พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 104
ตอนที่ ๑๐๔
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องแต่ละคน เมื่อปัญญายิ่งเกิดก็จะยิ่งเห็นความละเอียดของสภาพธรรม และเมื่อสติสัมปชัญญะเกิดเมื่อไหร่ สิ่งที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมดจะปรากฏกับสติสัมปชัญญะ
ผู้ฟัง คนที่เกิดมาทุกคนเป็นตัวเอง มีความสำคัญ นี้ก็เป็นประการหนึ่งซึ่งเราจะต้องขัดเกลาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลย กิเลสทั้งหมด อกุศลเจตสิกทั้ง ๑๔ ประเภท
ผู้ฟัง กิเลสก็มาจากความเป็นตัวตนก่อน โดยเฉพาะความสำคัญตน อะไรๆ ต่างๆ ก็จะตามมาทั้งหมด ความเป็นตัวตนในขั้นพื้นฐาน แต่ปัญญายังน้อยนิดอยู่อย่างนี้ จะระลึกอยู่ตลอดเวลาได้อย่างไรว่า นี่คือเราในขณะจิตใด
ท่านอาจารย์ ชีวิตประจำวันมีการให้บ้างหรือไม่ มี เป็นเราหรือไม่ ทุกคนก็ยืนยันว่า แม้ฟังแล้วว่าเป็นธรรม แต่ว่าถ้าฟังแล้วรู้ว่าเป็นสติระดับหนึ่ง เราหวังสติระดับไหนกันในขณะที่กำลังฟังธรรม เพราะว่าสติเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกเกิดกับโสภณจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตประเภทใดก็จะต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย วันหนึ่งๆ ติดข้องจนไม่ได้คิดถึงเรื่องการให้เลย นั่นคือการสั่งสมของอกุศลประเภทโลภะ ต้องการทุกอย่างเพื่อตัว เมื่อไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่มีอะไรเหลือเลย ทุกขณะมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไปเลย ไม่กลับมาอีกเลยกี่ภพกี่ชาติก็คืออย่างนี้ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จะคลายความติด แต่เพียงขั้นคิดนึก และขั้นฟัง ยังไม่สามารถที่จะดับได้จริงๆ นี่ก็เป็นสติระดับหนึ่งซึ่งก็ยากที่จะเกิด วันหนึ่งคิดถูกอย่างนี้จะเกิดกี่ครั้ง เพียงแค่คิดให้ถูก ยังไม่ต้องไปประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม เราก็จะเริ่มรู้ว่าจริงๆ แล้ว ธรรมละเอียดมาก แม้แต่ทางฝ่ายของกุศล สติซึ่งเป็นโสภณเจตสิกก็มี ในขณะที่กำลังฟังก็เป็นสติ เพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่สติที่เป็นโสภณที่เกิดร่วมกันกับโสภณเจตสิกอื่นๆ แล้วจะฟังไหม ก็ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นกุศลทุกระดับต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยพร้อมกับโสภณเจตสิกอื่นๆ ไม่ใช่สติอย่างเดียว ในขณะที่ให้ทาน ถ้าเข้าใจระลึกได้ในขณะนั้นจากการฟังก็รู้ว่าขณะนั้นสภาพที่ระลึกเป็นไปในทานก็ไม่ใช่เรา แต่ว่ากว่าจะรู้ก็ต้องอาศัยการฟังจนกระทั่งค่อยๆ ซึมซับความรู้ที่เป็นอนัตตา จนกระทั่งสามารถที่จะถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าทุกท่านที่ฟังวันนี้ ก็อยากจะให้ทุกท่านได้เป็นพระอรหันต์หรือพระโสดาบันเสียภายในชาตินี้ ไม่ใช่เลย เพียงแต่ว่าฟังแล้วเข้าใจ ขณะที่เข้าใจก็ต้องรู้ด้วยว่าไม่ใช่ตัวตน บางคนก็บอกว่าเพียงขั้นทานศีลในชีวิตประจำวันซึ่งสติปัฏฐานยังไม่เกิด เขาก็พยายามที่จะให้เป็นไป ให้ทำทานมากๆ ให้รักษาศีลเพื่อที่จะให้สติสัมปชัญญะเกิด เพื่อที่จะให้รู้ลักษณะของสภาพธรรม รอวันนั้นด้วยการคิดว่าจะให้ทานกับรักษาศีลก่อน แต่ว่าตามความเป็นจริงทานการให้ ก่อนการฟังธรรมมีไหม มี แต่เป็นเรา ศีล การวิรัติทุจริตต่างๆ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่พูดคำหยาบเหล่านี้ก็มีในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังเป็นเรา ซึ่งหลังจากที่ทรงแสดงพระธรรมแล้ว ศีลที่เคยมีก็เป็นศีลวิสุทธิ แล้วเรายังคงจะปล่อยให้เป็นศีลธรรมดาๆ ที่เคย แล้วก็รอว่าวันไหนที่จะมีสติสัมปชัญญะเกิดที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ในเมื่อเราเข้าใจแล้วก็มีปัจจัยที่จะทำให้แม้ในขณะที่เป็นการวิรัติทุจริตหรือขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วยที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี่คือจุดประสงค์ของการฟังให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมซึ่งเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ว่าความจริงที่เกิดจากการฟังแล้วเข้าใจจะสะสมไว้มากน้อยเท่าไหร่ เราจะเห็นความเป็นอนัตตาว่าจะมีปัจจัยให้เกิดคิดถูก เพียงแค่คิดก่อน หรือว่าถึงขั้นที่สติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็จะมีการเข้าใจสภาพธรรมละเอียดขึ้นได้ แต่ให้ทราบว่าไม่ควรที่จะคิดว่าเราจะให้มีทาน มีศีลมากๆ รอคอยการที่สติปัฏฐานจะเกิด แต่ควรที่จะรู้ว่าเมื่อเข้าใจแล้วไม่ว่าขณะที่ให้ทาน ขณะที่วิรัติทุจริตหรือเป็นศีล ขณะนั้นก็วิสุทธิด้วยความเห็นที่ถูกต้องเมื่อเข้าใจลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนได้ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปตามปกติ
ผู้ฟัง ขณะที่เจริญกุศลการให้ทาน การรักษาศีล หรือการฟังธรรมตามที่ท่านอาจารย์กล่าว เราก็ยังมีความรู้สึกว่าอยากที่จะสะสม ก็ยังเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นอย่างนี้ แล้วจะให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้ แต่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะว่าทั้งหมดที่ฟังมาก็ยังมีความยึดมั่นในความเป็นเรา มองเห็นเลย เราอาจจะไม่รู้สึกเลยว่าเรายึดมั่นแค่ไหน จากความคิด และการกระทำของเราจะทำให้เรารู้ว่าขณะนั้นเป็นไปด้วยความเป็นเราหรือไม่ที่ต้องการมีกุศลมากๆ ที่ต้องการให้อกุศลลดลงด้วยความยึดมั่นในความเป็นเราหรือไม่ หรือว่าเป็นความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะว่าความเข้าใจถูก ต้องเข้าใจโดยตลอดโดยทั่วจริงๆ จึงจะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้ ไม่ใช่ไปเว้นบางขณะ ขณะใดก็ตามที่มีจริงในขณะนี้ สติสัมปชัญญะจะเกิดระลึกได้ทันที โดยที่ว่าไม่มีใครไปกะเกณฑ์หรือบังคับก็จะเห็นความเป็นอนัตตาว่าแม้สติสัมปชัญญะจะระลึกแข็งเดี๋ยวนี้ก็มีเหตุปัจจัย หรือจะเข้าใจลักษณะของเห็นขณะนี้ว่าเป็นสภาพรู้หรือเป็นธาตุรู้จึงเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ นี่คือสิ่งที่มีจริง และได้ฟังมานานค่อยๆ เกิด อาจจะจากความคิด การตรึก และก็การที่สติสัมปชัญญะระลึกแล้วก็หมดไปแล้วก็มีความคิดเรื่องสภาพธรรมแทรกคั่น และก็มีกุศลบ้าง อกุศลบ้างทั้งหมดต้องรู้ตามความเป็นจริง แต่ไม่ใช่เป็นขั้นไตร่ตรองในการพิจารณา แต่โดยสติสัมปชัญญะสามารถที่จะรู้ลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ แต่ละลักษณะได้
ขณะที่โกรธเกิดแล้วทำอะไรไม่ได้เลย แต่สามารถจะเข้าใจลักษณะนั้นเป็นธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นทั้งวันก็คือธรรมทั้งหมด แล้วแต่สติสัมปชัญญะจะเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ถ้าไม่ระลึกก็เป็นเรา แล้วก็ยังอยากไปเรื่อยๆ ไม่หมดเราไปได้เพียงขั้นฟัง และเมื่อมีเราก็ต้องติดในสิ่งที่ดี หลังจากที่รู้ว่าโลภะไม่ดีอย่างไร อยากให้มีน้อยลงก็ไปติดในกุศล แทนที่จะติดในสิ่งที่เคยติดมาก่อน
ผู้ฟัง แสดงว่าขณะที่เราคิดไตร่ตรองลักษณะที่เป็นอกุศลหรือกุศล คิดไตร่ตรองก็ยังคงเป็นอย่างนั้นไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ แน่นอน เริ่มต้นที่จะเข้าใจสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงขั้นฟังก็คือรู้ว่าขณะใดสติสัมปชัญญะเกิด ขณะใดหลงลืมสติ นี่เป็นขั้นต้น ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดก็เป็นเราคิดอยู่นั่นเอง อยากจะให้สติเกิด สติมีลักษณะอย่างไร สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนี้ นามธรรมหรือรูปธรรม ก็เป็นเรื่องคิด ต่อเมื่อใดสติสัมปชัญญะเป็นสติปัฏฐานรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ขณะนั้นก็จะรู้ความต่างกันของคิดเพียงขั้นพิจารณากับขั้นที่สติระลึกตรงกับลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ขณะที่เราเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมคือต้องเป็นลักษณะที่ไม่ใช่คิดเป็นแข็ง โดยที่เราไม่ได้คิดใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีแข็งถูกต้องไหม คุณธนากรรู้แข็งตรงไหน
ผู้ฟัง ขณะนี้รู้แข็งตรงขณะที่กำลังจับไมโครโฟน
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีแข็งตรงหนึ่งตรงใดปรากฏ ขณะนั้นมีชื่อหรือไม่?ไม่มี เพราะฉะนั้นขณะนั้นจะรู้ในลักษณะนั้น เพราะลักษณะนั้นกำลังปรากฏ และที่ฟังมาทั้งหมดก็เข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง และก็มีสภาพที่กำลังรู้แข็งด้วย แข็งขณะนั้นจึงปรากฏ เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะจะรู้ลักษณะของแข็งหรือจะรู้ลักษณะของสภาพที่รู้แข็ง กำลังค่อยๆ เข้าใจลักษณะนั้น นั่นคือสติสัมปชัญญะซึ่งมีลักษณะนั้นปรากฏให้เข้าใจ ไม่ใช่เป็นเพียงนึกหรือคิดขั้นฟัง แต่กำลังมีลักษณะนั้นปรากฏให้เข้าใจ เมื่อลักษณะนั้นหมด สภาพธรรมอื่นปรากฏ แต่ไม่เข้าใจอีกแล้ว เพราะว่าเพียงเข้าใจนิดหนึ่ง แล้วต่อจากนั้นก็ไม่เข้าใจอีกแล้ว ทางตา ทางหู ทางเรื่องราวที่คิดนึก เพราะฉะนั้นก็ให้เข้าใจว่าสติสัมปชัญญะเมื่อเกิดก็จะสามารถเข้าใจในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏชั่วขณะ จนกว่าสติสัมปชัญญะจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมอื่นๆ จนกว่าจะชิน จนกว่าจะทั่ว จนกว่าจะคลาย นี่คือสิ่งที่เป็นปกติแล้วก็ยาก เพราะว่าสติสัมปชัญญะไม่ได้เกิดบ่อย แต่ถ้าเกิดก็คือเริ่มมีความเข้าใจลักษณะนั้นซึ่งขณะนั้นสิ่งอื่นไม่ได้ปรากฏเลย ขณะที่แข็งปรากฏ อย่างอื่นจะปรากฏรวมอยู่ในที่นั้นไม่ได้เลย แต่การที่จะรู้อย่างนั้นต้องเป็นขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ แต่ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด การเกิดดับของสภาพธรรมเร็วมาก จิตที่เกิดดับก็เร็วมาก เพราะฉะนั้นชั่วขณะที่มีสิ่งที่ปรากฏทางกาย ก็มีสิ่งอื่นปรากฏทางตา แต่ก็สามารถจะรู้ลักษณะที่กำลังรู้ตรงแข็งว่าเป็นชั่วหนึ่งขณะ เป็นชั่วขณะกำลังมีแข็งปรากฏ ขณะนั้นไม่มีอย่างอื่นปรากฏ นี้คือการเริ่มแยกลักษณะของสภาพธรรมที่ปนกันอย่างรวดเร็วเป็นทีละลักษณะจนกว่าจะทั่ว สลับกับสติสัมปชัญญะที่เกิดได้ เพราะว่าขณะนี้ก็มีปัจจัยที่จะทำให้สติระลึกตรงแข็งได้ธรรมดาๆ แล้วหลังจากนั้นก็คิดเรื่องราวต่างๆ แต่ก็จะรู้ความต่าง ขณะที่รู้ความต่างนั้นคือปัญญาที่รู้ว่าต่าง เพราะเราเคยกระทบสัมผัสแข็งมาบ่อยๆ ตั้งแต่เช้า แต่ว่าไม่ได้รู้ตรงแข็ง เหมือนเช่นขณะที่สติเกิด และรู้ลักษณะนั้นด้วยความเข้าใจในลักษณะนั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นแต่ละลักษณะในชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง เมื่อรู้ลักษณะที่แข็งแล้วก็คิดก็ต้องตามมาอย่างยืดยาว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เห็นความต่างของความคิดกับขณะที่กำลังรู้ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
ผู้ฟัง แล้วลักษณะอื่นๆ ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ในขั้นพื้นฐานก็คงคิดไตร่ตรองไปลักษณะเดียวกัน
ท่านอาจารย์ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจในขณะที่กำลังเห็น ฟังเรื่องเห็นจริง แล้วก็มีสภาพเห็นด้วย แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะที่ฟังด้วย เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนั้นก็คือสติปัฏฐาน ชั่วขณะที่กำลังเข้าใจตรงลักษณะนั้นทีละเล็กทีละน้อย เบาสบายหรือว่าหนักใจ
ผู้ฟัง หนักอยู่
ท่านอาจารย์ ถ้าหนักเมื่อไหร่ก็คือโลภะเมื่อนั้น
ผู้ฟัง เมื่อไหร่ที่ไม่สบายก็นึกได้ว่าตัวตนมาอีกแล้ว
ท่านอาจารย์ ขั้นคิด จนกว่าตรงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะ
ผู้ฟัง แต่ก็คงพ้นความมีตัวตนไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องอดทน ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง
ผู้ฟัง ได้ยินมาว่าจิต ก็แค่รู้เท่านั้นเอง ไม่รู้อะไรมากไปกว่านั้น เจตสิกต่างหากที่รู้โลภะ โทสะ ไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้คุณเด่นพงศ์เห็นอะไร เห็น ไม่เห็นคุณเด่นพงศ์พูดถึงเจตสิกเลย ก็พูดถึงจิตที่เห็นไม่ใช่หรือ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ คือสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ถ้าจะพูดถึงสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะจิตอย่างเดียว อินทริยะ คือความเป็นใหญ่ของสภาพธรรมทั้งหมดมี ๒๒ ประเภท ที่เป็นนามธรรมก็มี ที่เป็นรูปธรรมก็มี ขอยกตัวอย่าง รูป ซึ่งตามธรรมดาเราก็รู้ว่าจะต้องมีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นใหญ่เป็นประธานเป็นมหาภูตรูป ส่วนรูปอื่นอีก ๒๔ ประเภทนั้นก็เกิดกับมหาภูตรูป ถ้าไม่มีมหาภูตรูป คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว รูปอื่นๆ จะมีไม่ได้เลย แต่ในขณะที่ "เห็น" ไม่มีใครกล่าวถึงมหาภูตรูปเลย ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แม้ว่ามี ถ้าไม่มี รูปอื่นก็มีไม่ได้ แต่ขณะ"เห็น" อะไรเป็นใหญ่ ถ้าไม่มีจักขุปสาทเป็นจักขุนทรีย์ที่จะกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตเห็นในขณะนี้เกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เวลาที่จะกล่าวถึงสภาพความเป็นใหญ่ ก็จะกล่าวแต่ละอย่างตามความเป็นใหญ่ของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะนั้น เช่น ในขณะนี้ทุกคนก็บอกว่าเห็น กล่าวถึงจิต ไม่ได้กล่าวถึงเจตสิก ไม่ได้กล่าวถึงผัสสะ ไม่ได้กล่าวถึงเจตนา ไม่ได้กล่าวถึงชีวิตินทรียะ มนสิการเจตสิกอะไรเลย ทำให้สามารถที่จะเข้าใจความเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งลัษณะของสิ่งที่ปรากฏได้ไหมว่าจิตนี่ต้องเป็นใหญ่ในการรู้แจ้ง ทั้งๆ ที่เจตสิกก็รู้ แต่รู้โดยฐานะที่ต่างกับจิต เช่น ผัสสเจตสิกก็เป็นสภาพรู้ ก็รู้อารมณ์โดยการกระทบ หรือสัญญาก็รู้อารมณ์โดยจำอารมณ์ แต่การที่จะรู้ว่าขณะนี้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะหรือเรื่องราวต่างๆ ก็ตาม ขณะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ ซึ่งนี่เป็นหน้าที่ของจิตประการเดียวคือสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์
เพราะฉะนั้นเราอาจจะกล่าวถึงนามธรรมอีกนัยหนึ่งคือนามธรรม ๕๓ ได้แก่เจตสิก ๕๒ ประเภท และจิต ๑ รวมจิตทุกประเภทก็เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์นั่นเอง แต่สภาพธรรมอื่นเป็นใหญ่ก็มี เช่น จักขุปสาทเป็นจักขุนทรีย์ในขณะเห็น แต่ไม่ได้เป็นใหญ่ในขณะที่ได้ยิน แต่เมื่อที่มีสภาพธรรมที่ได้ยินเกิดขึ้น โสตปสาทเป็นใหญ่เพราะว่าถ้าขาดโสตปสาท จิตได้ยินก็เกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นอินทรีย์หรือเป็นอินทริยะก็จะมีความเป็นใหญ่ในสภาพของธรรมนั้นๆ เช่น เวทนา (ความรู้สึก) ก็เป็นใหญ่ได้ ดีใจ ขณะนั้นอะไรรู้สึก แช่มชื่น โสมนัส ปลาบปลื้มเป็นสุข
ผู้ฟัง แต่ที่เห็น ก็แค่เห็นเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ขาดสิ่งนั้นไม่ได้เลย ถ้าขาดสิ่งนั้นอะไรก็มีไม่ได้ ปรากฏไม่ได้ ขาดจิตแล้วไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งโลกหมดเลย อะไรก็ไม่มี แล้วก็ยังเป็นใหญ่ในเจตสิกที่เกิดร่วมกันด้วยเพราะว่าเป็นใหญ่ในฐานะที่รู้แจ้งลักษณะของอารมณ์
ผู้ฟัง ถ้าขาดจิตจะไม่มีเจตสิกใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ในทางตรงกันข้ามก็เหมือนกัน ถ้าขาดเจตสิก จิตก็มีไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่เจตสิกก็ไม่ได้เป็นอินทริยะทั้งหมด เหมือนเช่น เวทนาเจตสิกที่เป็นอินทริยะ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา ทั้งหมดเป็นใหญ่
ผู้ฟัง กระผมเข้าใจความเป็นใหญ่ในทางโลกคือมีอำนาจ บังคับให้ทำอะไรก็ได้ บังคับให้เราทำชั่วได้ ทำดีได้ อย่างนี้เป็นต้น
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อถึงธรรมแล้วเป็นอนัตตา เป็นลักษณะ เป็นกิจหน้าที่การงานเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สติเป็นใหญ่ไหม เป็นด้วย เป็นสตินทรีย์
ผู้ฟัง ตทาลัมพนะมี ๒ ขณะจะหมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ อารมณ์ยังเหลืออยู่ ๒ ขณะก็เป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์นั้นต่อเท่านั้นเอง ความสำคัญอยู่ที่ชวนะ เพราะเหตุว่าวิบากต้องเกิดแน่นอน แล้วก็เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง แต่ตัวชวนะ ถ้าเป็นอกุศลก็จะติดข้อง พอใจ หรือขุ่นเคืองในอารมณ์ที่ปรากฏซึ่งสะสมสืบต่อเป็นอัธยาศัย
ผู้ฟัง เรียนถามข้อที่หนึ่งว่า ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติจิตไม่ใช่วิถีจิต จะใช้คำว่าไม่ใช่ หรือไม่เป็น ข้อที่สองก็คือ วิถีนี่เป็นลักษณะกิจการของจิต และวิบากก็เป็นชาติของจิตคล้ายๆ อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ การที่จะกล่าวถึงจิตกล่าวได้หลายนัย ตั้งแต่เริ่มที่ว่าจิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริงเป็นสังขารธรรมเกิดดับ แล้วเมื่อจิตที่เกิดมาแล้ว เราก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นละเอียดขึ้น เช่น จิตที่เกิดนั้นเมื่อเกิดมาแล้วเป็นชาติอะไร เพราะว่าสภาพของจิตที่เกิดจะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ ชาติ หรือ (ชา+ติ) คือเมื่อเกิดแล้วเป็นกุศล หรือเกิดแล้วเป็นอกุศลซึ่งเป็นเหตุ หรือเกิดขึ้นเป็นวิบาก คือ ผลของกุศลกรรม และ อกุศลกรรม หรือเกิดขึ้นเป็นกิริยาจิตซึ่งไม่ใช่อกุศล กุศล และ วิบาก นี่คือจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้น เราสามารถที่จะเข้าใจจิตนั้นละเอียดขึ้น และเมื่อเข้าใจแล้วว่าจิตนี้เป็นชาติอะไร ก็ควรที่จะรู้ว่าจิตเกิดขึ้นทำกิจการงาน ไม่ใช่จิตหนึ่งขณะเกิดมาแล้วก็ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ว่าจิตหนึ่งขณะที่เกิดจะเป็นชาติอะไรก็ตาม ทุกจิตต้องมีกิจการงานของหน้าที่จิตนั้นๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเรากล่าวเรื่องชาติแล้ว เราก็กล่าวเรื่องกิจการงานของจิตนั้น ซึ่งกิจการงานของจิตทั้งหมดจะมี ๑๔ กิจ จิตที่เกิดขึ้นจะต้องทำกิจหนึ่งกิจใดใน ๑๔ กิจ เพราะฉะนั้นก็ทราบว่าถ้ากล่าวถึงกิจหนึ่งของจิตก็จะรู้ได้ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ปฏิสนธิ คือกิจของจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน นี่คือ ปฏิสนธิกิจ เพราะฉะนั้นเราจะเรียกชื่อจิตตามกิจก็ได้ คือจิตใดที่ทำปฏิสนธิกิจเราก็เรียกว่าปฏิสนธิจิต แล้วปฏิสนธิจิตก็ต้องมีชาติเพราะเหตุว่าจิตทุกดวงต้องมีชาติ เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจปฏิสนธิเป็นชาติอะไร นี่คือการที่จะรู้จักจิตหนึ่งขณะละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง แต่ก็ไม่ใช่วิถีจิต
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าได้ยินคำว่าวิถีจิตต้องหมายความถึง จิตที่อาศัยทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของปฏิสนธิจิต และภวังคจิต เพราะว่าจิตทุกขณะเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ด้วย และสิ่งที่จิตกำลังรู้นั้นก็ใช้คำว่า “อารัมมณะ” หรือ “อาลัมพนะ” เพราะฉะนั้นจิตที่จะไม่มีอารมณ์ หรืออารัมมณะ หรืออาลัมพนะ ไม่ได้เลย จิตทุกขณะไม่ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ที่ไหน แม้แต่จิตขณะแรกที่เกิดขึ้นก็ต้องมีอารมณ์
ผู้ฟัง ๑ ขณะคือ
ท่านอาจารย์ มีอนุขณะ ๓ ของจิต ๑ ขณะ คือ ขณะที่เกิดไม่ใช่ขณะที่ดับ และระหว่างที่เกิด และยังไม่ดับก็เป็นฐีติขณะ คือขณะที่ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตนี้จะเกิดที่ใด ภูมิใดก็ตามต้องมีอายุเท่ากันทั้งหมดคือ ๓ อนุขณะแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง วิบากเกิดก่อน แล้วเมื่อไหร่ถึงจะทำกรรมใหม่เพื่อให้เกิดวิบากใหม่ แล้วเรารับกรรมเมื่อไหร่
ท่านอาจารย์ ต้องทราบตั้งแต่ขณะเริ่มต้นก่อน ขณะนั้นยังไม่มีอุบัติเหตุอะไรทั้งหมด การที่อุบัติขึ้นในโลกนี้ได้เพราะว่ากรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นกัมมปัจจัยเป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นวิบากเกิด ถ้าได้ยินว่าจิตใดเป็นวิบากให้ทราบว่าเป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใดที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตก็จะต่างกันหลากหลาย ไม่ใช่มีเพียงเหมือนกันหมดทุกคน แล้วแต่กรรมที่ได้กระทำไว้เป็นกรรมประเภทใด ถ้าเป็นอกุศลกรรมให้ผลเป็นอกุศลวิบาก ปฏิสนธิในอบายภูมิ คือ ภูมิที่ไม่เจริญด้วยกุศล ก็จะเป็นภูมินรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉานนี่เป็นอบายภูมิเป็นผลของอกุศลกรรม แต่ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็ประณีตขึ้นตั้งแต่มนุษย์ สวรรค์ขึ้นไป
ขณะที่เกิดขึ้น จิตมีอารมณ์ไหม (มี) แต่ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 61
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 62
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 63
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 64
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 65
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 66
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 67
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 68
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 69
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 70
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 71
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 72
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 73
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 74
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 75
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 76
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 77
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 78
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 79
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 80
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 81
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 82
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 83
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 84
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 85
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 86
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 87
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 88
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 89
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 90
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 91
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 92
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 93
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 94
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 95
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 96
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 97
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 98
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 99
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 100
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 101
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 102
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 103
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 104
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 105
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 106
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 107
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 108
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 109
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 110
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 111
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 113
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 114
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 116
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 118
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 119
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 120