พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 98
ตอนที่ ๙๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ฟัง ขณะที่เรามีโทสมูลจิตที่เกิดขึ้น จริงๆ สภาพของธรรมก็เกิดขึ้น และดับไป แต่ว่าเรายังมีความโกรธ ความคิดที่จะโกรธ สิ่งที่อยู่ในใจเรา อันนี้ก็คืออารมณ์ที่เราตรึกคิดนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาที่จบไปแล้ว
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าทางใจมากมายมหาศาล หลังจากที่ทางตาเห็นเป็นภวังค์ ทางใจก็รับรู้ต่อหลายวาระ และเมื่อได้ยินแม้เพียงขณะเดียวที่ได้ยินดับไป เสียงที่กระทบหูมีอายุแค่เพียง ๑๗ ขณะดับไป วิถีจิตเกิดขึ้นรู้เสียงที่ยังไม่ดับจนกระทั่งดับหมดไปแล้ว จบไปแล้ว วาระนั้นสิ้นสุดแล้วก็เป็นภวังค์ ทางมโนทวารวิถีจิตก็รับรู้ต่อเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ
ผู้ฟัง ดังนั้นทุกวันที่เราโกรธอยู่ ที่เราชอบใจ หรือที่ชอบอะไรๆ ก็เป็นแค่อารมณ์ทางใจซึ่งเป็นความนึกคิดอย่างเดียวอย่างนั้นเลยหรือ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ความจริงว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มีเราเลย มีแต่จิตประเภทต่างๆ ในวันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยสืบต่อตั้งแต่ขณะเกิดจนกระทั่งถึงขณะจากโลกนี้ไปแล้วก็ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อในชาติต่อไป
ผู้ฟัง ลักษณะของอารมณ์ของภวังคจิต ปฏิสนธิจิต และจุติจิตที่มีอารมณ์เดียวกัน เราจะไม่มีวันที่จะสามารถรู้อารมณ์เหล่านี้ได้เลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร มีเหตุผล ที่เรารู้อารมณ์ เพราะเราอาศัยตาเห็น เมื่อเสียงปรากฏเพราะว่ามีโสตปสาทอาศัยหู ถ้าไม่มีการอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย จะไปรับรู้อะไร ขณะที่เราคิดนึกในชาตินี้ก็จากสิ่งที่เราเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง เราจะคิดนึกแต่ในเรื่องสิ่งที่ปรากฏในโลกนี้ จะไปคิดในขณะที่เป็นภวังค์ คงไม่ได้ ใช่ไหม เป็นไปไม่ได้เลยเพราะเหตุว่าไม่มีทางที่อารมณ์นั้นจะปรากฏ ชาติก่อนเป็นใครจำได้ไหม
ผู้ฟัง จำไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วก็ชาตินี้เกิดแล้วมาจากไหน
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ แต่ต้องมาจากจุติจิตของชาติก่อน สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ถ้าจุติจิตขณะใดชาติไหนก็ตามเกิดขึ้น และดับไป จะสิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิง จะกลับมาเป็นคนนั้นอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นขณะนี้เรากำลังรู้จักกัน แต่ก็รู้จักกันไม่นาน ไม่นานอีกหน่อยก็ไม่รู้จักกันแล้วใช่ไหม รู้จักกันเฉพาะชาตินี้จริงๆ แต่ลองคิดถึงว่าชาติก่อนเรารู้จักใครมากมาย แล้วก็ไม่รู้จักกันแล้วฉันใด ชาตินี้เรากำลังมีเพื่อนสนิทพบกันบ่อยๆ ทุกอาทิตย์ทุกเสาร์ อีกไม่นานก็ไม่รู้จักกันแล้ว ไม่รู้จักจริงๆ ว่านั่นใคร ชาติก่อนทำอะไร อยู่ที่ไหน เคยรู้จักกันหรือไม่ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าต้องเข้าใจจุติจิตเป็นขณะสุดท้ายของชาติหนึ่งชาติหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดแล้วดับแล้วจะไม่กลับมาสู่ความเป็นบุคคลนั้นอีกเลย แต่ว่าจริงๆ แล้วจิตทุกขณะก็เกิดแล้วดับไปไม่กลับมาอีก ฉะนั้นก่อนที่จะตาย จะต้องมีการเกิดโดยกรรมที่จะเป็นปัจจัยทำให้เมื่อจุติจิตดับแล้วไม่มีระหว่างคั่นเลย ปฏิสนธิจิตจะเกิดสืบต่อทันทีโดยมีกรรมหนึ่งเป็นชนกกรรม คือกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เลือกไม่ได้เลย เหมือนกับที่เราไม่ได้เลือกว่าเราจะเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ แต่ก็เกิดมาเพราะกรรมหนึ่งที่ประมวลสิ่งที่จะเป็นวิบากของชาติต่อไป คือชาตินี้ให้เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตก็จะประมวลกรรมทั้งหลายที่ได้กระทำว่าพร้อมที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นวิบากจิตเมื่อไหร่ เมื่อพร้อมด้วยเหตุที่สมควร ฉะนั้นเมื่อปฏิสนธิจิตของชาตินี้เกิด เอาอะไรมาเป็นอารมณ์ ยังไม่มีการเห็นการได้ยินอะไรเลยทั้งสิ้นใช่ไหม ฉะนั้นก็มีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จะจุติของชาติก่อน เพราะจิตใกล้จะจุติของชาติก่อนไม่สามารถที่จะเลือกอารมณ์ได้ เหมือนกับขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน คือเมื่อจิตเกิดต้องรู้อารมณ์หนึ่งซึ่งใครก็เลือกไม่ได้ที่จะรู้อารมณ์ไหนทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นในขณะที่ใกล้จะจุติ กรรมก็ทำให้อารมณ์หนึ่งปรากฏกับจิตที่ใกล้จะตาย หรือจะกล่าวว่าชนกกรรมนั่นเองทำให้จิตใกล้จะตายเป็นกุศลหรืออกุศล เศร้าหมองเป็นอกุศล หรือผ่องใสเป็นกุศลที่กำลังรู้อารมณ์ที่ปรากฏที่ใกล้จะตาย ใกล้จะจากโลกนั้นมาแล้ว แต่ว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์อะไร แล้วกรรมที่เป็นกุศลก็ทำให้กุศลวิบากปฏิสนธิ ทำให้กุศลจิตเกิดใกล้จะตาย ถ้ากรรมที่เป็นอกุศลจะให้ผลก็คือทำให้จิตใกล้ที่จะจุติคือก่อนที่จะจุติเป็นอกุศล ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็ทำให้จิตใกล้จะจุติเป็นกุศล ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็ทำให้จิตก่อนจะจุติเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นอกุศลวิบากเกิดสืบต่อ เพราะว่ามีจิตใกล้จะจุติเป็นเหตุ ถ้ามีจิตใกล้จะจุติเป็นอกุศลจิต ปฏิสนธิจิตก็เป็นอกุศลวิบาก ถ้าจิตใกล้จะจุติเป็นกุศล ปฏิสนธิจิตก็เป็นกุศลวิบาก และภวังคจิตก็มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจนถึงจุติจิตก็มีอารมณ์เดียวกัน
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่าเมื่อจิตขณะสุดท้ายเป็นกุศล ปฏิสนธิจิตก็จะเป็นกุศลวิบาก กุศลวิบากที่เข้าใจก็คือเป็นอิฏฐารมณ์ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้าเป็นวิบากจิตจะต้องมีอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์
ผู้ฟัง ถ้าเป็นกุศลวิบากก็เป็นอิฏฐารมณ์
ท่านอาจารย์ อารมณ์เป็นอิฏฐารมณ์ เราจะกล่าวถึงอารมณ์ของปฏิสนธิจิตว่าเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ถ้าขณะใดที่เป็นกุศลวิบาก อารมณ์ต้องเป็นอิฏฐารมณ์
ผู้ฟัง เสมอเลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นผลของกุศลกรรม
ผู้ฟัง แล้วถ้าเผื่อเป็นอกุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ อารมณ์ก็จะเป็นอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเพราะเป็นผลของอกุศลกรรม
ผู้ฟัง แล้วมีความติดข้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเราก็ไม่อยากติดข้องสิ่งนั้นก็เป็นอนิฏฐารมณ์ของเรา
ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยวกัน จะต้องเข้าใจว่าเมื่อมีการเห็นแต่ละวาระ หรือการได้ยิน หรือการคิดนึกแต่ละวาระ ถ้าเป็นทางตาวิถีจิต คือปัญจทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะดับแล้ว สันตีรณะดับแล้ว โวฏฐัพพนะดับแล้ว ชวนจิตเกิดสืบต่อ ถ้าเป็นอกุศลคือโทสมูลจิต จิตนั้นประกอบด้วยโทสเจตสิก โทสมูลจิตจะเกิดดับสืบต่อกันถึง ๗ ขณะ ถ้าเป็นโลภมูลจิต (ความติดข้องในอารมณ์นั้น) ก็จะเกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ ๗ เท่าของเห็นครั้งหนึ่งๆ ๗ เท่าของได้ยินครั้งหนึ่งๆ เพราะเหตุว่าจักขุวิญญาณเกิด๑ ขณะ โสตวิญญาณเกิด ๑ ขณะ แต่ชวนจิต ๗ ขณะ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้เลยว่า วันหนึ่งๆ ที่เราเข้าใจว่าเรามีอกุศลมาก แล้วมากระดับไหน ระดับกำลังเห็นขณะนี้ จักขุวิญญาณนับไม่ถ้วนเลยกี่วาระ แล้วถ้ามีความติดข้องก็โลภมูลจิต ๗ เท่าไปเสร็จเรียบร้อยหมดเลย โดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลยก็เป็นอย่างนี้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรมจึงเป็นผู้ที่ตรง ที่จะเข้าใจตามความเป็นจริง เริ่มด้วยการรู้ว่าอกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศล แล้วเมื่อไหร่เป็นอกุศลก็คือไม่ใช่เรา ต้องมีความอาจหาญร่าเริงที่จะเข้าถึงความเป็นอนัตตา ซึ่งจริงๆ แล้วเราเป็นทาสของความติดข้องมานาน ยากแสนยากที่จะพรากจากไปได้ แม้แต่การฟังหรือการศึกษาธรรม บางคนศึกษาเพื่อตนเอง เพื่อเข้าใจเพราะว่าตัวเองอยากเข้าใจ ก็ยังมีความเป็นตัวตน แต่ถ้าศึกษาเพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย แล้วศึกษาเพื่อที่จะให้เข้าใจจริงๆ ให้ถึงความจริงว่า "ไม่ใช่เรา" นั่นคือการศึกษาเพื่อไม่ใช่เราเป็นผู้ที่อยากจะรู้หรืออยากจะเข้าใจ
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ถ้าเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง ก็จะไม่สนใจว่าเป็นเราเข้าใจน้อยเข้าใจมากหรืออย่างไร แต่เป็นการที่ว่าวันหนึ่งๆ เมื่อได้ฟังสิ่งซึ่งไม่เคยฟัง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็รู้ว่าเป็นธรรมดาของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เรา แล้วมีความสนใจ มีศรัทธา มีฉันทะที่จะฟังอีกก็ไม่ใช่เราอีก ฟังอีกก็เข้าใจอีกก็คือเป็นธรรมดาคือเป็นธรรมที่เป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้นการฟังธรรมจริงๆ ก็คือเป็นไปเพื่อละความไม่รู้ และก็เพื่อละคลายความเป็นเราจึงจะเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จากการที่เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากขึ้น ก็จะมีการที่มีปัจจัยให้กุศลจิตเกิดมากกว่าอกุศล
ผู้ฟัง จากการฟังก็แสดงว่าการศึกษาธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ เราก็ต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าเราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เราก็ฟังไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเช่นนั้น จะเข้าใจก็คือสภาพธรรม จะไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจ ทำไมต้องมาเดือดร้อนกันว่าเราไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจ นั่นคือความเป็นเราทั้งหมดซึ่งไม่ถูก เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ได้ยินได้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองจนเข้าถึงความหมายของอรรถนั้น เช่นคำว่า “อนัตตา” คำเดียว ก็คือธรรมทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่ว่าขณะไหนทั้งสิ้น ถ้าลืมไปก็เป็นเรา แต่ถ้านึกได้ก็รู้ว่าเป็นธรรมลักษณะต่างๆ ซึ่งขณะนั้นมีลักษณะอย่างนั้นจะเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ มีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น แล้วก็หมดไปแล้ว หมดไปแล้วก็หมดไปเลย ไม่มีตัวตนซึ่งตามไปคิดตามไปผูกพัน แต่ก็อดไม่ได้ ถ้าอดไม่ได้ขณะใดก็รู้ว่ามาอีกแล้ว โลภะทั้งนั้น อกุศลทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานจะเห็นอะไร
ผู้ฟัง จะเห็นอกุศล
ท่านอาจารย์ มากมายตามความเป็นจริง แล้วจึงค่อยๆ คลายละว่าขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง เราก็ยังรู้สึกว่าต้องมีตัวเราระลึกรู้บ่อยๆ
ท่านอาจารย์ เพราะยังไม่ใช่พระโสดาบัน เว้นพระโสดาบัน ยังไม่ได้เป็นผู้ที่อบรมจนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิด เว้นไว้อีกยังไม่ใช่ผู้ที่ได้อบรมมากเพราะว่าสติสัมปชัญญะเกิดมากขึ้นเป็นปกติทั่วขึ้น เพราะฉะนั้นก็ต้องแล้วแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าเราอยากจะรู้ อยากจะให้ไม่มี นั่นคือเรา ไม่ใช่ความเข้าใจถูกเลย บางคนยิ่งแสวงหาทางผิดต่อไปอีก ทางลัดหรืออะไรก็แล้วแต่ซึ่งเป็นทางไม่รู้
มีผู้ที่มาสนทนาธรรม ท่านก็กำลังจะไปสู่สถานที่ๆ ท่านจะปฏิบัติธรรม จึงถามท่านว่าขณะนี้เห็นอะไร ก็บอกว่าเห็นเก้าอี้ เห็นโต๊ะ แล้วแบบนี้จะปฏิบัติธรรมอะไร ในเมื่อไม่รู้เลยเห็นอะไร แม้แต่ขั้นฟังก็ไม่รู้ว่าเห็นอะไร แล้วจะไปอบรมเจริญปัญญาเพื่อให้เห็นชัดประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่าตรงกับสิ่งที่ได้ศึกษามาแล้วว่าอะไรกำลังปรากฏ นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งต้องเป็นเหตุเป็นผล ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย หวังว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็จะเกิดปัญญา โดยที่แม้ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็มี แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเห็นอะไร
ผู้ฟัง การที่ให้เราระลึกรู้บ่อยๆ ..
ท่านอาจารย์ เราระลึกรู้ก็ผิดแล้ว
ผู้ฟัง ใช่ๆ มีเราระลึกรู้ไปแล้ว
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วถ้าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะนี้สติเกิดระลึกแล้วโดยเราไม่ได้คิดเลย จึงจะรู้ว่าขณะนั้นเป็นอนัตตา เพราะขณะนั้นกำลังมีลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งที่สติกำลังระลึกธรรมดาๆ อย่างนี้
ผู้ฟัง แต่จากการที่ฟังไม่มีเราให้ระลึกรู้บ่อยๆ
ท่านอาจารย์ เมื่อมีปัจจัยสติสัมปชัญญะก็เกิด ถ้าไม่มีก็ไม่เกิด เหมือนได้ยิน เสียงไม่มากระทบหูจะได้ยินได้ไหม หรือคนที่มีเสียงแต่ว่าโสตปสาทไม่มี จะได้ยินก็ไม่ได้อีกเช่นกัน หรือกำลังหลับสนิทมีทั้งเสียงทั้งโสตปสาทก็ไม่ได้ยินอีก ก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยทั้งหมด นี่คือหนทางที่จะคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นถ้าฟังธรรมจริงๆ จะรู้ได้เลยว่าทั้ง ๓ ปิฎก ทั้ง ๔๕ พรรษา เป็นกถาคือเป็นคำที่ทรงแสดงเพื่อให้ละคลายความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นฟังแล้วต้องเข้าใจถูกว่าเพื่อละคลาย ไม่ใช่ฟังแล้วตัวเราอยากจะให้ไม่มีกิเลสอย่างนี้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าฟังเพื่อให้ละคลาย
ท่านอาจารย์ เพื่อให้เข้าใจ เข้าใจแล้วก็คือหมดแล้วอกุศลมาอีกแล้ว
ผู้ฟัง ยิ่งศึกษาไปทุกวันๆ ก็มีความรู้สึกว่าเรามีความติดข้องมาก
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร เพราะไม่ใช่พระโสดาบัน เพราะอะไร เพราะวิปัสสนาญาณยังไม่เกิด ทำไมวิปัสสนาญาณยังไม่เกิดเพราะว่าสติปัฏฐานก็ยังไม่ได้ระลึกจนกระทั่งรู้ทั่วในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ยากมาก
ท่านอาจารย์ กำลังสรรเสริญพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ที่พูดอย่างนี้
ผู้ฟัง ฟังเท่าไหร่ก็ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะเราเพิ่งฟัง
ผู้ฟัง ถ้าจะบอกว่าอยากเข้าใจ ก็มีตัวเราอยากอีกแล้ว
ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องรับความจริง รู้ความจริงว่าการละความเป็นตัวตนไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แค่เข้าใจทั้งหมดไม่สามารถที่จะละความเป็นตัวตนได้
ผู้ฟัง ในความเข้าใจยังคิดว่าการที่เราเข้าใจเป็นตัวหนังสือ
ท่านอาจารย์ เราเข้าใจ
ผู้ฟัง มีเราเข้าใจอีกแล้ว เป็นตัวหนังสือ ตอบได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่อีก
ท่านอาจารย์ ก็เพราะคือเรา
ผู้ฟัง เพราะมีเราเข้าไปเกี่ยวข้องนั่นเอง
ท่านอาจารย์ จะเข้าใจความหมายของการอบรมเจริญปัญญาเป็น “จิรกาลภาวนา” ไหม คำนี้มีในพระไตรปิฎก
ผู้ฟัง คำนี้ชอบมาก
ท่านอาจารย์ แล้วจะไม่ยาวนานได้อย่างไร เพียงแค่ทางตาเคยระลึกบ้างไหมในขณะนี้ เพียงเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ต้องไปประจักษ์การเกิดดับอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้ายังไม่ค่อยๆ เข้าใจเช่นนี้ ไม่ใช่ไปพยายามทำให้เห็นว่าไม่ใช่คน แต่มีความรู้ค่อยๆ เข้าใจถูกทีละน้อยว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านี้เอง แล้วก็มีจริงด้วย กำลังปรากฏจริงๆ
ผู้ฟัง ฟังเหมือนง่ายแต่ก็ยาก
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นเช่นนี้ เพราะเราคุ้นเคยกับอวิชชาความไม่รู้กับความติดข้อง ลองคิดตามที่เปรียบเทียบเมื่อครู่นี้ โลภมูลจิต ๗ ขณะ โทสมูลจิต ๗ ขณะ โมหมูลจิต ๗ ขณะ กุศลก็ ๗ ขณะเหมือนกัน แล้วแต่ว่ากุศลจิตจะเกิดมากหรืออกุศลจิตจะเกิดมาก
ยังอยากที่จะให้สติเกิดหรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าจะตอบจริงๆ ลึกๆ ก็คงอยาก แต่จริงๆ ก็ต้องไม่อยาก
ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจกถาทั้งหมดของพระไตรปิฎกเพื่อละความต้องการ และละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องอดทนแค่ไหน ถ้าจะส่งเสริมให้ไปทำผิด จะละอะไร ไม่ได้ละอะไรเลย และก็ไม่ยากด้วยใช่ไหม เพราะมีความเป็นตัวตนที่จะทำให้ได้ ผิดๆ ถูกๆ ในที่สุดก็ต้องผิดเท่านั้นเองจะถูกไม่ได้ เพราะว่า "ถูก" ต้องเป็นการรู้จริง เป็นความรู้
ผู้ฟัง จากการฟังก็มีตัวเราอยู่ ว่าอย่าโกรธนะ ชวนจิต ถึง ๗ ขณะ ทำให้เราต้องกลัวตรงนั้นเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ยังดีที่ไม่เห็นเป็นดวงกลมๆ
ผู้ฟัง ความโกรธก็เบาลง
ท่านอาจารย์ ความคิดอย่างนี้จะเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มีการฟังมาก่อน เพราะฉะนั้นเราจะคิดเรื่องอะไรก็เพราะเราได้ยินได้ฟังเรื่องนั้น ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมก็จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดคิดเรื่องนั้นขึ้น แต่ความคิดที่กว่าจะถูกขึ้นอีก ตรงขึ้นอีก ให้รู้ว่าจะมากขึ้นอีกสักแค่ไหน เพราะฉะนั้นเพียงแค่ความคิดที่ถูกต้อง ลองคิดดูว่าวันหนึ่งๆ เรามีความคิดที่ถูกต้องในธรรมมากน้อยแค่ไหนหรือไม่ได้คิดเลย หรือว่าชั่วขณะที่ฟังก็คิดถูก ขณะที่กำลังฟัง แต่หลังจากนั้นแล้วก็คิดเรื่องอื่นทั้งนั้นเลย เรื่องโลภะ เรื่องอะไรต่างๆ แม้แต่ความเห็นถูก เพียงแค่ความเห็นหรือความคิดก็ยังยาก เพราะฉะนั้นที่จะต้องอบรมไปเป็นการรู้ถูกต้องขั้นประจักษ์แจ้งก็ไม่ง่าย แต่ไม่สุดวิสัย ไม่พ้นวิสัยเลย ผู้ที่ได้รู้แจ้งสภาพธรรมในอดีตก็มาจากการฟังในขั้นต้นเช่นนี้ แต่ว่าไม่ใช่รีบร้อน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้อะไรก็จะให้หมดกิเลสก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง การที่เราจะใช้คำว่า “มีเรา” ที่ติดข้องกับอารมณ์นี้อยู่เสมอ เราจะพูดว่าอารมณ์ค้างคงไม่ได้ใช่ไหม คือไม่ใช่ชาติที่แล้ว จบไปแล้ว แต่สำหรับปัจจุบันเราจะใช้คำว่า “อารมณ์ค้าง” อารมณ์นั้นดับไปแล้วนี่ครับ
ท่านอาจารย์ ก่อนที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรมเราจะใช้คำหลายคำซึ่งเราไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเลยเช่นพูดคำว่า “อารมณ์” และก็มาต่อด้วยว่า อารมณ์ค้าง ก็คือเราไม่ได้เข้าใจธรรม แต่เวลาที่เราฟังธรรม เราจะต้องพิจารณาเพื่อที่จะให้เข้าใจจริงๆ ว่าอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น "ทั้ง" จิตกำลังคิดถึงคำว่า “ทั้ง” ใช่ไหม และมีเสียงเปล่งออกมาด้วย แต่ละขณะเป็นอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ เช่นคำว่า “ทั้ง” ขณะนั้นจิตไม่ได้รู้อื่น และก็ไม่ได้คิดอื่น แต่คิดคำว่า “ทั้ง” และเมื่อที่มีเสียงเปล่งออกมาก็ได้ยินเสียง แต่ช่วงเวลาจากนั้นถึงตรงนี้มีจิตเกิดดับสืบต่อ ที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจว่าคำว่า “อารมณ์” หมายความถึง สิ่งที่จิตรู้ เป็นอะไรก็ได้ทั้งหมดที่จิตกำลังรู้เป็นคำแต่ละคำ แต่ละภาษาก็ได้ ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นที่มีในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่มีจิต สิ่งนั้นจะปรากฏว่ามีไม่ได้เลย ไม่ว่าจะมีอะไรทั้งนั้นเพราะจิตกำลังรู้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีวัตถุสิ่งใดเลย แต่มีธรรมคือนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งก็ต้องแยกจากกัน รูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้ และรูปที่เราเห็นก็มีสมุฏฐานการเกิด จากกรรมก็มี จิตก็มี อุตุก็มี อาหารก็มี แต่เราก็ไม่ได้ไปรู้อย่างนั้นเลย เพราะแม้ในฐานะของความเป็นเพียงรูปซึ่งไม่ใช่สภาพรู้แยกจากนามธรรม บางคนก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจได้
เพราะฉะนั้นต้องคิดว่าการศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจถูกในสิ่งที่ซึ่งเราไม่เคยเข้าใจ แล้วเราใช้คำนั้นโดยที่เราไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นจิตทุกขณะมีอารมณ์ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ และรูปมีอายุเพียง ๑๗ ขณะ จิตที่จะรู้รูปที่มีอายุเพียง ๑๗ ขณะก็ต่อเมื่อรูปนั้นยังไม่ดับ ถ้ารูปนั้นดับแล้วจิตจะมีรูปนั้นค้างมาอีกไม่ได้ หรือแม้แต่ขณะที่กำลังคิดทีละคำก็ไม่ได้มีอะไรค้างมาเลย จิตที่รู้คำนั้นเกิดแล้วดับแล้วหมดแล้ว แต่ก็มีปัจจัยที่จะทำให้จิตที่เกิดสืบต่อรู้อารมณ์ หรือคิดถึงอารมณ์ หรือมีอารมณ์นั้นอีกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอารมณ์นั้นค้างมา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นรูปธรรมจะมีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิต ถ้าเป็นจิต เจตสิก จะมีอายุเพียง ๓ อนุขณะ เพราะฉะนั้นจะเอาอะไรมาค้างที่ไหน คิดนึกเป็นแต่เพียงจิตที่จำ จำเสียง จำภาพ จำอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็นึกถึง ขณะนั้นก็ไม่ได้มีอะไรเลยที่จะค้างมา เพราะว่าบัญญัติไม่มีอะไร เป็นแต่เพียงความทรงจำของจิตที่เกิดขึ้นแล้วก็คิดนึก ชั่วขณะที่จิตคิดแล้วดับ ไม่ค้างไปไหนเลย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในขณะที่เราเกิดความโกรธ แล้วในขณะนั้นเราก็นึกถึงเรื่องของอารมณ์ เช่น คนหรือสัตว์ ที่เป็นอารมณ์ที่ทำให้เกิดความโกรธเรื่อยๆ เรื่องนั้นอาจจะผ่านไปนานแล้ว อย่างนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นอารมณ์ไหนที่จะมาค้างได้
ท่านอาจารย์ ถ้าจะให้เข้าใจตามที่ผู้ถามกล่าว ขณะนี้ก็เหมือนกัน ยังไม่ใช่ความโกรธก็จริง แต่เราก็มีเรื่องมากมายใช่ไหม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 61
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 62
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 63
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 64
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 65
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 66
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 67
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 68
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 69
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 70
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 71
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 72
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 73
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 74
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 75
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 76
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 77
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 78
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 79
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 80
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 81
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 82
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 83
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 84
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 85
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 86
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 87
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 88
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 89
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 90
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 91
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 92
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 93
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 94
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 95
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 96
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 97
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 98
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 99
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 100
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 101
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 102
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 103
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 104
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 105
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 106
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 107
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 108
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 109
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 110
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 111
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 113
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 114
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 116
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 118
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 119
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 120