ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
ตอนที่ ๗๑
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาของคนในสมัยก่อน ศึกษาจากสภาพธรรมที่มี และเขาก็รู้ว่าโลภะ เป็นไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จะพูดเป็นคำก็คือ กามราคะ ฉันทะ หรือ โลภมูลจิต ศึกษาจากตัวที่สภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏ ถ้าสภาพธรรมในวันนี้ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย คนนั้นก็รู้ตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปบอกว่า ขณะนี้มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า ขณะนั้นมีหรือไม่มี เพราะตัวจริงๆ คือสภาพจิตที่เกิดขึ้นแต่ละคน ให้ทุกคนได้เข้าใจ แล้วเพียงแต่ใส่ชื่อเข้าไปเท่านั้น นี่คือการศึกษาที่ต่างกัน ของคนยุคก่อนกับคนยุคนี้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเข้าใจว่า ถ้าจะเข้าใจธรรม ก็คือศึกษาจากสภาพธรรมที่มี และถ้าเป็นระดับของสติปัฏฐาน ก็สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจถูก ในสภาพที่เป็นนามธรรม กับสภาพที่เป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง เหมือนว่า สนใจสิ่งที่ปรากฏแล้วก็ไม่ต้องสนใจเรื่อง คือสนใจเรื่องธรรมมากกว่า ที่สนใจบัญญัติอะไรเกิดขึ้นนึกคิด
ท่านอาจารย์ ถ้าสิ่งนั้นไม่เกิด เราจำชื่อ โลภมูลจิต ทิฎฐิคตสัมปยุตต์ เราจำชื่อ แต่ขณะนี้ไม่มี แต่ขณะที่มี เราเข้าใจลักษณะนั้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมจริงๆ รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา จะเรียกชื่ออะไรก็ตรง ถ้าเป็นโลภมูลจิตทิฎฐิคตวิปปยุตต์ คือไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ก็ตรงกับที่ทรงแสดงไว้ ขณะใดที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ก็ตรงอีกตามที่ทรงแสดงไว้ ขณะที่เป็นอุเบกขาก็ตรงอีก ขณะที่เป็นโสมนัสก็ตรงอีก คือเรียนจากสภาพธรรมแล้วก็จะเข้าใจได้ ถ้าเรียนจากชื่อแล้วก็ไปหาตัวอย่างกันใหญ่ว่าขณะนั้นได้แก่ โลภมูลจิตทิฎฐิคตสัมปยุตต์ ได้แก่ขณะไหนอย่างไร แต่ไม่ใช่ความเข้าใจในขณะที่สภาพธรรมนั้นเกิดปรากฏ นี่คือความต่างกัน ได้ยิน ต้องบอกโสตวิญญาณหรือเปล่า เสียงต้องมากระทบโสตประสาทหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ขณะนั้นจะไม่รู้ลักษณะของสภาพที่ได้ยิน ไม่รู้ลักษณะของเสียง
ผู้ฟัง โดยปกติเราหลายคน เป็นผู้ที่เรียกว่ามีกิเลสกลุ้มรุม และ มีอกุศลเกิดขึ้นบ่อย แม้ว่าจะมีการฟังธรรม การระลึกศึกษาสภาพธรรม มีเหตุปัจจัยเกิดน้อยมาก หรือว่าบางคนก็อาจจะไม่เกิดเลย เพราะฉะนั้นอย่างการที่จะเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศลอื่นๆ จะเป็นความเจาะจงหรือว่าจะเป็นตัวตนที่จะไปเจริญหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เราคงจะไม่ต้องเตรียมแผนการอะไรมาก เพราะว่าชีวิตแต่ละวัน แต่ละขณะ เราบังคับให้เป็นอย่างที่เราต้องการไม่ได้ แต่ว่าถ้าเรารู้ตามความจริง ทำไมคิดอย่างนี้ ถ้าไม่มีการสะสมมาที่จะคิดอย่างนี้ ก็คิดอย่างนี้ไม่ได้ อย่างการที่จะมาที่อินเดีย ก็มีความคิดหลากหลาย มีทั้งคนที่ไม่มาก็ฝากของมา อะไรทำให้คิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นแต่ละคนจะคิดอย่างไร เขาก็ไม่ได้วางแผนการไว้ก่อน แต่เมื่อขณะใดจิตประเภทใดเกิด ส่องไปถึงการสะสมของแต่ละคนที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นเราก็เป็นผู้ที่ได้ฟังธรรมมามาก ทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม แล้วเราก็เห็นประโยชน์อยู่แล้วว่า อกุศลไม่ดี กุศลก็ดี แต่ว่าเราจะมีกุศลเสมอพระโสดาบันได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็คือว่า ไม่ว่าเราจะมีกุศลระดับใด จะให้ทานมาก หรือว่าจะเป็นผู้รักษาศีล แต่ก็ยังไม่มั่นคง วันหนึ่งก็ล่วงศีลได้ และทานเป็นสิ่งที่เป็นการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แต่ขณะนั้นจะมีปัญญาที่จะออกจากสังสารวัฎฏ์ไหม เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะไปคิดถึงเรื่องบารมี แต่ชีวิตของเราทุกขณะเป็นบารมี ถ้าเรามีการฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ เป็นบารมีแล้ว ไม่ต้องไปคิดว่าเราจะทำบารมี หรือว่าหาบารมีอะไรอีก เรามีความอดทน มีขันติเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าขณะนั้นเรามี ก็หมายความว่าเราก็มีการสั่งสมบารมี ทีละเล็กทีละน้อยไปด้วย ตามความสามารถ เราคงจะทำอย่างท่านที่ทำมาแล้วในพระไตรปิฏก โดยที่ไม่ใช่อัธยาศัยของเรา เช่นจะเดินประทักษิณกระทั่งฝ่าเท้าพองไปหมด เราก็คงทำไม่ได้ เพราะว่าต่างคน ก็ต่างอัธยาศัย เราสามารถที่จะเห็นการสะสมตัวจริงของเรา เมื่อสภาพธรรมนั้นเกิด ถ้าสภาพธรรมนั้นยังไม่เกิดตราบใด เราไม่รู้เลยว่าความลึกล้ำของจิตที่สะสมมา ทั้งโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งฝ่ายอกุศลกับทางฝ่ายกุศล มากน้อยแค่ไหน แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เตือนให้เรารู้ว่ายังไม่ดับ อกุศลทั้งหลายยังไม่ดับ ถ้ารู้อย่างนี้ เราก็ทำกุศล คือพิจารณาเห็นว่า สิ่งนั้นไม่ดีไม่ถูก เราก็ไม่ทำ อย่างน้อยขณะนั้นก็เป็นการคิดที่เป็นกุศล แต่เราก็ยับยั้งไม่ได้อีก ถ้าถึงเวลาที่จิตจะเกิดเป็นอกุศล ก็เกิดเป็นอกุศล ให้เห็นอีกว่ายังมีแล้วก็เห็นความน่ารังเกียจเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ก่อนนั้นเราไปเห็นความน่ารังเกียจ แต่เวลาที่อกุศลจิตเกิดไม่เห็น แต่ว่าเราจะเห็นความน่ารังเกียจของอกุศล เมื่อสิ่งนั้นเกิดปรากฏ และเราก็เห็นว่านั้นเป็นโทษ แต่ไม่ใช่ว่าเราคิดวางแผนการ คิดได้ ไม่ใช่ใครก็คิดไม่ได้ แต่เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เป็นจริงได้ไหม ถ้าทุกคนอยากจะคิดดี ให้คิดอย่างนั้นอย่างนี้ทุกคน แต่ถึงเวลาจริงๆ ก็ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้าให้เข้าใจถูกตั้งแต่ต้นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าเราสะสมสิ่งที่ดีมา แน่นอนเป็นปัจจัยให้กุศลจิตในทางนั้นๆ เกิดขึ้น ถ้าเราเคยฟังธรรม และเห็นประโยชน์ และวันนี้เราจะไม่ฟัง เป็นไปได้ไหม ก็เป็นไปไม่ได้ มีปัจจัยที่จะให้ฟัง มีปัจจัยที่จะให้พิจารณา และอกุศลเราก็จะมาบอกว่าเราจะไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เวลามีปัจจัยก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นพวกความคิดนึก ยับยั้งไม่ได้ แต่ความจริงเป็นอีกอย่าง และการที่เรารู้จักตัวเราเอง ชัดเจนขึ้นต่อเมื่อสิ่งที่สะสมไว้ในจิต มีเหตุปัจจัยเกิด ทำให้เรารู้ว่านี้คือระดับของกุศล อกุศลที่เราสะสมมา ให้เข้าใจความเป็นอนัตตามากขึ้น เป็นความเข้าใจไม่ใช่เพียงพูดว่าเป็นอนัตตา พูดว่าเป็นอนัตตา ไม่ได้หมายความว่าเราเข้าใจความเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์แสดงถึงเรื่องของการระลึกลักษณะของสภาพธรรม ให้ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ แต่ถ้าโดยปกติ เราก็มักจะคิดย้อนไปเรื่องราวของสภาพธรรมที่เกิดไปแล้ว จริงๆ แล้วเราก็ไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ถูกต้อง ในเรื่องของสิ่งที่เกิดไปแล้ว การที่เราคิดย้อนไป บางครั้งก็เป็นปัจจัยให้เราสามารถที่จะน้อมในการที่จะขัดเกลา ถ้าเกิดสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วเป็นอกุศล แต่ว่าถ้าสิ่งไหนที่น้อมคิดไปแล้วเกิดกุศลก็จะเป็นปัจจัยทำให้เราเจริญกุศลยิ่งๆ ขึ้น มันจะมีความแตกต่างกันยังไงกับที่ท่านอาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเราไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม เราเพียงคิด วิตกเจตสิก เป็นกุศลวิตกก็มี เป็นอกุศลวิตกก็มี ก็เป็นความจริง เพียงแต่ว่าขณะนั้นเราไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นการได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ซึ่งผู้ที่เคยปฏิญาณว่ารู้ เช่นอุทกดาบท เข้าใจว่าตัวเองหมดกิเลส ไม่มีกิเลสเลยเพราะเขาระงับกิเลสไว้ จนกระทั่งถึง เนวสัญญาณาสัญญายตนฌาน เขาเข้าใจว่าเขาไม่มีกิเลสเลย แต่การที่เรามีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา อุทกดาบสไม่ได้ยินคำนี้ เขาไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า ธรรมขณะนี้เป็นอนัตตา แต่โอกาสที่เราได้เกิดมาได้ฟังธรรม เราจะสะสมความเข้าใจถูกในเรื่องความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมหรือไม่ หรือว่าเราก็พอใจที่จะเป็น กุศลวิตก
ผู้ฟัง เราไม่ต้องการพออยู่แค่เป็นกุศลวิตกเท่านั้น จะน้อมที่จะระลึกถึงสภาพธรรมเพื่อให้เป็นเหตุปัจจัยที่จะขัดเกลาตัวเอง จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายความเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะไม่มีคำถามนี้เลย เมื่อสติปัฎฐานยังไม่เกิด ก็แล้วแต่สภาพธรรมใดเกิด แต่ไม่ขาดการฟังพระธรรม เพราะรู้ว่าการที่สติปัฏฐานจะเกิดได้ ต้องเป็นความเข้าใจหนักแน่น มั่นคง
ผู้ฟัง เราระลึกถึง กุศลจิต เป็น กุศลวิตก ก็ยังเป็นเรา
ท่านอาจารย์ เป็นเรา ตราบใดที่สติปัฏฐานยังไม่เกิด ต้องเป็นเรา แล้วเราก็จะเป็นเราไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ถ้าสติลึกรู้ว่าขณะนี้เป็นไปในกุศลวิตก อันนี้ยังจะทำให้การคิด แม้กระทั่งกุศลวิตกสั้นลงไหม
ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่เราหวัง ไม่ใช่เรื่องละ หนทางนี้ที่ยากมากคือ ต้องพร้อมกับการละ เป็นไปกับการละ เพราะว่าเรื่องละ เป็นหน้าที่ของปัญญา เรื่องติดเป็นหน้าที่ของโลภะ ถ้าเรายังไม่เห็นโลภะที่จะทำให้เราติด เราก็จะไม่รู้เลยว่านั่นคือโลภะ
ผู้ฟัง อาจารย์พูดทุกครั้งเลยว่า ศึกษาธรรมให้เข้าใจถูกต้อง ต้องมีความระมัดระวัง ต้องเป็นผู้ตรง ไปทางที่ถูก แล้วอุปสรรคหลายๆ อย่างที่ทำให้ความเข้าใจที่ถูกต้องไม่เกิด อย่างเช่นความมีตัวตนเป็นต้น ความอยากเป็นต้น ซึ่งสำหรับผู้ที่ศึกษาใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏอย่างง่าย คือจะพาตัวเองเข้ารกเข้าพงไปเรื่อยๆ อยากให้อาจารย์ช่วยชี้แนะว่า มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค ที่จะทำให้ปิดกั้นความเข้าใจที่ถูกต้องนี้เป็นต้น ตั้งแต่ขั้นฟัง
ท่านอาจารย์ เมื่อได้ยินคำอะไร ขอให้เข้าใจคำนั้นจริงๆ อย่าไปคิดว่าเข้าใจแล้ว คำว่าธรรม ฟังดูก็ง่าย คือทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม แต่ทุกอย่างที่มีจริง คำว่าเป็นธรรม คืออย่างไร ถ้าไม่ถึงวิปัสสนาญาณ ก็ไม่ประจักษ์ความเป็นธาตุ แต่ว่าเราเริ่มที่จะมีความคิดใหม่ เพราะว่าความคิดเดิมของเราคือ เรา และ พี่น้อง เพื่อนฝูง ทั้งหมดโลกนี้ แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่าเป็นธรรมทั้งหมด อันนี้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอะไรๆ ก็เป็นธรรม แต่ธรรมที่มีจริงมีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือนามธรรม กับ รูปธรรม ฟังแค่นี้ก็หยุดไม่ได้ คิดว่าเข้าใจแล้วก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าได้ยินคำว่า นามธรรม แสดงว่ามีธาตุชนิดหนึ่ง คำว่าธาตุ แสดงแล้วว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่นามธาตุที่เกิด หมายความว่ามีปัจจัยเกิด เพราะฉะนั้นเวลาที่นามธาตุใดไม่เกิด ไม่ปรากฏ เราจะไปรู้นามธาตุนั้นไม่ได้ และขณะนี้ที่จะเข้าใจนามธาตุคือ เริ่มเข้าใจก็คือว่านามธาตุที่เกิด เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เมื่อเกิดแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนรูปธาตุมีจริงๆ จะอยู่ที่ตัวเรา จะอยู่ที่กิ่งไม้ จะอยู่ที่หญ้า ในพระวิหารเชตวัน อย่างที่ข้อความในพระไตรปิฏกว่า ถ้ามีใครเผาหญ้า เมื่อกี้เขาก็เผาหญ้าในพระวิหารเชตวันที่เรากำลังเดินมาพอดี แล้วเราจะต้องเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่า รูปเป็นรูป ไม่ว่าจะที่หญ้าที่พระเชตวัน หรือรูปที่กาย ก็คือสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้
เวลาฟังต้องเข้าใจ และต้องฟังด้วยการเข้าใจในคำนั้น อย่าคิดว่าพอแล้วหมดแล้ว ไปหาจิตกี่ดวง เจตสิกกี่ดวง ไม่ใช่อย่างนั้น แม้แต่คำว่า รูปธาตุ เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตรงไหน ลักษณะที่ไม่รู้ เป็นรูปทั้งหมด ต้องค่อยๆ เข้าใจ และพิสูจน์ความจริงว่า ที่ตัวมีรูปธาตุไหม หรือว่าเป็นเรา เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งที่ตัว ก็เหมือนเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งที่อื่น ต้องเข้าใจมั่นคงว่า รูปธาตุเป็นรูปธาตุ เคยมีความคิดว่า ที่ตัวหรือข้างนอก แต่ตามความจริง รูปธาตุมีปัจจัยเกิด และดับ แล้วเราก็ไปทรงจำว่า อยู่ตรงไหนที่ไหน แต่ความจริงการที่จะรู้ลักษณะของรูปธาตุก็คือว่า ไม่ต้องไปนึกถึงที่ แต่มีลักษณะของรูปปรากฎให้เข้าใจในความเป็นรูป ซึ่งเมื่อปัญญาถึงความสมบูรณ์ ก็จะประจักษ์การเกิดดับ เพราะเหตุว่าถ้ารูปนั้นไม่เกิด รูปนั้นจะปรากฏไหม แต่เวลาที่รูปปรากฏ ปัญญาสามารถที่จะรู้ไหมว่ารูปนั้นเกิด เห็นการเกิดของรูปนั้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นปัญญานี้ต้องตามลำดับขั้นจริงๆ
คือเมื่อฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจ ถึงความเป็นธาตุ ถึงความเป็นธรรม ถึงความเป็นรูปธรรม นามธรรมก่อน แล้วก็เวลาที่มีสภาพธรรมใดกำลังปรากฏ ถ้าเป็นผู้ที่อบรมความเข้าใจมามั่นคง สามารถที่จะระลึกคือขณะนั้น มีการพิจารณาหรือว่าจะใช้คำว่าค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ เช่นเห็น บางคนก็อาจจะคิด เห็นเป็นนามธรรม ห้ามไม่ได้ แต่ขณะที่ไม่คิดว่าเห็นเป็นนามธรรม เห็นก็เห็น แสดงว่าถ้าชนิดนี้ไม่ต้องเรียกชื่อ เกิดขึ้นทำหน้าที่ของธาตุนั้นๆ ฟังเรื่องสภาพธรรมจนเข้าใจในความเป็นธรรม และเวลาที่สติระลึก ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องอบรม อย่างผู้คนในสมัยพระทีปังกร ๔ อสงไขย แสนกัปป์ ถึงสมัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่า จิรกาลภาวนา การฟังธรรมมาแต่ละครั้ง ไม่ใช่มุ่งจะได้อะไรเลย แต่มุ่งที่ว่าสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏหรือเปล่า ถ้ายังไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็ต้องเข้าใจว่าเราศึกษาธรรมเพื่ออะไร ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ได้เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ การศึกษาของเราก็ไม่มีประโยชน์เลย เพราะเป็นเพียงเรื่องราวที่จำเหมือนเรียน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เราก็จำได้
ผู้ฟัง พออาจารย์พูดอย่างนี้ ทุกคนก็อยากที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เข้าใจ และก็เป็นพูดตรง สำหรับตัวเองว่า กำลังค่อยๆ หรือเปล่า ขณะเห็น ไม่เคยระลึกเลย หรือว่าแข็งทั้งวัน ไม่เคยระลึกเลย เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะ คืออย่างไร ขณะไหนไม่ใช่สมาธิแน่นอน แล้วสติสัมปชัญญะ ก็คือ ตามรู้ หรือรู้ลักษณะที่กำลังปรากฏนั่นเอง จากการศึกษา เราทราบว่าแข็งปรากฏกับกายวิญญาณ ทุกคนที่มีกายปสาท จะต้องรู้ลักษณะที่แข็งหรืออ่อน เย็นหรือร้อน เด็กรู้ไหม เด็กรู้ แต่ไม่มีสติที่ตามรู้ หรือระลึก หรือรู้ตรงนั้นแม้เพียงนิดเดียว เพราะเหตุว่าสภาพนั้นดับ และสภาพธรรมอื่นก็เกิดต่อ เพราะฉะนั้นผู้ที่จะรู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะ ต้องเป็นผู้ที่อบรม และรู้ว่าขณะนั้น ไม่ใช่เพียงแข็งปรากฏ เหมือนอย่างตอนเช้าหรือว่าตอนบ่าย แต่เดี๋ยวนี้แข็งกำลังปรากฏกับสติหรือเปล่า หรือว่าเพียงกับกายวิญญาณ ถ้าสติก็คือมีการใส่ใจตรงนั้น ระลึกตรงนั้น เพื่อที่จะเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพรู้ หรือลักษณะของรูป เพราะมี ๒ อย่างในขณะนั้น แต่ที่เราขณะนี้มีทุกอย่างเพราะว่า สภาพธรรมเกิดดับสืบต่อเร็วมาก รวมจนกระทั่งเป็นคน เป็นสัตว์ แต่ถ้าแยกออกไปทีละทวาร มีภวังคจิตคั่นด้วย จุดประสงค์ของการเรียน เพื่อเรียนให้เข้าใจจริงๆ ว่าไม่ใช่เราแน่นอน เพียงเกิดแล้วก็ดับ ตั้งแต่เช้ามา อาหารที่รับประทานตอนเช้า ความรู้สึกตอนเช้า เวลานี้อยู่ที่ไหน ไม่มีเลย และต่อไปความรู้สึกขณะนี้ก็ไม่มี ซึ่งความจริงแล้วเร็วยิ่งกว่านั้นอีก คือแม้ขณะนี้สภาพธรรมก็ปรากฏเพียงที่ละอย่าง สั้นมาก เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะคือสั้นอย่างนั้น แต่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ ถ้าเป็นเรื่อง อย่างที่ว่า กระทบก็คือไม่ใช่ แต่ว่ามีลักษณะที่ปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ต้องไปคิดถึงทวาร ไม่ต้องไปคิดถึงดวง ไม่ต้องไปคิดถึงอะไรเลย แต่ว่าความเข้าใจของสภาพธรรม กำลังอยู่ตรงลักษณะที่มีจริงๆ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยใส่ใจ เย็นก็เย็นไป ร้อนก็ร้อนไป ก็เป็นเรื่องเป็นราวติดตามทันที พอเห็นก็เป็นเรื่องราวทันที พอแข็งก็เป็นเรื่องราวทันที ที่พอได้ยินก็เป็นเรื่องราวทันที แต่เวลาที่สติเกิดก็คือใส่ใจในสภาพที่เป็นปรมัตถ์ ขณะนั้น คือมีสติสัมปชัญญะที่รู้ลักษณะนั้น เพียงแต่ว่าปัญญายังไม่เจริญถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้ง แต่ก็มีความเข้าใจถูกต้องว่าถ้าสติไม่เกิดระลึกตรงนั้น ไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ เพราะเกิดแล้ว ดับแล้ว เร็วทุกขณะ
ผู้ฟัง ให้อาจารย์ช่วยชี้แนะว่า ความมีตัวตนจะมาแทรกอยู่ตรงไหนบ้าง แล้วจะเป็นอุปสรรคได้ตรงไหนบ้าง
ท่านอาจารย์ ศึกษาเรื่องกิเลสก็โวยวาย มีกิเลสเยอะ เมื่อไรกิเลสจะหมด นี่ตัวตนหรือเปล่า แต่ถ้าศึกษาว่ากิเลสเป็นธรรมดาเพราะว่าเป็นธรรม จะไม่เป็นธรรมได้ยังไง บังคับให้ไม่เกิดก็ไม่ได้ และก็ปรากฏลักษณะของกิเลสชนิดไหน ก็คือมีปัจจัยที่กิเลสชนิดนั้นจะเกิด ไปเปลี่ยนระดับของกิเลสตรงนั้นให้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ นี่คือการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แม้ขั้นคิด แต่ภายหลัง เวลาที่สภาพธรรมใดปรากฏ ก็สามารถที่จะระลึกลักษณะ เพราะมีลักษณะที่ไม่ใช่เราแต่ว่าไม่เคยระลึกลักษณะที่ไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าเป็นเราทุกที จนกว่าจะระลึกลักษณะที่ไม่ใช่เราแล้วค่อยๆ เข้าใจความเป็นอนัตตา คือไม่ใช่เราจริงๆ เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง การนั่งสมาธิ เดินจงกรม ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เพราะว่าบางท่านทำกันอยู่ ก็เข้าใจตามที่อาจารย์อธิบายให้ฟังว่า ไม่ได้เกิดปัญญาอะไรเลย
ท่านอาจารย์ แล้วทำทำไม ถ้ามีคนที่ช่วยให้เราเกิดปัญญา กับมีคนที่บอกให้เราทำอย่างนั้นอย่างนี้ เราจะตามใคร มีคนจะบอกให้เราทำ เราก็ทำตามเขา แต่อีกคนหนึ่งเขาไม่ได้บอกให้ทำ แต่เขาอธิบายเหตุผลให้เข้าใจสภาพธรรม และจะสนใจอย่างไหน
ผู้ฟัง สนใจที่จะให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเรื่องที่ไม่ใช่ปัญญา
ผู้ฟัง ในสภาพชีวิตประจำวัน ถ้าจะเป็นโลภอีก การที่จะสติระลึกรู้สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ระลึกไม่ได้เลย ถ้าไม่เข้าใจธรรมก่อน
ผู้ฟัง ขั้นต้นก็ต้องเข้าใจ
ผู้ฟัง สำหรับบุคคลที่เพิ่งเริ่มเจริญสติปัฎฐานใหม่ๆ หรือว่ายังไม่มีสติปัฎฐานเกิดเลย อาจจะมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวธรรม เมื่อศึกษาแล้วก็มีความสนใจอยากจะรู้ว่า สภาพธรรมตามความจริงมันเป็นอย่างไร มีการพูดกันว่าถ้า อยากจะรู้สภาพธรรม ก็ไม่สามารถจะรู้สภาพธรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้นหมายความว่าบุคคลที่เจริญสติปัฎฐานขั้นต้นๆ นี้ ไม่มีความอยากที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นหรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เห็นขณะนี้เป็นสภาพธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ แล้วก็อยากจะรู้ว่า เห็นเป็นธรรมยังไงใช่ไหม ถ้าพูดถึงสภาพธรรม เราไม่ได้พูดลอยๆ มีสิ่งที่กำลังเป็นธรรมเดี๋ยวนี้ แล้วอยากจะเห็นว่าสภาพธรรมนี้เป็นสภาพธรรมยังไงหรือคะ
ผู้ฟัง มีความสงสัยว่า สำหรับบุคคลที่มีแม้แต่ในสติปัฎฐานขั้นต้นนี้จะไม่มีเลย หรือว่าความอยากที่จะรู้ ให้มากขึ้น อยากจะมีสติปัฏฐานมากขึ้น
ท่านอาจารย์ คนที่เจริญสติปัฏฐานจะรู้ว่าแม้ขณะนั้น ความอยากก็ไม่ใช่หนทาง
ผู้ฟัง เพราะว่าการเจริญสติปัญญา เป็นการละ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่าความอยากก็ไม่ใช่หนทาง แต่แม้กระนั้นก็ไม่ใช่คำว่าความอยากนี่มันจะหายไปหมด
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางหายเลย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 61
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 62
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 64
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 67
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 68
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 69
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 70
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 72
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 73
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 74
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 75
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 76
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 77
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 78
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 79
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 80
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 81
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 82
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 83
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 84
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 85
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 86
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 87
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 88
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 89
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 90
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 91
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 93
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 94
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 95
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 96
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 97
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 98
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 99
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 120