แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
ครั้งที่ ๒๐๔๘
สาระสำคัญ
กรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก
มโนทวารกับปัญจทวาร
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ ๒๓ ต่อวันอาทิตย์ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๔
ถ. ถ้าเราฆ่าสัตว์ตายโดยไม่เจตนา ไม่ทันได้เห็นสัตว์นั้นก่อน เห็นอีกที ก็ตายไปแล้ว ไม่ทราบว่าจะได้รับผลของกรรมในปวัตติกาลไหม
สุ. ต้องทราบว่า กรรมได้แก่เจตนาเจตสิก เป็นความจงใจที่เป็นอกุศล ที่จะฆ่า เป็นวธกเจตนา ถ้าขณะนั้นไม่มีเจตนาที่จะฆ่า ไม่ใช่อกุศลกรรม
ถ. ก็ไม่ได้รับผล
สุ. ไม่ใช่อกุศลกรรม
ถ. แต่จะสะสมเป็นอุปนิสสยปัจจัย
สุ. ขณะใดที่เป็นอกุศลจิตหรือกุศลจิตก็ตาม ซึ่งเกิดและดับไป จิตขณะนั้นต่อไปจะสืบต่อและสะสมสภาพธรรมนั้นๆ จากจิตขณะก่อน เพราะฉะนั้น เราจึงมีทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตประเภทต่างๆ ในแต่ละวัน
ถ. กรณีที่เป็นมโนทุจริตกรรม คือ ไม่แสดงออกทางวจีทวาร หรือกายทวาร เป็นแค่อภิชฌา พยาบาท หรือมิจฉาทิฏฐิ จะส่งผลในปฏิสนธิกาลหรือ ในปวัตติกาลได้ ใช่ไหม
สุ. มโนกรรม ๓ ได้แก่ อภิชฌา พยาปาท และมิจฉาทิฏฐิ สำหรับมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ และนัตถิกทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่ใช่การกระทำ และการกระทำนั้นไม่มีผล ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำทางกาย ทางวาจา บางขณะกระทำไปโดยไม่ใช่มโนกรรม เป็นแต่เพียงกายกรรมหรือวจีกรรม เพราะฉะนั้น องค์ของมโนกรรมแสดงไว้เพื่อให้เห็นว่า การกระทำนั้นๆ เป็นกายกรรมหรือมโนกรรม หรือว่าเป็นวจีกรรมหรือมโนกรรม
ถ้าเกิดกับจิตธรรมดาๆ ก็ต้องแล้วแต่กำลังของอกุศลนั้นๆ ซึ่งไม่มีใครสามารถจะบอกหรือวัดได้ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ความรู้สึกในใจ แล้วแต่ว่าจะมีกำลังถึง ขั้นไหน
ถ. แสดงว่าต้องออกทางกายทวาร หรือวจีทวารด้วย
สุ. การกระทำที่มีทางกาย ที่จะรู้ว่าเป็นกายกรรมหรือมโนกรรม คือ ดูองค์ของกายกรรมและองค์ของมโนกรรม ถ้าเป็นมโนกรรมก็ไม่ใช่กายกรรม ถ้าเป็นกายกรรมก็ไม่ใช่มโนกรรม แต่ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมก็คือกรรมนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ไม่คิดมาก ไม่เป็นห่วงมาก ไม่สับสนมาก เพียงแต่ ให้เห็นกิเลส ให้เห็นกรรม และรู้ว่าเมื่อเป็นกรรมแล้วก็ต้องเกิดวิบาก แม้ในวันนี้เอง เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า ขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นผลของกรรมอะไร จะเป็นผลของกายกรรม หรือวจีกรรม หรือมโนกรรม ก็ไม่สามารถรู้ได้
เมื่อไม่สามารถรู้ได้ ก็ควรมีความรู้ตามกำลังของเรา คือ ถ้าเป็นกรรม สำเร็จครบองค์ก็ให้ผลทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ แต่ถ้าไม่ครบองค์ก็ให้ผลในปวัตติกาล คือ หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิดและดับไปแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะที่เรามีชีวิตอยู่ทุกวัน ถ้าเราจะศึกษาตามตำราจริงๆ ก็เป็นเรื่องของตำรา แต่ไม่รู้จริงในขณะนี้ว่า กรรมอะไร และเป็นผลของกรรมอะไร
ผู้ฟัง ผมอ่านในอัฏฐสาลินี เรื่องกรรมที่อาจารย์พูด ไม่ทราบว่าจะจำได้แม่น หรือเปล่า ในอัฏฐสาลินียกตัวอย่างว่า เมื่อจิตคิดจะฆ่าสัตว์ ก็เตรียมลับหอก ลับมีด เตรียมเครื่องมือ อาบน้ำใส่เสื้อผ้าแล้ว เข้าป่าไป ในขณะที่เข้าป่าไป ทั้งวันไม่ได้แม้กระต่าย ก็กลับบ้าน ในอัฏฐสาลินีบอกว่า ขณะนั้นปาณาติบาตยัง ไม่ครบองค์กรรมบถ ก็ไม่เป็นปาณาติบาต แต่ทางกายทวาร มีการเคลื่อนไหวเป็น กายทุจริต ขณะนั้นมีอกุศลจิตแล้ว แต่มโนกรรมขณะนั้นไม่เป็นปาณาติบาต สรุปแล้วก็เป็นอกุศลจิต อย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่า อกุศลจิตสำคัญที่สุด ให้พิจารณา อกุศลจิต ขณะนั้นเป็นกายทุจริตแล้ว และมีตัวอย่างอื่นๆ อีก ใครสนใจไปอ่านได้ ในอัฏฐสาลินี มีตัวอย่างทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อย่างที่ท่านอาจารย์ว่าละเอียดมาก
ถ. มโนกรรม เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะก็เป็นมโนกรรม กรณีที่มโนกรรมสำเร็จเป็นกรรมบถอย่างเดียว โดยไม่อาศัยกายทวารและวจีทวาร ได้ไหม
สุ. เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียด และการที่จะพูดถึงมโนทวารหรือมโนกรรม กายกรรม หรือวจีกรรม อยากจะให้เข้าใจว่า ในเมื่อเป็นกรรมก็เป็นกรรม เพราะว่ากรรมได้แก่เจตนาเจตสิก และถ้าดูในอัฏฐสาลินี ถ้าจำไม่ผิด ที่กล่าวว่า ขณะที่ปัญจทวารวิถี ยังไม่ล่วงเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา
เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า กรรม ก็ยังละเอียดว่า กรรมอะไร ทางทวารไหน และเป็นกรรมบถหรือเปล่า ถ้าเป็นกรรมบถแล้วก็หมายความว่า มโนกรรม ได้แก่ อภิชฌา พยาปาท และมิจฉาทิฏฐิ และที่วางองค์ไว้ว่า อย่างนี้ครบองค์ของมโนกรรม ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การกระทำใดๆ ที่ทำไปทางกาย กรรมนั้นเป็นกายกรรมหรือมโนกรรม ถ้าเป็นทางวาจา ก็กรรมนั้นเป็นวจีกรรมหรือมโนกรรม เท่านั้นเอง
แต่ถ้าจะพูดอย่างกว้าง ขณะใดที่เจตนาเจตสิกเกิด ไม่ว่ากับปัญจทวารวิถี ก็เป็นมโนกรรม แต่ไม่ได้ใช้คำว่า อกุศลกรรมบถ ใช้คำว่า มโนกรรม
ท่านผู้ฟังท่านใดสนใจจริงๆ ก็ไปศึกษา ไปค้นคว้าได้ในอรรถกถาต่างๆ แต่ทั้งหมดก็จะเป็นข้อความเท่านี้ คล้ายๆ อย่างนี้
สำหรับดิฉันเอง อยากให้ทุกคนคำนึงถึงอกุศลจิต แม้อกุศลจิตนี้ก็น่ากลัว สะสมไปแต่ละวันๆ เพิ่มมากมายเหลือเกิน กุศลจิตก็เกิดนิดเดียวไม่มากเลย น้อยมาก ไม่ต้องไปห่วงว่า เป็นกรรมหรือยัง กรรมแค่ไหน จะได้รับผลมากหรือน้อยแค่ไหน คือ เป็นเรื่องห่วงกังวล วัดไปวัดมา ผลอย่างนั้น ผลอย่างนี้ ทำกุศลก็ ผลมากไหม บุญมากไหม หรือเวลาเป็นอกุศลก็นี่หนักไหม จะต้องไปถึงไหน อะไรอย่างนี้
กลัวตั้งแต่ต้นเหตุคืออกุศลจิตดีกว่า ไม่ต้องไปคิดมากในเรื่องของอกุศลกรรม เพราะจริงๆ แล้วไม่ใช่วิสัยของบุคคลอื่นนอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มิฉะนั้นแล้วทุกคนก็จะนั่งคิด แต่ขณะนี้ทางตากำลังเห็น สติระลึกรู้ลักษณะของ สภาพธรรม และรู้ว่ากำลังเห็นเป็นวิบาก แค่นี้พอไหม กำลังได้ยินก็เป็นวิบาก เลือกไม่ได้ ไม่ว่าจะได้ยินอะไร ไม่ว่าจะเห็นอะไร ไม่ว่าจะได้กลิ่นอะไร ในวันหนึ่งๆ ขณะใดที่รู้เรื่องกรรมและเรื่องวิบาก พอแล้วใช่ไหม หรือเรื่องกุศลจิต อกุศลจิตเท่านั้น ไม่ต้องนั่งวัด หรือนั่งขีดคั่น หรือแยกมโนกรรมทางทวารไหน หรืออะไรอย่างนั้น แต่การศึกษาก็ทำให้พิจารณาได้ คิดได้ ในเรื่องสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา และรู้ว่า สิ่งใดเกินวิสัยหรือเกินความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะกล่าวโดยชัดเจนได้
ถ. ขณะที่คิดนึกมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ถ้าเราจะเจริญสติทางใจ ทางมโนทวาร เราจะพิจารณารูปารมณ์อย่างไร เพราะว่าบัญญัติไม่ใช่รูป
สุ. การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องมีสภาพธรรมปรากฏให้รู้ ตามปกติของผู้ที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญา ยังไม่ได้ฟังพระธรรม สภาพธรรมก็ปรากฏ แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริง เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ ปรากฏให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่ชาติก่อนๆ และ ยังจะเห็นต่อไป โดยไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหมดเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีลักษณะที่ เกิดขึ้นจึงปรากฏและดับไป ปัญญาที่จะรู้ คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรม เช่น ขณะนี้ถ้าจะระลึกทางตา ก็คือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นเพียงธาตุ หรือธรรม หรือสภาพอย่างหนึ่งซึ่งมีจริงจึงกำลังปรากฏ เพราะว่าขณะนี้กำลังเห็น ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่มีใครทำอะไรได้ ไม่มีใครทำสีที่กระทบตา ไม่มีใครทำเห็น เพราะว่าอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น
ทำไมต้องไปคิดถึงมโนทวาร ในเมื่อขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ควรจะอบรมเจริญความรู้หลังจากที่ฟังว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ทุกอย่างเป็นสภาพธรรม แม้แต่สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏเพื่อให้รู้ เพื่อเข้าใจให้ถูกต้อง
ทุกอย่างที่มีจริงๆ สำหรับผู้ที่มีสติสัมปชัญญะและรู้หนทางที่จะอบรม เจริญปัญญา รู้ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งปรากฏให้รู้ ให้เข้าใจให้ถูก จึงจะเป็นสัมมาปฏิบัติ และจะสงสัยเรื่องอะไรทางมโนทวาร
ถ. การเจริญสติต้องมีทั้งรูปและนาม ใช่ไหม ทางมโนทวารมีคิดนึก มีบัญญัติเป็นอารมณ์ คิดนึกเป็นนาม และบัญญัติไม่ใช่รูป ทางมโนทวารจึงพิจารณารูปไม่ได้
สุ. คงจะสงสัยเรื่องรูปทางใจ ใช่ไหม โดยการศึกษาพระธรรมที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไม่หมดความสงสัยหรือที่ว่า หลังจากปัญจทวารวิถีจิตดับ ยกตัวอย่างทางตา จักขุทวารวิถีจิตดับ ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้น รู้สีที่ปรากฏทางตาต่อ เพราะฉะนั้น มโนทวารวิถีจิตรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง
หลังจากที่ทางตาเห็นแล้ว มโนทวารวิถีจิตไม่ได้รู้รูปอื่นเลย นอกจากรูปสี ซึ่งจักขุทวารวิถีจิตเพิ่งรู้และดับไป เวลาที่โสตทวารวิถีจิตเกิดได้ยินเสียง ดับไปหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตไม่ได้รู้รูปอื่นเลย นอกจากรู้รูปเสียง เสียงเดียวกับที่โสตทวารวิถีจิตที่เพิ่งดับไปรู้
เพราะฉะนั้น มีอะไรที่สงสัย ในเมื่อมโนทวารก็รู้รูป รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้โผฏฐัพพะต่อจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และจะไปรู้รูปอะไร สงสัยรูปอะไร ในเมื่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างนี้ และรวดเร็วจนกระทั่งไม่มีใครสามารถแยกได้เลยว่า ในขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นปัญจทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี
ถ. เฉพาะวาระแรกเท่านั้นเอง ใช่ไหม
สุ. วาระแรกน่ะวาระไหน เพราะว่ามโนทวารก็รับต่อจากภวังค์และก็ เห็นอีก และก็รับต่อจากภวังค์อีกอยู่เรื่อยๆ จะเอาวาระแรกตรงไหน
ผู้ฟัง เรื่องปัญจทวาร ผมก็เคยสงสัย และเคยเรียนถามท่านอาจารย์ หลายครั้ง แต่ก่อนผมก็พยายามแยกทางปัญจทวารกับทางมโนทวาร ตอนแรกคิดว่าเพื่อเป็นปัจจัยแก่การเจริญสติ แต่ภายหลังเมื่อได้ฟังธรรมแล้วเห็นว่า ไม่จำเป็น เพราะว่าการศึกษาเรื่องปัญจทวารกับมโนทวารก็เพื่อให้รู้ความต่างของอารมณ์ว่า มีการรู้อารมณ์ได้ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจเท่านั้นเอง เพราะว่าเมื่ออารมณ์ใดปรากฏทางปัญจทวารแล้ว ทางมโนทวารก็จะรู้ต่อทันที เพราะฉะนั้น มโนทวารก็สามารถรู้ทุกอย่างที่ปัญจทวารรู้ และนอกจากนั้นมโนทวาร ก็ยังรู้สภาพธรรมอย่างอื่นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ปัญจทวารไม่รู้ด้วย จึงทำให้ ไม่จำเป็นต้องแยก เพราะว่าขณะใดที่สีปรากฏ ขณะนั้นอาจจะเป็นปัญจทวารหรือ มโนทวารที่รู้สีนั้นต่อก็ได้
ถ. เรียนถามอาจารย์ช่วยอธิบายเรื่องลักษณะของโมหะ
สุ. ขณะนี้รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไหม
ถ. บางครั้งก็รู้ บางครั้งก็ไม่รู้
สุ. ขณะที่รู้ไม่ใช่โมหะ ขณะที่ไม่รู้เป็นโมหะ
การศึกษาธรรม ศึกษาจากชีวิตประจำวัน แม้แต่เรื่องอวิชชา สภาพที่ไม่รู้ เกิดกับอกุศลจิตเป็นประจำแต่รู้ยาก เพราะว่าอกุศลไม่สามารถรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ต้องเป็นสติสัมปชัญญะ ต้องเป็นปัญญาที่อบรมจากการฟังแล้วเข้าใจ และพิจารณา สังเกต รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะใด หมายความว่า ขณะนั้นเพราะสติระลึก จึงมีการพิจารณาศึกษาให้เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรม ถ้าสติไม่เกิด จะเห็นได้ว่า หลงลืมไป วันหนึ่งๆ ไม่เคยมีการรู้เลยว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น
การศึกษาธรรม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติ คือ การอบรมเจริญปัญญา ความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง นั่นจึงจะเป็นประโยชน์ของการศึกษา
ไม่ใช่ศึกษาแล้วก็สงสัย ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า มโนทวารวิถีจิตรู้รูปต่อจากทางตา ต่อจากทางหู ต่อจากทางจมูก ต่อจากทางลิ้น ต่อจากทางกาย และจะไปสงสัยอะไรตอนไหนที่ว่า มโนทวารวิถีจิตรู้รูปอะไร ไม่ทราบว่าเพราะอะไรจึงคิดสงสัยอย่างนั้น มีเหตุผลอะไรหรือเปล่า
ถ. อาจจะเป็นเพราะว่าเวลาเจริญสติทางใจ ไม่ค่อยเข้าใจ และบางครั้ง ไม่ค่อยมั่นใจว่าถูกต้องหรือเปล่า
สุ. ทำไมใช้คำว่า เจริญสติทางใจ
ถ. เพราะว่าการเจริญสติ เท่าที่ฟังมา อาจารย์บอกให้แยกแต่ละทวาร พิจารณาทีละทวารๆ
สุ. มีลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมปรากฏ โดยที่เราไม่ต้องไปแยกเลยว่าทางไหน อย่างทางตาในขณะนี้ สีสันวัณณะกำลังปรากฏ ไม่ต้องแยกว่า ทางจักขุทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี
เสียง ขณะที่กำลังได้ยิน ก็ไม่ต้องแยกอีกเหมือนกันว่า ขณะที่ได้ยินเสียง เป็นโสตทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี และทางใจ คือ กำลังคิดนึก ก็อย่าหลงลืมสติ เพราะว่าในขณะที่กำลังคิดนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพนามธรรมที่คิด และถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ จะสามารถรู้ได้ว่า วันหนึ่งๆ ความคิดนึกเป็นกุศลหรืออกุศล หลังจากที่มีการเห็น การได้ยินแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องอบรมต่อไป
และเมื่ออบรมแล้ว มีความเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ก็จะหมดความสงสัยในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดย ไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องทวารไหน
ถ. แต่ขณะที่กำลังพิจารณา เราก็จะรู้ว่าทวารไหนด้วย
สุ. โดยชื่อ หรือโดยลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ถ. โดยชื่อ
สุ. ทำไมต้องไปรู้ชื่อ อย่างเสียง ก็เสียงกำลังปรากฏ ไม่ใช่สี ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และจะไปรู้ชื่อทำไม ในเมื่อจะต้องรู้ลักษณะของเสียงและ สภาพธรรมที่ได้ยิน
ถ. ถ้าไม่พูดถึงชื่อ ก็จะเป็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงแค่นั้นเอง แต่มันจำได้พอนึกถึงเสียง ก็เป็นโสตทวาร
สุ. ขณะที่คิด จำ ขณะนั้นไม่ใช่เรา นี่คือความละเอียดของสติปัฏฐาน ที่จะต้อง อยากจะใช้คำว่า กวาดจนละเอียด คือ ไม่ว่าสภาพธรรมใดปรากฏ จะต้องรู้โดยระลึกได้ว่า ขณะนั้นเป็นนามธรรม แม้ขณะนั้นที่กำลังคิดเรื่องชื่อของทวารว่าทวารไหน ขณะนั้นก็เป็นสภาพนามธรรมที่คิด เวลานี้คิดอย่างนั้นหรือเปล่า ที่กำลัง ได้ยินนี่ คิดอย่างนั้นหรือเปล่า
ถ. เป็นบางครั้ง
สุ. เดี๋ยวนี้คิดหรือเปล่า กำลังได้ยิน คิดว่าโสตทวารวิถีหรือเปล่า
ถ. ไม่คิด
สุ. ไม่คิด แสดงให้เห็นว่า ความคิด เกิดแล้วก็ดับ และมีการได้ยิน ก็ไม่ต้องคิด แต่ค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพที่ได้ยิน ขณะที่ได้ยิน ขณะนั้นไม่ใช่รูป เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๕ ตอนที่ ๒๐๔๑ – ๒๐๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081