พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
ตอนที่ ๑๕๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าถ้ากล่าวในลักษณะที่ว่านิพพานเป็นปรมัตถธรรมซึ่งไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป เพราะเหตุว่า จิต เจตสิก รูป เป็นปรมัตถธรรมที่เกิดดับ แต่ว่าขณะนี้ลักษณะของนิพพานซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เกิด เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ปรากฏ แต่สิ่งที่กำลังปรากฏต้องเข้าใจว่าเกิดแล้วจึงปรากฏ และเมื่อเกิดแล้วก็ดับไป เป็นทุกข์หรือไม่
ผู้ฟัง สภาวะเช่นนี้เป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพของนิพพานซึ่งไม่มีการเกิดจึงเป็นสุข คือ สงบจากทุกข์ทั้งปวงในความหมายที่ว่าไม่ใช่สุขเวทนา ตรงกันข้ามกับทุกข์เพราะสงบจากการเกิด สงบจากทุกข์ทั้งปวง และก็เป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต ขณะที่โลกุตตรจิตเกิดต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถที่จะเป็นโลกุตตรจิตได้
ผู้ฟัง เพื่อความเข้าใจของอารมณ์โลกุตตรจิตในนิพพานนั้น
ท่านอาจารย์ สภาพของนิพพาน
ผู้ฟัง มีปัญญา
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ นิพพานไม่ใช่จิต ถ้าปัญญาก็เป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ลองคิดถึงอารมณ์ธรรมดาในชีวิตประจำวันไม่พ้นจากสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คิดนึกก็คิดนึกเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กี่ชาติ ไม่เบื่อหรือ ก็แค่นี้ แค่สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็ไม่เที่ยงด้วย ยังไม่สามารถที่จะถึงการที่จะประจักษ์แจ้งอารมณ์หนึ่งซึ่งพ้นจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด สิ่งใดที่สติ และปัญญากำลังรู้ สิ่งนั้นก็เป็นสติปัฏฐาน ถ้ารู้ลักษณะของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานก็คืออารมณ์ซึ่งสติกำลังระลึกรู้พร้อมปัญญา ไกลแสนไกลไหมกว่าจะรู้ลักษณะของธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งต่างกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่าพื้นฐานพระอภิธรรมนั้นจะเป็นพื้นฐานอย่างนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงพระอรหันต์หรือบรรลุถึงพระอรหัตตผลใช่หรือไม่ ขอความกรุณาท่านอาจารย์กล่าวถึงการศึกษาพระอภิธรรม
ท่านอาจารย์ การศึกษาพระอภิธรรม ศึกษาเรื่องอะไร เรื่องธรรม และธรรมที่เป็นอนัตตาด้วย เมื่อไรที่รู้แจ้งในความเป็นอนัตตาจนกระทั่งดับกิเลสหมดก็ถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่กว่าที่จะรู้ว่าเป็นเรื่องธรรม ตัวตนก็เข้ามาเสียมากมายจนกว่าจะมีความมั่นคงจริงๆ ว่าเป็นธรรม และบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ว่าธรรมอะไรจะเกิดในขณะนี้ก็เกิดแล้วปรากฏเพราะเหตุปัจจัย นี่คือความเข้าใจที่มั่นคง แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจที่มั่นคงในสัจจญาณที่เป็นความจริงของสภาพธรรมอย่างนี้ แล้วสติสัมปชัญญะจะเกิดได้อย่างไร แม้แต่สติสัมปชัญญะเกิดแล้ว พื้นฐานความมั่นคงว่าเป็นธรรม และเป็นอนัตตา มากแค่ไหน เพราะว่าเมื่อมีสติสัมปชัญญะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นเราอีกแล้ว เพราะฉะนั้นพื้นฐานอยู่ตรงไหน มั่นคงระดับไหน เพราะฉะนั้นการฟังธรรมจะไม่พ้นจากสิ่งที่มีจริงๆ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเราด้วยความไม่รู้ สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นสิ่งของต่างๆ และเป็นเราที่รู้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นฐานจริงๆ ก็พ้นไปไม่ได้เลยที่จะต้องมีความเข้าใจอย่างมั่นคง แม้แต่ในขั้นการฟังทุกครั้งทุกชาติว่าเป็นแต่เพียงธรรม จนกว่าจะประจักษ์แจ้งความจริงอย่างนั้น เพราะเหตุว่าพื้นฐานพระอภิธรรมไม่ใช่ให้จำชื่อ แต่เป็นพื้นฐานจะให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วชื่อก็มี จะกล่าวถึงอายตนะ จะกล่าวถึงโลภมูลจิต จะกล่าวถึงกุศลจิต จะกล่าวถึงอะไรทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันที่จะต้องมีความเข้าใจว่าเป็นธรรมให้มั่นคง และก็เป็นอนัตตาด้วย และก็มีความอดทนด้วย บางคนบอกว่าแล้วจะอดทนทำอะไร เมื่อไร เหมือนกับว่าแล้วการฟังไม่ได้อดทนเลย ไม่ได้ไปอดทนนั่งทำอะไร แต่อดทนเพื่อที่จะรู้ว่าฟังแล้วมีความเข้าใจเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน นี่คือกำลังอดทนอยู่โดยที่ว่าไม่จำเป็นต้องไปทำความอดทน เพราะเหตุว่าถ้าไปทำอย่างอื่นแล้วคิดว่านั่นกำลังอดทนทำ ก็ไม่ใช่ ไม่รู้จักเลยแม้อดทนที่กำลังมีอยู่ตามความเป็นจริง นี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจว่าทุกชื่อที่มีที่ทรงแสดงไว้กำลังมีในขณะนี้ แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม หรือว่าจะเป็นรูป หรือว่าจะเป็นปัญญาระดับไหน ก็เป็นสิ่งที่ได้ทรงแสดงไว้ที่ผู้นั้นจะต้องรู้ด้วยตัวเอง
ผู้ฟัง เรียนถามถึงสภาพของอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ มีความสงสัยว่าสิ่งที่ปรากฏทางตากับรูปารมณ์เป็นคนละอย่าง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา จะเรียกชื่อไหม จะเรียกอะไรก็ได้ แต่ว่าลักษณะจริงๆ ก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าเมื่อมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้ว ก็จะไม่อยู่แค่เพียงสิ่งที่ปรากฏซึ่งเป็นรูปร่างสัณฐานเป็นสีสันวัณณะ โดยที่เมื่อปรากฏก็เป็นเพียงลักษณะที่สามารถปรากฏทางตาได้ แต่เมื่อสิ่งนั้นปรากฏแล้วจิตจะเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก เช่น ในขณะนี้ เห็นอะไร มีการทรงจำรูปร่างสัณฐาน และก็รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร ซึ่งขณะนั้นล่วงเลยขณะที่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นจักขุวิญญาณ (จิตเห็น) จะเพียงเห็นอย่างเดียว คิดนึกไม่ได้ จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ไม่ได้ มีกิจเดียวคือเห็นสิ่งที่ปรากฏ แต่เมื่อจิตนี้ดับไปแล้ว และรูปก็มีอายุที่สั้นมาก คือมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ลองคิดดูว่ารูปเล็กน้อย และก็เกิดดับเร็วแค่ไหน เพราะขณะนี้เหมือนเห็นด้วยได้ยินด้วย แต่ปรากฏว่าระหว่างจิตเห็นกับจิตได้ยิน มีจิตเกิดดับเกิน ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นรูปจะดับเร็วสักแค่ไหน แม้เป็นรูปที่ปรากฏทางตา นี่คือความรวดเร็วของการเกิดดับของสภาพธรรม ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏว่าเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีเรื่องราวใดๆ จากสิ่งที่ปรากฏ แต่ด้วยความไม่รู้ และด้วยการที่จำได้ทางใจ ไม่ใช่ทางตา คิดนึกเป็นเรื่องของใจว่าขณะนี้กำลังเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเมื่อวาระทางใจดับไปแล้ว ทางตาก็เกิดสลับอย่างเร็วจนเหมือนไม่ดับเลย ทำให้ทันทีที่เห็นก็รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร และอาจจะเข้าใจว่าเห็นคน เห็นโต๊ะ ลืมลักษณะของรูปารมณ์ซึ่งเป็นเพียงธาตุที่สามารถกระทบกับจักขุปสาท และจิตเห็นก็เกิดขึ้นเห็นชั่วขณะแล้วก็ดับไป แล้วจิตอื่นก็เกิดสืบต่อ แม้อย่างนั้นระหว่าง ๑๗ ขณะที่มีอายุสั้นมากก็ยังเป็นปัจจัยให้โลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ หรือกุศล หรือกิริยาจิตของพระอรหันต์เกิดได้ในระหว่างที่รูปยังไม่ดับ
เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วเห็นอะไร มีสิ่งที่ปรากฏทางตาซึ่งใช้คำว่า “รูปารมณ์” เป็นอารมณ์ที่มีจริง สามารถปรากฏได้ แต่อายุสั้นมาก ต่อจากนั้นก็มีการรู้สิ่งนั้นทางใจสืบต่อ เพราะฉะนั้นขณะนี้จริงๆ ถ้าจะกล่าวว่าเห็นอะไร อายุ ๑๗ ขณะของรูปที่เกิดแล้วก็ดับไป แต่ก็เกิดอีก ซ้ำกัน ซ้ำกัน ไม่ใช่ให้เราไปเจาะจงรู้รูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ เพราะว่าอย่างไรๆ ก็ตาม ขณะนี้ก็เกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็มีการเกิดดับสืบต่อ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีก็คือนิมิตคือสัณฐานแสดงให้ปรากฏว่ามีรูปารมณ์ แต่เรื่องราวก็แทรกอยู่มากเลยในรูปารมณ์ พอเห็นก็เป็นผักสด รองเท้า เป็นอะไรทุกอย่าง ถ้าไปตลาดก็มีเรื่องของการคิดนึกในสิ่งที่กำลังปรากฏมากมาย เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า จริงๆ แล้วมีสิ่งที่ปรากฏกับนิมิตของสิ่งที่ปรากฏสลับกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าเราไม่ได้ศึกษา เราก็จะมีการทรงจำแต่เรื่องนิมิตของสัณฐานของสิ่งที่เกิดดับทั้งนั้น เป็นเหมือนกับอวิชโชฆะ ทะเลของอวิชชาคือไม่รู้ความจริงตั้งแต่เห็น และได้ยินทั้งวัน ก็ปรากฏเป็นเรื่องราวต่างๆ
ผู้ฟัง อารมณ์ หมายถึงจิตรู้ เช่นเวทนา เป็นความรู้สึกหรือเป็นอารมณ์ ปรากฏได้จริงในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังไม่ใช่อารมณ์ในลักษณะของสิ่งที่จิตรู้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีความรู้สึกเกิดขึ้นจะปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนั้นกำลังรู้มีความรู้สึกนั้น เช่น เจ็บ จะบอกไม่รู้ไม่ได้ ลักษณะนั้นมีจริงแต่เพราะการเกิดดับเร็วมาก สลับกับทางนั้นๆ กับทางใจ เพราะฉะนั้นทางใจจะรู้เรื่องทุกอย่าง มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้สืบต่อจากทางปัญจทวาร เพราะฉะนั้นเวลาที่กล่าวถึงรูปารมณ์หมายความถึงสิ่งที่สามารถปรากฏทางตา และรู้ได้ทางตา และทางใจ ๒ อย่าง รูปารมณ์ยังคงเป็นรูปารมณ์ไม่ว่าจะรู้ได้ทางไหน จะเปลี่ยนลักษณะของรูปารมณ์ไม่ได้ เช่น ในขณะนี้รูปารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏกับจักขุวิญญาณ และจักขุทวารวิถีจิต คือจิตใดๆ ก็ตามที่อาศัยจักขุวิญญาณ และเกิดขึ้น และมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เราจะไม่รู้ปัญจทวาราวัชนจิตซึ่งเกิดก่อนจักขุวิญญาณ ไม่รู้จักสัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเกิดต่อจากจักขุวิญญาณ ไม่รู้จักสันตีรณจิตซึ่งเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนจิต ไม่รู้โวฏฐัพพนจิต ไม่รู้แม้อกุศลหรือกุศลซึ่งเกิดสืบต่อ ซึ่งโดยมากยากที่จะเป็นกุศลเพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่จะให้อกุศลเกิด ยากอย่างนี้ และจนถึงเมื่อกุศลเกิดได้จนถึงกิริยาจิตเกิดต่อจากที่เห็นได้จริงๆ นี่ก็เป็นความละเอียดอย่างมากของจิตซึ่งเกิดดับสลับอย่างรวดเร็ว ก็แสดงให้เห็นว่าตามปกติธรรมดา เราจะไม่รู้อย่างนั้น เราจะรู้เพียงว่าเห็นแล้วรู้สิ่งที่เห็นเป็นอะไร แต่ต้องแยกว่าในขณะที่รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไรก็มีสิ่งที่ปรากฏสลับแยกไม่ออกเลย รวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นรูปารมณ์ไม่ว่าจะรู้ทางตาหรือทางใจก็เป็นรูปารมณ์ในขณะนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นเปลี่ยนรูปารมณ์ คือ สิ่งที่สามารถจะปรากฏทางตา สัทธารมณ์คือสิ่งที่สามารถปรากฏทางหู คันธารมณ์คือสิ่งที่ปรากฏทางจมูกคือกลิ่น รสารมณ์คือรสต่างๆ ที่ปรากฏทางลิ้น และโผฏฐัพพารมณ์คือลักษณะเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวที่ปรากฏทางกาย เปลี่ยนให้เป็นอื่นไม่ได้ แต่รู้ได้ว่านอกจากรู้ทางปัญจทวารนี้แล้ว ทางมโนทวารก็รู้อารมณ์นั้น สืบต่ออย่างรวดเร็วซึ่งแยกไม่ได้ เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ให้เราไปนั่งแยกว่าขณะนี้กำลังเป็นรูปารมณ์หรือว่ารู้ทางตา หรือว่ารู้ทางใจ เพราะเหตุว่าการจะรู้อย่างนี้ได้จริงๆ ต้องเป็นวิปัสสนาญาณซึ่งสภาพธรรมปรากฏทางมโนทวาร เมื่อนั้นก็จะรู้ว่ามโนทวารสามารถที่จะรู้ทุกอย่างต่อจากทางปัญจทวารได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นรูปารมณ์ที่รู้ได้ทางตายังคงเป็นรูปารมณ์แม้ว่ารู้ได้ทางใจ
เพราะฉะนั้น สำหรับธัมมารมณ์ทางใจโดยเฉพาะ จะมีอารมณ์ทั้งหมด ๖ อย่าง ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๑ ทั้ง ๕ อารมณ์นี้ใจก็รู้ด้วย แต่สำหรับอารมณ์เฉพาะของทางใจไม่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จึงชื่อว่าธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่านอกจากอารมณ์ ๗ นี้แล้วที่เหลือเป็นธัมมารมณ์เพราะเหตุว่าสามารถจะรู้ได้ทางใจ อารมณ์ใดๆ ก็ตามที่สามารถจะรู้ได้ทางใจอารมณ์นั้นเป็นธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้นพื้นฐานพระอภิธรรมก็คือว่าให้เรามีความเข้าใจถูกต้องมั่นคง ไม่สับสน แม้ในคำว่า “ธัมมารมณ์” ก็เป็นอารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจ ไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น จิต และเจตสิก ปสาทรูป สุขุมรูป นิพพาน บัญญัติ ไม่สามารถจะรู้ได้ทางทวารทั้ง ๕ จึงเป็นธัมมารมณ์
ผู้ฟัง สภาพเจ็บ ก็ต้องตอบว่าเป็นทางใจแน่นอน
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ถ้าความเจ็บแปลออกมาก็เป็นความทุกข์ทางกาย
ท่านอาจารย์ ลักษณะนั้นต้องเป็นความทุกข์ทางกายแน่เพราะเจ็บ จะเป็นทางอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่จิตรู้
ท่านอาจารย์ เจ็บเป็นอะไร
ผู้ฟัง เจ็บเป็นความรู้สึก
ท่านอาจารย์ รู้ได้ทางไหน จะรู้ลักษณะของสภาพเจ็บ เจ็บปวดรู้ได้ทางไหน
ผู้ฟัง จริงๆ รู้ได้ทางใจ
ท่านอาจารย์ จริงๆ ก็จริงๆ
ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้วก็ต้องเกิดทางกาย
ท่านอาจารย์ เจ็บอาศัยกายปสาท แต่ว่าจะรู้ลักษณะที่เจ็บไม่ใช่รู้แข็ง เพราะฉะนั้นถ้ารู้แข็ง โดยกายวิญญาณรู้แข็ง แต่สภาพที่เจ็บ กายวิญญาณที่รู้แข็งจะรู้เจ็บได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเจ็บรู้ได้ทางไหน
ผู้ฟัง รู้ได้ทางใจ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เวทนาประเภททุกข์ทางกายใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกทุกประเภทรู้ได้ทางใจ ความรู้สึกทุกประเภทไม่ใช่รูป ไม่ใช่สี ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นก็รู้ได้ทางใจ
ผู้ฟัง ยังสงสัยว่าเจ็บเป็นอารมณ์ที่รู้ทางกาย
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเจ็บ กายวิญญาณเกิดขึ้น มีเวทนาที่เป็นทุกข์เกิดร่วมด้วย ตัวเวทนาเป็นเจตสิก เป็นความรู้สึกซึ่งเกิดกับกายวิญญาณ เกิดกับทุกขเวทนา
ผู้ฟัง ลักษณะตึงกับร้อน
ท่านอาจารย์ คนละลักษณะ เจ็บกับตึง ตึงเป็นรูป ร้อนเป็นรูป เจ็บเป็นความรู้สึก คือต้องทราบว่ามีกายปสาท มีกาย และทั่วกายก็มีกายปสาทรูป ซึ่งเป็นรูปที่สามารถกระทบกับโผฏฐัพพะ กล่าวถึงเรื่องรูปกับรูปก่อน ยังไม่กล่าวถึงนามธรรม กายเป็นรูป ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็มีกายปสาทด้วยซึมซาบอยู่ กระทบกับเย็นหรือร้อนรูป ๑ อ่อนหรือแข็งรูป ๑ ตึงหรือไหวรูป ๑ ทั้ง ๒ นี้เป็นรูป กายปสาทก็เป็นรูป แล้วก็เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ก็เป็นรูป แต่จิตที่กำลังรู้สิ่งที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ทางกาย ขณะนั้นมีทุกขเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือมีสุขเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้ากายวิญญาณเป็นจิตรู้เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว สภาพรู้ ธาตุรู้ขณะนั้นเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ลักษณะที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว แต่ความรู้สึกที่เกิดร่วมกับสภาพรู้ในขณะที่มีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว จะต้องเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาเท่านั้นเป็นอื่นไม่ได้ เรายังไม่กล่าวถึงเจ็บหรือปวดเลย แต่เรากล่าวถึงเพียงว่าจิตที่อาศัยกายเกิดขึ้นรู้ เขารู้อะไรทางกาย ต้องรู้เย็น ขณะที่กำลังรู้เย็นรู้สึกอย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าเย็นมากก็ไม่สบาย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นความรู้สึกไม่สบายเป็นเวทนาเจตสิก
ผู้ฟัง ถ้าร้อนมากก็ไม่สบาย
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นเวทนาเจตสิกซึ่งเกิดกับกายวิญญาณ
ผู้ฟัง ก็เป็นเจ็บ
ท่านอาจารย์ เจ็บก็คือกายวิญญาณมีเวทนาที่เป็นทุกข์เกิดร่วมกับกายวิญญาณ ตัวกายวิญญาณขณะนั้นมีเวทนาที่เป็นทุกข์เกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ก็ต้องรู้ทางกายไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ รู้เย็นหรือร้อนทางกาย แต่ตัวจิตที่รู้เย็นหรือร้อนเกิดร่วมกับความรู้สึกเป็นทุกข์ในขณะที่รู้กำลังเย็นหรือร้อน
ผู้ฟัง ความเป็นทุกข์ก็รู้ทางกาย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จะรู้ความเป็นทุกข์ ความเจ็บ ความปวดหรือว่าเย็นร้อน ขณะนั้นมีสภาพที่จะรู้ได้ ๓ อย่าง คือ มีจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ คือ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว คือจิตนั้นเป็นกายวิญญาณ เพราะว่าขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่เป็นจิตที่รู้สิ่งที่กระทบกาย ตัวจิตเป็นสภาพที่รู้สิ่งที่กระทบกาย แต่จิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วเวทนาเจตสิกต้องเกิดทุกครั้ง จะไม่มีจิตสักประเภทเดียวที่ไม่มีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ในขณะที่กายวิญญาณกำลังรู้เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ขณะนั้นเวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยจะเป็น ๑ ใน ๒ คือ สุขเวทนาหรือเป็นทุกขเวทนา ในขณะที่กำลังกระทบเป็นสุขไหม ถ้าเป็นสุขในขณะนั้นก็คือสุขเวทนาเกิดร่วมกับกายวิญญาณที่กำลังรู้อารมณ์นั้น แต่ถ้าจะรู้ตัวความรู้สึก ขณะนั้นต้องเป็นทางใจ เฉพาะความรู้สึกขณะนั้นไม่ได้รู้เย็น ร้อน ไม่ได้รู้อ่อน แข็ง แต่กำลังมีความรู้สึกที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นการที่จะมีความรู้สึกนั้นเป็นอารมณ์ได้ ต้องเป็นจิตที่เกิดขึ้นทางใจ เพราะขณะนั้นไม่ได้รู้แข็ง
เวทนา ความรู้สึกในภาษาไทยก็คือเวทนาเจตสิก ความรู้สึกทุกประเภทเป็นเวทนาเจตสิก เหมือนทางตา เห็นสิ่งที่ปรากฏแต่รู้ว่าเป็นอะไรทางใจ ไม่ใช่ทางตาไปเห็นว่าเป็นคน เพราะฉะนั้นทางกาย ขณะที่กายวิญญาณรู้เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ก็เป็นจิตที่กำลังมีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ แต่ตอนที่เจ็บ และรู้ลักษณะที่เจ็บต้องรู้ได้ทางใจ เหมือนกำลังเห็นที่ว่าเป็นคนก็ต้องเป็นทางใจที่รู้ว่าเป็นคน ทางตาจะไม่รู้ว่าเป็นคน เพียงแต่เห็น
ผู้ฟัง คือเจ็บที่กาย
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเจ็บเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ แล้วที่จะรู้ลักษณะที่เจ็บได้ กายไปรู้เจ็บ รู้ไม่ได้ กายวิญญาณรู้เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง แต่เวทนา ความรู้สึกที่เกิดกับกายวิญญาณ ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เหมือนขณะนี้ที่กำลังเห็น ความรู้สึกขณะที่เห็นเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง เฉยๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความรู้สึกเฉยๆ เกิดกับจิตเห็น แต่ความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์เกิดกับกายวิญญาณ ไม่ใช่จักขุวิญญาณ
ผู้ฟัง กายวิญญาณก็มีเวทนาเกิดร่วมด้วยอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ขอแยกเป็นแต่ละทวาร เพื่อจะเข้าใจขึ้น ทางตา คุณหมอเห็นใช่ไหม แล้วชอบไหมสิ่งที่เห็น
ผู้ฟัง ชอบ
ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็น มีสิ่งที่ปรากฏ รู้ได้ทางตา หมายความว่าทางตาจะรู้อื่นไม่ได้ กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่เมื่อมีความรู้สึกที่ชอบที่รู้ลักษณะที่ชอบทางตาหรือทางใจ ลักษณะที่ชอบทางใจ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอีกส่วนหนึ่ง ต้องอาศัยจิตเห็นทางตา แต่ส่วนความรู้สึกที่เป็นชอบเกิดขึ้น และรู้ในอาการที่ชอบ ลักษณะที่ชอบต้องอาศัยรู้ได้ทางใจ เพราะว่าทางตาเห็นเท่านั้น ทางหูเหมือนกัน ถ้าได้ยินแล้วไม่ชอบ ลักษณะที่ไม่ชอบปรากฏ และรู้ได้ทางไหน
ผู้ฟัง ทางใจ
ท่านอาจารย์ เมื่อถึงทางกาย มีสิ่งที่กระทบเย็นหรือร้อน แต่ความรู้สึกเป็นทุกข์ ลักษณะที่เป็นทุกข์รู้ได้ทางไหน
ผู้ฟัง ทางใจ
ท่านอาจารย์ ก็ต้องทางใจ
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าความรู้สึกเป็นทุกข์กับเป็นสุขเกิดกับกายวิญญาณ
ท่านอาจารย์ แต่ตัวกายวิญญาณไม่ได้รู้ความสุขหรือความทุกข์ กายวิญญาณต้องรู้เย็นหรือร้อนทางกายที่กระทบ
ผู้ฟัง แล้วจิตที่รู้สภาพของเป็นสุขกับเป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ ขณะที่ชอบ เรายังไม่พูดถึงนั่นเลย รู้ไหมว่าชอบ
ผู้ฟัง ทราบ
ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะที่ชอบได้ทางไหน
ผู้ฟัง ทางใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลักษณะที่เจ็บ
ผู้ฟัง ก็ทางใจ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180