ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
ตอนที่ ๖๓
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีเรื่องเดียว หน้าที่เดียว คือฟังสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ กำลังฟังเรื่อง เห็นเรื่อง ได้ยินเรื่องนามธรรม เรื่องรูปธรรม เพื่อที่สติปัฏฐานจะได้ระลึกได้ ถ้าเราไม่ฟัง ก็ไม่มีทาง เหมือนการเตือน ขณะที่ฟังครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับเตือนให้เรารู้ครั้งหนึ่งว่า เรามีปัญญารู้สภาพเห็นได้แค่ไหน หรือยังไม่มีเลย ถ้ายังไม่มี เราก็รู้ว่าเราจำชื่อ จำเรื่องแล้วก็เข้าใจเรื่องราว
ผู้ฟัง ที่เรามีความคิดเห็นว่า จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล สำคัญว่า จิตเป็นกุศลหรือว่าเป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเราก็คือจำเรื่อง ใช่ไหม เราจำเรื่องจิตเป็นกุศล เราจำเรื่องจิตเป็นอกุศล เรายังไม่รู้จักตัวจิตเลย เพราะฉะนั้น ทุกอย่างความรู้ทั้งหมดต้องตั้งต้นที่พื้นฐาน เราฟังมาว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ยังไม่เป็นทุกอย่างเป็นธรรมสำหรับเรา แต่เรารู้ว่า ในที่สุดต้องรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เราฟังเรื่องจิต เรารู้ว่าจิตเป็นสภาพรู้ แต่ลักษณะของสภาพรู้หรือธาตุรู้ ก็ยังไม่ปรากฏกับปัญญา เพราะว่าปัญญายังไม่เกิด พอที่จะรู้ลักษณะของจิต และเจตสิก เพราะฉะนั้นเมื่อเรายังไม่รู้ลักษณะของจิต แล้วเราบอกว่าจิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล คือขณะนั้นเป็นความคิดนึก เรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต จนกว่าเราจะรู้ลักษณะของจิต มีปัญญาที่สามารถจะประจักษ์ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ความที่เป็นความรู้ระดับคิดเท่านั้นก็จะเพิ่มขึ้น เพราะว่าถ้าลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมไม่ปรากฏ ยังไงๆ ก็เป็นความรู้ขั้นคิดตลอด จะเป็นเรื่องกุศลจิต เรื่องอกุศลจิต ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นกุศลจิตที่กำลังฟัง มีศรัทธา มีสติ และกำลังเข้าใจก็เป็นปัญญา แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เราก็พูดเรื่องจิตที่เป็นกุศล แต่ตัวกุศลจิตจริงๆ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมที่แยกขาดจากกัน ถ้ามิฉะนั้นก็เป็นเรื่องราวทั้งหมด แต่เวลาที่สภาพนั้นๆ เกิดขึ้น ความรู้ของเราเป็นความคิดนึกเพิ่มจากการที่เราไม่เคยฟัง คือก่อนฟังเราก็มีอ่อนหรือแข็ง ใช่ไหม ทุกอย่างเห็น ได้ยินพวกนี้เราก็มีโดยที่ไม่เคยฟังมาก่อน แต่ว่าหลังจากเคยฟังแล้ว ใจของเราก็มาคิดเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้น แต่ก็ยังคงเป็นความคิด เพราะว่าถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ต้องสามารถศึกษาลักษณะที่มีเป็นปกติว่า ลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะของรูปธรรม หรือว่าเป็นลักษณะของนามธรรม เพราะเหตุว่า จริงๆ แล้ว เราทราบว่าไม่มีอะไรเลยนอกจากนามธรรมกับรูปธรรม ยังไงๆ เราก็ตอบได้ แต่จริงๆ เวลานี้เรามีความเข้าใจอย่างนั้นหรือเปล่าว่า ไม่มีเรา มีแต่นามธรรม และรูปธรรม โดยไม่ใช่ขั้นคิด แต่เป็นขั้นที่สติไม่ว่าจะระลึกขณะใด ก็คือลักษณะของนามธรรมมีความเข้าใจในลักษณะนั้น เวลาที่สติระลึกเมื่อไรก็มีความเข้าใจลักษณะของรูปธรรม เพราะฉะนั้น เราจึงเข้าใจความหมายของสติปัฏฐานหรือสัมปชัญญะ ว่าแค่ไหน ระดับไหน ที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมโดยถูกต้อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว ก็จะเป็นความคิด ซึ่งคิด แล้วก็มีลักษณะของสภาพธรรมซึ่งไม่เปลี่ยนเหมือนเดี๋ยวนี้ เหมือนเดิม แต่ว่าสิ่งที่เรากำลังคิดถึงลักษณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน หรือเป็นสติปัฏฐาน อันนี้เป็นขั้นต้นที่ต้องทราบ ไม่งั้นสติปัฏฐานก็เจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัญญาจริงๆ สามารถที่จะรู้ทั่ว ข้อสำคัญที่สุดที่จะละความเป็นเรา ปัญญาต้องรู้ทั่ว อย่างในขณะนี้ทั้งหมด ถ้าเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานมาก ถึงระดับสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณ เป็นอะไรก็แล้วแต่ เมื่อสติปัฏฐานเกิด เขาจะรู้เลยว่าเขาสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนามธรรม หรือว่าลักษณะของรูปธรรม ไม่ว่าขณะนั้นจะเป็นคิด หรือเป็นโกรธ หรือว่าจะเป็นมานะ หรือจะเป็นริษยา หรือจะเป็นเมตตา หรือจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ทุกอย่างที่ละเอียดทั้งหมด จะปรากฏกับสติที่ระลึก เพราะเหตุว่าสติเขาจะไม่มีการที่จะให้เราล่วงหน้าเลยว่าเขาจะระลึกอะไร หรือว่าคนที่เคยเจริญสติมีปัญญามากแล้ว สติจะเกิดหรือไม่เกิด เขารู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่สามารถที่จะไปบังคับบัญชาได้ เพราะฉะนั้น ปัญญาจะเป็นสภาพที่ค่อยๆ คลาย ค่อยๆ ละ ความไม่รู้จากสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะรู้ขึ้น จนกว่าจะถึงระดับที่สามารถจะเข้าใจว่า สติปัฏฐานเป็นปกติไม่ว่าขณะไหน และก็ไม่ใช่เป็นการหวังรอ หรือต้องการให้สติเกิดมากๆ เพราะว่าหนทางละ จะต้องละจริงๆ และละไปโดยตลอด ถ้ายังไม่ละเมื่อไหร่ ต้องการเมื่อไหร่ นั้นก็คือกั้นทันที นี่คือความละเอียดของสติปัฏฐาน ถ้าเป็นสติปัฏฐานจริงๆ ต้องเป็นหนทางละ ความไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ถ้ามีใครที่อยากมีสติมากเลย ถูกหรือผิด เพราะว่าความอยากเป็นเครื่องส่องถึงความเป็นตัวตนว่ามากมายสักแค่ไหน
ผู้ฟัง พูดความจริงตัวตนมีอยู่แต่คิดว่ายังไม่รู้ ตัวตนแค่ไหน แต่คิดว่าจะมีประโยชน์ถ้าเราเข้าใจดีขึ้น เรื่องมีตัวตนแค่ไหน
ท่านอาจารย์ เพราะจริงๆ แล้ว ถ้าเราจะจำคำพูดบางประโยค หรืออาจจะคิดขึ้นมาเองก็ได้ เพราะเราสะสมมา ถึงอยากก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะถึงได้ด้วยความอยาก บางคนก็กลัวกิเลสเหลือหลาย พอศึกษาธรรม ทำไมถึงได้เกิดกลัวขนาดนั้น ก็มีอยู่ขนาดไหนตามปกติ และยังลึกลงไปอีกที่ละเอียดมากที่พร้อมจะเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสขณะไหนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ว่าไม่มีความเข้าใจ หรือสามารถ หรือว่ามีโอกาสที่จะเข้าใจธรรม ก็พอแล้ว เข้าใจแค่ไหนก็แค่นั้น เราจะไปขวนขวายอยากจะได้สิ่งที่เราไม่ถึงได้ยังไง จะไปหยิบพระจันทร์ พระอาทิตย์ ไม่ได้ เราอยู่ตรงนี้ เราสามารถจะเข้าใจวันนี้ พรุ่งนี้เราก็สามารถที่จะเข้าใจอีกเมื่อฟังอีก และเราก็ไม่ขาดการฟัง เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะต้องไปกวนความอยากให้ขึ้นมาว่า อยากจะให้มีสติมากๆ หรืออะไร
ผู้ฟัง ถ้าเกิดรู้ตัวว่า ถ้าไม่ระวังจะล่วงศีลเป็นประจำ ก็เลยพยายามที่จะระมัดระวังแล้วพยายามบังคับตัวเอง เพราะว่าการสะสมกิเลสมามีกำลังมากที่จะทำให้ล่วงศีลด้วย นี้จะคิดว่ามันก็น่าจะมีธรรมที่จะทำให้กิเลสส่วนนี้มันเบาบางลงด้วย
ท่านอาจารย์ ธรรมในพระไตรปิฎกเต็มเลย จะเอาระดับไหนได้หมดเลย ระดับทาน ระดับศีล ระดับความสงบของจิต แต่ทุกคนก็รู้ว่า ถ้าไม่มีปัญญาที่จะดับความเป็นเรา ศีลก็สมบูรณ์ไม่ได้ วันหนึ่ง วันใดในสังสารวัฏฏ์ก็จะต้องล่วงศีล โดยชีวิตของพระโพธิสัตว์เราก็เห็น ใช่ไหม แล้วก็ทรงแสดงไว้ด้วยว่า ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยศีล ๕ ต้องเป็นพระอริยบุคคล ถ้าเรามีความเข้าใจอย่างนี้ สิ่งที่เราเข้าใจจะเป็นอุปนิสัยที่จะมีการสะสม ที่จะมีกำลัง เพราะเหตุว่า ถ้ามีความเห็นถูก กายถูก วาจาถูก เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเห็นว่า ที่จริงแล้วมันก็เป็นสภาพธรรมที่บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าเกิดขึ้น ธรรมปกติของผู้ที่สะสมมาจะไม่ล่วงศีล พวกเราล่วงศีลอะไรกันบ้างหรือเปล่า ถ้าศึกษาธรรมจริงๆ แล้ว ก็พยายามลดน้อยลง อย่างคนที่เขาฆ่าสัตว์ ฆ่ามด ฆ่าปลวกก็ลดน้อยลง ถ้าจำเป็นจริงๆ บางคนก็อาจจะยับยั้งไม่ได้ในขณะนั้น ต้องในขณะนั้น ทั้งๆ ที่ก่อนนั้นก็อาจจะตั้งใจว่าจะไม่ฆ่า แต่พอถึงเวลาจริงๆ ไม่มีใครรับรองได้ถ้าไม่ใช่พระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจจุดนี้จริงๆ แล้วเราสะสมปัญญาไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะทำหน้าที่ของเขาเพิ่มขึ้นได้ แต่ถ้ามีตัวเราที่อยากจะใช้วิธีอื่น อันนั้น ความรู้เรื่องสัจจญาณของเราไม่มั่นคง เพราะเห็นว่าขณะนี้เราไม่ได้ล่วงศีลอะไร เราก็ศึกษาธรรม ฟังธรรมทำให้เข้าใจขึ้น ให้เข้าใจจริงๆ ว่าสัจจญาณคือไม่ทำอย่างอื่น นอกจากระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้าคนที่ไม่มั่นคง พออกุศลเกิด ความเป็นตัวตนจะไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะคิดว่าจะใช้วิธีนั้น จะใช้วิธีนี้ แต่จะใช้วิธีไหนก็ตาม ไม่เหมือนกับสติที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ จึงทรงแสดงเรื่องการอบรมสติปัฏฐาน เป็นสังขารธรรมที่ประเสริฐกว่าสังขารธรรมอื่นทั้งหมด สังขารธรรมหมายความถึง สภาพธรรมที่เกิดดับ สภาพธรรมอื่นที่เกิดดับ ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ปัญญาเจริญที่จะดับกิเลส แต่มรรค สติปัฏฐาน เป็นสังขารธรรมที่ประเสริฐ เพราะเมื่ออบรมไปแล้ว ก็จะทำให้สามารถที่จะดับกิเลสได้ ถ้าเรามีความมั่นคงอย่างนี้แล้ว และก็มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แทนที่เราจะไปหมกมุ่นเรื่องอื่นที่จะล่วงศีล ที่กิเลสระดับนั้นจะเกิด ความที่เราไตร่ตรองธรรมอยู่บ่อยๆ ก็จะทำให้เราเพิ่มความมั่นคงในเรื่องของการที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นทางที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิดได้ เพราะว่าเวลานี้จริงๆ ทุกคนยอมรับว่ามีนามธรรม มีรูปธรรมตลอดเวลา แต่สติปัฏฐานไม่เกิด พอสติปัฏฐานไม่เกิด เขาเริ่มจะทำอย่างอื่น ย้าย เคลื่อน จากการระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วเมื่อไหร่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เพราะรู้ยาก สติปัฏฐานเกิดยาก แต่ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ไม่ไปคิดเรื่องจะไปทำอย่างอื่น ขณะนั้นก็ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีการระลึกได้ ต้องสะสมปัจจัยที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด มีข้อความที่แสดงไว้ว่า เรามีกามราคานุสัย แน่นอน ความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสสัมผัส จะมากสักแค่ไหน ลองคิดดู มีแต่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ แต่เวลาที่เกิดชอบอะไรขึ้นมาสักอย่าง สิ่งที่มีอยู่แล้วยังเพิ่มกำลังเข้าไปอีก ทุกครั้งที่เกิดโลภะ สับปะรดหรือว่าขนมปังสีต่างๆ อะไรพวกนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า เราไม่รู้เลยถึงโทษของอันนี้ แต่เราไปคิดถึงโทษใหญ่ข้างหน้า แต่ถ้าเราเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยของโลภะนี้ เราก็เป็นคนที่ค่อยๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ง่ายขึ้น อะไรก็ได้แล้วแต่ว่าเราจะมีกำลังแค่ไหน แต่เวลาที่เราไม่สามารถจะเป็นอย่างนั้น โลภะมีกำลังก็รู้ว่า นี่กำลังของโลภะ เพราะเหตุว่าแม้แต่ธรรม จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ ต้องมีอารมณ์นี้แน่นอนที่สุด จิตที่มีอารมณ์ไม่ได้ แต่ก็มีอารัมมณาธิปติ อารมณ์ที่เป็นใหญ่เป็นที่ต้องการ เพราะเหตุว่า เมื่อกี้เราก็เดินวนหลายรอบที่โต๊ะอาหาร ใช่ไหม อันไหนที่เราหยิบมาคืออารัมมณาธิปติ เราไม่ทิ้งอันนั้น เราต้องการอันนั้น เพราะฉะนั้น จากอารมณ์ธรรมดาก็เพิ่มเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย หมายความถึง สิ่งที่โลภะยินดีต้องการอะไร เราไม่ทิ้ง ไม่ใช่เฉพาะสำหรับโลภะอย่างเดียว แม้แต่กุศลก็มี แต่ทีนี้เราจะยกตัวอย่างหรือพูดเพียงบางอย่าง แล้วถ้าเราชอบสิ่งนั้นบ่อยๆ อารัมมณาธิปติของเรา คือไส้กรอก สมมติว่าไส้กรอกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย เสพคุ้นก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ที่ทำให้ไม่ว่าเราจะเกิดเป็นใครเมื่อไหร่ชาติไหน สิ่งที่เราคุ้นเคยติดเป็นนิสัยว่า เรามีความชอบ มีความพอใจในอารมณ์อย่างนั้น เช่น บางคนชอบสีแดง แค่ปากกาก็ต้องเลือกสี บางคนก็ชอบสีฟ้า แล้วก็เสื้ออีก แล้วยังลายอีก เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ความที่เรามีชีวิตประจำวัน เราจะเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น แล้วก็เห็นกำลังของโลภะ หรือความไม่รู้ของเรามากมาย ที่ทำให้เรามีอุปนิสัยต่างกัน นี้ก็แสดงให้เห็นว่า มันก็ยังจะเกี่ยวข้องไปถึงอนันตรูปนิสสยปัจจัยอีก เพราะเหตุว่า จิตนี้เกิดดับสืบต่อเป็นของธรรมดาใช่ไหม เพราะอนันตรปัจจัย จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป ก็เป็นอนันตรปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ทุกอย่างที่มีสะสมสืบต่อไปถึงจิตขณะต่อไป มีกำลังที่จะเกิดเมื่อไหร่ เราก็จะรู้ว่านั่นคืออนันตรูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่า เวลาที่เราเห็นก็เป็นธรรมดาอนันตรปัจจัยอะไรๆ ไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ที่เราสะสมมามีกำลังที่จะเกิดขึ้น ขณะนั้นก็ยิ่งแสดงความเป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งด้วย คือนอกจากเป็นอนันตรปัจจัย ก็ยังเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราจะพิจารณาเข้าใจสภาพธรรมลึกๆ แล้วก็ละเอียดขึ้น แต่ละคำที่เราศึกษามาอย่าทิ้ง เป็นความหมาย ความเข้าใจเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจเวลาที่เราศึกษาละเอียดขึ้น ก็จะทำให้เรามีความชัดเจนในความหมายขึ้นว่าความหมายเดิมเราจะทิ้งไม่ได้ จะต้องเอามาประกอบ และขยายให้มีความชัดเจนในส่วนนั้น เพราะฉะนั้น พื้นฐานต้องตามลำดับจริงๆ คือเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังให้ชัดเจน แล้วก็ส่วนอื่นเพิ่มเติมประกอบให้เข้าใจขึ้น อย่างคำว่าอารมณ์หรืออารัมมณะ จิตต้องมีอารมณ์ แต่อารัมมณาธิปติไม่ใช่ต่างหากจากชีวิตประจำวัน และไม่ใช่เกินความเข้าใจด้วย สิ่งไหนที่เราไม่ทอดทิ้ง เราต้องการสิ่งนั้น ขวนขวายที่จะได้มาก็คืออารัมมณาธิปติปัจจัย แล้วก็จะทำให้เสร็จเป็นอุปนิสัยด้วย ที่เรามีความต้องการในสิ่งนั้น โดยที่แต่ละคน รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็มีสภาพธรรมในชีวิตประจำวันที่บ่งให้เราเข้าใจสิ่งที่เราศึกษา แต่ว่าการที่เราจะประจักษ์แจ้งจริงๆ ไม่ใช่ระดับฟัง ระดับนี้เป็นแต่เพียงส่วนที่จะทำให้เราเกิดระลึกว่า ลักษณะของสภาพธรรมขณะนี้กำลังปรากฏ และเราจะต้องเข้าใจลักษณะนั้นในสภาพที่เป็นธรรม เป็นธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่เป็นชื่อ เพราะว่าตอนที่ตรัสรู้นี้ ไม่มีชื่อเลย แต่เพราะปัญญาที่สะสมมา ไม่ใช่ระดับของแค่พระโสดาบัน หรือพระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์สาวก หรือพระอรหันต์ที่เป็นอัครสาวก แต่อรหันตสัมมาสัมพุทโธ ด้วยชื่อนี้ สำคัญมาก ในขณะที่เราสามารถที่จะรู้เพียงบางส่วน แต่พระองค์ในขณะที่ไม่มีคำเลย แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ แทงตลอดประจักษ์ถึงความเป็นปัจจัยต่างๆ ของสภาพธรรม ด้วยเหตุนี้ เวลาที่ทรงแสดงธรรม จึงแสดงจากการตรัสรู้ การประจักษ์แจ้งเป็นปัจจัยต่างๆ เป็นอะไรต่างๆ เพราะการที่ทรงประจักษ์โดยที่ไม่มีคำเลย เพราะฉะนั้น ขณะนี้สภาพธรรมมี จิตมีแน่นอน เจตสิกแน่นอน รูปแน่นอน เราจะรู้จักลักษณะของจิตด้วยสติปัฏฐานเท่านั้น เพราะว่าจิตเป็นธาตุ เป็นธรรมมีลักษณะเฉพาะ จิตนี้เป็นสภาพรู้ และคิดถึงสภาพรู้ว่า ขณะที่กำลังเป็นสภาพรู้ปรากฏให้รู้ความเป็นสภาพรู้ ขณะนั้น จะมีแสงสว่างไหม จะมีสีไหม จะมีกลิ่นไหม จะมีรสไหม จะไม่มีอะไรทั้งสิ้น โลกนี้เอาออกหมดเลยไม่เหลือ แต่ก็ยังมีธาตุรู้ สภาพรู้ เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้จนกว่าจะประจักษ์แจ้งเมื่อไหร่ก็คือ ไม่มีความสงสัยในลักษณะของสภาพรู้ ธาตุรู้ แต่ปัญญาขณะนั้นก็ยังไม่พอ ยังอ่อน เพราะว่า เป็นชั่วขณะที่ไม่มีการจะนับว่า กี่นาที กี่ชั่วโมง ตามประเภทของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น เพราะฉะนั้น คนนั้นก็รู้ว่ายังจะต้องศึกษาให้มีความแจ่มแจ้งในลักษณะของสภาพรู้อื่นๆ ด้วย จนกว่าจะคลายการยึดถือสภาพที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมเรื่อยๆ ยิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าปัญญา มีหน้าที่ละความไม่รู้ มีหน้าที่ละความติดข้อง และจะต้องเป็นไปตามลำดับด้วย ถ้าเรามีการเพียงฟังเรื่องของนามธรรม และรูปธรรมโดยสติปัฏฐานไม่เกิด และเราคิดว่าขณะนั้น ใช่ เป็นสติปัฏฐาน เราไม่มีทางที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพที่เป็นธาตุ ที่เป็นตัวสภาวธรรมแท้ๆ นี่เป็นการฟังที่เราต้องละเอียดในเรื่องของสัจจญาณ เพื่อกิจจญาณคือสติปัฏฐานเกิด เพื่อกตญาณ และต้องไม่ลืมว่าทั้ง ๔ อริยสัจจะ ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น แม้แต่สติปัฏฐาน หรือว่ามรรคมีองค์ ๘ องค์ ๕ พวกนี้ก็ต้องลึกซึ้งด้วย ต้องเป็นไปกับกาล
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึงว่า ไส้กรอกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ท่านอาจารย์ คนที่หยิบไส้กรอกมา
ผู้ฟัง แล้วก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย แล้วก็เป็น
ท่านอาจารย์ ต่อไปจะมีความชอบในรสนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปไส้กรอก หรือว่าเป็นรูปอื่นก็ตาม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นจากตรงนี้ ที่เราเอาการศึกษา เรื่องราวของธรรมเพื่อมาเข้ากับสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมที่ละเอียด ต้องมีประโยชน์สำหรับการพิจารณาธรรมมากขึ้นด้วย
ท่านอาจารย์ แน่นอน คือธรรมเป็นสภาพที่ละเอียด ถ้าใครประมาทว่าธรรมไม่ละเอียด คนนั้นผิด มีทางที่จะคลาดเคลื่อนไปเรื่อยๆ เข้าใจผิดต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเรามีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นแก่น ที่เป็นพื้นอย่างมั่นคง ไม่ไขว้เขว เวลาที่เราศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถา เราจะต้องเข้าใจว่า ต้องสอดคล้องกันทั้งหมด แล้วก็เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้พื้นฐานที่เราเข้าใจแล้ว กระจ่างชัดเจนขึ้น แต่ว่าไม่ใช่มาลบล้างคำเดิมที่เราเข้าใจอยู่แล้ว อย่างการเข้าใจเรื่องจิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ต่างกับเจตสิก เราจะรู้ได้เลยว่า ถ้าลักษณะของจิตไม่ปรากฏ เราเพียงแต่พูดเรื่องชื่อกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะอะไร เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะแยกลักษณะของจิตกับเจตสิกได้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้น ถ้าเวทนาปรากฏ และเวลาที่จิตประกอบด้วยเวทนาอะไร เราจะรู้ลักษณะของจิตที่มีเวทนานั้นปรากฏ หรือว่าเราจะรู้ลักษณะของเวทนาเจตสิก ซึ่งเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเหตุว่าสภาพของจิตกับเจตสิก ต่างกันแน่นอน จิตไม่จำ จิตไม่รู้สึก แล้วก็จิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะฉะนั้น แม้แต่ที่ว่าจิตเป็นนามธรรม เจตสิกเป็นนามธรรม จะรู้จริงๆ เมื่อไหร่ เมื่อประจักษ์สภาพของธรรมที่เป็นจิต และสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกที่แยกขาดจากกัน เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ และก็เวลาที่สติระลึก จะมีการศึกษาลักษณะนั้น เราไม่ต้องมาแยกโดยชื่อ ถ้าความทุกข์หรือสภาพที่เป็นทุกข์ทางกายเกิด ขณะนั้นไม่ต้องแยกเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ลักษณะของจิตปรากฏไหมในขณะนั้น ลักษณะของจิตไม่ปรากฏ ลักษณะของเวทนาปรากฏ ก็ศึกษาเวทนานั้น แต่ความสงสัยด้วยความยังไม่กระจ่างชัด ถ้าสภาพธรรมไม่ปรากฏโดยความเป็นธาตุแต่ละอย่าง ความสงสัยของเราก็ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะหายไป ค่อยๆ ลดลง ต่อเมื่อมีการเข้าใจลักษณะที่เป็นสภาพธรรมนั้นจริงๆ เพิ่มขึ้น อย่างโลภะ ย้ายจากเวทนามาเป็นโลภะ เวลาที่เราบอกว่า ขณะนี้เรากำลังชอบ สติปัฏฐานระลึกลักษณะที่ชอบ หรือว่าระลึกลักษณะของจิตที่ประกอบด้วยโลภเจตสิก นี้เป็นสิ่งซึ่งใครสามารถที่จะรู้ จนกว่าจะรู้ว่าเป็นนามธรรมก่อน เมื่อนามธรรมกับรูปธรรมแยกขาดจากกัน ทั้งๆ ที่สภาพธรรมก็ต่างกันอยู่แล้ว แต่ว่าความที่เราไม่รู้ชัดในลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม เราจะกล่าวได้ไหมว่า ขณะนี้กำลังมีโลภะเป็นอารมณ์ หรือว่ากำลังมีจิตที่มีโลภะอารมณ์ เพราะว่าทั้งสองอย่างนี้เป็นนามธรรม แต่ถ้ามีความรู้ลักษณะของนามธรรมจริงๆ แล้ว นามธรรมแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นเราก็รู้ว่าเป็นนามธรรมเท่านั้น และก็มีลักษณะต่างกันด้วย นามธรรมที่เป็นโลภะกับนามธรรมที่เป็นจิตนี้ก็ต่างกัน
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ อย่างนามธรรม จิต เจตสิกนี้เรารู้สึกว่าละเอียดมาก แต่รูปธรรมอย่างเช่นสภาพรู้ทางตากับสี แล้วก็เป็นรส สิ่งที่ปรากฏทางทวารทั้ง ๕ รู้สึกจะเห็นความแตกต่างกันมากกว่าทางนามธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 61
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 62
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 64
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 67
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 68
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 69
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 70
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 72
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 73
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 74
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 75
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 76
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 77
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 78
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 79
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 80
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 81
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 82
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 83
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 84
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 85
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 86
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 87
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 88
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 89
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 90
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 91
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 93
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 94
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 95
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 96
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 97
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 98
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 99
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 120