะรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางหนึ่งทางใด เพราะมีเจตสิกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสภาพที่กระทบกับอารมณ์ซึ่งเราเลือกไม่ได้เลยว่าจะให้เป็นการกระทบกับความคิดนึกทางใจ เช่น มโนทวาร เพราะเหตุว่าทางตาก็ธรรมดาเมื่อมีสิ่งที่มากระทบกับจักขุปสาทได้ จิตเห็นก็เกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้น เมื่อมีเสียงซึ่งกระทบกับโสตปสาทได้ จิตได้ยินก็เกิดขึ้น แต่การที่จิตจะเกิดขึ้นโดยปราศจากผัสสเจตสิกเป็นไปไม่ได้เลย
ผัสสเจตสิกไม่ใช่เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์ซึ่งแล้วแต่ว่าผัสสะกระทบอารมณ์ใด จิตจึงรู้แจ้งอารมณ์ที่ผัสสะกระทบ เพราะว่าเจตสิก ๗ ดวงต้องเกิดพร้อมกับจิตซึ่งผัสสะก็เป็นเจตสิกหนึ่งใน ๗ ซึ่งทุกครั้งที่จะมีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์จะปราศจากผัสสเจตสิกไม่ได้เลย อีกเจตสิกหนึ่งก็คือความรู้สึก เพราะว่าเมื่อจิตรู้อารมณ์ เราได้ยินคำว่าเสวย หรืออะไรก็ตามแต่ แต่จริงๆ ก็คือว่า เมื่อมีอารมณ์แล้วต้องมีความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดในอารมณ์ที่ปรากฏ จะไม่ให้มีความรู้สึกไม่ได้เลย กั้นไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับจิตที่กำลังรู้อารมณ์ และก็มีความรู้สึกในอารมณ์นั้น ซึ่งผัสสเจตสิกเป็นสภาพที่เพียงกระทบอารมณ์ เพราะว่าถ้าผัสสะซึ่งเป็นเจตสิกไม่เกิด จิตก็จะรู้อารมณ์นั้นไม่ได้เลย ต้องเกิดพร้อมกัน แล้วก็ดับพร้อมกันด้วย แล้วทันทีที่ผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์ใด ที่จะยับยั้งไม่ให้มีความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดในอารมณ์นั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นผัสสะจึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ที่ปรากฏ
จะเห็นได้ว่าที่เราจะใช้คำว่าเสวย หรือไม่เสวย หรืออะไรก็ตาม แต่เมื่อจิตรู้อารมณ์แล้วต้องมีสภาพของเจตสิกซึ่งเกิดพร้อมกับจิตนั้น แล้วก็เป็นสภาพที่รู้สึกในอารมณ์นั้นซึ่งจะรู้สึกเฉยๆ ก็ได้ รู้สึกดีใจก็ได้ รู้สึกเสียใจก็ได้ รู้สึกสุขก็ได้ รู้สึกทุกข์ก็ได้ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ แต่สามารถศึกษา ฟัง พิจารณาให้เข้าใจในความไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ในขณะที่ปวดหัวสืบเนื่องมาจากเป็นกัมมชรูปใช่ไหม
ท่านอาจารย์ กัมมชรูปอะไร
ผู้ฟัง เป็นปสาทรูป
ท่านอาจารย์ ปสาทรูปเป็นปวด หรือเป็นรูป รูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยไม่ว่ารูปอะไรทั้งหมด เมื่อเป็นรูปแล้วก็ไม่สามารถจะรู้อารมณ์ใดๆ ได้เลย ไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ ไม่ใช่สภาพรู้อะไร เพราะฉะนั้นต้องแยก ปสาทรูปเป็นรูป ผัสสะเป็นอะไร
ผู้ฟัง ผัสสะเป็นนาม
ท่านอาจารย์ ผัสสะเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิต ขณะที่คุณวิจิตรปวด มีเห็นหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ หลับตา หรืออย่างไร
ผู้ฟัง ปวดคือปวด
ท่านอาจารย์ แล้วมีเห็นด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง ก็มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชั่วขณะของฟ้าแลบ แล้วแต่ว่าจะแลบทางทวารไหนแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แล้วก็สืบต่อกัน เวทนาความรู้สึกอย่างใดมากก็ทำให้รู้ว่าขณะนั้นเป็นเวทนานั้น แต่เวทนาที่ไม่ใช่ความรู้สึกปวดก็มีตามเหตุตามปัจจัย กำลังปวดก็เห็นด้วย ได้ยินด้วย ไม่ใช่มีแต่ปวดเจ็บ ฉะนั้นก็เป็นชั่วขณะที่สั้นมาก และก็เกิดดับสืบต่อ และสิ่งที่เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย
ผู้ฟัง ไม่กลับมาอีก แต่ความปวดยังไม่หมด
ท่านอาจารย์ มีปัจจัยทำให้เกิดก็เกิด แต่ว่าเกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก
อ.วิชัย มโนทวาราวัชชนจิตเป็นอเหตุกะ หรือสเหตุกะ
ผู้ฟัง เป็นอเหตุกะ
อ.วิชัย เป็นเหตุ หรือนเหตุ
ผู้ฟัง นเหตุ
อ.วิชัย ฉะนั้นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร เมื่อเกิดขึ้นดับไปแล้วเป็นปัจจัยแก่เหตุได้ไหม
ผู้ฟัง ทีละเหตุ หรือ๒เหตุ หรือ ๓ เหตุ
อ.วิชัย เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้วเป็นปัจจัยแก่จิตอะไร จิตนั้นมีเหตุอะไรเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ชวนจิต
อ.วิชัย ใช่
ผู้ฟัง ชวนจิตเกิดต่ออีก ๗ ขณะ เพราะฉะนั้นชวนจิตก็จะมีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต
อ.วิชัย รวมถึงกิริยาด้วย กิริยาจิตของพระอรหันต์ ดังนั้น ชวนจิตถ้าเป็นอกุศลชวนะ หรืออกุศลจิตเกิดขึ้นทำกิจชวนะ มโนทวาราวัชชนจิตนั้นเป็นอนัตรปัจจัยแก่เหตุก็คืออกุศลเหตุ แล้วแต่ว่าจะเป็นจิตใดเกิดขึ้น ถ้าเป็นโลภมูลจิตก็เป็นปัจจัยแก่ ๒ เหตุ ก็คือโลภเหตุกับโมหเหตุ ถ้าเป็นโทสมูลจิตก็เป็นปัจจัยแก่ ๒ เหตุ คือ โมหเหตุ กับ โทสเหตุ ถ้าเป็นปัจจัยแก่โมหมูลจิตก็เป็นปัจจัยแก่เหตุเดียวคือ โมหเหตุ นี้ก็คือวิถีจิตเกิดขึ้นทางมโนทวาร วิถีจิตแรกทางมโนทวารเป็นมโนทวาราวัชชนจิต ถามว่า วิถีจิตแรกทางปัญจทวารคืออะไร
ผู้ฟัง ปัญจทวาราวัชชนจิต
อ.วิชัย เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต
แล้วจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตคืออะไร
ผู้ฟัง จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต คือ ภวังคจิต ปฏิสนธิจิต และจุติจิต
อ.วิชัย ทำไมไม่เป็นวิถีจิต โดยสภาพเขาไม่ได้เกิดขึ้นโดยอาศัยทวาร เพราะว่าวิถีจิตเกิดขึ้นตามทวารต่างๆ ๖ ทวาร แต่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตเกิดขึ้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยทวารเลย
ถามอีกครั้งว่าวิบากจิตเป็นวิถีจิตได้ไหม
ผู้ฟัง วิบากจิตก็มีทั้งที่เป็นวิถีจิต และไม่ใช่วิถีจิต
อ.วิชัย เป็นวิถีจิตได้
ผู้ฟัง เป็นได้
อ.วิชัย เช่น อะไรบ้าง
ผู้ฟัง จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส
อ.วิชัย อกุศลจิตเป็นวิถีมุตตจิตได้ไหม ไม่ใช่วิถีจิตได้ไหม
ผู้ฟัง เป็นวิถีจิต
อ.วิชัย เมื่อเกิดขึ้นต้องเป็นวิถีจิต
ท่านอาจารย์ ทราบว่ามีผู้ที่มาใหม่หลายท่าน ขอถามคำถามเดียวว่าภวังคจิตอาศัยทวารใด
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 61
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 62
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 63
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 64
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 65
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 66
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 67
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 68
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 69
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 70
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 71
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 72
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 73
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 74
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 75
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 76
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 77
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 78
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 79
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 80
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 81
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 82
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 83
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 84
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 85
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 86
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 87
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 88
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 89
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 90
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 91
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 92
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 93
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 94
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 95
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 96
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 97
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 98
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 99
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 100
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 101
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 102
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 103
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 104
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 105
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 106
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 107
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 108
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 109
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 110
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 111
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 113
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 114
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 116
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 118
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 119
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 120