ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
ตอนที่ ๙๒
ผู้ฟัง การได้ยินได้ฟังธรรมอย่างนี้จะเป็นการค่อยๆ ละคลายความเป็นตัวเรา
ท่านอาจารย์ อย่าหวังอะไรมากมาย เพียงรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง มีความรู้ว่า คนที่รู้ได้มากมายมหาศาลจนถึงแสดงความละเอียดนี้มี และที่เพิ่งเริ่มฟังวันนี้เพียงเล็กน้อยที่สุด เทียบไม่ได้เลย เหมือนมหาสมุทรกว้างใหญ่ และขนหางกระต่ายนิดเดียวที่จุ่มลงไป เพราะฉะนั้น ยังมีอีกมากมายมหาศาลที่จะเห็นว่า ถ้ายิ่งศึกษาจะยิ่งรู้ว่า ผู้ที่สามารถที่จะแสดงความจริงได้ละเอียดมีบุคคลเดียว คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ถ้าสมมติรู้ธรรม รูปกับนาม แล้วรู้เลยว่า นี้คือความอยากได้ แล้วไม่ได้แล้วถึงโมโห รู้ว่าเป็นอย่างนั้นแล้วจะแก้ คือ ยังเป็นอย่างนั้น ยังปรากฏ และดับไปแล้ว
ท่านอาจารย์ ใครไม่มีโทสะ
ผู้ฟัง พระอนาคามี
ท่านอาจารย์ แล้วเราเป็นใคร
ผู้ฟัง ปุถุชนธรรมดา
ท่านอาจารย์ แล้วพยายามจะทำอะไร
ผู้ฟัง คือ เห็นความรังเกียจ ความน่าเกลียดของอกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รู้ได้ว่า หนทางเดียว คือ มีปัญญากว่านี้ ต้องอบรมปัญญากว่านี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องเดือดร้อน
ผู้ฟัง กว่าที่จะมีปัญญาถึงขั้นนั้น
ท่านอาจารย์ ต้องอดทน ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง เริ่มเข้าใจพระพุทธพจน์
ผู้ฟัง อดทนในความหมายของอาจารย์คือ
ท่านอาจารย์ อบรมไปจนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์
ผู้ฟัง แล้วถ้าสมมติ โลภะเกิด โทสะเกิด
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ความเข้าใจทำไมถึงต้องจรดกระดูก สัจจญาณไม่ใช่รู้อื่นเลย อนัตตา ทุกอย่างเป็นธรรม มีสติที่จะลึกได้ ขณะนั้นเป็นธรรม นี้เป็นหนทางเดียว และสามารถที่จะเป็นสติปัฎฐานทีละเล็กทีละน้อยได้ถ้ามีปัจจัยพอ นี้เป็นหนทางเดียว ทรงชี้หนทางเดียวไว้แล้วไปพยายามหาหนทางอื่น ไม่มีทางจะเป็นไปได้ หนทางเดียวต้องเป็นหนทางเดียว
ผู้ฟัง แต่บางครั้งไม่มีสติ รู้ว่า……
ท่านอาจารย์ ไม่มีก็เป็นธรรม หลงลืมสติก็เป็นธรรม ต้องมั่นคงมากๆ ในสัจจญาณ
ผู้ฟัง แต่กรรมที่เป็นอกุศลกรรมเกิดแล้ว
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วก็แล้วไป ยิ่งแล้วไปแล้ว ยิ่งแก้ไม่ได้ เพราะแล้วไปแล้ว ตั้งต้นใหม่
ผู้ฟัง ไปว่าคนอื่นแล้วเรียบร้อยคือ เกิดไปแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะต่อไปจะทำอีกไหม
ผู้ฟัง ไม่ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ชอบ
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อปัญญาไม่พอก็ทำ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับปัญญาไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเราจะทำ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการอบรมเจริญปัญญา ต้องอดทนมากที่จะอบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะถึงระดับนั้นได้
ผู้ฟัง ยากมาก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นพระอรหันต์เต็มเมือง
ผู้ฟัง ยากมากเพราะว่า เมื่อเห็นทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องตามใจตัวเอง
ท่านอาจารย์ จึงรู้ว่าขณะนั้นหนทางเดียว คืออะไร ไม่ใช่หนทางอื่น กลับมาหาหนทางเดียวให้ได้ ที่จริงชีวิตยังจะต้องพบอะไรอีกมากมาย และความรู้สึกเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ อาจมีความผูกพันมากยิ่งกว่าที่เคยเป็น และอาจมีสุขมากกว่าที่เคยเป็น มีทุกข์มากกว่าที่เคยเป็น แต่ถึงอย่างไร ทั้งหมดนั้นไม่ได้อยู่กับเราตลอด วันหนึ่งจะต้องจากไปอย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้จริงๆ แล้ว กำลังจากทุกขณะโดยไม่รู้ตัวเลย เพราะฉะนั้น เป็นการจากไปที่ยังอบอุ่น คือว่า อันหนึ่ง ไป อีกอันหนึ่งก็มาทดแทนอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนกับว่า ไม่ขาดอะไรสักอย่างเดียว ไม่มีอะไรที่พลัดพรากจากไปจริงๆ แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่รู้จริงจะประจักษ์การพลัดพรากตลอด สำหรับผู้ที่มีปัญญาถึงระดับนั้น เพราะฉะนั้น จะเห็นความต่างของระดับของปัญญาว่า เพียงปัญญานิดหนึ่ง ดูโทรทัศน์ และหูฟังก็ยังคิดได้แค่นี้ แต่ถ้าอบรมมากจนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์ได้จริงๆ ความเข้าใจอย่างมั่นคง และอย่างที่เรียกว่าประจักษ์จริงๆ จะทำให้เห็นความจริง ไม่ใช่เพียงขั้นคิด แต่ขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น ผลต่างกันมาก แต่ให้ทราบว่า ชีวิตในสังสารวัฎฏ์ไม่พ้นไปจากโลกธรรม ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ นินทา สรรเสริญ พวกนี้ต้องมี เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถที่จะเข้าใจความจริงว่า ไม่มีเรา คำสรรเสริญสรรเสริญอะไร ที่จริงสรรเสริญกุศลธรรม ไม่มีใครสรรเสริญอกุศลธรรม คือ ธรรมฝ่ายไม่ดีเลย แต่ว่าความไม่เข้าใจจริงๆ ปัญญาไม่พอ แม้ว่ารู้ว่าอกุศลไม่ดีแต่อกุศลก็ยังเกิด เพราะฉะนั้น เห็นระดับของปัญญาระดับขั้นฟังแค่นี้ ทำอะไรกิเลสไม่ได้เลย อย่าไปว่าใครว่า มาฟังธรรมแล้วทำไมนิสัยไม่เปลี่ยน หรือไม่เห็นเป็นคนดีขึ้นเลย เพราะว่า ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้เร็วอย่างนั้น เพียงแต่ว่าความดีคือ จากไม่เคยฟังมาเป็นผู้ฟัง อันนี้แน่ๆ ใครก็ปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหม แต่เมื่อฟังแล้วมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นจึงรู้ว่า เป็นเรื่องของปัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องของเรา จะทำให้สะสมปัญญาขึ้นด้วยความไม่ประมาท แต่พร้อมที่จะรับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นในชีวิตซึ่งไม่ใช่มีแต่กลีบกุหลาบ dHต้องมีหนาม มีอะไรมากมาย ต้องค่อยๆ รู้ไปทีละเล็กทีละน้อยอย่างนี้ว่าเพราะอะไร
ผู้ฟัง ถ้ารู้เรื่องนามธรรม รูปธรรม จิต เจตสิก ตรงนั้นถ้าเข้าใจแล้ว จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเรื่องปริเฉทหรือเรื่องอื่นๆ อีกหรือไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นปริเฉท ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา ไม่พ้นจากนามธรรม และรูปธรรมที่ทำให้เข้าใจละเอียดขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นจริงว่า ไม่ใช่เรา เพียงแค่นี้ยังเห็นไม่จริง เพียงแค่ได้ยินได้ฟังนิดเดียว ต้องจริงอีกมากกว่านี้มาก
ผู้ฟัง หมายความว่า ต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ตามกำลังศรัทธาใช่ไหม คือ ศรัทธาแค่ไหน มีปัญญาแค่ไหนดีกว่า มีปัญญาจะศึกษาแค่ไหนแค่นั้น ไม่ต้องหวังมาก เพราะว่า ยาก รับว่ายาก แต่รู้สึกว่า คุ้มแล้วที่ได้มาฟัง แม้ว่าจะเข้าใจนิดหน่อยแต่ละความเห็นผิด จากเดิมที่มีตัวตนมาก โกรธคนนั้นคนนี้มากเพราะรักตัวเอง
ท่านอาจารย์ ต้องรู้จุดประสงค์ของการฟังว่า ฟังเพื่อเข้าใจ เวลาฟังจะรู้เองว่า เข้าใจพอหรือยัง ยังไม่พอ เพราะฉะนั้น ฟังต่อไป ศึกษาต่อไปอีก แล้วพอหรือยัง ยังไม่พอ ต้องเป็นอย่างนี้ใช่ไหม นี้คือผู้ที่เข้าใจธรรม คือ รู้จริงๆ ว่า เป็นเรื่องราวของสภาพธรรมที่ตัวธรรมจริงๆ กำลังเกิดดับเป็นอย่างนี้ แต่ความรู้ยังไม่พอ เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาไปจนกว่าจะพอ
ผู้ฟัง การอโหสิกรรมทำได้จริงไหม ไม่ต้องมีความข้องเกี่ยวกับผู้ที่ทำกรรมร่วมกันอีกจริงหรือไม่
ท่านอาจารย์ ขึ้นอยู่กับว่า กรรมแค่ไหน กรรมอะไร และคนนั้นเป็นใคร
ผู้ฟัง ถ้าอโหสิร่วมกันจะมีผลไหม
ท่านอาจารย์ เวลาที่ทำอกุศลกรรมแล้วจะเดือดเนื้อร้อนใจใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่า ไปขอโทษเขา คำว่า อโหสิแปลว่า กรรมที่ทำแล้ว แต่ใช้กันผิด เรื่องใช้ผิดนี้ผิดเสมอ ต้องกลับมาเข้าใจจริงๆ ว่า อโหสิ คือ ทำแล้ว เพราะฉะนั้น อโหสิกรรม คือ กรรมที่ทำแล้ว เพราะฉะนั้น กรรมที่ทำแล้ว ถ้าเป็นอกุศลกรรม เราจะเดือดร้อนใจ สมมติว่า ไปว่าใครเขาโดยที่ว่า ความจริงเขาไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่คนอื่นทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เขาเป็นอย่างนั้น การรู้สึกผิดแล้วไปขอโทษ ขออภัย ทำให้ความเดือดเนื้อร้อนใจหายไปหรือบรรเทา เพราะไม่ใช่กรรมหนักเหมือนฆ่าสัตว์หรือลักทรัพย์ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เป็นกรรมอะไร และคนนั้นเป็นใคร และมีกุศลจิต อกุศลจิตมากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นการขอโทษด้วยความจริงใจ เสียใจจริงๆ เขาก็เข้าใจ เราก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่า ถ้าเราเข้าใจ ใครผิดแล้วทำให้เขาเข้าใจถูกขึ้น ก็ไม่ต้องเดือดร้อนว่า เขาจะคิดอย่างไร เราจะคิดอย่างไร แต่ว่า ถ้าเป็นกรรม เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ที่ทำไปแล้วจะต้องให้ผล ต่อให้อโหสิอย่างไร ก็ไม่ได้
ผู้ฟัง สมมติว่า มีคนทำกับเรา เราจำเป็นต้องบอกเขาไหมว่า “เราไม่โกรธคุณนะ เราให้อภัยคุณ”
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่า เขาเดือดเนื้อร้อนใจหรือไม่
ผู้ฟัง ขึ้นอยู่กับตัวเราใช่ไหมว่า เราจะบอกเขาไหมว่าไม่โกรธเขา
ท่านอาจารย์ เราไม่รู้ด้วยซ้ำไป บางทีเขาว่าเราๆ ก็ไม่รู้ แล้วจะไปบอกเขาได้อย่างไร บางทีเราไม่รู้เลย คิดอะไรกับเราทีนี้ เราก็ไม่รู้
ผู้ฟัง คือ มีเพื่อนทำให้ไม่สบายใจ แต่ไม่เคยบอกเขาว่า เราไม่สบายใจ
ท่านอาจารย์ เขาไม่สบายใจ หรือเราไม่สบายใจ
ผู้ฟัง เขาทำให้เราไม่สบายใจ ไม่รู้ว่าเรารู้สึกหายโกรธเขาจริงไหมหรือเรายังโกรธอยู่ จำเป็นต้องไปบอกเขาไหมว่า หายโกรธแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วแต่เรา เราต้องรู้จักเขาดีกว่าใคร ทุกอย่างไม่ใช่ว่าต้องเป็นกฎเกณฑ์ แต่ต้องเป็นแต่ละเหตุการณ์ แต่ละบุคคล เข้าใจดีไหมวันนี้
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ธรรม
ผู้ฟัง มากๆ
ท่านอาจารย์ คืออะไร ลืมว่าพอพูดคำไหนต้องคืออะไร จะได้เข้าใจจริงๆ ธรรมคืออะไร
ผู้ฟัง ธรรม คือ รูปธรรม นามธรรมใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ฟัง มีอีกมาก อยากจะพูดถึงจุดประสงค์ของการศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะว่าชีวิตของเรา ไม่ว่าจะทำอะไรต้องมีจุดประสงค์ ไม่ใช่ทำไปโดยที่ไม่รู้ว่า ทำทำไม เช่น เกิดมาแล้วเห็น ได้ยิน โตขึ้นต้องเข้าโรงเรียนแล้วจะต้องรู้ว่า เรียนทำไม เรียนเพื่อจะรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้เลย เช่นจะต้องช่วยในการมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ว่าถ้าไม่มีความรู้ จะไปทำอย่างไรให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ เพราะฉะนั้น การที่จะศึกษาไม่ว่าวิชาอะไรทั้งนั้น เพื่อจะได้มีความรู้ แต่ทีนี้เข้าโรงเรียนแล้วอีกไม่นานก็จบ แล้วมีอาชีพ มีการงาน มีครอบครัว มีบ้านแล้วก็ตาย แน่ๆ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งจะไม่ตายใช่ไหม เพราะฉะนั้น ลองเปรียบเทียบดูว่า ตลอดชีวิตที่เกิดมาแล้วเห็น แล้วได้ยิน แล้วมีชีวิตแต่ละวัน สนุกบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ทำงานบ้าง มีเพื่อนบ้าง แต่ในที่สุดต้องจากทุกคน มีใครบ้างไหมที่ไม่ตาย มีไหม ไม่มีเลย ต้องตายทุกคน เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าระหว่างที่ยังไม่ตายควรจะเป็นอย่างไร เพราะว่ามองเห็นว่า แต่ละคนต่างกัน บางคนเป็นคนดี บางคนเป็นคนไม่ดีเลย และถ้ารู้ว่าระหว่างดีกับไม่ดี สำหรับตัวเราควรจะเป็นคนชนิดไหน มีใครบ้างไหมที่บอกว่า อยากจะเป็นคนไม่ดี มีใครในที่นี้ที่ไม่อยากเป็นคนดีบ้าง ต้องไม่มี ใช่ไหม แต่ถ้าไม่รู้ว่าอะไรดี บางทีบอกไม่ได้ว่า สิ่งที่คิดว่าดีนั้น ดีหรือไม่ อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้นในการศึกษาต้องทราบว่า สำหรับวิชาทางโลกให้ความรู้เพียงแค่มีชีวิตไปวันๆ และมีเพื่อน มีงาน แต่ว่าจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปด้วยไม่ได้เลย เกิดมา มาตัวเปล่าๆ มีใครเอาอะไรติดมาบ้างตอนเกิด ไม่ทราบ เพราะว่าตอนนั้นเล็กมาก แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่มีใครเอาอะไรติดมาได้เลย แต่สิ่งที่ติดมาแล้วคือ อุปนิสัยที่เคยสะสมมา ทำให้แม้แต่เด็กตัวเล็กๆ พอเกิดมาแล้วมองดูว่าเหมือนๆ กันทั้งนั้น แต่ว่าพอโตขึ้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นไม่เหมือนกันเลย ตามการสะสมของแต่ละคน ถึงแม้ว่าจะมีพี่น้อง ๒ คน ๓ คน ๔ คน แต่ละคนมีอัธยาศัย อุปนิสัยต่างๆ กัน เหมือนกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ติดตามไป จากการที่มีสมบัติ มีบ้าน มีพี่ มีน้อง มีญาติ ไม่สามารถจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ตามไปได้ แต่ว่าการสะสมในเรื่องความรู้สึก ในเรื่องความคิดนึก พวกนี้จะติดตามไป บางคนเป็นคนที่โกรธง่าย และไม่ยอมอภัยให้คนอื่นเลย ดีไหมอย่างนั้น ไม่ดี แต่ทำได้หรือเปล่า บางคนบอกว่า รู้ว่าไม่ดีแต่ทำไม่ได้ ถ้าไม่หัด ไม่เริ่ม ไม่สะสม ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย แต่ถ้าวันนี้เปลี่ยนความคิด และรู้ว่า ถ้าจะไม่โกรธใครเลยจะสบายกว่ามาก ไม่ต้องไปนั่งคิดถึงคนนั้นด้วยความขุ่นเคือง นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ทำไมเขาทำอย่างนั้นไม่ดี ทำอย่างนี้ไม่ดี แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ขณะนั้นใครกำลังไม่ดีที่คิดอย่างนั้น ลืมตัวเองใช่ไหมว่าที่จริงเวลาที่คิดอย่างนั้นเป็นทุกข์ของเราเอง เพราะฉะนั้นไม่ค่อยจะมองเห็นตัวเอง และเห็นคนอื่น แล้วมองคนอื่นว่า คนนั้นไม่ดีตรงนี้ คนนั้นไม่ดีตรงนั้น หรือว่าคนนี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ตัวเราเอง เราลืม แต่พระธรรมที่ศึกษาเมื่อเดือนก่อน เป็นเรื่องสัจจธรรมความจริง ที่ทำให้รู้จักตัวเอง ถ้ารู้จักตัวเองจะรู้จักคนอื่นไหม เหมือนกันไหม เขากับเรา ความโกรธเกิดขึ้นของใครเหมือนกันทั้งนั้น ความโลภ ความติดข้องของใครก็เหมือนกัน ความที่มีจิตใจดีงาม ก็ดีงามหมดไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนกับใคร เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น เวลาที่ทุกคนมาที่นี่ วัยนี้ มีใครเอากระจกมาบ้างหรือเปล่า ในกระเป๋ามีกระจกไหม มี กระจกโดยมากจะไว้ใช้ส่องตัวเราใช่ไหมว่าเป็นอย่างไร แต่เห็นเพียงรูป แต่พระธรรม คือ กระจกอีกชนิดหนึ่ง ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง จะส่องใจของเราเอง จะเห็นใจของเราเองได้ เพราะว่าใจของคนอื่น เพียงแต่นึกว่าเขาเป็นอย่างนั้น นึกว่าเขาเป็นอย่างนี้ แต่เห็นไม่ได้ ไม่เหมือนใจของเราเอง เพราะฉะนั้น พระธรรมจะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ขณะที่กำลังคิดโกรธใคร แท้ที่จริงขณะนั้น ลักษณะโกรธเป็นของเราเอง เพราะว่าไม่ชอบคนที่เรากำลังโกรธแน่ๆ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ไม่ชอบคนนั้น หรือกำลังโกรธคนนั้นคนนี้เพราะความไม่ดีของเขา แท้ที่จริง คือ ขณะนั้นกำลังมีความโกรธของเรา พระธรรมจะส่องถึงสภาพธรรมชัดเจน เพราะฉะนั้น ต้องทราบจุดประสงค์ให้ชัดว่า เรียนธรรม เรียนทำไม บางคนอาจจะคิดว่า เรียนเหมือนวิชาทางโลกวิชาหนึ่ง บางแห่งอาจจะมีการสอบ และมีประกาศนียบัตร บางแห่งอาจจะถึงเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้ ต่างประเทศก็มี ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ แต่นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ เพราะฉะนั้น จะทำอะไรสักอย่าง ต้องตั้งจิตไว้ชอบ ใช้สำนวนภาษาพระสูตร แต่หมายความว่า พิจารณาถึงสิ่งที่จะทำ จนกระทั่งเป็นสิ่งที่เห็นประโยชน์จริงๆ ถึงจะทำ แต่ถ้าไม่พิจารณาแล้วทำไป สิ่งนั้นจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์เลย จากการที่รู้มากๆ ศึกษาต่อไปเป็นจิตกี่ชนิด เจตสิกมีเท่าไหร่ รูปมีอะไรบ้าง เพียงรู้แต่ว่าไม่ได้เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น การที่จะทำสิ่งซึ่งสำคัญที่สุด คือ การศึกษาธรรมซึ่งต่างจากการศึกษาวิชาอื่น วิชาอื่นเอาไปไม่ได้แม้ทรัพย์สมบัติที่เป็นวิชาอื่น แต่ธรรมที่เป็นความเข้าใจ เป็นอุปนิสัยที่สะสม ทำให้เวลาที่มีการฟังธรรมอีก เข้าใจได้เร็ว เช่น ครั้งก่อนที่พูดเรื่องปรมัตถธรรม คนที่ฟังครั้งแรก ใหม่มาก จะไม่รู้เลยว่าหมายความถึงอะไร แต่ถ้าฟังวันก่อนแล้ว วันนี้รู้ไหมว่าปรมัตถธรรมคืออะไร ธรรมคืออะไร นี้คือสิ่งซึ่งอยู่ในใจซึ่งใครเอาไปไม่ได้ ถ้าเป็นความรู้ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นสมบัติติดตัวจริงๆ สามารถที่จะมีสมบัตินี้ทุกชาติๆ ได้ เวลาที่ได้ยิน ได้ฟังอะไร เหมือนเวลาที่ไปโรงเรียน วันแรกที่เข้าโรงเรียนก็ไม่รู้ แต่ว่ากว่าจะโตมา จะออกจากโรงเรียน รู้ไปหมดตั้งแต่ชั้นประถม ๑ ประถม ๒ ไม่ได้ลืม เข้าใจได้ แต่พระธรรมมีประโยชน์ที่ว่า ต่างกับวิชาอื่นที่ติดตามไปได้ ในขณะซึ่งทรัพย์สมบัติ พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ เพื่อนฝูง ที่เคยรัก เคยชอบทั้งหมด ตามไปไม่ได้สักคนเดียว เกิดมาคนเดียว และตายคนเดียวใช่ไหม ไม่มีใครไปตายด้วย ขณะที่กำลังเห็น แต่ละคนที่เห็นๆ คนเดียวหรือคนอื่นมาร่วมกับเห็นของเราด้วย เห็นคนเดียว เวลาคิดนึก ต่างคนต่างคิด ไม่ใช่ว่าพอคิดอย่างนี้ ขณะที่คิดมีคนอื่นมาร่วมคิดด้วย ก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ให้ทราบความจริง ความจริงซึ่งเป็นสัจจธรรม ความจริงแท้ๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า แต่ละคนเป็นแต่ละ ๑ เหมือนเป็น ๒ ได้ไหม จะโคลนนิ่งออกมา แบบลูกแกะ แบบลูกวัว ได้ไหม ก็ได้แต่เพียงรูปร่าง เช่น หน้าตา รู้สึกว่าคนนี้คล้ายๆ คนนั้นหรือคนที่เคยรู้จัก แต่สภาพจิตไม่มีวันที่จะเหมือนกัน แต่ละขณะ เพราะว่า จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะดับไปเป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิด ขณะก่อนๆ นั้นเป็นคนที่ชอบไปทุกอย่าง อยากได้ทุกอย่าง เราจะเห็นคนที่โลภมากกว่าคนอื่น หรือบางคนก็โกรธ เรื่องที่คนอื่นไม่โกรธเขาก็โกรธ นิดหนึ่งก็โกรธ หน่อยหนึ่งก็โกรธ เพราะว่า เขาสะสมความโกรธทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเป็นสภาพจิตของแต่ละคนซึ่งต่างกันไปมาก ในขณะนี้ จะมีคนที่นี่มากสักเท่าไร ไม่เหมือนกันเลย คนหนึ่งเห็น อีกคนกำลังคิด อีกคนกำลังเจ็บหรือคันตรงไหนก็ได้ใช่ไหม แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม คือ ศึกษาสิ่งที่มีจริงที่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ที่ตัวของเรา เมื่อเข้าใจแล้ว เข้าใจทั้งหมด แต่ก่อนอื่นต้องทราบจุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อเข้าใจธรรม ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ศึกษาแล้วอยากจะได้ลาภ ถูกหรือผิด ผิด ศึกษาอยากจะให้คนชม ถูกหรือผิด ได้ยศ ได้สรรเสริญ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าติดตามไปไม่ได้เลย เป็นแต่เพียงชื่อ สมมติว่าเป็นอย่างนี้ สมมติว่าชื่อนี้ และบางคนติดในชื่อมาก ต้องชื่อนี้ ชื่ออื่นไม่ได้ แม้แต่เพียงชื่อก็เห็นว่าสำคัญเหลือเกิน แต่ความจริงเปลี่ยนชื่อก็ได้ จะชื่ออะไรก็ได้ แต่เปลี่ยนอุปนิสัย เปลี่ยนความเป็นบุคคลนั้นไม่ได้ นี้คือ สัจจธรรม หรือความจริง ไม่ทราบทุกคนจะเข้าใจจุดประสงค์นี้หรือเปล่า เพราะว่าจะต้องศึกษาธรรมต่อไป ให้ทราบว่า เพื่อเข้าใจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงแสดง ซึ่งเป็นความจริงซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะสอนได้เลย และจะต้องเป็นผู้ที่มั่นคง ไม่ใช่เป็นผู้ที่ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญหรือคำชมจากการที่มีความเข้าใจธรรม หรือไม่ใช่หวังอะไรจากธรรมเพราะว่า ธรรมเป็นเรื่องละ ไม่ใช่เรื่องติดข้อง เรื่องละนี้ละอะไร ลองคิด ทุกคนควรจะคิด ไม่ใช่ฟังเฉยๆ ละอะไรดี
ผู้ฟัง ความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ ละความเห็นผิด ละอกุศลทั้งหมดเลยที่ไม่ดี เพราะว่า คนอื่นละให้ไม่ได้ เป็นพ่อเป็นแม่ก็จริง เอากิเลสของเราออกได้ไหม ไม่ได้ แต่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูงที่เป็นเพื่อนที่ดี มีเมตตา สามารถที่จะให้คำแนะนำ คำตักเตือน และชี้ประโยชน์ให้เห็นว่า อะไรถูก อะไรควรได้ แต่เราเองต้องพิจารณา และต้องเป็นตัวของเราเองที่จะแก้หรือที่จะเห็นโทษว่า สิ่งนั้นไม่ควรจะสะสมให้มีบ่อยๆ เวลาจะขอโทษใคร ยากไหม ไม่ยากใช่ไหม แต่บางคนทำได้ไหม เขาอาจจะรู้สึกผิดแต่ขอโทษไม่ได้ ไม่ได้จริงๆ แค่ขอโทษก็ไม่ได้ ลองคิดดู แล้วจะละอะไรได้ กิเลสมากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้น การศึกษาพระไตรปิฏก ทราบแล้วใช่ไหม จากคราวก่อนว่า ไตรปิฎก ไตร แปลว่า ๓ ปิฎก แปลว่า หมวดหมู่ของพระธรรม ที่จำแนกออกไปเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ พระวินัยปิฏก ส่วนที่ ๒ ใครจำได้ มีใครจำได้ไหม การศึกษาธรรมต้องเข้าใจ และต้องจำ และรู้ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจริงๆ คืออะไร พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกมี ๓ ไม่ต้องจดแต่จำ พระวินัยปิฏก วินัย คือ กำจัดสิ่งที่ไม่ดี ทางกาย ทางวาจา พระสุตตันตปิฎกเป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกับใคร ที่ไหน เรื่องอะไร ซึ่งเหมาะกับอุปนิสัยของคนนั้นที่เขารับฟังแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 61
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 62
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 64
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 67
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 68
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 69
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 70
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 72
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 73
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 74
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 75
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 76
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 77
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 78
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 79
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 80
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 81
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 82
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 83
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 84
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 85
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 86
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 87
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 88
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 89
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 90
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 91
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 93
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 94
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 95
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 96
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 97
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 98
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 99
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 120