แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
ครั้งที่ ๒๐๒๗
สาระสำคัญ
โลกของความคิดกับปรมัตถธรรม
สติปัฏฐานเกิดได้ตลอดหมดทุกแห่ง
สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร
สนทนาธรรมที่โรงแรมฮินดูสถาน กัลกัตตา
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
ผู้ฟัง การฟังธรรมเกื้อกูลทำให้มีการน้อมพิจารณามากกว่าปกติ ถ้า ในชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยงานต่างๆ ทำให้คล้อยตามกิเลสมาก แต่การสนทนาธรรม ทำให้มีการใส่ใจในสภาพธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะไม่ใส่ใจ คือ ทางตา มีการน้อมพิจารณาทีไรก็หงุดหงิดไม่สบายใจว่า ไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเลย
ถ้าเรามีการศึกษา มีการฟัง มีการพิจารณา จะทำให้มีความแยบคาย มีกำลังที่จะให้พิจารณามากขึ้น ในขณะนั้นเรามีการเปรียบเทียบ มีการสนใจ มีการพิจารณาว่า มือ จริงๆ แล้วไม่ใช่มือ สิ่งนี้ปรากฏทางตา และอย่างไรจะปรากฏทางตา ก็หลับตา มอง นี่ปรากฏทางตาจริงๆ มีการน้อมพิจารณาลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น คือ เริ่มมีการใส่ใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาเพิ่มมากกว่าแต่ก่อนนี้อีกนิดหนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนหงุดหงิดรำคาญใจ
สุ. นี่เป็นประโยชน์ของการฟัง และที่ได้ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว เราก็ยังพิจารณาต่อไปอีกได้ ยังระลึกศึกษานึกขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะกำลังเห็น ก็เหมือนเห็น ในกระจก เวลานี้ทุกคนเหมือนสิ่งที่ปรากฏในกระจก ความจริงไม่มี มีแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา และนึกเอาหมด เหมือนมีกระจกบานใหญ่ และเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ในกระจก แต่ลองไปจับสัมผัสดูไม่มีอะไรนอกจากแข็ง นี่คือความจริง และเรารู้เลยว่า สิ่งที่เราสมมติ เราจำได้ ลักษณะต่างๆ นี้มาประกอบกัน รวมกัน แต่ถ้าเราแยกเป็นแต่ละทางเราจะรู้เลยว่า อย่างไหนก็อย่างนั้น คือ สีสันวัณณะที่ปรากฏทางตา มีลักษณะอย่างนี้ คือ เพียงเป็นรูปหรือเป็นธาตุที่กระทบจักขุปสาทแล้วปรากฏได้ แต่ความเร็วที่เกิดดับสืบต่อกันจนกระทั่งเรื่องราวเข้ามาแทรก เราจึงไม่รู้เลยว่า สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว
แต่ขณะที่เราพิจารณาหรือรู้เสียงทางหูกับสภาพที่ได้ยิน สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ เพราะเราไม่ได้นึกถึงอะไรในสิ่งที่ปรากฏใช่ไหม เราก็จะค่อยๆ คุ้นเคย เหมือนกับเราอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็มีกระจกคือสิ่งที่ปรากฏ และเราก็นึกเอา เท่านั้นเอง
ถ. ความหมายของคำว่า โลก หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือ โลก
ถ. โลกหมายถึงแตกดับย่อยยับไป ใช่ไหม แต่ยังมีความหมายมากกว่านั้น ที่ชื่อว่าโลก จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เป็นอะไรต่างๆ โลกคืออะไร
ผู้ฟัง โลกมีอยู่ ๖ ทาง ตามที่เราเข้าใจ ทุกคนก็ศึกษาแล้ว ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อก่อนคิดว่า โลกคือ ๖ ทาง แต่เป็นกลุ่มเป็นก้อน ได้มาฟังอาจารย์ก็รู้ดีขึ้นกว่าเดิม หมายความว่าปัญญาค่อยๆ เพิ่มขึ้น เราก็พยายามศึกษา
คำว่า เจริญสติ ที่อาจารย์พูดเมื่อกี้ มีขั้นตอน ขั้นที่เห็นความจริง คือ สติรู้ทันว่าขณะนั้นเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง แท้จริงก็แค่ประตู ของเรานี่เพราะสติไม่มีกำลัง ก็เลยไปถึงมโนทวารหมด สร้างเป็นเรื่องเป็นราวทั้งนั้น แท้จริงก็แค่ตรงนั้นๆ และก็จบ แต่สติเราอ่อนกำลัง สร้างเป็นเรื่องเป็นราว ที่มาคราวนี้ได้ประโยชน์หลายเรื่อง คือ รู้ว่าสิ่งไหนควรเว้น เราก็ต้องเว้น อย่าสะสมสิ่งที่ทำให้เราเกิดอกุศลเยอะๆ ... อาจารย์พูดหลายเรื่อง ป้าก็ได้ประโยชน์หลายตอน ปัญญาไม่ใช่เอาเงินทองมา ซื้อได้เลย มีกี่แสนกี่ล้านก็ซื้อไม่ได้ แล้วแต่ว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ถ. ในแต่ละวัน เราอยู่ในโลกมืดมากกว่า หรืออยู่ในโลกสว่างมากกว่า
ผู้ฟัง ตามที่รู้ อยู่ในโลกสว่างมากกว่า แต่ตามที่ได้ศึกษามา อยู่ในโลกมืดมากกว่า
ถ. และที่มากที่สุด คือ ภวังคจิต จริงๆ เห็นนิดเดียว ได้ยินนิดเดียว จิตที่เกิดมากที่สุด คือ ภวังคจิต เพราะขณะที่เป็นภวังคจิต ไม่มีโลกนี้เลย
ผู้ฟัง ที่คุณสมนึกถามเมื่อกี้เรื่องเต็มไปด้วยงาน คำที่อาจารย์ตอบ อธิบายแล้ว คุณสมนึกจะทำอะไรบ้าง
สมนึก ถึงตอนนี้ผมก็ยังคิดอยู่ว่า จริงๆ แล้วจะเป็นอย่างไร เพราะว่า ในชีวิตประจำวันตามความเป็นจริงที่ผ่านมา ขณะที่คิดเรื่องงานที่ค้างอยู่ เวลาที่เปิดวิทยุฟังตอน ๓ ทุ่มกว่า ใจก็หงุดหงิดคิดถึงแต่งานโน้นงานนี้ เป็นความขุ่นเคืองใจ ระยะเวลาที่ผมมาที่อินเดียนี่ได้ประโยชน์ คือ ผมทิ้งงานทั้งหมดจริงๆ ไม่มีเหลือเลย ช่างเขา จะเป็นอย่างไรช่างเขา ทำให้ฟังเทปไม่ติดขัด ถ้าตั้งใจฟังแล้วจะฟังได้ตลอด แต่ถ้าอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ไม่ยอมออกจากงานเลย เพราะว่าต้องหางานให้คนงานทำตลอด จัดงานให้คนนี้ทำ คนนั้นทำ มีงานที่ต้องคิด ต้องวางแผนทั้งหมด ขณะที่ฟังธรรม ฟังไปปุ๊บ จะมีเรื่องงานเข้ามาแทรก แม้กระทั่งไปฟังธรรมวันอาทิตย์ แต่ก่อนนี้ งานน้อย ปัญหาก็น้อย ตอนนี้ไปฟังธรรมก็คิดถึงเรื่องงานว่า งานนี้เรายังวางแผน ไม่เสร็จ หรือบางทีคิดไม่ตก เก็บไปคิดทุกวัน ไม่มีวันหยุดราชการ ก่อนนอนก็คิด จนหลับไปเลย ตื่นเช้าขึ้นมาก็คิดเรื่องงานต่ออีก ไม่มีวันไหนเลยที่งานจะหมด ตอนที่คุณพรชัยถาม ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าจะแก้อย่างไร อย่างที่ประวิทย์ว่า น่าจะมีวิธีเลี่ยง มีวิธีวางระบบว่า จะหนีครึ่งชั่วโมงอย่างไร
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วอย่างที่บอก ตอนที่ผมไฟแรงๆ ผมสนใจธรรมอันดับหนึ่ง ไม่ว่าอะไรก็ตามผมถือธรรมเป็นหลัก ถ้าต้องไปฟังธรรมและมีธุระอื่น ผมทิ้งทันที แต่ก่อนผมมีความรู้สึกว่า งานต้องอันดับหนึ่ง เพราะคิดว่าผมฟังเยอะแล้ว สติปัฏฐานเวลาไหนก็ได้ นั่นคือความคิด แต่จริงๆ แล้วไม่ค่อยเกิดเลย เหมือนเราทอดทิ้ง เราทอดธุระจริงๆ อย่างที่อาจารย์บอกว่า เราเห็นอะไรสำคัญที่สุดในขณะนั้น ก่อนนี้ผมคิดว่าหาเงินไว้สักล้าน สองล้านก็เลิกแล้ว สมนึกเขาบอกว่า เอาแค่ห้าแสน ก็พอแล้ว จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย
สุ. จริงๆ แล้วเราต้องตายแน่ๆ วันหนึ่งก็วันใด ขณะไหนก็ไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้น เราขอลาตายทุกวัน ทุกคืน ดีไหม และเวลาที่เราตายก็คือเวลาที่เรา ฟังพระธรรม แค่ครึ่งชั่วโมง เหมือนเราตายจากงาน ที่เขาว่าจะซ้อมตายกัน จะซ้อม วิธีอื่นก่อนจะตาย กุศลจิตจะเกิดหรืออะไร แต่เราไม่ใช่อย่างนั้น เราเพียงขอเวลาตาย เพราะเราต้องตาย และเวลาที่เราต้องตายจริงๆ เราต้องทิ้งทุกอย่างหมด ไม่ว่างานนั้นเราทำค้างไว้ เรื่องนี้เรายังคิดไม่เสร็จหรืออะไรๆ แต่เวลาที่เราจะลาตาย ยังดีที่ว่า ไม่ได้ตายตลอด ตายสักครึ่งชั่วโมง และเราก็เกิดมาทำงานต่อไปอีก นี่คือการเกิด และการตายในวันหนึ่งๆ ซึ่งก็เหมือนการเกิดการตาย และงานทั้งหลายถ้าเรามี กุศลจิต งานพวกนี้ก็ดีขึ้น คือ ไม่มีความวิตกกังวล
ทำไมครึ่งชั่วโมงเราจะทำอย่างอื่นไม่ได้ และหลังจากครึ่งชั่วโมง เราอาจจะมีพลัง หรือมีความคิดสดใสคิดออกขึ้นมาก็ได้ ไม่อย่างนั้นจะเป็นเรื่องกังวลเพราะว่าอกุศลตลอด ระหว่างที่เราคิดเรื่องงานนี้อกุศลทั้งนั้น
เราก็รู้ว่า อกุศลตั้งวันหนึ่ง แถมกลางคืนอีกไม่รู้กี่ชั่วโมง ก็ขอเวลาของกุศล หรือขอเวลาตายแค่นี้ เหมือนกับเราตายจากงาน เพราะอย่างไรๆ เราก็ต้องตาย เราก็ต้องมีการนอนพักผ่อน ต้องมีอะไรบ้าง ก็แบ่งเวลาจริงๆ ถ้าเรามีอธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจมั่นจริงๆ ในการฟังธรรม และเรารู้ประโยชน์ด้วย เราก็รู้เลยว่า จากนี้ไปผลของการฟังธรรมจะทำให้เราเข้าใจขึ้น ไม่ว่างานจะเสร็จ งานจะไม่เสร็จ เงินจะสูญ เงินจะเพิ่มหรืออะไร ก็เป็นเรื่องของกรรม
เป็นความจริงที่ว่า กรรมจะให้ผลโดยต้องมีปโยคสมบัติ โดยต้องมีอะไรๆ ก็จริง ก็ไม่ใช่หมายความว่าเราเป็นคนขี้เกียจ ไม่ใช่หมายความว่าเราเป็นคนทอดทิ้ง แต่ขณะเดียวกันอย่าให้เรามีอกุศลมากเหนือกุศล เพราะจะเป็นทางทำให้เรายิ่งติด และเราจะไม่พ้นจากอกุศลต่างๆ เหล่านี้เลย เพราะว่าเราให้เวลาเขามากจนกระทั่ง ไม่มีทางที่กุศลของเราจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่า จริง เรามีปโยคสมบัติ แต่เราก็ควรมีเวลาสำหรับพระธรรมด้วย อย่างการฟัง ไม่ควรขาดเลย ๖ โมงเช้า กับ ๓ ทุ่ม ขอเพียงตายแค่นั้น คือ ตายไปฟังธรรม และมาเกิดใหม่ทำงานต่อหลังจาก ฟังธรรมเสร็จแล้ว
ผู้ฟัง ถ้าคิดอย่างอื่น หรือคิดในแง่อื่น รู้สึกว่าหมดวิธี ถ้าตายสนิทจริงๆ สักวันละครึ่งชั่วโมงคงจะดี ต้องกลับไปวางแผน ถ้าไม่วางแผน คงจะไม่ตายสนิท
สุ. ดีกว่าตายโดยไม่รู้อะไรเลย ไม่อย่างนั้นเราทำงานไปแล้วเราก็ ไหลตายไปเลย ก็มีทางที่จะไหลตายได้เหมือนกัน โดยที่ขณะนั้นเต็มไปด้วยงาน แต่ขณะนี้ถึงจะไหลตาย ก็มีโอกาสวันละชั่วโมงๆ หรือวันเสาร์อาทิตย์ก็ชั่วโมงครึ่ง
ผู้ฟัง การฟังธรรม แม้ฟังทางวิทยุหรืออ่านพระสูตร สำหรับผมพร้อมที่จะ ฟังธรรม ใจเราต้องพร้อมจริงๆ ไม่อย่างนั้นฟังไม่รู้เรื่องเลย ธรรมไม่แจ่มแจ้ง บางครั้งผมเครียดมากๆ ผมรู้ว่าต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ผมทิ้งทุกอย่าง ผมอ่านพระสูตร อ่านเสร็จสบายใจมาก ทำงานได้ต่อ
สุ. ขณะนั้นก็เหมือนกับตายจากอกุศลที่กำลังกลุ้มรุม เพราะขณะนั้นสติปัญญาเราเกิด โยนิโสเรามี เรารู้ว่า ถึงที่สุดแล้วเราก็พึ่งพระธรรม เพราะฉะนั้น ก็พึ่งได้ทุกวันๆ และเราควรจะมีอธิษฐานบารมีด้วย ความตั้งใจมั่นในทางกุศล มิฉะนั้นแล้วอกุศลของเราวันนี้เท่าไร พรุ่งนี้เท่าไร มะรืนนี้เท่าไร บวกไปทุกวันต้องมาก แต่ถ้าเรามีกุศลบ้าง โดยที่เรารู้ว่า ในเวลา ๑๒ ชั่วโมง เวลาของกุศลเพียงแค่ ชั่วโมงครึ่ง หรือชั่วโมงเดียวเท่านั้นเองที่เป็นการฟัง แต่กุศลด้านอื่นก็ยังมีอีกนอกจากการฟัง
ชีวิตคฤหัสถ์ ไม่ใช่ว่าเงินไม่สำคัญ แต่ต้องมีสิ่งที่สำคัญกว่าเงินด้วย เราจะให้เงินสำคัญอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าเรามีเงินมากๆ หนึ่งพันล้านบาท และเราตาย เราได้อะไรจากพันล้าน ต้องมีสิ่งที่สำคัญกว่าเงิน ไม่ใช่ว่าคฤหัสถ์ควรจะขี้เกียจ ควรจะพอแล้ว แค่นี้พอแล้ว แล้วแต่เหตุแล้วแต่ปัจจัยที่สะสมมา แต่ต้องมีสิ่งที่สำคัญกว่าเงินในหัวใจของเรา คือ ธรรม ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ใช่คนเกียจคร้าน เราแสวงหาเงินเพื่อความเป็นอยู่ของเรา เดี๋ยวนี้ และต่อไป เพราะเราก็ไม่รู้ว่า เราจะมีชีวิตเท่าไร แต่ไม่ว่าเราจะมีชีวิตเท่าไร เราไม่เป็นทาสของเงิน เพราะถ้าเรา มีพันล้าน โลภอยู่อย่างนั้น และตาย ไม่มีประโยชน์เลย เราจะจากเงินของเราไป เมื่อไรก็ได้ แต่เงินก็มีความสำคัญพอที่จะให้เราเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย ที่จะให้ศึกษาธรรมสะดวกสบาย ไม่ป่วยไม่ไข้ แต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้น เราต้องมีสิ่งที่สำคัญมากกว่าเงินด้วย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๓ ตอนที่ ๒๐๒๑ – ๒๐๓๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081