พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
ตอนที่ ๑๕๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ และความเข้าใจนี้เราก็จะรู้กำลังของเราว่าจะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เข้าใจอย่างนี้เข้าใจไม่ได้แน่ แม้แต่เพียงขณะนี้ที่เหมือนเห็นตลอดเวลา แต่ความจริงก็มีจิตตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงเกิดดับสืบต่อตามลำดับอย่างนั้น แต่ไม่ได้ปรากฏ แต่ขณะนี้มีเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเท่านั้นกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นปัญญาที่จะเกิดรู้เข้าใจสภาพธรรม ก็ต้องจากการรู้การเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏว่าสิ่งนี้มีจริงๆ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นหลายวาระ จึงจะมีการรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร เพราะฉะนั้นนี่เป็นความรวดเร็วของจิตซึ่งอายุสั้นมาก เกิดแล้วก็ดับอย่างรวดเร็วสืบต่อจนปรากฏเหมือนไม่ดับเลย เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความไม่รู้จนกว่าจะค่อยๆ รู้ความจริง
ผู้ฟัง ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าพูดถึงการสะสมโทสะ
ท่านอาจารย์ อะไรก็ตามที่เกิดบ่อยๆ จะมีมากไหม
ผู้ฟัง มีมาก
ท่านอาจารย์ นี่คือความหมายของสะสม สะสมต้องรู้ว่าอะไรสะสม จักขุวิญญาณเห็นแล้วก็ดับไปไม่ได้สะสม แต่สำหรับจิตที่ทำชวนกิจคืออกุศลจิต กุศลจิต และกิริยาจิตสะสม
ผู้ฟัง จากการฟังแล้ว ถ้าเราเข้าใจ ความรู้สึกนั้นเหมือนทางใจที่มีการสะสม
ท่านอาจารย์ เหตุใดใช้คำว่าทางใจ รู้หรือว่าขณะนี้ทางตาหรือทางใจ
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบก็คือมีความไม่พอใจ ถ้ามีความรู้สึกที่ไม่พอใจ แยกได้ไหมว่าทางตา ทางหู หรือทางใจ ถ้าแยกไม่ได้ก็ไม่ต้องไปพูดว่าสะสมทางใจ เพราะว่าทางตาเอาไปทิ้งไว้ที่ไหน โลภะที่เกิดจากทางตาไปทิ้งที่ไหน จิตเกิดดับสืบต่อทีละหนึ่งขณะ จากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง เพราะฉะนั้นความรู้สึกติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่มีหายไป เพราะจะทิ้งจิตสักขณะเดียวไปไม่ได้เลย ต้องเกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ สะสมสืบต่อจากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง ขณะใดก็ขณะนั้นที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ ที่เป็นอกุศลหรือกุศลทั้งหลาย หรือกิริยาจิตที่ทำชวนกิจก็สะสม นี่คือสิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้ แต่ขณะนี้เราแยกไม่ได้ว่าเป็นโลภะทางตาหรือทางใจ รู้ได้ไหมว่าขณะเห็นมีโลภมูลจิตเกิดในสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่สามารถจะรู้ปัญจทวาราวัชชนจิตได้จะสามารถรู้ลักษณะของโลภะที่เกิดทางตากับโลภะที่เกิดทางใจเกิดสืบต่อได้ไหม เป็นสิ่งที่มีจริง แต่เรารู้ได้ไหม เรากำลังฟัง เราอยู่ในโลกของความไม่รู้ ในโลกของความมืด
ผู้ฟัง เข้าใจผิดคิดว่าถ้าเราไม่สบายใจก็คือทางใจแล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่สบายใจขณะนั้นต้องรู้ว่ามีอะไรเป็นอารมณ์ เพราะทางที่จะรู้อารมณ์มี ๖ ทาง ไม่สบายใจเพราะเกิดคิดขึ้นมาแล้วไม่สบายใจ หรือไม่สบายใจเพราะเห็นสิ่งที่เราไม่สบายใจ
ผู้ฟัง เมื่อก่อนก็คิดว่าขณะที่เห็นแล้วเกิดไม่สบายใจ ก็คือเป็นลักษณะทางใจ ถ้าเผื่อฟังก็ทำให้เราเข้าใจอีกว่าขณะที่เห็นก็มีการสะสมอีกด้วย
ท่านอาจารย์ ทีละหนึ่งขณะเกิดดับสืบต่อสะสมเป็นอกุศล กุศลหรือกิริยาจิตที่ทำชวนกิจ
ผู้ฟัง ซึ่งเราแยกไม่ได้
ท่านอาจารย์ เราไม่มีทางรู้ได้เลย ต้องเป็นใครที่รู้ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราฟังพระธรรม เห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นพระบริสุทธิคุณ รู้จนกระทั่งถึง นอกจากจะเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสหมดยังถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถจะเข้าถึงพระคุณที่ยิ่งใหญ่นั้นได้ และพระมหากรุณาคุณที่ทำให้เราสามารถเข้าใจความต่างของสภาพธรรมแม้ในขั้นการฟัง ซึ่งถ้าไม่มีการทรงแสดงธรรม ไม่มีใครจะสามารถจะรู้ได้ แต่การรู้การเข้าใจต้องมีตามลำดับ มากน้อยตามการสะสม ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เป็นแม้อัครสาวกก็ยังต่าง เป็นฝ่ายปัญญากับฝ่ายฤทธิ์ เข้าใจอย่างนี้แล้วเป็นเราเป็นอัตตาหรือว่ารู้เป็นอนัตตา สามารถที่จะเข้าใจว่าเป็นอนัตตา แต่ยังไม่ประจักษ์ความเป็นอนัตตา ฟังเพื่อที่จะให้เข้าใจถูกก่อนว่าไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรม
แต่แม้จะฟังอย่างนี้สักเท่าไรก็ยังเป็นเราจนกว่าจะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม นี่แสดงให้เห็นว่าความรู้ขั้นฟังเป็นขั้นต้น พระศาสนาสมบูรณ์ทั้งขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงสุดที่จะทำให้ดับความไม่รู้ และความสงสัยในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจนกระทั่งหมดกิเลสตามลำดับขั้น แต่ต้องรู้ความต่าง ปัญญาขั้นฟังก็อย่างหนึ่ง ปัญญาขั้นอบรมให้รู้สิ่งที่ปรากฏก็อย่างหนึ่ง ปัญญาที่ประจักษ์ความจริงของสภาพที่กำลังปรากฏก็อีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีปัญญาขั้นการฟังเลยจะนำไปสู่การอบรมที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นปริยัติที่ถูกต้องก็จะนำไปสู่การอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้องที่จะทำให้ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมได้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าความรู้ขั้นปริยัติไม่นำไปสู่การอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้องขั้นปฏิบัติ ขณะนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะไม่ใช่ความรู้จริง เป็นแต่เพียงการฟัง ได้ยินคำ และก็ตรึกนึกคิดไปตามความหมายของคำ แต่ไม่รู้ว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นอย่างที่ได้ยินได้ฟังหรือกำลังคิดถึงคำนั้นๆ
ผู้ฟัง สงสัยในความติดข้องของโทสะว่าลักษณะความติดข้องของโทสะ จริงๆ แล้วโทสะเป็นลักษณะที่ไม่อยากได้ คือเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับโลภะ แต่ก็มีความติดข้องใช่ไหม
ท่านอาจารย์ โทสะติดข้องไม่ได้ ลักษณะที่ติดข้องเป็นลักษณะของโลภะ ไม่ใช่ลักษณะของโทสะ แต่โทสะมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย ฉันทะคือความพอใจ ไม่ใช่ความติดข้อง พอใจที่จะกระทำ แต่ไม่ใช่ความติดข้อง ชอบโกรธไหม
ผู้ฟัง ไม่ชอบ
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่โกรธเกิด ขณะที่โกรธเกิดมีฉันทะที่จะโกรธไหม พอใจที่จะโกรธไหม
ผู้ฟัง ก็พิจารณาได้ว่าขณะโกรธมีแต่ความไม่พอใจ ไม่ได้มองเห็นลักษณะของฉันทะที่อาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วถ้าไม่พอใจจะโกรธไหม ลองคิดดู ถ้าไม่พอใจจะโกรธหรือ เพราะฉะนั้นเวลาโกรธก็แสดงว่าพอใจที่จะโกรธ ถ้าไม่พอใจที่จะโกรธจะโกรธไหม คำตอบก็คือว่าถ้าโกรธก็แสดงว่าต้องพอใจที่จะโกรธ
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วลักษณะของฉันทะคือเป็นความพอใจ
ท่านอาจารย์ ในขณะจิตนั้น แต่ไม่ใช่ความติดข้องที่เป็นลักษณะของโลภะ ซึ่งโลภะติดข้องได้ทุกอย่างนอกจากโลกุตตรธรรม นิพพานไม่เกิดขึ้นที่จะให้โลภะพอใจได้เลย เพราะฉะนั้นจะไปติดข้องในนิพพานหรือติดข้องในโลกุตตรจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ เพราะอย่างไรๆ ก็ไม่มีทางที่จะเป็นโลภะที่ติดข้องในสิ่งที่ไม่ประจักษ์ เพราะว่าโลภะจะประจักษ์ลักษณะของนิพานไม่ได้ โลภะจะประจักษ์หรือมีลักษณะของโลกุตตรจิตเป็นอารมณ์ไม่ได้
ผู้ฟัง เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมีคนที่เราไม่ชอบมากๆ และเขาได้รับทุกข์ เราก็มีความพอใจ หรือพูดตามภาษาทั่วๆ ไปก็คือสะใจ ซึ่งการสะใจนี้ก็พิจารณาว่าเป็นลักษณะของโทสะ แต่ก็มีความพอใจที่เขาได้รับทุกข์
ท่านอาจารย์ พอใจที่จะเป็นโทสะนั้น ในขณะนั้น
ผู้ฟัง สิ่งนี้ไม่ใช่ลักษณะพอใจที่เขาได้รับทุกข์ สิ่งนี้เป็นลักษณะของฉันทะ ไม่ใช่โลภะหรือ
ท่านอาจารย์ ในขณะที่เขาได้รับทุกข์ จิตของเราเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง จิตของเรารู้สึกดี
ท่านอาจารย์ สบายใจแน่ๆ หรือ
ผู้ฟัง เราก็เลยคิดว่ามันเป็นโลภะ
ท่านอาจารย์ ดี สบายใจ หรือว่าพอใจ
ผู้ฟัง พอใจ
ท่านอาจารย์ เวลาที่เขากำลังได้รับสิ่งที่ไม่ดี ใจของเรา..
ผู้ฟัง ไม่มีเมตตาเลย และเราก็มีความรู้สึกว่าเมตตานี่เป็นองค์ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะซึ่งเป็นอโทสะ เพราะฉะนั้นลักษณะตรงนี้ก็น่าจะเป็น..
ท่านอาจารย์ ความติดข้อง ความพอใจในโทสะ โลภะพอใจในทุกอย่างได้ แต่ขณะที่โทสะเกิด ไม่ได้หมายความว่าไม่มีฉันทะในโทสะ เพราะฉะนั้นโลภะก็มีกิจ กิจของโลภะไม่ใช่กิจเห็น ไม่ใช่ทัสสนกิจ ไม่ใช่กิจได้ยิน ไม่ใช่สวนกิจ ไม่ใช่สัมปฏิฉันนกิจ ไม่ใช่สันตีรณกิจ ไม่ใช่โวฏฐัพพนกิจ เพราะฉะนั้นกิจของโลภะก็คือชวนกิจ ซึ่งรูปนั้นยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดดับสืบต่อกันเป็นอาเสวนปัจจัย คือ ถ้าชวนจิตดวงที่ ๑ ที่เป็นโลภะดับไปแล้วก็ทำให้ชวนกิจประเภทนั้นเกิดอีก เสพอารมณ์ซ้ำอย่างนั้นอีกจนถึงขณะชวนะที่ ๖ เป็นปัจจัยให้ชวนะที่ ๗ เกิดขึ้นอย่างนั้น ตื่นขึ้นมาก็สบายใช่ไหมวันนี้ มีเหตุปัจจัยจากการสะสม เป็นอุปนิสสยปัจจัย เราไม่มีตัวตนที่จะไปจัดการจิตสักขณะหนึ่งให้เกิดขึ้นทำอะไรได้เลย แต่สิ่งใดก็ตามที่เกิดแล้วก็แสดงถึงความจริงที่ต้องมีปัจจัย และปัจจัยก็มีมาก ไม่ใช่มีปัจจัยเดียว
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าโลภะเป็นเหตุ หมายถึงความติดข้องนี้เป็นเหตุ ติดข้องในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นเหตุทำให้เกิดโทสะเช่นนี้
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่ดับเป็นสมุทเฉท ไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ก็มีปัจจัยที่จะให้โทสะเกิด ไม่ได้หมายความว่าจะมีโลภะแล้วถึงจะมีโทสะภายหลัง แต่การสะสมสืบต่อทั้งหมดเป็นอุปนิสสยปัจจัย
ผู้ฟัง แสดงว่าสิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่คือตัวเหตุที่จะให้เกิดโทสะหรือ
ท่านอาจารย์ มิได้ ไม่ใช่ตัวรูป แต่เป็นตัวการสะสมของโลภะหรือโทสะ คำว่า “นิสสย” แปลว่าที่อาศัย “อุปปะ” แปลว่ามีกำลัง ก็ลองคิดดู เพียงแค่ลืมตาแล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏ โลภะมาจากไหน ถ้าไม่มีพืชเชื้อที่สะสมมา มีกำลังที่จะเกิดเพียงแค่เห็น หรือแม้แต่โทสะซึ่งเป็นปฏิฆานิสสัยความขุ่นใจที่สะสมไว้บ่อยๆ เพียงแต่ได้ยินเสียง เพียงเสียงปรากฏ เป็นปกตูนิสสยปัจจัยที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้โทสะความขุ่นใจเกิดได้ ไม่มีใครต้องไปทำอะไร แต่ทุกอย่างเป็นไปตามปัจจัย
เพราะฉะนั้น การศึกษาตามลำดับเราจะรู้ได้เมื่อไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แล้วมีอะไร ก็มีธรรมซึ่งไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป และรูปเป็นรูปไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตเลย แยกกันไปเลย ส่วนนามธรรมซึ่งเป็นจิต เจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่เกิด และรู้อารมณ์ และก็ทำหน้าที่ของตนๆ แต่ปัจจัยที่จะให้จิตประเภทไหนเกิดก็มีครบ มิฉะนั้นแล้วเราก็จะไม่รู้ถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม แต่ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่าเมื่อรู้ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างแล้ว สภาพธรรมแต่ละอย่างนั้นเป็นปัจจัยโดยสถานใดแก่กัน และกันที่จะทำให้มีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น คุณสุกัญญาพอใจที่จะให้มีโทสะง่ายๆ บ่อยๆ มากๆ เพียงแค่เห็น ยังไม่รู้จักก็เกิดโทสะแล้ว หรือว่าเห็นว่าไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะก็คือเมตตา เราจะเห็นได้ว่าถ้าเราสะสมความเมตตา เราจะมีความเป็นเพื่อน มองเห็นใครก็ตามแต่ แทนที่จะไปเดือดร้อนกังวลหรือไม่สบายใจกับรูปร่าง สัณฐาน ความประพฤติหรือกิริยาอะไร แต่ถ้ามีการสะสมการเป็นเพื่อน เราจะมีความรู้สึกว่าเป็นเพื่อนทันทีได้ มีความเข้าใจ มีความเห็นใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือ
ผู้ฟัง แต่ว่า สะสมมา ก็ยากมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจะดับกิเลสอย่างไร เห็นไหม เรามุ่งไปที่สติปัฏฐาน เรามุ่งไปที่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วกิเลสพวกนี้ยังมีอยู่เต็ม แล้วต้องดับหมดด้วย ทั้งหมด แล้วถ้าเกิดว่องไว รวดเร็ว แล้วก็ยังมีปัจจัยที่จะเกิดต่อไป เพราะฉะนั้นการฟังธรรม การพิจารณาเข้าใจโดยแยบคาย ประโยชน์ก็คือว่าเป็นผู้ที่มีศีลทางกาย ทางวาจาเพิ่มขึ้น ซึ่งศีลก็ต้องมาจากใจ ถ้าใจไม่ดี คำพูดที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตา กรุณา เห็นใจผู้อื่นมีไม่ได้เลย จะมีคำพูดที่เราอาจจะไม่รู้สึกตัว หัวเราะเยาะเย้ย รวดเร็ว และก็ง่ายดาย และก็ไม่รู้ด้วยว่าขณะนั้นสะสมแล้วเป็นอกุศลแล้ว และเราก็ศึกษาธรรมเพื่อที่จะไปขัดเกลาแต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วผู้ที่ได้ประโยชน์จากธรรมจริงๆ ก็คือเห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย และก็ไม่ใช่เราจะไปพยายาม
แต่ปัญญาที่มีความเห็นถูก เข้าใจถูกว่ากุศลเป็นอย่างไร อกุศลเป็นอย่างไร ก็จะทำหน้าที่เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่มีโทสะมากๆ แล้วอยากไม่มีโทสะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นไปได้ตามความอยาก ทุกคนก็ไม่มี แต่ต้องเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ เป็นปัญญาที่สามารถทำให้คนที่ได้ฟังพระธรรม สามารถที่จะน้อมใจไปที่จะเห็นโทษของอกุศลของความไม่รู้ และอบรมเจริญความรู้ตามลำดับขั้นด้วยโดยที่รู้ความเป็นอนัตตาว่าฝืนไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วทราบว่าสภาพธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา และฝืนไม่ได้ แต่ขณะที่เราไม่ชอบโทสะ แล้วก็อยากจะใช้คำว่า “อยาก” แต่จริงๆ ก็คือสิ่งที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เรากลัวกิเลสอีกประเภทหนึ่งคือโลภะ ไม่จากไปไหน ไม่อย่างหนึ่งก็อย่างใด
ผู้ฟัง แต่เราควรจะเจริญเมตตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าเราควร ถ้ามีปัญญาเข้าใจว่าทุกคนต่างกันตามการสะสม คนนั้นก็อาจจะไม่อยากให้เราเป็นอย่างนี้ก็ได้ เราไม่รู้ใจเขา ใจของเราเพียงแต่ไม่อยากจะให้เขาเป็นอย่างนั้น ใช่ไหม นี่คือใจเรา แต่คนที่เราไม่ชอบ เขาก็อาจจะไม่ชอบเรา เขาก็ไม่อยากให้เราเป็นอย่างนี้โดยที่เราก็ไม่รู้ใจเขา
ผู้ฟัง แล้วเราจะเปลี่ยนแนวคิด
ท่านอาจารย์ ทุกคนต่างกันตามการสะสม ใครที่มีกาย วาจา ไม่ดีเพราะไม่รู้ ถ้ารู้เขาอยากจะเป็นอย่างนั้นไหม เพราะฉะนั้นทั้งหมดคือความไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้ามีเมตตาไม่ว่าทางหนึ่งทางใดที่จะทำให้เขารู้ขึ้น เข้าใจถูกขึ้น นั่นเป็นประโยชน์สูงสุด เพราะฉะนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกแสดงธรรม เพราะรู้ว่าเป็นหนทางเดียวจริงๆ ที่จะแก้ไขทุกอย่างที่เกิดเพราะอกุศล ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน มีปัญหาทั้งนั้น จะไม่มีปัญหาได้อย่างไรถ้ายังมีอกุศล เพราะฉะนั้นก็ให้เขาเข้าใจเพื่อที่จะสามารถที่จะดับอกุศลก็จะหมดปัญหา แต่ถ้ายังมีอกุศลอยู่ก็ยังมีปัญหา วันนี้ที่บ้านคุณสุกัญญามีปัญหาไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องมีทุกคน เพียงแต่ว่าเราจะรู้ว่าเป็นปัญหาหรือไม่ และข้อสำคัญคือจะแก้ที่ไหน ข้อสำคัญที่สุด ถ้าคิดจะแก้คนอื่นไม่มีทาง ไม่มีทาง แม้แต่ตัวเองฟังพระธรรมแล้วๆ ก็มีการแม้คิดที่จะแก้หรือไม่ เพียงแค่คิด คิดที่จะเมตตาหรือไม่
ผู้ฟัง ในขณะที่อกุศลจิตของตัวเราเองเกิด เรายังเมตตาตัวเราเองไม่ได้เลย นับประสาอะไรกับอกุศลจิตของคนอื่น ถ้าจะให้คิดว่าเขาไม่ได้รับการอบรมหรือว่าเขาเป็นเช่นนั้น หรือเขาเป็นอย่างไร ตัวเราเองขณะนั้นยังอุดมไปด้วยอกุศล
ท่านอาจารย์ แล้วคุณสุกัญญาจะเมตตาตัวเองได้อย่างไร ก็ต้องมี ๒ ตัว แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรู้สึก ความเข้าใจ ความเห็นใจ สะสมมากๆ ก็เกิดได้ มีใครอยากจะมีความทุกข์ มีใครอยากจะยากจน มีใครอยากจะมีกิเลสมากๆ
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นก็ให้เขาเกิดปัญญาเท่านั้นที่จะช่วยได้ แก้ตรงจุดจริงๆ คือให้เขามีความเห็นที่ถูกต้อง มีปัญญา
ผู้ฟัง คำว่า เมตตาตัวเอง เป็นอย่างไร
อ.กุลวิไล เมตตาจะต้องมีสัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีความเป็นมิตรเป็นเพื่อนกับบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งก็ไม่ใช่กับตัวเอง แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นขณะที่เมตตาเกิด ขณะนั้นเราไม่โกรธแน่นอนเพราะเป็นฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้นเราจะเห็นในชีวิตประจำวันได้ว่าเวลาเราเกิดโทสะ ไม่พอใจในบุคคลอื่นหรือในสิ่งต่างๆ ก็ตาม ขณะนั้นเราขาดเมตตา แต่ถ้าขณะใดกุศลจิตเราเกิดขึ้น เมตตาเกิดแล้ว เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้าม
ผู้ฟัง ขอความกระจ่างในเรื่องของฉันทะ เช่นเราได้ยินข่าวว่าคนขี้โกงถูกศาลยึดทรัพย์ เราสะใจกับการที่เขาถูกลงโทษอย่างนี้ ถือว่าเป็นฉันทะใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าฉันทะเกิดกับจิตกี่ประเภท ฉันทะไม่เกิดกับจิต ๒๐ ประเภท คือไม่เกิดกับอเหตุกจิต ๑๘ ทั้งหมด ไม่มีฉันทะเกิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ไม่มีการที่จะเลือกพอใจ แล้วแต่ว่าอารมณ์ใดกระทบก็เกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนะจิต จิตทั้งหมดที่เป็นอเหตุกจิต ๑๘ ประเภท ไม่มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย และโมหมูลจิตอีก ๒ ประเภทก็ไม่มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย ส่วนจิตประเภทอื่นนอกจากนั้นมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วยทั้งหมด เพราะฉะนั้นฉันทเจตสิกเกิดกับโลภมูลจิต เกิดกับโทสมูลจิตที่เป็นฝ่ายอกุศล สำหรับทางฝ่ายโสภณ ทางฝ่ายกุศล ไม่ว่าจะเป็นกุศลวิบากจิต หรือกุศลจิต หรือกิริยาจิตก็มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ก่อนที่เราสามารถจะรู้ได้ว่าลักษณะนั้นเป็นอะไร เพราะระหว่างโลภะกับโทสะซึ่งมีจิตเกิดคั่นมากแต่การปรากฏ ไม่ปรากฏว่ามีจิตเกิดคั่น เหมือนกับพร้อมกัน เช่นขณะที่เห็นกับขณะที่ได้ยินเหมือนพร้อมกันฉันใด เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ความต่างจริงๆ จนกว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด และรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมซึ่งแม้จะมีอายุที่สั้นมาก แต่ก็เกิดดับสืบต่อ เช่นสภาพที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่เพียงขณะเดียว แต่มากมายหลายขณะ เพราะเหตุว่าเหมือนมีสิ่งที่ปรากฏโดยไม่ได้ดับไป เพราะฉะนั้นเวลาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ จะต้องมีการรู้ลักษณะด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม โดยที่ไม่สามารถจะไปรู้ถึงความลึกหรือความเป็นจริงซึ่งขณะนั้นเป็นอกุศลประเภทใด เช่นเวลาที่เราเกิดความพอใจเกิดขึ้น เรามีความรู้สึกว่าเราชอบ แต่ว่าเห็น มีหรือไม่ขณะที่เราว่าเราชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด กำลังชอบกำลังเพลินก็มีเห็นมีได้ยินสลับ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180