แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
ครั้งที่ ๒๐๑๘
สาระสำคัญ
ผู้ร่วมเดินทางมานมัสการสังเวชนียสถานครั้งนี้แสดงทัศนะทางธรรม ความเข้าใจธรรม และประสบการณ์การศึกษาธรรมของตนเอง (ต่อ)
วันหนึ่งๆ อกุศลเกิดมากกว่ากุศล - สุดท้ายของชาตินี้ก็เป็นแต่เพียงสมมติมรณะ - ทุกอย่างที่เกิดปรากฏ สติสามารถระลึกรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม - พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องรู้แล้วละ
สนทนาธรรมที่พุทธคยา
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
ผู้ฟัง ผมฟังเรื่องเสียงที่ปรากฏทางหู ผมเคยสังเกต ถ้าสติระลึกเสียงที่ กำลังปรากฏ ถ้าสติเกิดจริงๆ แล้ว ที่จะรู้เป็นเรื่องเป็นราวไม่มี มีความรู้สึกถึง ลักษณะที่ดังปรากฏอย่างเดียว ผมมีความรู้สึกอย่างนี้ ไม่ทราบว่าความเข้าใจที่ผมกำลังอบรมอยู่นี้ถูกต้องหรือเปล่า
ผู้ฟัง ขอเสริมคุณประวิทย์นิดหนึ่ง ตอนที่คุณศุกลถามคุณประวิทย์ว่า ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาจริงๆ ไหม หรือว่าเป็นแค่การศึกษา หรือเคยระลึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ไหม ผมมีความคิดเห็นว่า เมื่อจักขุวิญญาณเกิดเห็นสี ขณะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตามีแล้วแก่จักขุวิญญาณนั้น เมื่อวิถีจิตดับไปก็ทราบว่า มีจิตอื่นเกิดขึ้น โลภมูลจิตก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้ โทสมูลจิตก็มี สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้ โมหมูลจิตก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้ กุศลจิตขั้นทาน ศีล สมถภาวนา ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้เหมือนกัน สติปัฏฐานก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้
เพราะฉะนั้น ขณะนี้สติปัฏฐานจะเกิด หรือไม่เกิด แต่ถ้าจักขุวิญญาณเกิด สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏแล้วกับจักขุวิญญาณ ไม่จำเป็นต้องเป็นสติปัฏฐานเสมอไป ที่จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ สภาพธรรมปรากฏเสมอ จนกว่าปัญญาและสติจะเจริญขึ้นรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นไม่ใช่ตัวตน ขณะนั้นจึงเป็นสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง อึดอัดใจมานานแล้วเรื่องสติ ผมรู้สึกว่า คนส่วนใหญ่มุ่งที่สติปัฏฐาน แต่ผมเองไม่สนใจเลย ผมสนใจว่า เมื่อไรก็ตามที่ผมรู้ชัดสิ่งที่กำลังปรากฏทุกอย่าง โดยไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการ ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ ผมรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จะทำอย่างไรได้เขามีเหตุมีปัจจัยของเขา สิ่งที่ผมทำ คือ สะสมสิ่งที่มันควรจะเป็น สะสมเหตุในทางที่ถูก อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
นีน่า คุยกับคุณแอ๊วเรื่องสติว่า เวลาที่มีสติกับไม่มีสติ ต่างกัน แต่เราคิดว่ายังไม่ชัดเลย เป็นไปได้ไหม มีสติแต่เราไม่รู้ว่ามีสติ คุณแอ๊วคิดอย่างนั้น ... สุ. จริงๆ แล้วก็อย่างที่คุณประวิทย์ว่า คือ ส่วนใหญ่เวลาได้ยินกุศลประเภทใด คนก็มักต้องการกุศลประเภทนั้น โดยไม่ได้ศึกษาให้ชัดเจนว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องรู้แล้วละ เวลาพูดถึงเรื่องสังฆทาน ก็อยากจะได้อานิสงส์ของสังฆทาน เพราะรู้สึกว่าสังฆทานมีประโยชน์มาก เวลาพูดถึงเรื่องสมถภาวนา ก็อยากจะได้สมถภาวนา ฌาน อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ เป็นเรื่องของความอยาก เป็นเรื่องของความต้องการ แม้แต่ในยุคสมัยของการใช้คำว่า วิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน ก็ทำให้คนที่ยังไม่รู้อะไรเลยอยากจะได้ และอยากจะมีสติมากๆ ด้วย โดยที่ยังไม่ได้เข้าใจเลยว่า เพื่ออะไร
การที่สติปัฏฐานจะเกิด เพื่ออะไร ถ้ามีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นปัญญา รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ และค่อยๆ สะสมความเข้าใจขึ้นตามเรื่องของธรรม ไม่ได้หมายความว่ามีตัวเราที่อยากแสนอยากที่จะมีสติมากๆ และบางคนก็คร่ำครวญว่า วันนี้สติไม่เกิดเลย สติเกิดน้อยมาก มีประโยชน์อะไรที่จะไปหวังและไม่ได้สิ่งที่หวัง โดยที่ไม่รู้ว่า ชีวิตก็ต้องเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อยังมีอกุศล มีโลภะ มีโทสะ มีโมหะ เป็นปัจจัย ขณะของอกุศลก็ย่อมต้องเกิดมากกว่ากุศล
แต่การฟังพระธรรมและมีความเข้าใจ ก็ไม่ใช่ว่าจะเปล่าประโยชน์ เพราะว่าการฟังพระธรรมและเข้าใจขึ้นๆ ก็เป็นปัจจัยเป็นสังขารขันธ์ที่จะทำให้สติเกิดระลึกได้ในขณะที่เห็น เมื่อเข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นรูปธรรม จึงมีการระลึกได้ในขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ว่า มีจริงๆ เป็นรูปธรรม นี่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และค่อยๆ เข้าใจขึ้น พร้อมกันนั้นก็รู้ว่า ลักษณะของสภาพรู้ ธาตุรู้ที่กำลังเห็นนี้ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งทุกคนก็รู้ว่า ไม่ใช่จะรู้ได้ อย่างรวดเร็ว
เมื่อรู้ว่า รู้ไม่ได้เร็ว ทำไมต้องเดือดร้อน ก็ค่อยๆ ระลึกไป รู้ไป เข้าใจไป เป็นปกติ ไม่ต้องทุรนทุราย ก็จะค่อยๆ ถึงในวันหนึ่ง เพราะว่าเมื่อเป็นผู้ต้องการผล ก็ต้องรู้ว่าเหตุที่จะให้เกิดผลนั้นก็คือการฟังพระธรรมให้เข้าใจขึ้น นั่นเป็นเหตุเดียว ที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด และสามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมได้ แต่ต้องเป็นไปทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง กลับมาที่คุณธนิตอีกที คุณธนิตบอกว่า เมื่อเสียงปรากฏ สติเกิด ทำให้เห็นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ใช่ไหม
ธนิต ผมหมายถึงว่า ขณะที่เสียงกำลังปรากฏ ถ้าสติเกิดระลึกถึงลักษณะของเสียงที่ปรากฏ ที่จะแปลความหมายของคำนั้นออกมาไม่ค่อยจะมีขึ้น คือ ไม่รู้ความหมายของคำนั้น
ผู้ฟัง ผมเห็นด้วย ถ้าเสียงนั้นเป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย แต่ถ้าเสียงพูดก็ดี เสียงร้องช่วยด้วย เสียงเด็กร้องไห้ เสียงผู้หญิง ผู้ชาย จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ธนิต ถ้าผมรู้สึกว่า เวลานี้มีแต่ดังปรากฏอย่างเดียว สังเกตในลักษณะที่ดังปรากฏอย่างเดียว ความหมายต่างๆ จะไม่ออกมาเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือคำว่า ช่วยด้วย ไม่มีเลย
ผู้ฟัง หมายความว่าคุณธนิตเป็นผู้ที่เจริญสติมานานแล้ว อย่างนี้ถูกต้องไหม
สุ. ทุกคนมีความเข้าใจของตัวเอง และค่อยๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องสอบว่า ถูกต้องไหมๆ ก็เป็นปัญญาของแต่ละคน ถ้าเป็นหนทางที่ถูก คือ รู้ว่า สภาพธรรมมี และปัญญาต้องรู้ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน คือ สภาพนั้นเป็นรูปหรือสภาพนั้นเป็นนาม และค่อยๆ ระลึกไปเรื่อยๆ ที่ถามว่าถูกไหมๆ คงไม่มีความจำเป็น ที่จะตอบ แต่ทุกคนหวั่นไหวไหมขณะที่กำลังรู้เรื่อง เวลาได้ยินเสียงแล้วรู้เรื่อง หวั่นไหวไหม ก็เป็นการที่จะต้องรู้อีกว่า แม้ขณะนั้นก็เป็นนามธรรมชั่วขณะจิต
เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก มิฉะนั้นแล้วจะไปพยายามอยู่นั่น ที่จะให้ได้ยินแต่เสียง ไม่ให้รู้เรื่องอะไรเลย ซึ่งในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมก็ดี หรือท่านพระเขมกะแสดงธรรมกับพระภิกษุทั้งหลายก็ดี ในขณะที่ท่านแสดงธรรม จบ ท่านก็เป็นพระอรหันต์ รวมทั้งภิกษุที่ฟังธรรมในขณะนั้นก็ได้เป็นพระอรหันต์ หลายรูปด้วย
แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แต่เฉพาะได้ยินโดยไม่รู้เรื่อง แต่ในขณะที่รู้เรื่องก็เป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ไม่ดิ้นรน ไม่เดือดร้อน แต่สติสามารถระลึกรู้แล้วละว่า แม้ขณะที่เข้าใจก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรมที่กำลังรู้คำนั้น ก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่าการรู้เรื่องก็เพียงชั่วขณะจิตเดียว
ข้อสำคัญที่สุด คือ ถ้าเข้าใจว่าเป็นเพียงชั่วขณะจิตเดียว จะทำให้มีการ ระลึกอีกเนืองๆ บ่อยๆ และไม่ย้อนกลับไปว่า เมื่อกี้เสียดายที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เป็นอะไร เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ไม่รู้ก็ไม่รู้ แต่ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ซึ่งสติระลึกใหม่ได้ และปัญญาก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้อีก
ถ. ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ไม่ควรหวั่นไหว หมายความว่าในขณะที่เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี เกิดความยินดียินร้าย ใช่ไหม
สุ. ไม่มีใครไปยับยั้งกระแสของวิถีจิตได้ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่ เกิดปรากฏสติสามารถระลึกรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม อย่างโลภะขณะนี้ เกิดหลังจากเห็น สติก็ระลึกลักษณะของโลภะได้ ไม่ต้องย้อนกลับไปตั้งต้นที่เห็นก่อนและไม่ให้เกิดโลภะ นั่นไม่ถูกต้อง เป็นปกติที่ แล้วแต่สติจะเกิดขณะไหน และสติจะระลึกลักษณะของสภาพอะไรก็แล้วแต่ แต่ผู้นั้นมีความเข้าใจชัดขึ้นในลักษณะของสติสัมปชัญญะ
เราได้ยินสติคำว่า สัมปชัญญะ ในภาษาไทย แต่สภาพของธรรมก็คือ เมื่อสติมีการระลึก สัมปชัญญะมีการรู้ทั่ว หรือรอบรู้โดยพยัญชนะ ซึ่งหมายความว่าขณะนั้นมีลักษณะให้รู้ตามที่สติกำลังระลึก ไม่ใช่ไปนึกหรือคิดถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว
ถ. เคยมีความรู้สึกกลัวความตาย จิตขณะนั้นเกิดความหวั่นไหว แต่เมื่อมาฟังอาจารย์พูดว่า จิตเป็นอนันตรปัจจัย เกิดดับเสมือนไม่ดับเลย จึงเกิดความคิดว่า จิตเราเป็นอกุศล จิตขณะนั้นเกิดแล้วดับไปแล้ว และอาจารย์ก็บอกว่า ไม่ต้องพะวงเลยว่า อนาคตจะเป็นอะไร เพราะเมื่อเราตายไปแล้ว จิตนี้ก็ต้องเกิดขึ้นมาอีก อย่างนั้นใช่ไหม
สุ. จริงๆ แล้วไม่น่ากลัว เพราะว่าขณะนี้ก็ตายแล้วก็เกิด ตายแล้วก็เกิด เพราะฉะนั้น ขณะสุดท้ายของชาตินี้เป็นแต่เพียงสมมติมรณะ เพราะว่าเราเปลี่ยนภพ เปลี่ยนภูมิ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ และกรรมหนึ่งจะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดเป็น บุคคลใหม่ มีเรื่องราวใหม่ ไม่สิ้นสุดในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งปัจจุบันชาตินี้เป็นอย่างนี้ ถอยไปอีก ชาติก่อนเป็นอย่างไร และชาติโน้นๆ เป็นอย่างไร เคยเห็นเคยได้ยิน ก็เหมือนเดี๋ยวนี้ ซึ่งอีกไม่นานการเห็นของชาตินี้ก็เป็นอดีต และการคิดนึกของเรื่องนี้ ก็เป็นอดีต แต่เป็นอดีตที่ไม่หวนกลับมาอีกสักขณะจิตเดียว สักเรื่องเดียวด้วย และเวลาที่เกิดใหม่ก็มีเรื่องใหม่ แต่เมื่อไรจะจบ ก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ก็ต้องเป็นสุขเป็นทุกข์ไป
คุณฟอรีไม่กลัวการเกิดหรือ กลัวแต่ความตายหรือ
ฟ. เท่าที่มาศึกษาธรรม แต่ก่อนเคยคิดว่า ถ้าเราทำบุญมากๆ เราก็อาจจะไปเกิดดีๆ แต่ขณะนี้มีความรู้สึกว่า ศึกษาธรรมเพื่อละคลายกิเลส แต่ก็ยัง ไม่หมด ยังมีโลภะเยอะเลย และในขณะเดียวกันโทสะก็มาก
สุ. นี่เป็นสัจจะ เป็นความจริง ไม่ใช่ว่าคนที่ฟังธรรมแล้วไม่มีกิเลส ทุกคนรู้ตัวเองขึ้น แต่ก่อนนี้อาจจะคิดว่าเป็นคนดีพอสมควร แต่ยิ่งรู้ละเอียดก็ยิ่งรู้ว่า ทำไมวันหนึ่งอกุศลเกิดมากกว่ากุศล และจะเป็นคนดีอย่างที่เคยคิดได้ไหม เพราะว่าแต่ก่อนถ้าไม่โกรธจัดๆ หรือไม่มีความคิดไม่ดีต่อคนอื่น ก็อาจจะคิดว่า ตัวเองดีแล้ว เป็นคนดี มีความหวังดีต่อคนอื่น และถ้ายิ่งละเอียดรู้ว่าขณะจิตเป็นอกุศล มากกว่ากุศล ก็จะยิ่งเป็นผู้ที่รู้ตัวและเข้าใจความหมายของปุถุชนซึ่งเป็นบุคคลหนาด้วยกิเลส จนกว่าจะเข้าใจสภาพธรรมเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าใครบอกว่า อยากจะไปนิพพาน อยากจะถึงนิพพาน ไม่อยากจะเกิดอีกเลยเดี๋ยวนี้ ไม่จริง เพราะว่าตามความเป็นจริงแล้วเมื่อยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังต้องอยากเกิด ไม่ใช่ว่าไม่อยากเกิด
ผู้ฟัง เมื่อพูดถึงเรื่องตายๆ เกิดๆ ผมได้ยินคุณพรชัยสนทนาว่า การที่เราต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร เข้ามาศึกษาธรรม เพราะเห็นภัยอะไร
พ. เพราะเห็นภัยในวัฏฏะ คือ ผมประทับใจพระสูตรที่ท่านอาจารย์ชอบพูดบ่อยๆ เรื่องจับด้ามมีด เป็นคำใหม่ สำหรับตัวผมรู้สึกว่าดี เพราะว่าความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละนิดๆ เราไม่รู้จริงๆ ว่า วันนี้ความเข้าใจเราเพิ่มขึ้นแค่นี้จากการศึกษาธรรมเพิ่มขึ้นแค่นี้ ในวันหนึ่งๆ เราไม่สามารถวัดได้ รู้แต่ว่ามีความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ ซึ่งความเข้าใจนี้จะสะสมติดตัวไป ไม่หายไปไหน แต่บางทีคิดแล้วก็ท้อเหมือนกัน ฟังคุณนิภัทรพูดที่วัดบวรว่า ถ้าเราไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่เจอพระธรรม หรือเกิดในประเทศที่ไม่มีพระพุทธศาสนา ความเข้าใจจะขาดตอนไป บางทีก็ท้อ บางทีก็ หวังผล ถ้าไม่มีอบายภูมิ ๔ ผมอาจจะไม่มาศึกษาธรรมก็ได้ จริงๆ แล้วกลัวอบายภูมิ
ผู้ฟัง คุณพรชัยพูดว่า ศึกษาธรรมเพราะกลัวไปเกิดในอบายภูมิ ก็เป็นความจริง แม้แต่ผมเองก็ยังมองไม่เห็นคุณค่าของพระนิพพาน ทราบแต่ชื่อ แต่ที่สนใจศึกษาก็เพราะว่าผู้ใดกิเลสน้อยความสุขจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น และกิเลสเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ส่วนที่บอกว่า สูญเลย ไม่เกิดอีกเลย ชักใจไม่ดี
สุ. ถ้าจะรังเกียจกิเลส ต้องรังเกียจให้ทั่ว คือ รังเกียจความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง นี่น่ารังเกียจมาก ถ้ารังเกียจอย่างนี้ ก็จะทำให้ขวนขวายที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม
เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์ทรงปรารภที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มี พระดำริอย่างที่ทุกคนทราบ คือ สภาพธรรมมี กำลังปรากฏ และสภาพที่แท้จริง ของธรรมนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งปัญญาเท่านั้นสามารถรู้แจ้งได้ และปัญญาที่จะรู้แจ้ง ได้นั้น ไม่ใช่เป็นไปอย่างง่ายและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงทรงค้นคว้าธรรมที่เป็นเครื่อง ทำให้สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เมื่อบำเพ็ญแล้วครบถ้วน คือ บารมีทั้ง ๑๐
ผู้ฟัง พี่หญิงณพรัตน์ มาอินเดียได้บารมีอะไรสะสมไปบ้าง
ณพ. เป็นการดี รู้สึกว่าเราได้แสดงออกด้วยวาจา แต่ใจของผู้ใดก็แล้วแต่ ผู้นั้นที่จะอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษอย่างที่เราทำอยู่ ก็ทำให้ใจบางครั้งก็มีกิเลสพองไป อย่างเช่นที่แสดงปฐมเทศนา ดิฉันใจพองไปจนลืมตัว เดินเร็วจนจะล้ม จะเป็นลม ความที่มีความสุขในกุศล ซึ่งเราไม่รู้สึกตัว บอกไม่ถูก คือ คล้ายๆ ว่าได้ตั้งใจทำสิ่งที่ถูกต้องก็ปีติ ก็จะพยายามทำความดี ไม่ใช่แต่อุทิศส่วนกุศลอย่างเดียว
ผู้ฟัง เมื่อกี้มีมัจฉริยะ เพราะว่าตอนแรกเขาบอกว่าค่ารถ ๒ รูปี เราก็ให้เขา ๓ รูปี มาคิดภายหลังว่า ทำไมไม่ให้เขามากกว่านี้ ซึ่งเป็นเพราะมีคนบอกว่า ให้มากแล้วเคยตัว จึงเกิดมัจฉริยะไม่ยอมให้ ให้แค่ ๓ รูปี เกิดความตระหนี่ขึ้น เดี๋ยวนั้นเลย
ผู้ฟัง แต่ละครั้งที่มีปัญหาหรือคับแค้นใจในชีวิต ดิฉันยึดพระพุทธรูป คือ คิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งอย่างมั่นคงเลย บางครั้งไหว้พระตอนเด็กๆ ชอบขอให้พระพุทธเจ้าช่วย สำหรับพระพุทธเจ้ามีความรู้สึกที่แนบแน่นมาก เดี๋ยวนี้เข้าใจขึ้น เมื่อก่อนเรายึดเป็นปุคคลาธิษฐานเลย ถ้าหากมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ ก็ร้องเพลงนึกถึงพระพุทธเจ้า อย่างมรณสติ ดิฉันชอบ ๒ สิ่งนี้ช่วยจิตใจเยอะทีเดียว เวลาเกิดโลภะ มรณสติมาแล้ว ก็คลายไป แม้ว่าสติปัฏฐานไม่เกิด สติอะไรก็ได้ อนุสสติ ตั้งเยอะแยะ นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็หลบได้นิดหนึ่ง มีความมั่นคงอย่างนี้เหมือนกัน ดิฉันชอบอย่างนี้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๒ ตอนที่ ๒๐๑๑ – ๒๐๒๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081