แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
ครั้งที่ ๒๐๑๖
สาระสำคัญ
ผู้ร่วมเดินทางมานมัสการสังเวชนียสถานครั้งนี้ แสดงทัศนะทางธรรม ความเข้าใจธรรม และประสบการณ์การศึกษาธรรมของตนเอง
สนทนาธรรมที่พุทธคยา
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
ผู้ฟัง ดิฉันฟังธรรมรายการนี้ทางวิทยุมานานนับเป็นสิบปีแล้ว ก็ยังไม่กระดิกหู ยังมีโลภ มีรัก มีโกรธ มีหลง สลับกันไปเรื่อยๆ เวลามีปัญหาอะไรมักจะโทรศัพท์ ไปหาอาจารย์ที่บ้าน ก็มักจะถูกดุ เพราะว่าฟังมาตั้งนานแล้วก็ยังไม่ได้อะไรเลย และพยายามฟังไปเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าความอยากได้โน่นได้นี่ หรือความโกรธ ก็ลดน้อยลงมาก
ผู้ฟัง สองคืนมานี้ผมคิดมาก จนกระทั่งคิดมาในรถด้วย บางทีคุณอุษณีย์ถามอะไร ผมก็ไม่ทราบว่าถามอะไร วันนี้รู้สึกว่าร่มเย็นสบายดี ทุกคนก็มีที่พึ่งทางใจ
ตอนไปสถานที่ประสูตินั้น ท่านอาจารย์พูดกับผมว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าเกิดครั้งสุดท้าย ผมฟังแล้วก็ผ่านไปเฉยๆ แต่ถึงสถานที่ที่ปรินิพพาน รู้สึกมาก คิดมากทีเดียว กราบที่พระบาทของท่าน เอาดอกบัวไปวาง รู้สึกสังเวชตัวเองว่า พระพุทธองค์ท่านบำเพ็ญเพียรไม่ใช่เพียงปีเดียว ไม่ใช่ ๑๐ ปี ไม่ใช่ ๑๐๐ ปี หรือไม่ใช่แสนปี แต่ ๔ อสงไขยกับแสนกัป จะวัดความยาวไม่ได้เลย ไม่ทราบเลย
พระธรรมอยู่ข้างหน้าเราแท้ๆ พระไตรปิฎกอยู่แค่เอื้อม ทำไมเราไม่หยิบ วิทยุก็อยู่ใกล้ๆ มือ ทำไมเราไม่เปิดฟัง หรือฟังแล้วใจก็คิดไปเรื่องอื่น วันหนึ่งเวลาแค่ ๒ ชั่วโมง ทำไมเราไม่สละเวลามาฟังสิ่งที่ประเสริฐที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ใช้เวลาถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัป ท่านมีพระมหากรุณาคุณถึงปานไหนกัน ยิ่งมาเห็นสถานที่ที่ตรัสรู้ของพระพุทธองค์แล้ว ท่านใช้ความเพียรอย่างหนักอย่างยิ่ง ถึงขนาดที่เราก็เห็นรูปภาพแล้ว หนังติดกระดูก ได้ฟังว่าเพียงแต่ลูบพระวรกาย เส้นผม เส้นขน ก็ติดมากับฝ่ามือ เราไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นเลย พระพุทธองค์ท่านได้ทำมาแล้วทั้งสิ้น เราไม่ต้องลำบากถึงขั้นนั้นเลย ๔ อสงไขยกับแสนกัป พระผู้มีพระภาคได้ทรงเมตตาอย่างมหาศาล ใช้เวลาเพียง ๔๕ ปีเพื่อสั่งสอน ในขณะที่บำเพ็ญเพียรถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัป และก่อนหน้านั้นอีกที่ตรึกนึกคิดอยู่ในใจอีก ได้บำเพ็ญมาอีก ก็นึกถึงว่า เรานี่นะ โชคมหาศาลที่ได้เปิดวิทยุเจอท่านอาจารย์โดยบังเอิญแท้ๆ และเกิดชอบใจ พอใจว่ามีเหตุมีผล เป็นเหตุผลที่ไตร่ตรองนึกคิดแล้วพอที่จะฟัง พอที่จะเชื่อ พอที่จะเป็นอย่างนั้นได้ จึงฟังมาโดยตลอด ตอนนั้นก็ก้มลงกราบที่ ฝ่าพระบาทท่าน รู้สึกมากๆ และคิดอยู่เรื่อยตลอดเวลา
มานึกอีกครั้งสถานที่ที่ปฐมเทศนา ท่านอาจารย์พูดว่า ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อรู้ถูกต้อง ตรงนี้ทำให้ผมคิดมากว่า รู้อย่างไร รู้ให้ถูกต้อง ต้องรู้ถูกต้องเท่านั้นจึงจะเกิดปัญญา และมีคำบางคำที่ท่านอาจารย์บอกว่า จิตจะเป็นกุศลก็ต่อเมื่อ นอบน้อมต่อบุคคลที่ควรนอบน้อม แต่เราพูดกันว่า จิตจะเป็นกุศลเมื่อเราได้นอบน้อม ตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าขาดไป ...
เมื่อไปถึงโรงแรมก็นึกขึ้นมาอีกว่า ท่านอาจารย์เคยสอน ท่านเน้นเรื่องของปัจจุบันเป็นอย่างมาก ถึงโรงแรมก็รู้สึกว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางตามีมาก เพราะว่า เป็นสถานที่ใหม่ๆ อารมณ์ทางตามีเยอะเหลือเกิน มองทางนี้ มองทางโน้นไปเรื่อย รู้สึกโลภะเกิดขึ้นเยอะ บางทีก็เห็นหลายคนวิ่งไปที่ร้านโน้นร้านนี้ ก็เหมือนกับเรา แต่โลภะเกิดขึ้นคนละแบบ เรามองตามประสาผู้ชาย มองอะไรสวยๆ งามๆ นัยน์ตา ก็ส่ายไปตามอารมณ์เรื่อยๆ ส่วนผู้หญิงก็วิ่งไปซื้อ อารมณ์อีกแบบหนึ่ง
รู้สึกว่า คำพูดของท่านอาจารย์แต่ละคำๆ ถ้านำมาไตร่ตรองแล้ว จะได้ประโยชน์มาก บางทีคำพูดสั้นๆ หรือบางครั้งตอนแรกจะไม่รู้สึกนึกคิดอะไร แต่จะมารู้สึกนึกคิดมากในภายหลังได้ จึงขอคุณณรงค์เอาไว้ว่า เทปเก่าๆ อย่าเพิ่งทิ้ง เพราะบางทีสลับคำพูดสักเล็กน้อย ทำให้เข้าใจได้
ผู้ฟัง ดิฉันได้ศึกษาธรรมมาตั้งแต่เด็กๆ โดยเข้าวัดกับคุณพ่อคุณแม่เรื่อยมา จนมีบางครั้งก็ถูกประมาทว่า จะฟังเทศน์ได้ตลอดคืนไหม ก็พยายามฟังได้ตลอดคืนโดยไม่นอนเลย หรืออ่านหนังสือให้จบ ก็ได้ใช้ธรรมของพระพุทธองค์ในชีวิตประจำวัน แก้ไขปัญหามาเรื่อยๆ และได้ฟังธรรมของอาจารย์สุจินต์ทางวิทยุกระจายเสียง แต่บางครั้งถึงตอนที่จะได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก็ขาดหายไป บางครั้งก็ไม่มีเวลาที่จะฟังติดต่อ เนื่องด้วยชีวิตประจำวัน
ต่อมาได้ทำบุญมูลนิธิทางวิทยุกระจายเสียงกับอาจารย์ดวงเดือน ดิฉันขอบคุณทริปที่พามาในครั้งนี้ ที่ได้พามาไหว้สถานที่ของพระพุทธองค์ ได้มารู้จักกับอาจารย์ดวงเดือน ซึ่งได้ยินชื่อมาตั้งนานแล้วและส่งธนาณัติไปโดยไม่ได้เห็นหน้าเลย ได้มาใกล้ชิดกับคณะสหายธรรมทั้งหมด ดิฉันขอขอบพระคุณที่คุณณรงค์เปิดวิทยุ ให้ฟังตลอดทางที่เราเดินทางมา ทำให้ได้เข้าใจธรรม แม้ไม่แจ่มแจ้ง กระท่อนกระแท่นก็ยังดี
ผู้ฟัง ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ท่านอาจารย์และสหายธรรมทุกๆ ท่าน ดิฉันมี ความภูมิใจและดีใจที่ได้มานมัสการที่ประเทศอินเดีย ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ตามที่ตั้งใจเอาไว้ รู้สึกดีใจปีติ
ผู้ฟัง ตั้งแต่ปี ๐๙ ลินไปงานศพ และพบหนังสือเล่มหนึ่งเป็นพุทโธวาท แต่ลินยังไม่ทราบเลย ลินอ่านธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนัตตลักขณสูตร เหล่านี้ ลินชอบมาก เพราะไพเราะและลึกซึ้งมาก ลินก็ไปถามอาจารย์ว่า นี่หนังสืออะไร ลินชอบ อาจารย์ก็บอกว่า นี่เป็นพุทโธวาท เป็นพระไตรปิฎก ลินก็ตั้งต้นเรียนมา ตั้งแต่ ๐๙ แต่ใครๆ คงขันที่ลินเรียนตั้งแต่ปี ๐๙ แต่ไม่ดีขึ้นเลย โลภะมาก และ ยังบอกอาจารย์ว่า ลินชอบไปหมด สนุกสนาน แต่ไม่โกรธเลย ไม่มีโทสะ อาจารย์ ก็ไม่ขัดคอเลย ที่แท้ที่ลินกลัวผี ที่วิตกกังวล อยากได้โน่นได้นี่ เดือดร้อน นี่โทสะทั้งนั้น เมื่อเรียนแล้วลินจึงได้รู้
ผู้ฟัง ธรรมนี่มีทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลานาที อย่างที่อาจารย์บอกจริงๆ คือ มีวันหนึ่งดิฉันไปที่ร้านที่ทำแหวนเพื่อทำให้ใหญ่ขึ้นเพราะใส่ไม่ได้ เผลอแป๊บเดียว เขาเอาออกมาแล้ว เป็นวงที่สวยที่ใส่ได้ ช่างบอกว่า อะไรที่ทำดี ใช้เวลานาน เป็นเดือน หลายเดือน แต่ทำลายหรือทำไม่ดี ชั่วพริบตาเดียว จึงขอเรียนว่า การทำความดียาก พยายามแล้วพยายามอีก จากชั่วโมงเป็นหลายๆ ชั่วโมง เป็นวัน หลายๆ วัน เป็นเดือน แต่บางทีก็ยังพลั้งเผลอทำไม่ดี เวลาไหว้พระก็ขอให้ ใจถึงซึ่งพระธรรม และมีปัญญาที่จะได้เรียนพระธรรมจากอาจารย์ ได้ฟัง อ่านหนังสือ อีกมากๆ เพื่อจะได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ที่สมบูรณ์ขึ้น
ผู้ฟัง เมื่อครั้งมาอินเดียเมื่อปี ๓๐ ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรนัก ได้มาเห็น คนอินเดีย เด็กๆ ตัวดำๆ วิ่งขอเงินเรา ก็รู้สึกไม่สบายใจ แต่ก็นึกขึ้นได้ว่า เราก็ยังดีที่เกิดในประเทศไทย ได้นับถือพระพุทธศาสนา เราคงมีกุศลที่ดีอยู่จึงได้เกิด ในเมืองไทยซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็อยากจะอธิษฐานขอให้ได้เกิดในเมืองไทยและ พบพุทธศาสนาทุกชาติๆ
ผู้ฟัง ไหนๆ มาถึงที่ และคุณธงชัยบอกว่า ควรจะกล่าวธรรมเพื่อบูชา พระพุทธองค์ ดิฉันก็ไม่อยากนอนหลับทับสิทธิ์
ดิฉันเคยมาที่พุทธคยานี้ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๗ ตอนนั้นมาในคณะละครที่บ้าน มาเล่นเฉลิมฉลองที่ดักกา ปากีสถาน ตอนที่แยกประเทศมาเป็นปากีสถาน ปัจจุบันเป็นบังคลาเทศ ดิฉันมีน้องสาวผู้หวังดีอยู่ข้างหลัง เขาไม่ให้พูดยาว ขอพูดสั้นๆ
และปัจจุบันนี้ ๓๖ ปีแล้ว ดิฉันย้อนระลึกถึงสมัยก่อนที่มา เราพักที่วัดไทย รู้สึกจะมีที่พักอยู่หลังหรือสองหลังเท่านั้น เขาทาสีชมพู ดิฉันก็นึกในใจ คงเพราะสะสมทางด้านศิลปะ ตอนนี้เป็นสีเหลือง ค่อยยังชั่วหน่อย ตอนเป็นสีชมพูรู้สึกไม่ชอบใจ ทำไมกระดำกระด่างอย่างนี้ และยังเห็นพระธิเบตไหว้อัฏฐางคประดิษฐ์รอบ
นั่นคือการมาเคารพสังเวชนียสถานเพียง ๑ แห่งใน ๔ แห่งเท่านั้น แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น ดิฉันโชคดีที่เกิดมาในครอบครัวที่ปฏิบัติธรรม ทำบุญไหว้พระ แบบพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป สำหรับการฟังธรรม ดิฉันได้ฟังธรรมของ ท่านอาจารย์สุจินต์ ได้อ่าน Buddhism in Daily Life ของคุณนีน่า และได้แจกให้ เพื่อนฝรั่งต่อไป และได้อ่านปรมัตถธรรมสังเขปของอาจารย์ แต่ก็อย่างที่คุณหญิงว่า ชีวิตประจำวันทำให้เราตั้งแต่ลืมตาก็ไปโน่นไปนี่ ก็ผ่านไป ไม่ได้พินิจพิจารณาเท่าไร ได้ฟังธรรมของท่านอาจารย์ในกลุ่มของคุณไพน่า คุณโจนาธานตอนที่ไปศรีลังกาด้วยกัน เป็นภาษาอังกฤษ ก็ทะลุหูซ้าย ทะลุหูขวาไป ไม่ได้ประโยชน์เท่าไร แต่ทริปนี้ดิฉันได้ประโยชน์มากเลยที่อาจารย์กรุณาตอบดิฉันที่สถานที่ที่ทรงแสดงปฐมเทศนา ดิฉันถือว่าเป็นลาภ และเป็นความกรุณาของท่านอาจารย์ ที่ท่านถ่อมตัวว่าเป็นเพียงสหายทางธรรม ดิฉันถือว่าท่านเป็นตู้พระอภิธรรมเคลื่อนที่ ซึ่งถ้าพระอภิธรรมอยู่ในหนังสือ ดิฉันก็คงไม่เปิด แต่ดิฉันถามอาจารย์คำเดียว ท่านอาจารย์ก็กรุณาอธิบายให้ ท่านอาจารย์ยังถามด้วยว่าระดับไหน ดิฉันก็บอกว่าระดับเริ่มต้นชนิดที่พื้นฐานไม่มี ท่านอาจารย์ก็กรุณาอธิบายอย่างแจ่มแจ้ง ดิฉันขอกราบขอบพระคุณในที่นี้
มาถึงตอนนี้ดิฉันได้มาอยู่ในสถานที่ที่ดิฉันรู้สึกว่า ร่มรื่น และเราได้มุมที่ดี พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในที่นี้ และจารึกไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งท่านอาจารย์ สุจินต์กรุณานำมาเผยแพร่ให้เราฟัง ถือว่าเป็นบุญกุศล ขออนุโมทนาในบุญกุศลของท่านอาจารย์ด้วย
ผู้ฟัง ดิฉันได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์มาประมาณ ๓ ปีกว่า แบบนั่งฟัง อย่างเดียว ไม่กล้าซัก ไม่กล้าถาม เพราะยังไม่เข้าใจเลย แต่วันนี้เลี่ยงไม่ได้แล้ว พยายามหลบตาคุณธงชัยอยู่เสมอ
ในระยะเวลา ๓ ปีกว่านี้ เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า มีอยู่ ๔ อย่าง คือ มีจิต เจตสิก รูป และนิพพาน ถ้าจะให้ย่ออย่างสั้นก็คือ รูปกับนาม รูปเป็นสภาพที่ไม่รู้ นามเป็นสภาพที่รู้ การจะขัดเกลากิเลสได้ต้องรู้ด้วยปัญญา คือ ต้องเกิดจากปัญญา ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยระลึกถึงสภาพธรรมแต่ละทวาร ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ลึกกว่านี้ก็พูดไม่ได้แล้ว
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๒ ตอนที่ ๒๐๑๑ – ๒๐๒๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081