แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
ครั้งที่ ๒๐๕๖
สาระสำคัญ
ลักษณะของปรมัตถธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
บัญญัติ ทรงจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ปัญจทวารปิดบังมโนทวาร
จุดประสงค์ในการฟังพระธรรม
สัง.นิทาน.ปฏิปทาสูตร ชีวิตคือนามธรรม และรูปธรรมที่เกิดขึ้นในวันหนึ่งๆ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๔
แสดงให้เห็นว่า กว่าจะเข้าใจจริงๆ ในลักษณะของปรมัตถธรรมซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทั้งๆ ที่ในขณะนี้ปรมัตถธรรมก็มี ไม่ใช่ว่าไม่มี มีและปรากฏ และดับไปรวดเร็วมาก ปัญญาจะต้องอบรมจนกระทั่งค่อยๆ ชินต่อการที่จะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งก่อน
ไม่ใช่ไปประจักษ์การเกิดดับอะไรเลย แม้จะได้ศึกษาแล้วว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้สั้นแสนสั้นและเกิดดับสืบต่อจนกระทั่งปรากฏเหมือนสัตว์บุคคลที่เที่ยง แต่ตามความเป็นจริง กว่าปัญญาจะเจริญถึงขั้นนั้นจะต้องฟังให้เข้าใจว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติ ไม่ใช่ขณะที่รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเป็นอะไร
ถ้าขณะใดมีการคิดนึกถึง ยึดถือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ทราบว่า ขณะนั้นไม่ได้มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ แต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ มีความจำเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น จะต้องอบรมเจริญปัญญาจากขั้นฟัง และทางตาที่กำลังปรากฏ ก็ไม่ท้อถอยที่จะฟังว่า เป็นเพียงสิ่งหนึ่งซึ่งมีจริงและกำลังปรากฏ และระลึกไป บ่อยๆ เนืองๆ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
พระ คำตอบของท่านอาจารย์ทำให้คลายความสงสัยไปได้มาก เพราะว่ากสิณเป็นบัญญัตินิมิตแน่นอน และในวิสุทธิมรรคก็บอกแน่นอนว่า ไม่ใช่อารมณ์เป็นปรมัตถ์
สุ. แม้ข้อความในวิสุทธิมรรคจะแสดงว่า อารมณ์ของผู้ที่เจริญสมถภาวนาที่มีกสิณเป็นอารมณ์เป็นบัญญัติอารมณ์ และผู้นั้นจะต้องเห็นนิมิตซึ่งเป็นสีแดง ถ้าเป็นวัณณกสิณ หรือว่าจะเป็นสีอื่น จะเป็นสีเหลือง สีเขียวก็ตามแต่ แต่ให้ทราบว่า ในขณะนั้นทำไมเป็นบัญญัติ ก็เพราะว่าผู้นั้นไม่ได้รู้ในสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม แต่มีความทรงจำที่เข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดคือเป็นกสิณอย่างหนึ่ง
เมื่อมีความทรงจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั่นคือเป็นบัญญัติ เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า วันหนึ่งๆ เป็นเรื่องของมโนทวารวิถีจิตที่จะรู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารวิถี ซึ่งอารมณ์ที่กระทบทางปัญจทวารแต่ละทวารสั้นมาก เล็กน้อยมาก และขณะใดที่ สติปัฏฐานไม่เกิด ปัญญาไม่ระลึกจนกระทั่งค่อยๆ แยกรู้ว่า สภาพธรรมที่เป็น ปรมัตถธรรมจริงๆ นั้น คือ ขณะที่ไม่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีจริงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็ต้องอาศัยกาลเวลา และเป็นผู้อดทน และรู้ว่า ถ้าเป็นสิ่งที่ง่าย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ต้องทรงบำเพ็ญ พระบารมีอย่างน้อย ๔ อสงไขยแสนกัป หลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า แต่สำหรับทุกท่านในที่นี้ ก็ไม่ต้องท้อใจ ความจริงเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ปัญญาระดับใดเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น และจะต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไปที่จะ รู้ความจริงอย่างไร ก็ต้องค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น
เมื่อเริ่มเดิน วันหนึ่งก็ถึง แต่จะช้าหรือเร็วก็ต้องแล้วแต่กำลังปัญญาของแต่ละบุคคล
ถ. ถ้าขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และจักขุวิญญาณเกิดเห็นสี ที่กำลังปรากฏและดับไป ต่อไปอีกระยะหนึ่งอาจจะนานเป็นวัน จิตที่เกิดภายหลังสามารถมีจิตที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์อีกได้ไหม
สุ. จักขุวิญญาณในขณะนี้เกิดจากอะไร
ถ. เกิดจากรูปารมณ์และจักขุปสาท
สุ. ที่ยังไม่ดับด้วย และเมื่อเห็นแล้ว วิถีจิตเกิดครบวาระที่รูปมีอายุ ๑๗ ขณะดับแล้ว จิตดับไปหมดแล้ว คุณณรงค์จะให้จิตรู้อะไร
ถ. รูปารมณ์ดับไปทางปัญจทวารแล้ว มโนทวารก็ยังสามารถรำพึงถึง รูปารมณ์ได้ ยังสามารถรู้รูปารมณ์ได้ต่อในขณะนั้นอีก สภาพธรรมทุกอย่างสามารถ เป็นอารมณ์ของมโนทวารได้ ฉะนั้น จิตที่เคยเห็นสีแล้วกลับมาเป็นอารมณ์ของ มโนทวารอีกได้ไหม
สุ. กลับมาในลักษณะไหน
ถ. คือ เป็นอารมณ์เท่านั้น แต่ไม่เกิดขึ้น ได้ไหม
สุ. เวลานี้ถ้าคิดมากมาย ก็ไม่สามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ กำลังปรากฏ แต่ในขณะนี้มีสภาพที่กำลังเห็น แน่นอนกำลังเห็นอยู่ ปัญญาสามารถ รู้ลักษณะของสภาพรู้ได้ไหม อย่างนี้ดีกว่า ดีกว่าจะไปคิดว่า จะเอาจิตดวงก่อนที่ ดับไปตั้งแต่ครั้งไหน กี่วาระแล้ว และกลับมาให้มโนทวารวิถีจิตรู้ได้ไหม ในขณะนี้ที่กำลังเห็น ไม่ต้องพูดถึงขณะจิต เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ พูดถึงว่า ปัญญาสามารถจะค่อยๆ เกิดมีขึ้น อบรมขึ้น จนรู้ละเอียดขึ้น ใกล้ชิดขึ้น จนกระทั่งประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของขณะที่กำลังเห็น จะดีกว่ามีความสงสัยว่า จิตขณะโน้นเอากลับมาเกิดเป็นอารมณ์ของจิตขณะนี้อีกได้ไหม
เรื่องของความสงสัยที่จะซักถามที่จะคิดให้ยุ่งยาก ไม่มีวันจบ ไม่เหมือนกับขณะนี้ที่กำลังเห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าไม่ใช่เราที่กำลังเห็น
ถ. ผู้ที่มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาในขั้นนั้นจะเป็นการระลึกถึง ปัญจารมณ์ในอดีตอย่างนั้นหรือ
สุ. อดีตอย่างไร อดีตที่ดับไปแล้วกลับเกิดมาใหม่ให้รู้ หรือว่าอย่างไร
ถ. ก็อย่างที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอดีตชาติว่า ท่านเคยเกิดเป็นคนชื่อโน้น เพศโน้น มีอาหารอย่างนั้นๆ
สุ. เมื่อวานนี้มีคนชื่อพรชัยไหม มีหรือไม่มี
ถ. มี
สุ. เดือนก่อนมีคนชื่อพรชัยไหม
ถ. มี
สุ. และมีพรชัยคนไหน คนก่อน เมื่อเดือนก่อน เมื่ออาทิตย์ก่อน กลับมาให้รู้อีกหรือเปล่า ที่ว่ามี
ถ. ถ้าระลึกได้
สุ. ก็เป็นเรื่องการนึก การคิด การจำ เพราะว่าทุกอย่างสืบต่อจากขณะหนึ่งสู่ขณะหนึ่ง สู่อีกขณะหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า มีคนเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อน ปีก่อน กลับมาเกิดให้เห็นอีก ให้รู้อีก
ถ. ถ้าอย่างนั้น ผู้ระลึกชาติก็เป็นการนึกถึงบัญญัติ
สุ. แน่นอน จะไปเอาปรมัตถธรรมอะไรที่ไหนมา
ถ. ถ้าอย่างนั้น อดีตปัญจารมณ์ก็คือบัญญัติ ใช่ไหม
สุ. บัญญัติ คือ บัญญัติ อดีตรูปารมณ์หมายถึงรูปารมณ์ที่ดับไปแล้ว
ถ. แต่ถ้าเป็นขณะจิตที่ระลึกถึงอีก
สุ. เป็นขณะจิตที่ระลึก ต้องรู้ว่าในขณะนั้นระลึกถึงเรื่อง ระลึกถึงบัญญัติ
ถ. ถ้าอย่างนั้น การระลึกชาติก็เป็นลักษณะที่ระลึกถึงเรื่องราวในอดีต
สุ. แน่นอน จะมีตัวจริงๆ ที่ไหนมาให้รู้ ตั้ง ๑,๐๐๐ กัปมาแล้ว สมัยโน้นเป็นใคร จะเอาตัวคนนั้นกลับมาเกิดเป็นอารมณ์ของจิตขณะนี้ได้หรือ
ถ. แต่ก็ไม่ใช่อดีตปัญจารมณ์เป็นบัญญัติ
สุ. รูปเป็นรูป ใครจะเปลี่ยนรูปให้เป็นบัญญัติไม่ได้ รูปมีเหตุปัจจัยเกิด แล้วดับ รูปที่ดับแล้วเป็นอดีต รูปในขณะนี้ที่ยังไม่ดับเป็นปัจจุบัน รูปที่มีเหตุปัจจัย ที่จะเกิดต่อเป็นอนาคต เท่านั้นเอง
การศึกษาธรรมจะมีปัญหาเวลาที่พระธรรมทรงแสดงไว้เท่านี้ อย่างนี้ แค่นี้ แต่คนฟังคิดเกิน สับสน อย่างคราวก่อนเป็นเรื่องของธาตุ ๑๘ ก็มีจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ รวมเป็น ๓ ธาตุทางตา
ทางหูก็มี ๓ ธาตุ คือ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ทางจมูกก็มี ๓ ธาตุ คือ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ
ทางลิ้นก็มี ๓ ธาตุ คือ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
ทางกายก็มี ๓ ธาตุ คือ กายธาตุ โผฏฐัพพะธาตุ กายวิญญาณธาตุ
รวมเป็น ๑๕ ธาตุ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
อีก ๓ ธาตุ คือ มโนธาตุ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑
ซึ่งข้อความแสดงว่า จักขุวิญญาณธาตุอาศัยจักขุปสาทธาตุเกิดรู้รูปธาตุ แล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น จิตที่ชื่อว่าจักขุวิญญาณธาตุ คือ จิตที่อาศัยจักขุปสาทเกิดแล้วดับ จิตอื่นที่ไม่ได้อาศัยจักขุปสาท ไม่ใช่จักขุวิญญาณธาตุ
ทรงแสดงเรื่องธาตุเพื่อให้เห็นความเป็นธาตุทั้งหมด จะใช้คำว่า ธรรม ก็ได้ แต่ถ้าจะแยกก็ให้เห็นว่า ธรรม ก็คือธาตุแต่ละประเภท แต่ละชนิด แต่ละลักษณะ และเมื่อประมวลธาตุทั้งหมดก็จัดเป็น ๑๘ ธาตุ หรือจะกล่าวแยกเป็นแต่ละธาตุก็ได้ โลภะก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง โทสะก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง โมหะก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง รูปแต่ละรูปก็เป็นแต่ละธาตุไป แต่ก็ยังมีผู้สงสัย มโนธาตุ ธรรมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุว่า มโนวิญญาณธาตุอาศัยมโนธาตุเกิดหรือเปล่า คือ เหมือนกับที่จักขุวิญญาณธาตุอาศัยจักขุธาตุเกิดหรือเปล่า
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องจะคิดสงสัย เมื่อพระธรรมทรงแสดงไว้อย่างไรก็พิจารณาให้เข้าใจว่า จุดประสงค์ของการแสดงเรื่องธาตุ ก็เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา ให้เห็นความละเอียดของการรู้อารมณ์แต่ละวาระว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร เช่น จักขุวิญญาณธาตุเป็นธาตุรู้ อาศัยจักขุปสาทรูปเกิดรู้รูปธาตุที่กระทบแล้วยังไม่ดับ แต่มโนธาตุ ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต และสัมปฏิจฉันนจิต ซึ่งท่านผู้ฟังที่ได้ศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะก็ทราบว่า เป็นอเหตุกจิต ๓ ดวงที่สามารถ รู้อารมณ์ได้ ๕ อารมณ์ แต่ทรงแสดงที่เกิด ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาแล้วก็รู้ว่า ปัญจทวาราวัชชนจิตและสัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเป็นมโนธาตุนั้น เกิดที่หทยวัตถุ
แสดงให้เห็นว่า ชั่ววาระหนึ่งซึ่งมีการเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา รู้รูปที่ปรากฏ ทางตา จิตเกิดดับโดยอาศัยเหตุปัจจัย แม้ว่าจะรู้อารมณ์เดียวกัน แต่ที่เกิดก็ต่างกัน ก็ยิ่งแสดงให้เห็นความละเอียดว่า เป็นธาตุแต่ละชนิด ไม่ต้องไปคิดเพิ่มเติมออกมาว่า มโนวิญญาณธาตุไปอาศัยมโนธาตุเกิด เหมือนกับจักขุวิญญาณธาตุอาศัยจักขุธาตุเกิดหรือเปล่า
พระธรรมทรงแสดงไว้อย่างไร ขอให้พิจารณาให้เข้าใจ ให้เห็นความละเอียด ให้เห็นความเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน อย่าไปเพิ่มความคิดสงสัย ไม่ได้กล่าวไว้อย่างนั้นก็ไปคิดเอาเอง ซึ่งไม่ต้องคิดอย่างนั้น เพราะว่าเมื่อทรงแสดงเรื่องของธาตุ ก็แสดงเฉพาะเรื่องธาตุอย่างเดียว แต่พระธรรมทั้งหมดต่อกัน ซึ่งในคราวที่แล้วก็ได้กล่าวถึงเรื่องของปฏิจจสมุปปาท ก็ไม่พ้นจากเรื่องธาตุ แต่แสดงโดยองค์ที่สืบเนื่องกัน เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ตั้งแต่อวิชชาเป็นปัจจัย แก่สังขาร อวิชชาก็เป็นธาตุ เมื่อศึกษาแล้วก็รู้ว่า อวิชชาเป็นเจตสิกก็เป็นธรรมธาตุ เพราะว่าในธาตุ ๑๘ นั้น เป็นรูปธาตุก็มี นามธาตุก็มี และสำหรับธรรมธาตุนั้นก็รวม ทั้งรูปธาตุและนามธาตุด้วย
เพราะฉะนั้น อวิชชาก็เป็นธาตุ เป็นธรรมธาตุ ไม่ใช่ว่าไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเลย สภาพธรรมอาศัยกันเป็นปัจจัยเกิดขึ้น แล้วแต่ว่าการศึกษานั้น จะศึกษาความสัมพันธ์สืบเนื่องเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือในขณะนั้นกำลังพิจารณาในลักษณะที่เป็นธาตุ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าแยกกันเป็นธาตุแต่ละประเภทโดยเด็ดขาด เช่น จักขุธาตุ คือ จักขุปสาท เป็นรูป ไม่ใช่นาม และไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา โดยนัยของธาตุก็แสดงความเป็นธาตุแต่ละชนิด แต่ก็ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
ถ. ที่กล่าวว่า เหมือนปัญจทวารปิดบังมโนทวาร หมายความว่าอย่างไร
สุ. เวลานี้มีมโนทวารไหม
ถ. มี
สุ. ใครบอก
ถ. ศึกษามา
สุ. ปรากฏหรือเปล่า กำลังเห็น มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ถ. ไม่ทราบ
สุ. ขอให้คิด จะได้ตอบคำถามด้วยตัวเอง ที่กำลังเห็นขณะนี้โดยการศึกษา ทราบว่า มีมโนทวารสลับ มีภวังคจิตสลับ มีวิถีจิตวาระอื่นสลับ แต่ในขณะนี้ที่ กำลังเห็น มโนทวารปรากฏหรือเปล่า ไม่ได้ถามเรื่องการศึกษา แต่ถามว่า มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ถ. ถ้าคิดนึกก็เป็นลักษณะของมโนทวาร
สุ. ใช่ เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังเห็นเป็นปกติเดี๋ยวนี้ มโนทวารปรากฏ หรือเปล่า
ถ. คิดนึกก็เป็นมโนทวาร
สุ. ไม่ได้ถามอย่างนั้น ไม่ได้ถามว่าคิดนึกเป็นอะไร แต่ถามว่าเดี๋ยวนี้ ที่กำลังเห็น มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ถ. ไม่ปรากฏ
สุ. ไม่ปรากฏ ใช่ไหม ทั้งๆ ที่โดยการศึกษาทราบว่า มีมโนทวารเกิดสลับ ภวังคจิตก็เกิดสลับ วิถีจิตอื่นก็สลับอยู่ในขณะนี้ แต่มโนทวารปรากฏหรือเปล่า เสียงปรากฏ ใช่ไหม สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏ มโนทวารปรากฏหรือเปล่า ภวังค์ปรากฏหรือเปล่า
ถ. ไม่
สุ. มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ถ. ไม่
สุ. นี่คือ ปัญจทวารปิดบังมโนทวาร
ถ. ถ้าเป็นในลักษณะตรงข้าม เป็นอย่างไร
สุ. ตรงกันข้าม คือ มโนทวารปรากฏ
ถ. จะมีลักษณะอย่างไร
สุ. เวลานี้ไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จะไปให้อย่างไรๆ เหมือนเต่าที่อยู่ในกะลาครอบและบอกว่า ข้างนอกมีแสงสว่าง มีต้นไม้ มีอะไรหลายอย่าง เต่าก็ถามว่าอย่างไรๆ
ถ. ขอบคุณ
ถ. เมื่อสักครู่พูดถึงอดีตรูปารมณ์ อดีตรูป อดีตนามต่างๆ และ ท่านอาจารย์แสดงชัดว่า ถ้ารูปปรากฏเดี๋ยวนี้ ดับไปเมื่อไร เมื่อนั้นเรียกรูปอดีต อย่างนี้ถูกไหม
สุ. ใช่
ถ. และเมื่อไรบัญญัติเป็นอารมณ์ของจิตต่างๆ บัญญัติเหล่านั้นไม่ได้เป็นอดีตอะไรเลย
สุ. เป็นความคิดนึก เป็นเรื่องราว เป็นความทรงจำ
ถ. เพราะฉะนั้น เราจะใช้คำว่า อดีตรูป อดีตนาม กับสิ่งที่หมดไปแล้ว จริงๆ อย่างนี้ถูกไหม
สุ. ใช่ เหมือนที่ถามว่า เมื่อวันก่อนมีคุณพรชัยไหม และจะให้ไปเห็น รูปไหน ในเมื่อรูปเกิดและดับไปอย่างรวดเร็วมาก มีแต่ความทรงจำเท่านั้นที่ยังคงเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั่นคือการรู้บัญญัติ
สำหรับจุดประสงค์ในการฟังพระธรรม ทุกท่านคงไม่ลืมว่า เพื่ออบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะถึงแม้จะได้ฟังแล้วฟังเล่า ฟังบ่อยๆ ว่า ตั้งแต่เกิดจนตายไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ทุกขณะเป็น สภาพธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะทางตาที่กำลังเห็น ทางหูที่ได้ยิน ทางจมูกที่ได้กลิ่น ทางลิ้นที่ลิ้มรส ทางกายที่กระทบสัมผัส ทางใจที่คิดนึก ตลอดชีวิตเป็นธรรมหมด แต่อวิชชาไม่สามารถรู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ก็มีอัตตสัญญา มีความจำ สิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุต่างๆ
ด้วยเหตุนี้จึงต้องฟังเพื่อให้เข้าใจชัดในลักษณะของสภาพธรรม เพื่อการฟัง และการไตร่ตรองจะทำให้เกิดสัมมาสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลัง ปรากฏในขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง ถ้าไม่ฟังธรรมโดยละเอียด มีชีวิตไป วันหนึ่งๆ ก็ไม่รู้ว่า แต่ละขณะที่มีชีวิตเป็นไปในทุกวันๆ นั้นเป็นไปในมิจฉาปฏิปทา หรือสัมมาปฏิปทา ตามข้อความใน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ปฏิปทาสูตร ที่ได้กล่าวถึงแล้วในคราวก่อนซึ่งแสดงว่า
ชีวิตคือนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นในวันหนึ่งๆ นั้น ถ้าเป็นไปในทาง ฝ่ายเกิดคือเป็นไปในปฏิจจสมุปปาทแล้ว เป็นมิจฉาปฏิปทา แต่ถ้าเป็นไปในทาง ฝ่ายดับ จึงจะเป็นสัมมาปฏิปทา
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๖ ตอนที่ ๒๐๕๑ – ๒๐๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081