แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
ครั้งที่ ๒๐๒๒
สาระสำคัญ
ผู้ร่วมเดินทางมานมัสการสังเวชนียสถานครั้งนี้แสดงทัศนะทางธรรมความเข้าใจธรรม และประสบการณ์การศึกษาธรรมของตนเอง (ต่อ)
เรื่องตัตตรมัชฌัตตตาในชีวิตประจำวัน
เป็นอยู่ไปวันๆ ด้วยการเจริญปัญญาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
สาระของชีวิตคือ ความเข้าใจธรรม
สติไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ปัญญา
สติขั้นทาน ศีล และภาวนา
การขอขมาพระรัตนตรัย
ธรรมอยู่ที่ตัวทุกคน ทุกขณะจิต
สนทนาธรรมที่พุทธคยา
วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
นมัสการและสนทนาธรรม ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ หน้าพระคันธกุฎี
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
ผู้ฟัง การศึกษาและปฏิบัติธรรม วัตถุประสงค์จริงๆ ต้องเป็นการรู้แจ้งธรรม และจุดประสงค์สูงสุดต้องถึงนิพพาน วิธีขัดเกลากิเลสที่เป็นศัตรู เราต้องรู้ก่อนว่า ศัตรูตัวแรก คือ มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเกิดร่วมกับโลภะ และต้องขจัดศัตรูตัวนี้โดยมีปัญญา อย่างอื่นจะขัดเกลากิเลสหรือทำลายศัตรูตัวนี้ไม่ได้เด็ดขาด ต้องปัญญาเท่านั้น
ปัญญามาจากไหน ปัญญาต้องมีมาตั้งแต่การฟัง การฟังเป็นวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าไปเพื่อเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งทำให้เกิดทั้งปัญญาและสติต่างๆ ถ้า ไม่มีวัตถุดิบป้อนเข้าไป ทั้งสติและปัญญาเข้ามาไม่ได้เลย ยิ่งมีวัตถุดิบมากเท่าไร ก็จะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งตั้งแต่พิจารณาธรรม ศึกษาธรรม เพื่อที่จะเข้าใจ สภาพธรรมที่เรายึดถือด้วยความเห็นผิดนี้
ความเห็นผิด เป็นศัตรูมหาศาลที่เรายึดติดไว้ตั้งกี่ภพกี่ชาติแล้ว ทำลายยากที่สุด ต้องค่อยๆ ทำลาย คือ ค่อยๆ เข้าใจ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คือ มีสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความ เป็นจริงที่กำลังปรากฏ ซึ่งหมายถึงขณะนี้ และตามปกติในชีวิตประจำวัน ให้รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ
ถ้าเข้าใจข้อความนี้ ซึ่งท่านอาจารย์พูดเป็นหมื่นๆ ครั้ง ท่านผู้ใดตีความได้ถูกต้อง ก็เจริญสติปัฏฐานได้ถูกต้อง
ถ. ดิฉันพูดไปแล้วเมื่อวาน แต่เผอิญมีอะไรอยู่ตรงหน้าก็เลยสนใจ ขอกราบเรียนถามอาจารย์ว่า เขาเห็นอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น
สุ. เรื่องเขา คือ โลกของเขา เรื่องเรา เห็นอะไร และเรารู้สึกอย่างไร ถ้าเรามัวแต่นึกถึงเขา เราจะเสียเวลาไปนึกถึงสารพัดเรื่องที่เขาสะสมมา เขาสะสมอะไรมาอย่างไร แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นความนึกคิดของเราเอง ไม่ต่างอะไรกับโกโบริ ในทีวี คือ เราเห็นอะไรก็ตาม ก็จูงใจเราไปเลย เมื่อวันก่อนคุณนีน่าถามว่า ภาษาไทยคำนี้แปลว่าอะไร คือ เห็นอะไรก็ปล่อยใจไปตามโลภะ
ขณะนี้คุณมาลินีเห็น นึกเลย และอยากจะค้นคว้า อยากจะหาเหตุ แต่ แท้ที่จริงแล้วย้อนมาถึงใจของเราเองว่า ช่างคิด เพราะเพียงเห็น จริงๆ แล้วควรจะ รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา และจิตในขณะที่กำลังคิดตามก็เป็น สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ห้ามคิดตาม เห็นแล้วก็รู้ด้วยว่ากำลังทำอะไร และถ้าอยากคิดว่า ทำไมเขาเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีใครไปบังคับบัญชาหรือไปห้ามว่า อย่าคิดอย่างนี้ ในพระพุทธศาสนาไม่มีเลยที่จะห้าม ไม่ให้ทำอย่างนั้น ไม่ให้ทำอย่างนี้ แต่ขณะใดที่คิดก็คือสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่คิด อาจจะคิดไปตั้งไกลโดยหลงลืมสติ เมื่อระลึกได้ก็ชั่วคิดและหมดแล้ว เห็นนี้ก็ไม่ใช่คิด ได้ยินเสียงนกร้องก็ไม่ใช่คิด แต่ที่ใช้คำว่า นกร้อง เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นเสียงหนึ่ง แต่ตามความจริงแล้วเป็นเพียงเสียง ที่ได้ยิน ซึ่งก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง กลับมาเห็นอีก กลับมาดูเขาอีก กลับมา นึกอีก แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของจิตว่ารวดเร็วมากทีเดียว เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะเจริญและรู้แจ้งลักษณะของจิตซึ่งเพียงเกิดขึ้นและดับไป และสารพัด ที่จะคิด ชาติแล้วชาติเล่า
ชาตินี้ก็มีเรื่องคนนี้แซมมาให้คิด ในเสี้ยวของชีวิต ใช่ไหม ซึ่งมากมาย หลายเรื่องเหลือเกิน แม้กระนั้นก็ยังติดตามไปสนใจคิดสิ่งที่ผ่านมาในเสี้ยวของในชีวิต เพราะฉะนั้น เรื่องอื่นละ เราจะไม่คิดมากยิ่งกว่านี้หรือ เกิดมาแล้วก็เห็น แล้วก็ได้ยิน แล้วก็คิด แล้วก็สุข แล้วก็ทุกข์ จบไปชาติหนึ่ง และก็เกิดใหม่ เห็นใหม่ ได้ยินไป คิดไป นึกไปอีกเรื่องหนึ่ง ใน ๒,๕๐๐ กว่าปี หรือย้อนไปถึงแสนโกฏิกัปป์ ก็เป็นอย่างนี้ เมื่อไรจึงจะได้รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อจะได้ ไม่อยู่ไปวันๆ ด้วยความเพลิดเพลินบ้าง หรือด้วยความไม่พอใจบ้าง ด้วยสารพัด คิดบ้าง แต่เป็นอยู่ไปวันๆ ด้วยการเจริญปัญญาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เพื่อจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม แม้แต่เพียงเห็นอย่างนี้ หลายคนอาจจะชวนกันคิดต่อไปอีก มาวิจารณ์กันซิว่า เขาสะสมอะไรมา แต่จะประโยชน์อะไรเท่ากับการระลึกได้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ และในขณะนี้ก็เป็นจิตที่คิด และทันทีที่เสียงปรากฏก็ไม่ใช่ขณะที่คิด ทันทีที่เห็นก็ ไม่ใช่ขณะที่เสียงปรากฏ ค่อยๆ ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะการชนะกิเลสนั้นแสนยาก โลภะครอบงำตลอดกาล แทบจะกล่าวได้ว่า ระหว่างที่โทสะไม่เกิด หรืออกุศลอื่นไม่เกิด เรามีความต้องการไปเสียทุกอย่าง ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ชั่วขณะ อย่างต้องการรสอร่อย ก็ชั่วขณะที่กำลังบริโภคจริงๆ อิ่มแล้วเอามาให้อีกเอาไหม ก็ไม่เอาแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องการไม่ยั่งยืน แม้รสอร่อยก็ชั่วครั้งชั่วยาม สิ่งที่ทางตาเห็นก็ชั่วขณะ ทางหูได้ยินก็เท่านั้นเอง และหมดไปๆ
สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นและดับไป คือ ไป ไป ไป ไปหมดเลย ไม่เหลือเลยสักนิดเดียวตลอดเวลา ไม่มีอะไรที่เกิดปรากฏแล้วจะไม่หมด เพราะฉะนั้นเราอยู่กับสิ่งที่ว่างเปล่า คือ คอยติดตามสิ่งที่เพียงเกิดและดับ เกิดและดับ ๆ หมดไปเรื่อยๆ
ถ้าเราเข้าใจสาระของชีวิต คือ ความเข้าใจธรรม และพยายามที่จะฟัง พิจารณา และไม่ลืม ประโยชน์สูงสุด คือ ความเข้าใจนี้ติดตามไปได้ ในเมื่อเรื่องราวทุกอย่างจบชาติหนึ่งก็หมดแล้ว เวลานี้เขาก็หายไปแล้ว เขาก็อยู่ไม่ได้ และยังมี อย่างอื่นที่จะทำให้คุณมาลินีเห็นต่อไปอีก และคิดต่อไปอีก แต่ก็ระลึกลักษณะสภาพของจิตของเราได้ว่า ประโยชน์สูงสุด คือ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จะทำให้เราลดความคิดเรื่องอื่นน้อยลงเยอะ เพราะรู้ว่าเท่านั้นเอง เขาจะเป็นอะไรก็เพียงปรากฏ ให้เราเห็น และหมดไป เท่านั้น
ถ. ขอบพระคุณท่านอาจารย์ และผู้หญิงคนนั้นด้วย ที่ทำให้ดิฉันได้ถาม
ถ. ฟังคุณประสิทธิ์เล่าที่ท่านอาจารย์สอน ซึ่งดิฉันก็ได้ฟังด้วยว่า สติระลึกรู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งท่านอาจารย์บอกว่า สติจะเกิดขึ้น ต้องระลึกรู้ทางทาน ศีล และภาวนา ดิฉันอยากทราบว่า ๒ สตินี้เป็นตัวเดียวกัน หรือเปล่า ระดับเดียวกันหรือเปล่า หรือระดับต่างกันอย่างไร ดิฉันสับสนว่า เมื่อไรดิฉันจึงมีสติระลึกรู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ และเมื่อไรดิฉันจึงมีสติระลึกรู้ ทาน ศีล ภาวนา
สุ. ก็เป็นประโยชน์มาก เพราะว่าสติเป็นความไม่ประมาท ขณะที่กำลัง ให้ทาน ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรมก็เป็นเราที่กำลังให้ทาน แต่เมื่อได้ศึกษา เข้าใจปรมัตถธรรมก็ทราบว่า เมื่อไม่มีเรา ก็มีแต่นามธรรมและรูปธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ในขณะที่กำลังให้ทานต้องเป็นจิตที่เป็นกุศล จึงระลึกเป็นไปในการให้วัตถุที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น และจิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้เลย สภาพธรรมใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น จะเกิดตามลำพังอย่างเดียวไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจิตก็ดี เจตสิกก็ดี รูปก็ดี รูปจะเกิดขึ้นมาตามลำพังเพียงรูปเดียวไม่ได้ จิตจะเกิดขึ้นมาตามลำพังเพียงจิตไม่ได้ เจตสิกจะเกิดขึ้นมาตามลำพังเพียงเจตสิกก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เกิด มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิดร่วมกัน แต่ แยกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ นามธรรมก็เป็นนามธรรมล้วนๆ ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่เจือปนด้วยรูปชนิดหนึ่งชนิดใดเลย ส่วนรูปธรรมก็เป็นรูปธรรมเท่านั้น เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย จะเป็นกลิ่นที่หอม จะเป็นรสที่หวาน จะเป็นสีที่น่าดู สภาพต่างๆ เหล่านั้นทั้งหมดไม่ใช่สภาพรู้ รูปธรรมจึงเป็นรูปธรรมล้วนๆ นามธรรมก็เป็นนามธรรมล้วนๆ แต่นามธรรมอาศัยรูปธรรมได้ และรูปธรรมเกิด เพราะนามธรรมก็ได้ แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกันของภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือ ทั้งจิต เจตสิก รูป หรือนามธรรมและรูปธรรม
สำหรับสติ ไม่ใช่จิต เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการ รู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาเป็นสภาพที่เข้าใจชัดในลักษณะ ของสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง แต่จิตเป็นแต่เพียงสภาพที่รู้แจ้งลักษณะ ของอารมณ์
คุณสุรีย์เคยเห็นทั้งแก้วและเพชรซึ่งต่างกัน ถ้าจิตไม่เป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์จริงๆ จะบอกไม่ได้ว่า อันไหนเป็นเพชรแท้ อันไหนเป็นเพชรเทียม อันไหนเป็นเพียงเศษแก้ว เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังเห็น จิตเป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ชัดเจน แต่เจตสิกที่เกิดกับจิตต่างทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ แต่ละชนิด สำหรับสติ เป็นโสภณเจตสิกที่ต้องเกิดกับโสภณจิต คือ จิตที่ดีงาม เท่านั้น ภาษาไทยเราใช้คำไขว้เขว คือ เปรอะไป โดยไม่ได้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม โดยใช้ว่า เดินไปไม่หกล้มก็มีสติ นั่นไม่ถูก เพราะว่าสติเป็นโสภณสาธารณเจตสิก เกิดกับโสภณจิตคือจิตที่ดีงามเท่านั้น และจิตที่ดีงามก็เป็นไปในเรื่องของทาน การสละวัตถุเพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น เป็นไปในเรื่องของศีล ความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม งดเว้นทุจริตต่างๆ และประพฤติสุจริตต่างๆ สำหรับทางใจ แม้ขณะนั้นไม่มีโอกาสเป็นไปในเรื่องทาน ในเรื่องศีล แต่ใจทุกคนเป็นอกุศล ต่อเมื่อใดสติเกิดระลึกได้ จึงเป็นกุศล
เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังให้ทาน ไม่ใช่คุณสุรีย์ให้ แต่เป็นจิตและเจตสิก ที่เป็นกุศล โดยสติเป็นสภาพที่ระลึกที่จะให้ คิดที่จะให้ ถ้าจะเข้าใจว่าสติมีลักษณะอย่างไร ก็คือ สติเป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล ไม่ใช่คุณสุรีย์อีกต่อไป ขณะที่กำลังจะให้ทอฟฟี่เด็ก ก็คือสติระลึกเป็นไปที่จะให้ทอฟฟี่ ขณะที่จะช่วยใคร ยกของ ขณะนั้นก็เป็นสติที่ระลึกเป็นไปที่จะช่วยคนอื่น ซึ่งเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา จึงเป็นสติขั้นศีล ฉะนั้น สติจึงมีหลายระดับขั้น เช่นเดียวกับอวิชชา ก็มีหลายระดับขั้น โลภะมีหลายระดับขั้น โทสะมีหลายระดับขั้น ไฟที่ร้อน นิดเดียว ก็ร้อน ไฟกองใหญ่ที่เผาบ้านเผาเมืองได้ก็ร้อนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สภาพธรรม แต่ละอย่างเปลี่ยนลักษณะของตนเองไม่ได้ สติจะเปลี่ยนเป็นปัญญาไม่ได้ ไม่ใช่ว่า มีสติบ่อยๆ เข้าก็จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่อย่างนั้น สติเป็นสภาพที่ระลึก เพื่อให้ปัญญาเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น จนกว่าปัญญาจะรู้แจ้งชัดจริงๆ
สติขั้นทานก็คือขณะที่กำลังให้ทาน สติขั้นศีลก็คือขณะที่วิรัติทุจริต มีความประพฤติทางกายทางวาจาที่เหมาะที่ควร ขณะที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นไม่มีสติ แต่สติระลึกได้เป็นกุศล ขณะนั้นเป็น สติขั้นสมถะ และสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง
ถ. ถ้าระลึกรู้ความจริงของธรรมชาติ คำว่า ธรรมชาติ ต้องเป็นกุศลเสมอใช่ไหม ประโยคที่ว่า สติระลึกรู้ความจริงของธรรมชาติ ที่อาจารย์อธิบาย ต้องอยู่ในเรื่องของกุศลทั้งนั้นใช่ไหม ถ้าเป็นอกุศลจะไม่เกิดสติ
สุ. ถ้าใช้คำว่า ธรรมชาติ อาจจะหละหลวมไป ทำให้เราเองอาจไม่แน่ใจ และคนฟังก็อาจจะไม่แน่ใจว่า เราหมายถึงอะไร เพราะว่าเป็นภาษาไทย
ถ้ากล่าวถึงธรรม หมายถึงสิ่งที่มีจริง และมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างด้วย เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวว่า สติระลึกลักษณะของธรรม จะต้องมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นลักษณะหนึ่ง เสียงที่ปรากฏทางหูเป็นอีกลักษณะหนึ่ง กลิ่นที่ปรากฏทางจมูกก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราสามารถรู้ธรรมได้ โดย ๕ ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนทางใจนั้น รู้ได้ทั้งหมด คือ สีก็รู้ได้ เสียงก็รู้ได้ กลิ่น รส สัมผัส ใจคิดนึกได้หมด จึงต้องชัดลงไปว่า ปรมัตถธรรมอะไร
ด้วยเหตุนี้เป็นประโยชน์มากที่จะเริ่มเข้าใจปรมัตถธรรมเสียก่อน ก่อนที่จะ ไปพูดเรื่องอริยสัจจ์ ไปพูดเรื่องขันธ์ ไปพูดเรื่องอายตนะ เพราะไม่ว่าจะเป็นอริยสัจจ์ ก็ต้องปรมัตถ์อะไร ไม่ว่าจะเป็นขันธ์ ก็ปรมัตถ์อะไร ไม่ว่าจะเป็นอายตนะ ก็ปรมัตถ์อะไร ไม่ว่าจะเป็นธาตุแต่ละธาตุ หรือธรรมแต่ละอย่าง ก็ต้องปรมัตถ์อะไร
ทุกคนก็ได้มีชีวิตผ่านมาในสังสารวัฏฏ์ที่ยาวนาน และมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ซึ่งไม่ทราบว่าในกาลครั้งไหนบ้าง และความประพฤติ ที่เป็นไปต่อพระรัตนตรัยในแต่ละภพแต่ละชาติ บางคนอาจจะไม่ได้รำลึกสำนึกว่า ได้มีการล่วงเกินพระรัตนตรัยทางกาย ทางวาจา ทางใจ โดยประการใดบ้าง
ณ โอกาสบัดนี้ ขอให้ทุกคนได้น้อมระลึกถึงโทษผิดซึ่งอาจจะมี หรือแม้ว่าอาจจะไม่เคยมีในปัจจุบันชาติ แต่อาจจะเป็นในชาติก่อนๆ ก็ได้ เพื่อจะได้ขอขมา พระรัตนตรัยโดยพร้อมเพรียงกัน
ขอเชิญว่าตาม
บุญใดอันข้าพเจ้าผู้ไหว้พระรัตนตรัยได้ประกอบแล้วในทวีปนี้ ด้วยเดชะบุญนั้น อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า กรรมอันน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จงทรงงดโทษนั้นประทานแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้สังวรระวังในพระรัตนตรัยต่อไป
นมัสการและสนทนาธรรม ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ หน้าพระคันธกุฎี
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
นีน่า เมื่อเช้านี้ดิฉันคุยกับอาจารย์สุจินต์ก่อนทานอาหารเช้า อาจารย์บอกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ดิฉันได้ยินอีกหลายครั้งๆ นี่เป็นวิธีช่วยดิฉัน เพราะถ้าทุกอย่างวุ่นวาย มีแขกเยอะแยะ เสียงดัง ดิฉันจะเดือดร้อนที่สุด แต่ไม่เป็นไร เพราะว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และอาจารย์สุจินต์บอกว่า เดี๋ยวนี้มีธรรมที่ปรากฏตลอดเวลา
ดิฉันสงสัย สติปัฏฐานกับความคิดต่างกันอย่างไร ธรรมดาต้องมีความคิด มากๆ แต่มีสติด้วย เช่น มีแข็ง ถ้ามีสติและปัญญาด้วยเริ่มศึกษารู้ว่า แข็งไม่ใช่ แข็งของร่างกายดิฉัน เป็นเพียงแข็งเท่านั้น แต่มีโลภะด้วยที่อยากจะรู้ อยากจะมีสติ และเราสงสัยเสมอ แต่แน่ใจมีโลภะ ต้องรู้ด้วย เพราะว่าเป็นวิธีเจริญปัญญา
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๒๐๓ ตอนที่ ๒๐๒๑ – ๒๐๓๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2016
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2017
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2018
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2019
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2020
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2080
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 2081