ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
ตอนที่ ๑๐๔
สนทนาธรรม ที่ ประเทศอังกฤษ
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ท่านอาจารย์ วิธีจำไม่ยากเลย มันคล้องจองกับเหตุผลกับสติปัฏฐาน เช่น รูปหยาบ สี ถือว่าหยาบเพราะว่าปรากฏ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๗ โผฏฐัพพะได้แก่ ธาตุดิน ไฟธาตุ ธาตุลม และสี เสียง กลิ่น รส เป็น ๗ ตาก็หยาบ หูก็หยาบ จมูก ลิ้น กาย หยาบอีก ๕ รูป รวมทั้งหมดรูปหยาบ ๑๒ รูป ที่เหลือเป็นรูปละเอียดทั้งนั้น แบ่งรูปหลายนัย รูปหยาบกับรูปละเอียด เพราะว่า จริงๆ รูปมี แต่เราจะรู้หรือ เช่น หทยวัตถุเราก็ไม่รู้ โอชารูปเราก็ไม่รู้ ธาตุน้ำเราก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่า เป็นรูปหยาบไม่ได้ “รูปหยาบ” คือ รูปซึ่งปรากฏให้เห็น ให้รู้ ให้เข้าใจได้ เพราะว่า ติดต่อหรือสืบต่ออยู่ตลอดเวลา เช่น ทางตามีสีปรากฏอยู่เรื่อยๆ ถ้าอย่างนี้ไม่หยาบ รูปอะไรจะไปหยาบในเมื่อปรากฏให้เห็น เสียงก็ปรากฏให้ได้ยิน รวมความว่าอารมณ์ ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๓ เป็น ๗ รูป สี เสียง กลิ่น รส ๔ แล้ว โผฏฐัพพะอีก ๓ เป็น ๗ และเพิ่มจักขุปสาทรูป เพราะว่า ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูปไม่มีทางที่จะรู้รูปที่กำลังปรากฏทางตาได้ ถ้าตาบอดเดี๋ยวนี้ไม่มีทางว่ามีอะไรปรากฏในห้องนี้เลย หรือว่าหูหนวก เสียงก็ไม่ปรากฏ อย่างไรเสียงก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๗ รูปต้องอาศัยปสาท ๕ รูปจึงสามารถที่จะปรากฏได้ เพราะฉะนั้นทั้ง ๑๒ รูปเป็นรูปหยาบ ที่เหลือแม้มีก็ไม่ปรากฏ เป็นสุขุมรูปทั้งหมด เพราะฉะนั้นที่ว่า เรามีทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ความจริงไม่มีอะไร เพราะว่า รูปแต่ละรูปก็เหมือนโต๊ะ เก้าอี้ เขาเกิดดับไปเรื่อยๆ ไฟฟ้าหรือไมโครโฟนก็เกิดดับไปเรื่อยๆ รูปอื่นที่ตัวก็เหมือนอย่างนั้นคือว่า เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอยู่เรื่อยๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่ความหมายอยู่ตรงที่ว่า เมื่อรูปสีกระทบตา มีจิตเห็นเกิดขึ้น แค่นี้ตรงนี้ตรงเดียวคือ จิต ๑ ขณะซึ่งปรากฏเป็นโลก เพราะฉะนั้นที่จะไม่เห็นว่า เป็นตัวตน ก็ต้องย่อยลงมาจนกระทั่งมองถึงความจริงทะลุปรุโปร่ง ด้วยสติสัมปชัญญะที่ระลึก และรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมที่แยกขาดจากรูปธรรมว่า ในขณะ ๑ ที่ปรากฏมีสภาพรู้ซึ่งกำลังมีสีกำลังปรากฏ ไม่มีเราเลยทั้งหมด เหมือนรูปอื่นๆ ที่บังเอิญมาอยู่ตรงนี้ แข็งๆ อ่อนๆ ตรงโน้น กับแข็งๆ อ่อนๆ ตรงนี้ไม่มีความหมาย เพียงเกิดดับไปเรื่อยๆ แต่ข้อสำคัญที่สุดคือว่า มีสมมติฐานที่ทำให้ต่างกับรูปที่มีชีวิต แต่จริงๆ แล้วถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ปรากฏ ถึงแม้ว่าจะมีความต่าง แต่ความต่างนั้นก็ไม่ปรากฏ เท่ากับชั่วขณะที่เกิดแล้วยังไม่ดับแล้วกระทบกับปสาท รูปจึงจะปรากฏได้ เพราะฉะนั้นจึงทรงจำแนกหรือทรงแสดงว่า รูป ๒ รูปนี้เป็นรูปหยาบ ตัวเราไม่มีจริงๆ อย่าไปคิดว่ามี มีชั่วขณะที่รูปกระทบตาแล้วปรากฏว่า มีสิ่งที่ปรากฏ ยังไม่เอาเรื่องราวอะไรมาต่อเลย มีอยู่แค่นั้นแล้วก็ดับ ไม่มีปอด ตับ หัวใจ เลือดสูบฉีด ฯลฯ ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องราวของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ความจริงว่า ไม่มีตัวตน ก็จะต้องมีความรู้เฉพาะอย่าง ซึ่งกำลังปรากฏขณะนั้นทันที และปรากฏเร็วมากจากตามาหู แสดงให้เห็นว่า ส่วนอื่นไม่มีความสำคัญเลย จะเอาไปเกี่ยวโยงกับสมอง แต่นั่นก็เป็นเรื่องคิดนึกหมด แต่จุดสำคัญก็คือว่า ต้องมีรูปที่เป็นโสตปสาทกับเสียงที่ยังไม่ดับเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้นแล้วดับ หมดไปอีกแล้ว นี่คือความจริงที่ว่า มีทีละชั่วขณะจิตเดียวแล้วก็หมด และส่วนอื่นก็มีแต่ความทรงจำทั้งนั้น รูปทุกกลาปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะซึ่งแสนเร็ว เพราะฉะนั้นเวลานี้รูปทุกกลาปที่นี่ก็เกิดดับ รูปทุกกลาปที่นี่ก็เกิดดับ รูปทุกกลาปที่นี่ก็เกิดดับ เพราะฉะนั้นไม่มีค่าอะไรเลย ในเมื่อไม่ปรากฏ แล้วก็ดับเร็วมากด้วย ไม่มีความรู้สึกว่าหนักหรือเบา จนกว่าจะกระทบกายปสาทจึงจะรู้ว่า ตรงนั้นมีรูปซึ่งเป็นปัจจัยให้กายวิญญาณจิตเกิดขึ้นรู้รูปนั้น แล้วดับด้วยไม่ได้เที่ยงเลย มีแล้วหามีไม่ มีก็เหมือนไม่มี
ผู้ฟัง เวลาสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของความตึงความไหว ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของธาตุลมอยู่แล้วใช่ไหม หมายความว่า พอระลึกที่ตึงที่ไหวมันเป็นลักษณะของวาโยธาตุเลย
ท่านอาจารย์ เป็นตัวธาตุลม
ผู้ฟัง ธาตุลมเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสัจจญาณต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจ จนกระทั่งมีความมั่นคงแล้วเป็นปัจจัยให้สติมีการระลึก และความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาปริยัติจะมาเกื้อกูลให้สามารถที่จะเข้าใจถูก แต่กว่าจะเข้าใจถูกอย่างนั้นจริงๆ ก็เท่ากับลอกอวิชชาความไม่รู้ออกเป็นชั้นๆ กว่าจะถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง มีคำพูดที่ทำให้สะดุดอยู่นิดหนึ่งที่บอกว่า มันไม่มีอะไรเลย ที่นี่ก็เกิดดับ ที่โน้นก็เกิดดับ จะมีต่อเมื่อปรากฏ
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง คือตลอดเวลาก็ไม่เคยพิจารณาว่า มีต่อเมื่อปรากฏ แต่คิดว่ามันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ซึ่งอาจจะยังไม่ตรงกับความเข้าใจที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ นั่นคืออัตตสัญญา
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่ายังไม่ปรากฏ คิดว่ามี
ท่านอาจารย์ นั่นแหละคืออัตตสัญญา ความทรงจำว่ามี
ผู้ฟัง แต่พอมีการระลึกหรือไปเปรียบเทียบว่า ถ้าสิ่งใดมีหมายความว่า สิ่งนั้นกำลังเกิดขึ้นมีการกระทบ
ท่านอาจารย์ ปรากฏ
ผู้ฟัง ปรากฏแต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจ คิดว่านี่เป็นเพียงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปแล้วทำไมเราถึงจะต้องมายึดถือ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องฟัง ฟังแล้วฟังอีก ฟังอีกฟังแล้ว ให้เข้าใจ สัจจญาณจะต้องมีอยู่เรื่อยๆ ให้เรามีความมั่นคงที่จะรู้ความจริงคืออย่างนี้ เท่านี้เองที่ว่า ไม่มีตัวเรา เพราะว่า ตัวเรามันโตมากเลย แล้วจำไว้แน่นหนาทุกภพทุกชาติ เดี๋ยวนี้ไม่เหลืออะไรเพียงเห็นชั่วขณะจิตหนึ่งซึ่งสภาพธรรมปรากฏแล้วก็หมด
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีการระลึกอย่างที่ท่านอาจารย์ให้คำแนะนำอย่างนี้แสดงว่า ยังไม่จัดอยู่ในข่ายว่าสัจจญาณเลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สัจจญาณมีตั้งแต่ขั้นต้น ค่อยๆ ฟังไปค่อยๆ เข้าใจไปจนกว่าจะมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฟัง อันนี้ก็เป็นความละเอียดอีกตอนหนึ่ง
ท่านอาจารย์ กว่าจะมั่นคง และติดตามไปใช่ไหม
ผู้ฟัง มั่นคงแต่ยังไม่ติดตามก็มี
ท่านอาจารย์ สติระลึกก็ต้องเพิ่มความมั่นคงขึ้นไปอีกในสัจจญาณ
ผู้ฟัง เข้าใจตามสติปัญญาแค่นี้
ท่านอาจารย์ แล้วแต่บุคคล
ผู้ฟัง เวลาที่จะไปพูดให้คนอื่นฟังคือ อยากจะให้คำพูดกะทัดรัด และไม่ต้องการให้พูดแล้วสงสัย เพราะถ้าไม่มีคำตอบกะทัดรัดก็สงสัย
ท่านอาจารย์ เราจะเอาอริยสัจจธรรมหรือว่าอริยสัจจ์ ๔ ไปพูดกับเด็กนักเรียนปุ๊ปปั๊ป ต่อให้พูดอย่างนี้เขาก็ไม่รู้เรื่อง เขาก็จำไว้แค่นี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่เขาจะไม่รู้เลยปรมัตถธรรมอะไร นามธรรมอะไร รูปธรรมอะไร เกิดดับอย่างไร บอกว่าขณะนี้เกิดดับ เขาก็ตามไปว่าขณะนี้เกิดดับ คือ เป็นเรื่องที่ฟังแล้วจะต้องคิด ไตร่ตรอง พิจารณาจนกระทั้งสติระลึกแล้วค่อยๆ รู้ขึ้นจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ทีนี้ถ้าคิดว่า จะไปอธิบายอริยสัจจ์ ๔ ให้คนเข้าใจนั้นไม่มีทาง ถ้าไม่ศึกษาปรมัตถธรรม เขาก็เข้าใจตามคำพูดว่า เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ในหนังสือเล่มไหนก็เขียนอย่างนั้น แล้วคนเข้าใจแค่ไหน ในพจนานุกรมก็ว่าอย่างนั้นแล้วคนเข้าใจแค่ไหน มันอยู่ที่ความเข้าใจธรรม
ผู้ฟัง ที่พูดถึงอัตตสัญญา ขณะที่เห็นดอกไม้ ขณะนั้นก็ต้องมีอัตตสัญญาอยู่แล้ว ถ้าในขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกตรงลักษณะของรูปธรรมก็ดี นามธรรมก็ดี ขณะนั้นจะมีอัตตสัญญาไหม
ท่านอาจารย์ เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ขึ้นอยู่กับว่า เราเข้าใจสิ่งนั้นแค่ไหน ค่อยๆ เริ่มที่จะคลายความไม่รู้ และเคยเข้าใจว่า เป็นอัตตา หรือว่ายังจะต้องศึกษาอีกไกลกว่าที่จะรู้จริงๆ จนกระทั่งประจักษ์ว่า ขณะนั้นสภาพธรรมปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตรงนั้นเลย อัตตสัญญานี้จะคลาย ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่คลายตรงที่กำลังรู้ เพราะว่า กำลังเห็นในความเป็นอนัตตา แต่หลังจากนั้นอวิชชาก็มาอีก ข้อสำคัญก็คือว่า ขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ ความเข้าใจขั้นฟังเรามี ความเข้าใจของเรามีแค่ไหน การฟังธรรมพิสูจน์อยู่ตลอดเวลา ฟังมา ๕ ปีเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตากับเห็น ฟังมา ๑๐ ปีเรื่องเสียงกับได้ยิน ฟังไปอีก ๒๐ ปีเรื่องจิตที่กำลังคิดนึก ทุกอย่างนี้ฟังมาตลอด แต่ขณะนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ปัญญาของเราว่า แค่ไหน ระดับไหนคือ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ มีความเข้าใจในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏโดยรู้ความต่างกันของขณะที่สติเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่ารู้ ๒ อย่างนั้นแล้ว รู้ความต่างกันแล้ว แต่เราคิดว่า ตัวเรายังมีอยู่อีกใช่ไหม ทั้งๆ ที่จริงๆ มันไม่มี
ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องไปอีกไกล อีกนานไปเรื่อยๆ เพราะว่า สภาพรู้จะต้องปรากฏลักษณะซึ่งเป็นเพียงธาตุรู้อย่างเดียว
ผู้ฟัง สมมติพอถึงปัญญาขั้นนั้นแล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่มีสมมติ ไม่มีสมมติเลย ต้องค่อยๆ ไปจนกว่าจะถึงจริงๆ
ผู้ฟัง แต่ที่ว่าในส่วนที่ไม่ปรากฏมันจะดับก็จริง แต่มันก็เกิดขึ้นมาเร็วเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ นั่นคือกำลังนึกเรื่องราวของปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นต้องแยกว่า เราเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์แล้วไปนอกโลก เรียนเรื่องการแพทย์ เรื่องอะไรทั้งหมด เราเรียนเรื่องราวของปรมัตถธรรมแต่ไม่รู้จักตัวปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นที่บอกเรากำลังมีตัว ก็เหมือนกับเรียนวิชาแพทย์ เรานึกเอาว่า มีกระดูกมีอะไร แต่ไม่ได้ปรากฏ แล้วเราไปจำ พอเราเห็นปุ๊บแล้วจำว่า เรามีฟัน แล้วจริงๆ ฟันปรากฏหรือเปล่า ฟันขณะนี้
ผู้ฟัง อาจจะมองในกระจกแล้วฟันปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพอเห็นกระจกปุ๊บอัตตสัญญามาแล้ว มีครบทุกอย่าง
ผู้ฟัง ดูๆ เหมือนจะเข้าใจ แต่ดูๆ ก็ไม่เข้าใจ แต่รู้ว่ามันมีอะไรซ่อนๆ อยู่ แต่เราไม่รู้
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่ต้องอบรมจริงๆ ต้องใช้คำว่า อบรมจริงๆ เพราะเป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ
ผู้ฟัง ที่บอกว่า เราไม่มีในกระจก ฟังแล้วคิดตาม แต่ยังนึกว่าถ้าสมมติพูดคำนี้ออกไป เวลาที่มีคนซักถามให้อธิบายคงยังอธิบายไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไปเอาตัวจากกระจกออกมา ถ้ามีตัวอยู่ในกระจกก็ไปเอาตัวออกมา ไหนว่ามี
ผู้ฟัง เป็นอันว่า จะเป็นภาพสะท้อนหรือเป็นสิ่งที่อะไรก็ตาม ถ้าเราจะพูดให้คนฟังเข้าใจคิดว่าถ้าสมมติมีเราในกระจกก็ต้องไปกระทบสัมผัสสิ่งที่เราคิดว่าเป็นกระจก จะมีธรรมอะไรปรากฏอย่างนั้นใช่ไหม แต่พอกระทบแล้วก็ยังมีตัวเราอยู่ในกระจกอีก
ท่านอาจารย์ ไม่มี ไม่มีเลย มีแต่ความคิดนึก ก็เหมือนดูโทรทัศน์เมื่อกี้ก็มีคลินตัน เมื่อกี้ก็มีเครื่องบินตก มีอะไรสารพัด แล้วมีอะไรในโทรทัศน์ ไหนลองเอาเครื่องบินออกมาสิ เอาคลินตันออกมาสิ
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า ทางตาจะมากไปกว่าสิ่งที่ปรากฏ เกินกว่านั้นเป็นเรื่องของ
ท่านอาจารย์ ความคิดนึก
ผู้ฟัง ความคิดนึกหมดเลย
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลย ไม่อย่างนั้นไม่ทรงแสดงสำหรับพวกที่เป็น “ปทปรมะ” ไม่ให้เห็นผิด ไม่ให้เข้าใจผิดว่า ธรรมต้องเป็นอย่างนี้ ถ้ารู้ความจริงก็ต้องรู้ แยกออก จากทางตากับทางใจ
ผู้ฟัง ตรงนี้ยากมากเลยเหมือนเป็นความลึก
ท่านอาจารย์ ยากก็คือยากอยู่แล้ว
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าดูเหมือนจะเข้าใจแต่พอทิ้งไปนานๆ
ท่านอาจารย์ ทีนี้ยากที่อะไร ยากที่คนพยายามไปทำ ไม่ใช่พยายามค่อยๆ เข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย อันนี้เป็นอุปสรรคอย่างมากเลย ถ้าจะทำแล้วหมดหวัง อย่างไรก็หมดหวัง เพราะเป็นตัวตน ไม่ใช่เป็นการอบรมปัญญา แต่ถ้าค่อยๆ ฟังค่อยๆ รู้ สติค่อยๆ อบรม ใช้คำว่า “จิรกาลภาวนา” ไม่เปลี่ยนคำเลยในพระไตรปิฏก เป็นการอบรมปัญญาจริงๆ ให้ปัญญาเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏถูกต้องจริงๆ
ผู้ฟัง พอจะต่อไปถึงสิ่งที่ยังห่างไกล ยังยากอยู่ แต่ก็พิจารณาว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือทรงอุปมาไว้ว่า ธรรมเป็นของลึกซึ้งจึงรู้ได้ยาก
ท่านอาจารย์ คืออย่างน้อยเราเกิดในยุคนี้ สมัยนี้ ซึ่งมีความเห็นผิดมากมายเหลือเกิน เราก็ยังเอาตัวรอดมาหาเหตุผลความเข้าใจที่ถูกต้องได้ เป็นบุญแล้ว แค่นี้หมายความว่า เราได้รู้ความจริงถูกต้องว่า เป็นหนทางที่ยากแล้วละเอียด และเป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องถ้าคนที่ไม่สะสมมาไม่มีทางจะถึงหนทางได้ เพราะว่าขณะนี้เต็มไปด้วยความเห็นผิด เพราะฉะนั้นก็ประคับประคองความเข้าใจที่ถูกต้องไปเรื่อยๆ ให้มั่นคงขึ้น
ผู้ฟัง ความหมายของ อัตตสัญญา กับ ฆนสัญญาณ นี้เป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อะไรก็ตามซึ่งมันรวมกันแล้วเราไม่รู้ความจริงจะใช้คำไหนก็ได้ อย่าลืมว่า คำไม่สำคัญ ที่สำคัญคือสภาพธรรมมีก่อนคำที่ว่า และเราบัญญัติคำให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นจะใช้ภาษาบาลีสมัยก่อนเราเข้าใจ เราเคยฟังมาแล้ว ๒๕๐๐ กว่าปี แต่พอมาถึงเดี๋ยวนี้ เขาบอกฆนสัญญากับอัตตสัญญาณ เราไม่รู้เรื่องเลย แต่เราเข้าใจด้วยภาษาอะไร ให้เข้าใจว่า สิ่งใดก็ตามซึ่งรวมกันโดยที่เราไม่เห็นว่า เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง จะใช้คำอะไรก็ได้
ผู้ฟัง สิ่งที่จะไม่ทำให้คนไม่หนักใจ ไม่ไขว้เขวแล้วก็เห็นประโยชน์ การที่จะเริ่มต้นกับกลุ่มบุคคล ท่านอาจารย์คิดว่า ควรจะมีพูด คำแนะนำอย่างไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่มีการตระเตรียม ต้องพร้อมที่จะดูว่า บุคคลนั้นมีความรู้ระดับไหน มีความสนใจระดับไหน สามารถจะรับได้แค่ไหน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นต้องเป็นเรื่องที่ว่า เรามีความพร้อมแค่ไหนอย่างไร
ท่านอาจารย์ เรามีความพร้อมที่มีกุศล และศรัทธา มีเจตนาที่ดีที่จะเกื้อกูล แต่อย่าลืมว่า คนฟังต่างกัน ระดับความเข้าใจต่างกัน ความสนใจต่างกัน สามารถที่จะรับได้แค่ไหนด้วย เพราะว่า บางทีเราคิดว่า เราพูด ๒-๓ คำเราเข้าใจ แต่เขาเหมือนกับว่าเข้าใจ แต่ความจริงเขาเข้าใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง ทีนี้การที่เราจะเริ่มต้นก็
ท่านอาจารย์ พูดถึงเรื่องสัจจธรรม ธรรมที่เป็นของจริงพิสูจน์ได้เลย
ท่านอาจารย์ ก็หนีไม่พ้นไปจากจิต เจตสิก รูป
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้ ธรรมไม่มีประโยชน์เลย เป็นตัวเราตัวเขาตลอด
ผู้ฟัง ไม่ต้องกลัวว่า พูดซ้ำๆ ไม่จำเป็นเลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขอให้เขาเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ความเข้าใจสำคัญที่สุดคือ ประโยชน์ของเรา แม้แต่การสนทนาเดี๋ยวนี้คือ เพื่อความเข้าใจ ต่างคนต่างมีความเข้าใจต่างระดับใช่ไหม แต่ขอให้ทุกคนเข้าใจขึ้นในเรื่องที่กำลังพูดแล้วไปต่อกันเอง อย่างน้อยฟังอันนี้ก็เข้าใจตอนนี้ แล้วพอไปอ่านปรมัตถธรรมหรือไปสนทนาก็จะทำให้ไปเสริมสิ่งที่เขาอ่านได้ หรือสิ่งที่สนทนากันต่อได้
ผู้ฟัง บางมีมันเผลอเรอไป เช่น ถ้าเขาไปพูดถึงเรื่องข้อปฏิบัติแนวทางอื่นๆ ซึ่งตามปกติแล้วมันไม่เป็นประโยชน์จริงๆ ใช่ไหมที่เราจะต้องไปเสียเวลาพูด
ท่านอาจารย์ เราไม่ถามหรือไม่สนใจเลย คือว่า เวลาที่มีอยู่เข้าใจสิ่งที่ถูกต้องดีกว่าไปเสียเวลากับสิ่งที่ผิดที่แล้วไป ของใครก็ตาม
ผู้ฟัง เพราะว่าแม่ชีที่อยู่ดอยสุเทพ พอเจอหน้ากันก็อยากจะให้อธิบายในเรื่องของการทำความสงบ
ท่านอาจารย์ บอกว่าเวลานี้คุณมีปัญญาหรือยัง ถ้าปัญญาไม่มีจะสงบอย่างไร
ผู้ฟัง เขาว่าดูเหมือนว่า ที่คณะเราจะพูดเรื่องสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานถ้ากำลังเข้าใจ สงบหรือเปล่า แม้แต่ความสงบเขาก็ยังไม่รู้ว่า เกิดกับกุศลจิต หรือกุศลจิตเท่านั้นที่จะสงบ คือเราสามารถที่จะย้อนถามเขาได้
ผู้ฟัง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้บางทีถ้าไม่ได้รับคำตอบ
ท่านอาจารย์ ต้องให้เขาคิดเราอย่าป้อนให้ทั้งหมด คิดที่จะรู้ว่า เราจะทำอย่างที่จะให้เขาเข้าใจ จากคำตอบของเขาๆ อาจจะรู้ได้ว่า เขาเข้าใจผิดหรือกำลังเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง คำว่าเราโดยลักษณะ ๓ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ปกติแล้วจากที่เคยฟังก็พอเข้าใจว่า ที่เป็นทิฏฐิจะน้อยมากในชีวิตประจำวัน ที่จะมีความเห็นดิ่งหรือปักลงไป แต่ว่าโดยปกติแล้วจะเป็นไปในเรื่องของตัณหาเสียมากกว่า
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ที่นี้ตัณหาที่มันเป็นไปอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า โทษของสิ่งนี้มากน้อยอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ถึงอกุศลกรรมบถก็เป็นการสะสมอุปนิสัย
ผู้ฟัง ถ้าเป็นกรรมบถนี้จะนำไปสู่การกระทำอะไร
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่าเรารักตัวแค่ไหน พอใครเงื้อมีดขึ้นมาจะฆ่าเรา จะทำอะไรเขา ตัวเรากำลังจะตาย เพราะความรักตัวเราหรือเปล่า เพราะกำลังมีตัวเราที่เป็นตัวเราขณะนั้น พอใจในความเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง แล้วพอถึงมานะ
ท่านอาจารย์ มานะความสำคัญตนนี้อันตราย
ผู้ฟัง อยากจะฟังความละเอียดของท่านอาจารย์ในเรื่องนี้
ท่านอาจารย์ มานะนี้เกิดขึ้นโดยที่ว่า แทบจะไม่รู้ตัวถ้าไม่ศึกษาโดยละเอียด อย่างสมมติว่า เราจะวิจารณ์ใครสักคน รู้ไหมว่า เราต้องดีกว่าเขาถึงจะพูดอย่างนั้นได้ เห็นไหมว่า ล้อมรอบตัวเลยโดยที่คนไม่รู้เลย ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ จะมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงหรือว่าจะมีความรู้สึกว่า ทำไมเขาแต่งตัวอย่างนี้ ใส่ต่างหู เจาะจมูก ก็เป็นเด็กใช่ไหมวัยของเขา ทำไมเราต้องเดือดร้อน เป็นเรื่องที่ว่า มีเรา มีเขา เราต้องดี เด็กสมัยนี้ไม่ดี ผู้ใหญ่สมัยล้านปีนี้ดีกว่าอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะมองเห็นได้เลยว่า ทั้งหมดเพราะไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ไม่มีเรา มีแต่ความคิด ความคิดนี้ถ้าศึกษาธรรมแล้วเหมือนกระจกเงา พอจะคิดเรื่องคนอื่นปุ๊บสะท้อนมาที่จิตเลยว่า ขณะนั้นเป็นจิตอะไรที่คิด ไม่มีคนนั้นแต่มีอกุศลจิตของเราปรุงแต่งเป็นคนนั้นขึ้นมาในทางที่เรียกว่า เดี๋ยวโลภะ เดี๋ยวมานะ เดี๋ยวอะไรต่างๆ
ผู้ฟัง ถ้าเราเจริญเมตตาบ่อยๆ เรื่อยๆ มานะก็ค่อยๆ ลดลงใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ดิฉันไม่เคยหวังว่า อะไรจะลดคือไม่ต้องไปคิดว่า เราทำอย่างนี้อันนั้นจะลดอันนี้จะลด เหมือนเราหวังอยู่ตลอดเวลา ทำดีที่สุดแล้วทุกอย่างก็เป็นสังขารขันธ์ไป จะต้องมาคอยนั่นลดคอยนี่ลดทำไม แต่เราจะรู้ได้ว่า สติของเราจะเกิดระลึกได้เร็วขึ้นเพราะว่า บางทีดิฉันเป็นคนที่พูดอาจจะไม่ค่อยดี พูดตรง
ผู้ฟัง พูดตรงก็เป็นเรื่องตรง
ท่านอาจารย์ แล้วก็พูดเร็วด้วยคือว่า ไม่รีรอ นั่นก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นไม่สบายใจ อันนี้ต้องมีแน่ๆ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 61
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 62
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 63
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 64
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 67
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 68
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 69
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 70
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 71
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 72
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 73
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 74
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 75
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 76
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 77
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 78
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 79
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 80
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 81
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 82
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 83
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 84
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 85
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 86
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 87
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 88
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 89
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 90
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 91
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 92
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 93
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 94
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 95
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 96
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 97
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 98
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 99
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 120