พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115
ตอนที่ ๑๑๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ รู้ความจริง ไม่ใช่ไปทำอะไร แต่ปัญญาจะทำหน้าที่ของปัญญา คือมีความเห็นถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมว่าไม่ใช่เรา จนกว่าจะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราเป็นสมุทเฉท จากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะถ้าชีวิตขณะนี้เป็นชีวิตจริงๆ ซึ่งปัญญาไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงแล้วจะรู้อะไร แล้วจะละอะไร ก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่ค่อยๆ เกิด ค่อยๆ อบรม ค่อยๆ เจริญ แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าสามารถที่จะมีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกจากการได้ยินได้ฟัง และก็พิจารณาจากสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจนเป็นความเห็นที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ผมคิดว่าผู้ยิงศรคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน ภพ น่าจะเป็นผู้ยิงศร
ท่านอาจารย์ คิดอะไรก็คิดไป แต่ให้ทราบว่าเหตุใดสภาพธรรมไม่ปรากฏ เหมือนอยู่ในความมืด ลูกศรก็ไม่มี ผู้ยิงก็ไม่มี อุปมาให้เห็นว่า แม้สิ่งที่มีก็ไม่ปรากฏเพราะอวิชชาความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น เมื่อกล่าวถึงการเกิดดับที่เป็นวิถีจิต มีการอุปมาพระราชา มหาดเล็ก เดี๋ยวก็ต้องหาอีก มหาดเล็กชื่ออะไร กำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน มาเป็นมหาดเล็กตั้งแต่เมื่อไหร่ นี่ก็เป็นเรื่องความคิดนึก แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ทราบว่าทำให้ท้อถอยหรือให้มีกำลังใจ ถ้าท้อถอยนี่ไม่ถูก เพราะอะไรท้อถอย "เรา" โลภะ เพิ่มเข้าไปอีก แต่ปัญญาก็คือว่าเมื่อสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ ฟังอย่างนี้ เข้าใจในสิ่งที่ฟัง ถ้าจะสนทนาก็สนทนาให้เข้าใจชัดขึ้นในสิ่งที่กำลังฟัง เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น และก็ไม่ใช่เราทั้งนั้น
ภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับอะไร
ผู้ฟัง ปฏิสนธิจิต
ท่านอาจารย์ จุติจิตมีอารมณ์เดียวกับอะไร
ผู้ฟัง ถ้าเหมือนกับปฏิสนธิ ภวังค์ก็อารมณ์เดียวกัน
ท่านอาจารย์ ใช่ จะกล่าวว่ามีอารมณ์เดียวกับภวังค์ก็ได้ จะกล่าวว่ามีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตก็ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในชาตินี้ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติมีอารมณ์เดียวกันหมด
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ตอนเกิดมีอารมณ์เดียวกับชาติที่แล้ว
ท่านอาจารย์ อารมณ์ใกล้จุติของชาติก่อน
ผู้ฟัง รู้สึกไม่แปลกใจเพราะว่าที่เกิดมา ทางปัญจทวารก็ยังไม่มี ยังไม่มีอะไรเลยที่จะเป็นอารมณ์ได้ ตรงนี้จะเป็นเหตุผลไหม จะไปรู้อารมณ์อะไรในชาติที่เพิ่งเกิดมาใหม่ คือมันแปลกที่เกิดชาตินี้แต่ไปมีอารมณ์เดียวกับชาติที่แล้ว ก็เลยมาดูสภาพว่าก็ไม่น่าจะรู้อารมณ์ของชาตินี้เพราะว่าเพิ่งเกิดมานิดเดียว ปัญจทวาร ตา หู ยังไม่มีใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ที่เราคิดว่ากำลังมีอารมณ์อะไร ความจริงหลายวาระ ต่อจากทางปัญจทวารเป็นภวังค์แล้วมโนทวารรู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่จุติจิตดับ แทนที่จะเป็นมโนทวารวิถีที่รู้อารมณ์เดียวนั้นต่อ ก็เป็นปฏิสนธิจิตซึ่งมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติของชาติก่อน เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่าปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตเป็นผลของกรรมเดียวกันที่ทำให้เมื่อเกิดเป็นบุคคลนั้นแล้ว ก็จะเป็นบุคคลนั้นโดยภวังคจิตดำรงภพชาติสืบต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกรรมนั้น เพราะฉะนั้นเป็นวิบากของกรรมเดียวกันมีอารมณ์เดียวกัน แต่ทั้ง ๓ ขณะทำกิจต่างกันคือ ปฏิสนธิจิตทำกิจขณะแรกขณะเดียวสืบต่อเฉพาะจากจุติจิตของชาติก่อน จะไปสืบต่อกันเหมือนกับภวังค์เกิดสืบต่อกันไม่ได้ เป็นปฏิสนธิจิตก็คือว่าต้องสืบต่อเฉพาะจากจุติจิตของชาติก่อน และสำหรับภวังค์เมื่อเป็นผลของกรรมเดียวกันก็มีอารมณ์เดียวกัน แต่ไม่ได้กระทำกิจสืบต่อเฉพาะจากจุติจิตของชาติก่อน เป็นวิบากประเภทเดียวกันจริงๆ แต่ว่าเมื่อไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ เมื่อเกิดสืบต่อจากปฏิสนธิก็ทำกิจภวังค์ (ภวะ + อังคะ) ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น พอถึงจิตขณะสุดท้ายก็เป็นผลของกรรมที่จะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น เพราะกรรมก็มีการให้ผล เมื่อสิ้นสุดก็หมดกิจของกรรมนั้น กรรมอื่นก็ให้ผล แม้แต่ระหว่างที่ยังไม่จุติ ยังไม่จากโลกนี้ไป กรรมอื่นก็ยังมีโอกาสให้ผลได้ แต่สำหรับจุติจิตก็เป็นวิบากประเภทเดียวกับปฏิสนธิ และภวังค์แต่ทำกิจต่างกัน คือขณะที่จุติจิตเกิด ไม่ได้ทำภวังคกิจที่จะดำรงภพชาติต่อไป แต่ทำกิจเคลื่อนพ้นจากความเป็นบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิง จะกลับเป็นบุคคลนั้นอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นก็เป็นผลของกรรมเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดต่างขณะกัน และก็ทำกิจต่างกันด้วย
ผู้ฟัง เวลาที่สนทนากันเรื่องจุติจิต หรือปฏิสนธิจิต ดิฉันชอบเพราะมันรู้สึกเหมือนกับว่าเราบังคับอะไรไม่ได้เลย และเห็นเลยว่าเป็นผลของกรรมจริงๆ
ท่านอาจารย์ ต้องเห็นละเอียดกว่านั้นว่า แม้เห็นขณะนี้ก็บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างไม่มีการบังคับบัญชาได้ ถ้าคิดว่าบังคับได้ เรามักจะถามเสมอขณะไหนเป็นสักกายทิฏฐิ ขณะไหนเป็นการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ก็ขณะที่คิดว่ากำลังจะบังคับนั่นเอง เราเอง หรือขณะที่คิดว่าจะทำ ทำได้ นั่นก็คือสักกายทิฏฐิโดยที่ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นสักกายทิฏฐิเพราะมีเราที่คิดว่าจะทำได้
ผู้ฟัง ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏไม่รู้ รู้อย่างเดียวว่าท้อถอยเพราะมันยาก ท้อถอยมาก
ท่านอาจารย์ ท้อถอยเพราะความเป็นเราต้องการ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อไหร่จะหมดความต้องการ ถ้ายังคงท้อถอยอยู่ก็ไม่รู้อะไร แต่ถ้าเริ่มรู้บ้างเป็นกุศลที่สะสมไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง เพราะเป็นเรา ทั้งๆ ที่จากการศึกษา เราเรียนก็พอรู้
ท่านอาจารย์ อันนี้กำลังสักกายทิฏฐิ
ผู้ฟัง ทั้งๆ ที่พระองค์ท่านพูดในตำราอะไรๆ ก็มีแต่จิต เจตสิก รูป ไม่เห็นมีตัวมีตน แต่ลึกๆ ก็ยังเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่พระโสดาบัน ใครก็ตามที่ไม่ใช่พระโสดาบัน จะบอกว่าไม่มีความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราไม่ได้ แต่ว่าจะมากหรือจะน้อย ถ้ามากก็มีความท้อถอย เพราะยึดไว้มาก และไม่ได้ดั่งใจ แต่ถึงแม้ว่ามี ขณะที่ฟังเป็นความเข้าใจถูก เริ่มมีความเห็นถูก จนกว่าจะเข้าใจถูกขึ้นๆ จะนานแสนนานก็จริง สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจถูกต้องขึ้นดีกว่าไม่มีหนทางเสียเลย ลองคิดถึงถ้าไม่มีหนทางเลย อยู่ในสังสารวัฏฏ์ที่เหมือนกับตกเหวลึกซึ่งไม่มีทางขึ้น แล้วมืดสนิท แล้วอย่างไร เราจะอยู่อย่างนั้นหรือจะค่อยๆ ปีนขึ้นมาทีละนิดทีละหน่อย เข้าใจถูกขึ้นทีละนิดทีละหน่อยเมื่อมีโอกาสที่จะได้เข้าใจถูก เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่าเราจะมีโอกาสได้เข้าใจถูกอีกนานเท่าไหร่ เหมือนกับว่าเราไม่รู้ว่าเราจะรู้จักกันอีกนานเท่าไหร่ ปัญญาจะเกิดก็เกิดในขณะนี้แล้วค่อยๆ เจริญจากขณะนี้ไปสู่ขณะต่อไป
ผู้ฟัง แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏแม้จะเป็นอกุศลกรรมก็ยังเป็นของเรา
ท่านอาจารย์ เข้าใจ แล้วตอนหลับสนิทเอาอะไรมาเป็นของเรา
ผู้ฟัง ตรงนี้ แปลกแต่จริง ทั้งๆ ที่เข้าใจว่ามีแต่จิต เจตสิก รูป ลึกๆ แล้ว จิต เจตสิก รูป ก็ยังเป็นของเรา
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นพระคุณ และเห็นคุณค่าของพระธรรม แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็จะรู้ว่าสามารถที่จะดับกิเลสได้จริงๆ ไม่ใช่วันนี้ก็วันอื่น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นเวลาศึกษาพระธรรม อยู่ในขั้นทาน ขั้นศีล พอถึงขั้นภาวนามันไปไม่ไหว
ท่านอาจารย์ อย่าคิดว่าขั้นภาวนา อย่าคิดว่าภาวนา มาฟังธรรมครั้งหนึ่งคือการสะสมเป็นภาวนาขั้นต้นด้วย มิฉะนั้นถ้าไม่มีขั้นนี้ การที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าภาวนาหมายความถึงการอบรม ไม่ใช่เอาอะไรมาอบรมเลย การฟังแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นนั่นเอง
ผู้ฟัง ขั้นทาน ขั้นศีลจะน้อยมาก ไม่เน้นเลย
ท่านอาจารย์ มีไหม ทุกคนมาที่นี่ มีทานหรือไม่ มีศีลหรือไม่ ลองไปข้างหลังบ้าน เราเห็นใครทำอะไร ก็ช่วยกัน
ผู้ฟัง มี แต่ไม่ได้เน้น
ท่านอาจารย์ ทานกับศีล แม้ไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทานกับศีลก็มีประจำโลก แต่ว่าถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นเราก็มีชีวิตอยู่อีกไม่นานสั้นๆ อย่างนี้ แล้วก็ควรที่จะให้เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง ในเมื่อมันจะเกิดก็ปล่อยไปตามเกิด
ท่านอาจารย์ ถ้าปล่อยคือมีตัวตนหนาขึ้นมาอีกหน่อย
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วก็ค่อยจะหนาขึ้นเรื่อยๆ แทนที่แล้วแต่อะไรจะเกิดด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่าต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย อย่างนี้จะถูกต้องกว่า อะไรจะเกิดก็ยับยั้งไม่ได้เพราะมีความเข้าใจเรื่องปัจจัย โลภะจะเกิดเพราะมีโลภะเป็นปัจจัย มีโมหะเป็นปัจจัย ก็เป็นเรื่องที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วด้วย เราไปคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำไมไม่คิด และเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วในขณะนี้ว่าเกิดแล้วโดยปัจจัย ทุกอย่างที่ขณะนี้ปรากฏเกิดแล้วโดยปัจจัย ไม่ใช่เราอยากให้เกิด ไม่ใช่เราปล่อยให้เกิด
ผู้ฟัง ละคลายการฟัง การศึกษาธรรม ละคลายอื่นๆ ยังพอได้บ้าง แต่ละคลายตัวตนนี่ยากมาก ไม่ค่อยปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าได้ฟังเรื่องของสาวกทั้งหลายบ้างไหม ก่อนที่ท่านจะถึงชาติที่ท่านรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ชาติก่อนๆ นานเท่าไหร่ที่ท่านได้ฟังพระธรรม และก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ รู้ขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเป็นพระอริยสาวกได้ ฉันใดแต่ละคนก็ต้องเป็นฉันนั้น แต่เราไม่ทราบว่าชาติก่อนๆ เราสะสมไว้มากน้อยสักเท่าไหร่ อาจจะมีคำถามว่าแล้วก็เริ่มอย่างไรใช่ไหม อบรมอย่างไร ภาวนา ก็คือฟังจนกระทั่งเป็นความเข้าใจของเราเอง ต้องรู้ว่าต้องเป็นความเข้าใจของเรา ไม่ใช่เพียงแต่เปิดตำราแล้วก็อ่าน แล้วก็คิดว่านี่เรากำลังเรียน เมื่อวานก็มีการสนทนาธรรม และก็มีผู้ที่ถามว่าศึกษาธรรมแต่ปฏิบัติผิด หมายความว่าเข้าใจธรรมหรือไม่ เพียงแต่รู้ว่ามีจิตเท่าไหร่ เจตสิกเท่าไหร่ จิตนั้นมีลักษณะนั้น
เพราะว่ามีหลายคนก็เป็นทั้งชาวต่างประเทศด้วยที่มีความรู้ในเรื่องของคำ และเรื่องราวของปรมัตถธรรม แต่ไม่เข้าใจการอบรมเจริญปัญญา มีการกำหนดลมหายใจ เพราะมีที่กล่าวถึงไว้ในกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ต้องไม่ลืมว่าปริยัติเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งปฏิปัตติ และถ้าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องนำมาซึ่งปฏิเวธ คือ การรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นการศึกษาใดๆ ก็ตามที่ไม่นำให้เกิดการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง ซึ่งจะรู้ได้ว่าปรากฏกับสติเพราะสติเกิด และก็กำลังมีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับสตินั่นเองเป็นอารมณ์ ถ้าไม่ใช่การรู้อย่างนี้จะไม่เห็นการเป็นอนัตตาเลย เพราะว่ามีความเป็นเรา มีความเป็นตัวตนที่กำลังกำหนดจดจ้องอยู่ที่หนึ่งที่ใด ขณะนั้นก็มีความต้องการ แล้วจะละความต้องการได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ปริยัตินั้นก็ไม่ใช่ความเข้าใจเลย ถ้านำไปสู่การปฏิบัติผิด แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจถูกจริงๆ จะไม่นำไปสู่การปฏิบัติผิดเลย เพราะว่ามีความเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนี้เป็นธรรม แต่ว่าไม่ได้ปรากฏกับสติ แต่ปรากฏกับโลภะบ้าง ปรากฏกับโทสะบ้างที่ติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือว่าไม่พอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ว่าขณะใดที่ลักษณะของสภาพธรรมเหมือนอย่างนี้ ไม่ได้ต่างกันเลย แต่ปรากฏกับสติ นี่คือความต่างขณะนั้น เพราะการศึกษาด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสติสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐาน และในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นปริยัติที่เป็นความเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนี้เป็นธรรม และก็การที่จะรู้แจ้งได้คือการอบรมด้วยสติที่เกิด ไม่ใช่เราจะทำหรือเราจะกำหนด ขณะนั้นปริยัตินั้นจึงจะนำให้เกิดปฏิปัตติ และปฏิบัติที่ถูกต้องก็จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอดความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้นปริยัติไม่ได้หมายความถึงเพียงเรียนแล้วก็ฟัง แต่ว่ายังคงมีความไม่รู้หรือความเป็นตัวตนอย่างมากที่ยึดถือว่าจะต้องมีการทำได้ หรือว่าจะต้องมีเราที่ทำ ซึ่งความจริงถ้าฟังต้องมีความเข้าใจได้เลยว่าขณะนี้ก็คือจิต เจตสิก รูป แม้ว่าสติสัมปชัญญะยังไม่ได้เกิดที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ก็มีความเข้าใจถูกในขั้นฟัง ซึ่งความเข้าใจถูกต้องเป็นปัญญาของเราเอง นี่จึงจะเป็นปริยัติ มิฉะนั้นก็จะนำไปสู่ข้อปฏิบัติผิดซึ่งจะไม่กลับมาสู่ข้อปฏิบัติที่ถูกได้ถ้ายังคงเป็นความเห็นที่ผิดหรือความเข้าใจที่ผิด เพราะฉะนั้นธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และเป็นเรื่องที่ตรงด้วย เหตุต้องตรงกับผล ความเข้าใจของเราเองจริงๆ นี่คือประโยชน์จากการฟัง ถ้ายังไม่เข้าใจเพียงแต่ว่าจำๆ จากเรื่องราวที่มีในหนังสือหรือตำราต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ปัญญาที่อบรม เป็นแต่เพียงสัญญาความจำ ซึ่งในชาติหนึ่งอาจจะจำเรื่องนี้ ภาษานี้ อีกชาติหนึ่งก็ลืมหมดเพราะเป็นแต่เพียงความจำเท่านั้น
ผู้ฟัง ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตในชาตินี้ มีอารมณ์เดียวกันกับชาติก่อนใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อารมณ์ใกล้จุติของชาติก่อน รู้ได้ไหม รู้ไม่ได้ ถ้ารู้ได้คงรู้ได้ว่าก่อนตายชาติก่อนนี่เป็นใคร กำลังมีอารมณ์อะไรอยู่ที่ไหน แม้ขณะนี้เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ยังไม่ทราบใช่ไหม เหมือนอยู่ในความมืดไหม มีสิ่งที่ปรากฏทางตารู้ว่าเป็นวิบากจิต เพราะเหตุว่าเมื่อถึงกาละที่กรรมใดจะให้ผล ให้เห็นก็ต้องเห็น จะให้ได้ยินก็ต้องได้ยิน จิตประเภทวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นไปตามกาละที่กรรมจะให้ผล
ผู้ฟัง ตามที่ได้ศึกษามาก็ทราบว่าสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินคือวิบากจิต แต่ว่าเราไม่สามารถทราบได้เลย ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของวิบากจิตได้เลย เหมือนอย่างเช่นปัจจุบันเราศึกษาไปก็พอจะรู้ลักษณะของอกุศลจิตกับกุศลจิต แต่ว่าลักษณะของวิบากจิต เพียงแต่เราได้เข้าใจไปในขั้นการศึกษา แล้วก็เรียนมาว่าที่เราเห็นคือวิบาก แต่ว่าเราไม่ได้รู้ลักษณะของวิบาก
ท่านอาจารย์ วิบากทางตาเห็นแล้ว ต่อจากนั้นเป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง ต้องเป็นกุศลหรืออกุศล
ท่านอาจารย์ นี่ไง ไม่รู้แล้ว เพราะฉะนั้นวิบากก็ยังพอที่จะรู้ได้ใช่ไหม จากสิ่งที่ปรากฏ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าพอใจ จิตเห็นเป็นกุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรม ถ้าเป็นเสียงที่น่าพอใจ จิตได้ยินก็เป็นกุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรม วิบากยังพอจะรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่จิตที่ต่อจากวิบากเป็นอะไร
ผู้ฟัง แล้วสิ่งที่เราพอจะระลึกได้ในบางขณะว่าจิตขณะนี้ของเราเป็นอกุศล เพราะว่ามันชัดเจนมากจากที่เราศึกษา แต่ว่าขณะที่เห็น ถึงจะมีความพอใจ เราก็รู้ว่าจิตขณะนั้นมันเป็นอกุศลแล้ว
ท่านอาจารย์ หลังจากเห็นใช่ไหม
ผู้ฟัง หลังจากเห็นแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เราพอใจ ก็รู้ว่าเป็นอกุศลแน่นอนเพราะว่าเป็นโลภะ
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาทำกุศลพอใจไหม โสมนัสไหม
ผู้ฟัง ก็มีบ้าง
ท่านอาจารย์ แยกได้ไหม โสมนัสที่เป็นอกุศลกับโสมนัสที่เป็นกุศล
ผู้ฟัง ยังแยกไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด แม้แต่ความรู้สึกโสมนัส ดีใจสลับกับกุศลก็ได้ ถ้าได้ดอกไม้สำหรับบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่สวยงามเป็นอะไรบ้าง
ผู้ฟัง โสมนัส
ท่านอาจารย์ กุศล และอกุศล
ผู้ฟัง กุศลสลับอกุศล
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าเราเข้าใจแต่เป็นขั้นฟัง จนกว่าสิ่งนั้นปรากฏกับสติ จึงจะไม่ได้อยู่ในความมืด เพราะว่ามีลักษณะจริงๆ ที่สติกำลังรู้ความเป็นธรรมนั้น ไม่ใช่มีเรื่องราวว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง อย่างนี้จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันที่เราศึกษามา เรารู้ว่าจิตขณะนี้ของเราเป็นโสมนัส คือ มีลักษณะที่พอใจมาก แต่เราก็ยังแยกออกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ก็แสดงว่าลักษณะที่เราคิดว่าเราเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏก็ยังไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งดับแล้ว เราจะไปตามคิดว่าเป็นกุศลหรืออกุศลก็แค่คิด แต่ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่าเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมทั้งหมดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จึงไม่มีเรา ต้องไม่มีเราก่อน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันดับความเห็นผิด การไม่รู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง แต่ก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ ที่สติสัมปชัญญะก็จะรู้ในลักษณะนั้นละเอียดต่อไป ตอนนี้ความเป็นกุศล อกุศลทั้งหลายซึ่งรู้แล้วว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราก็จะปรากฏชัดเจนขึ้น เพราะว่าสภาพธรรมจริงๆ เกิดดับเร็วมาก
ผู้ฟัง ที่รู้จักกุศล อกุศลเพราะเขาทำกิจชวนะเกิดซ้ำกัน ๗ ขณะ ส่วนวิบากไม่มีทางที่เราจะไปรู้จักเขาได้
ท่านอาจารย์ เห็นหรือไม่
ผู้ฟัง เห็นก็ทำกิจเห็นแล้วก็ดับ
ท่านอาจารย์ เราคิดว่าเกิดดับต่างหาก แต่ขณะนี้ปรากฏหรือไม่ว่าเห็นอยู่
ผู้ฟัง เห็น แต่เกิดดับๆ อยู่
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิดถึงเกิดดับ ก็ไม่ได้ดับ เพราะเดี๋ยวนี้ก็เห็นอยู่
ผู้ฟัง เปรียบเทียบกับชวนะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องที่ว่าเราจะไปรู้อะไร โดยที่คิดว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็เป็นจิตประเภทหนึ่ง เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโลภะก็เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง เป็นนามธรรมเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นขณะนี้เราเริ่มต้นจากการฟังปริยัติว่าทุกอย่างเป็นธรรม ให้มีความมั่นคงจริงๆ ว่าทุกอย่างไม่เว้นเลย และสิ่งที่เป็นธรรมก็มีลักษณะที่ต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ ๒ อย่าง คือ เป็นรูปธรรม คือสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยอย่างหนึ่ง กับนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้
ความรู้ขั้นปริยัติของเราเริ่มต้นอย่างนี้ เวลาที่ปัญญาจะรู้ความจริงของสภาพธรรมก็จะเกินข้ามจากนี้ไปไม่ได้ จะต้องมีการรู้ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรมซึ่งไม่ใช่ขั้นปริยัติ ขั้นปริยัติเราฟังแล้วเข้าใจแล้ว แต่ขณะนี้ที่กำลังเห็นสภาพรู้ ธาตุรู้ ไม่มีรูปร่างเลย แต่เห็นคือกำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริง จะต้องค่อยๆ เข้าใจในความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็คือนามธรรมนั่นเอง แต่ขณะนี้สิ่งนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้รู้ว่ากำลังมีธาตุรู้ที่กำลังเห็น หรือขณะที่กำลังได้ยินก็กำลังมีธาตุรู้ที่กำลังรู้เสียงที่ได้ยิน ลักษณะได้ยินปรากฏกับสภาพที่กำลังได้ยินเสียง คือ รู้เสียงนั้นในขณะนั้น จนกว่าจะค่อยๆ ชินคุ้นเคยกับลักษณะของนามธรรม รูปธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 61
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 62
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 63
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 64
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 65
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 66
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 67
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 68
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 69
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 70
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 71
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 72
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 73
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 74
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 75
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 76
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 77
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 78
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 79
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 80
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 81
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 82
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 83
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 84
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 85
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 86
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 87
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 88
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 89
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 90
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 91
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 92
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 93
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 94
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 95
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 96
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 97
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 98
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 99
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 100
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 101
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 102
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 103
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 104
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 105
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 106
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 107
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 108
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 109
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 110
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 111
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 112
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 113
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 114
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 116
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 118
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 119
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 120