ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
ตอนที่ ๑๐๐
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อวิชชาในขณะนี้จะเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร แล้วสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร แต่ว่าช่วงที่เป็นมนุษย์เราจะไม่ข้าม เราจะแสดงละเอียดตั้งแต่ปฏิสนธิจิต สภาพธรรมไม่ได้เกิดได้อย่างเดียว ต้องอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น อันนี้เข้าใจใช่ไหม ไม่ว่านามธรรมหรือรูปธรรมที่จะเกิดอย่างเดียวลำพังไม่ได้เลย จิตก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย รูปแต่ละรูปก็ต้องมีรูปอื่น เช่น มหาภูตรูป ต่างอาศัยซึ่งกัน และกัน และอุปาทายรูปก็อาศัยมหาภูตรูปเกิด เพราะฉะนั้นเวลาที่โกรธมีอะไรเกิดร่วมด้วย โทสเจตสิกเกิดมีอะไรเกิดร่วมด้วย มีโมหะเกิดร่วมด้วย เวลาที่กำลังเรียน กำลังฟังธรรม เป็นกุศลใช่ไหม ขณะนี้กำลังฟังธรรมเป็นกุศลใช่ไหม มีอวิชชาไหม เพราะฉะนั้นเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ตราบใดที่ยังไม่ดับ เป็นอนุสัยด้วย หมายความว่า เพราะมีอยู่ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำหรือเจตนาต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศล เพราะฉะนั้นจะต้องดับอะไร สังสารวัฏฏ์ถึงจะไม่มีเลย ต้องดับอวิชชา เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเป็นกุศลอื่นมากมายมหาศาล แต่ยังมีอวิชชาอยู่ ก็ยังต้องเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
ผู้ฟัง เพราะความไม่รู้ก็เลยไปทำกรรมดีกับกรรมไม่ดีใช่ไหม พอทำกรรมดีทำกรรมไม่ดีก็เลยต้องไปรับผล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อุปมาเหมือนพื้นดิน เป็นที่ปลูกทั้งพืชขม และพืชหวาน ทั้งกุศล และอกุศล เพราะว่ามีโมหะหรืออวิชชาเป็นพื้น แต่ว่าขณะที่เกิดกับอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย เกิดพร้อมกันเป็นสัมปยุตตปัจจัยเพราะเป็นนามธรรมด้วยกัน แต่เวลาที่เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล เป็นสหชาตปัจจัยไม่ได้ เป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่ได้ แต่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทจึงต้องมีความเข้าใจเรื่องปัจจัยตรงนั้นด้วย เพราะว่า เราจะไม่พูดลอยๆ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารเฉยๆ แต่เป็นอย่างไร ปัจจัยอะไร ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า เป็นแน่นอน แต่ว่าไม่ใช่เกิดพร้อมกัน เพราะเกิดพร้อมกันไม่ได้ จะพร้อมกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นก็เป็นสหชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัยสำหรับอกุศลจิต แต่ไม่เป็นสหชาตปัจจัย ไม่เป็นสัมปยุตตปัจจัยแก่กุศลจิต เพราะว่า สำหรับสติปัฏฐานเป็นทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงตัวหนังสือ แต่ถ้าเราไม่มีความรู้เรื่องธรรมเลย สติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้แน่นอน ถ้าเรามีความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานแล้ว แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การเรียนธรรมนี้จะไม่มีประโยชน์ เพราะว่า ไม่รู้จักตัวจริงในเมื่อตัวจริงๆ มีอยู่ตลอดเวลา และไม่เคยรู้ แต่เวลาที่เราศึกษาแล้วเรารู้ ก็จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่มีจริงๆ ด้วยความเข้าใจขึ้นตามที่เรียน ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าไม่เช่นนั้นถ้าเรียนมากๆ แล้วเราตาย สมมติว่าตายเดี๋ยวนี้ หรือว่าเย็นนี้ หรือพรุ่งนี้ เราจะไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่าเราอาจจะไปสนใจเป็นนักจำเรื่องราว แต่ถ้าไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย และพอได้ยินธรรมก็รู้ว่า เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่ว่า สามารถที่จะเข้าใจสิ่งซึ่งอยู่เฉพาะหน้าได้ ซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างนี้ได้เลย นอกจากพระธรรมที่ตรัสรู้ ทรงแสดงในพระไตรปิฎก ถ้ารู้อย่างนี้ชีวิตของเรา เราก็ไม่ทิ้งธรรมเลยเพราะมีอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่รู้ แต่ไม่ใช่เพื่อสอบ ไม่ใช่เพื่อรู้มากกว่าคนอื่น ไม่ใช่เพื่อเก่ง ไม่ใช่เพื่อคำชม ไม่ใช่เพื่อสรรเสริญ ไม่ใช่เพื่ออะไรทั้งหมด แต่เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ให้ถูกต้องว่า ใครจะมาบอกเราถ้าเราไม่มีโอกาสพบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แล้วกี่ชาติที่เราจะได้พบ และจะได้พบต่อไปอีกกี่ชาติ เพราะฉะนั้นถ้าเทียบกับทุกอย่างก็มีค่าที่สุด แต่ไม่ใช่เพื่อให้เราไปจำ หรือว่าไปท่อง หรือว่าไปเรียนเพื่อจะสอบ เพราะฉะนั้นอันนี้หมดปัญหาคือเราก็ไม่ทำอย่างนั้นกัน ไม่ใช่ว่าจะมีการสอบ หรือมีการไปท่องจนกระทั่งว่าต้องตอบตามนั้น ถ้าตอบได้หมดเขาให้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าตกไปสักคำสองคำเขาก็ลดเปอร์เซ็นต์ไป แต่คนที่ทำอย่างนั้นเขาไม่เข้าใจธรรมเลยเวลาที่ไปสัมผัสเขา เพราะฉะนั้นการเรียนเข้าใจว่า เมื่อเราได้ยินได้ฟังคำอะไร อย่าเผิน และอย่าคิดว่าเราเข้าใจแล้ว เพราะว่านั่นเป็นเพียงเรื่องราว แต่ถ้าเราสามารถที่จะรู้จริงๆ ว่า ทุกคำที่ได้ยินคือ คำอธิบายให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ มากขึ้น ลึกขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะถึงสภาพธรรมนั้นด้วยสติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่า เป็นธรรมจริงๆ แต่ละอย่างค่อยๆ เพิ่มขึ้น อันนี้จะได้ประโยชน์จากการศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษาของเราถ้าเป็นไปในลักษณะนี้ก็จะละความไม่รู้ และละโลภะความติดข้อง ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องไปพอใจในความรู้หรือความคิดว่าเข้าใจแล้ว เพราะจริงๆ แล้วถ้ายังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมก็คือว่า ยังไม่เข้าใจ เข้าใจแต่ชื่อหรือเรื่อง และตอบได้ จำนวนของเจตสิกเกิดจิตเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่ขณะที่รู้จริงๆ ว่าเป็นธรรมดาเดี๋ยวนี้ ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ทุกคนก็คงจะอธิบายให้คุณแจ็คเข้าใจคนละคำพูด ใช่ไหม แต่จุดของเขาคืออันนี้ และอีกอย่างหนึ่งพระไตรปิฎกทุกคนก็ทราบว่า เป็นการแสดงพระธรรมตามการตรัสรู้ และลองคิดถึงพระปัญญามากมายมหาศาลขนาดไหน ใครจะเทียบ เพราะฉะนั้นความสามารถที่จะเข้าถึงพระไตรปิฎก เราเข้าถึงส่วนไหน ขณะที่ฟัง เราเข้าใจเรื่องราว แต่ว่าตัวจริงๆ ของธรรมมากมายถึง ๓ ปิฎก เช่น ในพระสูตร ทรงแสดงถึงความวิจิตรของการสะสมของจิตประเภทต่างๆ ซึ่งพระอภิธรรม แสดงไว้ ๘๙ หรือ ๑๒๑ แต่ว่าความวิจิตร ความละเอียด จนกระทั่งประมวลไปให้เหลือเพียงโลภมูลจิต ๘ แต่ความหลากหลายของโลภมูลจิต ๘ อยู่ในพระสูตรหมดเลย ในชีวิตของแต่ละคนในชาดกบ้าง ในเรื่องในสมัยพุทธกาลบ้าง เพราะฉะนั้นถ้าจะเข้าใจว่า แม้แต่ในพระสูตรก็คือชีวิตของเราเดี๋ยวนี้ แล้วเราจะไม่เคยอยู่ในพระสูตรบ้างหรือ ใช่ไหม มีใครในที่นี้ไม่เคยอยู่ในพระสูตรบ้าง ก็อาจจะมี แต่เราไม่รู้เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว จนกระทั่งมาถึงเดี๋ยวนี้ เราถึงสามารถที่จะรู้ได้ว่า ที่สะสมมาคือความจริงเดี๋ยวนี้ นี้เป็นสิ่งซึ่งเราก็รู้ว่า ถ้าศึกษาธรรมจริงๆ ก็คือเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ลึก ละเอียด ถูกต้อง ถี่ถ้วน เพื่อที่จะละความเป็นเรา แต่สิ่งใดก็ตามที่เกินความสามารถของเรา ซึ่งก็ต้องถามว่า มีไหมในพระไตรปิฎก สิ่งที่เกินความสามารถของเรา ต้องมี เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่เกินความสามารถของเรา เรายังไม่ไปถึงตรงนั้น ตรงนี้เราอยู่ตรงนี้ กว่าจะไปถึงตรงโน้นได้ เราจะถึงได้อย่างไร แต่ไม่ใช่ให้เราละเลย แต่ขณะที่ฟัง ขณะที่ศึกษาคือ ให้เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้เรียน ให้ฟังด้วยการพิจารณาไตร่ตรอง และเข้าใจด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ได้ประโยชน์ เช่น บางคนที่เข้าไปฟังการสอนเรื่องปัจจัย เขาไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจจริงๆ ไม่เข้าใจเลย แต่เขาฟัง มีศรัทธาที่จะฟังมาก แต่ก็ยังไม่เข้าใจ และเขาก็บอกว่า ถ้าไปฟังอย่างนั้นก็ดีกว่าไม่ฟัง หมายความว่าดีกว่าไปทำอย่างอื่น ไปนั่งเล่น ฯลฯ ใช่ไหม ดิฉันจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า ที่เขาทำคือกำลังสะสมความไม่เข้าใจโดยที่ไม่รู้เลย ถ้าเขาจะฟังแล้วก็พิจารณาจนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น นั้นเป็นประโยชน์ แต่ถ้าจะฟังไปแล้วไม่เข้าใจ แล้วก็ไปฟังอีกแล้วไม่เข้าใจ ก็สะสมความไม่เข้าใจ ก็เสียโอกาส เสียประโยชน์ใช่ไหม แต่แทนที่จะเป็นความไม่เข้าใจ ฟังแล้วค่อยๆ ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจเท่าที่สามารถจะเข้าใจได้ ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถจำกัด ไม่ใช่ว่าใครจะมีความสามารถเท่าๆ กัน เช่น พระอรหันต์ ท่านก็มีเอตทัคคะในทางต่างๆ บางท่านมีปฏิสัมภิทา บางท่านมีอภิญญา วิชชาระลึกชาติได้ บางท่านมีจักขุทิพย์ ท่านก็ยังต่างกันไป เราในยุคนี้เป็นใคร เราก็รู้จักตัวของเราตามความเป็นจริงว่า เราศึกษาธรรมแล้ว ประโยชน์สูงสุดคือ เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ตักแกงทุกวันแต่ไม่สามารถที่จะลิ้มรสของแกงเลยก็ได้ เราก็คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้ารู้น้อยแต่เข้าใจมากแล้วลึก และเห็นความเป็นอนัตตา อันนั้นจะถูกต้อง แต่ถ้ารู้มากแล้วเข้าใจน้อยก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถึงรู้มากเท่าไหร่ แต่ไม่เข้าใจก็ต้องลืม ประโยชน์สูงสุดคือถ้าได้ฟังพระธรรมในชาติไหนก็ตาม สามารถเข้าใจได้ว่าคือ ธรรมขณะนี้ นั่นคือการสะสมที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่า เราศึกษาทั้งหมดเพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรมขณะนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีไม่มากเลย แต่สภาพธรรมกำลังปรากฏ และเวลาที่ตรัสถามคนนั้นๆ ก็บอกตามความเป็นจริง จักขุวิญญาณเห็นเที่ยงไหม สามารถที่จะตอบได้ด้วยปัญญาของเขาเอง เพราะเขาสะสมมาที่จะเข้าใจ และสภาพธรรมก็ปรากฏจนกระทั่งสามารถที่จะตอบได้ นี้เป็นเหตุที่บางคนคิดว่า ทำไมในพระสูตรฟังไม่มากแล้วก็บรรลุมรรคผล ก็แน่นอน เพราะสภาพธรรมมีอยู่ และสั้นมาก น้อยมาก เร็วมาก เพราะฉะนั้นกว่าปัญญาจะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพธรรมแล้วความเป็นตัวเรา เช่น สักกายทิฏฐิที่พูดถึงวันนั้นมี ๒๐ ใช่ไหม เมื่อถึงเวลาจริงๆ เขาก็จะปรากฏได้ว่า ซ่อนอยู่ตรงไหน เร้นอยู่ตรงไหน แฝงอยู่ตรงไหน และปัญญาเท่านั้นที่สามารถเอาสักกายทิฏฐิออกได้ ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทางเลย เพราะว่าถ้าผิดนิดเดียว เช่น “ดูรูปนั่ง” อย่างนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย เพราะเหตุว่า ตัวกำลังดู นี้ก็แล้ว ใช่ไหม ก็อยู่ในสักกายทิฏฐิ ๒๐ และยังมีรูปทั้งหมดซึ่งขณะนั้นเป็นความต้องการ เป็นความทรงจำว่าเป็นเรา แต่ว่าการที่จะรู้จริงๆ ว่า เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่ใครเลย ไม่มีที่ เพราะฉะนั้นจึงเป็น “เห็นนามในรูป” อย่างที่เขาบอก เราฟังดูแล้วจะเป็นไปได้อย่างไร เห็นนามในรูป มีใช่ไหม สักกายทิฏฐิ ๒๐ จิต เจตสิก อยู่ในนี้ แต่ตามความจริงแม้อย่างนั้นก็ต้องละ เพราะอะไร เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยังเที่ยง หมายความว่า ยังเป็นที่อยู่ ที่อาศัย อยู่ตรงนั้น แต่ว่าการที่จะละจริงๆ แม้แต่สภาพธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งถ้าขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ตรงนั้นจะไม่มีที่ เพราะเหตุว่า ความเป็นเรายังหา “ที่” ให้นามธรรม เพราะว่า ความเป็นเราลึกมาก จะอยู่ตรงไหนก็ต้องอยู่ที่ตัว ตรงหนึ่งตรงใด นี้คือนามอยู่ในรูป กว่าจะเห็นความจริงว่า กว่าจะค่อยๆ ละทั้งหมดได้ ความรู้จริงๆ ต้องเกิด นี่คือสิ่งที่จะต้องสะสม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียน ที่คิดว่าเราเข้าใจมาก น้อยมากเมื่อเทียบกับขณะที่สัมมาสติไม่ได้เกิด ไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วยังต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ความติดข้องต้องการมากมายมหาศาลอยู่ตรงไหน และจะค่อยๆ ละคลายลงไปได้ก็ต่อเมื่อปัญญาสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนามธรรมว่าเป็นนามธรรม รูปธรรมว่าเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นสีลัพพตปรามาสจะมีอยู่ตลอดเวลา เช่น หาที่ให้นามธรรมอยู่ อย่างเช่น โลภtเกิดที่หทยวัตถุ เรียนมาใช่ไหม ก็ต้องมีที่ให้อยู่ตรงนี้ แต่ความจริงถ้าเป็นอย่างนั้นคือคิดว่า หทยวัตถุเที่ยง เพราะเหตุว่าเมื่อหทยวัตถุไม่ปรากฏ เกิดแล้วดับแล้ว ขณะนั้นสัมมาสติไม่ได้ระลึกลักษณะของหทยวัตถุซึ่งเป็นรูป แล้วจะไปรู้รูปได้อย่างไร เพียงแค่รู้นิดเดียวก็ดับแล้ว เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ ฟังอย่างละเอียด แล้วต้องรู้ประโยชน์จริงๆ ว่าศึกษาเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมี แต่เวลาที่สัมมาสติเกิด ถ้าเรามีความเห็นผิดหลงเหลืออยู่ เช่น สักกายทิฏฐิ ๒๐ เราก็จะต้องหาว่า จิตต้องเกิดตรงนั้น แต่ความจริงรูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะว่าขณะที่สัมมาสติระลึกลักษณะของนามธรรม รูปธรรมไม่ได้มีที่จะให้ระลึกตรงนั้นเลย มิฉะนั้นเราจะปนหรือจะสับสนลักษณะของนามธรรม ต้องไปหาที่ให้นามธรรมตลอดเวลาด้วยความเป็นเรา ความเป็นเราตรงนี้ที่จะต้องค่อยๆ ละ
ผู้ฟัง คิดว่าปริยัติจะแยกจากปฏิบัติตรงนี้
ท่านอาจารย์ ต้องมีความเข้าใจว่านั่นคือปริยัติ แต่สัมมาสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง อันนี้ลืมไม่ได้เลย ถ้าระลึกลักษณะของนามธรรม แต่ยังเอาความคิดของเรา มีรูปธรรมแฝงหรือเจืออยู่ ก็เหมือนกับมีความเข้าใจว่า นามธรรมอยู่ในรูปธรรมบ้าง ซึ่งเราบอกว่า วันๆ หนึ่งไม่เคยคิดเลย แต่จริงๆ เวลาฟังธรรม และเราก็รู้ แต่เวลาที่สติเกิดจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง ถ้าเรายังคงเป็นอย่างนั้น นามกับรูปก็แยกจากกันไม่ได้ เพราะจะมีความแอบแฝงที่ต้องการให้มีรูปอยู่ตรงนั้น ทั้งๆ ที่กำลังจะรู้ลักษณะของนาม เพราะฉะนั้นเวลาที่สัมมาสติเกิดจะมีเยื่อใยของการที่จะรู้ตรงนั้นหรือรู้ตรงนี้ เพราะความที่รู้ว่ามันอยู่ตรงนั้นมันอยู่ตรงนี้ ความที่ยังมีตัวตนอยู่จะทำให้มีสีลัพพตปรามาสซึ่งแฝงอยู่ ถ้าขณะนั้นไม่มีปัญญาที่จะรู้ก็ไม่ได้ละตรงนั้น แล้วก็จะสงสัยว่า นามธรรมนี้เป็นอย่างไร บางคนก็จะคิดว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะว่ามันจะอยู่นอกตัว อยู่ไม่ได้ แต่เวลาที่ใช้คำว่า “อยู่ในตัว” เหมือนคนที่เขาเห็นผิด เขายังไม่ประจักษ์การเกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้นสำหรับเขา ตรงนั้นต้องมีรูปอยู่ในความรู้สึกของเขา เมื่อสติเกิดก็จะต้องมีการศึกษาลักษณะของสภาพธรรม ค่อยๆ เข้าใจขึ้นในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่มีเยื่อใยความเป็นตัวตนอยู่ตรงไหน คนนั้นก็จะรู้ว่าตรงนั้นยังมีความเป็นเราอยู่ จนกระทั่งที่จะรู้จริงๆ ที่จะไม่มีเราเหลือเลย ลักษณะของสภาพนามธรรมหรือรูปธรรมแท้ๆ คือ ไม่มีการที่จะไปมีสักกายทิฏฐิ ๑ ใน ๒๐
ผู้ฟัง อย่างบางคนที่เห็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ชอบ เข้าใจว่าก็เป็นวิปลาส
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นชื่อว่า ต้องวิปลาสแน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเป็นอกุศลได้อย่างไร แต่เวลาที่สติเกิด เราเห็นความเป็นตัวตนแล้ว เพราะฉะนั้นก็เป็นปัญญาที่ค่อยๆ รู้จริงๆ ตรงนั้นเองที่จะต้องรู้จนทั่ว นี่จึงเป็นเหตุที่ต้องช้ามาก และเป็นกัปป์ๆ แต่กัปป์ ๑ นานเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แต่ไม่ใช่เรื่องท้อถอย และไม่ใช่ให้เราไปคิดว่าอีกกี่กัปป์ ไม่สำคัญเลย สำคัญอยู่ที่ขณะนี้เรามีความรู้ ความเข้าใจจริงๆ ในทางที่จะประพฤติปฏิบัติ และเวลาที่สติเกิดก็เป็นผู้ที่รู้จักตัวเองอีกว่า ขณะนั้นปัญญารู้แค่ไหน เป็นผู้ที่ตรงตลอดทาง ใครจะมาทำอย่างไร ว่าอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะพลอยยินดียินร้ายไป เพราะเขาไม่รู้ ใช่ไหม แต่ว่าสภาพธรรมความจริงเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ท่านแสดงว่าความเป็นตัวตนนั้นไม่ได้เป็นทุกขณะ แต่สำหรับกุศลจิต วิบากจิตไม่มีการยึดถือความเป็นตัวตน โทสะ โมหะก็ไม่มีการยึดถือความเป็นตัวตน ถ้าเช่นนั้นที่บอกว่า เป็นตัวตนตลอดหมายถึงโลภะเกิดตลอดเลยหรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น คือการฟังกับการศึกษา เราทราบแล้วว่าตลอดไม่ได้ เหมือนเห็นขณะนี้ เราบอกเห็นตลอด เราพูดได้ สำหรับคนที่ศึกษาเขาก็รู้ว่า เว้นขณะไหน เว้นขณะหูที่ได้ยิน เว้นขณะทางมโนทวารที่คิดนึก เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความเข้าใจแล้วก็เว้นกันไปเอง เพราะฉะนั้นความมีตัวตนเรารู้แล้วว่า ต้องเกิดขณะที่เป็นโลภมูลจิต แต่เวลาปกติในชีวิตประจำวันอย่างวันนี้ เราก็มีโลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ เราไม่มีโลภทิฏฐิคตสัมปยุตต์ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด เราจะมีการเห็นทิฏฐิคือความเห็นผิดซึ่งต้องละ ไม่อย่างนั้นจะไปละเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นเวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิด เราก็มีโลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เรามีโลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ เห็นดอกไม้ เห็นส้มโอ เห็นโทรทัศน์ พวกนี้คือ โลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิดพอใช้คำนี้จะเห็นหมายความว่า ต้องมีความเห็นผิดเริ่มปรากฏให้รู้ว่า เรามีตรงไหน แค่ไหน ไม่อย่างนั้นละไม่ได้
ผู้ฟัง ปกติที่สติปัฏฐานไม่เกิด ทิฏฐิคตสัมปยุตต์จะมีไหม
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ เกิดเมื่อไรก็เมื่อนั้น ไม่เกิดก็ไม่เกิด เพราะว่า สภาพธรรมเป็นจริงอย่างนั้น เวลานั้นเขาไม่มีปัจจัยที่จะให้เห็นเพราะเขาไม่เกิด แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิดเริ่มมีความเข้าใจ ขณะที่มีสติกับขณะที่หลงลืมสติ เพราะฉะนั้นขณะต่อไปจะสงสัย จะต้องการรู้ โลภะก็มาแล้ว ซึ่งขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐานที่ระลึก เพราะฉะนั้นความรู้ไม่ใช่เกิดเพราะความอยากรู้หรือเพราะสงสัย สภาพธรรมทุกอย่างที่มีจริงๆ เวลาสติปัฏฐานไม่เกิดเขาจะข้ามไปหมดเลย เช่น เมื่อกี้นี้ปรมัตถธรรมอะไรก็ไม่รู้ บัญญัติก็เกือบจะไม่รู้ เพราะผ่านไปหมด แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ทุกอย่างที่ปรากฏ สติระลึกจึงรู้ลักษณะนั้น เพราะฉะนั้นถ้าขณะนั้นมีปัจจัยที่ความเห็นผิดจะมี จะเกิดขึ้นให้รู้ว่า เป็นการยึดถือสภาพธรรมตรงนั้น ขณะนั้นก็จะเห็นว่ามีการยึดถือ แต่ถ้าความเห็นผิดไม่เกิดแต่ความไม่รู้ไม่มี โดยขั้นปริยัติก็รู้ได้ว่า เวลาที่ความรู้ไม่เกิดก็ยังคงมีความเป็นตัวตน แต่แม้ขณะนั้นทิฏฐิไม่เกิด แต่จากการศึกษาทราบว่า เมื่อปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะดับความเห็นผิด ก็มีปัจจัยที่ความเห็นผิดจะเกิด
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด การที่จะรู้ว่า การยึดถือความเป็นตัวตนมีในขณะนั้น จะเป็นการรู้โดยความเข้าใจที่ติดตามมา หรือเป็นการรู้ลักษณะในขณะนั้นเลย เพราะว่า ถ้าระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมที่เป็นโทสะ ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ สัจจญาณ ๓ รอบ เวลาที่สติปัฏฐานเกิด จึงรู้ว่าเมื่อหลงลืมสติ ต่างกัน เพราะฉะนั้นจึงรู้เลยว่า ชีวิตที่หลงลืมสติไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นปัญญาทุกขั้นจะตามไป ไม่ว่าขณะใดที่สติเกิดแล้วหลงลืมสติ จะมีความรู้จากการฟังเกื้อกูลได้ในขณะนั้น
ผู้ฟัง สำหรับการที่จะรู้ความต่างกันของการมีสติกับการหลงลืมสติคือ สติต้องเกิด แต่การที่จะรู้ว่า ขณะใดที่จะมีความยึดถือความเป็นตัวตน หมายถึงขณะนั้นจะต้องเห็นความไม่มีตัวตน
ท่านอาจารย์ ๒ อย่าง คือ ๑ เมื่อทิฏฐิเกิด สัมมาสติระลึกลักษณะของทิฏฐิ นั่นคือ เห็นตัวจริงขั้นปฏิบัติ แต่เวลาที่สัมมาสติเกิด มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏแล้วดับ ความรู้ ความเข้าใจปริยัติย่อมรู้ว่า ขณะที่หลงลืมสติต่างกับขณะที่มีสติ นี้คือสัจจญาณที่จะตามเกื้อกูลไปตลอด เพราะว่า มี ๓ รอบของอริยสัจจ์ ๔ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ปริยัติที่ว่ายาก แต่เราจะรู้เลยว่า ปฏิบัติย่อมยากกว่าแน่นอนเพราะว่า เป็นเรื่องละ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 61
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 62
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 64
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 67
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 68
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 69
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 70
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 72
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 73
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 74
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 75
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 76
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 77
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 78
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 79
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 80
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 81
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 82
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 83
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 84
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 85
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 86
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 87
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 88
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 89
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 90
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 91
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 93
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 94
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 95
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 96
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 97
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 98
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 99
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 120